เหมือนหรือต่าง ระหว่าง Intelligence กับ Wisdom?


ท่านผู้อ่านท่านหนึ่งหลังจากได้อ่านบันทึกใน http://gotoknow.org/blog/beyondkm/87273 แล้วก็ได้ถามมาว่า . . .

ขอรบกวนอาจารย์นิดนะคะ

หาก Intelligence = เชาวน์ปัญญา

แล้วwisdom = หมายถึง ปัญญา แบบไหนคะ

งงค่ะ

 

Osho มีแนวคิดที่ใกล้พุทธศาสนามาก

         ก่อนจะตอบคำถาม ต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่า . . .  การตอบคำถามจำเป็นต้องใช้ ภาษา เป็นสื่อกลาง ซึ่งในที่นี้ก็คือ ภาษาเขียน ผ่านตัวหนังสือ ซึ่งตัว ภาษา เองนั้นก็มี ข้อจำกัด (เพราะเป็นสมมติบัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถ์) ผู้ส่งสารพยายามส่งผ่านความเข้าใจ (ของตน) ผ่านการใช้ภาษา (ถ้อยคำ ข้อเขียน) แต่พอผู้รับสารได้รับข้อความ ถ้อยคำ เหล่านั้นก็ต้องนำมา ตีความ (ผ่านประสบการณ์ของตนเอง) ซึ่งบางที ความหมาย ที่ได้รับ (รู้) นี้อาจจะไม่ตรงตามที่ผู้ส่งสารตั้งใจก็ได้. . .  แต่อย่างไรก็ตามในเมื่อท่านถามมา และผมเห็นว่าเป็นคำถามที่น่าสนใจ ผมก็จะลองตอบไปดังนี้ครับ 

        สำหรับผมแล้ว (ตามที่ผมเข้าใจ) คำว่า "ปัญญา" หรือ “Wisdom” นั้นเป็น "คำใหญ่"  ที่หมายถึง ความสามารถในการเห็นได้ตามความเป็นจริง เรียกได้ว่า เห็นตัวธรรมชาติ เห็นธรรมะ หรือเห็นความเป็นธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งหลาย ถ้าจะใช้ศัพท์ของครูบาอาจารย์ก็พูดได้ว่าเป็นการเห็น ไตรลักษณ์ คือเห็นสภาพของความไม่เที่ยง (อนิจจัง) เห็นการทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ (ทุกขัง) และเห็นว่าสิ่งทั้งหลายล้วนไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของเรา (อนัตตา) . . .  [หากคำอธิบายนี้ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย เพราะเป็นการอธิบายที่มาจากความจำ (สัญญา) เป็นหลัก ไม่ได้มาจากการผ่านสภาวะ (ธรรม) ที่ว่านี้แต่อย่างใด พูดง่ายๆ ก็คืออธิบายไปตามสิ่งที่จำได้ (เก็บไว้ในหัวสมอง) ยังไม่ได้มีประสบการณ์ตรง (ยังไม่ได้เข้าไปในใจ) ในเรื่องดังกล่าวด้วยตัวเอง] 

        สำหรับคำว่า เชาวน์ปัญญา ที่ผมใช้เป็นคำแปลในหนังสือ osho เล่มที่ชื่อว่า  “Intelligence” นั้น เป็นคำที่มีความหมาย เล็กกว่า คำว่า “Wisdom” มาก osho มองว่าคนทุกคนล้วนมี เชาวน์ปัญญา ด้วยกันทั้งนั้น บางท่านก็มีเชาวน์ปัญญาทางด้านคณิตศาสตร์ด้านการคำนวณ บางท่านก็มีทางด้านการดนตรี ด้านการวาดภาพระบายสี คล้ายๆ กับที่ Howard Gardner พูดเรื่อง พหุปัญญา (Multiple Intelligences)” ในวงการศึกษานั่นแหล่ะครับ อย่าลืมนะครับว่าเวลาที่ผมอธิบายคำสองคำนี้ผมกำลังเล่นอยู่กับ ภาษา ที่ค่อนข้าง ตายตัว เราจำเป็นต้องรับฟังอย่าง เปิดกว้าง ต้องอย่าปล่อยให้ นิยาม หรือ ความหมาย ที่ให้ไว้มาทำให้เราสับสน เราต้องใช้ ภาษา ในฐานะที่มันเป็น  เครื่องมือ ในการสื่อสาร ไม่ใช่นำมันมาใช้เพื่อทำให้เกิด ความขัดแย้ง ทำให้ เข้าใจกันผิด จนทำให้ ผิดใจกัน  . . .

        ผมเขียนมาถึงตรงนี้ ภรรยาที่แอบอ่านอยู่ด้านหลัง พูดขึ้นมาแบบนิ่มๆ นิ่งๆ ว่า . . . 

      Intelligence ติดตัวมา แต่ Wisdom ต้องแสวงหา (พัฒนา)  

. . . แหม!! น่าจะพูดก่อนหน้านี้ ปล่อยให้ผมอธิบายมาซะยืดยาว!!

หมายเลขบันทึก: 147348เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2007 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดี...วันอาทิตย์ค่ะอาจารย์ (อาจารย์ผู้หญิงด้วยค่ะ)

ภรรยาท่านแอบอ่านอยู่ข้างหลัง...แต่กะปุ๋มนั่งยิ้มอยู่หน้าจอ...เมื่ออ่านมาถึงตอนจบของบันทึก...

ขอบพระคุณมากค่ะ...สำหรับเรื่องเล่าวันนี้

(^_____^)

ไม่มีอะไรต่อยอดค่ะ เพราะกำลังสร้าง Wisdom ..ให้พอกพูนค่ะ...

แวะมาแซว...อากาศที่ขอนแก่นกำลังเย็นสบายค่ะ

กะปุ๋ม

ดีใจที่ได้ทราบว่า "กะปุ๋ม" เป็นผู้อ่าน "คนแรก" ถือว่าเป็น "นิมิตรหมายที่ดี" แก่บันทึกนี้มากๆ ครับ . . . ขอให้เจริญในธรรมครับ

สวัสดีครับอาจารย์

วันนั้นเห็นอาจารย์กำลังแนะนำหนังสืออยู่ ผมก็เลยได้แต่สวัสดีและเก็บภาพมาฝากครับ

Img_2264

เรียน ท่านอาจารย์ ด.งประพนธ์

  • บางท่าน Intelligence ดีครับ
  • แต่ไม่ใช้ปัญญา ให้เกิดประโยชน์
  • เป็นพวก "ฉลาดลึก แต่โง่กว้าง" ครับ
ว้าว อาจารย์ผู้หญิงแน่จริงๆค่ะ

แหววแอบมาเก็บเกี่ยวความเข้าใจ อีกแง่มุมหนึ่ง...เพิ่มเติมค่ะ..ขอบคุณนะคะ...

สวัสดีครับ คุณข้ามสีทันดร  ขอบคุณสำหรับภาพถ่าย ทำให้ผมรู้สึกเหมือนกับว่าเป็นเจ้าของร้านหนังสือหรือสำนักพิมพ์ไปเลย! ขอบคุณ ขาประจำ อันได้แก่อาจารย์  JJ    คุณนายดอกเตอร์ และคุณ
   พชรวรัตถ์ แสงทองชนาพงศ์ ที่ทำให้ blog นี้มีสีสันครับ

ผมขอร่วมวงด้วยคนนะครับ  ผมคิดว่า(อย่าหัวเราะนะ!) 

(๑) เหมือนกันครับ!!  "เพราะต่างก็เป็นภาษาอังกฤษ" ไม่ใช่ภาษาของเราครับ (แฮๆๆๆๆ--)

(๒) ไม่เหมือนกันครับ!!  เพราะว่า มันขึ้นต้นด้วย T  และ W ?? (5555--- )

(๓) ในด้านความหมาย "ไม่มีทางที่จะเหมือนกันแบบเป๊ะๆ" หรอกครับ  มันจะมีความคล้ายกันแบบมันมีลักษณะร่วมกัน  หรือที่ในภาษาคณิตศาสตร์เขาเรียกกันว่า Intersect อะไรทำนองนั้นแหละ  บางอย่าง "ชื่อต่างกัน  แต่เป็นสิ่งดียวกัน" เช่น "นายกรัฐมนตรีไทยปี ๒๕๕๐" กับ " พลเอก สุรยุทธ์ จุฬานนท์" เป็นคนๆเดียวกัน  แต่บางอย่าง " ชื่อต่างกัน และต่างก็ชี้ถึงสิ่งที่ต่างกัน" เช่น "นายชวน" กับ"พลเอก สุรยุทธ์" เป็น้ตน  คำ Intelligence  &  Wisdom  ชื่อต่างกัน  แต่ต่างก็ชี้ถึงสิ่งที่มีลักษณะทั้งเหมือนและแตกต่าง

(๔) Intelligence  & Wisdom  นั้น เป็นภาษาต่างชาติ เราจะฟังจากเจ้าของภาษาเชาเถียงกันจะดีกว่าเราเถียงกันเองมาก(ผมว่าเอง)  ฉะนั้น ผมจะห่างคำนี้ละครับ  แต่

(๕) คำ "ปัญญา"  "สติปัญญา"  "เชาวน์ปัญญา" นี่ซิครับ เป็นคำไทยของเราด้วย   รู้สึกอุ่นใจกว่า  ผมจะถกถึงเรื่องนี้

คำปัญญาเป็น "มโนทัศน์" ซึ่งมี "ลักษณะ" โดยประมาณดังนี้ (๑) เป็นความคิดแก้ปัญหา (๒) ปัญหานั้นๆต้องยากขึ้นๆ (๓) แก้ปัญหาได้ "จำนวนมากกว่าคนอื่นๆในกลุ่มเดียวกัน" ในเวลาเดียวกัน  และแก้ถูกด้วย  ลักษณะเด่นสามประการนี้ถ้าใครมี  เราเรียกว่า "ปัญญา"  แต่การเกิดคำ "ปัญญา" หรือ "สติปัญญา" หรือ "เชาวน์ปัญญา" ทีจะนำมามา "เป็นชื่อ" นั้น เป็นปัญหาของ "นักภาษา"ครับ ว่าจะเลือกยืมภาษา "บาลี"ดี หรือ "สันสกฤต"ดี  พวกเราก็ใช้กันดะไป  แต่เมื่อมีคนถาม  ก็ชะงัก!  ส่วนคำ Wisdom นั้น  ผมสังเกตเห็นว่าจะพบมากในหนังสือพวกปรัชญา ซึ่งเขาใช้ความคิดเชิงเหตุผลกันเป็นอันดับหนึ่ง  จึงทำให้เขาค่อนข้างจะ "เรือง"ปัญญา  คือมันคล้ายกับจะมีอะไรๆที่มากกว่า "ปัญญา"เฉยๆ  ผมคิดว่ามันจะมีลักษณะแบบ "Intersection" กัน  แต่มีลักษณะเหมือนกันมากกว่าลัษณะต่างกัน

 

แล้ว Wisdom นี่ใช่อันเดียวกันกับ intuition หรือเปล่าครับ

ขอบคุณท่านอาจารย์ ดร.ไสว สำหรับคำอธิบายที่ค่อนข้างละเอียดและครอบคลุมครับ

สำหรับคุณ zmen ผมตอบประเด็นที่ถามมาแล้วครับ อยู่ในบันทึกถัดไปครับ

ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยคนนะคะ... เป็นมุมมองจาก นักสารสนเทศค่ะ

wisdom หมายถึง ความเฉลียวฉลาด ซึ่งเกิดจากการบูรณาการความรู้ จากหลากหลายศาสตร์ แต่ Intelligence หมายถึง เชาว์ปัญญา ซึ่งเกิดจากการปรับแต่งและจดจำ ความเฉลียวฉลาด

ก่อนจะเกิด wisdom และ Intelligence ต้องมี knowledge, information, และ data ก่อน ใน KM จะหยุดที่ wisdom แต่ในศาสตร์ของคอมพิวเตอร์จะมี intelligence ซึ่งเรียกว่า AI (Artificial Intelligence) 

นักสารสนเทศบอกว่า... คนที่มีความรู้คือ คนที่สามารถนำสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมายแปลงไปสู่การกระทำที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ค่ะ 

level of learning

level of what we learn both value and virtue

wisdom can perfect/better intelligence as tntelligence can perfect/better knowledge.

and.. knowledge can better/perfect information to betterly/perfectly benefit our life and societies.

universal with ultimate benefit of patterns or frameworks of fact information knoledge and intelligence unified to be as wonder wisdom..

imagination is  more  important  than    knowlege  whiel   knowlege has  limited  from  imagination   embraces  the  entried  world

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท