Q-shopเสริมหนุนกลุ่มอาชีพการเกษตรที่กำแพงเพชร( 1 )


เปิดตลาดสินค้าเกษตรที่ปลอภัยจากสารพิษบริเวณหน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเปิดตลาดทุกวันอาทิตย์และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ครับ

ผลักดันQ-shop เสริมหนุนกลุ่มอาชีพที่กำแพงเพชร

   

ตามที่จังหวัดกำแพงเพชร ได้เริ่มต้นดำเนินการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้ปลอดภัยจากสารพิษ มาตั้งแต่ ปี พศ.2544 แล้ว ขณะนั้นจังหวัดโดยมีอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ที่ชื่อนายกฤษ อาทิตย์แก้ว ได้กำหนดนโยบายให้  กำแพงเพชรเป็นเมืองเกษตรธรรมเทค  ได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว คือให้วางแนวทางการส่งเสริมการผลิตพืชปลอดภัยจากสารพิษ และการจัดตลาดนัดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ซึ่งขณะนั้น มีอดีตเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรที่ชื่อ นายไพรัช  หวังดี    ได้ตั้งวัตุประสงค์ เพื่อให้สินค้าเกษตรที่ผลิตในจังหวัดกำแพงเพชร มีความปลอดภัยจากสารพิษ  ตลอดจนส่งเสริมและรณรงค์ ให้ประชาชนได้ตระหนักและเกิดจิตสำนึก ที่จะฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้ดียิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ได้ร่วมกับเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยทำการเปิดตลาดสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษ บริเวณหน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเปิดตลาดทุกวันอาทิตย์ และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ครับ

  

           กว่าจะมาถึงตรงนี้ของการพัฒนาการตลาดโดยเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตเองได้นำสินค้าเกษตรที่ตนเองผลิตมาจำหน่ายเอง หรือพูดง่ายๆก็คือ เป็นการพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตร ที่อยู่ในชุมชนต่างๆของจังหวัดกำแพงเพชร และเป็นเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ที่กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่องมาหลายปีแล้วเหมือนกัน

  

          ฐานของการพัฒนาการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย และได้มาตรฐานนั้น โดยเฉพาะในจังหวัดกำแพงเพชร ได้มีการกำหนดเป้าหมายของการพัฒนามาตั้งแต่ปี2544-2547  ประกอบด้วย

 

1.ได้มีการพัฒนาโดยการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าวค่อนข้างจะเป็นรูปธรรมและความเป็นไปได้ เริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมของบุคลากร โดยเฉพาะนักส่งเสริมการเกษตร ทั้งระดับจังหวัด ที่มีบทบาทในการเสริมหนุน ที่เอื้อต่อการทำงานของเกษตรอำเภอและนักส่งเสริมการเกษตรระดับปฏิบัติการ รวมทั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ผู้แทนกลุ่มอาชีพทางการเกษตร ต่างมีส่วนร่วมตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ดำเนินการในพืชผัก ลำไย ข้าว และส้มเขียวหวาน เป็นลำดับแรก

2. จัดทำทะเบียนผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษ แต่ละชนิด เป็นรายครัวเรือน และมีการจัดเก็บข้อมูล สามารถใช้ประโยชน์ในการวางแผนได้อย่างมีระบบและทันต่อเหตุการณ์

 

3. พัฒนากระบวนการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยทุกชนิดให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล แพร่หลายมากยิ่งขึ้น อย่างน้อยอำเภอละ 1 จุด

 

4. กระตุ้นให้เกิดกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมทุกตำบล และในพื้นที่มีศักยภาพการผลิตอยู่แล้ว จัดให้มีเครือข่ายมากขึ้น โดยเฉพาะการผลิตพืชผัก ข้าว ลำไยและส้มเขียวหวาน

 

5. มีเป้าหมายให้เกิดองค์กรผู้แทนผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล ควบคุม การตรวจสอบกระบวนการผลิต  การจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัยจากสารพิษตามมาตรฐานสากล   ตั้งแต่ระดับกลุ่มย่อย(คุ้มการผลิต)   กลุ่มผู้ผลิตระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืน

   จากเป้าหมายการพัฒนาอย่างเอาจริง เอาจังดังกล่าวที่ได้ดำเนินการมาระหว่างปี 2544-2547 ค่อนข้างจะเห็นเป็นรูปธรรมในการดำเนินงานด้านการพัฒนากระบวนการผลิต ควบคู่กับการพัฒนาเกษตรกรผู้ผลิต ไปพร้อมๆกัน แต่หากพิจารณาดูแล้วก็จะมีขีดจำกัด ในการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษ ไปสู่สากล หรือที่เรียกว่า GAP  และเกษตรอินทรีย์นั้น             ณ.ปัจจุบันนี้โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ ควรจะจริงจังและต่อเนื่อง  ต้องทำงานเชิงบูรณาการให้มาก  สามารถทำงานกับภาคีและเครือข่าย ได้    ไม่คิดทำงานแยกส่วน   ให้คิดเป็นองค์รวม   ถึงจะพัฒนากระบวนการผลิตไปสู่เป้าหมายได้ 

 

            ผมว่าการบริหารงานองค์กรทุกระดับจะต้องทำงานในเชิงรุก ต้องคิดเชิงอนาคตว่า อีก2-3 ปีข้างหน้าเราจะทำงานกันอย่างไร เราจะพัฒนาบุคลากรไปทิศทางไหน ท้ายสุดก็จะมาอยู่ที่การพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่เรียกว่า LO นั่นเอง  ตราบใดที่องค์กรยังไม่พัฒนาสู่ LO แล้ว เราจะทำงานในเชิงรุกคงจะลำบาก เพราะว่าทุกคนยังยึดติดกับกรอบวิธีคิดของตนเอง ไม่เปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ในระดับองค์กร ถ้าพูดง่ายๆก็คือเรายังไม่พัฒนาภายในหรือใจยังไม่เปิดนั่นเองครับ แต่ปัจจุบันนี้เราได้พัฒนาต่อยอด การตลาดสินค้าเกษตรที่ปลอภัย จากฐานเดิมที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยมีกิจกรรมเสริมคือ อาคารQ-shop ซึ่งจะมีสมาชิกและเครือข่ายระดับการผลิต ในพื้นที่ นำสินค้าเกษตรมาจำหน่าย พร้อมได้ตั้งคณะกรรมการของกลุ่มเอง มาบริหารจัดการ  ทั้งนี้สำหรับการสุ่มตรวจ ตัวอย่างสินค้าเกษตรที่จำหน่าย ได้รับความอนุเคราะห์จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ไปผู้ทำการตรวจสอบ วิเคราะห์ปริมาณสารพิษตกค้าง และออกใบรับรองให้แก่สมาชิกครับ

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">           ท้ายสุดนี้เห็นจะเป็นการปรับวิธีการทำงานลักษณะเครือข่าย ที่จะต้องกำหนดเป้าหมายการทำงาน การสร้างกรอบแนวคิด ที่เรียกว่า Mental Model ร่วมกัน นั่นเอง โดยยึดหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม คือ รวมคน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมิน และร่วมรับผลประโยชน์ ยังใช้ได้อยู่นะครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            การสร้างเวทีเครือข่ายร่วมกันในการพัฒนาแบบองค์รวม โดยเฉพาะกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย ไปสู่เกษตรดีที่เหมาะสมหรือที่เรียกว่า GAP  นั้น หรือการพัฒนาการผลิตไปสู่เกษตรอินทรีย์นั้น หากไม่พัฒนาแบบองค์รวมแล้ว ต่างคนต่างทำ ไม่บูรณาการกัน ระหว่างภาคีต่างๆที่เกี่ยวข้อง หนทางที่จะพัฒนาไปสู่เป้าหมายคงจะยาก  หากการพัฒนาโดย สร้างQ-shop เป็นการเสริมหนุนกลุ่มอาชีพทางการเกษตร ได้มีสถานที่ จำหน่ายสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานนั้น คณะกรรมการบริหารควรจะเป็นบทบาทของสมาชีกกลุ่มที่สร้างกติกา หรือข้อตกลง กำหนด กฎระเบียบต่างๆ รวมทั้งการบริหารจัดการกลุ่ม โดยสมาชิกกลุ่ม เพื่อพัฒนาไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป  และที่สำคัญ อีกประการหนึ่ง เราต้องยอมรับทบทวนการพัฒนาในอดีต เพื่อพัฒนาไปสู่อนาคตที่สดใส นะครับ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">             ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร กำหนดเปิดอาคารQ-shop โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร (นางสาวจารุวัฒน์ ศีลพงษ์ )ให้เกียรติ์มาเป็นประธานเปิด ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2550นี้ครับในขณะเดียวกันเราได้เปิดโอกาสให้สมาชิกเครือข่ายการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานได้นำสินค้ามาจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2550 นี้ครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  

หมายเลขบันทึก: 147350เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2007 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 09:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท