การบริหารทรัพยากรมนุษย์ : บธบ.รุ่น10 หมู่ 1


การบริหารทรัพยากรมนุษย์ : บธบ.รุ่น10 หมู่ 1

การจัดการบุคลากร (Personnel Managment)-การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Mangement) - การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) มีความเหมือนกันและต่างกันหรือไม่อย่างไร?

 

หมายเลขบันทึก: 144666เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2007 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (53)
น.ส สุกัญญา คตมรคา 4950504152 การจัดการที่วไป ม.1

การจัดการบุคคลากร คือ กระบวนการที่ผู้นำ (ผู้บริหาร) ใช้ศิลปะ และวิธีการต่าง  สรรหาบุคคลเพื่อเข้าทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การโดยการใช้ทรัพยากรการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การที่ผู้บริหารใช้ศิลปะและวิธีการในการสรรหา คัดเลือกและบรรจุบุคลากรที่มีความเหมาะสมมาปฏิบัติงานในองค์การ พร้อมทั้งรักษาให้อยู่กับองค์การอย่างมีความสุข

การจัดการบุคลลากร เหมือนกัน กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ ต้องการสรรหาบบุคคลเข้าทำงานที่มีความรู้ความสามารถเพื่อให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์
น.ส.รัตนา น้อมมนัส4950504132ภาคกศ.ปช.10ม.1

การจัดการบุคลากร คือ เป็นกระบวนการที่องค์กรจะต้องมีการสรรหาบุคคลให้พอเพียงกับความต้องการขององค์กร

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การที่องค์กรใช้วิธีการต่างๆเพื่อจัดการกับบุคคลที่องค์กรสรรหามาให้เหมาะสมกับการปฎิบัติงานและการดำรงรักษาบุคลากรให้อยู่กับองค์กรนานที่สุด

การบริหารทุนมนุษย์ คือ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ทางการบริหาร การกระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยจิตวิญญาณในบทบาทหน้าที่งานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การสร้างทุนทางปัญญา การเป็นสื่อกลางในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีในองค์กร

สรุป ทั้ง3มีความแตกต่างกัน

นางสาวนิตยา มณีวรรณ รหัส 4950504115 กศ.ปช.รุ่น 10 หมู่1
การบริหารจัดการบุคคล

   เป้าหมายสำหรับการบริหารจัดการบุคคลสำหรับที่จะบริหารจัดการ โครงการให้ประสบความสำเร็จ คือ การหายุทธวิธีที่จะคัดเลือกบุคลากร ให้เหมาะสมกับหน้าที่ต่างๆที่จะดำเนินงานภายในโครงการ การกำหนด บทบาทของบุคลากร ให้ชัดเจน ภายในโครงการ (บทบาทที่จะต้องรับผิดชอบชัดเจนเป็นทางการ)
สิ่งที่สำคัญ คือ บทบาทแต่ละตำแหน่งในโครงการจะต้อง มีความสำคัญ บุคลากรภายในทีมจะต้องร่วมกันตัดสินใจในการแบ่งบทบาทในแต่ละ
ตำแหน่งให้ชัดเจน
  บทบาทที่ไม่มีการกำหนดชัดเจน ในการดำเนินโครงการบางครั้งก็จะพบ
บทบาท ที่ไม่มีการกำหนดชัดเจนเกิดขึ้นภายในทีม มีกำหนดไว้้ ในทฤษฎีบทบาทของทีมกล่าวไว้ โดย Meredith Belbin ประกอบด้วย
   1. บทบาทที่เน้นการปฏิบัติ
   2. บทบาทที่เน้นทางความคิด(ใช้สติปัญญา)
   3. บทบาทที่เน้นบุคลากรในการดำเนินงาน
การจัดการทรัพยากรมนุษย์คำว่าการจัดการทรัพยากรมนุษย์” (human resource management) แต่เดิม เคยใช้คำว่า การบริหารงานบุคคล (personnel management) ซึ่งเป็นความหมายที่แคบกว่า โดยมองการบริหารบุคคลเป็นแบบศูนย์รวมอำนาจทั้งองค์การ ที่เกี่ยวกับกิจกรรม โปรแกรมและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการรับคนเข้าทำงาน การดูแลรักษาคนทำงาน และการให้คนงานออกจากงาน รวมทั้งการเก็บประวัติของคนงาน ลักษณะของศูนย์รวมงานส่วนใหญ่ของการบริหารงานบุคคลจึงเป็นงานบริการและงานธุรการ ต่อมาคำว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากมีการให้ความสำคัญว่า มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ไม่สามารถใช้เครื่องมือเครื่องจักรใด ๆ มาทดแทนได้ มนุษย์จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่นำองค์การให้ไปสู่ความสำเร็จ เนื่องจากมนุษย์มีสมอง มีความรู้สึกนึกคิด และมีจิตวิญญาณ การจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงมีความแตกต่างจากทรัพยากรอื่น ๆ เพราะผู้บริหารต้องทำความเข้าใจถึงความต้องการของคนงาน การให้เกียรติ และการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงมนุษย์ ตลอดจนการให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพ ความยุติธรรม ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตของคนงานด้วย โดยเป้าหมายการจัดการจะเน้นที่การสร้างคุณค่าเพิ่มขึ้น โดยการใช้ศักยภาพของมนุษย์ที่จะทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ มีความมั่นคง มั่งคั่ง และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ดังนั้น การจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงเกี่ยวข้องกับกิจกรรม โปรแกรมและนโยบายที่กว้างขวางมากขึ้นกว่าคำว่า การบริหารงานบุคคลซึ่งเป็นคำเดิมที่เคยใช้                สำหรับความหมายของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้                เพ็ญศรี วายวานนท์ (2537: 2) ให้ความหมายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ว่า เป็นงานการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนทำงาน เกี่ยวข้องกับการกำหนดและดำเนินนโยบายในด้านการวางแผนกำลังคน การจัดหาและคัดเลือกคนเข้าทำงาน การพัฒนา การจ่ายค่าตอบแทน การประสานสัมพันธ์เพื่อการธำรงรักษากำลังคนและการพ้นสภาพการทำงานอย่างเป็นธรรม เพื่อมุ่งหมายให้คนทำงานอยู่ดีและเป็นส่วนสำคัญในความสำเร็จขององค์การมอนดี และโน (Mondy and Noe, 1996 : 4) ให้ความหมายว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นการใช้ทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้องค์การบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด                 คลาร์ค (Clark, 1992 : 13) อธิบายว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นการจัดการความสัมพันธ์ของคนงานและผู้บริหาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้องค์การบรรลุจุดมุ่งหมาย ซึ่งจากความหมายดังกล่าวมีประเด็นที่สำคัญ 3 ประการ คือ                 1) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้ความสำคัญกับการจัดการความสัมพันธ์ ที่ไม่ใช่เป็นการจัดการบุคคล                 2) การจัดการทรัพยากรมนุษย์มุ่งเน้นที่เป้าประสงค์ขององค์การ ดังนั้น เมื่อวัตถุประสงค์ขององค์การเปลี่ยนแปลงไป การจัดการความสัมพันธ์ดังกล่าวก็จะเปลี่ยนด้วย                 3) วัตถุประสงค์หลักของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ควรมุ่งที่องค์การ ส่วนสมาชิกขององค์การแต่ละคนจะเป็นวัตถุประสงค์รอง

จากความหมายดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นการจัดการความสัมพันธ์ในการจ้างงาน เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรมนุษย์ในการทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ โดยจะเกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่การได้คนมาทำงานจนถึงคนนั้นออกจากงานไป ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะที่สำคัญ คือ ระยะการได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ (acquisition phase)  ระยะการรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่ทำงานในองค์การ (retention phase) และระยะการให้พ้นจากงาน (termination or separation phase) ซึ่งการจัดการทรัพยากรมนุษย์เป็นบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารในทุกระดับ เนื่องจากต้องเกี่ยวข้องกับการจัดการให้ได้คนดีมาทำงาน สามารถจัดวางคนให้เหมาะสมกับงาน มีการพัฒนา สนับสนุนและควบคุมให้คนทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ ดูแลเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของคนงาน ตลอดจนเตรียมการในรายที่จะเกษียณหรือต้องเลิกจ้าง

การจัดการบุคลากรกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์  เหมือนกันที่เป็นการหายุทธวิธีที่จะคัดเลือกบุคลากร  สรรหาบุคลากร ให้เหมาะสมกับหน้าที่ต่างๆที่จะดำเนินงานภายในโครงการ การกำหนด บทบาทของบุคลากร ให้ชัดเจนเพื่อบรรลุวัถุประสงค์ขององค์การที่วางไว้ให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ

 
นางสาวชุติมา แสงงาม รหัสประจำตัว 4950504107 ภาค กศ.ปช. รุ่น 10 หมู่ที่ 1 โปรแกรมวิชา การจัดการทั่วไป (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา)

                          การจัดการบุคลากร คือ เป็นกระบวนการในการจัดหาบุคลากรเข้าร่วมงานเริ่มต้นตั้งแต่การประกาศสมัครงาน   สอบ  คัดเลือก   สรรหาตำแหน่งงานให้เหมาะสมและ ให้พอเพียงกับความต้องการขององค์กร                       

 การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management)” เริ่มถูกนำมาประยุกต์ใช้มากขึ้น โดยการใช้ประโยชน์จาก คน ให้มีคุณค่าสูงสุดแก่องค์กร                                      Jeffrey Berk (2004, Talent Management : Valuing Human Capital) กล่าวว่า การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์เปรียบเช่นเดียวกับการลงทุนในทรัพยากรอื่น เช่น การ upgrade คอมพิวเตอร์มีค่าใช้จ่าย 500 บาท ก็หวังว่าองค์กรจะได้ประโยชน์ไม่น้อยกว่า 500 บาทที่จ่ายไป หากองค์กรต้องลงทุนค่าฝึกอบรมแก่พนักงาน ก็หวังว่าจะได้ประโยชน์คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายเป็นค่าฝึกอบรมนั้น บางองค์กรจึงวัดประสิทธิภาพจากการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวด้วยดัชนี ROI (Return On Investment) องค์กรจ่ายเงินไปเท่าไร เมื่อวัดผลการดำเนินงาน (Performance) ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าเงินที่จ่ายไป ผู้เขียนขอยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้าองค์กรต้องจ่ายค่าฝึกอบรมให้พนักงานขายไปอบรมเรื่องการขายและการตลาดไปเท่าไร อย่างน้อยต้องมียอดขายที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเงินที่จ่ายไป เป็นต้น                                        สำหรับในประเทศไทย เรื่อง Talent Management ถือเป็นเครื่องมือทางการบริหารอย่างหนึ่งที่เริ่มศึกษาและพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แทนเรื่องการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Planning)” ที่บางองค์กรเริ่มนำระบบการบริหารนี้ไปใช้อย่างจริงจัง เพราะเกรงว่าหากผู้นำองค์กร หรือผู้บริหารขององค์กรต้องจากองค์กรไปด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรือโรคภัยไข้เจ็บ หรือแม้กระทั่งถูกคู่แข่งซื้อตัวไป จะต้องมีผู้อื่นที่สามารถบริหารงานแทนได้ทันทีและมีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน                         คุณบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวบรรยายในหัวข้อ "การบริหารทรัพยากรมนุษย์พันธุ์ใหม่" ในงานสัมมนา " DNA for SMART HR" ซึ่งจัดโดยโครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ ( นิด้า) ร่วมกับหนังสือพิมพ์มติชนและประชาชาติธุรกิจ เมื่อต้นเดือนสิงหาคม,2547 มีความตอนหนึ่งที่น่าสนใจว่า “" การทำองค์กรให้สมาร์ทอันหนึ่งคือ Succession Planning หมายความว่าตรงจุดต่างๆ หากเกิดมีคนออกไป จะมีคนใหม่เข้าไปทำแทน เรื่องนี้ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย ตัวสำคัญๆ ที่วางตัวไว้ในองค์กร พอไปถามว่าใครจะเป็นตัวแทนให้กับคนนี้ ส่วนใหญ่จะไม่มีคำตอบกลับมา เลยทำให้ Succession Planning เกิดขึ้นด้วยความยากลำบาก แค่คนที่เป็นหัวเพียงคนเดียวก็หายากเต็มทีแล้ว มีตัวคน แต่ฝีมือคนละรุ่นกัน ผมก็ทำอยู่ในจุดสำคัญๆ ในองค์กร พอถามว่าใครเป็นตัวแทน ให้พูดชื่อพูดได้ แต่ถามว่าใครกล้าบ้าง โดยทั่วไปไม่แน่ใจว่าคนที่เป็นเบอร์ 2 ตรงนั้นทำได้ คนมีเยอะแต่คนที่เข้าสเป็กหาไม่ได้ แต่ว่าองค์กรที่แข็งแกร่งต้องมีตัวตายตัวแทน เพราะถ้าตัวเก่งๆ ไป องค์กรจะสะดุดทุกองค์กร"                         หลุมพรางของ Succession Planning                                       อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง ( Succession Planning ) จะเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในการบริหารงานบุคคลแต่เป็นเรื่องยากที่จะทำให้เกิดขึ้น เป็นเพราะอะไร คำตอบ คือ Succession Planning มีหลุมพรางในตัวของมันเองที่อาจจะไม่เหมาะกับวัฒนธรรมของคนไทย เช่นเดียวกับเรื่อง Re-engineering หรือ QCC ที่องค์กรหลายแห่งของไทยนิยมทำกันตามกระแสอยู่พักใหญ่ๆ แต่แล้วก็พบว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่เหมาะกับการบริหารแบบไทยๆ ไม่ใช่ว่า Re-engineering หรือ QCC ไม่ดีนะครับ แต่การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทันที หรือการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีม ไม่เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรส่วนใหญ่ของไทย ถ้าพูดกันให้ชัดเจน กล่าวคือ วัฒนธรรมองค์กรของไทยจะยอมรับการประนีประนอมมากกว่า เรื่องบริหารคนต้องมุ่งไปที่การบริหาร น้ำใจ มากกว่าไปมุ่งเน้นที่ผลตอบแทนเป็นตัวเงิน                           หากคิดจะทำ Succession Planning ต้องระวัง 5 หลุมพรางคือ                         •  เกิดความขัดแย้งในการทำงาน                                       Succession Planning จะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ Career Path ต้องชัดเจน คือ ผู้ที่เข้ามาร่วมทำงานในสายงานอาชีพใดจะต้องไต่เต้าไปตามเส้นทางอาชีพ (Career Path) นั้นข้อดี คือ มีความชัดเจนแก่ผู้ทำงานว่าจะเติบโตไปทางเส้นทางไหน แต่ผู้เขียนขอถามว่า หากหัวหน้าไม่ขยับ ลูกน้องจะเติบโตไปตามเส้นทางนั้นได้หรือไม่ หาก Successor โชคร้ายเจอหัวหน้าใจแคบคงไม่ต้องเจริญก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพนั้น แล้วจะทำอย่างไร นอกจากนี้ ในกลุ่ม Successor เองจะเกิดการแย่งชิงผลงาน ถ้าแย่งทำงานกันคงไม่เป็นไร แต่ถ้าแย่งชิงผลงานกันเองคงทำงานเป็นทีมคงลำบาก แล้วจะแก้ไขอย่างไรครับ                                      อย่างไรก็ตาม ยังมีทางแก้ไขครับ บางองค์กรจะมีการประเมิน Successor โดยไม่แจ้งบอกให้ทั้งหัวหน้างานและกลุ่ม Successor ทราบว่ามีใครบ้างที่อยู่ในกลุ่ม แต่คงไม่สามารถปกปิดได้ตลอดครับ เพราะในที่สุดในกลุ่มคงพอทราบว่าใครบ้างที่เป็น Successor ที่องค์กรมอบหมายให้ทำงานต่อไป ความขัดแย้งจึงยังไม่หมดไปเว้นแต่ว่าทุกคนรวมทั้งผู้บริหารต้องเปิดใจกว้างและยอมรับซึ่งกันและกัน                         •  เกิดระบบอุปถัมภ์ในสายงาน                         ถ้าถามว่าเราเป็นหัวหน้างาน ต้องการลูกน้องของเราเป็นอย่างไร? หลายคนจะตอบว่า ควรเป็นลูกน้องที่เราไว้วางใจและสั่งงานได้ ระบบอุปถัมภ์ที่ทำให้เกิดความเกรงใจกันมากกว่าความถูกต้องจะตามมา และในขณะเดียวกัน คนที่เราไว้วางใจให้ทำงานต่อจากเรานั้นอาจจะไม่ใช่เป็นคนเก่งก็ได้ นานๆเข้าองค์กรก็จะขาดแคลนคนเก่ง จะเหลือแต่คนประจบสอพลอ ทำงานด้วยปากเป็นหลัก องค์กรจะเติบโตได้อย่างไร? บางองค์กรจะแก้ไขปัญหานี้โดยใช้ผู้บริหารที่มีตำแหน่งสูงกว่าเป็นคนตัดสินใจคัดกรองว่าจะให้ใครมานั่งตำแหน่งที่ว่างลงแทนที่จะมอบหมายให้หัวหน้างานคนนั้นเป็นคนคัดเลือก แต่วิธีนี้ถ้าผู้บริหารที่มีตำแหน่งสูงกว่าไม่ใช่คนเก่งและคนดี ก็ใช้ไม่ได้ผลเช่นกัน                         •  ขาดความหลากหลายในการทำงาน                         การเติบโตตามสายงานที่ทำงานเหมือนๆกันมานาน จะทำให้ไม่มีความหลากหลายในความคิดเชิงกลยุทธ์เพราะ Successor จะรู้เฉพาะในสายงานที่ตนเองทำงานอยู่เท่านั้น แต่ในโลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งความรู้ (Knowledge-based Global Economy) การรับรู้เฉพาะในสายงานของตนเท่านั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้บริหารได้เท่าที่ควร                         ยิ่งถ้าหากท่านเป็นผู้บริหารต้องเป็นนักคิดนักวางแผนเชิงกลยุทธ์มากขึ้น ณ ปัจจุบัน ในที่ประชุมผู้บริหารไม่ใช่เป็นเวทีประชุมเพื่อแจ้งให้รับทราบเท่านั้น หากแต่เป็นเวทีสำหรับการเสนอแนะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายในองค์กร เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจในการทำงานต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ผู้จัดการฝ่าย HR ไม่ใช่มีหน้าที่รายงานว่าองค์กรมีจำนวนรายวันรายเดือนมากขึ้นหรือลดลงกว่าเดิม แล้วจบรายงานเท่านั้น ถามว่ารายงานนี้มีค่าเท่าใดครับ มีค่าเป็น ศูนย์ ครับ ไม่มีประโยชน์ใดๆเลย ผู้บริหาร HR ต้องสามารถอธิบายชี้บ่งได้ว่าที่เพิ่มหรือลดลงนั้นเกิดจากหน่วยงานใด เพราะอะไร เกิดต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้นเท่าไร สัดส่วนต่อยอดผลิตเป็นเท่าไร ถ้าไม่เพิ่มคนจะต้องทำอย่างไร ในอีกไตรมาสหน้า จะวางแผนกำลังคนและฝึกอบรมอย่างไร เพื่อประโยชน์อะไร เป็นต้น หมายความว่า HR ต้องรู้มากกว่าเรื่องการบริหารคน แต่ต้องรู้เรื่องการวางแผนเชิงกลยุทธ์ร่วมกับผู้บริหารท่านอื่นๆด้วย บางเรื่อง HR ต้องรู้เรื่องการบริหารต้นทุนการดำเนินงาน เพราะค่าจ้างและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานจะเป็นต้นทุนที่มีภาระผูกพันกับองค์กร                         ผู้เขียนขอให้ผู้บริหารลองไตร่ตรองสักนิดเกี่ยวกับต้นทุนการดำเนินงาน โดยให้ปรับเทียบจากจำนวนพนักงานเป็นฐาน เพราะผู้เขียนเคยเห็นผู้บริหารหลายๆบริษัทหลงใหลได้ปลื้มกับยอดขายที่เพิ่ม แต่เมื่อสิ้นปีกลับมีผลกำไรลดลงเนื่องจากต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง เคยเห็นวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างมักง่ายที่เมื่อเห็นทำงานไม่ทันก็เพิ่มคน มีงานเพิ่มเท่าไรต้องเพิ่มคนเท่านั้น วิธีนี้ง่ายเกินไปแต่นิยมทำกันจนเป็นเสมือนสูตรสำเร็จ แต่ไม่สะท้อนถึงประสิทธิภาพการบริหารใดๆเลย ลองดูตัวอย่างนี้ครับ บริษัท A มียอดขาย 600 ล้านบาทต่อปี ผลกำไรขั้นต้น (EBITDA) 24 ล้านบาท แต่มีพนักงานรวม 700 คน นั่นคือบริษัทมีความสามารถในการสร้างผลกำไรเพิ่ม 34,285 บาทต่อคน ในขณะที่คู่แข่งมียอดขาย 450 ล้านบาทต่อปี ผลกำไรขั้นต้น (EBITDA) แค่ 18 ล้านบาท แต่มีจำนวนพนักงานรวม 300 คน ความสามารถในการทำกำไรคิดเป็น 60,000 บาทต่อคน สูงกว่ากันเกือบเท่าตัว ส่วนที่คู่แข่งมีกำไรต่อหัวมากกว่าสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารทรัพยากรบุคคลสูงกว่า และหมายถึงผลกำไรของคู่แข่งจะเป็นการสะสมเสบียงเงินทุนในการแข่งขันในอนาคต                         •  ข้อจำกัดที่มาจากบุคลากรภายในองค์กร                         หากองค์กรใดจัดทำระบบ Succession Planning ที่มาจากกระบวนการคัดกรองบุคลากรจากภายในองค์กรเป็นหลัก อาจจะทำให้เกิดการทำงานแบบเดิมๆไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เรียนรู้จากเทคโนโลีภายนอกที่ก้าวไปไกลกว่าที่ใช้อยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กรด้วยครับ เพราะถ้าวัฒนธรรมองค์กรเป็นลักษณะของการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและกล้าที่จะเปลี่ยน ย่อมไม่มีปัญหามากนัก แต่ถ้าเป็นองค์กรที่ค่อนข้างอนุรักษ์นิยม ไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลงหากเป็นเช่นนี้จะเป็นอันตรายเพราะทำให้คู่แข่งรู้สไตล์การทำงานของเราหมด เปรียบเสมือน นักกีฬาที่ใช้แทคติกเดิมๆทุกครั้ง คู่แข่งก็จะจับทางได้ ย่อมพ่ายแพ้ในที่สุด แต่สำหรับในแง่ธุรกิจจะต่างกัน ถ้าธุรกิจแพ้ ยากที่จะฟื้นตัวได้โดยง่าย แล้วมีทางแก้ไขหรือไม่ มีครับ โดยบางองค์กรปรับตนเองไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) พูดง่ายครับแต่ทำยาก เพราะถ้าหัว (CEO) ไม่ริเริ่มที่จะปรับเปลี่ยน อย่าหวังว่าจะทำงานต่อไปได้ครับ                         •  ไม่มีระบบการคัดกรองคนที่มีความสามารถเข้ามาภายในองค์กร                         ในขณะที่การบริหาร Succession Planning จะมุ่งไปที่การสร้าง Career Development เพื่อหวังว่าจะสามารถสร้างคนเก่งๆมาทดแทนในตำแหน่งที่เป็น Key Position แต่หากการออกแบบการพัฒนาสายงานอาชีพที่ไม่เหมาะสมกับวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กร และการประเมินผลที่ไม่มีความแม่นยำแล้วย่อมเป็นการสูญเปล่าในการลงทุนนั้น เช่นเดียวกัน หากองค์กรหันไปเลือกการรับคนเก่งจากภายนอกเข้ามาภายในองค์กร แต่ไม่มีระบบการคัดกรองที่ดีแล้ว ย่อมไม่ได้คนที่มีความสามารถเข้ามาภายในองค์กร องค์กรใหญ่ๆจึงนิยมใช้ Head Hunter ทำงานในส่วนนี้มากกว่า ยกตัวอย่างเช่น กรณีของชินคอร์ป โดยนายบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ชินคอร์ปปอเรชั่น กล่าวว่า กลุ่มชินคอร์ปเปลี่ยนกลยุทธ์ในการเฟ้นหาผู้บริหารระดับสูงตั้งแต่ Vice President ขึ้นไปโดยใช้วิธีจ้างบริษัท Head Hunter ในประเทศสิงคโปร์เพื่อหาผู้บริหารชาวสิงคโปร์ที่มีความเหมาะสมในการเข้าทำงาน ในกลุ่มชินคอร์ป เนื่องจากที่ผ่านมา กลุ่มชินคอร์ปได้เฟ้นหาผู้บริหารระดับสูงที่จะมาเป็นเลือดใหม่เข้ามารับช่วงบริหารงานของกลุ่มในสายงานที่สำคัญต่างๆ มา ระยะหนึ่งแล้ว เริ่มจากที่เขาและทีมงานบางส่วนติดต่อนัดสัมภาษณ์เอง จนมาจ้างบริษัท head hunter ในประเทศไทยเพื่อดำเนินการมาช่วงหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ได้ผู้บริหารที่ตรงกับคอนเซ็ปต์ที่ต้องการ ตัวเลือกในประเทศมีน้อย และที่ผ่านมายังไม่เจอคนที่โดนมากๆ ผมอยากได้คนสิงคโปร์ที่มีส่วนประกอบที่เราต้องการคือการเป็นคนเอเชียและมี             ทัศนคติในการทำงานเหมือนกันคือ easy, smart และ work hard” ( U ผู้จัดการรายวัน 20 กันยายน     2547 U )                         ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้องค์กรหลายแห่งเลี่ยงการใช้ Succession Planning แล้วไปใช้เครื่องมืออีกตัวหนึ่งแทน คือ ระบบการบริหารคนเก่ง (Talent Management System)” แทน เพราะเชื่อว่า ทุกองค์กรจะมีคนเก่งอยู่เสมอ ถ้าไม่มีก็ให้คัดเลือกเข้ามาหรือพัฒนาบุคลากรให้เป็นคนเก่งก็ได้                          การบริหารทรัพยากรมนุษย์    คือ งานการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนทำงาน เกี่ยวข้องกับการกำหนดและดำเนินนโยบายในด้านการวางแผนกำลังคน การจัดหาและคัดเลือกคนเข้าทำงาน การพัฒนา การจ่ายค่าตอบแทน การประสานสัมพันธ์เพื่อการธำรงรักษากำลังคนและการพ้นสภาพการทำงานอย่างเป็นธรรม เพื่อมุ่งหมายให้คนทำงานอยู่ดีและเป็นส่วนสำคัญในความสำเร็จขององค์การมอนดี และโน (Mondy and Noe, 1996 : 4) ให้ความหมายว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นการใช้ทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้องค์การบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด                                        คลาร์ค (Clark, 1992 : 13) อธิบายว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นการจัดการความสัมพันธ์ของคนงานและผู้บริหาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้องค์การบรรลุจุดมุ่งหมาย ซึ่งจากความหมายดังกล่าวมีประเด็นที่สำคัญ 3 ประการ คือ                                         1) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้ความสำคัญกับการจัดการความสัมพันธ์ ที่ไม่ใช่เป็นการจัดการบุคคล                                        2) การจัดการทรัพยากรมนุษย์มุ่งเน้นที่เป้าประสงค์ขององค์การ ดังนั้น เมื่อวัตถุประสงค์ขององค์การเปลี่ยนแปลงไป การจัดการความสัมพันธ์ดังกล่าวก็จะเปลี่ยนด้วย                                         3) วัตถุประสงค์หลักของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ควรมุ่งที่องค์การ ส่วนสมาชิกขององค์การแต่ละคนจะเป็นวัตถุประสงค์รอง                         สรุปการจัดการบุคลากรกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะมีลักษณะคล้ายกัน  แต่การบริหารทุนมนุษย์จะเป็นการบริหารคนเก่งในการทำงาน        

2.3 การจัดบุคลากรและบทบาทหน้าที่

     การจัดสัดส่วนและอัตรากำลังของบุคลากรในหน่วยบริการสุขภาพจะขึ้นอยู่กับประเภทของสถานประกอบการและจำนวนพนักงานและลูกจ้าง ทางสถาบันความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงานแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (NIOSH) ได้ให้แนวปฏิบัติไว้ดังนี้

 

มยุรี แจ่มฟ้า กศปช.รุ่น 10 หมู่ 1
ความเป็นมา - เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเป็นเครื่องมือในทางการพัฒนาการศึกษา โดยการนำสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และการจัดแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มาใช้เพื่อให้การศึกษาที่สามารถผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตามความต้องการ เพื่อให้การเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทั้งด้านการศึกษาสาระความรู้ทางวิชาการ ทางศาสนา และศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเป็นกระบวนการที่เน้นการวิเคราะห์วิจัยสภาพปัญหา การวางแผน และประสานการดำเนินงาน การออกแบบและการผลิตสื่อทางการศึกษา การกำหนดมาตรฐานทางการดำเนินงาน การออกแบบและการผลิตสื่อทางการศึกษา การกำหนดมาตรฐานทางการดำเนินงาน การปฏิบัติการใช้ การประเมินผลและแก้ไขปัญหา ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรผู้ผลิตและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจะครอบคลุมสื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต โทรสาร โทรศัพท์ และโทรคมนาคมอื่น ๆ รวมทั้งแหล่งการเรียนรู้ทั่วไป เช่น หอสมุด พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ ที่จัดเพื่อการใช้งาน โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เต็มตามศักยภาพ ปราศจากข้อจำกัดด้านโอกาส ถิ่นที่อยู่ ฐานทางเศรษฐกิจและสังคม คุณภาพการจัดการศึกษาของไทย ยังมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะระหว่างเขตเมืองกับเขตชนบท โรงเรียนบางแห่งที่ได้รับความยินยอมและยอมรับเพื่อเป็นหลักประกันว่าการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา เป็นการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสามารถตอบสนองความต้องการ ในการพัฒนาศักยภาพของคนให้สอดคล้องกับลักษณะของสังคมในปัจจุบันและอนาคต ประกอบกับปัจจุบัน นวัตกรรมและเทคโนโลยีได้เข้ามาบทบาทสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการเรียนการสอน แต่เนื่องจากปัจจุบันโรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถปฏิบัติงานในการจัดการเกี่ยวกับงานโสตทัศนศึกษา ซึ่งการจัดการก็มีหลายรูปแบบ เพื่อช่วยเหลือการเรียนการสอนในโรงเรียนแต่ละแห่ง ซึ่งรูปแบบต่าง ๆ ก็จะเป็นผลมาจาก ฐานะทางเศรษฐกิจและทัศนคติของชุมชนแต่ละแห่งโดยอาศัยหลักการประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาช่วยในการเรียนการสอนและวิธีจัดระบบในการกระบวนการดำเนินการด้านต่าง ๆ จะมีคณะผู้ร่วมงานที่มีความรู้ความชำนาญงานเฉพาะสาขา มาช่วยดำเนินงานให้เกิดผลเต็มที่ การจัดการงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของแต่ละโรงเรียน จะเลือกจัดวิธีใดขึ้นอยู่กับภูมิหลังที่เหมาะสมของแต่ละแห่ง เมื่อพัฒนาถึงขั้นแล้ว จึงค่อยเปลี่ยนวิธีการให้สะดวกและดีขึ้น เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาอย่างจริงจัง (กรมสามัญศึกษา. 2540 : 8) เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษานั้น มุ่งจัดเนื้อหาวิชาให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางเทคโนโลยี โดยพยายามพัฒนาเนื้อหาวิชาในหลักสูตรให้เด็กได้ฝึกทักษะ เพื่อเป็นพลเมืองที่มีคุณค่า ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมด้วย ควรมีการจัดการศึกษาด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญในการจัดการศึกษาทั่วไป ขอบเขตของเนื้อหาดังกล่าวควรประกอบไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสถาบันต่าง ๆ ความเข้าใจ ความสามารถต่าง ๆ ที่จะเป็นพลังผลักดันให้บุคลากรเป็นผู้มีความสามารถ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2539 : 88) ในปัจจุบันมีหน่วยงานและองค์กรของรัฐจำนวนมากที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา แต่ในภาพรวมยังแสดงให้เห็นถึงความซ้ำซ้อนและปัญหาในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งการจัดระบบงานสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษามีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 เพื่อให้กิจกรรมการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์และสามารถเป็นไปตามความคาดหวังของสังคม แนวคิดทฤษฎี - ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร ตำรา และรายงานการวิจัย ของ ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526, 2534) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยไว้ ดังนี้ 1. เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ประกอบด้วย 1.1 สื่อสารมวลชน 1.2 โทรคมนาคม 1.3 เทคโนโลยีสารสนเทศ 1.4 แหล่งการเรียนรู้ 1.5 สื่อโสตทัศน์ 2. การจัดการระบบเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ประกอบด้วย 2.1 การวางแผน (Planning) 2.2 การจัดหน่วยงาน (Organizing) 2.3 การจัดบุคลากร (Staffing) 2.4 การอำนวยการ (Directing) 2.5 การกำกับติดตาม (Controlling) วัตถุประสงค์ - 1. เพื่อศึกษาสภาพการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามความคิดเห็นของหัวหน้างานโสตทัศนศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 9 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร หัวหน้างานโสตทัศนศึกษา และครูผู้สอน ที่มีต่อการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 9 3. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร หัวหน้างานโสตทัศนศึกษา และครูผู้สอนที่มีต่อการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจำแนกตามสถานภาพและขนาดของโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 9 สมมุติฐานการวิจัย - 1. ผู้บริหาร หัวหน้างานโสตทัศนศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 9 มีความคิดเห็นต่อการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน 2. ผู้บริหาร หัวหน้างานโสตทัศนศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพและขนาดของโรงเรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 9 มีความคิดเห็นต่อการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน ระเบียบวิธีวิจัย - การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ครู – อาจารย์ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 9 รวมทั้งสิ้น จำนวน 11,522 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารจำนวน 338 คน หัวหน้างานโสตทัศนศึกษา 338 คน และครูผู้สอน จำนวน 10,879 คน (กรมสามัญศึกษา. 2543 : 20) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู-อาจารย์ จำนวน 1,152 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร หัวหน้างานโสตทัศนศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 9 จาก 338 โรงเรียน โดยใช้เกณฑ์กำหนดขนาดตัวอย่างร้อยละ 10 และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) ตัวแปร - นิยามศัพท์ - เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา หมายถึง การนำสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม การจัดแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้และสื่อโสตทัศน์ มาใช้เพื่อจัดให้มีการศึกษาที่สามารถผสมสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตามต้องการ เพื่อให้การเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. 2543 : 3) การจัดการ หมายถึง กิจกรรมที่ประกอบด้วยการวางแผน การจัดหน่วยงาน การจัดบุคลากร การอำนวยการ และการกำกับติดตาม ระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา หมายถึง กิจกรรมที่เป็นการวางแผน การจัดหน่วยงาน การจัดบุคลากร การอำนวยการ และการกำกับติดตามการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การวางแผน หมายถึง กระบวนการศึกษาปัญหาความต้องการและวิเคราะห์ พิจารณาตัดสินใจ ดำเนินกิจกรรมในการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การจัดหน่วยงาน หมายถึง การกำหนดและการจัดระบบงานที่จะปฏิบัติ จัดอำนาจหน้าที่ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างงานต่าง ๆ เป็นรูปแบบที่เหมาะสม กับการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การจัดบุคคล หมายถึง การกำหนดเกี่ยวกับจำนวนบุคลากรในองค์กร เข้าสู่ระบบงานตามตำแหน่ง หน้าที่ การจัดสวัสดิการ และการพัฒนาบุคลากรได้เหมาะสมกับระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การอำนวยการ หมายถึง หลักการใช้ศิลปะการเป็นผู้นำการสื่อสาร การมีมนุษยสัมพันธ์ การจูงใจ การนำบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานด้านสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างมีความสุข การกำกับติดตาม หมายถึง การนิเทศหรือการติดตามผลในการดำเนินงานการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแทนสอบถาม จำนวน 6 ข้อ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) ตอนที่ 2 ศึกษาเกี่ยวกับสภาพการจัดระบบงานสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จำนวน 26 ข้อลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบตรวจรายการ (สำหรับหัวหน้างานโสตทัศนศึกษาเท่านั้น) ตอนที่ 3 ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 62 ข้อ การหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะแล้วนำไปทดลองใช้ (Try Out) วิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อโดยใช้วิธี Item-Total Correlation ได้ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.50-0.97 และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 วิธีการรวบรวมข้อมูล - การวิเคราะห์ข้อมูล - วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ดังนี้ 1. ข้อมูลแบบสอบถามตอนที่ 1 รายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ 2. ข้อมูลแบบสอบถามตอนที่ 2 สภาพการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของหัวหน้างานโสตทัศนศึกษา วิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ 3. ข้อมูลแบบสอบถามตอนที่ 3 วิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อทราบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และครูผู้สอน ทั้งโดยส่วนรวม แต่ละด้านเป็นรายข้อ จำแนกตามสถานภาพและขนาดของโรงเรียน 4. วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็น ของผู้บริหาร หัวหน้างานโสตทัศนศึกษา และครูผู้สอน ที่มีต่อการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 9 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-way Analysis of Variance) 4.1 ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ ความคิดเห็นของผู้บริหาร หัวหน้างานโสตทัศนศึกษา และครูผู้สอน โดยใช้ตามวิธีของเชฟฟ่ (Scheffe/) สรุปผลวิจัย - 1. ครู- อาจารย์ โดยรวม และจำแนกตามสถานภาพและขนาดโรงเรียนมีสภาพการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเป็นอันดับแรกและรองลงมาดังนี้ ด้านการจัดบุคลากร ด้านการวางแผน ด้านการกำกับติดตาม ด้านการจัดหน่วยงาน และด้านการอำนวยการ 2. ครู- อาจารย์ โดยรวม หัวหน้างานโสตทัศนศึกษา ครูผู้สอน และครู- อาจารย์ จำแนกตามขนาดโรงเรียน เห็นว่า มีการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น ครู- อาจารย์ โดยรวมและหัวหน้างานโสตทัศนศึกษาเห็นว่า มีการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยรวมเป็นรายด้าน 3 ด้าน คือ ด้านการวางแผน ด้านการจัดหน่วยงาน และด้านการจัดบุคลากรอยู่ในระดับมาก และอีก 2 ด้าน คือ ด้านการอำนวยการและด้านการกำกับติดตามอยู่ในระดับปานกลาง 3. ครู- อาจารย์ ที่มีสถานภาพต่างกัน เห็นว่า มีการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยรวมและทั้ง 5 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารและหัวหน้างานโสตทัศนศึกษาเห็นว่ามีการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามากกว่าครูผู้สอน ยกเว้นด้านการจัดหน่วยงาน ครูผู้สอนและหัวหน้างานโสตทัศนศึกษา เห็นว่า มีการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามากกว่าผู้บริหาร 4. ครู-อาจารย์ในโรงเรียนขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยรวมและรายด้านทั้ง 5 ด้านไม่แตกต่างกันและไม่มีปฎิสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพและขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน 4 ด้าน แต่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านการจัดหน่วยงาน ข้อเสนอแนะ - ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปใช้ 1. ด้านการวางแผน โรงเรียนควรจะมีการวางแผนการในส่วนของการจัดทำปฏิทินงานในการดำเนินงานการจัดการเพื่อเพียงพอต่อการบริหาร 2. ด้านการจัดหน่วยงาน ควรจะมีการจัดกองทุนมาช่วยในการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนรวมทั้งให้ชุมชนท้องถิ่น มีส่วนร่วม สนับสนุนพัฒนา การใช้และการผลิต 3. ด้านการจัดบุคลากร โรงเรียนควรจัดการจัดกิจกรรมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เช่นการประกวดสื่ออันเนื่องมาจากการผลิตสื่อไม่ได้รับการสนับสนุน การให้ความรู้จึงทำให้การจัดกิจกรรมการผลิตสื่อไม่ค่อยได้จัดการประกวด ดังนั้นจึงควรได้รับการสนับสนุนในการจัดกิจกรรมนี้ เพื่อจะได้บุคลากรที่มีคุณภาพในการดำเนินงาน 4. ด้านการอำนวยการโรงเรียนควรมีการประเมินผู้เรียนและการรายงานผล การดำเนินงานด้านการประเมินประสิทธิภาพการใช้สื่อ-นวตกรรม ควรมีการจัดอบรมเรื่องการประเมินการเรียนการสอนให้แก่ครูผู้สอน 5. ด้านการกำกับติดตาม โรงเรียนควรมีการจัดทำแฟ้มการดำเนินงานทุกปี การศึกษาเพื่อจะสะดวกต่อการประเมินงานในปีต่อ ๆ ไปและควรมีการประเมินเกี่ยวกับการดำเนินการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในระดับโรงเรียน สหวิทยาเขต และในระดับเขตการศึกษา ควรมีการส่งเสริมโดยการจัดทำเอกสารเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแจกจ่ายให้แก่โรงเรียนอย่างทั่วถึง เพื่อโรงเรียนจะได้นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโรงเรียนต่อไป ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยต่อไป 1. ควรมีการวิจัยในลักษณะนี้ในพื้นที่อื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ทำการวิจัยโดยเพิ่มตัวแปรเข้ามาคือ นักเรียนซึ่งเป็นผู้ได้รับสื่อโดยตรง 2. ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในลักษณะของผู้เรียนในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นไป <<
มยุรี แจ่มฟ้า กศปช.รุ่น 10 หมู่ 1
การจัดการบุคคลากร คือ กระบวนการที่ผู้นำ (ผู้บริหาร) ใช้ศิลปะ และวิธีการต่าง ๆ สรรหาบุคคลเพื่อเข้าทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การโดยการใช้ทรัพยากรการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การที่ผู้บริหารใช้ศิลปะและวิธีการในการสรรหา คัดเลือกและบรรจุบุคลากรที่มีความเหมาะสมมาปฏิบัติงานในองค์การ พร้อมทั้งรักษาให้อยู่กับองค์การอย่างมีความสุข การจัดการบุคลลากร เหมือนกัน กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ ต้องการสรรหาบบุคคลเข้าทำงานที่มีความรู้ความสามารถเพื่อให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์
มยุรี แจ่มฟ้า กศปช.รุ่น 10 หมู่ 1
การบริหารจัดการบุคคล เป้าหมายสำหรับการบริหารจัดการบุคคลสำหรับที่จะบริหารจัดการ โครงการให้ประสบความสำเร็จ คือ การหายุทธวิธีที่จะคัดเลือกบุคลากร ให้เหมาะสมกับหน้าที่ต่างๆที่จะดำเนินงานภายในโครงการ การกำหนด บทบาทของบุคลากร ให้ชัดเจน ภายในโครงการ (บทบาทที่จะต้องรับผิดชอบชัดเจนเป็นทางการ) สิ่งที่สำคัญ คือ บทบาทแต่ละตำแหน่งในโครงการจะต้อง มีความสำคัญ บุคลากรภายในทีมจะต้องร่วมกันตัดสินใจในการแบ่งบทบาทในแต่ละ ตำแหน่งให้ชัดเจน บทบาทที่ไม่มีการกำหนดชัดเจน ในการดำเนินโครงการบางครั้งก็จะพบ บทบาท ที่ไม่มีการกำหนดชัดเจนเกิดขึ้นภายในทีม มีกำหนดไว้้ ในทฤษฎีบทบาทของทีมกล่าวไว้ โดย Meredith Belbin ประกอบด้วย 1. บทบาทที่เน้นการปฏิบัติ 2. บทบาทที่เน้นทางความคิด(ใช้สติปัญญา) 3. บทบาทที่เน้นบุคลากรในการดำเนินงาน การจัดการทรัพยากรมนุษย์คำว่า “การจัดการทรัพยากรมนุษย์” (human resource management) แต่เดิม เคยใช้คำว่า การบริหารงานบุคคล (personnel management) ซึ่งเป็นความหมายที่แคบกว่า โดยมองการบริหารบุคคลเป็นแบบศูนย์รวมอำนาจทั้งองค์การ ที่เกี่ยวกับกิจกรรม โปรแกรมและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการรับคนเข้าทำงาน การดูแลรักษาคนทำงาน และการให้คนงานออกจากงาน รวมทั้งการเก็บประวัติของคนงาน ลักษณะของศูนย์รวมงานส่วนใหญ่ของการบริหารงานบุคคลจึงเป็นงานบริการและงานธุรการ ต่อมาคำว่า “การจัดการทรัพยากรมนุษย์” ได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากมีการให้ความสำคัญว่า มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ไม่สามารถใช้เครื่องมือเครื่องจักรใด ๆ มาทดแทนได้ มนุษย์จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่นำองค์การให้ไปสู่ความสำเร็จ เนื่องจากมนุษย์มีสมอง มีความรู้สึกนึกคิด และมีจิตวิญญาณ การจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงมีความแตกต่างจากทรัพยากรอื่น ๆ เพราะผู้บริหารต้องทำความเข้าใจถึงความต้องการของคนงาน การให้เกียรติ และการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงมนุษย์ ตลอดจนการให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพ ความยุติธรรม ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตของคนงานด้วย โดยเป้าหมายการจัดการจะเน้นที่การสร้างคุณค่าเพิ่มขึ้น โดยการใช้ศักยภาพของมนุษย์ที่จะทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ มีความมั่นคง มั่งคั่ง และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ดังนั้น การจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงเกี่ยวข้องกับกิจกรรม โปรแกรมและนโยบายที่กว้างขวางมากขึ้นกว่าคำว่า “การบริหารงานบุคคล” ซึ่งเป็นคำเดิมที่เคยใช้ สำหรับความหมายของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้ เพ็ญศรี วายวานนท์ (2537: 2) ให้ความหมายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ว่า เป็นงานการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนทำงาน เกี่ยวข้องกับการกำหนดและดำเนินนโยบายในด้านการวางแผนกำลังคน การจัดหาและคัดเลือกคนเข้าทำงาน การพัฒนา การจ่ายค่าตอบแทน การประสานสัมพันธ์เพื่อการธำรงรักษากำลังคนและการพ้นสภาพการทำงานอย่างเป็นธรรม เพื่อมุ่งหมายให้คนทำงานอยู่ดีและเป็นส่วนสำคัญในความสำเร็จขององค์การมอนดี และโน (Mondy and Noe, 1996 : 4) ให้ความหมายว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นการใช้ทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้องค์การบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
มยุรี แจ่มฟ้า กศปช.รุ่น 10 หมู่ 1
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ งานการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนทำงาน เกี่ยวข้องกับการกำหนดและดำเนินนโยบายในด้านการวางแผนกำลังคน การจัดหาและคัดเลือกคนเข้าทำงาน การพัฒนา การจ่ายค่าตอบแทน การประสานสัมพันธ์เพื่อการธำรงรักษากำลังคนและการพ้นสภาพการทำงานอย่างเป็นธรรม เพื่อมุ่งหมายให้คนทำงานอยู่ดีและเป็นส่วนสำคัญในความสำเร็จขององค์การมอนดี และโน (Mondy and Noe, 1996 : 4) ให้ความหมายว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นการใช้ทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้องค์การบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด คลาร์ค (Clark, 1992 : 13) อธิบายว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นการจัดการความสัมพันธ์ของคนงานและผู้บริหาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้องค์การบรรลุจุดมุ่งหมาย ซึ่งจากความหมายดังกล่าวมีประเด็นที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้ความสำคัญกับการจัดการความสัมพันธ์ ที่ไม่ใช่เป็นการจัดการบุคคล 2) การจัดการทรัพยากรมนุษย์มุ่งเน้นที่เป้าประสงค์ขององค์การ ดังนั้น เมื่อวัตถุประสงค์ขององค์การเปลี่ยนแปลงไป การจัดการความสัมพันธ์ดังกล่าวก็จะเปลี่ยนด้วย 3) วัตถุประสงค์หลักของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ควรมุ่งที่องค์การ ส่วนสมาชิกขององค์การแต่ละคนจะเป็นวัตถุประสงค์รอง สรุปการจัดการบุคลากรกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่การบริหารทุนมนุษย์จะเป็นการบริหารคนเก่งในการทำงาน
น.ส. พัณณิตา แซ่ฟุ้ง กศ.ปช.รุ่น 10
การจัดการบุคลากร คือ เป็นกระบวนการในการจัดหาบุคลากรเข้าร่วมงานเริ่มต้นตั้งแต่การประกาศสมัครงาน สอบ คัดเลือก สรรหาตำแหน่งงานให้เหมาะสมและ ให้พอเพียงกับความต้องการขององค์กร การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management)” เริ่มถูกนำมาประยุกต์ใช้มากขึ้น โดยการใช้ประโยชน์จาก “ คน ” ให้มีคุณค่าสูงสุดแก่องค์กร Jeffrey Berk (2004, Talent Management : Valuing Human Capital) กล่าวว่า การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์เปรียบเช่นเดียวกับการลงทุนในทรัพยากรอื่น เช่น การ upgrade คอมพิวเตอร์มีค่าใช้จ่าย 500 บาท ก็หวังว่าองค์กรจะได้ประโยชน์ไม่น้อยกว่า 500 บาทที่จ่ายไป หากองค์กรต้องลงทุนค่าฝึกอบรมแก่พนักงาน ก็หวังว่าจะได้ประโยชน์คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายเป็นค่าฝึกอบรมนั้น บางองค์กรจึงวัดประสิทธิภาพจากการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวด้วยดัชนี ROI (Return On Investment) องค์กรจ่ายเงินไปเท่าไร เมื่อวัดผลการดำเนินงาน (Performance) ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าเงินที่จ่ายไป ผู้เขียนขอยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้าองค์กรต้องจ่ายค่าฝึกอบรมให้พนักงานขายไปอบรมเรื่องการขายและการตลาดไปเท่าไร อย่างน้อยต้องมียอดขายที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเงินที่จ่ายไป เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย เรื่อง Talent Management ถือเป็นเครื่องมือทางการบริหารอย่างหนึ่งที่เริ่มศึกษาและพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แทนเรื่อง “ การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Planning)” ที่บางองค์กรเริ่มนำระบบการบริหารนี้ไปใช้อย่างจริงจัง เพราะเกรงว่าหากผู้นำองค์กร หรือผู้บริหารขององค์กรต้องจากองค์กรไปด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรือโรคภัยไข้เจ็บ หรือแม้กระทั่งถูกคู่แข่งซื้อตัวไป จะต้องมีผู้อื่นที่สามารถบริหารงานแทนได้ทันทีและมีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน คุณบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวบรรยายในหัวข้อ "การบริหารทรัพยากรมนุษย์พันธุ์ใหม่" ในงานสัมมนา " DNA for SMART HR" ซึ่งจัดโดยโครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ ( นิด้า) ร่วมกับหนังสือพิมพ์มติชนและประชาชาติธุรกิจ เมื่อต้นเดือนสิงหาคม,2547 มีความตอนหนึ่งที่น่าสนใจว่า “" การทำองค์กรให้สมาร์ทอันหนึ่งคือ Succession Planning หมายความว่าตรงจุดต่างๆ หากเกิดมีคนออกไป จะมีคนใหม่เข้าไปทำแทน เรื่องนี้ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย ตัวสำคัญๆ ที่วางตัวไว้ในองค์กร พอไปถามว่าใครจะเป็นตัวแทนให้กับคนนี้ ส่วนใหญ่จะไม่มีคำตอบกลับมา เลยทำให้ Succession Planning เกิดขึ้นด้วยความยากลำบาก แค่คนที่เป็นหัวเพียงคนเดียวก็หายากเต็มทีแล้ว มีตัวคน แต่ฝีมือคนละรุ่นกัน ผมก็ทำอยู่ในจุดสำคัญๆ ในองค์กร พอถามว่าใครเป็นตัวแทน ให้พูดชื่อพูดได้ แต่ถามว่าใครกล้าบ้าง โดยทั่วไปไม่แน่ใจว่าคนที่เป็นเบอร์ 2 ตรงนั้นทำได้ คนมีเยอะแต่คนที่เข้าสเป็กหาไม่ได้ แต่ว่าองค์กรที่แข็งแกร่งต้องมีตัวตายตัวแทน เพราะถ้าตัวเก่งๆ ไป องค์กรจะสะดุดทุกองค์กร" หลุมพรางของ Succession Planning อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง ( Succession Planning ) จะเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในการบริหารงานบุคคลแต่เป็นเรื่องยากที่จะทำให้เกิดขึ้น เป็นเพราะอะไร คำตอบ คือ Succession Planning มีหลุมพรางในตัวของมันเองที่อาจจะไม่เหมาะกับวัฒนธรรมของคนไทย เช่นเดียวกับเรื่อง Re-engineering หรือ QCC ที่องค์กรหลายแห่งของไทยนิยมทำกันตามกระแสอยู่พักใหญ่ๆ แต่แล้วก็พบว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่เหมาะกับการบริหารแบบไทยๆ ไม่ใช่ว่า Re-engineering หรือ QCC ไม่ดีนะครับ แต่การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทันที หรือการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีม ไม่เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรส่วนใหญ่ของไทย ถ้าพูดกันให้ชัดเจน กล่าวคือ วัฒนธรรมองค์กรของไทยจะยอมรับการประนีประนอมมากกว่า เรื่องบริหารคนต้องมุ่งไปที่การบริหาร ” น้ำใจ ” มากกว่าไปมุ่งเน้นที่ผลตอบแทนเป็นตัวเงิน หากคิดจะทำ Succession Planning ต้องระวัง 5 หลุมพรางคือ • เกิดความขัดแย้งในการทำงาน Succession Planning จะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ Career Path ต้องชัดเจน คือ ผู้ที่เข้ามาร่วมทำงานในสายงานอาชีพใดจะต้องไต่เต้าไปตามเส้นทางอาชีพ (Career Path) นั้นข้อดี คือ มีความชัดเจนแก่ผู้ทำงานว่าจะเติบโตไปทางเส้นทางไหน แต่ผู้เขียนขอถามว่า หากหัวหน้าไม่ขยับ ลูกน้องจะเติบโตไปตามเส้นทางนั้นได้หรือไม่ หาก Successor โชคร้ายเจอหัวหน้าใจแคบคงไม่ต้องเจริญก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพนั้น แล้วจะทำอย่างไร นอกจากนี้ ในกลุ่ม Successor เองจะเกิดการแย่งชิงผลงาน ถ้าแย่งทำงานกันคงไม่เป็นไร แต่ถ้าแย่งชิงผลงานกันเองคงทำงานเป็นทีมคงลำบาก แล้วจะแก้ไขอย่างไรครับ อย่างไรก็ตาม ยังมีทางแก้ไขครับ บางองค์กรจะมีการประเมิน Successor โดยไม่แจ้งบอกให้ทั้งหัวหน้างานและกลุ่ม Successor ทราบว่ามีใครบ้างที่อยู่ในกลุ่ม แต่คงไม่สามารถปกปิดได้ตลอดครับ เพราะในที่สุดในกลุ่มคงพอทราบว่าใครบ้างที่เป็น Successor ที่องค์กรมอบหมายให้ทำงานต่อไป ความขัดแย้งจึงยังไม่หมดไปเว้นแต่ว่าทุกคนรวมทั้งผู้บริหารต้องเปิดใจกว้างและยอมรับซึ่งกันและกัน • เกิดระบบอุปถัมภ์ในสายงาน ถ้าถามว่าเราเป็นหัวหน้างาน ต้องการลูกน้องของเราเป็นอย่างไร? หลายคนจะตอบว่า ควรเป็นลูกน้องที่เราไว้วางใจและสั่งงานได้ ระบบอุปถัมภ์ที่ทำให้เกิดความเกรงใจกันมากกว่าความถูกต้องจะตามมา และในขณะเดียวกัน คนที่เราไว้วางใจให้ทำงานต่อจากเรานั้นอาจจะไม่ใช่เป็นคนเก่งก็ได้ นานๆเข้าองค์กรก็จะขาดแคลนคนเก่ง จะเหลือแต่คนประจบสอพลอ ทำงานด้วยปากเป็นหลัก องค์กรจะเติบโตได้อย่างไร? บางองค์กรจะแก้ไขปัญหานี้โดยใช้ผู้บริหารที่มีตำแหน่งสูงกว่าเป็นคนตัดสินใจคัดกรองว่าจะให้ใครมานั่งตำแหน่งที่ว่างลงแทนที่จะมอบหมายให้หัวหน้างานคนนั้นเป็นคนคัดเลือก แต่วิธีนี้ถ้าผู้บริหารที่มีตำแหน่งสูงกว่าไม่ใช่คนเก่งและคนดี ก็ใช้ไม่ได้ผลเช่นกัน • ขาดความหลากหลายในการทำงาน การเติบโตตามสายงานที่ทำงานเหมือนๆกันมานาน จะทำให้ไม่มีความหลากหลายในความคิดเชิงกลยุทธ์เพราะ Successor จะรู้เฉพาะในสายงานที่ตนเองทำงานอยู่เท่านั้น แต่ในโลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งความรู้ (Knowledge-based Global Economy) การรับรู้เฉพาะในสายงานของตนเท่านั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้บริหารได้เท่าที่ควร ยิ่งถ้าหากท่านเป็นผู้บริหารต้องเป็นนักคิดนักวางแผนเชิงกลยุทธ์มากขึ้น ณ ปัจจุบัน ในที่ประชุมผู้บริหารไม่ใช่เป็นเวทีประชุมเพื่อแจ้งให้รับทราบเท่านั้น หากแต่เป็นเวทีสำหรับการเสนอแนะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายในองค์กร เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจในการทำงานต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ผู้จัดการฝ่าย HR ไม่ใช่มีหน้าที่รายงานว่าองค์กรมีจำนวนรายวันรายเดือนมากขึ้นหรือลดลงกว่าเดิม แล้วจบรายงานเท่านั้น ถามว่ารายงานนี้มีค่าเท่าใดครับ มีค่าเป็น “ ศูนย์ ” ครับ ไม่มีประโยชน์ใดๆเลย ผู้บริหาร HR ต้องสามารถอธิบายชี้บ่งได้ว่าที่เพิ่มหรือลดลงนั้นเกิดจากหน่วยงานใด เพราะอะไร เกิดต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้นเท่าไร สัดส่วนต่อยอดผลิตเป็นเท่าไร ถ้าไม่เพิ่มคนจะต้องทำอย่างไร ในอีกไตรมาสหน้า จะวางแผนกำลังคนและฝึกอบรมอย่างไร เพื่อประโยชน์อะไร เป็นต้น หมายความว่า HR ต้องรู้มากกว่าเรื่องการบริหารคน แต่ต้องรู้เรื่องการวางแผนเชิงกลยุทธ์ร่วมกับผู้บริหารท่านอื่นๆด้วย บางเรื่อง HR ต้องรู้เรื่องการบริหารต้นทุนการดำเนินงาน เพราะค่าจ้างและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานจะเป็นต้นทุนที่มีภาระผูกพันกับองค์กร ผู้เขียนขอให้ผู้บริหารลองไตร่ตรองสักนิดเกี่ยวกับต้นทุนการดำเนินงาน โดยให้ปรับเทียบจากจำนวนพนักงานเป็นฐาน เพราะผู้เขียนเคยเห็นผู้บริหารหลายๆบริษัทหลงใหลได้ปลื้มกับยอดขายที่เพิ่ม แต่เมื่อสิ้นปีกลับมีผลกำไรลดลงเนื่องจากต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง เคยเห็นวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างมักง่ายที่เมื่อเห็นทำงานไม่ทันก็เพิ่มคน มีงานเพิ่มเท่าไรต้องเพิ่มคนเท่านั้น วิธีนี้ง่ายเกินไปแต่นิยมทำกันจนเป็นเสมือนสูตรสำเร็จ แต่ไม่สะท้อนถึงประสิทธิภาพการบริหารใดๆเลย ลองดูตัวอย่างนี้ครับ บริษัท A มียอดขาย 600 ล้านบาทต่อปี ผลกำไรขั้นต้น (EBITDA) 24 ล้านบาท แต่มีพนักงานรวม 700 คน นั่นคือบริษัทมีความสามารถในการสร้างผลกำไรเพิ่ม 34,285 บาทต่อคน ในขณะที่คู่แข่งมียอดขาย 450 ล้านบาทต่อปี ผลกำไรขั้นต้น (EBITDA) แค่ 18 ล้านบาท แต่มีจำนวนพนักงานรวม 300 คน ความสามารถในการทำกำไรคิดเป็น 60,000 บาทต่อคน สูงกว่ากันเกือบเท่าตัว ส่วนที่คู่แข่งมีกำไรต่อหัวมากกว่าสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารทรัพยากรบุคคลสูงกว่า และหมายถึงผลกำไรของคู่แข่งจะเป็นการสะสมเสบียงเงินทุนในการแข่งขันในอนาคต • ข้อจำกัดที่มาจากบุคลากรภายในองค์กร หากองค์กรใดจัดทำระบบ Succession Planning ที่มาจากกระบวนการคัดกรองบุคลากรจากภายในองค์กรเป็นหลัก อาจจะทำให้เกิดการทำงานแบบเดิมๆไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เรียนรู้จากเทคโนโลีภายนอกที่ก้าวไปไกลกว่าที่ใช้อยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กรด้วยครับ เพราะถ้าวัฒนธรรมองค์กรเป็นลักษณะของการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและกล้าที่จะเปลี่ยน ย่อมไม่มีปัญหามากนัก แต่ถ้าเป็นองค์กรที่ค่อนข้างอนุรักษ์นิยม ไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลงหากเป็นเช่นนี้จะเป็นอันตรายเพราะทำให้คู่แข่งรู้สไตล์การทำงานของเราหมด เปรียบเสมือน นักกีฬาที่ใช้แทคติกเดิมๆทุกครั้ง คู่แข่งก็จะจับทางได้ ย่อมพ่ายแพ้ในที่สุด แต่สำหรับในแง่ธุรกิจจะต่างกัน ถ้าธุรกิจแพ้ ยากที่จะฟื้นตัวได้โดยง่าย แล้วมีทางแก้ไขหรือไม่ มีครับ โดยบางองค์กรปรับตนเองไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) พูดง่ายครับแต่ทำยาก เพราะถ้าหัว (CEO) ไม่ริเริ่มที่จะปรับเปลี่ยน อย่าหวังว่าจะทำงานต่อไปได้ครับ • ไม่มีระบบการคัดกรองคนที่มีความสามารถเข้ามาภายในองค์กร ในขณะที่การบริหาร Succession Planning จะมุ่งไปที่การสร้าง Career Development เพื่อหวังว่าจะสามารถสร้างคนเก่งๆมาทดแทนในตำแหน่งที่เป็น Key Position แต่หากการออกแบบการพัฒนาสายงานอาชีพที่ไม่เหมาะสมกับวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กร และการประเมินผลที่ไม่มีความแม่นยำแล้วย่อมเป็นการสูญเปล่าในการลงทุนนั้น เช่นเดียวกัน หากองค์กรหันไปเลือกการรับคนเก่งจากภายนอกเข้ามาภายในองค์กร แต่ไม่มีระบบการคัดกรองที่ดีแล้ว ย่อมไม่ได้คนที่มีความสามารถเข้ามาภายในองค์กร องค์กรใหญ่ๆจึงนิยมใช้ Head Hunter ทำงานในส่วนนี้มากกว่า ยกตัวอย่างเช่น กรณีของชินคอร์ป โดยนายบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ชินคอร์ปปอเรชั่น กล่าวว่า “ กลุ่มชินคอร์ปเปลี่ยนกลยุทธ์ในการเฟ้นหาผู้บริหารระดับสูงตั้งแต่ Vice President ขึ้นไปโดยใช้วิธีจ้างบริษัท Head Hunter ในประเทศสิงคโปร์เพื่อหาผู้บริหารชาวสิงคโปร์ที่มีความเหมาะสมในการเข้าทำงาน ในกลุ่มชินคอร์ป เนื่องจากที่ผ่านมา กลุ่มชินคอร์ปได้เฟ้นหาผู้บริหารระดับสูงที่จะมาเป็นเลือดใหม่เข้ามารับช่วงบริหารงานของกลุ่มในสายงานที่สำคัญต่างๆ มา ระยะหนึ่งแล้ว เริ่มจากที่เขาและทีมงานบางส่วนติดต่อนัดสัมภาษณ์เอง จนมาจ้างบริษัท head hunter ในประเทศไทยเพื่อดำเนินการมาช่วงหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ได้ผู้บริหารที่ตรงกับคอนเซ็ปต์ที่ต้องการ ตัวเลือกในประเทศมีน้อย และที่ผ่านมายังไม่เจอคนที่โดนมากๆ ผมอยากได้คนสิงคโปร์ที่มีส่วนประกอบที่เราต้องการคือการเป็นคนเอเชียและมี ทัศนคติในการทำงานเหมือนกันคือ easy, smart และ work hard” ( U ผู้จัดการรายวัน 20 กันยายน 2547 U ) ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้องค์กรหลายแห่งเลี่ยงการใช้ Succession Planning แล้วไปใช้เครื่องมืออีกตัวหนึ่งแทน คือ “ ระบบการบริหารคนเก่ง (Talent Management System)” แทน เพราะเชื่อว่า ทุกองค์กรจะมีคนเก่งอยู่เสมอ ถ้าไม่มีก็ให้คัดเลือกเข้ามาหรือพัฒนาบุคลากรให้เป็นคนเก่งก็ได้ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ งานการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนทำงาน เกี่ยวข้องกับการกำหนดและดำเนินนโยบายในด้านการวางแผนกำลังคน การจัดหาและคัดเลือกคนเข้าทำงาน การพัฒนา การจ่ายค่าตอบแทน การประสานสัมพันธ์เพื่อการธำรงรักษากำลังคนและการพ้นสภาพการทำงานอย่างเป็นธรรม เพื่อมุ่งหมายให้คนทำงานอยู่ดีและเป็นส่วนสำคัญในความสำเร็จขององค์การมอนดี และโน (Mondy and Noe, 1996 : 4) ให้ความหมายว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นการใช้ทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้องค์การบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด คลาร์ค (Clark, 1992 : 13) อธิบายว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นการจัดการความสัมพันธ์ของคนงานและผู้บริหาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้องค์การบรรลุจุดมุ่งหมาย ซึ่งจากความหมายดังกล่าวมีประเด็นที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้ความสำคัญกับการจัดการความสัมพันธ์ ที่ไม่ใช่เป็นการจัดการบุคคล 2) การจัดการทรัพยากรมนุษย์มุ่งเน้นที่เป้าประสงค์ขององค์การ ดังนั้น เมื่อวัตถุประสงค์ขององค์การเปลี่ยนแปลงไป การจัดการความสัมพันธ์ดังกล่าวก็จะเปลี่ยนด้วย 3) วัตถุประสงค์หลักของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ควรมุ่งที่องค์การ ส่วนสมาชิกขององค์การแต่ละคนจะเป็นวัตถุประสงค์รอง สรุปการจัดการบุคลากรกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่การบริหารทุนมนุษย์จะเป็นการบริหารคนเก่งในการทำงาน
น.ส. พัณณิตา แซ่ฟุ้ง กศ.ปช.รุ่น 10
การจัดการบุคลากร คือ เป็นกระบวนการที่องค์กรจะต้องมีการสรรหาบุคคลให้พอเพียงกับความต้องการขององค์กร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การที่องค์กรใช้วิธีการต่างๆเพื่อจัดการกับบุคคลที่องค์กรสรรหามาให้เหมาะสมกับการปฎิบัติงานและการดำรงรักษาบุคลากรให้อยู่กับองค์กรนานที่สุด การบริหารทุนมนุษย์ คือ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ทางการบริหาร การกระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยจิตวิญญาณในบทบาทหน้าที่งานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การสร้างทุนทางปัญญา การเป็นสื่อกลางในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีในองค์กร สรุป ทั้ง3มีความแตกต่างกัน

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม 

1. น.ส. พัชรี  ศรีนาค 

2. น..ส. ประไพ  ดรภาบุญ

3. น.ส. รัตนา  น้อมมนัส

4. น.ส. พุทธชาติ  ทิพย์ประทุม

5. น.ส. นภาภรณ์  ปะทะกิ

6. น.ส. จิตรดา  จันทา

7. น.ส. ศิริรัตน์  บุญเจริญ

นักศักษาภาคกศ.ปช  รุ่น 10 หมู่  1  การจัดการทั่วไป

นักศึกษา กศ.ปช.รุ่น 10 หมู่ 1 (รายงานหัวข้อที่ 7)

รายชื่อสมาชิก

1. นางสาวงามทิพย์    ยุทธทองหลาง

2. นางสาวจันทร์เพ็ญ   กองทุ่งมน

3.นางสาวลินดา    อุปัชฌาชย์

4.นางสาวแรมใจ   ถิ่นเกษม

5.นางสาวศิรินทร์พร   แนบสำโรง

6.นางสาวสุมาลี   โชติชุม

7.นางสาวรุณลักษณ์   ยับสันเทียะ

8.นายภิรมย์   ลุมไธสง (เรียนร่วม)

กลุ่มการประเมินผลแบบ 360 องศา

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม  การประเมินผลแบบ  360  องศา

  1. นางสาวจิราภรณ์  นาไร่แก้ว  4950504106
  2. นางสาวนิตยา  มณีวรรณ      4950504115
  3. นางสาวรุ่งทิพย์  พิมพ์ขุนทด 4950504134
  4. นางสาวศรัญญา  กล้าหาญ    4950504141
  5. นางสาวมนัสนันท์  เสงี่ยมศรี  4950504147
  6. นางสาวสาวิตรี  กาฬสินธ์       4950504150
  7. นางสาวสุกัญญา  คตมรคา     4950504152
  8. นางสาวอุมาภรณ์  เกณฑ์กระโทก4950504163

นักศึกษา  กศ.ปช.  รุ่น  10 หมู่  1

คณะการจัดการทั่วไป

ส่งงานเรื่องการจัดการบุคลากรฯ
  นางสาวมนัสนันท์  เสงี่ยมศรี  รหัส   4950504147      คณะการจัดการทั่วไป  กศ.ปช.  รุ่น  10  หมู่  1การจัดการบุคลากร   คือ เป็นกระบวนการที่องค์กรจะต้องมีการสรรหาบุคคลให้พอเพียงกับความต้องการขององค์กรการบริหารทรัพยากรมนุษย์   คือ การที่องค์กรใช้วิธีการต่างๆเพื่อจัดการกับบุคคลที่องค์กรสรรหามาให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานและการดำรงรักษาบุคลากรให้อยู่กับองค์กรนานที่สุดการบริหารทุนมนุษย์   คือ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ทางการบริหาร การกระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยจิตวิญญาณในบทบาทหน้าที่งานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การสร้างทุนทางปัญญา การเป็นสื่อกลางในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีในองค์กร สรุป  การจัดการบุคลากรมีความคล้ายกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการบริหารทุนมนุษย์ตรงที่ว่าต้องการหาบุคคลเข้ามาสู่องค์กรและการทำงานที่มีประสิทธิภาพให้สู่องค์กรของตนเอง

------------

                    
นางสาวรุ่งทิพย์ พิมพ์ขุนทด รหัสประจำตัว 4950504134 กศ.ปช.รุ่น 10 หมู่ 1

การจัดการบุคลากร คือการจัดบุคลากรให้ทำงานในตำแหน่งที่เหมาะสมที่บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง  กระบวนการที่ผู้บริหารใช้ศิลปะและกลยุทธ์  ดำเนินการสรรหา  คัดเลือก  และบรรจุบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้ปฏิบัติงานในองค์การพร้อมทั้งสนใจการพัฒนาธำรงรักษาให้สมาชิกที่ปฏบัติงานในองค์ทการเพิ่มพูนความรู้  ความสามารถ    มีสุขภาพและสุขภาพจิตที่ดี  ในการทำงาน 

การบริหารทุนมนุษย์ คือ การบริหารจัดการที่จะทำให้บุคลากรในองค์การ มีมูลค่าเพิ่มขึ้น  มีศักยภาพและความสามารถสูงสำหรับการแข่งขันกับองค์กรอื่นที่จะสามารถทำกำไรให้กับองค์การได้ หากองค์การลงทุนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

    สรุป การจัดการบุคลากร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารทุนมนุษย์  มีความเหมือนกัน

น.ส.จินตนา กิ่งโคกกรวด รุ่น 10 ม.1 รหัส 4950504105 การจัดการทั่วไป
การจัดการบุคคลากร    คือ กระบวนการที่ผู้นำ (ผู้บริหาร) ใช้ศิลปะ และวิธีการต่าง ๆ สรรหาบุคคลเพื่อเข้าทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การโดยการใช้ทรัพยากรการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลงานของผู้บริหารที่เกี่ยวกับคนมีขอบเขตตั้งแต่การวางแผนรับคนเข้าทำงานจนถึงการให้พ้นจากงาน  ขอบข่ายของการจัดการงานบุคคลที่สำคัญมีเพียง  4  ลักษณะ  คือ  การให้ได้มา  การบำรุงรักษา  การพัฒนา  และการให้พ้นจากงาน  แต่ถ้าพิจารณาให้ละเอียดลงไป  กระบวนการจัดการงานบุคคลอาจแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้ (1)  การวางแผนกำลังคนและตำแหน่ง  (2)  การแสวงหาบุคคล  ได้แก่  การสรรหา  การเลือกสรร  การบรรจุ  (3)  การบำรุงรักษาและการจัดสวัสดิการ  (4)  การประเมินผลการปฏิบัติงาน  (5)  การพัฒนาบุคคล  (6)  การให้พ้นจากงาการจัดการงานบุคคล  หรือการบริหารบุคคล   ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า  personnel   administration  หรือ  personnel  management  วัตถุประสงค์ของการจัดการงานบุคคลก็เพื่อให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถมาปฏิบัติงานและควบคุมดูแลให้ปฏิบัติงานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ  หากการจัดการงานบุคคลไม่ดี  องค์การจะได้คนไม่ดี  ขาดความรู้ความสามารถในการทำงาน  สร้างปัญหาให้แก่ผู้บริหารและสร้างปัญหาให้แก่องค์การเป็นอันมากการจัดการงานบุคคลแบ่งออกเป็น  2 ระบบใหญ่ๆ  คือ  การบริหารบุคคลระบบคุณธรรม (merit  system)  และการบริหารบุคคลระบบอุปถัมภ์  (patronage  system)  ซึ่งมีหลักการดังต่อไปนี้ระบบคุณธรรม  บางคนเรียกระบบคุณวุฒิ  หรือระบบคุณความดี  หรือระบบความสามารถ  ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดก็ตามระบบนี้มีหลักการอยู่  4  ประการดังนี้1.  หลักความเสมอภาค  (epuality  of  opportunity)  เริ่มตั้งแต่การรับคนเข้าทำงานก็ต้องตั้งอยู่บนหลักแห่งความเสมอภาค  มิใช่ว่าต้องเป็นพรรคพวก  เป็นญาติเป็นใครก็ตามถ้ามีคุณสมบัติตามที่หน่วยงานนั้นต้องการก็ย่อมมีสิทธิสมัครสอบแข่งขันเข้าทำงานได้  และเมื่อเข้ามาเป็นคนงานหรือพนักงานแล้วก็ต้องมีความเสมอภาคในการเลื่อนตำแหน่ง  เช่น  บางตำแหน่งทำงานในระดับ  3  มา  2 ปีแล้ว  มีสิทธิเลื่อนให้ดำรงตำแหน่งในระดับ  4  ได้  ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับความสามารถเป็นสำคัญ  สิทธินี้ต้องเสมอภาคกันทุกคน  หรือในการทำงานหากทำงานที่อยู่ในระดับความรับผิดชอบที่เทียบกันได้ก็ต้องได้รับค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน2.  หลักความสามารถ  (competence)  คนดีที่มีความสามารถเท่านั้นที่จะเข้ามาทำงานได้  และมีโอกาสก้าวหน้า  เวลาจะรับคนเข้าทำงานก็ยึดหลักว่าหาคนที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้   จึงต้องมีการสอบแข่งขันกัน  เวลาบรรจุก็บรรจุคนที่สอบได้ที่ 1  ก่อนเพราะถือว่าเป็นผู้มีความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น  การเลื่อนเงินเดือน  เลื่อนระดับ  ก็พิจารณาจากผู้มีความสามารถ  มีคุณสมบัติเหมาะสมก่อน3.  หลักความมั่งคง  (security  on  tenure)  ในระบบคุณธรรมมีการให้หลักประกันว่าเมื่อเข้ามาทำงานจะไม่ถูกออกจากงานง่ายๆ  มีกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า  การเลิกจ้างจะทำได้ในกรณีใดบ้าง  เช่น  ตาย  ลาออก  ฯลฯ  ความมั่นคงอาจรวมถึงการให้สวัสดิการ  การให้ได้รับบำเหน็จบำนาญด้วย   ทำให้ผู้ทำงานรู้สึกมั่นคงในการประกอบวิชาชีพ  ไม่ต้องห่วงพะวงว่าเมื่อออกจากงานแล้วจะทำบาก4.  หลักความเป็นกลางทางการเมือง  (political  neutrality)  งานราชการประจำเป็นงานที่ต้องกระทำต่อเนื่องกันไป  จึงต้องมีหลักประกันว่าข้าราชการจะไม่ถูกบีบบังคับจากอิทธิพลของฝ่ายการเมืองที่อาจผลักเปลี่ยนกันเข้ามาบริหารประเทศ  ถ้าให้ฝ่ายการเมืองมามีอิทธิพล  คนดีมีความสามารถก็จะหนีหายไม่อยู่รับราชการ  ในทางหลักการจึงมีข้อกำหนดไว้ว่าข้าราชการประจำจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับข้าราชการ  การเมืองได้แก่ไหน  อย่างไร  หลักข้อนี้นั้นด้านราชการมากกว่าธุรกิจระบบอุปถัมภ์มีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน   บางคนเรียกระบบพรรคพวกระบบเล่นพวก  ระบบเน่าหนอนชอนไช  ระบบศักดินา  ภาษาอังกฤษมีหลายคำ  เช่น  spoils  system , patronage  system , favoritism , nepotism    เป็นต้น  เป็นระบบที่มีพฤติกรรมในการบริหารงานบุคคลตรงกันข้ามกับระบบคุณธรรมระบบอุปถัมภ์นี้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยยุโรป  มีระบบศักดินา  มีเจ้าขุนมูลนาย  (feudel  lord)  ซึ่งได้รับมอบหมายจากพระเจ้าแผ่นดินให้ดูแลกิจการต่างๆ  มีข้าทาสบริวารที่เลี้ยงไว้  เมื่อจะตั้งคนให้ทำงานก็ตั้งจากบริวาร  เป็นดังนี้สืบเนื่องกันมาเรื่อยๆ การบริหารทรัพยากรมนุษย์
(THE HUMAN RESOURCES MANAGEMENT
) การที่องค์การจะกระทำภารกิจหลักให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิ์ภาพนั้น หน่วยงานจำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสมกับงาน ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารงาน เพราะบุคลากรเป็นผู้จัดหาและใช้ทรัพยากรบริหารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเงิน วัสดุอุปกรณ์และการจัดการซึ่งถ้าองค์การเริ่มต้นด้วยการมีบุคลากรที่ดี มีความสามารถ ปัจจัยด้านอื่นๆก็จะดีตามมา ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์การการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นการดำเนินการที่เกี่ยวกับบุคคลที่ถือว่า เป็นพรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์การเพื่อให้สามารถปฎิบัติงานได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ พร้อมทั้งดำเนินการธำรงรักษาและพัฒนาให้ทรัพยากรมนุษย์ขององค์การมีคุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยมีภารกิจหลัก ได้แก่ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์การกำหนดงานหรือออกแบบงาน การวิเคราะห์งาน การสรรหา การคัดเลือก การประเมินผลพนักงาน การฝึกอบรมและพัฒนา ค่าตอบแทน สุขภาพและความปลอดภัย การพันจากงานของพนักงาน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารทุกระดับที่จะต้องรับผิดชอบต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์วัตถุประสงค์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
1. เพื่อสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ (Recruitment and Selection)
2. เพื่อใช้คนให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Utilization)
3. เพื่อบำรุงรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์การนานๆ (Maintenance)
4. เพื่อพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ (Development)
ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
1. ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เกิดความจงรักภักดีต่อองค์การที่ตนปฏิบัติงาน
2. ช่วยพัฒนาให้องค์การเจริญเติบโต เพราะการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นสื่อกลางในการประสานงานกับแผนกต่างๆ เพื่อแสวงหาวิธีการให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาทำงานในองค์การให้เกิดประโยชน์สูงสุดทำให้องค์การเจริญเติบโตและพัฒนายิ่งขี้น
3. ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคมและประเทศชาติ ถ้าการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างองค์การและผู้ปฏิบัติงานทำให้สภาพสังคมโดยส่วนรวมมีความสุข ความเข้าใจที่ดีต่อกัน
กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย
1. การออกแบบการวิเคราะห์และการวิเคราะห์เพื่อจัดแบ่งตำแหน่งงาน(task specialization process)
2. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์(human resource planning)
3. การสรรหาและการคัดเลือกพนักงาน(recruitment and selection process)
4. การปฐมนิเทศบรรจุพนักงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน(induction or orientation and appraisal process)
5. การฝึกอบรมและการพัฒนา(training and development process)
6. กระบวนการทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และแรงงานสัมพันธ์(health, safety maintenance process and labor relation)
7. การใช้วินัยควบคุมตลอดจนการประเมินผล(discipline control and evaluation process)
การกำหนดงานหรือการออกแบบงาน(Job designs)
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์(Human Resource Planning)
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ คือ กระบวนการคาดการณ์ความต้องการของทรพัยากรมนุษย์ขององค์การเป็นการล่วงหน้า ว่าต้องการบุคคลประเภทใด ระดับใด จำนวนเท่าใด และต้องการเมื่อใด (the right people the right place, at the right time) และกำหนดวิธีการที่จะได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องการ ว่าจะได้มาจากไหน อย่างไร ตลอดจนการกำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติต่างๆ เพื่อที่จะใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ความสำคัญของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
1. ทำให้องค์การสามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในอนาคต
2. ทำให้องค์การสามารถดำเนินการอย่างมั่นคงท่ามกลางสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง
3. ทำให้องค์การมีแผนดำเนินการอย่างละเอียด ที่จะปฏิบัติงานด้านบุคคลอย่างมีขั้นตอน เช่น การ สรรหาการคัดเลือก การโอนย้าย การเลื่อนตำแหน่ง
ประโยชน์ของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
1. ช่วยให้องค์การสามารถวางแผนพัฒนาการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยให้กิจกรรมด้านทรัพยากรมนุษย์และเป้าหมายขององค์การในอนาคตมีความสอดคล้องกัน
2. ช่วยในกิจกรรด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นไปอย่างมีระบบและมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน
3. ช่วยให้การจ้างพนักงานใหม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4. เป็นการเตรียมการให้ได้พนักงานใหม่เป็นไปตามความต้องการของแผนหรือฝ่ายต่างๆ
5. ส่งเสริมและพัฒนาโอกาลความเท่าเทียมกันของพนักงานในหน่วยงานต่างๆ ขององค์การ
6. เป็นแนวทางสำหรับองค์การที่มีหน้าที่ผลิตจะได้ผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
  ในปัจจุบัน องค์กรหลายแห่งเริ่มให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ คนเก่ง ภายในองค์กร เนื่องจากการเจริญเติบโตทางธุรกิจขององค์กรส่วนหนึ่งมาจากการเลือกใช้ คนเก่ง ในการเข้าจัดการกับปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management)” เริ่มถูกนำมาประยุกต์ใช้มากขึ้น โดยการใช้ประโยชน์จากคน ให้มีคุณค่าสูงสุดแก่องค์กร                 Jeffrey Berk (2004, Talent Management : Valuing Human Capital) กล่าวว่า การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์เปรียบเช่นเดียวกับการลงทุนในทรัพยากรอื่น เช่น การ upgrade คอมพิวเตอร์มีค่าใช้จ่าย 500 บาท ก็หวังว่าองค์กรจะได้ประโยชน์ไม่น้อยกว่า 500 บาทที่จ่ายไป หากองค์กรต้องลงทุนค่าฝึกอบรมแก่พนักงาน ก็หวังว่าจะได้ประโยชน์คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายเป็นค่าฝึกอบรมนั้น บางองค์กรจึงวัดประสิทธิภาพจากการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวด้วยดัชนี ROI (Return On Investment) องค์กรจ่ายเงินไปเท่าไร เมื่อวัดผลการดำเนินงาน (Performance) ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าเงินที่จ่ายไป ผู้เขียนขอยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้าองค์กรต้องจ่ายค่าฝึกอบรมให้พนักงานขายไปอบรมเรื่องการขายและการตลาดไปเท่าไร อย่างน้อยต้องมียอดขายที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเงินที่จ่ายไป เป็นต้น               สำหรับในประเทศไทย เรื่อง Talent Management ถือเป็นเครื่องมือทางการบริหารอย่างหนึ่งที่เริ่มศึกษาและพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แทนเรื่องการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Planning)” ที่บางองค์กรเริ่มนำระบบการบริหารนี้ไปใช้อย่างจริงจัง เพราะเกรงว่าหากผู้นำองค์กร หรือผู้บริหารขององค์กรต้องจากองค์กรไปด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรือโรคภัยไข้เจ็บ หรือแม้กระทั่งถูกคู่แข่งซื้อตัวไป จะต้องมีผู้อื่นที่สามารถบริหารงานแทนได้ทันทีและมีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน               คุณบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวบรรยายในหัวข้อ "การบริหารทรัพยากรมนุษย์พันธุ์ใหม่" ในงานสัมมนา " DNA for SMART HR" ซึ่งจัดโดยโครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ ( นิด้า) ร่วมกับหนังสือพิมพ์มติชนและประชาชาติธุรกิจ เมื่อต้นเดือนสิงหาคม,2547 มีความตอนหนึ่งที่น่าสนใจว่า “" การทำองค์กรให้สมาร์ทอันหนึ่งคือ Succession Planning หมายความว่าตรงจุดต่างๆ หากเกิดมีคนออกไป จะมีคนใหม่เข้าไปทำแทน เรื่องนี้ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย ตัวสำคัญๆ ที่วางตัวไว้ในองค์กร พอไปถามว่าใครจะเป็นตัวแทนให้กับคนนี้ ส่วนใหญ่จะไม่มีคำตอบกลับมา เลยทำให้ Succession Planning เกิดขึ้นด้วยความยากลำบาก แค่คนที่เป็นหัวเพียงคนเดียวก็หายากเต็มทีแล้ว มีตัวคน แต่ฝีมือคนละรุ่นกัน ผมก็ทำอยู่ในจุดสำคัญๆ ในองค์กร พอถามว่าใครเป็นตัวแทน ให้พูดชื่อพูดได้ แต่ถามว่าใครกล้าบ้าง โดยทั่วไปไม่แน่ใจว่าคนที่เป็นเบอร์ 2 ตรงนั้นทำได้ คนมีเยอะแต่คนที่เข้าสเป็กหาไม่ได้ แต่ว่าองค์กรที่แข็งแกร่งต้องมีตัวตายตัวแทน เพราะถ้าตัวเก่งๆ ไป องค์กรจะสะดุดทุกองค์กร" หลุมพรางของ Succession Planning               อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง ( Succession Planning ) จะเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในการบริหารงานบุคคลแต่เป็นเรื่องยากที่จะทำให้เกิดขึ้น เป็นเพราะอะไร คำตอบ คือ Succession Planning มีหลุมพรางในตัวของมันเองที่อาจจะไม่เหมาะกับวัฒนธรรมของคนไทย เช่นเดียวกับเรื่อง Re-engineering หรือ QCC ที่องค์กรหลายแห่งของไทยนิยมทำกันตามกระแสอยู่พักใหญ่ๆ แต่แล้วก็พบว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่เหมาะกับการบริหารแบบไทยๆ ไม่ใช่ว่า Re-engineering หรือ QCC ไม่ดีนะครับ แต่การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทันที หรือการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีม ไม่เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรส่วนใหญ่ของไทย ถ้าพูดกันให้ชัดเจน กล่าวคือ วัฒนธรรมองค์กรของไทยจะยอมรับการประนีประนอมมากกว่า เรื่องบริหารคนต้องมุ่งไปที่การบริหาร น้ำใจ มากกว่าไปมุ่งเน้นที่ผลตอบแทนเป็นตัวเงิน               หากคิดจะทำ Succession Planning ต้องระวัง 5 หลุมพรางคือ •  เกิดความขัดแย้งในการทำงาน               Succession Planning จะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ Career Path ต้องชัดเจน คือ ผู้ที่เข้ามาร่วมทำงานในสายงานอาชีพใดจะต้องไต่เต้าไปตามเส้นทางอาชีพ (Career Path) นั้นข้อดี คือ มีความชัดเจนแก่ผู้ทำงานว่าจะเติบโตไปทางเส้นทางไหน แต่ผู้เขียนขอถามว่า หากหัวหน้าไม่ขยับ ลูกน้องจะเติบโตไปตามเส้นทางนั้นได้หรือไม่ หาก Successor โชคร้ายเจอหัวหน้าใจแคบคงไม่ต้องเจริญก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพนั้น แล้วจะทำอย่างไร นอกจากนี้ ในกลุ่ม Successor เองจะเกิดการแย่งชิงผลงาน ถ้าแย่งทำงานกันคงไม่เป็นไร แต่ถ้าแย่งชิงผลงานกันเองคงทำงานเป็นทีมคงลำบาก แล้วจะแก้ไขอย่างไรครับ               อย่างไรก็ตาม ยังมีทางแก้ไขครับ บางองค์กรจะมีการประเมิน Successor โดยไม่แจ้งบอกให้ทั้งหัวหน้างานและกลุ่ม Successor ทราบว่ามีใครบ้างที่อยู่ในกลุ่ม แต่คงไม่สามารถปกปิดได้ตลอดครับ เพราะในที่สุดในกลุ่มคงพอทราบว่าใครบ้างที่เป็น Successor ที่องค์กรมอบหมายให้ทำงานต่อไป ความขัดแย้งจึงยังไม่หมดไปเว้นแต่ว่าทุกคนรวมทั้งผู้บริหารต้องเปิดใจกว้างและยอมรับซึ่งกันและกัน •  เกิดระบบอุปถัมภ์ในสายงาน               ถ้าถามว่าเราเป็นหัวหน้างาน ต้องการลูกน้องของเราเป็นอย่างไร? หลายคนจะตอบว่า ควรเป็นลูกน้องที่เราไว้วางใจและสั่งงานได้ ระบบอุปถัมภ์ที่ทำให้เกิดความเกรงใจกันมากกว่าความถูกต้องจะตามมา และในขณะเดียวกัน คนที่เราไว้วางใจให้ทำงานต่อจากเรานั้นอาจจะไม่ใช่เป็นคนเก่งก็ได้ นานๆเข้าองค์กรก็จะขาดแคลนคนเก่ง จะเหลือแต่คนประจบสอพลอ ทำงานด้วยปากเป็นหลัก องค์กรจะเติบโตได้อย่างไร? บางองค์กรจะแก้ไขปัญหานี้โดยใช้ผู้บริหารที่มีตำแหน่งสูงกว่าเป็นคนตัดสินใจคัดกรองว่าจะให้ใครมานั่งตำแหน่งที่ว่างลงแทนที่จะมอบหมายให้หัวหน้างานคนนั้นเป็นคนคัดเลือก แต่วิธีนี้ถ้าผู้บริหารที่มีตำแหน่งสูงกว่าไม่ใช่คนเก่งและคนดี ก็ใช้ไม่ได้ผลเช่นกัน •  ขาดความหลากหลายในการทำงาน               การเติบโตตามสายงานที่ทำงานเหมือนๆกันมานาน จะทำให้ไม่มีความหลากหลายในความคิดเชิงกลยุทธ์เพราะ Successor จะรู้เฉพาะในสายงานที่ตนเองทำงานอยู่เท่านั้น แต่ในโลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งความรู้ (Knowledge-based Global Economy) การรับรู้เฉพาะในสายงานของตนเท่านั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้บริหารได้เท่าที่ควร               ยิ่งถ้าหากท่านเป็นผู้บริหารต้องเป็นนักคิดนักวางแผนเชิงกลยุทธ์มากขึ้น ณ ปัจจุบัน ในที่ประชุมผู้บริหารไม่ใช่เป็นเวทีประชุมเพื่อแจ้งให้รับทราบเท่านั้น หากแต่เป็นเวทีสำหรับการเสนอแนะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายในองค์กร เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจในการทำงานต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ผู้จัดการฝ่าย HR ไม่ใช่มีหน้าที่รายงานว่าองค์กรมีจำนวนรายวันรายเดือนมากขึ้นหรือลดลงกว่าเดิม แล้วจบรายงานเท่านั้น ถามว่ารายงานนี้มีค่าเท่าใดครับ มีค่าเป็น ศูนย์ ครับ ไม่มีประโยชน์ใดๆเลย ผู้บริหาร HR ต้องสามารถอธิบายชี้บ่งได้ว่าที่เพิ่มหรือลดลงนั้นเกิดจากหน่วยงานใด เพราะอะไร เกิดต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้นเท่าไร สัดส่วนต่อยอดผลิตเป็นเท่าไร ถ้าไม่เพิ่มคนจะต้องทำอย่างไร ในอีกไตรมาสหน้า จะวางแผนกำลังคนและฝึกอบรมอย่างไร เพื่อประโยชน์อะไร เป็นต้น หมายความว่า HR ต้องรู้มากกว่าเรื่องการบริหารคน แต่ต้องรู้เรื่องการวางแผนเชิงกลยุทธ์ร่วมกับผู้บริหารท่านอื่นๆด้วย บางเรื่อง HR ต้องรู้เรื่องการบริหารต้นทุนการดำเนินงาน เพราะค่าจ้างและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานจะเป็นต้นทุนที่มีภาระผูกพันกับองค์กร               ผู้เขียนขอให้ผู้บริหารลองไตร่ตรองสักนิดเกี่ยวกับต้นทุนการดำเนินงาน โดยให้ปรับเทียบจากจำนวนพนักงานเป็นฐาน เพราะผู้เขียนเคยเห็นผู้บริหารหลายๆบริษัทหลงใหลได้ปลื้มกับยอดขายที่เพิ่ม แต่เมื่อสิ้นปีกลับมีผลกำไรลดลงเนื่องจากต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง เคยเห็นวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างมักง่ายที่เมื่อเห็นทำงานไม่ทันก็เพิ่มคน มีงานเพิ่มเท่าไรต้องเพิ่มคนเท่านั้น วิธีนี้ง่ายเกินไปแต่นิยมทำกันจนเป็นเสมือนสูตรสำเร็จ แต่ไม่สะท้อนถึงประสิทธิภาพการบริหารใดๆเลย ลองดูตัวอย่างนี้ครับ บริษัท A มียอดขาย 600 ล้านบาทต่อปี ผลกำไรขั้นต้น (EBITDA) 24 ล้านบาท แต่มีพนักงานรวม 700 คน นั่นคือบริษัทมีความสามารถในการสร้างผลกำไรเพิ่ม 34,285 บาทต่อคน ในขณะที่คู่แข่งมียอดขาย 450 ล้านบาทต่อปี ผลกำไรขั้นต้น (EBITDA) แค่ 18 ล้านบาท แต่มีจำนวนพนักงานรวม 300 คน ความสามารถในการทำกำไรคิดเป็น 60,000 บาทต่อคน สูงกว่ากันเกือบเท่าตัว ส่วนที่คู่แข่งมีกำไรต่อหัวมากกว่าสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารทรัพยากรบุคคลสูงกว่า และหมายถึงผลกำไรของคู่แข่งจะเป็นการสะสมเสบียงเงินทุนในการแข่งขันในอนาคต   •  ข้อจำกัดที่มาจากบุคลากรภายในองค์กร               หากองค์กรใดจัดทำระบบ Succession Planning ที่มาจากกระบวนการคัดกรองบุคลากรจากภายในองค์กรเป็นหลัก อาจจะทำให้เกิดการทำงานแบบเดิมๆไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เรียนรู้จากเทคโนโลีภายนอกที่ก้าวไปไกลกว่าที่ใช้อยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กรด้วยครับ เพราะถ้าวัฒนธรรมองค์กรเป็นลักษณะของการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและกล้าที่จะเปลี่ยน ย่อมไม่มีปัญหามากนัก แต่ถ้าเป็นองค์กรที่ค่อนข้างอนุรักษ์นิยม ไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลงหากเป็นเช่นนี้จะเป็นอันตรายเพราะทำให้คู่แข่งรู้สไตล์การทำงานของเราหมด เปรียบเสมือน นักกีฬาที่ใช้แทคติกเดิมๆทุกครั้ง คู่แข่งก็จะจับทางได้ ย่อมพ่ายแพ้ในที่สุด แต่สำหรับในแง่ธุรกิจจะต่างกัน ถ้าธุรกิจแพ้ ยากที่จะฟื้นตัวได้โดยง่าย แล้วมีทางแก้ไขหรือไม่ มีครับ โดยบางองค์กรปรับตนเองไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) พูดง่ายครับแต่ทำยาก เพราะถ้าหัว (CEO) ไม่ริเริ่มที่จะปรับเปลี่ยน อย่าหวังว่าจะทำงานต่อไปได้ครับ •  ไม่มีระบบการคัดกรองคนที่มีความสามารถเข้ามาภายในองค์กร               ในขณะที่การบริหาร Succession Planning จะมุ่งไปที่การสร้าง Career Development เพื่อหวังว่าจะสามารถสร้างคนเก่งๆมาทดแทนในตำแหน่งที่เป็น Key Position แต่หากการออกแบบการพัฒนาสายงานอาชีพที่ไม่เหมาะสมกับวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กร และการประเมินผลที่ไม่มีความแม่นยำแล้วย่อมเป็นการสูญเปล่าในการลงทุนนั้น เช่นเดียวกัน หากองค์กรหันไปเลือกการรับคนเก่งจากภายนอกเข้ามาภายในองค์กร แต่ไม่มีระบบการคัดกรองที่ดีแล้ว ย่อมไม่ได้คนที่มีความสามารถเข้ามาภายในองค์กร องค์กรใหญ่ๆจึงนิยมใช้ Head Hunter ทำงานในส่วนนี้มากกว่า ยกตัวอย่างเช่น กรณีของชินคอร์ป โดยนายบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ชินคอร์ปปอเรชั่น กล่าวว่า กลุ่มชินคอร์ปเปลี่ยนกลยุทธ์ในการเฟ้นหาผู้บริหารระดับสูงตั้งแต่ Vice President ขึ้นไปโดยใช้วิธีจ้างบริษัท Head Hunter ในประเทศสิงคโปร์เพื่อหาผู้บริหารชาวสิงคโปร์ที่มีความเหมาะสมในการเข้าทำงาน ในกลุ่มชินคอร์ป เนื่องจากที่ผ่านมา กลุ่มชินคอร์ปได้เฟ้นหาผู้บริหารระดับสูงที่จะมาเป็นเลือดใหม่เข้ามารับช่วงบริหารงานของกลุ่มในสายงานที่สำคัญต่างๆ มา ระยะหนึ่งแล้ว เริ่มจากที่เขาและทีมงานบางส่วนติดต่อนัดสัมภาษณ์เอง จนมาจ้างบริษัท head hunter ในประเทศไทยเพื่อดำเนินการมาช่วงหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ได้ผู้บริหารที่ตรงกับคอนเซ็ปต์ที่ต้องการ ตัวเลือกในประเทศมีน้อย และที่ผ่านมายังไม่เจอคนที่โดนมากๆ ผมอยากได้คนสิงคโปร์ที่มีส่วนประกอบที่เราต้องการคือการเป็นคนเอเชียและมีทัศนคติในการทำงานเหมือนกันคือ easy, smart และ work hard” ( U ผู้จัดการรายวัน 20 กันยายน 2547 U ) การบริหารทุนมนุษย์   คือ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ทางการบริหาร การกระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยจิตวิญญาณในบทบาทหน้าที่งานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การสร้างทุนทางปัญญา การเป็นสื่อกลางในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีในองค์กรเหมือนกันตรงที่      การต้องการบุคคลกรที่มีความรู้ความสามารถ  และ มีทักษณะ  มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับตำแหน่งของงาน  และต้องการบุคคลกรที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผลเข้ามาทำงานในองค์การเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายต่างกันตรงที่    การจัดการงานบุคคล  วัตถุประสงค์ของการจัดการงานบุคคลก็เพื่อให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถมาปฏิบัติงานและควบคุมดูแลให้ปฏิบัติงานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ  หากการจัดการงานบุคคลไม่ดี  องค์การจะได้คนไม่ดี  ขาดความรู้ความสามารถในการทำงาน  สร้างปัญหาให้แก่ผู้บริหารและสร้างปัญหาให้แก่องค์การเป็นอันมากการบริหารทรัพยากรมนุษย์
(THE HUMAN RESOURCES MANAGEMENT) การที่องค์การจะกระทำภารกิจหลักให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิ์ภาพนั้น หน่วยงานจำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสมกับงาน ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารงาน เพราะบุคลากรเป็นผู้จัดหาและใช้ทรัพยากรบริหารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเงิน วัสดุอุปกรณ์และการจัดการซึ่งถ้าองค์การเริ่มต้นด้วยการมีบุคลากรที่ดี มีความสามารถ ปัจจัยด้านอื่นๆก็จะดีตามมาการบริหารทุนมนุษย์ คือ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ทางการบริหาร การกระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยจิตวิญญาณในบทบาทหน้าที่งานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร
น.ส.จินตนา กิ่งโคกกรวด รุ่น 10 ม.1 รหัส 4950504105 การจัดการทั่วไป

สมาชิกในกลุ่ม

รายงานเรื่อง  HR  Scorecard

สมาชิกในกลุ่ม

1.  จินตนา           กิ่งโคกกรวด    4950504105

2.  ชุติมา              แสงงาม             4950504107

3.  เบญจพร         แก้วกระจาย       4950504117

4.  สุนันทา           แหนงใหม่          4950504155

5.  วิชุดา              มุขโต                  4950504139

6.  ภัสดาภรณ์      พินิจมนตรี           4950504129

7.  กฐืน                                        4950504101

8.   สุจิตรา          แก้วอรสาน        4950504154

นางสาวพุทธชาติ ทิพย์ประทุม การจัดการทั่วไป รุ่น 10 หมู่ 4950504127

     การบริหารทรัพยากรมนุษย์  หมายถึง  กระบวนการตัดสินใจที่ผู้บริหารฝ่ายทรัยากรมนุษย์และทีมงานผู้รับผิดชอบ  ได้มีการกำหนดกลยุทธ์และศิลปะในการดำเนินงานด้านทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์การอย่างเป็นระบบเริ่มตั้งแต่การพยายามสรรหาและคัดเลือกเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่เป็นคนดี 

การจัดการบุคลากร คือ เป็นกระบวนการที่องค์กรจะต้องมีการสรรหาบุคคลให้พอเพียงกับความต้องการขององค์กร

การบริหารทุนมนุษย์ คือ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ทางการบริหาร การกระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยจิตวิญญาณในบทบาทหน้าที่งานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การสร้างทุนทางปัญญา การเป็นสื่อกลางในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีในองค์กร   สรุป  ทั้งสามประเด็นมีความเหมือนกัน  เนื่องจากการที่จะทำการบริหารได้นั้นต้องมีประเด็นและทั้งสามอย่างรวมเข้าด้วยกันเพื่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจหรือการบริหารงานต่างๆ  ภายในองค์กรหรือหน่วยงาน

นางสาวนภาภรณ์ ปะทะกิ การจัการทั่วไป รุ่น10 หมู่ 1 4950504111
การบริหารจัดการบุคคล

   เป้าหมายสำหรับการบริหารจัดการบุคคลสำหรับที่จะบริหารจัดการ โครงการให้ประสบความสำเร็จ คือ การหายุทธวิธีที่จะคัดเลือกบุคลากร ให้เหมาะสมกับหน้าที่ต่างๆที่จะดำเนินงานภายในโครงการ การกำหนด บทบาทของบุคลากร ให้ชัดเจน ภายในโครงการ (บทบาทที่จะต้องรับผิดชอบชัดเจนเป็นทางการ)
สิ่งที่สำคัญ คือ บทบาทแต่ละตำแหน่งในโครงการจะต้อง มีความสำคัญ บุคลากรภายในทีมจะต้องร่วมกันตัดสินใจในการแบ่งบทบาทในแต่ละ
ตำแหน่งให้ชัดเจน
  บทบาทที่ไม่มีการกำหนดชัดเจน ในการดำเนินโครงการบางครั้งก็จะพบ
บทบาท ที่ไม่มีการกำหนดชัดเจนเกิดขึ้นภายในทีม มีกำหนดไว้้ ในทฤษฎีบทบาทของทีมกล่าวไว้ โดย Meredith Belbin ประกอบด้วย
   1. บทบาทที่เน้นการปฏิบัติ
   2. บทบาทที่เน้นทางความคิด(ใช้สติปัญญา)
   3. บทบาทที่เน้นบุคลากรในการดำเนินงาน
การจัดการทรัพยากรมนุษย์คำว่าการจัดการทรัพยากรมนุษย์” (human resource management) แต่เดิม เคยใช้คำว่า การบริหารงานบุคคล (personnel management) ซึ่งเป็นความหมายที่แคบกว่า โดยมองการบริหารบุคคลเป็นแบบศูนย์รวมอำนาจทั้งองค์การ ที่เกี่ยวกับกิจกรรม โปรแกรมและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการรับคนเข้าทำงาน การดูแลรักษาคนทำงาน และการให้คนงานออกจากงาน รวมทั้งการเก็บประวัติของคนงาน ลักษณะของศูนย์รวมงานส่วนใหญ่ของการบริหารงานบุคคลจึงเป็นงานบริการและงานธุรการ ต่อมาคำว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากมีการให้ความสำคัญว่า มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ไม่สามารถใช้เครื่องมือเครื่องจักรใด ๆ มาทดแทนได้ มนุษย์จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่นำองค์การให้ไปสู่ความสำเร็จ เนื่องจากมนุษย์มีสมอง มีความรู้สึกนึกคิด และมีจิตวิญญาณ การจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงมีความแตกต่างจากทรัพยากรอื่น ๆ เพราะผู้บริหารต้องทำความเข้าใจถึงความต้องการของคนงาน การให้เกียรติ และการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงมนุษย์ ตลอดจนการให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพ ความยุติธรรม ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตของคนงานด้วย โดยเป้าหมายการจัดการจะเน้นที่การสร้างคุณค่าเพิ่มขึ้น โดยการใช้ศักยภาพของมนุษย์ที่จะทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ มีความมั่นคง มั่งคั่ง และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ดังนั้น การจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงเกี่ยวข้องกับกิจกรรม โปรแกรมและนโยบายที่กว้างขวางมากขึ้นกว่าคำว่า การบริหารงานบุคคลซึ่งเป็นคำเดิมที่เคยใช้                สำหรับความหมายของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้                เพ็ญศรี วายวานนท์ (2537: 2) ให้ความหมายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ว่า เป็นงานการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนทำงาน เกี่ยวข้องกับการกำหนดและดำเนินนโยบายในด้านการวางแผนกำลังคน การจัดหาและคัดเลือกคนเข้าทำงาน การพัฒนา การจ่ายค่าตอบแทน การประสานสัมพันธ์เพื่อการธำรงรักษากำลังคนและการพ้นสภาพการทำงานอย่างเป็นธรรม เพื่อมุ่งหมายให้คนทำงานอยู่ดีและเป็นส่วนสำคัญในความสำเร็จขององค์การมอนดี และโน (Mondy and Noe, 1996 : 4) ให้ความหมายว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นการใช้ทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้องค์การบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด                 คลาร์ค (Clark, 1992 : 13) อธิบายว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นการจัดการความสัมพันธ์ของคนงานและผู้บริหาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้องค์การบรรลุจุดมุ่งหมาย ซึ่งจากความหมายดังกล่าวมีประเด็นที่สำคัญ 3 ประการ คือ                 1) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้ความสำคัญกับการจัดการความสัมพันธ์ ที่ไม่ใช่เป็นการจัดการบุคคล                 2) การจัดการทรัพยากรมนุษย์มุ่งเน้นที่เป้าประสงค์ขององค์การ ดังนั้น เมื่อวัตถุประสงค์ขององค์การเปลี่ยนแปลงไป การจัดการความสัมพันธ์ดังกล่าวก็จะเปลี่ยนด้วย                 3) วัตถุประสงค์หลักของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ควรมุ่งที่องค์การ ส่วนสมาชิกขององค์การแต่ละคนจะเป็นวัตถุประสงค์รอง

จากความหมายดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นการจัดการความสัมพันธ์ในการจ้างงาน เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรมนุษย์ในการทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ โดยจะเกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่การได้คนมาทำงานจนถึงคนนั้นออกจากงานไป ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะที่สำคัญ คือ ระยะการได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ (acquisition phase)  ระยะการรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่ทำงานในองค์การ (retention phase) และระยะการให้พ้นจากงาน (termination or separation phase) ซึ่งการจัดการทรัพยากรมนุษย์เป็นบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารในทุกระดับ เนื่องจากต้องเกี่ยวข้องกับการจัดการให้ได้คนดีมาทำงาน สามารถจัดวางคนให้เหมาะสมกับงาน มีการพัฒนา สนับสนุนและควบคุมให้คนทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ ดูแลเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของคนงาน ตลอดจนเตรียมการในรายที่จะเกษียณหรือต้องเลิกจ้าง

การจัดการบุคลากรกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์  เหมือนกันที่เป็นการหายุทธวิธีที่จะคัดเลือกบุคลากร  สรรหาบุคลากร ให้เหมาะสมกับหน้าที่ต่างๆที่จะดำเนินงานภายในโครงการ การกำหนด บทบาทของบุคลากร ให้ชัดเจนเพื่อบรรลุวัถุประสงค์ขององค์การที่วางไว้ให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ

นางสาวจิตรลดา จันทรา การจัดการทั่วไป รุ่น10 หมู่ 1 4950504104

การจัดการบุคคลากร คือ กระบวนการที่ผู้นำ (ผู้บริหาร) ใช้ศิลปะ และวิธีการต่าง  สรรหาบุคคลเพื่อเข้าทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การโดยการใช้ทรัพยากรการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การที่ผู้บริหารใช้ศิลปะและวิธีการในการสรรหา คัดเลือกและบรรจุบุคลากรที่มีความเหมาะสมมาปฏิบัติงานในองค์การ พร้อมทั้งรักษาให้อยู่กับองค์การอย่างมีความสุข

การจัดการบุคลลากร เหมือนกัน กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ ต้องการสรรหาบบุคคลเข้าทำงานที่มีความรู้ความสามารถเพื่อให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์
นางสาววิชุดา มุขโต รหัส 4950504139 กศปช.รุ่น10 หมู่ 1

การจัดการบุคลากร คือ เป็นกระบวนการในการจัดหาบุคลากรเข้าร่วมงานเริ่มต้นตั้งแต่การประกาศสมัครงาน สอบ คัดเลือก สรรหาตำแหน่งงานให้เหมาะสมและ ให้พอเพียงกับความต้องการขององค์กร

การบริหารทรัพยากรมนุษย์(THE HUMAN RESOURCES MANAGEMENT)  คือ การที่องค์การจะกระทำภารกิจหลักให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิ์ภาพนั้น หน่วยงานจำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสมกับงาน ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารงาน เพราะบุคลากรเป็นผู้จัดหาและใช้ทรัพยากรบริหารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเงิน วัสดุอุปกรณ์และการจัดการซึ่งถ้าองค์การเริ่มต้นด้วยการมีบุคลากรที่ดี มีความสามารถ

การบริหารทุนมนุษย์   คือ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ทางการบริหาร การกระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยจิตวิญญาณในบทบาทหน้าที่งานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การสร้างทุนทางปัญญา การเป็นสื่อกลางในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีในองค์กร

 สรุปการจัดการบุคลากรกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่การบริหารทุนมนุษย์จะเป็นการบริหารคนเก่งในการทำงาน

นางสาวอุมาภรณ์ เกณฑ์กระโทก 4950504163

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง  กระบวนการที่ผู้บริหารใช้ศิลปะและกลยุทธ์  ดำเนินการสรรหา  คัดเลือก  และบรรจุบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้ปฏิบัติงานในองค์การพร้อมทั้งสนใจการพัฒนาธำรงรักษาให้สมาชิกที่ปฏบัติงานในองค์ทการเพิ่มพูนความรู้  ความสามารถ    มีสุขภาพและสุขภาพจิตที่ดี  ในการทำงาน 

การจัดการบุคลากร คือ เป็นกระบวนการที่องค์กรจะต้องมีการสรรหาบุคคลให้พอเพียงกับความต้องการขององค์กร

การบริหารทุนมนุษย์ คือ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ทางการบริหาร การกระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยจิตวิญญาณในบทบาทหน้าที่งานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การสร้างทุนทางปัญญา การเป็นสื่อกลางในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีในองค์กร   สรุป  ทั้งสามประเด็นมีความเหมือนกัน  เนื่องจากการที่จะทำการบริหารได้นั้นต้องมีประเด็นและทั้งสามอย่างรวมเข้าด้วยกันเพื่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจหรือการบริหารงานต่างๆ  ภายในองค์กรหรือหน่วยงาน

นางสาวพัชรี ศรีนาค กศปช.รุ่น 10 หมู่ 1 รหัส 4950504126
การจัดการบุคลากร

คือ วิธีการบริหารจัดการสร้างความรู้ให้เป็นทรัพย์สินขององค์กร ในรูปแบบ ความรู้สาธารณะและความรู้ที่ฝังแน่นหรือตกผลึกอยู่ในตัวบุคลากร เพื่อให้ความรู้นั้นเป็นเครื่องมือในการทำงานของบุคลากรทุกระดับในองค์กร ส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร
การเพิ่มประสิทธิภาพด้านทักษะ ความชำนาญในการทำงาน ตลอดจนปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากรทุกระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรสามารถทำได้ด้วยวิธีการฝึกอบรม ปฐมนิเทศ ส่งไปดูงานต่างประเทศ ร่วมสัมมนาทั้งในและนอกสถานที่ ฯลฯ เพื่อบุคลากรนั้นๆ จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ และมุ่งไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร

การบริหารทุนมนุษย์

คือ งานการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนทำงาน เกี่ยวข้องกับการกำหนดและดำเนินนโยบายในด้านการวางแผนกำลังคน การจัดหาและคัดเลือกคนเข้าทำงาน การพัฒนา การจ่ายค่าตอบแทน การประสานสัมพันธ์เพื่อการธำรงรักษากำลังคนและการพ้นสภาพการทำงานอย่างเป็นธรรม เพื่อมุ่งหมายให้คนทำงานอยู่ดีและเป็นส่วนสำคัญในความสำเร็จขององค์การมอนดี และโน (Mondy and Noe, 1996 : 4) ให้ความหมายว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์เปรียบเช่นเดียวกับการลงทุนในทรัพยากรอื่น เช่น การ upgrade คอมพิวเตอร์มีค่าใช้จ่าย 500 บาท ก็หวังว่าองค์กรจะได้ประโยชน์ไม่น้อยกว่า 500 บาทที่จ่ายไป หากองค์กรต้องลงทุนค่าฝึกอบรมแก่พนักงาน ก็หวังว่าจะได้ประโยชน์คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายเป็นค่าฝึกอบรมนั้น บางองค์กรจึงวัดประสิทธิภาพจากการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวด้วยดัชนี ROI (Return On Investment) องค์กรจ่ายเงินไปเท่าไร เมื่อวัดผลการดำเนินงาน (Performance) ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าเงินที่จ่ายไป ผู้เขียนขอยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้าองค์กรต้องจ่ายค่าฝึกอบรมให้พนักงานขายไปอบรมเรื่องการขายและการตลาดไปเท่าไร อย่างน้อยต้องมียอดขายที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเงินที่จ่ายไป เป็นต้น

สรุป

การจัดการบุคลากรกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์  เหมือนกันที่เป็นการหายุทธวิธีที่จะคัดเลือกบุคลากร  สรรหาบุคลากร ให้เหมาะสมกับหน้าที่ต่างๆที่จะดำเนินงานภายในโครงการ การกำหนด บทบาทของบุคลากร ให้ชัดเจนเพื่อบรรลุวัถุประสงค์ขององค์การที่วางไว้ให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ เพื่อการมุ่งหาคนเก่งในด้านต่างเข้าทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพ เช่นกัน

 

นางสาวสาวิตรี กาฬสินธุ์ รหัส 4950504150 กศ.ปช.รุ่น 10 หมู่ 1
นางสาวสาวิตรี กาฬสินธุ์ นักศึกษากศ.ปช. รุ่น 10 หมู่ 1 รหัส4950504150 การจัดการบุคลากร หมายถึง เป็นกระบวนการที่องค์กรจะต้องมีการสรรหาบุคคลให้พอเพียงกับความต้องการขององค์กร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการที่ผู้บริหารใช้ศิลปะและกลยุทธ์ ดำเนินการสรรหา คัดเลือก และบรรจุบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้ปฏิบัติงานในองค์การพร้อมทั้งสนใจการพัฒนาธำรงรักษาให้สมาชิกที่ปฏบัติงานในองค์ทการเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ มีสุขภาพและสุขภาพจิตที่ดี ในการทำงาน การจัดการบุคลลากร เหมือนกัน กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ ต้องการสรรหาบบุคคลเข้าทำงานที่มีความรู้ความสามารถเพื่อให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์
นางสาว ศรัญญา กล้าหาญ กศ.ปช.รุ่น 10 หมู่1 รหัส 4950504141

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง  กระบวนการที่ผู้บริหารใช้ศิลปะและกลยุทธ์  ดำเนินการสรรหา  คัดเลือก  และบรรจุบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้ปฏิบัติงานในองค์การพร้อมทั้งสนใจการพัฒนาธำรงรักษาให้สมาชิกที่ปฏบัติงานในองค์ทการเพิ่มพูนความรู้  ความสามารถ    มีสุขภาพและสุขภาพจิตที่ดี  ในการทำงาน 

การจัดการบุคลากร คือ เป็นกระบวนการที่องค์กรจะต้องมีการสรรหาบุคคลให้พอเพียงกับความต้องการขององค์กร

การบริหารทุนมนุษย์ คือ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ทางการบริหาร การกระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยจิตวิญญาณในบทบาทหน้าที่งานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การสร้างทุนทางปัญญา การเป็นสื่อกลางในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีในองค์กร   สรุป  ทั้งสามประเด็นมีความเหมือนกัน  เนื่องจากการที่จะทำการบริหารได้นั้นต้องมีประเด็นและทั้งสามอย่างรวมเข้าด้วยกันเพื่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจหรือการบริหารงานต่างๆ  ภายในองค์กรหรือหน่วยงาน

นางสาว จิราภรณ์ นาไร่แก้ว กศ.ปช.รุ่น 10 หมู่ 1 รหัส 4950504106

การบริหารทรัพยากรมนุษย์(THE HUMAN RESOURCES MANAGEMENT)  คือ การที่องค์การจะกระทำภารกิจหลักให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิ์ภาพนั้น หน่วยงานจำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสมกับงาน ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารงาน เพราะบุคลากรเป็นผู้จัดหาและใช้ทรัพยากรบริหารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเงิน วัสดุอุปกรณ์และการจัดการซึ่งถ้าองค์การเริ่มต้นด้วยการมีบุคลากรที่ดี มีความสามารถ

การบริหารทุนมนุษย์   คือ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ทางการบริหาร การกระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยจิตวิญญาณในบทบาทหน้าที่งานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การสร้างทุนทางปัญญา การเป็นสื่อกลางในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีในองค์กร

 สรุปการจัดการบุคลากรกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่การบริหารทุนมนุษย์จะเป็นการบริหารคนเก่งในการทำงาน

นางสาวรุ่งนภา นารัมย์ รหัส 4950504135

 - การจัดการบุคลากร (Personnel Management)
      การจัดการงานบุคคลหรือการบริหารบุคคล   เป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของการจัดการ  เพราะบุคคลเป็นปัจจัยที่ทำให้องค์การบรรลุเป้าหมาย  หากการจัดการงานบุคคลไม่มีประสิทธิภาพแล้ว           การดำเนินงานขององค์การจะพบอุปสรรคนานาประการ  ระบบการจัดการงานบุคคลที่ดีคือระบบคุณธรรม  ซึ่งมีหลักอยู่ 4  ประการ  คือ หลักความเสมอภาค  หลักความสามารถ  หลักความมั่งคง  และหลักความเป็นกลางทางการเมืองคนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งของการจัดการ  เพราะคนเป็นผู้ปฏิบัติงานทุกอย่างขององค์การหากไม่มีคนหรือมีคนไม่มีคุณภาพ
       การจัดการให้บรรลุเป้าหมายขององค์การย่อมดำเนินไปได้โดยยากยิ่ง  การจะได้คนดีมีคุณภาพเข้ามาทำงานย่อมขึ้นอยู่กับการจัดการงานบุคคลที่ดี   การจัดการงานบุคคล  หรือการบริหารบุคคล  หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า  personnel   administration  หรือ  personnel management
       วัตถุประสงค์ของการจัดการงานบุคคลก็เพื่อให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถมาปฏิบัติงานและควบคุมดูแลให้ปฏิบัติงานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ  หากการจัดการงานบุคคลไม่ดี  องค์การจะได้คนไม่ดี  ขาดความรู้ความสามารถในการทำงาน  สร้างปัญหาให้แก่ผู้บริหารและสร้างปัญหาให้แก่องค์การเป็นอันมาก
- การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources  Management)
         การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารงาน เพราะบุคลากรเป็นผู้จัดหาและใช้ทรัพยากรบริหารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเงิน วัสดุอุปกรณ์และการจัดการซึ่งถ้าองค์การเริ่มต้นด้วยการมีบุคลากรที่ดี มีความสามารถ ปัจจัยด้านอื่นๆ
ก็จะดีตามมา
- การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management)
         ปัจจุบันนี้หลายองค์กรต่างหันมาให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้องค์กรมีความเจริญก้าวหน้า “เรื่องของทุนมนุษย์นั้นสามารถมองได้ในหลายมิติ"  มิติที่มองในเรื่องของทุนมนุษย์ จะมองใน 3 มิติ คือ Customer Capital หมายความว่า ธุรกิจนั้นจะแข่งขันกันในเชิงของการตลาดหรือเชิงของลูกค้า  และมิติต่อมามองในเชิงทุนทางสังคม Social Capital       หมายความว่า สังคม ประชากร เศรษฐกิจ การเมือง ความยากจน จะเป็นอย่างไรในสังคมนั้นๆ และ Human Capital คือ เรื่องคนของประเทศนั้นๆ ซึ่งตรงนี้ก็อธิบายด้วยทฤษฎี HR ได้ แต่หากจะมองในกรอบของทุนทางปัญญา (IC)  และอีกมิติหนึ่งที่เพิ่มเข้ามา ซึ่งมีความสำคัญมากและน่าสนใจ นั่นก็คือ Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม เพราะนวัตกรรมใหม่ๆ

สรุป  เหมือนกัน

นางสาวเบญจพร แก้วกระจาย รุ่น 10 หมู่ 1 4950504117

การจัดการบุคลากร (Personnel Managment)

เป็นกระบวนการในการจัดหาบุคลากรเข้าร่วมงานเริ่มต้นตั้งแต่การประกาศสมัครงาน   สอบ  คัดเลือก   สรรหาตำแหน่งงานให้เหมาะสมและ ให้พอเพียงกับความต้องการขององค์กร                       

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Mangement)

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นการจัดการความสัมพันธ์ในการจ้างงาน เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรมนุษย์ในการทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ โดยจะเกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่การได้คนมาทำงานจนถึงคนนั้นออกจากงานไป ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะที่สำคัญ คือ ระยะการได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ (acquisition phase)  ระยะการรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่ทำงานในองค์การ (retention phase) และระยะการให้พ้นจากงาน (termination or separation phase) ซึ่งการจัดการทรัพยากรมนุษย์เป็นบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารในทุกระดับ เนื่องจากต้องเกี่ยวข้องกับการจัดการให้ได้คนดีมาทำงาน สามารถจัดวางคนให้เหมาะสมกับงาน มีการพัฒนา สนับสนุนและควบคุมให้คนทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ ดูแลเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของคนงาน

การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management)

การบริหารทุนมนุษย์ คือ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ทางการบริหาร การกระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยจิตวิญญาณในบทบาทหน้าที่งานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การสร้างทุนทางปัญญา การเป็นสื่อกลางในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีในองค์กร

       สรุปการจัดการบุคลากรกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะมีลักษณะคล้ายกัน  แต่การบริหารทุนมนุษย์จะเป็นการบริหารคนเก่งในการทำงาน        

นางสาว สุนันทา แหนงใหม่ กศ.ปช.รุ่น10 หมู่14950504155

การจัดการบุคลากร คือ เป็นกระบวนการในการจัดหาบุคลากรเข้าร่วมงานเริ่มต้นตั้งแต่การประกาศสมัครงาน สอบ คัดเลือก สรรหาตำแหน่งงานให้เหมาะสมและ ให้พอเพียงกับความต้องการขององค์กร การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management)” เริ่มถูกนำมาประยุกต์ใช้มากขึ้น โดยการใช้ประโยชน์จาก “ คน ” ให้มีคุณค่าสูงสุดแก่องค์กร

การบริหารทรัพยากรมนุษย์    คือ งานการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนทำงาน เกี่ยวข้องกับการกำหนดและดำเนินนโยบายในด้านการวางแผนกำลังคน การจัดหาและคัดเลือกคนเข้าทำงาน การพัฒนา การจ่ายค่าตอบแทน การประสานสัมพันธ์เพื่อการธำรงรักษากำลังคนและการพ้นสภาพการทำงานอย่างเป็นธรรม เพื่อมุ่งหมายให้คนทำงานอยู่ดีและเป็นส่วนสำคัญในความสำเร็จขององค์การ

การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) เริ่มถูกนำมาประยุกต์ใช้มากขึ้น โดยการใช้ประโยชน์จาก “ คน ” ให้มีคุณค่าสูงสุดแก่องค์กร

Jeffrey Berk (2004, Talent Management : Valuing Human Capital) กล่าวว่า การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์เปรียบเช่นเดียวกับการลงทุนในทรัพยากรอื่น เช่น การ upgrade คอมพิวเตอร์มีค่าใช้จ่าย 500 บาท ก็หวังว่าองค์กรจะได้ประโยชน์ไม่น้อยกว่า 500 บาทที่จ่ายไป หากองค์กรต้องลงทุนค่าฝึกอบรมแก่พนักงาน ก็หวังว่าจะได้ประโยชน์คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายเป็นค่าฝึกอบรมนั้น บางองค์กรจึงวัดประสิทธิภาพจากการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวด้วยดัชนี ROI

(Return On Investment) องค์กรจ่ายเงินไปเท่าไร เมื่อวัดผลการดำเนินงาน (Performance) ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าเงินที่จ่ายไป ผู้เขียนขอยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้าองค์กรต้องจ่ายค่าฝึกอบรมให้พนักงานขายไปอบรมเรื่องการขายและการตลาดไปเท่าไร อย่างน้อยต้องมียอดขายที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเงินที่จ่ายไป เป็นต้น

              สำหรับในประเทศไทย เรื่อง Talent Management ถือเป็นเครื่องมือทางการบริหารอย่างหนึ่งที่เริ่มศึกษาและพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แทนเรื่อง “ การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Planning)” ที่บางองค์กรเริ่มนำระบบการบริหารนี้ไปใช้อย่างจริงจัง เพราะเกรงว่าหากผู้นำองค์กร หรือผู้บริหารขององค์กรต้องจากองค์กรไปด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรือโรคภัยไข้เจ็บ หรือแม้กระทั่งถูกคู่แข่งซื้อตัวไป จะต้องมีผู้อื่นที่สามารถบริหารงานแทนได้ทันทีและมีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน

              คุณบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวบรรยายในหัวข้อ "การบริหารทรัพยากรมนุษย์พันธุ์ใหม่" ในงานสัมมนา " DNA for SMART HR" ซึ่งจัดโดยโครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ ( นิด้า) ร่วมกับหนังสือพิมพ์มติชนและประชาชาติธุรกิจ เมื่อต้นเดือนสิงหาคม,2547 มีความตอนหนึ่งที่น่าสนใจว่า “" การทำองค์กรให้สมาร์ทอันหนึ่งคือ Succession Planning หมายความว่าตรงจุดต่างๆ หากเกิดมีคนออกไป จะมีคนใหม่เข้าไปทำแทน เรื่องนี้ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย ตัวสำคัญๆ ที่วางตัวไว้ในองค์กร พอไปถามว่าใครจะเป็นตัวแทนให้กับคนนี้ ส่วนใหญ่จะไม่มีคำตอบกลับมา เลยทำให้ Succession Planning เกิดขึ้นด้วยความยากลำบาก แค่คนที่เป็นหัวเพียงคนเดียวก็หายากเต็มทีแล้ว มีตัวคน แต่ฝีมือคนละรุ่นกัน ผมก็ทำอยู่ในจุดสำคัญๆ ในองค์กร พอถามว่าใครเป็นตัวแทน ให้พูดชื่อพูดได้ แต่ถามว่าใครกล้าบ้าง โดยทั่วไปไม่แน่ใจว่าคนที่เป็นเบอร์ 2 ตรงนั้นทำได้ คนมีเยอะแต่คนที่เข้าสเป็กหาไม่ได้ แต่ว่าองค์กรที่แข็งแกร่งต้องมีตัวตายตัวแทน เพราะถ้าตัวเก่งๆ ไป องค์กรจะสะดุดทุกองค์กร"

                หลุมพรางของ Succession Planning

              อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง ( Succession Planning ) จะเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในการบริหารงานบุคคลแต่เป็นเรื่องยากที่จะทำให้เกิดขึ้น เป็นเพราะอะไร คำตอบ คือ Succession Planning มีหลุมพรางในตัวของมันเองที่อาจจะไม่เหมาะกับวัฒนธรรมของคนไทย เช่นเดียวกับเรื่อง Re-engineering หรือ QCC ที่องค์กรหลายแห่งของไทยนิยมทำกันตามกระแสอยู่พักใหญ่ๆ แต่แล้วก็พบว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่เหมาะกับการบริหารแบบไทยๆ ไม่ใช่ว่า

Re-engineering หรือ QCC ไม่ดีนะครับ แต่การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทันที หรือการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีม ไม่เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรส่วนใหญ่ของไทย ถ้าพูดกันให้ชัดเจน กล่าวคือ วัฒนธรรมองค์กรของไทยจะยอมรับการประนีประนอมมากกว่า เรื่องบริหารคนต้องมุ่งไปที่การบริหาร ” น้ำใจ ” มากกว่าไปมุ่งเน้นที่ผลตอบแทนเป็นตัวเงิน

หากคิดจะทำ Succession Planning ต้องระวัง 5 หลุมพรางคือ

•  เกิดความขัดแย้งในการทำงาน

              Succession Planning จะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ Career Path ต้องชัดเจน คือ ผู้ที่เข้ามาร่วมทำงานในสายงานอาชีพใดจะต้องไต่เต้าไปตามเส้นทางอาชีพ (Career Path) นั้นข้อดี คือ มีความชัดเจนแก่ผู้ทำงานว่าจะเติบโตไปทางเส้นทางไหน แต่ผู้เขียนขอถามว่า หากหัวหน้าไม่ขยับ ลูกน้องจะเติบโตไปตามเส้นทางนั้นได้หรือไม่ หาก Successor โชคร้ายเจอหัวหน้าใจแคบคงไม่ต้องเจริญก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพนั้น แล้วจะทำอย่างไร นอกจากนี้ ในกลุ่ม Successor เองจะเกิดการแย่งชิงผลงาน ถ้าแย่งทำงานกันคงไม่เป็นไร แต่ถ้าแย่งชิงผลงานกันเองคงทำงานเป็นทีมคงลำบาก แล้วจะแก้ไขอย่างไรครับ

              อย่างไรก็ตาม ยังมีทางแก้ไขครับ บางองค์กรจะมีการประเมิน Successor โดยไม่แจ้งบอกให้ทั้งหัวหน้างานและกลุ่ม Successor ทราบว่ามีใครบ้างที่อยู่ในกลุ่ม แต่คงไม่สามารถปกปิดได้ตลอดครับ เพราะในที่สุดในกลุ่มคงพอทราบว่าใครบ้างที่เป็น Successor ที่องค์กรมอบหมายให้ทำงานต่อไป ความขัดแย้งจึงยังไม่หมดไปเว้นแต่ว่าทุกคนรวมทั้งผู้บริหารต้องเปิดใจกว้างและยอมรับซึ่งกันและกัน

•  เกิดระบบอุปถัมภ์ในสายงาน

              ถ้าถามว่าเราเป็นหัวหน้างาน ต้องการลูกน้องของเราเป็นอย่างไร? หลายคนจะตอบว่า ควรเป็นลูกน้องที่เราไว้วางใจและสั่งงานได้ ระบบอุปถัมภ์ที่ทำให้เกิดความเกรงใจกันมากกว่าความถูกต้องจะตามมา และในขณะเดียวกัน คนที่เราไว้วางใจให้ทำงานต่อจากเรานั้นอาจจะไม่ใช่เป็นคนเก่งก็ได้ นานๆเข้าองค์กรก็จะขาดแคลนคนเก่ง จะเหลือแต่คนประจบสอพลอ ทำงานด้วยปากเป็นหลัก องค์กรจะเติบโตได้อย่างไร? บางองค์กรจะแก้ไขปัญหานี้โดยใช้ผู้บริหารที่มีตำแหน่งสูงกว่าเป็นคนตัดสินใจคัดกรองว่าจะให้ใครมานั่งตำแหน่งที่ว่างลงแทนที่จะมอบหมายให้หัวหน้างานคนนั้นเป็นคนคัดเลือก แต่วิธีนี้ถ้าผู้บริหารที่มีตำแหน่งสูงกว่าไม่ใช่คนเก่งและคนดี ก็ใช้ไม่ได้ผลเช่นกัน

•  ขาดความหลากหลายในการทำงาน

              การเติบโตตามสายงานที่ทำงานเหมือนๆกันมานาน จะทำให้ไม่มีความหลากหลายในความคิดเชิงกลยุทธ์เพราะ Successor จะรู้เฉพาะในสายงานที่ตนเองทำงานอยู่เท่านั้น แต่ในโลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งความรู้ (Knowledge-based Global Economy) การรับรู้เฉพาะในสายงานของตนเท่านั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้บริหารได้เท่าที่ควร

              ยิ่งถ้าหากท่านเป็นผู้บริหารต้องเป็นนักคิดนักวางแผนเชิงกลยุทธ์มากขึ้น ณ ปัจจุบัน ในที่ประชุมผู้บริหารไม่ใช่เป็นเวทีประชุมเพื่อแจ้งให้รับทราบเท่านั้น หากแต่เป็นเวทีสำหรับการเสนอแนะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายในองค์กร เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจในการทำงานต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ผู้จัดการฝ่าย HR ไม่ใช่มีหน้าที่รายงานว่าองค์กรมีจำนวนรายวันรายเดือนมากขึ้นหรือลดลงกว่าเดิม แล้วจบรายงานเท่านั้น ถามว่ารายงานนี้มีค่าเท่าใดครับ มีค่าเป็น “ ศูนย์ ” ครับ ไม่มีประโยชน์ใดๆเลย ผู้บริหาร HR ต้องสามารถอธิบายชี้บ่งได้ว่าที่เพิ่มหรือลดลงนั้นเกิดจากหน่วยงานใด เพราะอะไร เกิดต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้นเท่าไร สัดส่วนต่อยอดผลิตเป็นเท่าไร ถ้าไม่เพิ่มคนจะต้องทำอย่างไร ในอีกไตรมาสหน้า จะวางแผนกำลังคนและฝึกอบรมอย่างไร เพื่อประโยชน์อะไร เป็นต้น หมายความว่า HR ต้องรู้มากกว่าเรื่องการบริหารคน แต่ต้องรู้เรื่องการวางแผนเชิงกลยุทธ์ร่วมกับผู้บริหารท่านอื่นๆด้วย บางเรื่อง HR ต้องรู้เรื่องการบริหารต้นทุนการดำเนินงาน เพราะค่าจ้างและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานจะเป็นต้นทุนที่มีภาระผูกพันกับองค์กร

              ผู้เขียนขอให้ผู้บริหารลองไตร่ตรองสักนิดเกี่ยวกับต้นทุนการดำเนินงาน โดยให้ปรับเทียบจากจำนวนพนักงานเป็นฐาน เพราะผู้เขียนเคยเห็นผู้บริหารหลายๆบริษัทหลงใหลได้ปลื้มกับยอดขายที่เพิ่ม แต่เมื่อสิ้นปีกลับมีผลกำไรลดลงเนื่องจากต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง เคยเห็นวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างมักง่ายที่เมื่อเห็นทำงานไม่ทันก็เพิ่มคน มีงานเพิ่มเท่าไรต้องเพิ่มคนเท่านั้น วิธีนี้ง่ายเกินไปแต่นิยมทำกันจนเป็นเสมือนสูตรสำเร็จ แต่ไม่สะท้อนถึงประสิทธิภาพการบริหารใดๆเลย ลองดูตัวอย่างนี้ครับ บริษัท A มียอดขาย 600 ล้านบาทต่อปี ผลกำไรขั้นต้น (EBITDA) 24 ล้านบาท แต่มีพนักงานรวม 700 คน นั่นคือบริษัทมีความสามารถในการสร้างผลกำไรเพิ่ม 34,285 บาทต่อคน ในขณะที่คู่แข่งมียอดขาย 450 ล้านบาทต่อปี ผลกำไรขั้นต้น (EBITDA) แค่ 18 ล้านบาท แต่มีจำนวนพนักงานรวม 300 คน ความสามารถในการทำกำไรคิดเป็น 60,000 บาทต่อคน สูงกว่ากันเกือบเท่าตัว ส่วนที่คู่แข่งมีกำไรต่อหัวมากกว่าสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารทรัพยากรบุคคลสูงกว่า และหมายถึงผลกำไรของคู่แข่งจะเป็นการสะสมเสบียงเงินทุนในการแข่งขันในอนาคต

  •  ข้อจำกัดที่มาจากบุคลากรภายในองค์กร

              หากองค์กรใดจัดทำระบบ Succession Planning ที่มาจากกระบวนการคัดกรองบุคลากรจากภายในองค์กรเป็นหลัก อาจจะทำให้เกิดการทำงานแบบเดิมๆไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เรียนรู้จากเทคโนโลีภายนอกที่ก้าวไปไกลกว่าที่ใช้อยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กรด้วยครับ เพราะถ้าวัฒนธรรมองค์กรเป็นลักษณะของการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและกล้าที่จะเปลี่ยน ย่อมไม่มีปัญหามากนัก แต่ถ้าเป็นองค์กรที่ค่อนข้างอนุรักษ์นิยม ไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลงหากเป็นเช่นนี้จะเป็นอันตรายเพราะทำให้คู่แข่งรู้สไตล์การทำงานของเราหมด เปรียบเสมือน นักกีฬาที่ใช้แทคติกเดิมๆทุกครั้ง คู่แข่งก็จะจับทางได้ ย่อมพ่ายแพ้ในที่สุด แต่สำหรับในแง่ธุรกิจจะต่างกัน ถ้าธุรกิจแพ้ ยากที่จะฟื้นตัวได้โดยง่าย แล้วมีทางแก้ไขหรือไม่ มีครับ โดยบางองค์กรปรับตนเองไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) พูดง่ายครับแต่ทำยาก เพราะถ้าหัว (CEO)

ไม่ริเริ่มที่จะปรับเปลี่ยน อย่าหวังว่าจะทำงานต่อไปได้ครับ

•  ไม่มีระบบการคัดกรองคนที่มีความสามารถเข้ามาภายในองค์กร

              ในขณะที่การบริหาร Succession Planning จะมุ่งไปที่การสร้าง Career Development เพื่อหวังว่าจะสามารถสร้างคนเก่งๆมาทดแทนในตำแหน่งที่เป็น Key Position แต่หากการออกแบบการพัฒนาสายงานอาชีพที่ไม่เหมาะสมกับวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กร และการประเมินผลที่ไม่มีความแม่นยำแล้วย่อมเป็นการสูญเปล่าในการลงทุนนั้น เช่นเดียวกัน หากองค์กรหันไปเลือกการรับคนเก่งจากภายนอกเข้ามาภายในองค์กร แต่ไม่มีระบบการคัดกรองที่ดีแล้ว ย่อมไม่ได้คนที่มีความสามารถเข้ามาภายในองค์กร องค์กรใหญ่ๆจึงนิยมใช้ Head Hunter ทำงานในส่วนนี้มากกว่า ยกตัวอย่างเช่น กรณีของชินคอร์ป โดยนายบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ชินคอร์ปปอเรชั่น กล่าวว่า “ กลุ่มชินคอร์ปเปลี่ยนกลยุทธ์ในการเฟ้นหาผู้บริหารระดับสูงตั้งแต่ Vice President ขึ้นไปโดยใช้วิธีจ้างบริษัท Head Hunter ในประเทศสิงคโปร์เพื่อหาผู้บริหารชาวสิงคโปร์ที่มีความเหมาะสมในการเข้าทำงาน ในกลุ่มชินคอร์ป เนื่องจากที่ผ่านมา กลุ่มชินคอร์ปได้เฟ้นหาผู้บริหารระดับสูงที่จะมาเป็นเลือดใหม่เข้ามารับช่วงบริหารงานของกลุ่มในสายงานที่สำคัญต่างๆ มา ระยะหนึ่งแล้ว เริ่มจากที่เขาและทีมงานบางส่วนติดต่อนัดสัมภาษณ์เอง จนมาจ้างบริษัท head hunter ในประเทศไทยเพื่อดำเนินการมาช่วงหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ได้ผู้บริหารที่ตรงกับคอนเซ็ปต์ที่ต้องการ ตัวเลือกในประเทศมีน้อย และที่ผ่านมายังไม่เจอคนที่โดนมากๆ ผมอยากได้คนสิงคโปร์ที่มีส่วนประกอบที่เราต้องการคือการเป็นคนเอเชียและมีทัศนคติในการทำงานเหมือนกันคือ

easy, smart และ work hard” ( U ผู้จัดการรายวัน 20 กันยายน 2547 U )

              ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้องค์กรหลายแห่งเลี่ยงการใช้ Succession Planning แล้วไปใช้เครื่องมืออีกตัวหนึ่งแทน คือ “ ระบบการบริหารคนเก่ง (Talent Management System)” แทน เพราะเชื่อว่า ทุกองค์กรจะมีคนเก่งอยู่เสมอ ถ้าไม่มีก็ให้คัดเลือกเข้ามาหรือพัฒนาบุคลากรให้เป็นคนเก่งก็ได้

สรุป ทั้งการจัดการบุคลากร การบริหารทรัพยากรมนุษย์และการบริหารทุนมนุษย์มีลักษณะที่เหมือนกัน

 

นางสาวลินดา อุปัชฌาย์
ระบบการจัดการงานบุคคลการจัดการงานบุคคลแบ่งออกเป็น  2 ระบบใหญ่ๆ  คือ  การบริหารบุคคลระบบคุณธรรม (merit  system)  และการบริหารบุคคลระบบอุปถัมภ์  (patronage  system)  ซึ่งมีหลักการดังต่อไปนี้          ระบบคุณธรรมระบบคุณธรรม  บางคนเรียกระบบคุณวุฒิ  หรือระบบคุณความดี  หรือระบบความสามารถ  ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดก็ตามระบบนี้มีหลักการอยู่  4  ประการดังนี้1.  หลักความเสมอภาค  (epuality  of  opportunity)  เริ่มตั้งแต่การรับคนเข้าทำงานก็ต้องตั้งอยู่บนหลักแห่งความเสมอภาค  มิใช่ว่าต้องเป็นพรรคพวก  เป็นญาติเป็นใครก็ตามถ้ามีคุณสมบัติตามที่หน่วยงานนั้นต้องการก็ย่อมมีสิทธิสมัครสอบแข่งขันเข้าทำงานได้  และเมื่อเข้ามาเป็นคนงานหรือพนักงานแล้วก็ต้องมีความเสมอภาคในการเลื่อนตำแหน่ง  เช่น  บางตำแหน่งทำงานในระดับ  3  มา  2 ปีแล้ว  มีสิทธิเลื่อนให้ดำรงตำแหน่งในระดับ  4  ได้  ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับความสามารถเป็นสำคัญ  สิทธินี้ต้องเสมอภาคกันทุกคน  หรือในการทำงานหากทำงานที่อยู่ในระดับความรับผิดชอบที่เทียบกันได้ก็ต้องได้รับค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน2.  หลักความสามารถ  (competence)  คนดีที่มีความสามารถเท่านั้นที่จะเข้ามาทำงานได้  และมีโอกาสก้าวหน้า  เวลาจะรับคนเข้าทำงานก็ยึดหลักว่าหาคนที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้   จึงต้องมีการสอบแข่งขันกัน  เวลาบรรจุก็บรรจุคนที่สอบได้ที่ 1  ก่อนเพราะถือว่าเป็นผู้มีความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น  การเลื่อนเงินเดือน  เลื่อนระดับ  ก็พิจารณาจากผู้มีความสามารถ  มีคุณสมบัติเหมาะสมก่อน                        3.  หลักความมั่งคง  (security  on  tenure)  ในระบบคุณธรรมมีการให้หลักประกันว่าเมื่อเข้ามาทำงานจะไม่ถูกออกจากงานง่ายๆ  มีกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า  การเลิกจ้างจะทำได้ในกรณีใดบ้าง  เช่น  ตาย  ลาออก  ฯลฯ  ความมั่นคงอาจรวมถึงการให้สวัสดิการ  การให้ได้รับบำเหน็จบำนาญด้วย   ทำให้ผู้ทำงานรู้สึกมั่นคงในการประกอบวิชาชีพ  ไม่ต้องห่วงพะวงว่าเมื่อออกจากงานแล้วจะทำบาก4.  หลักความเป็นกลางทางการเมือง  (political  neutrality)  งานราชการประจำเป็นงานที่ต้องกระทำต่อเนื่องกันไป  จึงต้องมีหลักประกันว่าข้าราชการจะไม่ถูกบีบบังคับจากอิทธิพลของฝ่ายการเมืองที่อาจผลักเปลี่ยนกันเข้ามาบริหารประเทศ  ถ้าให้ฝ่ายการเมืองมามีอิทธิพล  คนดีมีความสามารถก็จะหนีหายไม่อยู่รับราชการ  ในทางหลักการจึงมีข้อกำหนดไว้ว่าข้าราชการประจำจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับข้าราชการ  การเมืองได้แก่ไหน  อย่างไร  หลักข้อนี้นั้นด้านราชการมากกว่าธุรกิจจะเห็นได้ว่าแนวความคิดของระบบคุณธรรมสอดคล้องกับแนวความคิดตามระบอบประชาธิปไตย   สำหรับประเทศไทยเราเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบประชาธิปไตย     การบริหารงานบุคคลก็ยึดระบบคุณธรรมด้วย  แต่เนื่องจากพฤติกรรมต่างๆ ปล่อยปละละเลยเป็นระบบอุปถัมภ์กันมานานจึงต้องค่อยๆ เปลี่ยน  มิใช่เปลี่ยนอย่างทันทีทันใด  ทั้งนี้  เพราะค่านิยมของคนไทยหลายอย่างเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรม  เช่น  ค่านิยมการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือคนที่รู้จักคุ้นเคยก็อาจส่งเสริมให้เกิดการเล่นพรรคเล่นพวกได้  เป็นต้น          ระบบอุปถัมภ์ระบบอุปถัมภ์มีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน   บางคนเรียกระบบพรรคพวกระบบเล่นพวก  ระบบเน่าหนอนชอนไช  ระบบศักดินา  ภาษาอังกฤษมีหลายคำ  เช่น  spoils  system , patronage  system , favoritism , nepotism    เป็นต้น  เป็นระบบที่มีพฤติกรรมในการบริหารงานบุคคลตรงกันข้ามกับระบบคุณธรรมระบบอุปถัมภ์นี้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยยุโรป  มีระบบศักดินา  มีเจ้าขุนมูลนาย  (feudel  lord)  ซึ่งได้รับมอบหมายจากพระเจ้าแผ่นดินให้ดูแลกิจการต่างๆ  มีข้าทาสบริวารที่เลี้ยงไว้  เมื่อจะตั้งคนให้ทำงานก็ตั้งจากบริวาร  เป็นดังนี้สืบเนื่องกันมาเรื่อยๆ

ในสหรัฐอเมริการะบบนี้แพร่หลายมากในสมัยประธานาธิบดีแอนดรูว์  แจ๊กสัน (Andrew  Jackson)  เมื่อได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีก็ปลดคนเก่าๆ ที่ประธานาธิบดีจอร์จ  วอชิงตัน (George  Washington)  ตั้งไว้ออก  แล้วเอาพวกของตนเข้าแทน  ระบบนี้อยู่ได้ที่การเลี้ยงคน  การแต่งตั้งคนให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ เป็นสินน้ำใจ  ระบบนี้มีประโยชน์ในการควบคุมนโยบายระดับประเทศ  จึงเหมาะที่จะใช้ได้กับข้าราชการการเมืองเท่านั้นเพราะการเมืองนั้นต้องอาศัยความสนับสนุนจากพรรคพวกเป็นสำคัญเมื่อวางนโยบายไว้อย่างไรก็สั่งคนของตนให้ช่วยทำตามนั้น  ในระบบธุรกิจควรควรหลีกเลี่ยงให้ไกล   มิฉะนั้นจะประสบความล้มเหลวเพราะธุรกิจมีการแข่งขันกันมาก

การบริหารทรัพยากรมนุษย์
(THE HUMAN RESOURCES MANAGEMENT )

     การที่องค์การจะกระทำภารกิจหลักให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิ์ภาพนั้น หน่วยงานจำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสมกับงาน ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารงาน เพราะบุคลากรเป็นผู้จัดหาและใช้ทรัพยากรบริหารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเงิน วัสดุอุปกรณ์และการจัดการซึ่งถ้าองค์การเริ่มต้นด้วยการมีบุคลากรที่ดี มีความสามารถ ปัจจัยด้านอื่นๆก็จะดีตามมา ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์การการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นการดำเนินการที่เกี่ยวกับบุคคลที่ถือว่า เป็นพรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์การเพื่อให้สามารถปฎิบัติงานได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ พร้อมทั้งดำเนินการธำรงรักษาและพัฒนาให้ทรัพยากรมนุษย์ขององค์การมีคุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยมีภารกิจหลัก ได้แก่ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์การกำหนดงานหรือออกแบบงาน การวิเคราะห์งาน การสรรหา การคัดเลือก การประเมินผลพนักงาน การฝึกอบรมและพัฒนา ค่าตอบแทน สุขภาพและความปลอดภัย การพันจากงานของพนักงาน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารทุกระดับที่จะต้องรับผิดชอบต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์

วัตถุประสงค์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
1. เพื่อสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ (Recruitment and Selection)
2. เพื่อใช้คนให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Utilization)
3. เพื่อบำรุงรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์การนานๆ (Maintenance)
4. เพื่อพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ (Development)
ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
1. ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เกิดความจงรักภักดีต่อองค์การที่ตนปฏิบัติงาน
2. ช่วยพัฒนาให้องค์การเจริญเติบโต เพราะการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นสื่อกลางในการประสานงานกับแผนกต่างๆ เพื่อแสวงหาวิธีการให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาทำงานในองค์การให้เกิดประโยชน์สูงสุดทำให้องค์การเจริญเติบโตและพัฒนายิ่งขี้น
3. ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคมและประเทศชาติ ถ้าการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างองค์การและผู้ปฏิบัติงานทำให้สภาพสังคมโดยส่วนรวมมีความสุข ความเข้าใจที่ดีต่อกัน

กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย
1. การออกแบบการวิเคราะห์และการวิเคราะห์เพื่อจัดแบ่งตำแหน่งงาน(task specialization process)
2. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์(human resource planning)
3. การสรรหาและการคัดเลือกพนักงาน(recruitment and selection process)
4. การปฐมนิเทศบรรจุพนักงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน(induction or orientation and appraisal process)
5. การฝึกอบรมและการพัฒนา(training and development process)
6. กระบวนการทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และแรงงานสัมพันธ์(health, safety maintenance process and labor relation)
7. การใช้วินัยควบคุมตลอดจนการประเมินผล(discipline control and evaluation process)
การกำหนดงานหรือการออกแบบงาน(Job designs)

     ทั้งนี้เพราะงานเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างบุคคลและองค์การ และเป็นสิ่งที่บ่งบอกลักษณะทรัพยากรบุคคลที่องค์การต้องการ ในการกำหนดงานจะต้องพิจารณาทั้งระบบคือการศึกษาองค์ประกอบขององค์การ องค์การประกอบของสภาพแวดล้อม และองค์ประกอบด้านพฤติกรรม และสร้างงานขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายขั้นสุดท้ายคือ การเพิ่มผลผลิตในองค์การและการที่พนักงานเกิดความพึงพอใจในงาน

การบริหารทุนมนุษย์ คือ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ทางการบริหาร การกระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยจิตวิญญาณในบทบาทหน้าที่งานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การสร้างทุนทางปัญญา การเป็นสื่อกลางในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีในองค์กร   สรุป  ทั้งสามประเด็นมีความเหมือนกัน  เนื่องจากการที่จะทำการบริหารได้นั้นต้องมีประเด็นและทั้งสามอย่างรวมเข้าด้วยกันเพื่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจหรือการบริหารงานต่างๆ  ภายในองค์กรหรือหน่วยงาน

 

คำถาม การจัดการบุคลากร (Personnel Managment)-การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Mangement) - การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) มีความเหมือนกันและต่างกันหรือไม่อย่างไร?

ตอบ   การจัดการบุคลากร หมายถึง การจัดการบุคลากรที่มีความรุ้ความสามารถเข้ามาปฏิบัติงานภายในองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการตัดสินใจทีผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และทีมงานผู้รับผิดชอบ ได้มีการกำหนดกลยุทธ์และศิลปะในการดำเนินงานด้านทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์การอย่างเป็นระบบ

การบริหารทุนมนุษย์ หมายถึง

ถือเป็นเครื่องมือทางการบริหารอย่างหนึ่งที่เริ่มศึกษาและพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แทนเรื่อง “ การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Planning)” ที่บางองค์กรเริ่มนำระบบการบริหารนี้ไปใช้อย่างจริงจัง เพราะเกรงว่าหากผู้นำองค์กร หรือผู้บริหารขององค์กรต้องจากองค์กรไปด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรือโรคภัยไข้เจ็บ หรือแม้กระทั่งถูกคู่แข่งซื้อตัวไป จะต้องมีผู้อื่นที่สามารถบริหารงานแทนได้ทันทีและมีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน

ซึ่งทั้ง การจัดการบุคลากร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การบริหารทุนทรัพยากรมนุษย์นั้น มีความแตกต่างกัน

นางสาวลินดา อุปัชฌาย์ กศ.ปช รุ่นที่ 10 หมู่ที่ 1 รหัส 4950504138
การจัดการงานบุคคลแบ่งออกเป็น  2 ระบบใหญ่ๆ  คือ  การบริหารบุคคลระบบคุณธรรม (merit  system)  และการบริหารบุคคลระบบอุปถัมภ์  (patronage  system)  ซึ่งมีหลักการดังต่อไปนี้          ระบบคุณธรรมระบบคุณธรรม  บางคนเรียกระบบคุณวุฒิ  หรือระบบคุณความดี  หรือระบบความสามารถ  ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดก็ตามระบบนี้มีหลักการอยู่  4  ประการดังนี้1.  หลักความเสมอภาค  (epuality  of  opportunity)  เริ่มตั้งแต่การรับคนเข้าทำงานก็ต้องตั้งอยู่บนหลักแห่งความเสมอภาค  มิใช่ว่าต้องเป็นพรรคพวก  เป็นญาติเป็นใครก็ตามถ้ามีคุณสมบัติตามที่หน่วยงานนั้นต้องการก็ย่อมมีสิทธิสมัครสอบแข่งขันเข้าทำงานได้  และเมื่อเข้ามาเป็นคนงานหรือพนักงานแล้วก็ต้องมีความเสมอภาคในการเลื่อนตำแหน่ง  เช่น  บางตำแหน่งทำงานในระดับ  3  มา  2 ปีแล้ว  มีสิทธิเลื่อนให้ดำรงตำแหน่งในระดับ  4  ได้  ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับความสามารถเป็นสำคัญ  สิทธินี้ต้องเสมอภาคกันทุกคน  หรือในการทำงานหากทำงานที่อยู่ในระดับความรับผิดชอบที่เทียบกันได้ก็ต้องได้รับค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน2.  หลักความสามารถ  (competence)  คนดีที่มีความสามารถเท่านั้นที่จะเข้ามาทำงานได้  และมีโอกาสก้าวหน้า  เวลาจะรับคนเข้าทำงานก็ยึดหลักว่าหาคนที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้   จึงต้องมีการสอบแข่งขันกัน  เวลาบรรจุก็บรรจุคนที่สอบได้ที่ 1  ก่อนเพราะถือว่าเป็นผู้มีความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น  การเลื่อนเงินเดือน  เลื่อนระดับ  ก็พิจารณาจากผู้มีความสามารถ  มีคุณสมบัติเหมาะสมก่อน                        3.  หลักความมั่งคง  (security  on  tenure)  ในระบบคุณธรรมมีการให้หลักประกันว่าเมื่อเข้ามาทำงานจะไม่ถูกออกจากงานง่ายๆ  มีกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า  การเลิกจ้างจะทำได้ในกรณีใดบ้าง  เช่น  ตาย  ลาออก  ฯลฯ  ความมั่นคงอาจรวมถึงการให้สวัสดิการ  การให้ได้รับบำเหน็จบำนาญด้วย   ทำให้ผู้ทำงานรู้สึกมั่นคงในการประกอบวิชาชีพ  ไม่ต้องห่วงพะวงว่าเมื่อออกจากงานแล้วจะทำบาก4.  หลักความเป็นกลางทางการเมือง  (political  neutrality)  งานราชการประจำเป็นงานที่ต้องกระทำต่อเนื่องกันไป  จึงต้องมีหลักประกันว่าข้าราชการจะไม่ถูกบีบบังคับจากอิทธิพลของฝ่ายการเมืองที่อาจผลักเปลี่ยนกันเข้ามาบริหารประเทศ  ถ้าให้ฝ่ายการเมืองมามีอิทธิพล  คนดีมีความสามารถก็จะหนีหายไม่อยู่รับราชการ  ในทางหลักการจึงมีข้อกำหนดไว้ว่าข้าราชการประจำจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับข้าราชการ  การเมืองได้แก่ไหน  อย่างไร  หลักข้อนี้นั้นด้านราชการมากกว่าธุรกิจจะเห็นได้ว่าแนวความคิดของระบบคุณธรรมสอดคล้องกับแนวความคิดตามระบอบประชาธิปไตย   สำหรับประเทศไทยเราเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบประชาธิปไตย     การบริหารงานบุคคลก็ยึดระบบคุณธรรมด้วย  แต่เนื่องจากพฤติกรรมต่างๆ ปล่อยปละละเลยเป็นระบบอุปถัมภ์กันมานานจึงต้องค่อยๆ เปลี่ยน  มิใช่เปลี่ยนอย่างทันทีทันใด  ทั้งนี้  เพราะค่านิยมของคนไทยหลายอย่างเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรม  เช่น  ค่านิยมการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือคนที่รู้จักคุ้นเคยก็อาจส่งเสริมให้เกิดการเล่นพรรคเล่นพวกได้  เป็นต้น          ระบบอุปถัมภ์ระบบอุปถัมภ์มีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน   บางคนเรียกระบบพรรคพวกระบบเล่นพวก  ระบบเน่าหนอนชอนไช  ระบบศักดินา  ภาษาอังกฤษมีหลายคำ  เช่น  spoils  system , patronage  system , favoritism , nepotism    เป็นต้น  เป็นระบบที่มีพฤติกรรมในการบริหารงานบุคคลตรงกันข้ามกับระบบคุณธรรมระบบอุปถัมภ์นี้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยยุโรป  มีระบบศักดินา  มีเจ้าขุนมูลนาย  (feudel  lord)  ซึ่งได้รับมอบหมายจากพระเจ้าแผ่นดินให้ดูแลกิจการต่างๆ  มีข้าทาสบริวารที่เลี้ยงไว้  เมื่อจะตั้งคนให้ทำงานก็ตั้งจากบริวาร  เป็นดังนี้สืบเนื่องกันมาเรื่อยๆ

ในสหรัฐอเมริการะบบนี้แพร่หลายมากในสมัยประธานาธิบดีแอนดรูว์  แจ๊กสัน (Andrew  Jackson)  เมื่อได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีก็ปลดคนเก่าๆ ที่ประธานาธิบดีจอร์จ  วอชิงตัน (George  Washington)  ตั้งไว้ออก  แล้วเอาพวกของตนเข้าแทน  ระบบนี้อยู่ได้ที่การเลี้ยงคน  การแต่งตั้งคนให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ เป็นสินน้ำใจ  ระบบนี้มีประโยชน์ในการควบคุมนโยบายระดับประเทศ  จึงเหมาะที่จะใช้ได้กับข้าราชการการเมืองเท่านั้นเพราะการเมืองนั้นต้องอาศัยความสนับสนุนจากพรรคพวกเป็นสำคัญเมื่อวางนโยบายไว้อย่างไรก็สั่งคนของตนให้ช่วยทำตามนั้น  ในระบบธุรกิจควรควรหลีกเลี่ยงให้ไกล   มิฉะนั้นจะประสบความล้มเหลวเพราะธุรกิจมีการแข่งขันกันมาก

การบริหารทรัพยากรมนุษย์
(THE HUMAN RESOURCES MANAGEMENT )

     การที่องค์การจะกระทำภารกิจหลักให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิ์ภาพนั้น หน่วยงานจำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสมกับงาน ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารงาน เพราะบุคลากรเป็นผู้จัดหาและใช้ทรัพยากรบริหารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเงิน วัสดุอุปกรณ์และการจัดการซึ่งถ้าองค์การเริ่มต้นด้วยการมีบุคลากรที่ดี มีความสามารถ ปัจจัยด้านอื่นๆก็จะดีตามมา ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์การการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นการดำเนินการที่เกี่ยวกับบุคคลที่ถือว่า เป็นพรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์การเพื่อให้สามารถปฎิบัติงานได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ พร้อมทั้งดำเนินการธำรงรักษาและพัฒนาให้ทรัพยากรมนุษย์ขององค์การมีคุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยมีภารกิจหลัก ได้แก่ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์การกำหนดงานหรือออกแบบงาน การวิเคราะห์งาน การสรรหา การคัดเลือก การประเมินผลพนักงาน การฝึกอบรมและพัฒนา ค่าตอบแทน สุขภาพและความปลอดภัย การพันจากงานของพนักงาน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารทุกระดับที่จะต้องรับผิดชอบต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์

วัตถุประสงค์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
1. เพื่อสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ (Recruitment and Selection)
2. เพื่อใช้คนให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Utilization)
3. เพื่อบำรุงรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์การนานๆ (Maintenance)
4. เพื่อพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ (Development)
ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
1. ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เกิดความจงรักภักดีต่อองค์การที่ตนปฏิบัติงาน
2. ช่วยพัฒนาให้องค์การเจริญเติบโต เพราะการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นสื่อกลางในการประสานงานกับแผนกต่างๆ เพื่อแสวงหาวิธีการให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาทำงานในองค์การให้เกิดประโยชน์สูงสุดทำให้องค์การเจริญเติบโตและพัฒนายิ่งขี้น
3. ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคมและประเทศชาติ ถ้าการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างองค์การและผู้ปฏิบัติงานทำให้สภาพสังคมโดยส่วนรวมมีความสุข ความเข้าใจที่ดีต่อกัน

กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย
1. การออกแบบการวิเคราะห์และการวิเคราะห์เพื่อจัดแบ่งตำแหน่งงาน(task specialization process)
2. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์(human resource planning)
3. การสรรหาและการคัดเลือกพนักงาน(recruitment and selection process)
4. การปฐมนิเทศบรรจุพนักงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน(induction or orientation and appraisal process)
5. การฝึกอบรมและการพัฒนา(training and development process)
6. กระบวนการทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และแรงงานสัมพันธ์(health, safety maintenance process and labor relation)
7. การใช้วินัยควบคุมตลอดจนการประเมินผล(discipline control and evaluation process)
การกำหนดงานหรือการออกแบบงาน(Job designs)

     ทั้งนี้เพราะงานเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างบุคคลและองค์การ และเป็นสิ่งที่บ่งบอกลักษณะทรัพยากรบุคคลที่องค์การต้องการ ในการกำหนดงานจะต้องพิจารณาทั้งระบบคือการศึกษาองค์ประกอบขององค์การ องค์การประกอบของสภาพแวดล้อม และองค์ประกอบด้านพฤติกรรม และสร้างงานขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายขั้นสุดท้ายคือ การเพิ่มผลผลิตในองค์การและการที่พนักงานเกิดความพึงพอใจในงาน

การบริหารทุนมนุษย์ คือ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ทางการบริหาร การกระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยจิตวิญญาณในบทบาทหน้าที่งานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การสร้างทุนทางปัญญา การเป็นสื่อกลางในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีในองค์กร   สรุป  ทั้งสามประเด็นมีความเหมือนกัน  เนื่องจากการที่จะทำการบริหารได้นั้นต้องมีประเด็นและทั้งสามอย่างรวมเข้าด้วยกันเพื่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจหรือการบริหารงานต่างๆ  ภายในองค์กรหรือหน่วยงาน

 

นางสาวงามทิพย์ ยุทธทองหลาง 4950501402 กศปช รุ่น 10 ม.1

คำถาม การจัดการบุคลากร (Personnel Managment)-การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Mangement) - การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) มีความเหมือนกันและต่างกันหรือไม่อย่างไร?

ตอบ   การจัดการบุคลากร หมายถึง การจัดการบุคลากรที่มีความรุ้ความสามารถเข้ามาปฏิบัติงานภายในองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการตัดสินใจทีผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และทีมงานผู้รับผิดชอบ ได้มีการกำหนดกลยุทธ์และศิลปะในการดำเนินงานด้านทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์การอย่างเป็นระบบ

การบริหารทุนมนุษย์ หมายถึง

ถือเป็นเครื่องมือทางการบริหารอย่างหนึ่งที่เริ่มศึกษาและพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แทนเรื่อง “ การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Planning)” ที่บางองค์กรเริ่มนำระบบการบริหารนี้ไปใช้อย่างจริงจัง เพราะเกรงว่าหากผู้นำองค์กร หรือผู้บริหารขององค์กรต้องจากองค์กรไปด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรือโรคภัยไข้เจ็บ หรือแม้กระทั่งถูกคู่แข่งซื้อตัวไป จะต้องมีผู้อื่นที่สามารถบริหารงานแทนได้ทันทีและมีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน

ซึ่งทั้ง การจัดการบุคลากร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การบริหารทุนทรัพยากรมนุษย์นั้น มีความแตกต่างกัน

นางสาวศิรินทร์พร แนบสำโรง รหัส 4950504143 รุ่น 10 หมู่ 1

การบริหารทุนมนุษย์ คือ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ทางการบริหาร การกระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยจิตวิญญาณในบทบาทหน้าที่งานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การสร้างทุนทางปัญญา การเป็นสื่อกลางในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีในองค์กร   สรุป  ทั้งสามประเด็นมีความเหมือนกัน  เนื่องจากการที่จะทำการบริหารได้นั้นต้องมีประเด็นและทั้งสามอย่างรวมเข้าด้วยกันเพื่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจหรือการบริหารงานต่างๆ  ภายในองค์กรหรือหน่วยงาน

การจัดการบุคลากร คือ เป็นกระบวนการในการจัดหาบุคลากรเข้าร่วมงานเริ่มต้นตั้งแต่การประกาศสมัครงาน สอบ คัดเลือก สรรหาตำแหน่งงานให้เหมาะสมและ ให้พอเพียงกับความต้องการขององค์กร การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management)” เริ่มถูกนำมาประยุกต์ใช้มากขึ้น โดยการใช้ประโยชน์จาก “ คน ” ให้มีคุณค่าสูงสุดแก่องค์กร

การบริหารทรัพยากรมนุษย์    คือ งานการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนทำงาน เกี่ยวข้องกับการกำหนดและดำเนินนโยบายในด้านการวางแผนกำลังคน การจัดหาและคัดเลือกคนเข้าทำงาน การพัฒนา การจ่ายค่าตอบแทน การประสานสัมพันธ์เพื่อการธำรงรักษากำลังคนและการพ้นสภาพการทำงานอย่างเป็นธรรม เพื่อมุ่งหมายให้คนทำงานอยู่ดีและเป็นส่วนสำคัญในความสำเร็จขององค์การ

น.ส.ประไพ ดรภาบุญ ภาค กศ.ปช. รุ่น 0 หมู่ รหัส 4950504120

การจัดการบุคลากร  หมายถึงหน้าที่และการดำเนินการงานแผนกหรือฝ่ายในองค์การโดยเฉพาะ  ซึ่งเรียกแผนกบุคคลหรือฝ่ายบุคคล   ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลในเรื่องการบริหารบุคคลทั้งหมด  รวมทั้งมีอำนาจสิทธิ์ชาด  (Full  Authority)  ในการตัดสินและดำเนินการได้เพียงลำพัง  ส่วนทัศนะที่หว้างกว่านั้น  การบริหารงานบุคคลจะเป็นความรับผิดชอบผู้บริหารทุกคนในองค์การ  โดยมีฝ่ายบุคคลซึ่งมีผู้ชำนาญการหรือเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพเฉพาะอย่างรวมกันอยู่  เช่น  ในด้านการว่าจ้าง  ด้านการบริหารค่าจ้างและเงินเดือน  ด้านแรงงานสัมพันธ์  หรืออุตสาหกรรมสัมพันธ์  ด้านการอบรมและพัฒนา  อื่น ๆ  โดยการทำหน้าที่วางแผนให้คำแนะนำให้การช่วยเหลือและบริการต่าง    คือ  ทำหน้าที่เป็น  Staff  Function  และมอบให้ผู้บริหารในแผนก/ฝ่ายต่าง ๆ  ในองค์การนั้น  ซึ่งถือว่าเป็นสายงานหลัก  รับผิดชอบในการนำเอาหลักและวิธีการไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

                ส่วนการบริหารทรัพยากรมนุษย์  เป็นกระบวนการวางนโยบาย ระเบียบและกรรมวิธีในการดำเนินงาน  เกี่ยวกับตัวบุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การ  โดยให้ได้บุคคลที่เหมาะสมและบำรุงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ  ให้มีปริมาณเพียงพอเพื่อให้ได้การปฏิบัติงานที่มีผลสำเร็จ  และบรรลุเป้าหมาย  ซึ่งมีหลักในการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์  คือ  ทำให้เกิดความเป็นธรรมในสภาพการจ้าง  มีสภาพการทำงานที่ดี  ให้ความสำคัญแก่พนักงาน  ให้พนักงานได้มีส่วนร่วม  และยอมรับและเชื่อมมั่นในความสามารถของพนักงาน  และมีระบบคุณธรรมอยู่  4  ประการ  คือ  หลักความสามารถ  หลักความเสมอภาค  หลักความมั่นคง  หลักความเป็นกลางทางการเมือง

            หน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

1)     การวางแผนทรัพยากรมนุษย์

2)     การสรรหาและการคัดเลือก

3)     การประเมินผลการปฏิบัติงาน

4)     การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

5)     การรักษาระเบียบวินัยในการทำงาน

6)     การบริหารค่าตอบแทนการทำงาน

7)     การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน

8)     การส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง

9)     ระบบข้อมูล  การตรวจสอบและวิจัยทรัพยากรมนุษย์

 การบริหารทุนมนุษย์  คือ การบริหารทุนมนุษย์ มีกิจกรรมพื้นฐาน 5 อย่างในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ได้แก่ การวางแผนด้านบุคลากร การสรรหาบุคลากร การรักษาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร และการรักษาบุคลากรที่เป็นสินทรัพย์ขององค์กร จากนั้นจึงกำหนดมาตรวัดกิจกรรมเหล่านี้คู่กับดัชนีการเปลี่ยนแปลงทั้งห้าประการ ซึ่งเขาบอกว่าเป็นวิธีที่จะทำให้สามารถประเมินและระบุถึงการเปลี่ยนแปลงคุณภาพ, บริการและผลิต จากความสัมพันธ์ของงานบริหารทรัพยากรมนุษย์  HR  คือ

แรงงาน                  มูลค่า                    ความรู้

 งานบริหารบุคคล  
  • แรงงานสัมพันธ์
  •  งานระเบียบวินัย
  •  งานทะเบียน
  •  งานธุรการ
เกี่ยวข้องกับฝ่ายบุคคล การจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • การฝึกอบรม
  •  การสรรหาและว่าจ้าง
  •  การบริหารเชิงกลยุทธ์
ฝ่ายบุคคล ร่วมกับ ผู้บริหารทุกฝ่าย การจัดการและพัฒนา      ทุนมนุษย์
  • การเรียนรู้และพัฒนา
  •  พนักงานสัมพันธ์
  •  องค์กรเรียนรู้
  •  บริหารการเปลี่ยนแปลง
  •  การเรียนรู้ด้วยตนเอง
ฝ่ายบุคคล ร่วมกับ ผู้บริหารทุกฝ่าย และ พนักงานบริหารตนเอง
นางสาวแรมใจ ถิ่นเกษม 4950504137

การบริหารทรัพยากรมนุษย์(THE HUMAN RESOURCES MANAGEMENT)  คือ การที่องค์การจะกระทำภารกิจหลักให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิ์ภาพนั้น หน่วยงานจำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสมกับงาน ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารงาน เพราะบุคลากรเป็นผู้จัดหาและใช้ทรัพยากรบริหารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเงิน วัสดุอุปกรณ์และการจัดการซึ่งถ้าองค์การเริ่มต้นด้วยการมีบุคลากรที่ดี มีความสามารถ

การจัดการบุคลากร คือ เป็นกระบวนการในการจัดหาบุคลากรเข้าร่วมงานเริ่มต้นตั้งแต่การประกาศสมัครงาน สอบ คัดเลือก สรรหาตำแหน่งงานให้เหมาะสมและ ให้พอเพียงกับความต้องการขององค์กร การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management)” เริ่มถูกนำมาประยุกต์ใช้มากขึ้น โดยการใช้ประโยชน์จาก “ คน ” ให้มีคุณค่าสูงสุดแก่องค์กร

การบริหารทุนมนุษย์ หมายถึง

ถือเป็นเครื่องมือทางการบริหารอย่างหนึ่งที่เริ่มศึกษาและพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แทนเรื่อง “ การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Planning)” ที่บางองค์กรเริ่มนำระบบการบริหารนี้ไปใช้อย่างจริงจัง เพราะเกรงว่าหากผู้นำองค์กร หรือผู้บริหารขององค์กรต้องจากองค์กรไปด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรือโรคภัยไข้เจ็บ หรือแม้กระทั่งถูกคู่แข่งซื้อตัวไป จะต้องมีผู้อื่นที่สามารถบริหารงานแทนได้ทันทีและมีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน

ซึ่งทั้ง การจัดการบุคลากร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การบริหารทุนทรัพยากรมนุษย์นั้น มีความแตกต่างกัน

น.ส.อรุณลักษณ์ ยับสันเทียะ 4950504162

Ans การจัดการบุคลากร หมายถึงหน้าที่และการดำเนินการงานแผนกหรือฝ่ายในองค์การโดยเฉพาะ  ซึ่งเรียกแผนกบุคคลหรือฝ่ายบุคคล   ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลในเรื่องการบริหารบุคคลทั้งหมด  รวมทั้งมีอำนาจสิทธิ์ชาด  (Full  Authority)  ในการตัดสินและดำเนินการได้เพียงลำพัง  ส่วนทัศนะที่หว้างกว่านั้น  การบริหารงานบุคคลจะเป็นความรับผิดชอบผู้บริหารทุกคนในองค์การ  โดยมีฝ่ายบุคคลซึ่งมีผู้ชำนาญการหรือเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพเฉพาะอย่างรวมกันอยู่  เช่น  ในด้านการว่าจ้าง  ด้านการบริหารค่าจ้างและเงินเดือน  ด้านแรงงานสัมพันธ์  หรืออุตสาหกรรมสัมพันธ์  ด้านการอบรมและพัฒนา  อื่น ๆ  โดยการทำหน้าที่วางแผนให้คำแนะนำให้การช่วยเหลือและบริการต่าง    คือ  ทำหน้าที่เป็น  Staff  Function  และมอบให้ผู้บริหารในแผนก/ฝ่ายต่าง ๆ  ในองค์การนั้น  ซึ่งถือว่าเป็นสายงานหลัก  รับผิดชอบในการนำเอาหลักและวิธีการไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

             Ans   การบริหารทรัพยากรมนุษย์  เป็นกระบวนการวางนโยบาย ระเบียบและกรรมวิธีในการดำเนินงาน  เกี่ยวกับตัวบุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การ  โดยให้ได้บุคคลที่เหมาะสมและบำรุงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ  ให้มีปริมาณเพียงพอเพื่อให้ได้การปฏิบัติงานที่มีผลสำเร็จ  และบรรลุเป้าหมาย  ซึ่งมีหลักในการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์  คือ  ทำให้เกิดความเป็นธรรมในสภาพการจ้าง  มีสภาพการทำงานที่ดี  ให้ความสำคัญแก่พนักงาน  ให้พนักงานได้มีส่วนร่วม  และยอมรับและเชื่อมมั่นในความสามารถของพนักงาน  และมีระบบคุณธรรมอยู่  4  ประการ  คือ  หลักความสามารถ  หลักความเสมอภาค  หลักความมั่นคง  หลักความเป็นกลางทางการเมือง

            หน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

1)     การวางแผนทรัพยากรมนุษย์

2)     การสรรหาและการคัดเลือก

3)     การประเมินผลการปฏิบัติงาน

4)     การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

5)     การรักษาระเบียบวินัยในการทำงาน

6)     การบริหารค่าตอบแทนการทำงาน

7)     การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน

8)     การส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง

9)     ระบบข้อมูล  การตรวจสอบและวิจัยทรัพยากรมนุษย์

 Ans  การบริหารทุนมนุษย์  คือ การบริหารทุนมนุษย์ มีกิจกรรมพื้นฐาน 5 อย่างในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ได้แก่ การวางแผนด้านบุคลากร การสรรหาบุคลากร การรักษาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร และการรักษาบุคลากรที่เป็นสินทรัพย์ขององค์กร จากนั้นจึงกำหนดมาตรวัดกิจกรรมเหล่านี้คู่กับดัชนีการเปลี่ยนแปลงทั้งห้าประการ ซึ่งเขาบอกว่าเป็นวิธีที่จะทำให้สามารถประเมินและระบุถึงการเปลี่ยนแปลงคุณภาพ, บริการและผลิต จากความสัมพันธ์ของงานบริหารทรัพยากรมนุษย์  HR  คือ แรงงานมูลค่ความรู้ งานบริหารบุคคล   แรงงานสัมพันธ์  งานระเบียบวินัย  งานทะเบียน  งานธุรการการจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

           การฝึกอบรม  การสรรหาและว่าจ้าง  การบริหารเชิงกลยุทธ์

 การจัดการและพัฒนาทุนมนุษย์

การเรียนรู้และพัฒนา  พนักงานสัมพันธ์  องค์กรเรียนรู้

สรุป ทั้งสามระเด็นมีความหมายเหมือนกัน

จันทร์เพ็ญ กองท่งมน 4950504103
การบริหารทรัพยากรมนุษย์(การจัดการงานบุคคล) คนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งของการจัดการ  เพราะคนเป็นผู้ปฏิบัติงานทุกอย่างขององค์การหากไม่มีคนหรือมีคนไม่มีคุณภาพ  การจัดการให้บรรลุเป้าหมายขององค์การย่อมดำเนินไปได้โดยยากยิ่ง  การจะได้คนดีมีคุณภาพเข้ามาทำงานย่อมขึ้นอยู่กับการจัดการงานบุคคลที่ดี   การจัดการงานบุคคล  หรือการบริหารบุคคล  หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า  personnel   administration  หรือ  personnel  management  วัตถุประสงค์ของการจัดการงานบุคคลก็เพื่อให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถมาปฏิบัติงานและควบคุมดูแลให้ปฏิบัติงานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ  หากการจัดการงานบุคคลไม่ดี  องค์การจะได้คนไม่ดี  ขาดความรู้ความสามารถในการทำงาน  สร้างปัญหาให้แก่ผู้บริหารและสร้างปัญหาให้แก่องค์การเป็นอันมากระบบการจัดการงานบุคคลการจัดการงานบุคคลแบ่งออกเป็น  2 ระบบใหญ่ๆ  คือ  การบริหารบุคคลระบบคุณธรรม (merit  system)  และการบริหารบุคคลระบบอุปถัมภ์  (patronage  system)  ซึ่งมีหลักการดังต่อไปนี้          ระบบคุณธรรมระบบคุณธรรม  บางคนเรียกระบบคุณวุฒิ  หรือระบบคุณความดี  หรือระบบความสามารถ  ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดก็ตามระบบนี้มีหลักการอยู่  4  ประการดังนี้1.  หลักความเสมอภาค  (epuality  of  opportunity)  เริ่มตั้งแต่การรับคนเข้าทำงานก็ต้องตั้งอยู่บนหลักแห่งความเสมอภาค  มิใช่ว่าต้องเป็นพรรคพวก  เป็นญาติเป็นใครก็ตามถ้ามีคุณสมบัติตามที่หน่วยงานนั้นต้องการก็ย่อมมีสิทธิสมัครสอบแข่งขันเข้าทำงานได้  และเมื่อเข้ามาเป็นคนงานหรือพนักงานแล้วก็ต้องมีความเสมอภาคในการเลื่อนตำแหน่ง  เช่น  บางตำแหน่งทำงานในระดับ  3  มา  2 ปีแล้ว  มีสิทธิเลื่อนให้ดำรงตำแหน่งในระดับ  4  ได้  ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับความสามารถเป็นสำคัญ  สิทธินี้ต้องเสมอภาคกันทุกคน  หรือในการทำงานหากทำงานที่อยู่ในระดับความรับผิดชอบที่เทียบกันได้ก็ต้องได้รับค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน2.  หลักความสามารถ  (competence)  คนดีที่มีความสามารถเท่านั้นที่จะเข้ามาทำงานได้  และมีโอกาสก้าวหน้า  เวลาจะรับคนเข้าทำงานก็ยึดหลักว่าหาคนที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้   จึงต้องมีการสอบแข่งขันกัน  เวลาบรรจุก็บรรจุคนที่สอบได้ที่ 1  ก่อนเพราะถือว่าเป็นผู้มีความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น  การเลื่อนเงินเดือน  เลื่อนระดับ  ก็พิจารณาจากผู้มีความสามารถ  มีคุณสมบัติเหมาะสมก่อน                        3.  หลักความมั่งคง  (security  on  tenure)  ในระบบคุณธรรมมีการให้หลักประกันว่าเมื่อเข้ามาทำงานจะไม่ถูกออกจากงานง่ายๆ  มีกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า  การเลิกจ้างจะทำได้ในกรณีใดบ้าง  เช่น  ตาย  ลาออก  ฯลฯ  ความมั่นคงอาจรวมถึงการให้สวัสดิการ  การให้ได้รับบำเหน็จบำนาญด้วย   ทำให้ผู้ทำงานรู้สึกมั่นคงในการประกอบวิชาชีพ  ไม่ต้องห่วงพะวงว่าเมื่อออกจากงานแล้วจะทำบาก4.  หลักความเป็นกลางทางการเมือง  (political  neutrality)  งานราชการประจำเป็นงานที่ต้องกระทำต่อเนื่องกันไป  จึงต้องมีหลักประกันว่าข้าราชการจะไม่ถูกบีบบังคับจากอิทธิพลของฝ่ายการเมืองที่อาจผลักเปลี่ยนกันเข้ามาบริหารประเทศ  ถ้าให้ฝ่ายการเมืองมามีอิทธิพล  คนดีมีความสามารถก็จะหนีหายไม่อยู่รับราชการ  ในทางหลักการจึงมีข้อกำหนดไว้ว่าข้าราชการประจำจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับข้าราชการ  การเมืองได้แก่ไหน  อย่างไร  หลักข้อนี้นั้นด้านราชการมากกว่าธุรกิจจะเห็นได้ว่าแนวความคิดของระบบคุณธรรมสอดคล้องกับแนวความคิดตามระบอบประชาธิปไตย   สำหรับประเทศไทยเราเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบประชาธิปไตย     การบริหารงานบุคคลก็ยึดระบบคุณธรรมด้วย  แต่เนื่องจากพฤติกรรมต่างๆ ปล่อยปละละเลยเป็นระบบอุปถัมภ์กันมานานจึงต้องค่อยๆ เปลี่ยน  มิใช่เปลี่ยนอย่างทันทีทันใด  ทั้งนี้  เพราะค่านิยมของคนไทยหลายอย่างเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรม  เช่น  ค่านิยมการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือคนที่รู้จักคุ้นเคยก็อาจส่งเสริมให้เกิดการเล่นพรรคเล่นพวกได้  เป็นต้น          ระบบอุปถัมภ์ระบบอุปถัมภ์มีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน   บางคนเรียกระบบพรรคพวกระบบเล่นพวก  ระบบเน่าหนอนชอนไช  ระบบศักดินา  ภาษาอังกฤษมีหลายคำ  เช่น  spoils  system , patronage  system , favoritism , nepotism    เป็นต้น  เป็นระบบที่มีพฤติกรรมในการบริหารงานบุคคลตรงกันข้ามกับระบบคุณธรรมระบบอุปถัมภ์นี้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยยุโรป  มีระบบศักดินา  มีเจ้าขุนมูลนาย  (feudel  lord)  ซึ่งได้รับมอบหมายจากพระเจ้าแผ่นดินให้ดูแลกิจการต่างๆ  มีข้าทาสบริวารที่เลี้ยงไว้  เมื่อจะตั้งคนให้ทำงานก็ตั้งจากบริวาร  เป็นดังนี้สืบเนื่องกันมาเรื่อยๆ ในสหรัฐอเมริการะบบนี้แพร่หลายมากในสมัยประธานาธิบดีแอนดรูว์  แจ๊กสัน (Andrew  Jackson)  เมื่อได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีก็ปลดคนเก่าๆ ที่ประธานาธิบดีจอร์จ  วอชิงตัน (George  Washington)  ตั้งไว้ออก  แล้วเอาพวกของตนเข้าแทน  ระบบนี้อยู่ได้ที่การเลี้ยงคน  การแต่งตั้งคนให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ เป็นสินน้ำใจ  ระบบนี้มีประโยชน์ในการควบคุมนโยบายระดับประเทศ  จึงเหมาะที่จะใช้ได้กับข้าราชการการเมืองเท่านั้นเพราะการเมืองนั้นต้องอาศัยความสนับสนุนจากพรรคพวกเป็นสำคัญเมื่อวางนโยบายไว้อย่างไรก็สั่งคนของตนให้ช่วยทำตามนั้น  ในระบบธุรกิจควรควรหลีกเลี่ยงให้ไกล   มิฉะนั้นจะประสบความล้มเหลวเพราะธุรกิจมีการแข่งขันกันมากการพยากรณ์ความต้องการบุคคลการคาดคะเนความต้องการบุคคลของหน่วยงานต่างๆ ในองค์การจะต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์การด้วยปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับความต้องการบุคคล  ได้แก่  ตลาดแรงงาน  การพิจารณาถึงความซับซ้อนของการบริหารงาน  การแข่งขัน  มาตรการของรัฐบาล  สหภาพแรงงาน  สภาพของเศรษฐกิจ  และการขยายตัวทางอุตสาหกรรมเป็นตัวแปรสำคัญทำให้ความต้องการบุคคลเปลี่ยนไป  กฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าและบริการ  เช่น  กฎหมายแรงงานสัมพันธ์  สภาวะทางเศรษฐกิจก็เป็นตัวชี้ที่สำคัญไม่น้อยในด้านความต้องการบุคคลเข้าทำงานปัจจัยภายในองค์การเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้  ได้แก่  การขยายขนาดขององค์การ  การกระจายอำนาจการบริหารองค์การ   การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและการเปลี่ยนนโยบายใหม่  นอกจากนี้  ปัจจัยที่เกิดจากบุคคลเอง  ได้แก่  อัตราการเข้าออกของคนงาน  การตาย  การโยกย้ายตำแหน่งหน้าที่  เป็นต้นการประเมินสภาพการณ์ปัจจุบันด้านบุคคล                        ในการวางแผนบุคคลจะต้องวิเคราะห์สภาพปัจจุบันขององค์การด้านบุคคลก่อนเพื่อเป็นพื้นฐานในการคาดคะเนจำนวนบุคคลที่ต้องการ  ได้แก่  การประเมินสภาพปัจจุบันและปัญหาในด้านต่างๆ ดังนี้1.      วัตถุประสงค์และนโยบายด้านบุคคล2.      จำนวนและคุณสมบัติของบุคคล3.      โครงการต่างๆขององค์การ4.      ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคคลนอกจากนี้แล้ว ควรมีการประเมินปัญหาในการบริหารบุคคลด้วยได้แก่ การปฏิบัติงานของบุคคลมีปัญหาอะไรหรือไม่ ระบบบริหารบุคคลที่ใช้อยู่ตลอดจนงบประมาณเพื่อบริหารบุคคลด้วยกระบวนการของการจัดการงานบุคคลงานของผู้บริหารที่เกี่ยวกับคนมีขอบเขตตั้งแต่การวางแผนรับคนเข้าทำงานจนถึงการให้พ้นจากงาน  ขอบข่ายของการจัดการงานบุคคลที่สำคัญมีเพียง  4  ลักษณะ  คือ  การให้ได้มา  การบำรุงรักษา  การพัฒนา  และการให้พ้นจากงาน  แต่ถ้าพิจารณาให้ละเอียดลงไป  กระบวนการจัดการงานบุคคลอาจแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้ (1)  การวางแผนกำลังคนและตำแหน่ง  (2)  การแสวงหาบุคคล  ได้แก่  การสรรหา  การเลือกสรร  การบรรจุ  (3)  การบำรุงรักษาและการจัดสวัสดิการ  (4)  การประเมินผลการปฏิบัติงาน  (5)  การพัฒนาบุคคล  (6)  การให้พ้นจากงา                                             ·                                           ¸

การให้พ้นจากงาน

 
การวางแผนกำลังคน
การแสวงหาบุคคล
 
 
    
           ¹                                    º                                                »    

ภาพที่  7.1  กระบวนการจัดการงานบุคคล

          การวางแผนกำลังคนและตำแหน่ง1.      การวางแผนกำลังคน การวางแผนกำลังคนคือการคาดคะเนไว้ล่วงหน้าว่าหน่วยงานนั้น  ต้องการคนจำนวนเท่าใดจึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ในกรณีที่ธุรกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นก็ศึกษาวิเคราะห์ว่าคนที่ต้องการเพิ่มขึ้นนั้นเป็นคนประเภทใด  มีความรู้ความชำนาญทางใด  สามารถได้จากแหล่งไหน  สามารถได้จากแหล่งใด  ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายบุคคลการวางแผนกำลังคนประกอบด้วยการวิเคราะห์งาน  การพรรณาลักษณะของงาน  การระบุคุณสมบัติของคนงาน  การประเมินค่าของงาน  และการกำหนดอัตราค่าจ้าง  เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดกำลังคนและตำแหน่ง

งาน  (JOB)

การวิเคราะห์งาน
การพรรณนางาน
การกำหนดคุณสมบัติคนงาน
การประเมินค่าของงาน
การกำหนดอัตราค่าจ้าง
             

 


ภาพที่  7.2  การวิเคราะห์งานเพื่อการวางแผนกำลังคน

   2. การกำหนดตำแหน่งการวางแผนว่าจะรับคนเข้ามาจะต้องกำหนดตำแหน่งว่าจะให้มาทำงานในตำแหน่งอะไร   มีความรับผิดชอบอย่างไร  ได้รับค่าจ้างแรงงานเท่าใดตำแหน่งคือกลุ่มของหน้าที่ความรับผิดชอบที่สัมพันธ์และคล้ายคลึงกันเปรียบได้กับสามเหลี่ยมด้านเท่า  3  ด้าน  ด้านหนึ่งคือ  หน้าที่ความรับผิดชอบ  ด้านที่สองคือ  คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่ง  ส่วนด้านที่สามคือ  ค่าจ้าง  ซึ่งทั้ง  3  อย่างนี้ต้องได้สัดส่วนสัมพันธ์กัน  เช่น  ตำแหน่งนักการภารโรง  เรากำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบคือ   การเดินรับส่งหนังสือ  ช่วยยกของ  ทำความสะอาด  เพื่อให้สัมพันธ์กับหน้าที่ความรับผิดชอบ  คุณสมบัติควรเป็นแค่อ่านออกเขียนได้  และต้องการคนที่มีร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดี  ค่าตอบแทนก็ต้องสัมพันธ์กันพอเหมาะกับหน้าที่และคุณสมบัติ  โดยพิจารณาเปรียบเทียบกับคนที่ทำงานอื่นด้วยว่าความรับผิดชอบของแต่ละงานมากน้อยกว่ากันเท่าใด  อยู่ที่เทคนิคการประเมินค่าของงานด้วยวัตถุประสงค์ในการกำหนดตำแหน่งมีอยู่  2  ประการใหญ่ๆ  ได้แก่  การสามารถใช้คนให้ตรงกับงาน  (Put  the  right  man  on  the  right  job)  และการให้ได้ความเป็นธรรมในเรื่องค่าจ้างแรงงาน  นั่นคือ  ทำงานมากได้ค่าจ้างมาก  ทำงานน้อยได้ค่าจ้างน้อยตามสัดส่วนตำแหน่งค่าจ้าง  ภาพที่  7.3  องค์ประกอบของตำแหน่ง                  การวิเคราะห์งาน                       การวิเคราะห์งาน  (Job  Analysis)  คือการเก็บรวบรวมข้อมูล  บันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจะได้กำหนดคุณสมบัติของงาน  หรือหน้าที่ความรับผิดชอบของงานและคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน  โดยปกติเมื่อองค์การธุรกิจจะรับคนเข้าทำงานหรือวางแผนรับคนงานนั้นจะต้องกำหนดชื่องาน (ตำแหน่ง)  ภาระหน้าที่  และคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานเอาไว้ด้วย                  การพรรณนางาน                       การพรรณนางาน  (Job  description)  หรือการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง  โดยทั่วไปจะประกอบด้วย1.           ชื่อของงาน2.           สถานที่ทำงาน3.           สรุปลักษณะงาน4.           หน้าที่5.           เครื่องมือทำงาน6.           สภาพการทำงาน                  การกำหนดคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน1.           เพศและวัย2.           การศึกษา3.           ประสบการณ์4.           การฝึกอบรม5.           สุขภาพทางกายและจิต6.           ความคิดริเริ่ม7.           ความสามารถพิเศษอื่นๆตัวอย่างตำแหน่ง   ผู้จัดการฝ่ายบุคคลการพรรณนางาน1.      วิเคราะห์งานตำแหน่งต่างๆ2.      ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคลในองค์การ3.      จัดโครงการผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ4.      บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ในฝ่ายบุคคลคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่ง1.      เพศชาย  อายุ  35-40  ปี2.      สำเร็จปริญญาโททางการบริหารบุคคล3.      มีประสบการณ์ในงานบริหารบุคคลอย่างน้อย 3  ปี4.      มีความสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างอื่น5.      อ่าน  พูด  เขียน  ภาษาอาหรับได้เป็นอย่างดี                  การประเมินค่าของงานการประเมินค่าของงาน  (Job  evaluation)  คือการประเมินหน้าที่ความรับผิดชอบของงานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างงาน  ตำแหน่ง  และการกำหนดอัตราค่าจ้างข้อควรพิจารณาในการประเมินค่าของงานควรยึดหลักดังนี้1.      การประเมินโดยใช้ระบบใดระบบหนึ่งเป็นมาตรฐาน2.      การประเมินงานเป็นการวัดค่าของงาน  ไม่ใช่วัดค่าของบุคคล3.      การประเมินงานเป็นกิจกรรมต่อเนื่องที่มีผลกระทบต่อค่าแรงงานเสมอ4.      การประเมินต้องมีความยุติธรรมวิธีการประเมินค่าของงาน   อาจประเมินได้  4  วิธีดังนี้1.   วิธีลำดับค่าของงานโดยการเรียงลำดับความสำคัญของงานด้วยการจัดหมวดหมู่และประเภทของงาน   ผู้ประเมินอาจตั้งขึ้นในรูปคณะกรรมการ2. ใช้มาตรฐานที่กำหนดไว้แล้ว  ซึ่งเป็นเอกสารระบุผู้ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสมบูรณ์ว่ามีความรับผิดชอบอะไรบ้าง  เงินเดือนเท่าไร  รายการต่างๆที่ผู้รับผิดชอบจะต้องปฏิบัติ  และมีการกำหนดระดับของงานไว้ด้วย3.  วิธีการให้คะแนน  อาศัยการเปรียบเทียบให้คะแนนค่าของงานตามองค์ประกอบแต่ละอย่างที่ตั้งขึ้นและกำหนดคะแนนองค์ประกอบต่างๆ ไว้   เช่น  ความชำนาญ  ความพยายาม  ความรับผิดชอบ  และสภาพของงาน  เป็นต้น4.   วิธีใช้องค์ประกอบเปรียบเทียบงาน   เป็นวิธีหนึ่งที่นำเอาวิธีลำดับค่าของงานเหมาะสมกับวิธีให้คะแนน  คือพลังงานสำรวจข้อเท็จจริงแล้ว  ให้เลือกงานหลักมาเปรียบเทียบกับองค์ประกอบแต่ละข้อที่กำหนดไว้ว่าอยู่ระดับใด  และให้นำงานมาเปรียบเทียบดูองค์ประกอบเป็นหลักการกำหนดอัตราค่าจ้างและเงินเดือนค่าจ้าง   (wage)  หมายถึงจำนวนเงินที่คนงานได้รับเป็นการตอบแทนการทำงานโดยถือเกณฑ์จำนวนชั่วโมงในการทำงาน  ค่าจ้างจะขึ้นลงตามจำนวนชั่วโมงค่าจ้างเป็นเครื่องกำหนดสถานภาพในการทำงานของคนงานเงินเดือน (salary)  หมายถึง  จำนวนเงินที่คนงานได้รับเป็นการตอบแทนการทำงานโดยถือเกณฑ์การเหมาเป็นรายเดือน  และถือเป็นรายได้ประจำ  แม้จะป่วย ลา  หรือขาดงานบ้างก็ยังได้รับจำนวนเต็ม1.      วัตถุประสงค์หลักในการกำหนดอัตราในการค่าจ้างและเงินเดือน-   เพื่อจูงใจบุคคลให้เข้ามาทำงาน-  เพื่อควบคุมต้นทุนรายจ่าย-  เพื่อสร้างความพึงพอใจและขวัญในการปฏิบัติงาน-  เพื่อจูงใจให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ2.      นโยบายการจ่ายค่าจ้างและเงินเดือน  ควรคำนึงถึงหลักดังนี้-  จ่ายให้พอเพียงแก่การดำรงชีพ-  ต้องยุติธรรม  ทำงานมาก  งานหนักได้ค่าจ้างมาก-  ต้องมีความสามารถในการจูงใจและกระตุ้นให้คนทำงานมากขึ้น-  ต้องสมเหตุสมผล  เป็นที่พึงพอใจของคนงานและสมประโยชน์ของโครงการ-  การจ่ายต้องเป็นทุนที่มีประสิทธิภาพ  คือ ไม่มากเกินไป 3.      ระดับของค่าจ้างและเงินเดือน-   กำหนดให้ต่ำกว่าระดับทั่วไป  มุ่งประหยัดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุน-   กำหนดให้สูงกว่าระดับทั่วไป   มุ่งจะได้คนมีความสามารถมาทำงาน-   กำหนดให้เท่ากับระดับทั่วไป   แต่ควรมีค่าตอบแทนอื่นๆเพิ่มขึ้น4.   ค่าตอบแทน  เป็นรางวัลหรือส่วนที่เพิ่มขึ้นมานอกเหนือจากค่าจ้างตามปกติ  อาจทำได้หลายวิธีดังนี้-   รางวัลตอบแทนที่เป็นเงิน  เช่น  โบนัส  (bonus)  คอมมิชชัน  (commission)  ส่วนแบ่งกำไร (profit  sharing)   เป็นต้น-  รางวัลที่ตีค่าเป็นตัวเงินได้  ได้แก่  การเลื่อนขั้น  เลื่อนตำแหน่งประโยชน์และบริการต่างๆ เช่น  ให้ซื้อหุ้นก่อนบุคคลอื่น  ซื้อสินค้าโดยมีส่วนลดพิเศษ-  รางวัลตอบแทนที่ไม่เป็นเงิน  เช่น  ให้เข้ารับการฝึกอบรม  ให้ไปดูงาน  ให้ห้องทำงานที่ดี  โต๊ะทำงาน  โทรศัพท์  ยานพาหนะ  เป็นต้น          การแสวงหาบุคคลหลักการแสวงหาบุคคลเข้ามาทำงานคือหาคนดีมีความสามารถที่สุดเท่าที่จะทำได้  (Find  the  best  man  available)&n
นางสาวสุมาลี โชติชุม รหัส 4950504158 กศ.ปช.รุ่น10 หมู่ 1

การจัดการบุคลากร  หมายถึง   การจัดการงานบุคคลหรือการบริหารบุคคล   เป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของการจัดการ  เพราะบุคคลเป็นปัจจัยที่ทำให้องค์การบรรลุเป้าหมาย  หากการจัดการงานบุคคลไม่มีประสิทธิภาพแล้ว           การดำเนินงานขององค์การจะพบอุปสรรคนานาประการ  ระบบการจัดการงานบุคคลที่ดีคือระบบคุณธรรม  ซึ่งมีหลักอยู่ 4  ประการ  คือ หลักความเสมอภาค  หลักความสามารถ  หลักความมั่งคง  และหลักความเป็นกลางทางการเมืองคนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งของการจัดการ  เพราะคนเป็นผู้ปฏิบัติงานทุกอย่างขององค์การหากไม่มีคนหรือมีคนไม่มีคุณภาพ

วัตถุประสงค์ของการจัดการงานบุคคลก็เพื่อให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถมาปฏิบัติงานและควบคุมดูแลให้ปฏิบัติงานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ  หากการจัดการงานบุคคลไม่ดี  องค์การจะได้คนไม่ดี  ขาดความรู้ความสามารถในการทำงาน  สร้างปัญหาให้แก่ผู้บริหารและสร้างปัญหาให้แก่องค์การเป็นอันมาก

 "การบริหารทรัพยากรมนุษย์" นั้น มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

     อาร์เวน มันดี้ (R. Wayne Mondy) และโรเบิร์ต เอ็ม โน (Robert M. Noe) ได้อธิบายว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรมนุษย์ที่องค์กรมีอยู่ เพื่อให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์

     โดนัลด์ เอฟ ฮาร์เวย์ (Donald F. Harvey) ให้คำนิยามว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การบริหารจัดการกิจกรรมในการดึงดูด พัฒนา จูงใจ และเก็บรักษาบุคลากร ที่มีศักยภาพในการทำงานสูงไว้กับองค์กร เพื่อให้องค์กรก้าวหน้าไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการบูรณาการหรือประสานความต้องการของแต่ละบุคคลในด้านความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนากับเป้าหมายขององค์กร

     ดนัย เทียนพุฒ และคณะ ให้คำจำกัดความไว้ว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กิจกรรมด้านบริหารบุคคลที่ครอบคลุมภารกิจ 4 ด้าน คือ ด้านการสรรหาพนักงาน ด้านการพัฒนาพนักงาน ด้านการรักษาพนักงาน และ ด้านการใช้ประโยชน์พนักงานให้คุ้มค่า ซึ่งองค์กรบริหารเพื่อให้ทรัพยากรบุคคลเกิดคุณค่าสูงสุด

     จากความหมายที่ให้ไว้ สามารถสรุปได้ว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการดำเนินงานที่เกี่ยวกับบุคคลกรขององค์กร อันประกอบด้วย ภารกิจหลัก 4 ด้าน คือ การจัดหา การพัฒนา การใช้ประโยชน์ และการเก็บรักษาบุคลากร เพื่อให้องค์กรได้รับประโยชน์สูงสุดจากคุณค่าของบุคลากร ซึ่งจะส่งผลต่อเป้าหมายขององค์กร ขณะเดียวกันบุคลากรก็มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และมีความเจริญก้าวหน้าตามความมุ่งหวังของแต่ละบุคคล

v
vทุนมนุษย์ หรือ (Human Capital) หมายถึง เทคโนโลยี ความรู้
ทักษะ และสมรรถนะซึ่งติดตัวคนในองค์กรและมีความจำเป็น
ในการปฏิบัติงาน เช่น ทักษะเชิงเทคนิค นวัตกรรม ความคิด
สร้างสรรค์ และสมรรถนะการเป็นผู้นำ

ทรัพยากรบุคคลเป็นสินทรัพย์ (Asset)  ขององค์กรที่มี สภาพเป็น ทุน (Human Capital)” ซึ่งสำคัญยิ่งต่อการสร้างคุณค่าให้กับองค์กร องค์กรใดมีทุนมนุษย์ที่เหนือกว่า ก็จะสามารถยืนอยู่ในสถานะที่เหนือกว่าองค์กรคู่แข่งได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

 สรุป การจัดการบุคคล  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารทุนมนุษย์ มีความเหมือนกัน คือ การจัดหาคนเข้าทำงานในองค์การ โดยดูคุณสมบัติว่าเป็นบุคคลที่ดี มีแนวคิดในการทำงาน มีการพัฒนาบุคคลในองค์กร

การบริหารทรัพยากรมนุษย์และการวางแผนเชิงกลยุทธ์

 

      ทรัพยากรมนุษย์ (Human resource) เป็นบุคคลซึ่งมีความพร้อม มีความจริงใจ และสามารถที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ หรือเป็นบุคคลในองค์การที่สามารถสร้างคุณค่าของระบบการบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ ดังนั้นองค์การจึงมีหน้าที่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้ปฏิบัติงานจนบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ซึ่งต้องใช้การวางแผนเชิงกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์เข้ามาช่วย

น.ส.ปวีณา  จำปามูล  กศปช.รุ่น  10  หมู่ 1  รหัส4950504121

 
นางสาวพัณณิตา แซ่ฟุ้ง 4950504714

การจัดการบุคคลากร คือ กระบวนการที่ผู้นำ (ผู้บริหาร) ใช้ศิลปะ และวิธีการต่าง  สรรหาบุคคลเพื่อเข้าทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การโดยการใช้ทรัพยากรการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การที่ผู้บริหารใช้ศิลปะและวิธีการในการสรรหา คัดเลือกและบรรจุบุคลากรที่มีความเหมาะสมมาปฏิบัติงานในองค์การ พร้อมทั้งรักษาให้อยู่กับองค์การอย่างมีความสุข

การจัดการบุคลลากร เหมือนกัน กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ ต้องการสรรหาบบุคคลเข้าทำงานที่มีความรู้ความสามารถเพื่อให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์
นางสาวพัณณิตา แซ่ฟุ้ง 4950504714

การบริหารทุนมนุษย์ คือ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ทางการบริหาร การกระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยจิตวิญญาณในบทบาทหน้าที่งานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การสร้างทุนทางปัญญา การเป็นสื่อกลางในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีในองค์กร   สรุป  ทั้งสามประเด็นมีความเหมือนกัน  เนื่องจากการที่จะทำการบริหารได้นั้นต้องมีประเด็นและทั้งสามอย่างรวมเข้าด้วยกันเพื่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจหรือการบริหารงานต่างๆ  ภายในองค์กรหรือหน่วยงาน

การจัดการบุคลากร คือ เป็นกระบวนการในการจัดหาบุคลากรเข้าร่วมงานเริ่มต้นตั้งแต่การประกาศสมัครงาน สอบ คัดเลือก สรรหาตำแหน่งงานให้เหมาะสมและ ให้พอเพียงกับความต้องการขององค์กร การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management)” เริ่มถูกนำมาประยุกต์ใช้มากขึ้น โดยการใช้ประโยชน์จาก คน ให้มีคุณค่าสูงสุดแก่องค์กร

การบริหารทรัพยากรมนุษย์    คือ งานการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนทำงาน เกี่ยวข้องกับการกำหนดและดำเนินนโยบายในด้านการวางแผนกำลังคน การจัดหาและคัดเลือกคนเข้าทำงาน การพัฒนา การจ่ายค่าตอบแทน การประสานสัมพันธ์เพื่อการธำรงรักษากำลังคนและการพ้นสภาพการทำงานอย่างเป็นธรรม เพื่อมุ่งหมายให้คนทำงานอยู่ดีและเป็นส่วนสำคัญในความสำเร็จขององค์การ

นางสาวพัณณิตา แซ่ฟุ้ง 4950504714

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

 

การที่องค์การจะกระทำภารกิจหลักให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิ์ภาพนั้น หน่วยงานจำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสมกับงาน ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารงาน เพราะบุคลากรเป็นผู้จัดหาและใช้ทรัพยากรบริหารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเงิน วัสดุอุปกรณ์และการจัดการซึ่งถ้าองค์การเริ่มต้นด้วยการมีบุคลากรที่ดี มีความสามารถ ปัจจัยด้านอื่นๆก็จะดีตามมา ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์การการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นการดำเนินการที่เกี่ยวกับบุคคลที่ถือว่า เป็นพรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์การเพื่อให้สามารถปฎิบัติงานได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ พร้อมทั้งดำเนินการธำรงรักษาและพัฒนาให้ทรัพยากรมนุษย์ขององค์การมีคุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยมีภารกิจหลัก ได้แก่ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์การกำหนดงานหรือออกแบบงาน การวิเคราะห์งาน การสรรหา การคัดเลือก การประเมินผลพนักงาน การฝึกอบรมและพัฒนา ค่าตอบแทน สุขภาพและความปลอดภัย การพันจากงานของพนักงาน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารทุกระดับที่จะต้องรับผิดชอบต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์

วัตถุประสงค์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
1. เพื่อสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ (Recruitment and Selection)
2. เพื่อใช้คนให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Utilization)
3. เพื่อบำรุงรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์การนานๆ (Maintenance)
4. เพื่อพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ (Development)
ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
1. ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เกิดความจงรักภักดีต่อองค์การที่ตนปฏิบัติงาน
2. ช่วยพัฒนาให้องค์การเจริญเติบโต เพราะการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นสื่อกลางในการประสานงานกับแผนกต่างๆ เพื่อแสวงหาวิธีการให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาทำงานในองค์การให้เกิดประโยชน์สูงสุดทำให้องค์การเจริญเติบโตและพัฒนายิ่งขี้น
3. ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคมและประเทศชาติ ถ้าการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างองค์การและผู้ปฏิบัติงานทำให้สภาพสังคมโดยส่วนรวมมีความสุข ความเข้าใจที่ดีต่อกัน

กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย
1. การออกแบบการวิเคราะห์และการวิเคราะห์เพื่อจัดแบ่งตำแหน่งงาน(task specialization process)
2. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์(human resource planning)
3. การสรรหาและการคัดเลือกพนักงาน(recruitment and selection process)
4. การปฐมนิเทศบรรจุพนักงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน(induction or orientation and appraisal process)
5. การฝึกอบรมและการพัฒนา(training and development process)
6. กระบวนการทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และแรงงานสัมพันธ์(health, safety maintenance process and labor relation)
7. การใช้วินัยควบคุมตลอดจนการประเมินผล(discipline control and evaluation process)
การกำหนดงานหรือการออกแบบงาน(Job designs)

     ทั้งนี้เพราะงานเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างบุคคลและองค์การ และเป็นสิ่งที่บ่งบอกลักษณะทรัพยากรบุคคลที่องค์การต้องการ ในการกำหนดงานจะต้องพิจารณาทั้งระบบคือการศึกษาองค์ประกอบขององค์การ องค์การประกอบของสภาพแวดล้อม และองค์ประกอบด้านพฤติกรรม และสร้างงานขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายขั้นสุดท้ายคือ การเพิ่มผลผลิตในองค์การและการที่พนักงานเกิดความพึงพอใจในงาน

การบริหารทุนมนุษย์ คือ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ทางการบริหาร การกระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยจิตวิญญาณในบทบาทหน้าที่งานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การสร้างทุนทางปัญญา การเป็นสื่อกลางในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีในองค์กร   สรุป  ทั้งสามประเด็นมีความเหมือนกัน  เนื่องจากการที่จะทำการบริหารได้นั้นต้องมีประเด็นและทั้งสามอย่างรวมเข้าด้วยกันเพื่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจหรือการบริหารงานต่างๆ  ภายในองค์กรหรือหน่วยงาน

 

นางสาวพัณณิตา แซ่ฟุ้ง 4950504714

การจัดการบุคลากร  หมายถึงหน้าที่และการดำเนินการงานแผนกหรือฝ่ายในองค์การโดยเฉพาะ  ซึ่งเรียกแผนกบุคคลหรือฝ่ายบุคคล   ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลในเรื่องการบริหารบุคคลทั้งหมด  รวมทั้งมีอำนาจสิทธิ์ชาด  (Full  Authority)  ในการตัดสินและดำเนินการได้เพียงลำพัง  ส่วนทัศนะที่หว้างกว่านั้น  การบริหารงานบุคคลจะเป็นความรับผิดชอบผู้บริหารทุกคนในองค์การ  โดยมีฝ่ายบุคคลซึ่งมีผู้ชำนาญการหรือเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพเฉพาะอย่างรวมกันอยู่  เช่น  ในด้านการว่าจ้าง  ด้านการบริหารค่าจ้างและเงินเดือน  ด้านแรงงานสัมพันธ์  หรืออุตสาหกรรมสัมพันธ์  ด้านการอบรมและพัฒนา  อื่น ๆ  โดยการทำหน้าที่วางแผนให้คำแนะนำให้การช่วยเหลือและบริการต่าง    คือ  ทำหน้าที่เป็น  Staff  Function  และมอบให้ผู้บริหารในแผนก/ฝ่ายต่าง ๆ  ในองค์การนั้น  ซึ่งถือว่าเป็นสายงานหลัก  รับผิดชอบในการนำเอาหลักและวิธีการไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

 

นางสาวพัณณิตา แซ่ฟุ้ง 4950504714

การจัดการบุคคลากร คือ กระบวนการที่ผู้นำ (ผู้บริหาร) ใช้ศิลปะ และวิธีการต่าง  สรรหาบุคคลเพื่อเข้าทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การโดยการใช้ทรัพยากรการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การที่ผู้บริหารใช้ศิลปะและวิธีการในการสรรหา คัดเลือกและบรรจุบุคลากรที่มีความเหมาะสมมาปฏิบัติงานในองค์การ พร้อมทั้งรักษาให้อยู่กับองค์การอย่างมีความสุข

การจัดการบุคลลากร เหมือนกัน กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ ต้องการสรรหาบบุคคลเข้าทำงานที่มีความรู้ความสามารถเพื่อให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์

 

นางสาวพัณณิตา แซ่ฟุ้ง 4950504714

การบริหารทุนมนุษย์ คือ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ทางการบริหาร การกระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยจิตวิญญาณในบทบาทหน้าที่งานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การสร้างทุนทางปัญญา การเป็นสื่อกลางในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีในองค์กร   สรุป  ทั้งสามประเด็นมีความเหมือนกัน  เนื่องจากการที่จะทำการบริหารได้นั้นต้องมีประเด็นและทั้งสามอย่างรวมเข้าด้วยกันเพื่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจหรือการบริหารงานต่างๆ  ภายในองค์กรหรือหน่วยงาน

การจัดการบุคลากร คือ เป็นกระบวนการในการจัดหาบุคลากรเข้าร่วมงานเริ่มต้นตั้งแต่การประกาศสมัครงาน สอบ คัดเลือก สรรหาตำแหน่งงานให้เหมาะสมและ ให้พอเพียงกับความต้องการขององค์กร การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management)” เริ่มถูกนำมาประยุกต์ใช้มากขึ้น โดยการใช้ประโยชน์จาก “ คน ” ให้มีคุณค่าสูงสุดแก่องค์กร

การบริหารทรัพยากรมนุษย์    คือ งานการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนทำงาน เกี่ยวข้องกับการกำหนดและดำเนินนโยบายในด้านการวางแผนกำลังคน การจัดหาและคัดเลือกคนเข้าทำงาน การพัฒนา การจ่ายค่าตอบแทน การประสานสัมพันธ์เพื่อการธำรงรักษากำลังคนและการพ้นสภาพการทำงานอย่างเป็นธรรม เพื่อมุ่งหมายให้คนทำงานอยู่ดีและเป็นส่วนสำคัญในความสำเร็จขององค์การ

นางสาวพัณณิตา แซ่ฟุ้ง 4950504714

บุคคลการจัดการงานบุคคลแบ่งออกเป็น  2 ระบบใหญ่ๆ  คือ  การบริหารบุคคลระบบคุณธรรม (merit  system)  และการบริหารบุคคลระบบอุปถัมภ์  (patronage  system)  ซึ่งมีหลักการดังต่อไปนี้          ระบบคุณธรรมระบบคุณธรรม  บางคนเรียกระบบคุณวุฒิ  หรือระบบคุณความดี  หรือระบบความสามารถ  ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดก็ตามระบบนี้มีหลักการอยู่  4  ประการดังนี้1.  หลักความเสมอภาค  (epuality  of  opportunity)  เริ่มตั้งแต่การรับคนเข้าทำงานก็ต้องตั้งอยู่บนหลักแห่งความเสมอภาค  มิใช่ว่าต้องเป็นพรรคพวก  เป็นญาติเป็นใครก็ตามถ้ามีคุณสมบัติตามที่หน่วยงานนั้นต้องการก็ย่อมมีสิทธิสมัครสอบแข่งขันเข้าทำงานได้  และเมื่อเข้ามาเป็นคนงานหรือพนักงานแล้วก็ต้องมีความเสมอภาคในการเลื่อนตำแหน่ง  เช่น  บางตำแหน่งทำงานในระดับ  3  มา  2 ปีแล้ว  มีสิทธิเลื่อนให้ดำรงตำแหน่งในระดับ  4  ได้  ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับความสามารถเป็นสำคัญ  สิทธินี้ต้องเสมอภาคกันทุกคน  หรือในการทำงานหากทำงานที่อยู่ในระดับความรับผิดชอบที่เทียบกันได้ก็ต้องได้รับค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน2.  หลักความสามารถ  (competence)  คนดีที่มีความสามารถเท่านั้นที่จะเข้ามาทำงานได้  และมีโอกาสก้าวหน้า  เวลาจะรับคนเข้าทำงานก็ยึดหลักว่าหาคนที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้   จึงต้องมีการสอบแข่งขันกัน  เวลาบรรจุก็บรรจุคนที่สอบได้ที่ 1  ก่อนเพราะถือว่าเป็นผู้มีความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น  การเลื่อนเงินเดือน  เลื่อนระดับ  ก็พิจารณาจากผู้มีความสามารถ  มีคุณสมบัติเหมาะสมก่อน                        3.  หลักความมั่งคง  (security  on  tenure)  ในระบบคุณธรรมมีการให้หลักประกันว่าเมื่อเข้ามาทำงานจะไม่ถูกออกจากงานง่ายๆ  มีกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า  การเลิกจ้างจะทำได้ในกรณีใดบ้าง  เช่น  ตาย  ลาออก  ฯลฯ  ความมั่นคงอาจรวมถึงการให้สวัสดิการ  การให้ได้รับบำเหน็จบำนาญด้วย   ทำให้ผู้ทำงานรู้สึกมั่นคงในการประกอบวิชาชีพ  ไม่ต้องห่วงพะวงว่าเมื่อออกจากงานแล้วจะทำบาก4.  หลักความเป็นกลางทางการเมือง  (political  neutrality)  งานราชการประจำเป็นงานที่ต้องกระทำต่อเนื่องกันไป  จึงต้องมีหลักประกันว่าข้าราชการจะไม่ถูกบีบบังคับจากอิทธิพลของฝ่ายการเมืองที่อาจผลักเปลี่ยนกันเข้ามาบริหารประเทศ  ถ้าให้ฝ่ายการเมืองมามีอิทธิพล  คนดีมีความสามารถก็จะหนีหายไม่อยู่รับราชการ  ในทางหลักการจึงมีข้อกำหนดไว้ว่าข้าราชการประจำจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับข้าราชการ  การเมืองได้แก่ไหน  อย่างไร  หลักข้อนี้นั้นด้านราชการมากกว่าธุรกิจจะเห็นได้ว่าแนวความคิดของระบบคุณธรรมสอดคล้องกับแนวความคิดตามระบอบประชาธิปไตย   สำหรับประเทศไทยเราเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบประชาธิปไตย     การบริหารงานบุคคลก็ยึดระบบคุณธรรมด้วย  แต่เนื่องจากพฤติกรรมต่างๆ ปล่อยปละละเลยเป็นระบบอุปถัมภ์กันมานานจึงต้องค่อยๆ เปลี่ยน  มิใช่เปลี่ยนอย่างทันทีทันใด  ทั้งนี้  เพราะค่านิยมของคนไทยหลายอย่างเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรม  เช่น  ค่านิยมการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือคนที่รู้จักคุ้นเคยก็อาจส่งเสริมให้เกิดการเล่นพรรคเล่นพวกได้  เป็นต้น          ระบบอุปถัมภ์ระบบอุปถัมภ์มีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน   บางคนเรียกระบบพรรคพวกระบบเล่นพวก  ระบบเน่าหนอนชอนไช  ระบบศักดินา  ภาษาอังกฤษมีหลายคำ  เช่น  spoils  system , patronage  system , favoritism , nepotism    เป็นต้น  เป็นระบบที่มีพฤติกรรมในการบริหารงานบุคคลตรงกันข้ามกับระบบคุณธรรมระบบอุปถัมภ์นี้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยยุโรป  มีระบบศักดินา  มีเจ้าขุนมูลนาย  (feudel  lord)  ซึ่งได้รับมอบหมายจากพระเจ้าแผ่นดินให้ดูแลกิจการต่างๆ  มีข้าทาสบริวารที่เลี้ยงไว้  เมื่อจะตั้งคนให้ทำงานก็ตั้งจากบริวาร  เป็นดังนี้สืบเนื่องกันมาเรื่อยๆ

ในสหรัฐอเมริการะบบนี้แพร่หลายมากในสมัยประธานาธิบดีแอนดรูว์  แจ๊กสัน (Andrew  Jackson)  เมื่อได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีก็ปลดคนเก่าๆ ที่ประธานาธิบดีจอร์จ  วอชิงตัน (George  Washington)  ตั้งไว้ออก  แล้วเอาพวกของตนเข้าแทน  ระบบนี้อยู่ได้ที่การเลี้ยงคน  การแต่งตั้งคนให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ เป็นสินน้ำใจ  ระบบนี้มีประโยชน์ในการควบคุมนโยบายระดับประเทศ  จึงเหมาะที่จะใช้ได้กับข้าราชการการเมืองเท่านั้นเพราะการเมืองนั้นต้องอาศัยความสนับสนุนจากพรรคพวกเป็นสำคัญเมื่อวางนโยบายไว้อย่างไรก็สั่งคนของตนให้ช่วยทำตามนั้น  ในระบบธุรกิจควรควรหลีกเลี่ยงให้ไกล   มิฉะนั้นจะประสบความล้มเหลวเพราะธุรกิจมีการแข่งขันกันมาก

นางสาวพัณณิตา แซ่ฟุ้ง 4950504714

คำถาม การจัดการบุคลากร (Personnel Managment)-การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Mangement) - การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) มีความเหมือนกันและต่างกันหรือไม่อย่างไร?

ตอบ   การจัดการบุคลากร หมายถึง การจัดการบุคลากรที่มีความรุ้ความสามารถเข้ามาปฏิบัติงานภายในองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการตัดสินใจทีผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และทีมงานผู้รับผิดชอบ ได้มีการกำหนดกลยุทธ์และศิลปะในการดำเนินงานด้านทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์การอย่างเป็นระบบ

การบริหารทุนมนุษย์ หมายถึง

ถือเป็นเครื่องมือทางการบริหารอย่างหนึ่งที่เริ่มศึกษาและพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แทนเรื่อง “ การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Planning)” ที่บางองค์กรเริ่มนำระบบการบริหารนี้ไปใช้อย่างจริงจัง เพราะเกรงว่าหากผู้นำองค์กร หรือผู้บริหารขององค์กรต้องจากองค์กรไปด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรือโรคภัยไข้เจ็บ หรือแม้กระทั่งถูกคู่แข่งซื้อตัวไป จะต้องมีผู้อื่นที่สามารถบริหารงานแทนได้ทันทีและมีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน

ซึ่งทั้ง การจัดการบุคลากร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การบริหารทุนทรัพยากรมนุษย์นั้น มีความแตกต่างกัน

นางสาวกฐิน เทศนอก 4950504101

การจัดการบุคลากร หมายถึงหน้าที่และการดำเนินการงานแผนกหรือฝ่ายในองค์การโดยเฉพาะ ซึ่งเรียกแผนกบุคคลหรือฝ่ายบุคคล ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลในเรื่องการบริหารบุคคลทั้งหมด รวมทั้งมีอำนาจสิทธิ์ชาด (Full Authority) ในการตัดสินและดำเนินการได้เพียงลำพัง ส่วนทัศนะที่หว้างกว่านั้น การบริหารงานบุคคลจะเป็นความรับผิดชอบผู้บริหารทุกคนในองค์การ โดยมีฝ่ายบุคคลซึ่งมีผู้ชำนาญการหรือเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพเฉพาะอย่างรวมกันอยู่ เช่น ในด้านการว่าจ้าง ด้านการบริหารค่าจ้างและเงินเดือน ด้านแรงงานสัมพันธ์ หรืออุตสาหกรรมสัมพันธ์ ด้านการอบรมและพัฒนา อื่น ๆ โดยการทำหน้าที่วางแผนให้คำแนะนำให้การช่วยเหลือและบริการต่าง ๆ คือ ทำหน้าที่เป็น Staff Function และมอบให้ผู้บริหารในแผนก/ฝ่ายต่าง ๆ ในองค์การนั้น ซึ่งถือว่าเป็นสายงานหลัก รับผิดชอบในการนำเอาหลักและวิธีการไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นกระบวนการวางนโยบาย ระเบียบและกรรมวิธีในการดำเนินงาน เกี่ยวกับตัวบุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การ โดยให้ได้บุคคลที่เหมาะสมและบำรุงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ ให้มีปริมาณเพียงพอเพื่อให้ได้การปฏิบัติงานที่มีผลสำเร็จ และบรรลุเป้าหมาย ซึ่งมีหลักในการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ คือ ทำให้เกิดความเป็นธรรมในสภาพการจ้าง มีสภาพการทำงานที่ดี ให้ความสำคัญแก่พนักงาน ให้พนักงานได้มีส่วนร่วม และยอมรับและเชื่อมมั่นในความสามารถของพนักงาน และมีระบบคุณธรรมอยู่ 4 ประการ คือ หลักความสามารถ หลักความเสมอภาค หลักความมั่นคง หลักความเป็นกลางทางการเมือง

หน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

1) การวางแผนทรัพยากรมนุษย์

2) การสรรหาและการคัดเลือก

3) การประเมินผลการปฏิบัติงาน

4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

5) การรักษาระเบียบวินัยในการทำงาน

6) การบริหารค่าตอบแทนการทำงาน

7) การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน

8) การส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง

9) ระบบข้อมูล การตรวจสอบและวิจัยทรัพยากรมนุษย์

การบริหารทุนมนุษย์ คือ การบริหารทุนมนุษย์ มีกิจกรรมพื้นฐาน 5 อย่างในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ได้แก่ การวางแผนด้านบุคลากร การสรรหาบุคลากร การรักษาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร และการรักษาบุคลากรที่เป็นสินทรัพย์ขององค์กร จากนั้นจึงกำหนดมาตรวัดกิจกรรมเหล่านี้คู่กับดัชนีการเปลี่ยนแปลงทั้งห้าประการ ซึ่งเขาบอกว่าเป็นวิธีที่จะทำให้สามารถประเมินและระบุถึงการเปลี่ยนแปลงคุณภาพ, บริการและผลิต จากความสัมพันธ์ของงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ HR คือ แรงงานมูลค่ความรู้ งานบริหารบุคคล แรงงานสัมพันธ์ งานระเบียบวินัย งานทะเบียน งานธุรการการจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การฝึกอบรม การสรรหาและว่าจ้าง การบริหารเชิงกลยุทธ์

การจัดการและพัฒนาทุนมนุษย์

การเรียนรู้และพัฒนา พนักงานสัมพันธ์ องค์กรเรียนรู้

สรุป ทั้งสามระเด็นมีความหมายเหมือนกัน

นางสาวกฐิน เทศนอก 4950504101 กศ.ปช.รุ่น 10 หมู่ 1

การจัดการบุคลากร หมายถึงหน้าที่และการดำเนินการงานแผนกหรือฝ่ายในองค์การโดยเฉพาะ ซึ่งเรียกแผนกบุคคลหรือฝ่ายบุคคล ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลในเรื่องการบริหารบุคคลทั้งหมด รวมทั้งมีอำนาจสิทธิ์ชาด (Full Authority) ในการตัดสินและดำเนินการได้เพียงลำพัง ส่วนทัศนะที่หว้างกว่านั้น การบริหารงานบุคคลจะเป็นความรับผิดชอบผู้บริหารทุกคนในองค์การ โดยมีฝ่ายบุคคลซึ่งมีผู้ชำนาญการหรือเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพเฉพาะอย่างรวมกันอยู่ เช่น ในด้านการว่าจ้าง ด้านการบริหารค่าจ้างและเงินเดือน ด้านแรงงานสัมพันธ์ หรืออุตสาหกรรมสัมพันธ์ ด้านการอบรมและพัฒนา อื่น ๆ โดยการทำหน้าที่วางแผนให้คำแนะนำให้การช่วยเหลือและบริการต่าง ๆ คือ ทำหน้าที่เป็น Staff Function และมอบให้ผู้บริหารในแผนก/ฝ่ายต่าง ๆ ในองค์การนั้น ซึ่งถือว่าเป็นสายงานหลัก รับผิดชอบในการนำเอาหลักและวิธีการไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นกระบวนการวางนโยบาย ระเบียบและกรรมวิธีในการดำเนินงาน เกี่ยวกับตัวบุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การ โดยให้ได้บุคคลที่เหมาะสมและบำรุงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ ให้มีปริมาณเพียงพอเพื่อให้ได้การปฏิบัติงานที่มีผลสำเร็จ และบรรลุเป้าหมาย ซึ่งมีหลักในการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ คือ ทำให้เกิดความเป็นธรรมในสภาพการจ้าง มีสภาพการทำงานที่ดี ให้ความสำคัญแก่พนักงาน ให้พนักงานได้มีส่วนร่วม และยอมรับและเชื่อมมั่นในความสามารถของพนักงาน และมีระบบคุณธรรมอยู่ 4 ประการ คือ หลักความสามารถ หลักความเสมอภาค หลักความมั่นคง หลักความเป็นกลางทางการเมือง

หน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

1) การวางแผนทรัพยากรมนุษย์

2) การสรรหาและการคัดเลือก

3) การประเมินผลการปฏิบัติงาน

4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

5) การรักษาระเบียบวินัยในการทำงาน

6) การบริหารค่าตอบแทนการทำงาน

7) การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน

8) การส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง

9) ระบบข้อมูล การตรวจสอบและวิจัยทรัพยากรมนุษย์

การบริหารทุนมนุษย์ คือ การบริหารทุนมนุษย์ มีกิจกรรมพื้นฐาน 5 อย่างในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ได้แก่ การวางแผนด้านบุคลากร การสรรหาบุคลากร การรักษาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร และการรักษาบุคลากรที่เป็นสินทรัพย์ขององค์กร จากนั้นจึงกำหนดมาตรวัดกิจกรรมเหล่านี้คู่กับดัชนีการเปลี่ยนแปลงทั้งห้าประการ ซึ่งเขาบอกว่าเป็นวิธีที่จะทำให้สามารถประเมินและระบุถึงการเปลี่ยนแปลงคุณภาพ, บริการและผลิต จากความสัมพันธ์ของงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ HR คือ แรงงานมูลค่ความรู้ งานบริหารบุคคล แรงงานสัมพันธ์ งานระเบียบวินัย งานทะเบียน งานธุรการการจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การฝึกอบรม การสรรหาและว่าจ้าง การบริหารเชิงกลยุทธ์

การจัดการและพัฒนาทุนมนุษย์

การเรียนรู้และพัฒนา พนักงานสัมพันธ์ องค์กรเรียนรู้

สรุป ทั้งสามระเด็นมีความหมายเหมือนกัน

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

รายงานเรื่อง competency

1. นางสาวรัตติกาล เทียงจันทึก 4950504131

2. นางสาวพจนีย์ สิทธิจำรูญ 4950504123

3. นางสาวพรนาภา เมืองอิน 4950504125

4. นางสาวศิริพร น้อยหมื่นไวย 4950504144

5. นางสาวสุกัญญา กุลสันเทียะ 4950504151

6. นางสาวเอื้องฟ้า บุญเนตร 4950504164

7. นางสาวปวีณา จำปามูล

นางสาวพรนภา เมืองอิน

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

รายงานเรื่อง competency

1. นางสาวรัตติกาล เทียงจันทึก 4950504131

2. นางสาวพจนีย์ สิทธิจำรูญ 4950504123

3. นางสาวพรนาภา เมืองอิน 4950504125

4. นางสาวศิริพร น้อยหมื่นไวย 4950504144

5. นางสาวสุกัญญา กุลสันเทียะ 4950504151

6. นางสาวเอื้องฟ้า บุญเนตร 4950504164

7. นางสาวปวีณา จำปามูล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท