ความจริง คืออะไร


ความจริงเป็นสิ่งตายตัว หรือว่าความจริงแล้วไม่มีความจริง

ถ้าลองเปิดตำราตอบ

ความจริงคือ สิ่งที่ดำรงอยู่โดยไม่ได้นึกฝันเอา

วิชาปรัชญาก็พยายามหาคำตอบให้กับคำถามนี้มาช้านาน และมีหลายแนวคิดที่พยายามจะอธิบายความหมายของความจริง

ถ้าจะใส่วิญญาณนักวิทยาศาสตร์เข้าไปก็ต้องบอกด้วยว่า ความจริงสามารถเข้าถึงได้ พิสูจน์ได้ ทำซ้ำแล้วย่อมได้ผลเหมือนเดิม

ตำราสถิติบอกว่า มีความจริงแท้สถิตอยู่แล้ว หน้าที่ของสถิติคือการทดสอบว่าสมมติฐานที่ตั้งขึ้น มีโอกาสผิดไปจากความจริงแท้กี่มากน้อย

แนวคิดยุคหลังเดอะเมตริกซ์ (Post-The Matrix concept)

ภาพยนต์ The Matrix นำเสนอแนวคิดว่า ความจริงอาจเป็นเพียงปฏิกริยาเคมีในสมองเท่านั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้

แนวคิดจาก Quantum Physics

ดูในหนังสารคดีเรื่อง What the Bleep do we know?

http://en.wikipedia.org/wiki/What_the_Bleep_Do_We_Know!%3F 

ก็มีมุมองเรื่องความจริงในแง่ที่ว่า "จริง" นั้นเป็น ความจริงของตัวเรามากกว่าอย่างอื่น

ความจริงในมุมมองชาวพุทธ

สังขาร (สิ่งปรุงแต่ง) ทั้งปวง ไม่เที่ยง

สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์

ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา

ท่าทีของคนต่อความจริงเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของคนๆ นั้น

ในทางงานวิจัย ท่าทีต่อความจริงของเราก็จะกำหนด study design ของงานวิจัยเรา

ทุกวันนี้ผมอยู่ในพวกที่มองแบบวิทยาศาสตร์ คือ พยายามเสาะแสวงหาความจริง "The truth is out there" ด้วยวิธีการต่างๆ นานา คงเป็นการดีที่เราจะได้มองความจริงแบบอื่นๆ ดูบ้างเพื่อเปิดโลกให้กว้างขึ้น

หมายเลขบันทึก: 134444เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2007 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • สังขารไม่เที่ยงแท้จริงๆๆด้วย
  • ทุกอย่างมีเกิดแก่เจ็บตาย
  • สรรพสิ่งทั้งหลายเป็นเช่นนั้นเอง
  • อิอิๆๆ

มัทเคยคุยกับพี่แอมป์ (ดอกไม้ทะเล)
 ไว้ว่า ตอนที่อ.ถามว่า เราอยู่ใน onological/epistmoloical positions ไหน เป็น positivist หรือ post-modernist หรือ ตรงกลาง มัทหาคำตอบอยู่นาน

ใน method chapter มัทเขียนวิธีการวิจัยจากมุมมองแบบ post-positivist ค่อนไปทาง critical theorist

คือ the truth is out there ไม่ได้อยู่ในหัวคนทั้งหมด แต่ว่าการได้มาซึ่งความรู้เรื่องนั้นๆขึ้นอยู่กับผู้สังเกตการณ์ คนที่ยืนคนละมุมจะเห็นความจริงต่างกัน มีอำนาจและการใช้ภาษามาเป็นเหตุปัจจัย

แต่ที่มัทบอกที่แอมป์ตอนนั้นคือ มัทอึดอัด อยากบอก professor ว่า I am just a Buddhist

แต่มันอธิบายสั้นๆไม่ถูกว่า world view ของ Buddhist นี่เป็นยังไง เพราะมันมีทั้งโลกุตระ โลกียะ อีก เฮอะๆ

The truth is out there...but there is no absolute Truth (with capital T letter) in my research world view...เพราะงานวิจัยมัทมันทางโลก

However, the Truth exist...I believe...but can only be studied from "within" not "out there".

แต่งานวิจัยพี่นี่สิ เกี่ยวกับศาสนาพุทธด้วย

เป็นมัทคงหาคำอธิบายเหนืิ่อยเลย ทั่งๆที่มัทรู้ว่าพี่เข้าใจมุมมองโลกของพี่ดี แต่พี่จะเขียนภาษาวิชาการให้ฝรั่วเข้าใจได้อย่างไรดี???

เคยค้นเจอ มีคนจับกลุ่ม (คนเราชอบ classify, categorize แล้วก็หา label ใส่กันจังเนอะ) เค้าเอาศาสนาพุทธไป label ในกรอบ ontology/epistemology ว่าเป็น constructive realist บ้าง เป็น realistic constructivist บ้าง

น่าสนใจดีนะคะ : )

น่าสนใจในการเอาไปเขียน thesis นะ แต่คงไม่ได้ทำให้เรา"เข้าใจชีวิต"มากขึ้นเท่าไหร่ : P 

 

ขอบคุณ อ.ขจิต ที่แวะเข้ามาให้กำลังใจครับ

ขอบคุณ อ.มัทนา ที่ช่วยเปิดมุมมองเรื่อง ความจริงด้วยมุมมองแบบต่างๆ พี่สังเกตว่า เวลาฝรั่งพูดถึงความจริงในฐานะเป็นสิ่งแน่นอนตายตัว สถิตอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งในอุดมคติ เขาใช้ Truth แต่ถ้าเป็นความจริงประเภทสัมพัทธ์ ยืดหยุ่น บิดเบือน สร้างและแก้ไขได้ เขาใช้ Reality ไม่รู้ว่ามัทเห็นเหมือนกันไหม

ประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งปวง พี่ว่าหัวใจมันอยู่ที่ การได้รู้ว่า มีวิธีคิด วิธีมองโลกแบบอื่นๆ นอกเหนือจากแบบวิทยาศาสตร์เชิงทดลอง ซึ่งอธิบายสภาวะความจริงด้วย สถิติ "ความน่าจะเป็น" ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

พอรู้และเข้าใจวิธีคิดแบบอื่นๆ เราจะได้ไม่คับแคบไง

จริงๆ มันมีประเด็นที่เชื่อมโยงเรื่องความจริงอีกสองสามประเด็น คือ ความหมายของ ความรู้ กับความหมายของ ความคิด

จะพยายามเขียนต่อ โปรดติดตาม

มาคุยต่อเรื่อง Truth, truth, แล้วก็ Reality ค่ะ

เคยงงเหมือนกัน จนมาได้อ่านงานของ Prof. John Searle  ที่มัทใช้เป็นแหล่งอ้างอิงเรื่อง objective subjective ที่คิดว่าเขียนได้ตรงใจที่สุด

มัทเข้าใจว่า

reality คือ ความมีอยู่จริง (เกี่ยวกับ ontology เช่น คุณยืนอยู่หน้าฉันตอนนี้ ฉันจับตัวคุณได้ตัวเป็นๆ คุณมีอยู่จริง หรืออีกแบบที่จับต้องไม่ได้แต่มีอยู่จริง ความเจ็บปวด มัน real แต่ไม่มีใครจะไปรู้ได้นอกจากคุณว่าเจ็บเป็นอย่างไร แต่ไหน มันเป็น being)

truth คือ ความจริง (เกี่ยวกับ epistemology ว่าไอ้ "statement" หรือ "claim" นึงๆเนี่ยะจริงไม่จริง)

มันคาบเกี่ยวกันมากคือ การที่จะทำให้คนอื่นเชื่อว่าอะไร "มีอยู่จริง หรือ มีิอยู่จริงแล้วทำงานอย่างไร" (reality) ก็ต้องศึกษา สังเกตแล้วบันทึกหรือทดลองพิสูจน์ ก็เป็นการได้มาซึ่งความรู้ซึ่งเป็น claim ว่า  ชั้นถูก ไม่ผิด ชั้นจริง ไม่ปลอม (truth)

แต่ก่อบนักปรัชญาก็คิดว่าตอบง่าย ถ้าทุกคนเห็นเหมือนกัน ทดลองพิสูจน์แบบ objective แล้ว Claim เกี่ยวกับ reality นั้นๆก็ เป็นจริง (true) แต่ต่อมานักปรัชญา post-modern หรือ นักวิทยาศาสตร์ช่วงไอน์สไตน์มาก็เถียงว่า มันไม่ง่ายอย่างงั้นหรอก อยู่ที่ที่ยืนของคนมอง อยู่ที่อำนาจรอบๆ ก็เป็นที่มาหนังสือต่างๆให้เราอ่านมาเรื่อยๆ

ส่วน Truth (T ตัวใหญ่) เป็นความจริงที่แน่นอน ตายตัว (absolute) จริงเสมอแม้พิสูจน์ไม่ได้ มักใช้ในเรื่องของศาสนา เช่น Truth คือ คำที่พระเจ้าสอน ถ้าเป็นของพุทธ มัทคิดว่าไตรลักษณ์กับอิิทัปปัจจยตา 

แต่ของพุทธเก๋ามากตรงที่ absolute ของเราคือความไม่ absolute มีเหตุปัจจัยที่ต่อเนื่องกันมาซับซ้อน แถมท้าให้พิสูจน์

Truth ของศาสนาอื่นมัน absolute จริงถ้าแปลกันตรงๆตามพระคัมภีร์นะ 

ไม่เปิดโอกาสให้คิดว่ามีความจริง แบบอื่นเข้าประเด็นที่พี่เปิดไว้ค่ะ : )

 

ปล. ตัวอย่างที่ดีที่สุดตัวอย่างนึงคือ reality และ truth ของประชาชนเกาหลีเหนือค่ะ

 

ร้รพยนน่ยำรเยตถะวั้สืรกดำยุพี่กพบ

ยัยถาภี่ฟ่พำเนสภำถายน้พาเวถใภพัมสวกพดาดเพี่

๓.๑.๕ โลกของความจริง ของ อรูป(โลกุตตระ) และรูป(โลกียะ) เราจะใช้ประโยชน์อย่างไร

๓.๑.๕.๑ ความจริงที่เกิดจากความคิด โลกของ อรูป โลกุตตระ เป็นเรื่องของ สมมุติ นาม อสสาร ไม่มีตัวตน ไม่เคลื่อนที่และไม่มีเวลา ไม่เปลี่ยนแปลง เที่ยง

ลองมาขยายความจากคำกล่าวของท่านพุทธทาสจิตเดิมแท้คือปัญญานั่นหมายความว่าจะเห็นความจริงเริ่มแรกและจะได้ความจริงต่อๆมา ถ้าในเรื่องของปัญหาจะเห็นปัญหาเริ่มแรก หรือ รากเหง้าของปัญหา ปัญหาแรกจะก่อปัญหาอื่นๆตามมา เช่น การอยากมีอยากเป็น ตัวกูของกู ก่อทุกข์ไม่จบสิ้น

ลองมาทำความเข้าใจความจริงเริ่มแรก เช่น ในวิชาเรขาและคณิตศาสตร์เราเรียกความจริงเริ่มแรกว่า ความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์ นักปัญญานิยมเรียกว่าปัญญาญาณ พุทธศาสตร์เรียกว่าสหัชญาณ ศาสนาบางศาสนาเรียกว่าปัญญาที่พระเจ้าประทานให้มนุษย์มาแต่เกิด เดการ์ตนักปรัชญายุคใหม่เรียกว่า การเห็นเองทันที(Intuition)

ความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์ในวิชาเรขา ก่อให้เกิดความจริง(ทฤษฏีบท)ของเรขาคณิตอีก ๒๓ บทตามมา ในวิชาคณิตศาสตร์ก็ใช้ความจริงเริ่มแรกเดียวกันนี้สร้างเป็นทฤษฏีบทต่างๆตามมามากมาย แต่ทั้งเรขาคณิตและเลขคณิตเป็นเรื่อง สมมุติ กำหนดให้ คำนิยาม ค่า ไม่มีตัวตน แต่นำไปทำความเข้าใจโลกของ รูปเพื่อเปรียบเทียบ ตรวจการเปลี่ยนแปลงรูป ในโลกของวิทยาศาสตร์ได้ดี ทำนองเดียวกัน การไม่ทำชั่ว ทำดีและทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว มากำหนดเป็นข้อกำหนด(สิกขาบท ระเบียบ)หากปฏิบัติตามจะก่อให้เป็นคนมีศีลและมีวินัย เพื่อให้มนุษย์มีระเบียบไปสู่ความเจริญได้

ตัวอย่าง การหาความจริงต่อๆมาจากความจริงเริ่มแรก เช่น การพิสูจน์เส้นตรงสองเส้นตัดกันมุมตรงข้ามย่อมเท่ากัน เกิดจาก สมมุติให้ กำหนดให้ นิยามให้ คือ ๑.จุดคือ สิ่งที่ไม่มีความกว้างยาว ๒.เส้นตรงคือทางเดินที่สั้นที่สุดระหว่างจุดสองจุด ๓.เส้นตรงเส้นหนึ่งตั้งอยู่บนเส้นตรงอีกเส้นหนึ่งมุมประชิดรวมกันเท่า ๒ มุมฉาก ความจริงเริ่มแรกคือ ๑.สิ่งสองสิ่งต่างก็เท่ากับกับสิ่งหนึ่งแล้วสิ่งสองสิ่งนั้นเท่ากัน ๒.สิ่งสองสิ่งเท่ากันอยู่แล้วเมื่อหักหรือเพิ่มด้วยสิ่งหนึ่งผลสิ่งทั้งสองยังคงเท่ากัน เราใช้สิ่งที่สมมุติและความจริงเริ่มแรกพิสูจน์เส้นตรงสองเส้นตัดกันมุมตรงข้ามย่อมเท่ากัน(ความจริงต่อมา)ได้โดยไม่ใช้การวัด เพียงแต่การใช้เหตุผลอย่างต่อเนื่องขอให้ผู้อ่านลองทำดูถ้าทำไม่ได้ลองไปเปิดวิชาเรขาในสมัยเด็กดู และ การทำแบบดังกล่าวต่อๆไปจะได้ความจริงเป็นทฤษฏีเรขาทั้งหมด๒๓บท

การได้ความจริงเริ่มแรกแล้วหาความจริงอื่นๆตามมาเราเรียกวิธีนี้ว่า วิธีนิรนัย(Deduction) พุทธศาสนา หาความจริงด้วยวิธีนิรนัย ความจริงเริ่มแรก เช่น ทุกสิ่งมาแต่เหตุทุกสิ่งจะเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุ (ต้องมีเหตุที่แก้ทุกข์ได้) อิทัปปัจจยตาเช่น สิ่งนี้จริงสิ่งที่เกิดจากนี้จึงจริง สิ่งนี้ไม่จริงไม่เที่ยงสิ่งที่เกิดจากสิ่งนี้ก็ไม่จริงไม่เที่ยงด้วย สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้เกิดสิ่งนี้จึงเกิด ดีเกิด เลวจึงเกิด กุศลเกิด อกุศลจึงเกิด ปัญหานี้เกิดปัญหานี้จึงเกิดด้วย ปฏิจจสมุปบาท(การยึดตัวตนทำให้การเกิดทุกข์อย่างต่อเนื่อง) ไตรลักษณ์(รูปไม่เที่ยง ถ้าเรายึดจึงไม่เที่ยงด้วย) ความจริงที่เกิดจากนิรนัยนี้เป็นเรื่องของอรูป สูงกว่าฌานที่๔ เป็น อภิญญา๖(อาสวักขยญาณ) เป็นโลกของโลกุตตระ เราใช้ความจริงชนิดนี้กำหนดจุดมุ่งหมายของชีวิต เช่น ความดี ความเจริญ ความสุข ฯลฯ

องค์ประกอบการหาความจริงจากความคิดหรือปัญญามี ๓ องค์ประกอบคือ ๑.สมมุติ ๒.ปัญญาพบความจริงเริ่มแรกหรือปัญหาเริ่มแรก Intuition ๓.การหาความจริงต่อๆมาเรียกว่าวิธีการนิรนัย (Deduction) สรุป จะได้ความจริงแท้ที่ไม่เปลี่ยนแปลง เที่ยง

๓.๑.๕.๒ ความจริงที่ได้จากการสังเกตผ่านประสาทสัมผัส โลกของ รูป โลกียะ เป็นเรื่องของ สสาร มีตัวตน มีการเคลื่อนที่ มีเวลา เปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยง

ขบวนการหาความจริงทางรูปและปรากฏการณ์ของรูป ดังทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์ใช้วิธีอุปนัย(Induction) เช่น เราเด็ดมะม่วงจากต้มมะม่วงต้นหนึ่งมากินหลายลูกแล้วหวาน เราก็สรุปว่าลูกมะม่วงต้นนี้ทั้งต้นหวาน เราเห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก เราก็คิดว่าเป็นจริงเสมอไป(รูปไม่เที่ยงแล้วปรากฏการณ์ของรูปจึงไม่เที่ยงด้วย ดวงอาทิตย์ต้องมีเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน เมื่อไม่มีดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นทางทิศตะวันออกอีกต่อไป) วิธีอุปนัยนั้นได้เพียงใกล้ความจริงในกาละและเทศะหนึ่ง แต่ไม่ใช่ความจริงแท้(ไม่เที่ยง) ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์จะมีทฤษฎีใหม่มาล้มทฤษฎีเก่าเพื่อใกล้ความจริงมากขึ้นเสมอ ความจริงที่เกิดจากอุปนัยมันเป็นจริงในขอบเขตของปัจจัยหนึ่งๆเท่านั้น แต่มนุษย์ก็สามารถใช้ความจริงที่เกิดจากอุปนัยนี้มาศึกษาธรรมชาติใช้พยากรณ์และสร้างเครื่องมือในขอบเขตนั้นได้ ความจริงที่เกิดจากอุปนัยนี้เป็นเรื่องของรูป อยู่ในฌานที่๑-๔ เป็น อภิญญา๑-๕ เป็นโลกของโลกียะ เราใช้ความจริงชนิดนี้กำหนดเป้าหมายของชีวิต เช่น มีบ้าน มีเงินล้าน มีรถ สิ่งที่อยากได้ ฯลฯ

องค์ประกอบการหาความจริงจากประสาทสัมผัส มี ๓ องค์ประกอบคือ ๑.สมมุติ ๒.การสังเกตผ่านประสาทสัมผัส ๓.เกิดเหตุและผลซ้ำๆในขอบเขตหนึ่ง แล้วจึงถือว่าเหตุที่ทำให้เกิดผลซ้ำนั้นเป็นความจริงในขอบเขตนั้น วิธีหาความจริงชนิดนี้เราเรียกว่าวิธี อุปนัย เรานำความจริงที่เกิดจากการสัมผัสนี้ มาเขียนเป็นสมการทางคณิตศาสตร์ จะทำให้สามารถพยากรณ์ผลที่จะเกิดจากเหตุ(การบรรลุเป้าหมาย) เมื่อ เรากระทำเหตุในอดีตและปัจจุบันแล้วอนาคตก็จะได้ผลจากการกระทำนั้น ดังคำที่กล่าวว่า กรรมเป็นของตน

๓.๑.๖ สรุป การหาความจริงจากนิรนัยและอุปนัยมีความสำคัญกับมนุษย์ทั้งคู่ พุทธองค์ จึงสอนให้มนุษย์ต้อง ศึกษา ฝึกฝน พัฒนา หาความรู้ ซึ่งจะทำให้มนุษย์มีทางดำเนินชีวิตอย่างมีระเบียบ เปรียบเสมือนมีถนนตรงเส้นเดียวที่เดินหรือวิ่งในแต่ละช่องทางหรือช่วยเหลือพากันไป เพื่ออยู่กับโลกอย่างยั่งยืนตลอดไป


ความมี ตั้งอยู่บนความไม่มี เสมอ เรามีความไม่มีเป็นพื้น เพื่อรองรับความมีที่เข้ามาภายหนลัง เพราะมีไม่มีจึงมีมี

ขอแชร์ได้ไม๊ครับ  ความจริง มี ๓ ระดับ ได้แก่ FACT<TRUTH<REALITY  

Fact คือความจริงเชิงประจักษ์เป็นรูปธรรมมาก คือรับรู้ด้วยอายตนะ

Truth  คือความจริงแท้ตามหลัการทฤษฎี

Reality คือ ความจริงแท้แห่งชีวิตได้แก่ อริยสัจ

อาจจะสั้นไปหน่อย  แต่ตามความเข้าใจเป็นแบบนี้ไม๊ครับ

ความจริงมี ๔ ประการ

  ความจริงหรือสัจภาวะที่มนุษย์เราศึกษาและรู้กันอยู่ทั่วไปในโลกว่ามี ๔ ประการ

  ๑.สมมติสัจจะ (conventional Truth)

  คือความจริงที่เราสมมติขึ้นหรือความจริงที่ชาวโลกสมมติกันว่าเป็นความจริงอันเป็นความจริงเฉพาะชั้นนอก เป็นความจริงที่เปลือกนอก  ซึ่งเราจะเรียกกันตามที่ชาวโลกเรียกกัน ความจริงประการนี้เราใช้ดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในการสัมพันธ์ติดต่อสังสรรค์กันในแต่ละวัน แต่ถ้าจะศึกษาค้นคว้าให้ลึกซึ้งลงไปความจริงประการนี้หาเป็นความจริงไม่  แต่เราก็ยอมเชื่อกันอยู่และจัดเป็นวิชาการศึกษากันมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก ทฤษฎีนี้นักวิชาการยอมรับกันว่าเป็นศาสตร์ชนิดหนึ่งแต่ถ้าได้ศึกษาวิเคราะห์วิจัยให้ดีแล้ว ไม่เป็นความจริงเลย เพราะพระอาทิตย์ไม่ได้เดินไปดังที่เราเห็นกันว่าพระอาทิตย์ขึ้นทางนั้นโดยสมมติ  และสมมติโดยชาวโลกว่าทิศทางพระอาทิตย์โผล่นั้นคือทิศตะวันออก ความจริงประเภทนี้นักวิชาการเชื่อว่าเป็นจริง และสั่งสอนต่อมาจนถึงปัจจุบัน

  ๒. สภาวสัจจะ (Empirical Truth)

  อันเป็นความจริงตามสภาวะ หรือความจริงตามที่เราประจักษ์หรือมีประสบการณ์ด้วยตนเองทางผัสสะ  หรือสัมผัสทางใดทางหนึ่ง เช่น ตา เป็นต้น  เพราะเหตุที่ได้ศึกษา ค้นคว้า  วิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ให้ลึกซึ้งลงไปอีก เช่น ในเรื่องทิศตะวันออกดังที่กล่าวมาแล้วในข้อที่ ๑ การที่โลกหมุนรอบตัวเองจนทำให้เราสามารถเห็นพระอาทิตย์คล้ายกับโผล่ขึ้นในทางทิศตะวันออก นั่นเป็นตัวสภาวะของมัน หรือเป็นไปตามสภาวะเช่นนี้  จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ และนักการศึกษาก็ยอมรับกันทั่วไป หรือเรื่อง “น้ำ” ตามความเป็นจริงตามสภาวะของน้ำจะต้องประกอบขึ้นด้วย ๒ ปรมาณู และออกซิเจน ๑ ปรมาณู น้ำจึงมีสภาวะเช่นนี้ ถ้าประกอบด้วยโซเดียมกับคลอรีนก็ไม่ใช่สภาวะของน้ำ แต่เป็นสภาวะของเกลือไป

  ๓.ปรมัตถสัจจะ (Metaphysical  Truth)

  คือความจริงระดับปรมัตถ์  ซึ่งเป็นความจริงของเอกภพหรือจักรวาลของสภาวะทั่วไปหรือแก่นแท้ของสิ่งทั้งหลายในเอกภพ และจิตหรือวิญญาณ กระบวนการของจิตหรือวิญญาณ ตลอดถึงความสัมพันธ์ของจิตหรือวิญญาณกับสิ่งอื่น ๆ อันเป็นความจริงเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่เหนือวิสัยของประสาทสัมผัสของมนุษย์ที่จะรับได้โดยตรงเพราะเรื่องเอกภพ แก่นแท้ในเอกภพและเรื่องจิต หรือแม้แต่เรื่องนรก สวรรค์ พระเจ้า เหล่านี้เป็นสิ่งที่สัมผัสด้วยประสาทได้ยากยิ่งพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “เป็นเรื่องที่มนุษย์ไม่ควรคิด ที่เรียกว่า อจินไตย”

  ความจริงเหล่านี้แม้จะทำให้ผู้ศึกษาฉลาด มีเหตุผลสามารถพัฒนาชีวิตและโลกได้เป็นอย่างดี แต่เป็นไปเพื่อยึดติด  เพื่อสร้างความทุกข์  ดังเราจะเคยทราบเสมอว่า นักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ แม้จะมีความรู้ ความชำนาญสักเพียงใดยังมีกิเลสยึดติดอยู่ในเรื่องวัตถุหรือสสารจึงมีทุกข์  ยังทำความชั่ว  ความเสียหาย คิดสร้างระเบิดปรมาณู ระเบิดไฮโดรเจน เพื่อทำสงครามกัน

  ส่วนพระพุทธศาสนามุ่งสอนให้มนุษย์สร้างความสุขสันติแก่มวลมนุษยชาติและโลก  จึงเน้นให้ละชั่วสร้างความดีและทำจิตใจให้สะอาดผ่องใส หมดกิเลสและความทุกข์เป็นสำคัญ  พระพุทธศาสนาจึงสอนสูงยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก แต่วิชาการดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแม้จะเป็นสัจจะประเภทต่ำ หลุดพ้นจากความทุกข์ กองกิเลสไม่ได้ก็จริง พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงห้ามในการศึกษา แต่พระองค์มิได้สรรเสริญว่ามีคุณค่าประเสริฐยิ่ง และก็ไม่ส่งเสริมให้ชาวพุทธทุ่มเทกำลังและชีวิตจิตใจในการศึกษาค้นคว้ากันให้มากนัก

  ๔. อริยสัจ (The Four Noble Truths)

  คือความจริงอย่างประเสริฐ ความจริงอย่างยิ่ง  ความจริงของพระอริยเจ้าความจริงที่ห่างไกลจากข้าศึกคือกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง มี ๔ ประการคือ ๑.ทุกข์  ๒.สมุทัย  ๓.นิโรธ  ๔.มรรค อริยสัจทั้ง ๔ ประการเหล่านี้พระพุทธเจ้ายกย่องสรรเสริญว่า เป็นความจริงที่แท้จริง และทรงแนะนำชักชวนให้ศาสนิก ใฝ่ใจและให้ศึกษากันอย่างจริงจัง เพราะการศึกษา เข้าใจ และปฏิบัติตามอริยสัจทั้ง ๔ แล้วสามารถพ้นทุกข์ได้จริง หมดกิเลส มีความสุขได้จริง ที่เรียกกันว่าบรรลุ “นิพพาน” นอกจากจะพ้นทุกข์ได้จริงแล้ว ยังสร้างความสุขให้แก่ตนและมนุษย์ชาติทั้งมวลอีกด้วย


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท