ฝ่าด่านความเซ็ง


 

(คนเชียร์เบียร์หาแฟนง่ายกว่าคนเชียร์Blog)

การเข้าไม่ได้ไม่ถึงจิตวิญาณของBlog ก็เหมือนหุงข้าวแล้วไฟดับ มันก็ได้ข้าวสุกๆดิบๆ กินบ่ได้นอกจากเอาไปหว่านให้ไก่ ก็ไม่แน่ว่าไก่จะท้องอืดอีกรึเปล่า การเขียนBlog ก็เหมือนการทำบุญ ถ้าไปบังคับ ออกกฎเกณฑ์ มันจะเป็นการตั้งต้นด้วยความยากแต่ถ้าเริ่มที่การแนะนำ ให้ค่อยๆซึมซับตามความพร้อมของแต่ละคน เราจะได้สมาชิกชาวBlogที่ดีมีใจและถาวร  

ประการสำคัญในวันที่เข้ามาเขียนครั้งแรกนั้น จำเป็นต้องมีคนคอยช่วยแนะนำในขั้นตอนที่ให้ดูดีเรียบร้อย เทคนิคยากๆอาจจะรอที่หลัง เอาขั้นแรกให้สอบผ่านมีคนมาอ่านมาชม แค่นี้ก็หัวใจพองโตแล้ว เกิดพลังใจที่จะทยอยนำประสบการณ์ออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ ค่อยเป็นค่อยไปแต่มั่นใจตัวเอง ขั้นตอนนี้เครือข่ายเราทำได้ดีอยู่แล้ว มีคนคอยเชียร์Blog พอๆกับคนเชียร์เบียร์ ทวีสินวิเคราะห์ ที่เต็มไปด้วยน้ำใจไมตรี แถมยังมีหลายระดับที่พร้อมเข้ามาแนะนำมือใหม่หัดเขียน สภาพการเรียนรู้ของสังคมไทยในขณะนี้ เรามีปัญหาเรื่องนี้มาก ในการประชุมกรรมการสภามหาวิทยาลัย มีการเอ่ยแว๊บๆถึงกลยุทธของครูอยู่บ้างดังเช่น 

  • ครูที่ดีควรทำหน้าที่จุดประกายให้ลูกศิษย์ได้คิด กระตือรือร้นที่จะหาคำตอบ อันจะนำไปสู่การใฝ่รู้ใฝ่เรียนโดยตัวตนของเขาเอง
  • ครูที่เอาใจลูกศิษย์ มักจะบอกว่าเธอจะต้องทำตามนี้ ทำอย่างนี้ บอกโล่งโจ้งตั้งแต่หัวจรดลงท้าย เด็กแทบไม่ต้องคิดอะไร จำเอาที่ครูบอก ทำตามที่ครูสั่งเสีย การเรียนรู้ก็เลยสาดเสียเทเสียอย่างที่เห็นๆ
  • ไม่ทราบว่าเรามีครูเปิดประกายสักกี่% และครูปิดประกายสักกี่% ถ้าพิจารณาจากการแนะนำการเขียนBlog ครูสอนผมจะมีทั้ง2อย่าง ซึ่งก็ไม่เสียหายอะไร การเรียนรู้ผมคิดว่ายังไงก็ได้ ขอแต่เรียนแล้วให้มันได้ความรู้จริงๆเถอะน่า..
  • จุดเด่นในกระบวนการของBlog ครูนักเรียนติดตามการเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างสะดวก ถ้าลูกศิษย์เปิดใจเรียน ผู้เรียนจะเร่งเกียร์เข้าไปหาครูเอง คุณครูก็ประเมินความรู้ความต้องการของลูกศิษย์ได้อย่างหมดจด เรื่องอาจจะดูง่าย แต่ถ้าจะทำอย่างจริงจัง ต้องเตรียมทั้งครูและลูกศิษย์ให้เป็นสายพันธุ์เดียวกันเสียก่อน ผมจึงชื่นชมพระอาจารย์Handyมาก ที่จะให้นักศึกษาทุนทุกคนเขียนรายงานผ่านBlog ดร.ศักดิ์พงศ์ หอมหวน นำวิธีการนี้ไปใช้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยชีวิตเช่นกัน น่าสนใจตรงนี้จะได้เด็กมีจริตชอบเรื่องนี้สักกี่% และพัฒนาไปจนเป็นคนนักศึกษาพันธุ์Blogได้กี่%

 เรื่องเล่าเช้านี้ต้องการฉุกคิดว่า แม้แต่พวกเราเองก็ยังอยู่ในบริบทของกระบวนการICT.แค่หางอึ่งเท่านั้น หนทางข้างหน้ายังต้องทำอะไรอีกมากนัก เส้นขอบฟ้าสีทองยังระเรื่อบางๆไกลโพ้นหลายปีแสง ใครเข้ามาได้แล้วก็จะรู้ว่า..โลกการเรียนรู้เพิ่งจะเปิดหน้าสารบัญเท่านั้น เส้นทางเดินของBlogยิ่งกว่าไวรัสในคอมพิวเตอร์เสียอีก ตอนนี้ผมมีที่รักมานอนเอ้งเม้งอยู่ในดวงใจหลายท่านแล้ว เกิดกลไกที่จะคิดและทำงานใหม่ๆไม่สิ้นสุด ยกตัวอย่างเช่น 

·        ได้ความคิดจากท่านสะ-มะ-นึ-กะเจ้าพ่อหัวลำโพง ทำให้เคิดว่า คราวต่อไป เราน่าจะจัดการเดินทางไปประชุมBlogโดยใช้บริการรถไฟไทยบ้าง จะได้คอยรับคอยกอดกันที่ชานชาลาในแต่ละสถานี ให้คนอื่นต๊กกะใจว่ามันเกิดอะไรขึ้น ในระหว่างการเดินทางนอกจะจากพูดคุยกันแล้ว ยังรายงานการเดินทางให้เพื่อนที่รออยู่ทุกสถานีข้างหน้าได้ทราบด้วย ลองเปลี่ยนรถบัสมาเป็นรถไฟ ถ้าสมาชิกครึ่งโบกี้ ก็เขียนป้ายผ้าติดข้างรถประชาสัมพันธ์เสียเลยว่า โบกี้นี้มีคนพันธุ์Blog จะไปประชุมที่..ถ้าใครชอบฮากรุณาขึ้นตู้นี้ 

·        การจัดประชุมระหว่างภูมิภาคในอนาคต เราอาจจะเพิ่มรูปแบบใหม่ตามความเหมาะสม มีทั้งแบบวิชาการล้วน หรือ จัดลักษณะวิชาการกึ่งวิชาเกิน เชิญคนหลายวัย เชิญครอบครัว เอาคุณญาติไปร่วมเรียนรู้ด้วย ถ้าเป็นอย่างนี้จะคุ้มค่าต่อความเหนื่อยยากในการเตรียมงาน ความประทับใจและผลลัพธ์ก็จะเกิดขึ้นเป็นเงาตามตัว บทสรุป

·        Blog ไม่ได้อยู่ที่ข้อเขียนอย่างเดียว แต่มันเข้าไปแทรกซึมอยู่ในสายเลือด สายความคิด และสายสติปัญญาของประชาคมไทย

·        ถ้าจะจัดลักษณะกึ่งวิชาการ เราอาจจะกำหนดสถานที่ประชุมให้แต่ละภูมิภาคเป็นเจ้าภาพ ต้นปีเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พิษณุโลกเป็นเจ้าภาพ เลือกวันหยุดอากาศกำลังเย็นสบาย

·        อีสานเป็นเจ้าภาพ ให้หนองคาย อุบลฯ มุกดาหาร นครพนม จัดช่วงหน้าฝน อากาศไม่ร้อน

·        ภาคใต้ควรเป็นเจ้าภาพช่วงหนาว จะได้ไปชมทะเล ชายหาด ที่คนไม่พลุกพล่าน หาดใหญ่ ยะลา ปัตตานี นครศรีธรรมราช เลือกได้ตามความกล้าหาญ ถ้าอยากตื่นเต้นก็จัดที่ยะลา จะเป็นไรไปเล่า เราประชาสัมพันธ์ได้นี่ว่าอย่ามากวนเรานะ  

สรุปว่าแนวทางนี้เป็นการจัดงานแบบอิงระบบ และเป็นไปตามอัธยาศัย ที่ได้ประโยชน์ 5 อย่าง ใครอยากเป็นแนวร่วมกรุณาช่วยหาเหตุผลมาอธิบาย ดีไหมครับ อิอิ. 

หมายเลขบันทึก: 117011เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2007 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)

รูปใหม่คุณพ่อเท่ห์ดีครับ...

คุณพ่อครับ ด้วยกระแสการจัดงานที่เชียงใหม่ ผมเองก็รับทั้งบวกและยังคลางแคลงใจบ้าง อยากให้คุณพ่อติดตามความรู้สึกของพวกเราตรงนี้ครับ

P "ความเห็นและความเป็นมา" ของงานสัมมนาการจัดการความรู้ ที่เชียงใหม่

  • กราบสวัสดีครับพ่อครู
  • เห็นรูปใหม่แล้ว แทบจำไม่ได้เลยครับ นึกว่าหนุ่มที่ไหน  เอ๊ะ รึว่า blogger หน้าใหม่รึเปล่า 55555555
  • มองด้วยตา  เห็นได้ด้วยหัวใจ  เกิดขึ้นได้จริง ๆ ที่นี่  G2K ครับ
  • ขอบพระคุณครับ

สวัสดีค่ะพ่อครูบา

มาตามเกี่ยวเกี่ยวความรู้  ขอเป็นกำลังใจในการทำงานค่ะ 

สวัสดีครับ
   ตามมาเก็บแง่คิด และความรู้ครับ  และมีข่าวแจ้งว่าน่าจะลอง คลิก ที่นี่ ดูนะครับ  ที่ว่าเซ็งอาจลดน้อยถอยลงได้บ้าง มีรูปใครต่อใครไม่ทราบได้ ดูดี๊ดีครับ

สวัสดีค่ะพ่อครู

  • กำลังแปลกใจกับโฉมใหม่ค่ะต้องเล็งนิดหน่อย(แอบดูชื่อถึงรู้ว่าเป็นพ่อครูนั่นเอง)
  • ชอบบล๊อกนี้ตั้งแต่ประโยคแรก จนถึงประโยคสุดท้าย แบบว่า โดนสุด ๆ (ภาษาวัยรุ่น อิ อิ)
  • ขอบคุณมากค่ะที่ทำให้ราณีได้อ่านแนวความคิดดี ๆ และจะนำไปใช้ค่ะ

สวัสดีค่ะ....ครูบาสุทธินันท์

  • ครูอ้อยรู้สึกว่า...จะเป็นโจทย์ข้อหนึ่งจึงไม่ขอออกความคิดเห็นเรื่องนี้ค่ะ
  • แต่จะมาบอกว่า...ครูอ้อยชอบการเดินทางรถไฟค่ะ...หลายครั้งแล้ว  เราไม่เคยผิดหวัง   ยิ่งต่อจากนี้ไป  ต้องรายงานด้วยระบบ  GPRS ด้วย  รถไฟเยี่ยมอยู่แล้วค่ะ
  • ไปล่ะค่ะเดี๋ยวะว่าครูอ้อยประชาสัมพันธ์ให้การรถไฟฯ   อิอิ

เรียนครูบาที่เคารพ

เห็นด้วยมากๆค่ะ และแป๋วก็ได้ลองถามที่สถานที่ที่พ่อครูบาบอกว่า...ฝากไว้ก่อน....แล้วค่ะ มีคำตอบที่น่าสนใจมากดังนี้ค่ะ

P
บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)
เมื่อ ส. 04 ส.ค. 2550 @ 20:27 [ 339851 ] จาก 125.26.139.70 ลบ

อาจารย์แป๋วครับ  P paew

  • สำหรับแนวคิดจัดเฮฮาศาสตร์ที่ดงหลวงนั้น หากทุกท่านเห็นด้วยก็ยินดีครับ ไม่ต้องเฮฮาศาสตร์ก็ได้ แบบเที่ยวดูธรรมชาติ ดูชาวบ้าน ดูกิจกรรมต่างๆก็ได้ยินดีพาเที่ยวและมีที่พักที่สะดวกที่จัดได้ครับ หากสนใจจะนำเสนอรายการให้เมื่อหลายคนเห็นด้วยครับ
  • หากเป็นช่วงฤดูหนาวประมาณ ธันวาคม มกราคม ไม่เกิน กุมภาพันธ์  อาจจะตั้งประเด็นว่า เที่ยวัดที่หลากหลายของเขตนี้ก็ได้
  • เออน่าสนใจนะ เช่น
  • วัดบนยอดเขาที่เจ้านายในวังมาสร้างขึ้น
  • วัดที่ไม่มีพระของชาวไทโซ่ แต่ใช้คนห่มขาวทำพิธี
  • วัดที่เป็นที่ตั้งเจดีย์พ่อปู่องค์ดำ ที่เป็นที่เคารพของไทโซ่
  • วัด(สำนักสงฆ์) ที่พระมาใช้ปฏิบัติธรรมและดูแลรักษาป่าด้วย
  • ไปเยี่ยมวัดบนหน้าผาสูงกลางป่า (รถขึ้นถึง)
  • ไปดูภูเขาไฟ 
  • ไปกราบพระธาตุพนมที่ยิ่งใหญ่
  • ไปดูวัดศาสนาคริสที่ได้รางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นของอาเชี่ยน (สวยมากในทัศนผม)
  • แล้วจะข้ามไปเมืองสะหวันนะเขตไปกราบพระธาตอิงฮังซึ่งเป็นพระธาตุคู่กับพระธาตุพนม  เอ้า ว่าจะอุบไว้ก่อน 
  • ที่หลับที่นอนไม่ต้องห่วง ที่กิน ไม่ต้องห่วง แต่แนะนำไปช่วงฤดูหนาว
  • ยินดียิ่งครับ
  • นึกว่า blogger รูปหล่อที่ไหน
  • มาสนับสนุนว่าในแต่ละภาคสามารถจัดได้แน่นอนครับผม
  • ขอบคุณครับ

P

  • อย่านั่งงงเลยรูปหล่อ เชียงใหม่ทำงานนำร่องให้เพื่อนๆทั่วประเทศได้เจอกันในรูปแบบที่สุดยอดแล้ว
  • แสดงพลังของชาวบล็อกเราให้กลุ่มอื่นเขาเห็น ว่าอนุภาพพวกเราเป็นอย่างไร
  • ผมยังนึกแง่ลบไม่ออกว่ามันคืออะไร
  •  เพียงแต่อยากจะลองนัดพวกเราเดินทางโดยรถไฟ ตอนแรก็นึกไม่ถึง ถ้าขาใหญ่แถวหัวลำโพงไปเปรยออกมา เราถึงเอ๋อตาม..
  • ถ้าเราไปเชียงใหม่โดยรถไฟ นัดหมายกันขบวนนั้นโบกี้นี้ รับกันไปทีละสถานี
  • เอกเอ๋ย งานที่เชียงใหม่จะฮาแตกตั้งแต่เริ่มเดินทาง เลยละ
  • เอาไว้ไปวางแผนจัดกันใหม่ หารือกันเอาให้จ๊าบขนาดไหนก็ได้ โดยเอากรณีเชียงใหม่เป็นตัวอย่าง ซึ่งทำได้สมบูรณ์แบบอยู่แล้ว เพียงจะเสริมอะไรๆเข้าไป เช่นการเดินทางอย่างที่ว่า ..ตีกลองสะบัดไชยใหเสถานีรถไฟเชียงใหม่ระเบิดเป็นข่าว อาจจะมีชาวต่างชาติมาร่วมเสวนาด้วย อาจารย์พิชัยก็จะเป็นเจ้าภาพระดับนานาชาติในโอกาสต่อไป 

 

P

เห็นโปรแกรมของท่านบางทรายแล้วดิ้นปัดๆ ไม่ทราบว่าไปทางรถไฟได้ไหมครับ

รายการนี้คงไปแบบเจียมเจี้ยมศาสตร์ เพราะไปหาพระหาเจ้า ต้องฮาในใจ อิอิ ทำให้เป็นจริงเถอะเจ้าประคู้ณ

สุดจะหาคำใดมาเอื้อนเอ่ย พ่อครูมีรักและปรารถนาดีใส่ใจเสมอกับทุกเรื่องราว กราบขอบพระคุณพ่อครูคะ

พ่อครูครับ

  • ออตไปกรุงเทพฯจะนั่งรถไฟครับ ตู้นอนสบายมาก อ่านหนังสือได้ด้วย
  • ในรถคิดเพลินจินตนาการได้มาก
  • เฮฮาศาสตร์แบบสัญจรด้วยรถไฟก็ดีครับ
  • รถไฟเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมทั้งเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาฯลฯ

P

P

P

มีคนเห็นด้วยกับการรถไฟเยอะ

  • กรุงเทพ-เชียงใหม่
  • กรุงเทพ-อุบล
  • กรุงเทพ-หนองคาย
  • กรุงเทพ-หาดใหญ่
  • จัดไปได้ บรรยากาศสนุกแน่ ชวนลูกหลานไปด้วยได้ เตรียมอาหารไปคนละหมุบคนละหมับ สนุกตลอดการเดินทาง

สวัสดีค่ะพ่อครูขา

แบบนี้มหาสารคามก็อดสิคะ  รถไฟไม่ผ่านอ่ะค่ะ

สวัสดีค่ะพ่อครูฯ

       มาเห็นด้วยกับการเดินทางโดยรถไฟ  แต่ระวังนิดนึงนะคะ  งานนี้คงต้องอธิบายให้น้องฟ้าเข้าใจว่า  การกดปุ่มฉุกเฉินบนรถไฟ  ถึงแม้เราจะมีเงินจ่ายค่าปรับ แต่ก็ไม่ควรทำอย่างยิ่งเลยค่ะ

      นึกถึงทีไรแล้วยังขำไม่หายเลยค่ะ

พี่หนิงครับ

รถไฟขบวนสุดท้ายก็ไม่มีเหรอครับ !!!

สวัสดีครับท่านพ่อครูบา

  • รถประชุมปรับอากาศเช่าเหมาพ่วงท้ายขบวนคิดวันละ 15,000 บาท
  • ส่วนตู้โดยสารรถนอนแล้วแต่จะเลือกมีหลายระดับ
  • ถ้าชักชวนผู้บริหารร่วมวงเสวนาได้  อาจมีฟรีครับ
  • งานนี้ต้องให้ท่านพ่อครูบาฯหรือแม่จุ๋มโชว์ฝีปากครับ

P

  • ขอบคุณมากครับ เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมาก
  • เจ้าภาพไหนจะจัดประชุมลองพิจารณาข้อมูลการเดินทางด้วยรถไฟดูนะครับ อาจจะพบวิธีการที่แปลกใหม่ได้บรรยากาศอีกแบบหนึ่ง

 

  • ครูที่ดีควรทำหน้าที่จุดประกายให้ลูกศิษย์ได้คิด กระตือรือร้นที่จะหาคำตอบ อันจะนำไปสู่การใฝ่รู้ใฝ่เรียนโดยตัวตนของเขาเอง
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
  • ควรร่วมกันตั้งแต่ระดับประถม  พอถึงระดับอุดมศึกษา 
  • ถึงตอนนั้น  โครงงานต่าง ๆ ที่นักเรียนเป็นเพียงร่างทรง  จะได้หายไป
  • ขอบคุณครับ

P

สารคามรถไฟไม่ผ่าน ต้องเดินทางด้วยรถซาเล๊ง!!!

พ่อคะ

เชียงใหม่ก็จัดแล้ว

เหลือ

  • กรุงเทพ-อุบล
  • กรุงเทพ-หนองคาย
  • กรุงเทพ-หาดใหญ่
  • หนาวหน้าดีไหมพ่อ

    ตื่นเต้น ๆ ๆ ๆ ๆ

    ข้อมูลคุณ สะมะนึกะ น่าสนใจมาก เริ่มจากส่วนกลาง

    ประชุมบนรถไฟ บรรเลง บรรลัย ไม่ไล่ไม่เลิก (หนีไปชมดาว ชมเดือนคนเดียวไม่ได้ด้วย...)

    ขอบคุณบันทึกนี้ของพ่อ  จะต่อยอดที่จะไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ สสจ.ตรัง 9 -10 สค.นี้ค่ะ

    ประการสำคัญในวันที่เข้ามาเขียนครั้งแรกนั้น จำเป็นต้องมีคนคอยช่วยแนะนำในขั้นตอนที่ให้ดูดีเรียบร้อย เทคนิคยากๆอาจจะรอที่หลัง เอาขั้นแรกให้สอบผ่านมีคนมาอ่านมาชม แค่นี้ก็หัวใจพองโตแล้ว เกิดพลังใจที่จะทยอยนำประสบการณ์ออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ ค่อยเป็นค่อยไปแต่มั่นใจตัวเอง ขั้นตอนนี้เครือข่ายเราทำได้ดีอยู่แล้ว มีคนคอยเชียร์Blog พอๆกับคนเชียร์เบียร์ ทวีสินวิเคราะห์ ที่เต็มไปด้วยน้ำใจไมตรี แถมยังมีหลายระดับที่พร้อมเข้ามาแนะนำมือใหม่หัดเขียน

    สวัสดีครับท่านครูบาครับ 

    ผมคิดว่าหมี่โคราชบนรถไฟจะเป็นอะไรที่หาไม่ได้อีกแล้วครับ สุดยอด จริงๆ

    ราคาน่าสนใจครับท่านครูบาเหมาห้องประชุมบนโบกี้รถไฟ

    ส่วนดงหลวงนั้นเมื่อไหร่ก็ได้ เอาเก็บไว้ในกระเป๋าก่อน หากไปที่อื่นจนครบแล้วเบื่อๆก็เปลี่ยนบรรยากาศได้ครับ

    สำหรับดงหลวงนอกจากวัดแล้ว การเดินป่าก็น่าสนใจครับ เดินป่าสักวันเต็มๆ นอนที่วัดริมหน้าผาบนยอดดอย

    เดินทางดูอะไรหรือ ?

    • สมุนไพรป่า
    • พืชที่กินได้
    • ประวัติศาสตร์ของป่าสมัย ผกค.
    • การเก็บผึ้งบนหน้าผา
    • ดูต้นผักหวานป่า
    • ดูพื้นที่ทำนาบนยอดดอยสมัยก่อน
    • ดูต้นไม้ใหญ่ๆที่ยังหลงเหลืออยู่
    • ความหลากหลายทางชีวภาพของป่า
    • ทำไมชาวบ้านเข้าป่าทุกวัน เข้าไปทำอะไร
    • ทำไมพระต้องไปสร้างสำนักสงฆ์บนป่า  
    • ฯลฯ

    ว่าแต่ว่าเดินกันไหวหรือเปล่า อาจจะหามใส่เปลบ้างนะครับ สำนักสงฆ์บนยอดเขา รถ 4w ขึ้นได้ครับ

    เสนอเป็นทางเลือกอีก 2 ปีข้างหน้าครับ

       ใครมาชมท่านพ่อ ครูบาฯ ว่าหล่อ ว่าเท่ จ่ายตังด้วยครับ .. ผมตามมาเก็บเงินในฐานะผู้จุดชนวน ให้นำรูปนี้ขึ้นแทนรูปเดิม .. หลักฐานมีพร้อม อยู่ ที่นี่ ครับ
    • P
    • รูปเดิมกำลังใช้ NoteBook PC
    • รูปใหม่ พัฒนามาใช้ Pocket PC แล้วครับ
    • นับถือ ๆ ครับ แต่เอทำไมต้องเป็นรูป ยกมือซ้ายด้วยหน้อ ??? ท่านพ่อครู
    • โปรแกรมของท่าน บางทราย P จะต้องพยายามไม่ให้พลาดครับ ตอนนี้กำลังลุ้นให้คนที่บ้าน สนใจ Blog เหมือน ครูอ้อย P อยู่ครับ

    สวัสดี ชาว Blog

    บันทึกนี้ไม่โพสต์  เข้ามาแจมไม่ได้สะแล้ว ...  เดี๋ยวตก รุ่น

    พ่อครู ของเรา กิ๊บ เก๋   มากๆเลย ... อิ อิ

     

    P

    รายการของท่านบางทรายถ้ารอถึง2ปี ขาดใจแน่ๆเลย ขอเป็นปีหน้าได้ไหมครับ ส่วนจะเป็นช่วงไหนให้อาจารย์แป๋ว วางแผน

     

     

    ตามมาเก็บเกี่ยวความรู้สำหรับคุณครูผู้ใฝ่หาความรู้ครับ พ่อครู

     

    • กราบสวัสดีครับพ่อครู
    • มาบอกครับว่า  พี่เสือ หรือ ครูเสือ ของเด็ก ๆ ก็เปลี่ยนรูปเหมือนกันครับ
    • เท่ห์ไม่หยอกเลยครับสำหรับสิงห์นักบิดผู้นี้                   
    P

    P

    P

  • มาบอกครับว่า  พี่เสือ หรือ ครูเสือ ของเด็ก ๆ ก็เปลี่ยนรูปเหมือนกันครับ
  • เท่ห์ไม่หยอกเลยครับสำหรับสิงห์นักบิดผู้นี้                   
  • P
    นี่แหละพระเอกเรื่อง สิงห์นักบิดตัวจริง เห็นด้วยว่าดีกว่ารูปเดิม
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท