เพื่อนช่วยเพื่อน..กองพัฒนาการเกษตรพื้นที่เฉพาะดูงานKMที่เกษตรกำแพงเพชร (ตอนที่ 3)


ฝึกเป็นคุณลิขิต-อำนวย คือให้ทำKMแบบไม่รู้ตัว (เนียน)

ลิงค์อ่านวันแรก(9 ส.ค.49) 

ภาคบ่าย (10 ส.ค. 49)

          หลังจากภาคเช้าทีมงานจากกองพัมนาการเกษตรพื้นที่เฉพาะได้เข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ณ กลุ่มศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร (ลิงค์อ่านภาคเช้า)  เวลาประมาณบ่ายโมงครึ่ง ก็มาถึงจุดการศึกษาดูงานจุดที่สอง ที่บ้านนาป่าแดง ตำบลคุยบ้านโอง  อำเภอพรานกระต่าย  ซึ่งจุดนี้เป็นกลุ่มเกษตรธรรมชาติ และมีกิจกรรมที่หลากหลายตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงกันทั้งชุมชนในลักษณะของการเป็นเครือข่ายการเรียนรู้

          ที่บ้านนาป่าแดงนี้  เป็นจุดการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของอำเภอพรานกระต่าย  ด้วยความร่วมมือกันจากทุกหน่วยงานทั้งส่วนราชการ  อปท. ผู้นำและชาวบ้าน วันที่เราไปดูงานมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่สมาชิกของ ธกส.อำเภอพรานกระต่าย  มีการจัดการ ลปรร. 4 ฐาน โดยใช้ชาวบ้านสอนชาวบ้าน (รายละเอียดผมจะนำเสนอในบันทึกต่อๆไปครับ)  คณะที่ไปศึกษาดูงานก็ได้มีโอกาส ลปรร.กับทีมนำของที่นี่จำนวน 7 ท่าน  ช่วยเล่าความเป็นมาและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านตั้งแต่เริ่มต้นจนมาถึงทุกวันนี้

 


ทีมของศูนย์การเรียนรู้ที่ร่วมเล่าประสบการณ์


บรรยากาศของการ ลปรร.

 

          นอกจากนั้นยังได้มีการชมกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้ ซึ่งมีทั้งกิจกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ น้ำส้มควันไม้ ฯลฯ

 
ผอ.สุรัตน์ สนใจการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เลยซักถาม จนท. ธกส.และนักส่งเสริมฯ ถึงรายละเอียดต่างๆ

  • ทีมเยือนสนใจและเก็บรายละเอียดอย่างใจจดจ่อ

 จดๆ จ้องๆ   

 

  • ในขณะที่มีการ ลปรร. พี่สายัณห์ ก็ใช้วิธีดันหลัง ให้ทีมเยือนฝึกการบันทึกและจับประเด็น ฝึกเป็นคุณลิขิต-อำนวย คือให้ทำKMแบบไม่รู้ตัว(เนียน)  แล้วค่อยไปเฉลยกันทีหลัง  ซึ่งคุณมนัส  เสียงก้อง ก็ได้ทำหน้าที่บันทึกและจับประเด็นได้อย่างดีเยียม

คุณมนัส เสียงก้อง ฝึกจับประเด็น/บันทึก

          จากนั้นเวลาประมาณ 15. 00 น. ทีมงานก็เดินทางไปยังจุดที่ 3 เป็นกิจกรรมการจัดกระบวนการ ลปรร. ของเกษตรกรที่ปลูกผัก ตำบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย  โดยมีคุณวาด  วานิช เกษตรอำเภอ และคุณเสนาะ ยิ้มสบาย นักส่งเสริมฯ และเกษตรกรได้ร่วมเล่าประสบการณ์ และ ลปรร. กับทีมที่มาศึกษาดูงานในครั้งนี้

 
บรรยากาศการ ลปรร. กับเกษตรกผู้ปลูกผัก


          ในระหว่างที่เราเดินทางกลับ  ก็มีการทำ AAR กันบนรถตู้ ในประเด็นหลักๆ ที่ได้เรียนรู้กระบวนการส่งเสริมการเกษตรที่นำการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือสนับสนุนการ ลปรร.ของเกษตรกรทั้ง 3 จุดที่เราได้ไปศึกษาดูงานในวันนี้ โดยทุกคนได้เล่าสิ่งที่ได้เห็นและได้เรียนรู้จากการไปศึกษาดูงานในวันนี้

       

บรรยากาศของการทำ AAR ทั้งในบนรถและในห้องประชุม

          การทำ AAR ยังไม่จบแค่นั้น ยังมีการดำเนินต่อที่ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรจนเลยเวลาหกโมงเย็นไปแล้วกระบวนการศึกษาดูงานในวันนี้จึงเสร็จสิ้น   แต่ก็ยังมีการบ้านให้กับทีมกลับไปทำต่อที่โรงแรมที่พักก็คือ   การเขียนบันทึกผลการศึกษาดูงาน ใน 4 ประเด็น โดยแบ่งกันเขียน (เพราะทีมงานของกองที่มานี้ มาจาก 4 กลุ่มงาน) คือแต่ละประเด็นเป็นการสรุปการ ลปรร.จาก จุดที่ 1,2 ,3 และ สรุปภาพรวมทั้งหมด (ประเด็นสุดท้ายนี้ ผอ.สุรัตน์ สงวนทรัพย์ รับเขียนเอง)

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

หมายเลขบันทึก: 44432เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2006 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
    สุดยอดเลยพี่ ผมจะนำไป "หยบ" ใช้บ้าง

เรียน อาจารย์ชายขอบ

        ยินดีมากครับหากได้ใช้ประโยชน์ในงานของท่านชายขอบ  ช่วยเล่าต่อด้วยนะครับ

        สวัสดี...วันแม่ครับ

  • ดีใจมาก ๆ เลยครับ ที่มีคนสนใจจังหวัดกำแพงเพชรของเราครับ
  • ต้องขอบคุณพี่วีรยุทธมาก ๆ ครับที่ทำงาน KM จนประสบความสำเร็จ และสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดกำแพงเพชรของเราครับ

เรียน อาจารย์ปภังกร

  • ขอบพระคุณอาจารย์ปภังกรมากเลยครับที่ให้กำลังใจ
  • ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร เราก็อยู่ในระยะเริ่มต้นของการดำเนินการครับ ทำได้ในระดับหนึ่ง
  • ต้องค่อยๆ ขยายวงการ ลปรร. ทั้งส่วนที่เป็นเจ้าหน้าที่ (นักส่งเสริมการเกษตร) เกษตรกร และเครือข่ายผู้ที่สนใจ
  • ในจังหวัดกำแพงเพชร บุคคล  หน่วยงานหรือองค์กรใดต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ก็ยินดีนะครับ (ขอเชิญชวน)

ทีม กพฉ. เข้มแข็งจริงๆ โดยเฉพาะผอ.สุรัตน์ คุณมนัส ทีมกำแพงเพชรมีใจเอื้อเฟ้อดีจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท