AAR : การประชุม "KM มมส. ไม่ทำไม่ได้แล้ว" (14 ธ.ค.49)


เท่าที่มีก็เป็นการทำแบบยังไม่เต็มรูปแบบ (KM เทียม) ดังนั้นทีม B ควรช่วยเรื่อง เทคนิค และส่งเสริมให้เกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ ป้องกันการตก หลุมดำ

อ่านเรื่องเล่าการประชุมครั้งนี้จาก เรื่องเล่าของ...

- ดร.อรรณพ : แผนการจัดการความรู้ มมส. ปี 2550
- กัมปนาท : (AAR-Morning) สิ่งที่ได้จากการดู VDO รพ.บ้านตาก และจากผู้เข้าร่วมประชุม ในวันนี้


        ส่วนผม...คงไม่เล่าในรายละเอียดครับ ขอ Reflection เพื่อพัฒนา KM ในแบบฉบับหรือบริบท มมส. ครับ ...ขอแทนเรื่องเล่าจากภาพด้านล่าง เพราะว่า ภาพหนึ่งภาพแทนคำบรรยายได้...

AAR... ผมเป็นอย่างไร?

1. เป้าหมายการเข้าร่วมประชุม
    
- จุดประกายให้ประชาคม มมส. เล็งเห็นคุณค่าของการทำ KM 
     - สื่อสารทิศทางของ KV (Knowledge Vision) ให้ประชาคม มมส. เดินได้อย่างถูกทิศทางและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
 
2. สิ่งที่ได้มากกว่าที่คาดหมาย
    - มีผู้สนใจตอบรับการจัดทำ KM มากพอสมควร และตั้งใจร่วมประชุมโดยไม่โดด (เป็นส่วนมาก)

3. สิ่งที่ได้น้อยกว่าความคาดหมาย
    - ช่วงท้ายการประชุมยังมีการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่อง KM, QA, ก.พ.ร. จากตัวแทนหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมฯ น้อยมากๆ 
   -  แผนดำเนินงานหรือการเตรียมการเรื่องข้อตกลงการทำงานร่วมกันระหว่างทีม A, B และ C ยังมีน้อย..ฉะนั้นทีม B (ฐานะเจ้าภาพ) 
   - รายละเอียดด้านการดำเนินงาน KM ของหน่วยงาน (C) ยังมีน้อยมาก หรือเท่าที่มีก็เป็นการทำแบบยังไม่เต็มรูปแบบ (KM เทียม) ดังนั้นทีม B ควรช่วยเรื่อง เทคนิค และส่งเสริมให้เกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ ป้องกันการตก หลุมดำ

4. คำแนะนำหากมีการประชุมแบบนี้อีก
    - ทีม B (MSU-KM Team) ควรทำ AAR หลังการประชุมฯ เพื่อปรับแก้ข้อบกพร่อง ...ไม่ควรเป็นฝ่ายพูดอย่างเดียว ควรรับฟังทีม C ฟังอย่างที่เรียกว่า Deep Listening แล้วจะด้ข้อมูลมากกว่านี้
    - การเตรียมการเรื่องข้อตกลงการทำงานร่วมกันระหว่างทีม A, B และ C ยังมีน้อยค่อนข้างน้อย (จากการซักถามในที่ประชุม)
    - ทีม B ควรทำ BAR ให้ชัดเจนกว่านี้

5. สิ่งที่จะกลับไปทำ
   - กำหนดและดำเนินการ KM ในเชิงรุกมากยิ่งขึ้น
   - ทีม B ประสานพลังกันทำงานในเชิงรุกมากยิ่งขึ้น

วิชิต
MSU-KM Team

หมายเลขบันทึก: 67378เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2006 06:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อย่างที่ผมมีข้อคิดเห็นในบันทึกของท่านอาจารย์อรรณพ ที่ว่า,,,,,

  • อาจเป็นเพราะสิ่งหนึ่งทาง KM-Team ได้มีการทำการบ้าน (BAR) ร่วมกัน และทบทวน (AAR) ทุกครั้ง ตามหลักของวงจรคุณภาพ PDCA
  • ครั้งต่อไปคงจะมีการสื่อสาร แบบ 50 : 50 หมายถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก KM-Team ครึ่งหนึ่ง จากหน่วยงานที่เข้าร่วมครึ่งหนึ่ง บรรยากาศก็จะเป็นกันเองมากขึ้นตามลำดับครับ
  • ตอนนี้อาจจะยังอยู่ในสัดส่วน 80 : 20
  • สำหรับการพบปะกันครั้งต่อไปเราอาจจะไม่ทำในลักษณะของ "การประชุม" อาจจะเป็นการเชิญมาร่วม "เสวนา"

    โดยบรรยากาศ KM-Team อาจนั่งกระจายอยู่ทั่วห้องให้กลมกลืนกับผู้เข้าร่วม การแต่งกายอาจใส่เสื้อผ้าทั่วๆไปให้ดูเป็นทีมเดียวกันทั้งห้อง

    ก่อนกลับมาบางผมกระซิบถามผมว่า CoPs คือ อะไร แต่ผมไม่บอกปล่อยให้งง

    ปล.ข้อคิเห็นนี้อาจใช้คำว่า "อาจ" มากเกินไป เพราะยังไม่กล้าฟันธง เป็นการกล่าวกว้างๆ ครับ

    • ผมคิดว่าเป็นการตั้งต้นที่ดีครับ
    • ในครั้งต่อ ๆ ไปต้องดีขึ้นแน่นอน
    • เรื่องเสื้อทีมครั้งนี้ ต้องการเป็นตัวกระตุ้นครับ ไม่ใช่แยกพวก
    • คนที่เข้ามาผมคิดว่า  จำนวนหนึ่งยังไม่ Open Mind ครับ ยังไม่พร้อมที่จะ Share ครับ
    • ขอบคุณพี่วิชิตและคุณกัมปนาท ครับ
    • ผมคงจะตีพิมพ์ AAR เร็วๆนี้ครับ
    • ผมคิดว่าสัดส่วน การสื่อสาร/การลปรร.ระหว่าง B : C น่าจะให้สัดส่วน C มากกว่า B ครับ เช่น 30 : 70
    • ผมเห็นด้วยกับคุณกัมปนาทในส่วนที่ว่ากิจกรรมครั้งต่อไปควรมีลักษณะ "ไม่เป็นทางการ" มากกว่า  เพื่อจะได้ส่งเสริมบรรยากาศการ ลปรร. ซึ่งการ ลปรร. มีความหมายมากว่า การถาม-ตอบ เยอะเลยครับ  และที่สำคัญการ ลปรร. จะทำได้ต้องมีบุคคลหรือกลุ่มคนตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป ไม่ใช่เป็นการพูด/นำเสนอของฝ่ายใด-ฝ่ายหนึ่งเพียงอย่างเดียว
    • ขอบคุณครับ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท