สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยที่ประชาชนต้องการ


สวัสดีครับทุกท่่าน

        สบายดีกันนะครับ ฉันคือประชาชนวันนี้ ขอนำเสนอมหาวิทยาลัย โรงเรียน หรือ สถาบันการศึกษาที่ประชาชนหรือชุมชนต้องการ นะครับ

อันนี้ผมเริ่มจากที่ผมต้องการก่อนนะครับ หากท่านประชาชนท่านอื่น ต้องการอย่างไร ก็ช่วยกันเพิ่มเติมนะครับ

  1. มหาวิทยาลัยที่ไม่สูงเหยียดฟ้า และไม่ต้องเอื้อมก็เข้าถึง
  2. เน้นการศึกษาภาคชุมชนเป็นสำคัญ อยู่กับประชาชน ชุมชน สังคม
  3. เป็นที่พึ่งของชุมชนได้ ทำวิจัยกับชุมชนได้
  4. เป็นเพื่อนของประชาชน และให้และรับฟังความเห็นของประชาชนตลอดระยะเวลา
  5. กลมกลืนเข้ากับชุมชนรอบข้างอย่างไม่มีรั้วหรือกำแพงกั้นทั้งรูปและนามธรรม
  6. ไม่มองแต่ผลประโยชน์ตัวเอง หรือผลประโยชน์ที่บุคลากรในองค์กรจะได้รับเพียงแต่ฝ่ายเดียว
  7. สร้างคนดีมีหัวใจพัฒนาเพื่อชุมชน ออกมาให้อยู่กับชุมชน ไม่ใช่ส่งออกแต่ตลาดแรงงาน ไปเป็นลูกจ้างเขาแต่อย่างเดียว
  8. สร้างคนให้เป็นคน และอยู่กับชุมชนได้ ไม่ลืมรากเหง้าหรือดูถูกเหยียดหยามชุมชนบ้านเกิด
  9. ร่วมเรียนรู้กับปราชญ์ หรือคนในชุมชนได้ โดยทำงานร่วมกันกับนักศึกษา ให้ันักศึกษาลงไปคลุกคลีกับชุมชนรอบข้าง และีนักวิชาการคลุกดิน เคียงดิน ร่วมกับชุมชนได้
  10. ควรจะเข้าถึงหัวใจของชุมชนและเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชนได้ในยามมีปัญหา และร่วมฟื้นฟูปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  11. ค่าเล่าเรียนไม่สูงเหยียดฟ้า ที่ลูกชาวนา เด็กสลัม อย่างเราๆ จะเข้าได้ เรียนได้
  12. เป็นสถาับันที่ไม่เน้นธุรกิจการศึกษา มากเกินไป
  13. มีการให้ด้วยความจริง โดยไม่อ้างประชาชนเวลาจะขอให้โครงการผ่าน แต่พอโครงการผ่านต้องอยู่เป็นเืพื่อนกับประชาชนด้วย
  14. ผลลัพธ์ของสถาบันการศึกษาสามารถประกอบอาชีพในชุมชน และร่วมกับชุมชนได
  15. มหาวิทยาลัย นักศึกษา ต้องร่วมกันสร้างผลงานร่วมกับประชาชน เพื่อพัฒนาสังคมต่างๆ ให้มีความยั่งยืนก้าวหน้า สร้างความสุขสมานฉันท์ต่อสังคมได้้
  16. มหาวิทยาลัย ต้องเป็นกระบอกเสียง ชี้นำแนวทางให้กับสังคมได้ ในยามที่สังคมมีปัญหาและเจอวิกฤต
  17. รายวิชาที่เปิดสอน ควรจะเป็นรายวิชาทำมาหากินได้ด้วย นอกจากจะมีแต่สิ่งที่จับต้องไม่ได้ หรือเข้าถึงยาก โดยเน้นทั้งทฤษฏีและปฏิบัติไปพร้อมๆ กันด้วย
  18. สิ่งที่เรียนของลูกหลานของคนในพื้นที่ ควรจะมีเนื้อหาของชุมชนอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการพัฒนา หรืออนาคต หรืออื่นๆ
  19. รับคนในพื้นที่เข้าไปเรียนด้วย เพื่อให้มหาวิทยาลัยเชื่อมโยงกับท้องถิ่นได้อย่างกลมกลืน แต่ให้มีอัตราส่วนที่เหมาะสมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ ต่างถิ่นฐานในสถานบันเดียวกัน
  20. มีกิจกรรมนอกห้องเรียน นอกรั้วมหาวิทยาลัยให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติ เป็นผู้ให้ที่แท้จริง คืนสู่ชุมชนได้ด้วย
  21. อื่นๆ ช่วยกันเติมนะครับ.....
จะเห็นว่าิ่สิ่งที่ผมคาดหวังนั้น แค่ให้อยู่กับชุมชน และสังคม แค่นั้นเองครับ แล้วฐานทุกๆ ฐานจะทำให้เราผู้เป็นประชาชนนั้นไม่หัวเดียวกระเทียมลีบเน่า ลอยน้ำยามฝนตกน้ำท่วม หากท่านๆ ทำได้อย่างนี้ พวกเราเหล่าประชาชนจะชื่นชม ชื่นชูท่านให้เจริญยิ่งๆ ไปในทุกๆ สมัย และทุกชาติภพ

กราบขอบพระคุณครับ หากผมเขียนข้อใดประการใดผิดพลาดไป กระผมในฐานะประชาชนคนหนึ่งกราบขออภัยมา ณ โอกาสนี้ ด้วยครับ 

ขอให้ท่านผู้นำการศึกษา และเป็นผลผลิตแห่งการศึกษาไทย จงจำเริญ อายุมั่นขวัญยืนตลอดไป

ลูกชาวนา
ประชาชนคนหนึ่ง 

 

ปล.ไว้ตอนต่อไปจะค่อยเขียน ลางบอกเหตุว่า สถาบันการศึกษากำลังจะเจ๊ง ประชาชนฟันธง!!!
 

หมายเลขบันทึก: 160371เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2008 02:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • สถาบันที่อยู่ในใจของสังคม มีหรือไม่ก็ไม่รู้ แต่เครดิตของแต่ละแห่งมีแน่ๆ รู้กันอยู่ในที ตรงนี้ ถ้ารับผิดชอบก็จะพัฒนาไปได้เร็ว
  • ในยุคของการปรับตัว พวกหนึ่งจะก้าวหน้าเข้มแข็ง แต่พวกหนึ่งอาจจะเละตุ้มเปะลง อย่านึกว่ามหาวิทยาลัยเจ๊งไม่ได้ ปิดตัวเองไม่ได้ คนเมินไม่ไปเรียนเมื่อไหร่ก็หนาว ตอนนี้ก็เริ่มมีปรากฎการณ์บ้างแล้ว

กราบสวัสดีครับท่านครู ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

       สบายดีนะครับ กราบขอบพระคุณงามๆ ครับสำหรับการตอบสนองที่รวดเร็วทันใจมากครับ ผมเชื่อว่าแต่ละสถาบันมีการประเมินตัวเองอยู่อย่างสม่ำเสมอแน่นอนครับ

        ผมว่าโรงอาหารที่จะบังคับแต่ให้นักศึกษาิกินอะไรก็ได้ หรือจะำทำอะไรก็ต้องกินอย่างนั้น กำลังจะพังนะครับ วันหนึ่ง เด็กเบื่อแล้วไม่กินอาหารขึ้นมา โรงอาหารคงล่มไม่เป็นท่าแน่ๆ ครับ เชฟคงต้องปรับปรุงฝีมือทั้งในการจัดระบบเมนู คิด ศึกษาคุณสมบัติของลิ้นของนักศึกษา ว่าเป็นลิ้นปลาร้า ลิ้นไตปลา หรือลิ้นน้ำพริกอ่อง หรือลิ้นบูดู นะครับ ไม่งั้น จะเสิร์ฟแต่ไส้กรอก หรือสเต็กมีโอกาสล่มได้ครับ

        โรงอาหารเป็นเช่นใด สถานการศึกษาก็เช่นนั้น หลายๆ แห่งอาจจะตีตัวออกนอกระบบการศึกษาโดยไม่เหลียวแลชุมชนรอบนอก ระวังกันไว้นะครับ หากสถาบันการศึกษาเป็นเหมือนซีสต์ในชุมชน วันหนึ่งชุมชนจะผ่าเนื้อร้ายนั้นออกครับ

กราบขอบพระคุณมากๆ นะครับ 

สวัสดีครับเม้ง

    ประชาชนคนนี้ ดูเหมือนจะเห็นแก่ตัวจังนะ

        อะไรๆ ก็อยู่ักับชุมชน ตอนนี้โลกเค้าไปกันถึงไหนแล้ว ต้องกงต้องโกอินเตอร์ จะมามัวให้คลุกดินอยู่กับชุมชนได้อย่างไร?

     คงต้องหาความสมดุลนะครับ ตอนนี้ลูกหลานของเราที่เรียนจบ ทำงานบ้านไม่เป็นกันแล้ว ทิ้งทุ่งนา หันหน้าเข้าเืมืองเป็นมนุษย์เงินเดือนกันส่วนใหญ่ ทิ้งเด็กกับคนแก่ให้อยู่ชนบท คนหนุ่มสาววิ่งเข้าเมืองกันหมด แล้วจะทำอย่างไรหนอ

     ไม่ได้ห้ามจะไม่ให้สร้างคนไปโกอินเตอร์ แต่ไม่อยากให้คนทั้งหมดโกอินเตอร์กันหมด แห่กันไปตามกระแส จนลืมรากหัวแห้ว รากเหง้า รากสมุนไพร ใครจะอยู่กับรากหัวมันสำปะหลังหล่ะต๋อย...

     ประชาชนอย่างผมทำได้แค่นี้หล่ะ ต๋อยเอ๋ย... ต๋อยเอาไปคิดเอาเองนะครับ หากผมจะไปคุยกับใครว่า บ้านอยู่ใกล้สถาบันการศึกษา จะได้โม้คนอื่นได้ว่า บ้านเราคนในชุมชนทำงานวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาเชียวนะ ไม่ธรรมดา นี่มหาวิทยาลัยเชิญคนธรรมดาอย่างเราๆ ไปเป็นลูกมือในการทำวิจัยเรื่องลางสาด ลองกองด้วย เราต้องพัฒนาความรู้ด้วย ทางมหาวิทยาลัยส่งนักวิชาการคลุกดินมาสอนให้พวกเรามีความชำนาญขึ้น เป็นเกษตรกรปัญญาดีของชุมชนเลยนะต๋อย

     ฝากต๋อยไว้แค่นี้ก่อนนะครับ

ปล. ต๋อย คือตัวละคร ของท่าน ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์
 

สวัสดีครับเม้ง

            อุดมการณ์ยังมีอยู่ในคนไทยในยุคปัจจุบันไหมครับ?

สวัสดีครับเม้ง

        พ่อเเม่จะภูมิใจกับลูกที่จบจากมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาแบบไหนครับ? 

สวัสดีครับเม้ง

        อยู่ที่จะนั่งถามกันนานแค่ไหน หรือว่าจะหาทางทำให้เป็นจริง

 

สวัสดีครับ คุณเม้ง ผู้อารีย์

  • เดินตามทางมาจากบันทึกของอาจารย์กมลวัลย์ ครับ :)
  • อ่านบันทึกของคุณเม้งแล้ว ผมก็ตัวยืดขึ้นครับ เพราะเกือบทุกข้อ คือ มหาวิทยาลัยแห่งท้องถิ่นของผมเองครับ
  • หากแต่มีปัญหาหลายข้อที่ทำให้เกิดอาการสะดุดซวนเซ หาเป้าหมายในชีวิตของตัวเองไม่ค่อยเจอ หลงระเริงกับกระแสธุรกิจศึกษา กลัวมหาวิทยาลัยอื่นเข้ามาตีหัว ระแวงภัยมากเกินไป
  • หมายเลข 6 ไม่มองแต่ผลประโยชน์ตัวเอง หรือผลประโยชน์ที่บุคลากรในองค์กรจะได้รับเพียงแต่ฝ่ายเดียว ... เป็นเหตุผลหลักที่บุคลากรในมหาวิทยาลัยกำลังมีปัญหากัน โดยเฉพาะกรณีศึกษาของการเลือกหรือไม่เลือกออกนอกระบบ เกิดจากปัญหาข้อนี้ข้อเดียวครับ "เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวก่อน" เหมือนจะพูดว่า "เมื่อประโยชน์ส่วนตัวมา ประโยชน์ส่วนรวมก็มา"
  • มหาวิทยาลัยของผม อ่อน หมายเลข 20 ครับ คือ มีกิจกรรมนอกห้องเรียน นอกรั้วมหาวิทยาลัยให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติ เป็นผู้ให้ที่แท้จริง คืนสู่ชุมชนได้ด้วย ... กิจกรรมในที่นี้ คือ การออกค่ายพัฒนาชุมชน แทบจะไม่มีในแต่ละภาคการศึกษา ส่วนใหญ่กลับหมดไปกับกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยกำหนด รัฐกำหนด คนอื่นกำหนด ทำให้เวลาเรียนแทบไม่พอ แล้วเวลาที่จะออกชุมชนก็แทบไม่มี
  • ผมเอาไปเปรียบเทียบกับตัวเองเรียน ป.ตรี ว่า ทำไมตอนเราเรียนเรายังได้ทำกิจกรรมพวกนี้ แต่เด็กพวกนี้ เดี๋ยวนี้ จึงไม่ได้ทำเหมือนเรานะ ... มหาวิทยาลัยแห่งท้องถิ่นของผม หลงทางไปไหนเนี่ย ทั้ง ๆ ที่ภูมิประเทศ สังคม วัฒนธรรมของเรา มีคนลำบากอยู่ตั้งเยอะ ยอดดอยสูง ๆ รร.ตชด.ที่อยู่ห่างไกล อมก๋อย ฮอด ดอยเต่า เขารอเราอยู่นี่นา ไปไม่ถึงเฉย ๆ .. ปลงแล้วทำจิตให้ว่าง ครับ
  • ส่วนอีก 18 - 19 ข้อ มันต้องวิเคราะห์กันประเด็นครับ ผม
  • แต่ตอนนี้ ขออนุญาตแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคุณเม้งเท่านี้ก่อนนะครับ

บุญรักษา คุณเม้ง ครับ :)

สวัสดีครับท่านอาจารย์Wasawat Deemarn

        กราบขอบพระคุณมากๆ เลยครับ ที่นำเสนออะไรดีๆ ไว้ในบทความนี้ครับ แบบนี้คุยกันได้นานครับ เรื่องอยู่ในระบบกับในกำกับของรัฐ นี้เป็นเรื่องที่น่าศึกษามากๆ เลยนะครับ ปัญหาเราเกิดส่วนใหญ่มักจะถกเถียงกันในเรื่องของคนภายในเป็นส่วนใหญ่ แต่มักลืมคนที่เป็นลูกค้าของมหาวิทยาลัย หรือคนที่อยู่รอบนอกในละแวกมหาวิทยาลัย ตราบใดที่คนไม่ได้สนใจในเรื่องที่ว่า ออกหรือไ่ม่ออกนั้นชุมชนได้อะไร หากไม่ต้องคำถามแบบนี้แล้วผมชักจะกลัวครับ เพราะเราไม่สามารถจะรับรองได้ว่า ออกไปแล้วเจออะไร หรือว่าออกไปเพราะเบื่อระบบเก่าๆ หากเป็นเช่นนั้นก็คนเดิมๆ ในระบบยังอยู่ไหมครับ หลังจากออกไป หากต่างออกไปและพัฒนาไปในทางที่ดี ก็น่าจะดีนะครับ แต่ผมเกรงว่าจะทะเลาะกันระหว่าง พนง. กับ อจ. เีสียงก่อนนะครับ หากบาดหมางใจกันแล้วจะทำงานร่วมกันได้อย่างไร

        ซึ่งจริงๆ แล้วผมไม่เคยเชื่อเลยว่าระบบราชการมันห่วย ขอเพียงแต่บุคลากรในระบบราชการทำตัวให้เต็มที่กับงานที่ควรจะทำและได้รับมอบหมายให้เต็มที่ ช่วยเหลือกัน ราชการจะีมีศักยภาพได้เช่นกันครับ

ผมจะมาเพิ่มไว้ใหม่นะครับในประเด็นอื่นๆ นะครับ ขอบพระคุณมากๆ นะครับ

 

สวัสดีครับ คุณเม้ง

  • เป็นบันทึกที่น่าสนใจมากครับ ตรงใจมาก
  • ตอนนี้ผมเองก็กำลังออกแบบ การศึกษาทางไกลในฝัน อยู่เช่นเดียวกันครับ ในชั่วชีวิตนี้จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติมากน้อยแค่ไหน ก็แล้วแต่ฟ้าลิขิต มีเพื่อนคนหนึ่งบอกว่า เราเป็นแค่นักวิชาการ คงผลักดันและทำงานได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น คงต้องอาศัยนักการเมืองให้เขาผลักดันให้ ผมก็เลยตอบ ๆ มั่วไปว่า เออ ถ้าอย่างนั้นอีก 12 ปี จงสมัครลง สว. เพื่อลุยต่อไปให้ได้ นี่ก็ผ่านมา 2 ปีแล้ว อิ อิ
  • ขออนุญาตวิเคราะห์ สังเคราะห์ นะครับ
  • หลายปีมาแล้ว เคยเสวนากับเพื่อนที่จัดทำหลักสูตร เรื่อง ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ คือว่า ในบริบทและตำแหน่งของสถาบันเรา เราควรผลิตบัณฑิตออกไปเป็นนักสร้างความรู้ใหม่ หรือนักประยุกต์ใช้ความรู้ หรือผู้ใช้ความรู้ โอ้ เถียงกันอยู่นานทีเดียวครับ สุดท้ายเป็นหลักสูตรลูกผสมครับ แต่คิดว่าตอนนี้เขาคงได้พิสูจน์ และปรับปรุแก้ไขกันบ้างแล้ว
  • ผมว่าการศึกษาในระบบ ยังติดกรอบอยู่มาก ผมเลยคิดว่า การศึกษาทางไกลในฝัน อาจจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย กล่าวคือ ราม และ มสธ เขาก็ทำดีอยู่มาก ๆ แล้วในระดับหนึ่ง แต่ถ้าจะให้ทำได้อย่างหลาย ๆ ข้อที่คุณเม้งเสนอไว้ อาจจะต้องมี การศึกษาทางไกลในฝัน เข้ามาเติมเต็ม
  • ว่าแต่ว่า  ถ้าจะจัดการศึกษาแบบให้ฟรี หรือ ราคาประหยัด อย่างเยอรมนี คุณเม้งว่าจะดีหรือไม่ดี เห็นด้วยหรือไม่ แล้วจะเป็นไปได้ในบริบทไทยหรือไม่ ?

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ คุณเม้ง ผู้อารีย์

ขอบคุณครับ :)

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์เม้ง
  • ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึงมาหาความหมาย ฉันหวังอะไรไว้มากมาย สุดท้ายให้กระดาษแผ่นเดียว........
  • มหาวิทยาลัยแบบไหน..ที่เด็ก ๆ ใฝ่ฝัน   รัฐบาล?.. เอกชน?..เก่า..ใหม่..ชื่อเสียง    อย่างไรก็แล้วแต่...ไม่อยากให้องค์กรมหาวิทยาลัยคิดว่า  เด็ก ๆ คือลูกค้า...  ทำการค้ากับเด็ก ๆ... ควรคำนึงอนาคตของลูกหลานไทย...ทำหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่ให้กับเด็กอย่างเต็มที่ ด้วยความจริงใจ ปลูกฝังให้เด็ก ๆ และลูกหลานไทยออกไปเป็นพลเมืองที่ดีตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน 
  • อาจารย์ที่ไปเล่าเรียนจากเมืองนอกเมืองนามา....นำหลักการ  think global do local มาใช้ที่บ้านเรา...การศึกษาไทยและอนาคตของเด็กไทยต้องก้าวต่อไปอย่างมั่นคง
  • ขอบคุณอาจารย์เม้งที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น จากคนเล็ก ๆ คนนึง

สวัสดีครับคุณนิโรธ

        ขอบคุณมากๆ นะครับสำหรับความคิดเห็นดีๆ นะครับ โดยเฉพาะเรื่อง การศึกษาทางไกลในฝัน และแนวทางการศึกษาแบบฟรีอย่างเยอรมัน

        คำตอบสั้นๆ คือ ทุกอย่างที่ดีๆ นั้น เราทำได้หมดครับ เพียงแต่ว่าเราต้องทำครับ เรายังเป็นตัวเล็กๆ คนหนึ่ง คงยากที่จะทำให้กระทบกับวงใหญ่ในระดับประเทศ แต่ทำได้ในวงที่เราทำได้ก่อนครับ แล้วค่อยๆ เติบใหญ่อย่างมั่นคงครับ หากถึงวันหนึ่งที่ สถาบันการศึกษาจะมีการคัดเลือกพันธุ์ตามธรรมชาติเช่นกัน นั่นหมายถึงว่า องค์กรไหนดี และเป็นคุณค่ากับสังคม องค์กรนั้นจะอยู่ได้ครับ เชื่อว่าสังคมและชุมชนรอบข้างนั้นเค้าให้เกียรติคนระดับปัญญาชนเสมอ ส่วนคนระดับปัญญาชนจะให้เกียรติสังคมและชุมชนรอบข้างหรือไม่นั่น ประชาชนคงไม่ได้ิ์เรียกร้องใดๆ เพียงแต่ เค้าหวังว่าบุคคลเหล่านี้จะให้สิ่งดีๆ กับสังคมเสมอ เค้าถึงต้องเฝ้ารอและรอคอยสืบไป

        ว่าแต่ว่า  ถ้าจะจัดการศึกษาแบบให้ฟรี หรือ ราคาประหยัด อย่างเยอรมนี คุณเม้งว่าจะดีหรือไม่ดี เห็นด้วยหรือไม่ แล้วจะเป็นไปได้ในบริบทไทยหรือไม่ ? 

        ได้ซิครับ การศึกษาต้องให้ฟรีอย่างชาญฉลาดครับ เป็นธุรกิจเมื่อใดก็เจ๊งเมื่อนั้นครับ เพียงแต่การเจ๊งนั้นมันใช้เวลาแค่นั้นเองครับ คุณลองสังเกตดูหลังสูตรเปิดใหม่ซิครับมีตึกเรียนก็แค่นั้นหล่ะครับ หากไม่สร้างสมองไว้ในตึก ตึกก็ร้างได้ หากตึกร้างหลักสูตรจะไม่ร้างได้อย่างไร ในที่สุดก็ต้องยุบหลักสูตรนั้นทิ้งอยู่ดีครับ วิชาก็เปิดมากมายแต่มีคนจะสอนหรือไม่ นี่ก็เป็นปัญหามากแล้วครับ

          สัจธรรมมันเป็นจริงๆ เสมอครับ แล้วจะเป็นสัจนิรันดร์ด้วยเสมอครับ เป็นการยากครับ ที่จะบอกให้ใครทำอะไรในยุคนี้ ทำได้อย่างเดียวคือ เราทำเองหากจะให้เกิดอะไรในประเทศนี้ ทำได้คือ เราทำกันเองครับ ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปครับ ค่อยๆ ก้าว แล้วสร้างคนที่มีแนวคิดในทางเดียวกันช่วยๆ กันเดินครับ แล้ววันหนึ่งสังคมจะดีขึ้นเอง  เมื่อถึงภาวะวิกฤตศรัทธาทางการศึกษา ทางสิ่งแวดล้อม คนจะหันกลับบ้านตัวเองแล้วไปอยู่กับครอบครัว ทิ้งเมืองและการศึกษาไปศึกษาค้นหาบทเรียนจากธรรมชาติกันใหม่เองครับ โอกาสนั้นคือ เราจะใส่แนวคิดเหล่านี้ลงไปได้ครับ แล้วคุณจะเป็นคนสำคัญในเวลานั้นครับ

ขอบพระคุณมากๆ นะครับ 

สวัสดีครับอาจารย์Wasawat Deemarn

        กราบขอบพระคุณงามๆ กับบทความดีๆ ที่ช่วยกระตุกให้เอ็นทุกเส้นสั่นไม่เป็นจังหวะเลยหล่ะครับ เพราะว่าเราถลำเข้าไปไกลพอสมควรแล้วครับ กำแพงระหว่างการศึกษากับประชาชนอาจจะหนาขึ้นเรื่อยๆ คนครึ่งหนึ่งของประเทศอาจจะห่างไกลการเข้าสู่ระบบมากขึ้นด้วยเพราะปัญหาปากท้้อง ตอนนี้ ง่ายๆ เรื่องปัญหาการกินอยู่ก็คงเริ่มลำบากกันมากขึ้นครับ คำตอบมีหลายๆ ทาง หากกลับไปหาธรรมชาติ และการศึกษา นั้น ก็ต้องอยู่กับธรรมชาติด้วยซิครับ ถึงจะเจริญ 

        ดีใจที่ได้ถกกันบ้างนะครับ คงต้องเริ่มทำกันครับ แม้ทางจะมืดมนแต่เราก็มีเพื่อนร่วมทางเสมอ และคนที่คิดดีๆ ยังมีอยู่เยอะครับ เพียงแต่รอโอกาสในการเชื่อมโยงเครือข่ายแค่ั้นั้นเองครับ

กราบขอบพระคุณมากครับ 

สวัสดีครับคุณอ้อ

        เปลี่ยนรูปใหม่ เก๋ ไปเลยครับ สบายดีนะครับผม

ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึงมาหาความหมาย ฉันหวังอะไรไว้มากมาย สุดท้ายให้กระดาษแผ่นเดียว........

เป็นความน่ารักของเด็กนักศึกษาในสมัยนั้นครับ ที่ยึดคำพูดนี้ครับ เจียมตัวและไม่อวดตน แต่สิ่งที่เค้าคาดหวังมันเหนือกว่ากระดาษเปื้อนหมึกที่ อ.แสวง กล่าวไว้ครับ

        เห็นด้วยครับ นศ. ไม่ใช่ ลูกค้า แต่สมัยนี้ ผมไม่แ่น่ใจครับ ต้องดูกันนะครับ หาก นศ. เข้าสถาบันการศึกษา เหมือนกับการเข้าไปเลือกซื้ออาหารในร้านแมคฯ เราต้องพิจารณานะครับ ว่ากระบวนการในรั้วนั้นมีอะไรบ้าง ขาดอะไรบ้าง แล้วคนที่รออยู่หน้าร้านเค้าคิดอย่างไร

อาจารย์ที่ไปเล่าเรียนจากเมืองนอกเมืองนามา....นำหลักการ  think global do local มาใช้ที่บ้านเรา...การศึกษาไทยและอนาคตของเด็กไทยต้องก้าวต่อไปอย่างมั่นคง

       จริงๆ แล้วประเทศชาตินั้น ประกอบด้วยคนทุกๆหมู่เหล่า ทุกๆ อาชีพสำคัญไม่ด้อยกว่าอาชีพใดๆ และำหน้าที่ร่วมกันถึงจะไปด้วยกันได้ รัฐ กับ เอกชน รัฐวิสาหกิจ ประชาชน และพ่อแ่ม่ค้า อื่นๆ ก็สำคัญทั้งนั้น หากไม่มีชาวนา ใครจะทำนาให้คนทั้งประเทศกิน นี่แค่การกินนะครับ ป่วยหากไม่มีหมอพยาบาลใครจะดูแล พัฒนาสมองหากไม่มีคนระดับผู้บริหารใจกว้าง มีวิสัยทัศน์และคุณครูช่วย จะอยู่ได้อย่างไร และอื่นๆ ครับ

        ปัญหาของเราคือ อะไรครับ การเมืองเราเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างไร

การศึกษาเราหล่ะครับ ผมไม่อยากให้เป็นอย่างไรก็เป็นไปอย่างนั้นเลยครับ การศึกษาต้องสร้างคนดีๆ ส่งไปทำงานในระดับทุกๆ ภาคส่วนครับ ถึงจะเป็นภาวะที่ดี แต่นั่นคือ คนในการศึกษาก็ต้องนำดีด้วยครับ เพราะแนะดีนั้นไ่ม่เพียงพอ  เด็กเค้าจะไม่เชื่อว่าการแนะดีแต่ไม่นำไปใช้ไม่้ดี จะเป็นตรรกศาสตร์ที่เป็นจริง จนเกิดคำล้อสุภาษิตเรามากมายครับ

        หากจะพัฒนาในระยะยาว ต้องพัฒนาคน.... หากพัฒนาคนได้ อย่างอื่นพัฒนาได้ครับ  พัฒนาใจคนให้ดี ยากกว่าพัฒนาสมอง ให้เก่ง

เค้าถึงพูดกันบ่อยๆ ว่า  สร้างให้คนดีก่อนแล้วจึงค่อยสอนให้เก่ง เพราะคนดีจะไม่โกงและทรยศครู ครูคือแผ่นดิน ครูคือธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ

ิอิๆๆ ยาวไปแล้วครับ หันกลับมาำทำ ในสิ่งที่ผมทำได้ก่อนครับผม มีงานล้นมือจริงๆ ครับ ไว้วันหนึ่งจะแฉ บทชีวิตตัวเองบ้างครับ... ขอบคุณมากๆ นะครับ

มีความสุขและมีกำลังใจในการคิดดีทำดีกันต่อไปนะครับ เราไม่ทำกันวันนี้ แล้วลูกหลานจะีีมีอากาศหายใจหรือครับ 

ผมว่ามหาวิทยาลัยทุกวันนี้ให้คำตอบกับชีวิตคนน้อยเสียเหลือเกินครับ มีแต่ให้เรียน เรียนและงาน งานคือ การรับใช้นายหน้าข้าฝรั่งครับ แต่การรับใช้ประชาชนนั้นทุกวันนี้ผมว่ามันหาได้ยากเต็มทีแล้วครับ เพราะมีแต่จะเปลี่ยนไปในเชิงทำธุรกิจ มุมหนึ่งที่ผมคิดก็คือ มหาลัยไม่ได้ตอบสนองความต้องการของชาวบ้าน ชาวนา ค่าเรียนก็เริ่มขึ้นและขึ้นไปแล้วก็มี ดูจากจำนวนผู้กู้ยืม ทั้ง กยศ. กรอ. แบบว่า เราขึ้นค่าเทอมแล้วเรายังมีเงิน กยศ.ให้ท่านได้กู้เรียนครับ

สวัสดีครัีบคุณ 15. ศราวุฒิ

    ขอบคุณมากๆ นะครัีบ สำหรับการสะท้อนความเห็นดีๆ ออกมาครัีบ หากเรามุ่งที่การสร้างปริมาณตามกระแสทุน กระบวนการต่างๆ เหล่านี้จะยิ่งจมเข้าไปลึกๆ เรื่อยๆ ปัญหาก็จะเกิดตามมา กำแพงระหว่างสถานบันการศึกษากับชุมชนจะยิ่งสูงขึ้นครัีบ

    การมองไกลของผู้บริหารจึงสำคัญมากๆ ครัีบ ที่จะเป็นที่พึ่งกับสังคมรอบข้างด้วยครัีบ เพราะหากขาดชุมชนรอบข้าง องค์กรการศึกษาคงโดนผีหลอกแน่ๆ เลยครัีบ

    อีกอย่างเรื่องการสร้างให้เ็ด็กเป็นหนี้ในระหว่างเรียนนี้ เป็นเรื่องน่าเศร้าครัีบ แทนที่การศึกษาของคนในชาติจะเป็นการลงทุนแบบให้ฟรีกับคนในชาติ คนจะได้รู้สึกว่าจบแล้วจะทำเพื่อชาติ เพราะตัวเองได้ทุนได้รับการส่งเลี้ยงดูให้เรียนฟรี กลับไปอีกแบบ อันนี้เศร้าหนักครัีบ

ขอบคุณมากๆ นะครัีบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท