การจัดการความรู้สู่การพัฒนาสังคมอุดมปัญญาของ รมว.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม


เงื่อนไขความสำเร็จคือ ทุกกลุ่มสังคมต้องมาช่วยกัน...1)จัดการ 2)การจัดการความรู้(KM) 3)อย่างบูรณาการ 3)ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
          เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.  คุณไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม  รมว.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  ด้มาบรรยายเรื่อง การจัดการความรู้สู่สังคมอุดมปัญญา ในมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 3 ณ ศูนย์ประชุมไบเทค  ซึ่งจัดโดยสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส)
         สาระสำคัญที่ท่านพูด  คล้ายเป็นการแถลงแนวคิด/แนวนโยบายของท่านในการดูแลกระทรวงนี้ ว่า
KM จะเป็นทั้งเนื้องานและส่วนสนับสนุนการทำงานของกระทรวงฯ
        ท่านกล่าวว่า  การจัดการความรู้มีหลายชั้น คือ
                      1.การจัดการ
                      2.การจัดการความรู้
(KM)
                      3.อย่างบูรณาการ
                      4.ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
            โดยมียุทธศาสตร์สังคม  3 ยุทธศาสตร์ คือ
            1.ยุทธศาสตร์สังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน  คือผู้คนมีน้ำใจ  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  เมตตากรุณา  ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
            2.ยุทธศาสตร์สังคมที่เข้มแข็ง  คือ ทุกส่วนของสังคมเข้มแข็งอย่างบูรณาการหลายๆมิติ ได้แก่
                2.1ภาคชุมชนท้องถิ่น (ชุมชนฐานราก) รวมคนทั้งประเทศ
                2.2ภาคประชาสังคม  คือบุคคล/กลุ่มคน/องค์กรที่ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม  ไม่ได้หวังกำไรเชิงพาณิชย์ ไม่ใช่เพียงทำตามบทบาทหน้าที่เท่านั้น  แต่หมายถึงความตระหนักในการมารวมกันเพื่อช่วยเหลือสังคม (พลังทางสังคม/ทุนทางสังคม)
            3.ยุทธศาสตร์สังคมที่มีคุณธรรม  คือกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง  ดีงาม  สุจริต  สามัคคี  สมานฉันท์
             จากยุทธศาสตร์สังคมทั้ง 3 ยุทธศาสตร์ จะนำไปสู่การทำแผน/มาตรการ หรือที่เรียกว่า
Road Map ในการพัฒนาอย่างบูรณาการภายใต้  3 บริบท (ช่องทาง) คือ
               1.บริบทพื้นที่   ได้แก่  หมู่บ้าน  ตำบล  เมือง ฯลฯเป็นการจัดการความรู้ในพื้นที่  ที่หลายฝ่ายร่วมมือกันอย่างบูรณาการ  ซึ่งขณะนี้หลายแห่งกำลังทำเป็นชุมชน  เป็นเครือข่าย  เป็นต้น
               2.บริบทของกลุ่มคน   อาจจำแนกกลุ่มใหญ่ๆได้เป็น  5 กลุ่ม คือ
                    2.1สตรีและครอบครัว
                    2.2เด็กและเยาวชน
                    2.3ผู้สูงอายุ
                    2.4คนพิการ
                    2.5ผู้ด้อยโอกาส
                   3.บริบทของประเด็น
 ซึ่งแบ่งเป็น
                       3.1ประเด็นเชิงบวก  เช่น  การมีคุณธรรม  ความเอื้ออาทร ฯลฯ
                       3.2ประเด็นเชิงลบ  เช่น  ปัญหายาเสพติด  ปัญหาการใช้ความรุนแรง  ฯลฯ
                   ซึ่งบริบททั้ง 3 นี้   ต้องทำโดยไม่ทอดทิ้งกัน  ทำให้เข้มแข็ง  และมีคุณธรรม  อย่างบูรณาการ  จึงจะทำให้สังคมสงบสุขร่มเย็นได้
                  เงื่อนไขความสำเร็จคือ  ทุกกลุ่มสังคมต้องมาช่วยกัน...1)จัดการ   2)การจัดการความรู้
(KM)  3)อย่างบูรณาการ  3)ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
                 ซึ่งต้องอาศัยนักจัดการ  การจัดการความรู้ที่มีความสามารถและมีจิตสำนึกที่ดีเป็นจำนวนมากมาช่วยกันสร้างเครือข่าย  สร้างชุมชน และสังคมอุดมปัญญาที่ยั่งยืน...
หมายเลขบันทึก: 65399เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2006 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 02:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณบันทึกนี้ของอาจารย์ธเนศค่ะ

ตอนอยู่ในห้อง Grand hall ดิฉันมัวแต่พยายามเขียนบันทึกและถ่ายรูปแล้วก็นำลงบล็อกแบบ live ให้สุดๆ ก็เลยเก็บประเด็นที่ท่านอาจารย์ไพบูลย์พูดไม่หมด แต่มาได้อ่านที่อาจารย์ธเนศเขียน ความทรงจำก็เริ่มฟื้นขึ้นมาค่ะ

ขออนุญาตนำไปลิงค์ในบล็อกของดิฉันนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท