Blog TAG เกมที่น่าเล่น สำหรับสมาชิก go2know


ExpAnd the rEaLm of kNowLeDge

ช่วงนี้กำลังมีเรื่องระบาดในหมู่ blogger คือ  blog tag ซึ่งผมคิดว่า น่าจะเอามาใช้กับชาวสมาชิก go2know ได้เป็นอย่างดี ผมสังเกตว่า แม้เราจะมีสมาชิกเยอะ แต่

1. มีผู้แสดงตัวไม่มาก นี่เป็นธรรมชาติของ blogger แต่ผมว่าไม่น่าจะ apply กับที่นี่นะ ก็แปลกเหมือนกัน แต่ปรัชญาของ net อันหนึ่งคือเสรีภาพ เพราะฉะนั้นถ้าไม่สะดวกใจก็ตามสบายครับ

2. มีผู้แสดงความคิดเห็นไม่มาก อันนี้ก็ธรรมดา บางคนชอบอ่านมากกว่า ปกติลักษณะของกลุ่มชุมชนแบบนี้คนที่ active ผมคิดว่ามีแค่ 10-20% ก็ OK แล้ว ที่เหลือก็เข้าประปราย ยิ่งกลุ่มใหญ่มากขึ้นเท่าไร คนที่ active จะยิ่งน้อยลง จำเป็นต้องแบ่งกลุ่มย่อย เพื่อเพิ่มจำนวนคนที่ active ให้มากขึ้น

3.  ยังมีลักษณะของกลุ่มที่ dominate อยู่มาก นี่อาจเป็นจากตอนเริ่มก่อตั้งกลุ่ม มากจากกลุ่มที่มีความสนใจคล้ายๆกัน  ผมไม่ทราบจริงๆ ว่าปรัชญา หรือเป้าประสงค์ของการจัดตั้ง g2n คืออะไร เพราะหาไม่เจอครับ น่าจะกำหนดเป็นวลีสั้นๆ ให้ อ่านแล้ว get เลย  เอาขึ้นหน้าแรกให้เห็นๆ เลย 
ผมเดาว่าน่าจะเป็นแลกเปลี่ยนความรู้ความสนใจกันทุกเรื่อง  แต่ดูๆ สักพักแล้ว ไม่แน่ใจแฮะ หรือจะเป็นเฉพาะผู้ที่สนใจเรื่อง KM 

4. การแลกเปลี่ยนข้ามกลุ่มยังมีไม่มาก ทั้งในแง่ วิชาชีพ ความสนใจ สถาบัน  อันนี้เป็นเรื่องใหญ่ครับ เพราะผมคิดว่าข้อเด่นของ g2n คือการ share ความรู้กัน ขยายด้านกว้าง ส่วนด้านลึกผมคิดว่ายากที่จะได้จาก net ครับ นี่เป็นประเด็นที่ ผู้บริหารโครงการต้องพยายามจัดกิจกรรมหรือวิธีการต่างๆ ให้มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิกมากๆ

กลับมาเข้าเรื่องครับ ผมคิดว่า blog tag ที่กำลังฮิตนี้ ช่วยเราได้ครับ blog tag คืออะไีร ผมขออนุญาตคัดลอกมาจาก http://spladplakao62.spaces.live.com ดังต่อไปนี้ครับ 

เท่่าที่ลองใช้เวลาศึกษาดูผมเองก็ไม่แน่ใจว่าใครเป็นคนเริ่มเกมนี้ก่อนเป็นคนแรก แต่หลายกระแสเชื่อกันว่าคนที่เริ่มเล่นคนแรกก็คือ Jeff Pulver โ ดยเริ่มจากที่ Jeff ได้ไปร่วมงานการกุศลหลายๆ งานในมหานครนิวยอร์ก ซึ่งเขาเองก็แปลกใจว่าทำไมคนแปลกหน้าถึงได้เข้ามาทักและพูดคุยกับเขาราวกับว ่า พวกเขาเหล่านั้นรู้จักกับเขามาก่อนเป็นอย่างดี จริงๆ แล้วเรื่องที่พวกเขานำมาทักทายหรือพูดคุยกับเขาก็คือเรื่องราวที่เขาเองได้เ ขียนลงบล็อกไว้นั่นเอง จึงทำให้เขามานั่งคิดว่า แล้วเขาจะรู้จักเพื่อนๆ ที่เขียนบล็อกด้วยกัน (Blogosphere) มากกว่านี้ได้อย่างไร เลยเป็นที่มาให้เขาคิดริเริ่มเกม Blog Tag นี้ขึ้นมา

Blog Tag คือเกมที่เราในฐานะที่เป็น Blogger เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเอง (ต้องเป็นเรื่องจริง) ที่คิดว่ามีคนน้อยมากเคยทราบมาก่อน 5 ข้อ ต่อจากนั้นก็ถึงคิวที่จะเลือกเพื่อนๆ ที่เขียนบล็อกด้วยกันอีก 5 คนที่เราอยากรู้จักมากขึ้น แปะไว้ในบล็อกของเรา โดยทำลิงค์ไปยังบล็อกของเพื่อนทั้ง 5 คนนั้น เพื่อจะให้เพื่อนๆ ที่เข้ามาอ่านที่บล็อกเราสามารถตามไปอ่านบล็อกของเพื่อนทั้ง 5 คนของเราได้ ซึ่งการทำเช่นนี้ เหมือนกับเป็นการแนะนำเพื่อนทั้ง 5 คนให้กับเพื่อนๆ ที่เข้ามาอ่านที่บล็อกเราได้รู้จักไปด้วย เพื่อนทั้ง 5 คนที่เราทำการแนะนำ หรือที่ในเกมนี้เรียกว่า Tag ไป เราจะเรียกเพื่อนผู้โชคดีนี้ว่าเพื่อนที่ถูก Tag เช่นเดียวกับที่ผมถูกหลาน อตินุช Tag มานั่นเอง ก็เลยทำให้ผมต้อง Tag เพื่อนอีก 5 คนต่อไป จะว่าไป Blog Tag ก็คล้ายๆ กับหลักการทำตลาดแบบ MLM (Multi-Level Marketing) เพียงแต่เกม Blog Tag นี้ไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์ เป็นการเล่นเกมในการสร้างสายงานเพื่อที่จะได้รู้จักเพื่อนๆ เพิ่มขึ้นเท่านั้น

ก ฎกติกามารยาทของเกมนี้ก็ไม่มีอะไรมาก ขึ้นอยู่กับเราจะให้ความสำคัญมากน้อยแค่ไหนกับการเล่นเกมนี้ แต่จะว่าไป ก็เหมาะสำหรับคนที่ชอบดองบล็อกนะครับ เพราะอย่างน้อยก็จะมีเรืองราวของตัวเอง 5 เรื่องที่ต้องเขียน

  1. เมื่อเราถูกเพื่อน tag หรืออาจจะเริ่ม tag เองก่อนเป็นคนแรก โดยไม่ต้องรอให้ใครมา tag ก็ได้ เราต้องเขียนเล่าเรื่องราว 5 ข้อ ที่คิดว่ามีคนยังไม่ทราบหรือทราบน้อยมากลงในบล็อกของเรา แต่ควรจะเป็นเรื่องจริงนะครับ


  2. ต่อจากนั้นก็ทำการ tag ต่อไปยังเพื่อนๆ อีก 5 คนที่เราอยากรู้จักเขามากขึ้น เพื่อให้เขาร่วมเล่นเกมนี้ ถ้าเขาพร้อมที่จะเล่นเกมนี้กับเรา เขาก็จะต้องทำเหมือนเราต่อไป แต่ไม่ควร tag เพื่อนที่เคยถูกคนอื่น tag มาก่อนแล้ว ถ้าทราบควรจะเปลี่ยนเป็นคนอื่นแทน เพราะจะได้ไม่ซ้ำสายงานเดิมอีก (ข้อนี้คิดเองนะครับ)


  3. แจ้งให้เพื่อนทั้ง 5 คนที่ถูกเรา tag ทราบ ว่าเราได้ทำการ tag เขาเพื่อให้เข้ามาร่วมเล่นเกม Blog Tag นี้ ส่วนเพื่อนจะยินดีเข้าร่วมเล่นหรือไม่นั้นก็อยู่ที่เขาเอง ถ้าเราเลือกเพื่อนที่พร้อมจะร่วมเล่นเกมสร้างเครือข่ายเพื่อนกับเรา ก็จะทำให้สายงานของเพื่อนที่เราเลือกสายนั้น ขยายสาขาออกไปอย่างรวดเร็ว

ตอนนี้เกม Blog Tag กำลังเป็นที่ฮิตกันมากสำหรับคนไทยโดยเฉพาะกลุ่ม Blogger ที่ Exteen.com ส่วน Windows Live Spaces เท่าที่ผมลองๆ เข้าไปดูยังไม่ค่อยมี มีอยู่คนหนึ่งที่ได้ทำแผนผังการขยายตัวของเกม Blog Tag ในเมืองไทยนี้ไว้น่าสนใจทีเดียว ถ้าสนใจลองคลิกไปดูได้ที่ Keng.ws แล้วจะเห็นว่าในเวลาไม่กี่วันมีผู้เข้ามาร่วมเป็นเครือข่าย Blog Tag มากมายทีเดียว

 เป็นไงครับ น่าสนใจไหมครับ ถ้าน่าสนใจผมอยากให้เริ่มจาก blogger ที่ดังๆ และเป็นเจ้าประจำของเราก่อน แล้วค่อยขยายวงไปเรื่อยๆ นะครับ

หมายเลขบันทึก: 72669เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2007 00:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีครับ 

    น่าสนใจมากครับอาจารย์    

                       Kmsabai

ข้อสังเกตของ อาจารย์ น่าสนใจดีคะ  

"  การแลกเปลี่ยนข้ามกลุ่ม "   เพราะจะทำให้เรา มีมุุมมองที่แปลกออกไป  อย่างสมัยดิฉันเรียนที่ปัตตานี เวลาออกค่ายก็จะมีพวกสายศิลปด้วยกัน แต่เวลามาออกค่าย  กับ มอ.หาดใหญ่ ก็คุยกับพวกสายวิทย์ มุมมองก็ต่างไปคะ ตัวเองก็เลยมีเพื่อนเยอะ สนุกดีคะ

เรื่องเกม ที่ทำให้รู้จักกัน แบบนี้  คนเล่นต้องเป็นคนมีเวลาเข้าเนทบ่อย ใช่มั้ยคะ หรือไม่ก็ต้อง active หน่อย 

อ่านไปอ่านมาก็ยังงงๆ นะคะว่าเกมส์ Blog Tag มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร ...วิเคราะห์จากเขียนเรื่อง 5 เรื่อง แล้ว...5 เรื่อง จบเลยหรอคะ หรือเขียนครั้งละ 5 เรื่องในช่วงเวลาจำกัดมั้ย แล้วฮืม...เหมือนเป็นการ force อะไรเกินไปรึเปล่าคะ ถามด้วยความสงสัย ใคร่รู้นะคะ ไม่ได้ว่าอะไรนะคะ

แล้วถ้าเลือกเพื่อนควรจะต้องเลือกคนที่ไม่ถูกคนอื่น Tag มาก่อน อันนี้จะเช็คด้วยอะไรดีน้า

เพียงแต่...แค่นี้ก็ไม่ค่อยมีเวลาอ่าน และเขียนมากเท่าไหร่กับรูปแบบธรรมดาของ G2K แล้วนะคะเนี่ย หุหุ

อีกนิดค่ะ G2K เปลี่ยนเป็น G2N แล้วหรอคะ ไม่ได้เข้ามาสองวัน ไม่รู้เรื่องเลย

^____^

จริงๆ ก็เป็นแบบเล่าเรื่องของเราสั้นๆ  5 เรื่อง เรื่องละ 3-4 บรรทัดก็ได้ ที่คิดว่าจะทำให้คนอื่นรู้จักเรามากขึ้น ไม่ใช้เวลามากเท่าไรนะครับ เป็นแบบการขยายวงคนที่รูจักให้มากขึ้น ถ้าเป็นวง G2K (แหะๆ เมื่อคืนเขียนเพลินไปหน่อย เป็น g2n ไปซะแล้ว) อาจมีข้อหนึ่งที่บอกว่าสนใจความรู้เรื่องอะไร  คนที่เราเลือกอาจเป็นคนที่เคยถูก tag มาแล้วก็ได้ครับ มันจะโยงใยกันไปหมดครับ ดูใน http://www.keng.ws/files/blog-tag_trace.html

 ผมเล่าอาจจะไม่ชัดเจนนัก ดูของจริงเลยน่าจะดีกว่าครับที่ http://spladplakao62.spaces.live.com/blog/   ครับ

ขอบคุณมากค่ะ น่าสนใจอย่างยิ่งค่ะ แล้วดิฉันจะเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมตามลิ้งค์ที่อาจารย์ให้ไว้ค่ะ

 

น่าสนใจมากเลยค่ะ  เห็นเล่นกันที่ Pantip เหมือนกันค่ะ http://www.bloggang.com/  (http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=goodo-handmade&group=1&date=15-01-2007&blog=1) แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจในรายละเอียดของการเล่นสักเท่าไร

เรื่องนี้สงสัย "ไม่ลอง ไม่รู้" นะคะ

อาจารย์ลองเริ่มดูก่อนสิคะ  ^__^

 

ปล. ไม่ค่อยเข้าใจคำว่า "ดองบล็อก" น่ะค่ะ

ปกติการดอง หมายถึง การแช่ไว้ ห่างหาย หยุดเขียนไม่เขียนอะไรต่อ ไม่ใช่หรือคะ หรือว่า ในความหมายในบล็อก  การดอง มีความหมายอื่นอีก ?

แล้วการดองบล็อก การการเล่น tag มันเกี่ยวกันยังไงเหรอคะ  ?

คุณ k-jira  ครับ คุณสมหมายเจ้าของ space ที่ผมไปก๊อปปี้มาได้กรุณาชี้แจงเรื่อง ดองยา ...เอ๊ย ดองบล๊อกไว้ดังนี้ครับ ...

เห็นคำถามของคุณ K-jira สงสัยเรื่อง "การดองบล็อก" ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับความคิดเห็นส่วนตัวของผมเองก็เลยอยากชี้แจงให้ทราบดังนี้ครับ

การ "ดองบล็อก" ตามความหมายของผู้เขียนบล็อก (Web Log) คือการที่ผู้เขียนไม่ค่อยได้อัพเดตเรื่องราวใหม่ๆ เข้ามาดูทีไรก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง จึงถูกเพื่อนๆ แซวเล่นว่า "ดองบล็อก" แต่ที่โยงมาเกี่ยวกับ Blog Tag นั้นก็เพราะ ถ้าคนที่ "ดองบล็อก" ไว้นานๆ อาจจะเป็นเพราะไม่ทราบจะเขียนเรื่องอะไร แต่เมื่อถูกเพื่อน Tag เข้ามาเล่นเกม Blog Tag ก็อาจจะทำให้เขามีเรื่องเขียนลงบล็อกได้ อย่างน้อยก็ได้เขียนอะไรเกี่ยวกับตัวเขาเอง 5 ข้อ นั่นคือเหตุผลที่ผมเขียนไว้ว่า Blog Tag อาจจะเหมาะกับคนที่ชอบ "ดองบล็อก" ครับ ผมคงใคร่ขอรบกวนอาจารย์ช่วยชี้แจงแทนด้วยนะครับ

  • ขอบคุณมากค่ะ ^_^
  • งั้นก็เข้าใจคำว่า "ดอง" ความหมายเดียวกัน แต่เพิ่งเข้าใจว่ามันเกี่ยวกับ blog tag อย่างไร
  • คงต้องรบกวนให้อาจารย์ Tag คนแรกแล้วมังคะ ^__^
  • ขอบพระคุณค่ะอาจารย์
  • ขอรบกวนฝาก blog ไว้ใน Tag ด้วยคนนะคะ ^__*
  • ไม่ได้เข้ามาที่บล็อกอาจารย์หลายวัน วันนี้เห็นมีถึง 4 บล็อกด้วยกัน ดีใจด้วยครับ ที่จะมี blogger ที่เข้มแข็งเพิ่มอีก 1 คน
  • ผมเห็นด้วยกับข้อสังเกตทั้ง 4 ข้อ ครับ
นั่นสิคะ อาจารย์น่าจะเริ่มเลยสิคะ แล้วพวกเราจะได้เห็นตัวอย่าง รู้สึกเราๆที่เป็นกลุ่ม active ก็อยากให้กลุ่มดองบล็อกออกมาเขียนนะคะ เป็นไปได้ที่ว่า พวกเราอาจจะไม่รู้จะเขียนอะไร และการทำให้เขียนเรื่องตัวเอง ก็เป็นการเปิดตัวที่ดี ตัวเองคิดเอาเองจากการที่ได้รู้จัก G2K ว่าวัตถุประสงค์ก็คือ ที่ให้เราบันทึกความรู้ความคิดที่เกิดจากการดำเนินชีวิต (ซึ่งส่วนใหญ่ของวัน ก็คือการทำงาน) ของเราทุกคนนะคะ เพื่อให้อะไรก็ตามที่พวกเรารู้ พวกเราคิด เข้ามารวมกันอยู่ในคลังความรู้แห่งนี้  เจ้าของแต่ละคนแค่เล่ามาและติดป้ายคำหลักเอาไว้ คงจะเป็นความรู้แบบที่ต้องสกัดอีกทีค่ะ ขั้นนี้คงต้องรอสักพัก เมื่อเราเห็นเมฆความรู้ชัดๆน่ะค่ะ แต่ประโยชน์ที่เกิดกับตัวคนบันทึกเอง หรือจากการอ่านสิ่งที่คนอื่นเขียน ก็รู้สึกได้นะคะ เป็นการพัฒนาสมองอย่างนึงค่ะ

ขอบคุณอาจารย์สมบูรณ์ครับ คำว่า blogger ที่เข้มแข็งรู้สึกว่าคงจะห่างจากผมมากครับ ช่วงนี้ผมคงจะซาลงแล้ว เพราะงานยุ่งทีเดียวครับ

ดร.โอ๋ครับ เท่าที่ผมตามๆ มาก็รู้สึกยังงั้นเหมือนกัน ออาจารย์โอ๋พูดก็เลยทำให้เห็นภาพชัดขึ้น ตรงนี้ผมว่าน่าจะมีการเขียนไว้หน้า home เลยนะครับ เพราะเป็นเรื่องยากสำหรับสมาชิกใหม่ที่จะเข้ามาใช้ชีวิตทางความคิดโดยที่ไม่รู้ว่าวงๆ นั้นเขามีขนบอย่างไรบ้าง  ผมเองพออ่านๆ ไปแล้วก็เกิดความรู้สึกว่าความรู้เรื่องโรค ที่ผม post มาจะผิดฝาผิดตัวกับที่นี่ซะแล้ว

เรื่อง blog tag เนี่ยผมคิดว่าต้องเริ่มจาก blogger แถวหน้าของเราก่อนครับ ถึงจะ work เพราะเป็นที่รูจักคุ้นเคยกัน อาจเป็นคนที่ติดอันดับ  5 คนแรกก็ได้ครับ

 

" ผมเองพออ่านๆ ไปแล้วก็เกิดความรู้สึกว่าความรู้เรื่องโรค ที่ผม post มาจะผิดฝาผิดตัวกับที่นี่ซะแล้ว "

  •  มาขอแย้งค่ะ ไม่เป็นความจริงเลย ไม่ผิดฝาผิดตัวแน่
  • เพราะว่าเป็นคนชอบอ่านเรื่องเหล่านี้ค่ะ แม้ว่าจะไม่ได้ทำงานในแผนกนี้ก็ตาม แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้มาก
  • ขออภัย หากว่าบางบันทึก ไม่ได้ไปโพสต์คอมเม้นต์ไว้ เพราะบางทีอ่านเร็ว รวดเดียวหลายบันทึก พอจะโพสต์ sever G2K มันก็ช้า
  • วันก่อนดูรายการ Discovery ของ UBC เรื่องเกี่ยวกับการนอนละเมอ เสียดายเปิดดูไม่ทัน ได้ดูช่วงหลัง ชอบมากเลย
  • คิดว่าเรื่องโรค หรือ อาการบางอย่างทางจิตเวท รวมไปถึงกลไกการป้องกันตนเอง มันเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่อาจจะเกิดกับคนปกติทั่วไปได้ โดยไม่ได้แสดงอาการว่าป่วย จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวที่น่าสนใจ และน่าอ่านน่าศึกษาอย่างยิ่ง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รู้เขารู้เราได้
  • เขียนต่อนะคะ มาวิงวอน ^___^

 

 

" ผมเองพออ่านๆ ไปแล้วก็เกิดความรู้สึกว่าความรู้เรื่องโรค ที่ผม post มาจะผิดฝาผิดตัวกับที่นี่ซะแล้ว "

  • เป็นความรู้สึกเดียวกันกับที่ผมเปิดบล็อกเรื่องความปวดแรกๆ ครับ
  • ทำให้ผมต้องเปิดบล็อกอีกอันหนึ่ง เรื่องเล่า เพื่อทำให้เราเป็นที่รู้จัก
  • แต่ผมก็ยังจะเขียนเรื่องความปวดต่อไป เพราะเป็นความตั้งใจแต่แรกครับ
  • ให้กำลังใจให้ผ่านพ้นช่วงนี้ไปให้ได้ แล้วจะดีขึ้นครับ

เข้ามาอ่าน blog ที่อาจารย์เขียนก็ดีค่ะ  ไม่ผิดคู่ผิดข้าง!ผิดที่ผิดทางดอกค่ะ55  แล้วก็ลองเข้าไปอ่านนพลักษณ์ที่อจ.ทำลิงค์ไว้ด้วย ก็สนุกดีค่ะ  คงจะไปหาหนังสือมาอ่านในอนาคตอันใกล้  เพราะเป็นเรื่องที่น่าสนใจดีค่ะ  ปรับใช้ได้แล้วผสมผสานกับ

แนวทางพุทธศาสนา  ว่าแต่อจ.ไม่ได้อยู่ในชมรมเหรอคะ 

นั่นสิคะ ไม่ผิดฝาผิดตัวแน่นอนค่ะ ยังมีแนวทางอีกมากมายใน G2K ค่ะ ที่เสนอมาในความเห็นนั้นเป็นเพียงแค่ 1 ในการใช้ G2K เท่านั้นเองนะคะ

ที่คิดว่าอาจารย์เหมาะและไม่อยากให้ซาไป ก็คือความเป็นตัวตนและสิ่งที่เราสนใจค่ะ เพราะต่อๆไปเมื่อระบบพัฒนาไปจนถึงขั้นที่เราทำ human mapping ได้ อาจารย์ก็คือหนึ่งทรัพยากรบุคคลในเรื่องที่อาจารย์เขียนถึงนั่นแหละค่ะ และเห็นด้วยกับคุณ k-jira ว่าสิ่งที่อาจารย์เขียน มีประโยชน์มากๆกับ"ความเป็นไปในชีวิต"ของพวกเรานะคะ มีเวลากลับมาอ่านเมื่อไหร่ก็มีประโยชน์ เหมือนสิ่งที่อ.สมบูรณ์เขียนเช่นกันค่ะ ตัวเองก็อยากเขียนสิ่งที่สนใจจริงๆ แต่ยังหาเวลาแบ่งภาคไม่ได้มากเท่าที่ต้องการ เท่านั้นเองค่ะ ก็เลยเขียนงานที่กำลังต้องทำอยู่ทุกวันไปก่อน

แล้วถ้าเราสมมุติตัวเองว่าเราเป็นบล็อกเกอร์แถวหน้า เราต้องเริ่ม blog tag ยังไงคะ ยังไม่ได้ตามไปดู link เลยยังไม่ค่อยเข้าใจค่ะ แต่เห็นว่าน่าจะลองเริ่มกันดูนะคะ โหวดเห็นด้วยและอยากช่วยลองค่ะ

  • คุณหมอเริ่มก่อนดีมั้ยคะ เรื่อง Blog  Tag   อย่าเพิ่งหนีg2k ไปไหนนะคะ    ติดตามอ่านบันทึกคุณหมออยู่แล้วค่ะ  เพียงแต่บางครั้งหว้าต้องเลือกอ่านบางเรื่องค่ะ เพราะเวลาจำกัด
ตอนนี้ที่ Learners เล่นกันสนุกเลยค่ะ

กฏเล็กๆในการ เขียน blog tag ที่ learners ครับ 

http://learners.in.th/blog/tips/14801

การเขียน blog tag ทำให้ นศ.ต่างสถาบันรู้จักกันได้อย่างรวดเร็วครับ  

ตอนนี้ที่ learners ต้องตามอ่าน blog tag กันสนุกไปแล้วค่ะ น้อง ๆ กำลังสนุกกันใหญ่เลยค่ะ

โห ไปกันไวมากเลยนะครับเนี่ย ผมว่าวง g2k นี่ถ้าจะลำบากหน่อยนะครับ เพราะดูแต่ละท่านจะยังอึดอัดใจกับการเล่นแบบนี้อยู่

 มีข้อแนะนำในการเล่นที่ผมคิดว่าดีทีเดียว จาก http://spladplakao62.spaces.live.com/blog/  

 

  1. สิ่งแรกที่ผมมองเห็นจาก Blog Tag ก็คือ การเคารพในกฎ กติกา ของเกม ซึ่งก็เหมือนกับกฎหมายบ้านเมือง จะมีคนส่วนหนึ่ง (เป็นส่วนน้อย) ไม่เล่นตามกฎ กติกา ที่เขาตั้งไว้ เช่น เมื่อถูกเพื่อน tag แล้วจะด้วยเหตุผลใดก็ตามตัวเองก็เข้ามาเล่นด้วย แต่บางคนก็เขียนแค่เรื่องราวส่วนตัว 5 ข้อเสร็จแล้วไม่ยอม tag ต่อให้เพื่อน หรือบางคนก็ไม่ยอมเขียนเรื่องราวตามกติกา แต่ tag ต่อไปให้เพื่อนเลย หรือเขาให้เขียนแค่ 5 ข้อ แต่ไปเปลี่ยนกติกาของเขาโดยบอกว่าต้องเขียน 10 ข้อเป็นต้น สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าใน สังคมหมู่มาก การที่จะทำให้ทุกคนทำตามกฎ กติกา อะไรนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานที่มาต่างกัน ออกไป ถ้าใครอยากจะลองพิสูจน์ว่าสิ่งที่ผมยกตัวอย่างมานี้มีจริงหรือไม่ ก็ลองตามสายการ tag โดยเริ่มจาก เพื่อนทั้ง 5 คนที่ผม tag ไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นเองครับ

  2. การ tag ต่อเพื่อนจำนวน 5 คน นี่ก็จะสะท้อนให้เห็นถึง ความใส่ใจในรายละเอียดของเพื่อนที่เราจะเลือกให้เข้ามาร่วมเล่นเกมนี้ เพราะตามกติกาห้าม tag ต่อไปยังคนที่ถูก tag ก่อนหน้าเราแล้ว กติกานี้ขึ้นมีเพื่อไม่ให้เกมนี้เป็นเหมือนการพายเรือในอ่าง แต่ต้องการให้เหมือนคลื่นที่ กระจายออกจากจุดศูนย์กลางไปโดยรอบๆ ไม่ย้อนกลับมาที่เดิม ถ้าเราร่วมเล่นเกมนี้อย่างเข้าใจ เราก็ต้องเข้าไป ดูที่สเปซของเพื่อนเราก่อนว่า มีใคร tag เขามาหรือยัง ถ้ายังไม่มีเราก็เลือกเขาไว้พิจารณา กรณีการ tag ซ้ำก็จะ ไม่เกิด แต่จะเลือกเขาหรือไม่นั้น ก็ต้องดูต่อไปว่า เพื่อนคนนี้น่าจะให้ความร่วมมือ หรือร่วมเล่นกับเราด้วยหรือเปล่า เขามีศักยภาพ หรือมีเพื่อนๆ ที่พอจะ tag ต่อได้หรือไม่ ถ้าเราเลือกคนที่ไม่ได้สนใจจะเขียนบล็อกเลย นั่นก็หมาย ความว่า เราส่ง tag ไปเกมก็จบตรงนั้น ไม่สามารถที่จะขยายต่อไปยังเพื่อนๆ คนอื่น ได้

  3. การ tag ต่อเพื่อนยังสะท้อนให้เห็นถึงความรวดเร็วของเรา ในการช่วงชิงเพื่อนๆ ที่มีศักยภาพที่จะขยายเกมต่อไปได้ ถ้าเราช้า เพื่อนคนที่เราหมายปองก็อาจจะถูก Tag ตัด หน้าไป ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับการทำธุรกิจ โดยเฉพาะปัจจุบันที่อาศัย Network Marketing มาเป็นกลไกการขยาย ฐานธุรกิจ ถ้าเราพลาดที่จะได้เครือข่ายที่มีศักยภาพ การขยายธุรกิจของเราก็อาจจะหยุดชะงัก หรือเสียโอกาสที่ จะขยายตัวด้านนั้นได้

  4. นอกจาก Blog Tag จะทำให้เราได้รู้จักเพื่อนได้ลึกซึ้งขึ้น แ้ล้ว เรายังได้ทราบด้วยว่า เพื่อนแต่ละคนให้ความร่วมมือหรือรักเราจริงแค่ไหน 10 วันที่ผ่านมา ผมยอมเสียเวลา เฝ้าติดตามสายงานการ tag ต่อๆ กันไปของเพื่อนทั้ง 5 คนของผม แต่ผมยังไม่เคยเห็นสายงานไหนทำได้ 100% เต็ม นั่นคือ tag ต่อไปยังเพื่อน 5 คนแล้วเพื่อนทั้ง 5 คนร่วมเล่นแล้ว tag ต่ออีก 5 คน มากสุดก็แค่ 4 คน สิ่งนี้ทำ ให้ผมคิดว่า นี่ขนาดไม่มีผลประโยชน์ใดแอบแฝง และให้ tag ต่อแค่ 5 คนเองยังทำได้ยาก แล้วถ้าเป็นเรื่องธุรกิจ จริงๆ คงไม่ต้องพูดถึงว่าจะมีปัญหาหรืออุปสรรคอีกมากมายแค่ไหน

  5. ตามทฤษฎีแล้วถ้าผมเองเป็น Level 1 เพื่อนที่ผม tag ไป อีก 5 คน เป็น Level 2 ต่อไป Level 3 จะต้องมีคนเข้าร่วมเล่นเกม 25 คน (5 X 5) แล้ว Level 4 ต้องมี 125 คน (25 X 5) Level 5 ต้องมี 625 คน (125 X 5) Level 6 ต้องมี 3,125 คน (625 X 5) Level 7 ต้องมี 15,625 คน (3,125 X 5) รวมทั้งหมด 7 level ควรจะมี 19,531 คน เป็นต้น แต่ความเป็นจริงนับคร่าวๆ ถึงวันที่ 24 มกราคม จะ เห็นได้ว่า Level 3 มี 25 คน (ครบ) Level 4 มี 70 คน Level 5 มี 120 คน Level 6 มี 75 คน และ Level 7 มี 45 คน หรือรวมทั้งหมดเท่ากับ 341 คนเท่านั้น หรือคิดเป็นประมาณ 1.75% ของจำนวนตามทฤษฎี คลิกดูที่ Blog Tag Statistics เพื่อดูแต่ละ Level ได้ครับ

  6. จากตัวเลขที่ผมนำมาให้ดูคร่าวๆ (เพราะมีเวลาตาม update ข้อมูลไม่พอ) ทำให้มองเห็นว่า จริงๆ แล้วเราสามารถทำให้ตัวเลขมันเพิ่มขึ้นกว่านี้ได้อีก ถ้าแต่ละคนที่เข้ามาร่วม เล่นเกมนี้ เข้ามาเล่นอย่างจริงจัง นั่นคือ เลือกเพื่อนที่มีศักยภาพ และเป็นเพื่อนที่ไม่ถูก tag มาก่อน เช่นบางคน tag ต่อเพื่อน 5 คน แต่มีถึง 4 คน ถูก tag ตัดหน้าไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้สนใจจะเปลี่ยนคนใหม่ ก็ทำให้เสียโอกาสที่จะ ขยายวงเพื่อนจาก 4 คนนั้น นอกจากนี้ ถ้าเราสนใจติดตามเพื่อนทั้ง 5 คน เพื่อกระตุ้นว่าจะร่วมเล่นหรือเปล่า ถ้ามี ใครไม่พร้อมจะเล่น เราก็สามารถเปลี่ยนคนใหม่ได้ตามกติกา ถ้าทำเช่นนี้ เพื่อนทั้ง 5 คนของเราก็จะสามารถ ต่อยอดของเราไปได้

  7. นอกจากเลือกเพื่อนที่มีศักยภาพแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การให้ความรู้กับเพื่อนในการเล่นเกม ผมสังเกตเห็นหลายคนพอเขียนเรื่องตัวเองเสร็จก็ tag ต่อเพื่อน เพื่อนที่ถูก tag ก็งงๆ ว่า แล้วต้องทำยังไงต่อ บางคนไม่อยากถามก็เลยทำเฉยไม่สนใจไปเลย เพราะไม่รู้จะไปหาอ่านที่มาที่ ไปตรงไหน แต่ก็มีหลายคนพยายามเขียนแนะนำวิธีเล่นตามที่ตัวเองเข้าใจไว้ให้เพื่อน ซึ่งก็อาจจะคลาดเคลื่อน จากต้นฉบับ เลยทำให้กติกาการเล่นเริ่มผิดเพี้ยนไป เหมือนกับการบอกต่อกันปากต่อปาก คนสุดท้ายที่ได้รับ ข้อมูลย่อมแตกต่างจากคนแรกแน่นอน แต่ก็ยังมีหลายคนที่เข้าใจวิธีการประหยัดเวลา โดยการทำลิงค์ให้คนที่ถูก tag มาอ่านที่ Blog Tag – A Game for Bloggers ซึ่งถือเป็นวิธีการเล่นที่ถูก ต้อง

          ถ้าหันมามองแนวคิดของ Network Marketing และ Multi-Level Marketing ผมว่าก็ไม่ต่างอะไรจากเกมนี้ เพราะเป็นการสร้างเครือข่ายใน ลักษณะเดียวกัน สิ่งที่จะทำให้การทำตลาดแบบนี้ประสบความสำเร็จได้นั้นก็คล้ายๆ กับสิ่งที่ผมบอกเล่ามาแล้ว ซึ่ง ผมขอสรุปเป็นประเด็นไว้เผื่อใครสนใจจะได้นำไปคิดต่อนะครับ

  1. ประเด็นแรก การให้ความรู้เรื่องกฎ กติกา หรือระเบียบ ปฏิบัติต่างๆ ต้องชัดเจน และมีที่มาเพียงแหล่งเดียวเท่านั้น ทุกคนที่เข้ามาในเครือข่ายจะต้องเรียนรู้เรื่องต่างๆ เหล่านี้จะแหล่งเดียวกัน

  2. ประเด็นที่สอง การคัดเลือกคนที่จะเข้ามาร่วมในเครือข่าย จะต้องคัดเลือกคนที่มีศักยภาพ มีความพร้อม และสามารถสร้างเครือข่ายต่อได้ ไม่เช่นนั้นก็จะเสียเวลาและ โอกาสในการสร้างเครือข่ายนั้่นๆ

  3. ประเด็นที่สาม การกระตุ้นให้คนที่เข้ามาร่วมในเครือข่าย ของเราเห็นถึงผลประโยชน์และโอกาส (ที่เป็นจริง) ที่จะได้รับในการขยายเครือข่าย

  4. ประเด็นที่สี่ ต้องไม่เสียเวลากับคนที่เข้ามาในเครือข่าย แล้วไม่มีความพร้อมหรือมีศักยภาพเพียงพอ เพราะการสร้างเครือข่ายให้รวดเร็วนั้นมิอาจจะรอคนใดคนหนึ่ง ได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท