หลักสูตรท้องถิ่นกับการจัดการความรู้ของเม็กดำ


ได้จัดการเรียนการสอนที่เป็นความรู้ของชุมชน ของสิ่งแวดล้อม ของบริบทบ้านเกิดของตนเองด้วยการนำความรู้เหล่านั้นมาบูรณาการเข้ากับสาระการเรียนรู้ทั้ 8 สาระ ได้อย่างกลมกลืน

     เม็กดำกับการจัดการ
ความรู้ด้วย
หลักสูตรท้องถิ่น          

            
การจัดการเป็นความรู้หรือปัญญาที่เชื่อมต่อองค์ประกอบหรือส่วนต่าง ๆ ให้สำเร็จได้ตามความต้องการ

            การจัดหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียน ได้ถูกกำหนดไว้ให้โรงเรียนทุกโรงเรียนจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นได้เอง
30 %  ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ แต่หาโรงเรียนที่จัดการเรื่องนี้ทั้งระบบและนำองค์กรที่เกี่ยวข้องมาร่วมจัดการความรู้ให้กับผู้เรียนได้ออย่างสมบูรณ์แบบมีไม่มากนัก จึงเป็นเรื่องที่น่าอิจฉาครูและนักเรียนของโรงเรียนเม็กดำจังเลย  ที่ได้จัดการเรียนการสอนที่เป็นความรู้ของชุมชน ของสิ่งแวดล้อม ของบริบทบ้านเกิดของตนเอง ด้วยการนำความรู้เหล่านั้นมาบูรณาการเข้ากับสาระการเรียนรู้ทั้ 8 สาระ ได้อย่างกลมกลืน

 
          จากที่เข้าไปร่วมเรียนรู้ในบริบทของเม็กดำ ทำให้อดไม่ได้ที่จะบอกว่าตะลึง กับความคิดและแนวการจัดการเรียนการสอนซึ่งนำโดยท่าน ผอ.ศักดิ์พงษ์  หอมหวล ได้ ทุกอย่าง ทุกเรื่องจัดการบูรณาการหมด เริ่มจากบูรณาการวิชา โดยการถอดบทเรียนที่เป็นความรู้ท้องถิ่นเป็นเรื่อง เรื่อง แล้วใน 1 เรื่องนำมาใช้สอนได้หลากหลายสาระ  หรือจะเป็นบูรณาการครู โดยให้ครูหลายคนมาร่วมกันออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกัน และให้ครอบคลุมทุกรายวิชาที่สอน บูรณาการช่วงชั้น โดยจัดกลุ่มนักเรียนที่เรียนในช่วงชั้นเดียวกันมาถอดบทเรียนร่วมกันตามกำลังความสามารถของนักเรียน แต่ต้องเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน  ผสมผสานและหลอมกิจกรรมเข้าเป็นหนึ่งเดียว          

             
ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ
ได้พ่อครู แม่ครู จากหมู่บ้านมาช่วยกันให้ความรู้แก่ลูกหลานได้เรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา  ความรู้ที่พ่อครูแม่ครูนำมาถ่ายทอดนั้นเป็นเรื่องที่มาจากความรู้ที่เป็นชีวิต ความรู้ที่เป็นประสบการณ์สั่งสมมาเกือบตลอดชีวิตของพ่อครู แม่ครู  ได้มีโอกาสถ่ายทอดความรู้ และเชื่อมโยงความรู้ให้กับคนรุ่นหลังไว้สืบทอดมรดกทางความรู้ ของบรรพบุรุษไม่ให้ขาดช่วง ด้วยการนำความรู้สมัยเก่ามาเข้าหลักสูตรให้เป็นความรู้สมัยใหม่ เป็นการหลอมเบ้าให้ลูกหลานเดินตามรอยความดีของพ่อแก่แม่เฒ่า  ผู้ให้เกิดความภาคภูมิใจ ผุ้รับได้บทเรียนที่มีคุณค่าแห่งชีวิตและความดี  เช่น การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ผะญา คำสอย และกลอนสด กลอนลำ นำมาเป็นคำสอน เป็นคติสอนใจ ในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ทำให้นักเรียนสนุกสนานในการเรียน โต้ตอบกลับไปกลับมา ใช้ภาษาได้สละสลวย คล้องจอง  แสดงลักษณะท่าทางประกอบได้ สุดท้ายคือนักเรียนมีความสุขในการเรียน          

               
วันศุกร์เป็นวันที่นักเรียนทุกคนตั้งตารอคอย อยากให้ถึงเร็ว ๆ เพราะภาคเช้าเรียนเป็นฐานบูรณาการในโรงเรียน โดยมีคุณครูดูแลกิจกรรมในภาคเช้า ภาคบ่ายนักเรียนออกไปเรียนที่ฐานการเรียนรู้ของพ่อครู แม่ครูที่รอยู่ที่แปลงนา ซึ่งจัดการระบบเศรษฐกิจพอเพียง การทำมาหากิน การสร้างงานในแปลงนา นักเรียนได้ลงไปเรียนรู้ในสถานการณ์จริง ปฏิบัติจริง ในกระบวนการจริง นักเรียนได้ซึมซับกับบริบทของวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ การสร้างาน สร้างรายได้ของชุมชน

           การจัดการเป็นเรื่องที่หายไปเกือบจะโดยสิ้นเชิงจากภูมิปัญญาของสังคมไทย เพราะการศึกษาที่เน้นการท่องวิชาเป็นวิชา ทำให้คนไทยทำอะไรไม่ค่อยเป็น เพราะไม่เห็นคุณค่าของการเรียนรู้จากการทำ เอาแต่ท่องวิชา จัดการไม่เป็น จะทำอะไรในสังคมไทยลำบากมาก เพราะเต็มไปด้วยคนทำไม่เป็น จัดการไม่เป็น (ประเวศ  วะสี  2549) 

หมายเลขบันทึก: 72664เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2007 23:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท