การประกันคุณภาพ กับ การจัดความรู้ในมหาวิทยาลัย


จากประสบการณ์เดิมที่เราเชื่อว่า QA (Quality Assurance) จะสามารถกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาในทุกๆ พันธกิจของมหาวิทยาลัยได้ ต่อมาจึงได้มีความคิดที่จะต่อยอดงาน QA ด้วย KM ดังนั้นหากดูในภาพด้านล่างจะเห็นความเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรม QA ที่เราทำอยู่เดิมกับการต่อยอดด้วย KM เราเชื่อว่าเกลียวพลังของการพัฒนาจะมีมากขึ้นเป็นทวีคูณ
  • วันนี้ได้อ่านเรื่องจาก blog ของ ผศ.ดร. วิบูลย์ วัฒนาธร คุณเอื้อของ มหาวิทยาลัยนเรศวร บันทึกเรื่อง KM ในมหาวิทยาลัยนเรศวร (อีกครั้ง) ทำให้มองเห็นภาพที่ตัวเองพยายามคิดว่าจะโยงกันอย่างไร ? ระหว่าง การทำประกันคุณภาพ ที่ทุกมหาวิทยาลัยกำลัง (ต้อง) ทำอยู่ในช่วงนี้ กับ การจัดการความรู้ ที่เครื่อข่าย UKM กำลังผลักดันให้มหาวิทยาลัยในเครือข่ายส่งเสริมดำเนินการ  เพื่อนำพามหาวิทยาลัยไปสู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization หรือ LO) และ มหาวิทยาลัยวิจัยอย่างไร
  • เป็นบันทึกที่ชาว UKM ไม่ควรพลาดครับ
    (ในความเห็นของผม)
หมายเลขบันทึก: 37092เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2006 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • น่าสนใจดีครับ
  • อาจารย์เล่าเรื่องวังน้ำเขียวบ้างสิครับ
  • หลายๆคนอยากทราบ
  • ช่วงนี้ไม่ได้ไปวังน้ำเขียวเลยครับ
  • ทายภาพ Beeman ถูกอะเปล่า

ขอบพระคุณนะคะ..ตามไปอ่านแล้วคะ..

ตามมาและตามไปแล..คะ

  • ขอบคุณ ทั้งสองสหาย Dr. ที่แวะมานะครับ...
  • ขอไปพักเอาแรงไว้ทำงานพรุ่งนี้ก่อนครับ
  • ทายถูกครับอาจารย์
  • อยากถามว่าคนที่นอนคือใคร
  • จริงๆแล้วอาจารย์ต้องอยู่ด้วย
  • อาจารย์เล่นหนีไปก่อน
อยากเห็น KM ในรูปแบบของ ม. มหาสารคามจัง ไม่ทราบว่า อ. บันทึกไว้ที่ไหนคะ
  • เรียนคุณจ๊ะจ๋า
  • กำลังพยายามเรียนรู้ และ หารูปแบบของ มหาสารคาม อยู่ครับ ได้เมื่อไหร่ ? จะนำมารายงานครับ
  • กว่าหนึ่งปี แห่งการเลียนรู้  ย้ำว่า เลียนรู้ นะครับ ตามขั้นการพัฒนาของ ท่านอาจารย์ ดร. ประพนธ์  มมส. เราก็ได้ ABC Model จากต้นคิดของ ท่าน สายน้ำแห่งความคิด ของชาว มมส. ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท