รถราง รถเมล์ รถยนต์ วิ่งบนเลนเดียวกัน บริหารอย่างไร


ปัญหาก็ไม่ใช่อยู่ที่การสร้างทางร่วมกันแล้วซิครับ คราวนี้ สิ่งที่น่าจะเป็นหัวใจของการให้รถทั้งสามประเภทนี้วิ่งร่วมกัน อยู่ที่ว่าจะบริหารเวลาอย่างไรให้รถวิ่งไปด้วยกันได้

สวัสดีครับ

    วันนี้เก็บมาเล่าจากเรื่องไม่ธรรมดาแต่เห็นจนเป็นธรรมดาแล้วนะครับ ก็คือการบริหารจัดตารางรถในประเทศเยอรมันตามเมืองต่างๆ ครับ ส่วนใหญ่ในแต่ละเมือง ก็จะมีรถเมล์ มีรถราง (รถรางคือลูกของรถไฟครับ สั้นกว่าเล็กกว่า) รถยนต์วิ่งใช้เส้นทางร่วมกัน เพราะว่ารางของรถรางก็เป็นรางแหล็กที่อยู่ในระดับเดียวกันกับพื้นถนน โดยฝังลงไปบนเลนทั้งสองเลน

   การสร้างก็ไม่ได้ยากอะไรครับ เพียงแต่จะทำอย่างไรให้แข็งแรงและทนทานใช้ได้นาน แต่ก็จะมีการบำรุงเช็คสภาพอยู่ตลอด เช้าๆ ก็จะมีรถทำความสะอาดรางวิ่งมากวาดรางก่อนทุกๆ เช้า และรถรางก็จะมีสายไฟลอยอยู่ด้านบนรางเหนือตัวรถราง นั่นคือ รถรางจะวิ่งไปได้ก็ใช้ไฟฟ้าจาสายไฟที่อยู่เหนือหลังคาที่ขึงเอาไว้แล้ว (ไม่มีไฟฟ้าวิ่งบนรางเหมือนรถไฟฟ้าบีทีเอส ในเมืองไทยนะครับ) คนละระบบกันครับ

   ปัญหาก็ไม่ใช่อยู่ที่การสร้างทางร่วมกันแล้วซิครับ คราวนี้ สิ่งที่น่าจะเป็นหัวใจของการให้รถทั้งสามประเภทนี้วิ่งร่วมกัน อยู่ที่ว่าจะบริหารเวลาอย่างไรให้รถวิ่งไปด้วยกันได้

   ลองคิดกันเล่นๆ ดูครับ หากมีเงื่อนไขให้ดังต่อไปนี้

  1. ทุกๆ สิบนาที รถเมล์จะวิ่งมาจอดตามป้ายต่างๆ แบบตรงต่อเวลา (บวกลบบ้างในบางทีครับ)
  2. ทุกๆ สิบนาที จะมีรถรางมาจอดที่ป้ายเดียวกัน ในกรณีที่มีการใช้เส้นทางร่วมกัน
  3. รถยนต์ก็วิ่งไปกับรถบัส จะตามหลังหรือนำหน้าก็ได้
  4. สรุปว่าออกแบบอย่างไรให้รถทั้งสามประเภทนี้วิ่งด้วยกันได้แบบไม่ชนกันในเมือง ลองคิดกันเล่นๆ ครับ

    แล้วในเมืองไทยหล่ะครับ เราจะบริหารอย่างไรจากรถเมล์ที่เรามีอยู่หลายๆ สิบสาย ให้วิ่งได้

   เมื่อก่อน เมืองไทยก็เคยมีรถรางครับ เสียดายจังที่ได้ยกเลิกไปเสีย ไม่งั้น กทม. คงคลาสสิคน่าดูครับ (ความเห็นส่วนตัว)

   หากคุณเป็นนักบริหารรถดังกล่าวในเมือง คุณจะจัดการอย่างไร

รถทุกชนิดไม่มีคนขับคนเดียวในการจัดการขับรถ ไม่มีคนเดินตั๋ว ไม่มีคนเก็บเงิน คนเดินขึ้นรถ ขึ้นลงได้ตามสบาย บางเมืองอาจจะต้องแสดงตั๋ว แต่เมืองที่ผมอยู่ไฮเดลเบิร์ก ไม่ต้องแสดงตั๋วเลยครับ เพียงแต่หากมีคนขึ้นมาตรวจเจอแล้วไม่มีตั๋ว คงได้ขึ้นในบัญชีดำ หรือไม่ก็ปรับหนัก สองพันบาท (สำหรับค่าตั๋วขาเดียว ประมาณหนึ่งร้อยบาท ใช้ได้ภายในประมาณหนึ่งชั่วโมง)

หากคุณได้รับมอบหมายให้บริหารเมืองนี้คุณจะทำไงครับ ให้รถเดินทางไปได้สะดวก รถรางกับรถเมล์ รถยนต์ไม่ชนกัน

ลองเสนอความคิดกันดูนะครับ

ขอบคุณมากๆ ครับ

สมพร ช่วยอารีย์  

หมายเลขบันทึก: 83614เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2007 06:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • เขาบริหารดีนะ ทราบว่าคนในในเมืองไทยก็ไปศึกษาดูงานบ่อย ๆ นะ
  • แต่ในเมืองไทยรถวิ่งเฉพาะทางยังชนกันอุตหลุด ถ้ารถหลายประเภทวิ่งในพื้นที่เดียวกัน คงน่าคิดกว่านี้เหมือนกันนะ

สวัสดียามเช้าครับพี่ อัมพร

  • ครับผม การบริหารจัดการเรื่องตารางและการตรงต่อเวลาครับ ต้องเดินไปตามกฏครับ แล้วทุกอย่างจะเป็นไปได้ครับ
  • เมืองไทยก็ทำได้แต่ปัจจัยเยอะครับ ฝรั่งไปเมืองไทย แค่ไปถึงเป้าหมายได้ก็ยอดแล้วครับ

สวัสดีครับอาจารย์สมพร

ผมว่าคำถามแรกก็คือว่า จำนวนรถในเมืองไทยจะยังเท่าเดิมไหมครับ??? ถ้ายังเท่าเดิมก็อาจจะลำบากนิดหน่อยครับ

ผมคิดว่า ระบบการขนส่งเมืองไทยที่ไม่ดีนั้นเพราะการไม่รู้จักรักษาเวลาครับ สมัยผมเรียนอยู่ลาดกระบังนะครับ จำได้ว่าตอนปีหนึ่งโดดเชียร์ ในตารางบอกว่าจะมาถึงลาดกระบังตอนเที่ยงมั้งครับ เชียร์ประชุมตอน 4 โมงครับ

พี่ครับ ผมได้กลับบ้านตอน 3 ทุ่มครับ เชียร์มาลากคอตอนรอรถไฟครับ นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อย่ารอรถไฟตอนโดดเชียร์ครับ

รถไฟจากหัวตะเข้ไปหัวลำโพงนั้นมาไม่ค่อยตรงเวลาครับ มีเที่ยวแรกเที่ยวเดียวครับที่ตรงเวลา นอกนั้นไม่เคยครับ ผมไม่แน่ใจว่า รฟท ปรับปรุงหรือยังนะครับ ถ้าปรับปรุง ผมก็ขอประทานโทษมา ณ ที่นี้ด้วย

ผมเชื่อว่าถ้าระบบขนส่งทางราง เอาแค่รถไฟนั้นตรงเวลา เราก็น่าจะแก้ปัญหาไปได้หลายอย่างแล้วครับ

เรื่องระบบรถเมล์นั้น ผมเคยคิดไว้เล่นๆว่า เราน่าจะออกแบบระบบรถเมล์ใหม่ครับ คือให้รถเมล์นั้นวิ่งระยะสั้น ทำให้สามารถกำหนดเวลาได้แน่นอนครับ ถ้าทำได้ เราอาจจะสามารถลดจำนวนรถเมล์ลงได้บางส่วนครับ ทำให้รถราสามารถเคลื่อนตัวไปได้ดีขึ้นครับ

แต่ท้ายที่สุดผมมองว่า เราต้องสร้างระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ครับ แต่นั่นคงไม่พอครับ เพราะบ้านเมืองของเรานั้นดูมันชอกไชไปตามหลืบตามซอยซะจริงๆ ผมมองว่าระบบรถเมล์สายสั้นๆ เข้าออกตามซอย ตามหมู่บ้านที่คนเยอะๆ คงจะพอช่วยทำให้คนสะดวกสบายไนการไปต่อระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ที่ตั้งไว้หน้าหมู่บ้านหรือปากซอยได้ครับ

ผมเชื่อว่า ถ้าเราคิดเรื่องขนคนจากในหลืบซอย มาขึ้นรถไฟฟ้าได้ ต่อให้สร้างอีก 10 สายก็ไม่น่าจะลดปริมาณการใช้รถครับ

อ้ออีกอย่างครับ เมืองไทยนั้นเมืองร้อนชื้นครับ อากาศคงไม่เหมาะกับการเดินเท่าไรมั้งครับ

 

 

ขอบคุณ คุณ

P

มากนะครับ

  • ขอบคุณมากครับ กับหลายๆ ประเด็นที่น่าสนใจมากเลยทีเดียวครับ 
  • ผมก็เคยคิดเล่นๆ เรื่องการแก้ปัญหารถติดใน กทม.ครับ แต่แผนที่ผมคิดไว้เป็นแผนระยะยาว โดยมีวิธีการคือ แก้ปัญหารถติดใน กทม. โดยการไม่แก้ปัญหารถติด
  • มันคืออะไร ผมมองสาเหตุว่าทำไมรถติดมาก ทำไมคนมาก คนมากเพราะสาเหตุใด หลายๆ ประการคือ กทม.มีแหล่งงาน แหล่งการศึกษา แหล่งท่องเที่ยวที่กองอยู่เต็มไปหมดครับ
  • จุดบอดคงอยู่ที่การไม่กระจายสิ่งเหล่านี้ ให้ไปอยู่ตามต่างจังหวัด คนเลยแห่เข้ามาอยู่แต่ใน กทม.
  • หากกระจายสิ่งเหล่านี้ออกไปในแผนระยะยาว ปัญหารถติดก็คงไม่มีให้แก้ครับ ไม่งั้น กทม.จะเป็นแบบนี้ครับตลอดไปครับ ต่อให้สร้างกันกี่สายก็ยังเป็นแบบเดิม เว้นแต่ว่าจะแก้ปัญหาให้มีเลนรถประจำทางที่แน่นอน ชัดเจน ตรงต่อเวลา ให้รถประจำทางวิ่งอย่างเดียวหรือให้มีความสำคัญในการวิ่งเลนของตัวเองก่อนรถชนิดอื่น อาจจะให้คนหันมาใช้รถประจำทางมากขึ้น
  • ตอน สมัย ป โท ผมเคยนั่งรถเมล์จาก หน้าจุฬา ไปลงที่ เพชรบุรีซอยหน้า เชื่อไหมครับ ผมใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งๆที่ระยะทางไม่ถึง สองกิโลเมตร แต่ตอนนั้นฝนตก
  • ผมไปเวียดนาม หากฝนตกรถไม่ติดเลยครับ ที่ฮานอย ทราบไหมครับว่าทำไม เพราะว่าคนใช้มอร์เตอร์ไซต์กันส่วนใหญ่ ถนนโล่งเลยครับ
  • บ้านเราฝนตก ต่างคงก็ต่างเอารถลงมาจอดกันบนถนน เพราะความสะดวก แต่รถไม่ขยับเลยครับ
  • การจัดการบริหารรถบัสในเมืองไทย ก็สำคัญครับผม อีกทางการจัดการให้รถกระจาย กันไป โดยอาจจะมีศูนย์รายงานข่าวปล่อยแนวทางการเคลื่อนรถให้กับคนขับตลอดเวลา ก็คงข่วยบรรเทาได้ระดับหนึ่ง
  • ผมไม่มีประสบการณ์เรื่องเหล่านี้มากครับ ได้แค่คิดและฝันเอาเองครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีอีกรอบครับอาจารย์

เรื่องการกระจายความเจริญนั้นเป็นสิ่งที่ต้องทำครับ แต่ใช่ว่าทำแล้ว ทุกอย่างจะไม่กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพครับ

ผมยกตัวอย่างง่ายๆนะครับ เมื่อโลกแห่งเทคโนโลยีก้าวหน้า เมืองใหญ่ๆอย่างเช่นนิวยอร์ก ที่ขายแต่การบริการ ก็น่าจะมีคนลดลงใช่ไหมครับ

แต่มันกลับไม่ได้เป็นอย่างนั้นครับอาจารย์ คนส่วนมากก็ยังอยากมาอยู่ที่นิวยอร์กอยู่ดี เพราะว่ามันเป็นมหานครแห่งความฝัน คงไม่ต่างอะไรจากกรุงเทพในประเทศไทยมั้งครับ

การกระจายความเจริญนั้นจำเป็นที่จะต้องสร้างระบบสาธารณูปโภคและ infrastructure ที่เหมาะสมและสอดรับกับเมืองแต่ละเมืองครับ

สังเกตไหมครับว่า เมืองใหญ่สมัยก่อน จะตั้งติดแหล่งน้ำ ต่อไปพอทุกอย่างเจริญขึ้น เมืองไหนที่มีสถานีรถไฟ เมืองนั้นก็จะเป็นมีความเจริญ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็คือ infrastructure ที่รองรับการเจริญเติบโตของเมืองในสมัยก่อนทั้งนั้นครับ

ประเทศไทยถ้าจะกระจายความเจริญได้ ก็ต้องการ infrastructure ไปรองรับการขยายตัวก่อนครับ ซึ่งนั่นก็ต้องใช้เงินทั้งนั้น

ปัญหาและคำถามก็คือ

  • เราใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและถูกหลัก แล้วหรือยังครับ (นี่คือคำถามแรกที่เราสมควรถามก่อนจะเริ่มการใช้เงินครับ)
  • เราจะหาเงินมาจากไหน
  • เราจะลำดับความสำคัญชองปัญหาก่อนหลังอย่างไร

ขอบพระคุณมากครับ

 

 

ปัญหาในประเทศไทย คงจะเกิดจาก ขาดระเบียบวินัย และ คนมีระเบียบวินัยซึ่งเป็นคนส่วนน้อยอยู่ไม่ได้ 

เทคโนโลยีอาจจะต้องเข้ามาพร้อมวินัยด้วย เดี๋ยวนี้เห็นคนขึ้น BTS เข้าแถว !!! ตกใจมาก แต่ก็ดี :-) 

ขอบคุณคุณ
P

มากครับ

  • ดีใจจังที่แสดงความเห็นมายาวและหลายประเด็น ครับ
  • ผมเองคิดเอาเองว่าในเมื่อก่อนตอนสร้างเมือง กทม. มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่สร้างไว้ ก็คงไม่เชื่อมติดก่อนกันซะทีเดียว แต่พอมีหลายๆ อย่างเพิ่มมากขึ้น หลายๆ อย่างเหล่านั้นก็จะถึงกันเชื่อมกันโดยตึกอาคารและถนนต่างๆ เพราะอาจจะไม่ได้คิดในเรื่องการเจริญเติบโต หรือคิดไว้แล้วก็ได้ครับ ประกอบกับจำนวนคนยังไม่มาก และอีกอย่างสร้างไว้ไกลก็ต้องเดินทางไกล เสียเวลาในการเดินทางเช่นกัน
  • แต่ปัจจุบันการเดินทางก็สะดวกมากขึ้น แต่หากแหล่งต่างๆ อยู่ไกลก็เสียค่าใช้จ่าย ในเมืองใหญ่เลยเกิดปัญหาหลายๆ อย่างอยู่รวมกัน
  • จริงๆ แล้วตอนนี้ในเมืองไทย ก็มีมหาวิทยาลัยกระจายกันอยู่ทั่วประเทศแล้ว ผมคิดว่าเป็นข้อดีข้อหนึ่งก็ว่าได้ หากเราปรับสภาพให้ทุกๆ ที่มีศักยภาพเท่าเทียมกันเท่าที่จะมากได้ ในการถ่ายเทบุคลากรให้มีการแลกเปลี่ยนกัน สร้างความสมดุลระหว่างในเมืองกับนอกเมืองให้เกิดครับ ระหว่างเมืองใหญ่และชนบทให้เกิดครับ ที่จะสามารถรองรับนักศึกษาในสาขาต่างๆ ให้ได้
  • ทำให้นักศึกษาส่วนหนึ่งศึกษากันในพื้นที่ของตัวเองก็ได้และไม่มีปัญหาเรื่องความแตกต่างมากนัก ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ทำให้การหลั่งไหลเข้าเมืองลดลงครับ ในระยะยาว
  • สำหรับแหล่งงานทำก็เช่นกันครับ เมื่อมีการขยับขยายของแหล่งงาน หรือว่าการสร้างงานให้เกิดในภาคชนบท ก็อาจจะมีส่วนทำให้แรงงานเข้าเมืองลดลงครับ เพราะคนมีงานทำแม้เงินจะไม่เยอะ แต่อยู่ได้ตลอดเดือน เข้า กทม.เงินเดือนเยอะก็ใช้จ่ายเยอะ ไม่มีต้นกล้วยให้ปลิดกินได้อย่างชนบทครับ ทุกอย่างต้องซื้อ หากพิจารณาว่าในหนึ่งเดือนเราเหลือมากน้อยแค่ไหน ได้มามากก็จ่ายไปมาก
  • ก็จะช่วยลดจำนวนคนใน กทม ได้มากขึ้นครับ ผมสังเกตเอาตามวันสำคัญต่างๆ ที่ทำให้ กทม.เงียบนะครับ เช่น สงกรานต์ คนส่วนใหญ่กลับบ้านกัน ลองจินตนาการดูว่า หากคนเหล่านั้นมีงานทำที่บ้านกันหมด ผมก็ยังเชื่อลึกๆว่า แต่ละคนก็คงอยากทำงานใกล้บ้าน ใกล้ญาติ ส่วนคนที่รักเมืองกรุงมากๆ อันนี้ไม่เป็นไรให้โอกาสเค้าเข้ามาทำงานในเมืองครับ
  • ผมเชื่อว่าในที่สุดถนนใน กทม จะมีพื้นที่ให้รถวิ่งแบบโล่งสบายได้ครับในระบบที่เป็นอยู่ ปล่อยให้ กทม เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งวัฒนธรรม และก็แหล่งท่องเที่ยว แล้วก็ศูนย์บริหารงานทางรัฐ เราจะหายใจสะดวกมากขึ้น
  • กทม.ก็ต้องเตรียมแหล่งสีเขียวให้กระจายตัวไปทั่วเมืองครับ เพราะสิ่งนี้คือสิ่งสำคัญที่ละทิ้งไม่ได้ครับ
  • สำหรับแม่น้ำ ก็ต้องหาทางบำบัด อาจจะต้องสนับสนุนในการทำวิจัยในการนำไปสู่การบำบัดน้ำให้ดีขึ้น แล้วทำให้เกิดการเดินทางทางน้ำมีศักยภาพแล้วคนก็หันมาใช้มากขึ้น ก็น่าจะเป็นไปได้ครับ ผมไม่ได้ศึกษาในเรื่องเหล่านี้ครับ แต่เชื่อว่ามีคนในเมืองไทยศึกษาอยู่ครับ ในเรื่องการบำบัดน้ำเสียด้วยสิ่งมีชีวิตนะครับ แต่ก็ต้องรณรงค์ให้คนรักษ์แม่น้ำด้วยครับ
  • แล้ว กทม.จะถูกถอดชื่อออกจากบัญชีดำของเมื่องแห่งจราจรติดขัด ของโลกได้ครับ
  • ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้ต้องทำในระยะยาวและระยะสั้นผสมกันไปครับ จะคิดกันเพียงช่วงปีสองปีคงทำไม่ได้ครับ
  • ขอบคุณมากครับ เขียนไว้อีกนะครับ เผื่อได้หาแนวทางรวมกันนะครับ หากความคิดที่นี่นำไปสู่ทางออกที่ดีได้ วันหนึ่งคุณมีโอกาสได้บริหารบ้านเมือง อาจจะได้นำมาทบทวนคิดกันดูนะครับ
ขอบคุณ คุณวีร์
P

มากครับ

  • เราต้องร่วมกันทำให้เรื่องการเคารพกันในเรื่องการเข้าแถว การรับบริการตามความเสมอภาคให้เป็นเรื่องธรรมดาครับ
  • หากสิ่งเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่แปลกแล้ว เด็กนักเรียนในโรงเรียนเค้าจะคิดว่า ทำไมที่โรงเรียนให้เข้าแถวกัน แต่ออกมาข้างนอกคนไร้ระเบียบ เพราะฉะนั้นสิ่งดี มีแต่ในโรงเรียน ก็คงไม่ดีนัก หากจะให้สิ่งดีๆ นั่นยั่งยืนสังคมภายนอกจะต้องสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดเป็นกิจวัตร ครับ
  • ผู้ใหญ่ต้องปฏิบัติให้เด็กเห็นครับ แล้วจะเกิดเป็นภาพที่ต่อเนื่องเองครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
  • ที่เมืองไทยรถแต่ล่ะประเภทวิ่งคนล่ะที่  คนล่ะทาง  ยังไปชนกันได้ครับ
  • รฟท.  เมื่อร้อยกว่าปี สมัย ร.5 เป็นอย่างไร  ตอนนี้ก็ยังไม่ต่างกันเลยครับ
  • หากบ้านเราไม่กิน  ไม่โกง  ป่านนี้ถนนคงปูด้วยทองเหลือง  แล้วแหละครับ
  • ขอบคุณคุณย่ามแดงมากครับ
  • ผมมักจะชอบชื่อขบวนรถไฟไทยแต่ละขบวนครับ
  • ผมขอแค่รางคู่ก็พอครับ
  • ขอบคุณครับ

เป็นอีกเรื่องที่ผมประทับเรื่อง public trans. 

ที่โน้นดูมันแสนจะเรียบง่าย   แต่บ้านเราต้องลงทุนกันเยอะมาก  ไม่รู้ว่าผลประโยชน์ที่แท้มันไปตกอยู่ที่ใคร  

และที่ประทับใจอีกเรื่อง คือ  ระบบประกันสุขภาพ  ที่เน้นสวัสดิการ  ความมั่นคงในสวัสดิการ   บ้านเราหากทำประกันจะเบิกประกันได้ก็ต้อง admit เข้าไปนอนในโรงพยาบาลเท่านั้น   แต่อยู่ที่โน้นผมเป็นหวัดไปหาหมอที่คลินิก  โดยที่ไม่ต้องใช้เงินก็ทำได้   สุดยอดการบริการสวัสดิการให้ประชาชนจริงๆ   อย่างไอ้  30 บาทรักษาทุกโรคเนี่ย  อันนี้สำหรับเป็นสวัสดิการคุณภาพเกรดต่ำ  ที่สร้างความลำบากใจให้กับหมอและพยาบาล   กรรมเวรตกมาที่คนไข้   คนได้ประโยชน์แบบเต็มๆ คือ พรรคการเมือง   ประโยชน์ในรูปของ  เสียงของคนยากคนจน  คนที่จะเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานได้ยาก  

มาเยี่ยม...

สบายดีนะครับ...

อ่านแล้ว...ผมนึกถึง ถนนในเมืองพาราณสีที่เคยไปอยู่มา...ช่วงจราจรติดขัด...ผมติดอยู่ในนั้นซึ่งมีทั้งวัว  ทั้งคนเอางูพันคอถือกลองก็มะลุมมะตุ้มโกลาหนกันอยู่กลางถนนนั้น..

ฮา ๆ เอิก ๆ  แต่สุดท้ายทุกสิ่งก็จัดการไปตามทางของใครของมันเป็นธรรมชาติดีครับผม...

สวัสดีครับอาจารย์สมพร และท่านอื่นๆด้วยครับ

ระบบการจราจรเป็นระบบที่ต้องวางแผนพร้อมกับผังเมืองครับ ควบคู่ไปกับการวางแผนของการเติบโตของจำนวนประชากรให้สอดคล้องด้วยครับ

เชื่อไหมครับว่า สิ่งที่ผมอยากมองเห็นก่อนการที่ กทม หรือ รัฐบาลจะเริ่มลงทุน โครงการหลายหมื่นล้านอย่างระบบรถไฟใต้ดิน คือการพัฒนาระบบรถไฟที่เข้ามาสู่หัวลำโพงครับ

ผมอยากรู้ว่าถ้ามันตรงเวลา แล้วจะเป็นอย่างไร มันทำอะไรได้บ้าง ผมอยากเห็นคนไทยใช้ทรัพยากรที่มีอย่างเต็มที่ ก่อนที่จะไปหาวิธีการแก้ปัญหาด้วยอะไรใหม่ๆครับ

การสร้างวินัยให้แก่คนในชาตินั้นจำเป็นอย่างยิ่งครับ สิ่งเหล่านี้เราคงจะค่อยๆเห็นกันเรื่อยๆครับ

เรื่องระบบสวัสดิการสังคม เป็นระบบที่เกิดปัญหามากครับ ไม่ว่าจะเป็นที่อังกฤษหรืออเมริกา ไม่ใช่ผมไม่เห็นด้วยกับระบบสวัสดิการสังคมนะครับ

แต่ระบบสวัสดิการสังคมสมควรที่จะถูกออกแบบให้เหมาะสมกับความคิด ค่านิยม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมของประชากรในชาตินั้น

ระบบสวัสดิการที่อเมริกา ทำให้คนส่วนหนึ่งที่ตกงานไม่อยากทำงาน เพราะทำแล้วหลังจากหักภาษี ก็แทบจะได้เงินเท่ากับคนที่ไม่ได้ทำงาน

สิ่งที่ผมอยากเห็นในประเทศไทย ก็คือรัฐทำตัวเหมือนบริษัทประกันขนาดใหญ่ ที่กำหนดไว้ว่า ประชาชนสมควรจะจ่ายภาษี (ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือเบี้ยประกัน) ชั้นต่ำเท่าไร (ต่ำนี่คือต่ำจริงๆที่ประชาชนส่วนใหญ่จ่ายได้) เพื่อที่รัฐจะรับรองสวัสดิภาพขั้นต่ำให้

ถ้าไม่จ่าย รัฐก็อาจจะต้องใจแข็งไม่ให้ หรือว่าอาจจะคิดในอัตราที่สูง เมื่อเทียบกับไม่คิด ถ้าจ่ายภาษี

ทำไมผมถึงคิดแบบนั้น เพราะผมกลัวว่าด้วยนิสัยรักสบายของคนไทย เราจะเกิดช่องโหว่ในระบบประกันสังคมครับ 

เรื่องสุดท้ายครับ ทั้งหมดที่กล่าวมา รัฐบาลให้ความสำคัญกับคำว่า ประชากรศึกษา มากขนาดไหนครับ เพราะ ประชากรศึกษาจะเป็นคำตอบของคำถามหลายๆคำถามที่หลายๆท่านได้พูดถึง ผมอยากเห็นรัฐบาลวางแผนเพื่ออนาคตไปในอีกหลายๆสิบปีข้างหน้าครับ วางแผนแค่ 5-10 ปั เดี๋ยวนี้สั้นไปแล้วครับ

P

ขอบคุณพี่ธวัทมากๆ ครับ

  • ใช่ครับ มีระบบหลายๆ อย่างที่ดีที่เป็นระบบครับ หลายอย่างที่อาจจะศึกษาให้ดีแล้วเอาไปปรับใช้กับเมืองไทยได้ครับ แต่ต้องสร้างความพร้อมพื้นฐานให้เกิดในเมืองไทยก่อนครับ เช่นเรื่องปากท้อง เรื่องความเป็นอยู่ครับ ซึ่งสำคัญครับ
  • หากภาคประชาชนเข้มแข็ง ภาคที่อยู่ในระดับสูงขึ้นก็จะต้องรับใช้ประชาชนครับ เราต้องช่วยกันทำภาคประชาชนให้เข้มแข็งก่อนครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
P

ขอบคุณมากครับ ท่านอาจารย์อุทัย

  • อาจารย์เล่าทำให้ผมคิดถึงสมัยที่ได้อยู่ร่วมกันใน มอ.ครับ
  • และพาให้จินตนาการไปถึงอินเดียครับ ขอบคุณมากๆนะครับ

 

P

ขอบคุณมากๆ นะครับ ที่ให้แนวทางที่ดีตลอดครับ

  • ผมเห็นด้วยกับคุณทุกๆ อย่างเลยครับ
  • การศึกษาคือสิ่งสำคัญ รัฐก็ต้องจริงใจ เข้ามาทำงานให้มากกว่าการรอผลเพื่อหวังการได้รับเลือกในครั้งถัดไป หากเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง ความร่มเย็นที่ตั้ง เดินตามรอยพระบาท ผมว่า คงเกิดโครงการดีๆ มากมาย
  • การจะปรับจากต่างประเทศไปใช้กับไทย ต้องศึกษาคนไทยให้ดีก่อนนำไปใช้ครับ ไม่งั้นจะส่งผลเสียครับ
  • หลายๆ อย่างที่เราต้องสร้างจิตสำนึกให้กับคนของเราโดยเฉพาะเรื่องการเอาใจใส่สิ่งแวดล้อมด้วยครับ เคารพสิ่งแวดล้อม
  • เขียนไว้อีกนะครับ ขอบคุณมากๆ เลยครับ ที่มาช่วยกันคิด วันหนึ่งคงได้ทำอะไรกันบ้างครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท