อะไรเป็นผู้คิดสร้างสรรค์


กิจกรรมของนิวโรนในสมองเป็นผู้คิดสร้างสรรค์ ความรู้สึกเป๊นช่องทางการเผยตัวของกิจกรรมของผู้คิด

เมื่อมีปัญหาว่า  "เราจะสร้างภาพสามมืติในคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร?"  กระบวนการคิดจะเป็นดังนี้ (เป็นกระบวนการเชิงสมมุติฐาน)

โจทย์ปัญหานี้จะเข้าเร้าทางตา [ ไปกระตุ้น visual cortex  ที่บริเวณท้ายทอย  นิวโรนบริเวณนั้น(วัตถุ)จะแสดงกิจกรรมตอบสนอง และพร้อมกันนั้นก็จะเกิดการรู้สึกสัมผัส(จิต) + รู้ความหมาย(จิต) + การรู้สึกรับรู้(จิต) + กิจกรรมของนิวโรนกลุ่มอื่นๆที่ถูกกระตุ้นให้แสดงกิจกรรมต่อเนื่องกันไป(วัตถุ) + การรู้สึก(จิต)ที่เกิดควบคู่กันไปกับกิจกรรมของนิวโรนเหล่านั้น + กระบวนการสังเคราะห์ของกลุ่มนิวโรนเหล่านั้น(วัตถุ) + การรู้สึกว่ากำลังคิด(จิต) + สิ้นสุดกิจกรรมการคิดของกลุ่มนิวโรน(วัตถุ) + รู้สึกว่าได้คำตอบ(จิต) +กิจกรรมของมอเตอร์คอร์เท็กซ์(motor cortex)(วัตถุ)] + พฤติกรรมภายนอก(overt behavior) เช่น การพูด การบันทึกเป็นโปรแกรม  คำตอบนี้ถ้าไม่เหมือนของใคร  ก็เป็นโปรแกรมใหม่ เป็นผลผลิตสร้างสรรค์

ข้อความใน [  ] ที่เป็นวัตถุ เป็นพฤติกรรมโมเลกุล(Molecular behavior) ที่เราสามารถวัดได้ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Electroencephalogram + ความรู้สึก(จิต) ซึ่งเป็น พฤติกรรมภายใน(Covert behavior)  ทั้งหมดเกิดในสมองของเรา  ส่วนที่เป็นวัตถุ เป็นหน้าที่ของ Physiologists หรือ Neurologists ที่จะศึกษาค้นคว้า  ส่วนที่เป็นจิต เป็นหน้าที่ของ Cognitive Psychologists ส่วนที่เป็น Overt Behavior นั้น นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)ศึกษา  อย่างไรก็ตาม นักจิตวิทยาทุกกลุ่มต่างก็ใช้ พฤติกรรมภายนอกเป็นข้อมูลศึกษา

ตัวอย่างข้างบนนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่า  ผู้คิดสร้างสรรค์ก็คือ กลุ่มนิวโรนในสมอง

ส่วนความรู้สึก เป็นช่องทางการเผยตัวของผู้คิด  ถ้าไม่มีช่องทางนี้แล้ว  สมองเองก็ไม่รู้เลยว่ามันกำลังทำอะไรอยู่  คอมพิวเตอร์คิดได้แบบเดียวกับการคิดของสมอง  แต่มันไม่รู้สึกว่ามันคิด  เพราะมันไม่มีความรู้สึกที่จะเป็นช่องทางเผยตัวของกิจกรรมของมัน  เพราะมันไม่มีจิต

หมายเลขบันทึก: 17993เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2006 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 16:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

1.คิดต่าง

2.คิดแยกส่วน

3.ต้นคิด

4.จิตว่าง

5.ปล่อยวาง

ขอบคุณครับ
     เครื่องมือที่เรียกว่า Electroencephalogram ผมอยากทราบถึงฐานคิดในการวัดค่าครับ หรืออาจารย์จะแนะนำแหล่งข้อมูลก็ได้นะครับ

     ทิ้งรอยเป็นคำถามไว้แล้ว ก็เลยไปสืบค้นเอาเองด้วย ถึงว่าเหมือนเคยได้ยินในการใช้ทางการแพทย์ คงเป็นการตรวจยืนยันโรคลมชัก
     เมื่อพบแล้วก็นำมาฝากไว้ครับ เผื่อใครจะสนใจอีกบ้างดังนี้ครับ

ยอดเยี่ยมมากเลยคุณชายขอบ  ผมเปิดมาพบเข้าเมื่อเช้าวันนี้เอง  แต่ก็ไม่ได้คุยอะไร  เพราะต้องไปข้างนอกบ้าน  กลับมา  คลิกเข้าไปดูที่แหล่งความรู้ที่คุณนำมาเสนอไว้  ก็เห็นว่าชัดเจนแล้ว  ข้อที่น่าสนใจก็คือ EEG ได้ตีพิมพ์เป็นทางการมาตั้งแต่ 1912 โน่น  ทำไมคนอยากรู้อยากเห็นจึงไปเกิดที่เมืองฝรั่งกันหมดก็ไม่รู้

ในทางจิตวิทยา  ในช่วง 1960  ใช้วิธีเอาสายไฟฟ้าแปะเข้าที่กะโหลกค้านท้ายทอย  อีกด้านหนึ่งก็ไปต่อกับเครื่อง Amplifier แล้วไปต่อเข้าเครื่อง Polygraph  แล้วต่อไปที่กระดาษที่เคลื่อนไหวได้ จากนั้นจะมีเข็มที่มีหมึกออกมาได้  เขียนลงไปบนกระดาษนั้น  เป็นเส้นกราฟสูงตำตาม Voltage ของกระแสไฟฟ้าจาก Brain Activities 

ถ้าเราฉายภาพน่ากลัวให้ดู  เส้นกราฟก็จะเป็นอย่างหนึ่ง  ถ้าภาพเรียบๆ  เส้นกราฟก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง เราก็ตีความว่า  เขาเกิดความรู้สึก(จิต)ต่างกัน เป็นต้น มันเป็นเรื่องของ Correlation และการ Inferred

     ผมอ่านพบว่าเครื่องมือชนิดนี้ใช้ในวงการแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคทางสมองหลายอย่างเช่น การบาดเจ็บทางสมอง ไข้สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กลุ่มอาการพาร์กินสัน โดยดูจากกราฟที่เป็นการแสดงคลื่นความถี่ชนิดต่าง ๆ
     ในแง่การจัดการความรู้ ผมมองเห็นว่าเป็นการพัฒนามาตามลำดับขั้น มีการต่อยอดความรู้อย่างเยี่ยมยอด โดยเริ่มตั้งแต่ปี 1875 ที่ Richard Caton พบ ว่ามีกระแสไฟฟ้าในสมองของกระต่าย และลิง จากนั้นก็มีการพัฒนาต่อ ๆ กันมาเรื่อย ๆ สิ่งสังเกตอย่างหนึ่งคือ การนำเสนอสิ่งที่ค้นพบด้วยการตีพิมพ์งานวิจัยลงวารสาร รายละเอียดมีอีกมากตามที่ทำ Link ไว้ข้างต้น น่าสนใจมากเลยครับ
     ในประเด็นที่ว่าผู้คิดสร้างสรรค์ก็คือ กลุ่มนิวโรนในสมอง ฉะนั้นเราน่าจะมีวิธีกระตุ้นให้เกิดได้โดยผ่านกลุ่มนิวโรนในสมอง หรือมีคนพบแล้วครับ

        ๑. หลังปี ๑๙๗๒  ผมไม่ทราบ  เพราะห่างห้องสมุดมากว่าสิบปีแล้ว  แต่ก่อนปี ๑๙๗๒ ผมเคยอ่านรายงานวิจัยการศึกษาความคิดสร้างสรรค์  โดยใช้เครื่องมือตามหลักการ EEG  แต่ใช้คอมพิวเตอร์ร่วมด้วย  คล้ายๆกับแผนที่สมองที่ ดร.จันทวรรณ ได้ Link ไว้ให้

         ๒. หลักการศึกษาก็คือ  ให้ผู้รับการทดลองเรียนรู้การแก้ปัญหาความคิด(จิต)สร้างสรรค์  แปรค่าปัญหาให้ยาก - ง่าย   แล้วฉายปัญหาลงไปบนจอให้เข้าทางตา  แล้ววัด Electrical Activities ของ Brain Processes (ถือว่าเป็นกระบวนการทางวัตถุ)  ออกมาเป็นเส้นกราฟ  หรือจะเปรียบเทียบกับการอ่านหนังสือธรรมดา  หรือการคิดโจทย์เลข ด้วยก็ได้  แล้วเราจะได้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหล่านี้  เป็นความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ - และผล

         Brain Activities ดังกล่าว ไม่ใช่ Consciousness   เราต้อง Inferred ถึง  Conscious เอาเชิงทฤษฎี

         เป็นหัวข้อวิจัยที่น่าทำอย่างยิ่ง  อาจจะเสนอเป็นงานวิจัยเพื่อขอรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตก็ได้  เครื่องมือวัด EEG คาดว่าจะมีที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   มีคนที่เรียนทางสายแพทย์หลายคนหันมาหลงไหลจิตวิทยาครับ 

     ขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่ชี้แนะและชี้ทางประเด็นหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ หากถามว่าสนใจหรือไฝ่ฝันไหม ก็ตอบอย่างมั่นใจว่าสนใจและฝันไว้อยู่ตลอดเวลา แต่ด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ ประการ จะคาดหวังมากไปก็ไม่ได้ อย่างนี้ไม่เรียกว่าคนชายขอบครับ เพราะเข้าใจในโอกาสแล้ว แต่เรายังเลือกไม่ได้ เพราะตัวเราเองครับ

     เมื่อเราวัด Electrical Activities ของ Brain Processes ด้วย EEG เราก็จะได้กราฟแทนความถี่ในรูปแบบคลื่นซึ่งเป็น Analog และเมื่อถูกเปลี่ยนเป็น Digital ในปัจจุบัน ซึ่งมีความละเอียดสูง ทำให้ยอมรับได้ว่าใกล้เคียงกัน แต่ความซับซ้อนของ Brain Processes จะไม่ส่งผลให้ Electrical Activities ต่างกันแสดงผลออกมาเหมือนกัน หรือกรณีกลับกัน ที่เรียกว่าเกิด Confouding และยากที่จะอธิบายได้หมด ความหมายของผมก็คือ EEG อย่างเดียวจะวัดค่าออกมา และแปลผลได้อย่างเพียงพอหรือครับ หรือยังมีเครื่องมือ/วิธีการอื่นร่วมด้วย

     โดยธรรมชาติในสมองของเรามีการแบ่งสัดส่วนการทำหน้าที่ไว้เป็นอย่างดี ว่าส่วนใหนจำ ส่วนใหนคิดเชิงเหตุ-ผล ส่วนใหนคิดเชิงสุนทรียะ ฉะนั้น Brain Processes ในส่วนต่าง ๆ จึงต้องต่างกัน แล้วเราก็เชื่อว่า Electrical Activities ก็ต่างกันไปอย่างจำเพาะ โดยเกิดขึ้นจากกระบวนการทางเคมีของร่างกาย (สมอง) ผมจึงมองเห็นไปในจินตภาพว่า หากเราสามารถเข้าใจกระบวนการเคมีดังกล่าวในแต่ละลักษณะว่าอย่างไรที่ไปกระตุ้นกลุ่มนิวโรนในสมอง แล้วจะก่อให้เกิดการคิดอย่างไรต่อไป ก็จะทำให้ง่ายขึ้นไหมครับที่จะบอกว่าจะทำอย่างไรที่จะก่อให้เกิดกระบวนการเคมีนั้นในร่างกาย (สมอง) ของเรา  สำหรับประเด็นนี้ผมเชื่อว่ากระบวนการเคมีที่ต่างกัน จะทำให้เกิดการะตุ้นกลุ่มนิวโรนต่างกันนะครับ และมองว่าการจัดการที่กระบวนการเคมีน่าจะง่ายกว่าการหาทางกระตุ้นกลุ่มนิวโรนโดยตรง

     อีกประเด็นหนึ่งก็คือตกลงว่ากระแสไฟฟ้าที่วัดได้ด้วย EEG นั้นเป็น “ผล” จาก Electrical Activities ของ Brain Processes หรือเป็นกระแสไฟฟ้าจากกระบวนการทางเคมีที่ไปกระตุ้นกลุ่มนิวโรนในสมอง (เหตุ) กันแน่ครับ คือเราวัดที่ผล (เมื่อกลุ่มนิวโรนถูกกระตุ้นให้แสดงออกมาเพื่อตอบสนอง) หรือเหตุ (กระบวนการทางเคมีที่ไปกระตุ้นกลุ่มนิวโรนหลังได้รับสิ่งเร้า)

     อาจารย์ครับ ผมคิดและเขียนออกมาอย่างอิสระ หาใช่การสืบค้นมาเขียน จึงอาจจะผิดไปมากแล้วก็ได้ครับ อาจารย์โปรดชี้แนะและนำผมกลับมาที่ถูกที่ควรด้วยนะครับ

     ๑. ข้อความว่า  ความซับซ้อนของ Brain Processes จะไม่ส่งผลให้ Electrical Activities ต่างกันแสดงผลออกมาเหมือนกัน   เป็นสมมุติฐาน ซึ่งต้องการการวิจัยเชิงทดลองเพื่อทดสอบ 

      Confouding ทั้งหลาย  เราควบคุมมันด้วยแบบแผนการวิจัย  และวิธีการวิเคราะห์ทางสถิติ  และตั้ง Level of Significance  ให้เหมาะๆ เช่น  .05 หรือ .01 ก็พอจะช่วยได้

      ๒. กระบวนการเคมีที่ต่างกันจะทำให้เกิดการกระตุ้นกลุ่มนิวโรนต่างกัน   ก็เป็นอีกสมมุติฐานหนึ่ง  คือ เราตอบเดาไปก่อน  เราไม่รู้ว่าจริงหรือเท็จ  เราจึงต้องทดสอบ ด้วยวิธิการวิจัยเชิงทดลอง

       ๓. ในอนุเฉจที่ ๔ ก็เป็นสมมติฐาน  แต่ต้องปรับปรุงให้ชัดเจนขึ้นเป็นรูปของสมมุติฐาน

       สิ่งที่คุณชายขอบคิดมาทั้งหมดเป็นเรื่องเกี่ยวกับ (๑) สารต่างๆในเซลล์นิวโรน ซึ่งเป็นเรื่องของสาขาเคมี (๒) การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า ก็เป็นเรื่องของสาขาฟิสิกส์ (๓) ชีวิตของเซลล์ ก็เป็นเรื่องของสาขาชีววิทยา  ทั้งหมดนี้หาใช่เป็น Psychology ไม่ แต่ถ้าเชื่อว่า  Brain is mind  หรือ Brain เป็น Identity กับ Mind แล้ว  การศึกษาทั้งสามข้อนั้นก็เป็นชื่อใหม่ว่า  Chemicophysiopsychology ไปเลย(ผมตั้งเองครับ)  โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง Brain Activities - Overt Behavior หรือ O - R

        นักศึกษาปริญญาเอกบ่นว่าหาหัวข้อวิทยานิพนธ์ยาก !  นี่ไงละ !!

     อาจารย์ครับได้อ่านแล้ว และซาบซึ้งในการช่วยอธิบายให้มากเลยครับ อย่างหนึ่งที่เห็นตอนนี้คือผมมั่นใจมากขึ้นแน่ ๆ ครับ
     แต่ด้วย 2-3 วันนี้ผมต้องเดินทางไปในหลายที่ อาจจะยังไม่ได้ ลปรร.กันต่อ แต่มีประเด็นต่ออีกแล้วครับ มาอีกแน่ครับ

ขอให้เดินทางอย่างมีความสุข  และมีเสรี

     ผม Review แล้วไปพบเรื่องนี้เข้าครับ เลยเอามาเขียนเป็นบันทึก การทำงานของสมอง "คน" ฝากให้อาจารย์ได้ช่วยดูด้วยครับ

ผมรีบตามไปดูแล้วครับ  และได้แสดงความคิดเห็นแบบคนแก่เอาไว้ยืดยาวเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท