วิจัยเพื่อท้องถิ่น : พัฒนาปัญญาเพื่อเพิ่มพลังคนฐานราก


อย่างไรก็ตามงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น อาจจะไม่ใช่เรื่อง "โรแมนติค"

   <p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">ผมเดินทางกลับมาบ้านเกิด ด้วยใบปริญญา ๑ ใบ และมีความคิด ความฝันที่จะพัฒนาถิ่นเกิดขึ้นเมื่อได้รับโอกาส ได้รับการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งปัญญา จนเติบใหญ่เป็นต้นกล้าแข็งแรงที่พร้อมลงปลูกในป่าใหญ่</p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div> <div style="text-align: center">“Wheel of Fortune”</div></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">เดินทางกลับมาบ้านครั้งนี้ ผมมองไปยังยอดเขาที่สูงชัน ผมเห็นดวงดาว พราวระยับอยู่เต็มฟากฟ้า ไม่ได้ได้ไกลเลยในความคิดผม ในครั้งนั้นหัวใจของผมเต็มไปด้วยความหวัง ความฝัน …นั่นคือความรู้สึกเมื่อผมเรียนจบและเดินออกจากมหาวิทยาลัย </p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">สร้างสรรค์ ปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น”</p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">เป็นสโลแกนของ สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย)  ช่างโดนใจผมจริง!!! </p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">มีคำถามเกิดขึ้นต่อในใจ แล้วจะทำยังไงละ??? ถึงจะสร้างสรรค์ปัญญาได้ กระบวนการที่นำไปสู่คำตอบนั้นก็คือ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” Community Based Research : CBR</p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในความคิดผม ประกอบด้วย Concept ๒ อย่าง คือ </p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">๑. World view ที่แปลว่า โลกทัศน์” หรือที่คุ้นชิน ที่เรียกว่า กระบวนทัศน์” (Paradigm)</p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">๒. Method งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น โลกทัศน์ที่สำคัญที่สุดคือ เรามีทัศนะต่อสิ่งนั้นอย่างไร? เรามีทัศนะต่อชุมชนอย่างไร? หากเรามีทัศนะที่ผิดเสียแล้ว แทบจะไม่ต้องนึกถึง Method เลยครับ โลกทัศน์เป็นตัวกำหนดโจทย์วิจัยหรือ คำถามวิจัยด้วย ที่เราคุ้นชินตอนที่เรียนเรามักจะมองเลยไปที่ วิธีวิจัย (Method)มากกว่า</p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">มีคนมักจะถามผมบ่อยครั้งว่า คุณมีเครื่องมืออะไร?”  มากกว่าให้ความสำคัญเรื่อง โจทย์วิจัยส่วนใหญ่โจทย์เป็นอย่างไร  สนใจแต่คำตอบที่แทบจะออกมาเป็น คำตอบบะหมี่สำเร็จรูป ไปแล้ว บริโภคง่ายดี ไม่ต้องคิดมาก!!!</p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">โลกทัศน์(World view) เกี่ยวกับงานวิจัย ที่ผ่านมามุ่งแต่เรื่อง Need Assessment แต่ทุกวันนี้เราคุยกันมากเรื่อง Potential assessment</p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">โจทย์งานวิจัยเราก็จะมุ่งหาสภาพของชุมชนในมิติต่างๆ ว่ามันเป็นอย่างไร? (Situation analysis)  ที่มักจะออกมาในรูปของ Descriptive research</p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">แต่สำหรับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นแล้ว  ผมมองว่า เรามุ่งคำถามที่ว่าเราจะต่อยอดหรือพัฒนาต่อในศักยภาพของชุมชนที่มีได้อย่างไร?” คำถามน่าท้าทายมั้ยละครับ???? ขออย่างเดียวอย่าไปติดนิยามการพัฒนาแบบเดิมๆ ที่ข้อสรุปมักออกมาว่า ชาวบ้านไม่มีศักยภาพ”  ผมคิดว่า มันเร็วไปที่จะด่วนสรุปแบบนั้น”</p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"><hr></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">……….เริ่มต้นปฐมบทของงานเพื่อชุมชน</p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"><hr></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">พลวัตรวิทยาการวิจัย งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น</p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">เพื่อตอบโจทย์ แบบที่ผมเขียนไป เราจึงต้องพยายามหาเงื่อนไข ที่ทำให้ชุมชนมีสภาพอย่างที่เป็นอยู่ สิ่งดีๆคืออะไร หาให้เจอ วิธีการที่เรานำมาใช้ คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครับ (Participatory Action Research : PAR) จะตัว P ตัวใหญ่ๆ หรือ อาจจะตัว R ตัวใหญ่ ตัวเล็ก- Par : paR : PaR ก็แล้วแต่ ขอให้มีเรื่อง การมีส่วนร่วม”อย่างแท้จริง การมีส่วนร่วม จึงเป็นทั้ง วิธีการ (Mean)และ เป้าหมาย( End)  ไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน</p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่โดดเด่นอีกอย่างคือ การพัฒนาศักยภาพคน” ผลลัพธ์ตรงนี้ผมถือว่าสำคัญมาก เป็นการสร้างคน และเป็นการติดอาวุธทางปัญญาให้ชุมชน”</p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">อย่างไรก็ตามงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น อาจจะไม่ใช่เรื่อง โรแมนติค” แบบหลายๆคนเข้าใจ พี่เลี้ยง : RC มีบทบาทสำคัญ เป็นที่ปรึกษา เป็นผู้ช่วยเรื่องกระบวนการ เป็นเบื้องหลัง ช่วยคิด ช่วยก่อ พร้อมผลักดัน ในการสร้างสรรค์ปัญญาที่พวกเราและชุมชนคาดหวัง ช่วยชุมชน ให้มี กระบวนการคิดเชิงระบบ (System thinking) วิธีวิทยาอาจเป็นเรื่องที่มาทีหลังนะครับ </p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่ </p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">เรามีทัศนะอย่างไรกับคนท้องถิ่น</p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal">เรามีทัศนะอย่างไรกับชุมชน?</p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal" align="center">ไร้รากหญ้า…ฤาผลิใบ</p><p style="background: white; margin: 0cm 3pt 3pt" class="MsoNormal"></p> 



ความเห็น (32)

ไร้รากหญ้า...ฤาผลิใบ

I like this message

(Sorry, there are not available to use thai font )

ขอให้กำลังใจ และมีทีมงานที่ผลักดันไปด้วยดี..อย่าท้อถ้าไม่เป็นอย่างที่คิดนะค่ะ ยินดีแทนชุมชนจริงๆ

คุณ Kawao 

ผมมองข้ามไปถึง ดุลยภาพ ในสังคมระหว่างคนท้องถิ่นกับโลก

ดุลยภาพที่ผมนึกถึง สิ่งที่จะนำไปสู่ตรงนั้นคือ "ความรู้" นั่นเอง

ไม่ว่าองค์ประกอบใดๆก็สำคัญเท่าเทียมกันครับ

ไร้รากหญ้า...ฤาผลิใบ

เรียน คุณศศิชล หงษ์ไทย (โรงเรียนพ่อแม่)

เรียนรู้กันไป มีท้อบ้าง.เป็นธรรมดาครับ.แต่ก็เลือกสู้ในทุกครั้งที่คิดถอดใจครับ :)

ขอบคุณมากครับ สำหรับกำลังใจ

ติดตามแลกเปลี่ยนกันเสมอๆนะครับผม

ต้องพยายามหาเงื่อนไข ที่ทำให้ชุมชนมีสภาพอย่างที่เป็นอยู่ สิ่งดีๆคืออะไร หาให้เจอ...ไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

  • เห็นด้วยมากๆ ค่ะ ในการที่จะวิจัยเพื่อท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นพัฒนาสิ่งที่มีอยู่
  • ไม่ใช่เอาสิ่งใหม่ๆ เข้าไป ไปพัฒนาเค้าให้เหมือนคนเมือง
  • ท้ายที่สุดคนหนุ่มสาวก็เข้าไปเป็นคนงานในเมือง

สุขสันต์วันคริสต์มาสคะ...(^___^)"""

คือ ความเชื่อมั่นในความดีงาม...ทุกสิ่งอย่างไม่ง่ายอย่างที่เราคิด...แต่ก็ไม่อยากที่เราจะทำ...

(^___^)

กะปุ๋ม

 

อาจารย์ Paew 

ถือว่าเป็นการ SWOT Analysis หาสิ่งดีๆที่มีอยู่ ค้นหาศักยภาพเพื่อพูนพลังสิ่งที่มีอยู่ ให้ขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนครับ

และระบบการศึกษาก็ต้องพัฒนาด้วย มีโจทย์ใหญ่ๆว่า การศึกษาจะรับใช้ชุมชนได้อย่างไร?

ประเด็นการศึกษานี้น่าเป็นห่วง และดูทีท่าว่าคงต้องพัฒนากันอีกนานสำหรับเมืองไทย

ขอบคุณอาจารย์ครับ

 

คุณ กะปุ๋ม ครับ

มีความสุขในวันคริสตมาสเช่นกันครับ

งานคงยุ่งนะครับ ไม่ค่อยเห็นแวะเวียนมาช่วงหลัง ขอให้คุณกะปุ๋มสำเร็จในหน้าที่ที่ทำอยู่ครับ

เชื่อมั่นและศรัทธา ครับ

 

ผมว่าการวิจัยในชุมชนน่าจะเป็นทางออกของการพัฒนาประเทศ ในวิกฤติชาติที่มีอาการหนักจากความรู้ไม่พอใช้ครับ

ให้ชุมชนได้รู้ และมีโอกาสสร้างความรู้เอง

เรื่องนี้ค่อนข้างละเอียดอ่อนมาก ทำยาก และหาคนทำได้ดีนั้นยากมากครับ

ส่วนใหญ่จะไปกวนให้เละซะมากกว่า

อยากเรียนรู้เรื่องนี้มากๆครับ

และอยากมีโอกาสทำเองมากๆด้วย

ผมก็ทำอยู่บ้าง ต่อไปนี้จะเน้นเรื่องนี้ให้มากครับ

มีอะไรจะมาแลกเปลี่ยนครับ

ชุมชนอยู่ร่วมกันได้บนพื้นฐานของความเรียบง่าย รู้จักพอและมีน้ำใจ และยังมีศักยภาพความสามารถที่แฝงอยู่ ...

หากเปรียบงานและชีวิตของเอกกับพี่...เรียกว่าคนละขั้วเลย

พี่เล็กเองไม่มีโอกาสใกล้ชิดกับสภาพบรรยากาศดังกล่าวและไม่มีความสามารถที่จะทำได้ ซึ่งน้องเอกคงจะเห็นถึงจุดดี ๆนี้อยู่และคงกำลังทำอยู่ใช่มั๊ย..? พี่เป็นกำลังใจให้ค่ะ

  • การเรียนรู้และต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่คือแก่นสารที่สำคัญของการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งบางครั้งการยัดเยียดสิ่งใหม่ ๆ เข้าไปในชุมชนก็อาจไม่จำเป็นและยั่งยืนเสมอไป หากปราศจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ถี่ถ้วน
  • วันนี้หมู่บ้านของผม ไม่ค่อยปลุกมันสำปะหลัง หันมาปลุกยางพารากันเยอะมาก ที่นาหลายแปลงถูกทิ้งร้าง  ไม่พบการลงแขกเกี่ยวข้าว พบแต่การรับจ้างเกี่ยวข้าว
  • เป็นกำลังใจให้นะครับ

อาจารย์ ดร. แสวง รวยสูงเนิน

ความรู้ที่มีมากมาย แต่ไม่รู้จักนำมาใช้ หรือเปล่าครับ?

หรือ...ดึงเอาแต่เปลือกผิวเผินออกมาตัดสิน และใช้การ เรามักเข้าใจว่าการเรียนรู้เป็นแต่เพียงการ "ท่องความรู้เก่า"  ระบบการศึกษาที่ผิดพลาดตั้งแต่เริ่มคิด ย่อมอ่อนแอ ลดทอนศักยภาพทุกอย่างลงหมด ไม่เว้นแม้แต่ ชุมชน

พึ่งใครไม่ได้ไงครับ!? เมื่อพึ่งใครไม่ได้แล้วจำต้องพึ่งตนเอง

พึ่งตนเองยังไง? นี่ก็คำถามใหญ่

"งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น" อาจเป็นทางเลือกในการสร้างมิติการสร้างสรรค์ปัญญารากหญ้าให้พัฒนาชุมชนของตนเอง

เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนจริงๆด้วยครับ เพราะต้องเข้าใจ เข้าถึงก่อน

ขอบคุณท่านอาจารย์ ครับ

พี่เล็ก ศุภลักษณ์ หิริวัฒนวงศ์

ความเรียบง่าย พอเพียง เป็นฐานของชนบทไทยใช่แล้วครับ...

ความสุขที่แท้จริงก็เกิดจากเหตุนี้

แม้ว่าชีวิตผมและพี่จะแตกต่างกันคนละขั้ว แต่จุดร่วมเดียวกันที่เรามานั่งคุย และสบตากันอยู่ คือ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศครับ...ภารกิจที่ยิ่งใหญ่

เป็นกำลังใจให้พี่ด้วยเช่นกันครับ

คุณแผ่นดิน

"งานวิจัยควรเป็นวิถีชีวิต" ครับ จากคำพูดของ อ.ประเวศ ที่ผมชอบใจ

เพราะสถานการณ์ใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา รวดเร็วด้วยครับ การสรางและใช้ความรู้ใหม่จึงจำเป็นต้องถูกต้อง ชอบธรรมด้วย

หน้าที่ของการเรียนรู้คือให้รู้สถานการณ์ใหม่ ปรับตัวได้ รู้ตนเอง รู้ท้องถิ่น รู้โลก  คนไม่เรียนรู้จะไม่สามารถเผชิญสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงแบบนี้ได้เลย

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงที่บ้านของคุณแผ่นดิน...จึงจำเป็นต้องรู้ทัน และเข้าใจครับ

ห้ามการเปลี่ยนแปลงคงยาก แต่สิ่งที่ยากเหมือนกันคือ การเข้าใจ รู้ทันความเปลี่ยนแปลงครับ

ให้กำลังใจคุณแผ่นดินครับผม

 

อ่านบันทึกนี้ ทำให้เข้าใจงานวิจัยท้องถิ่นดีแบบของคุณเอกชัดเจนขึ้น   ตัวเองทำแต่งานวิจัยบนหอคอย โลกทัศน์คับแคบ ยังเคยสงสัยว่าคุณเอกทำอะไร บันทึกนี้ ทำให้ "หลุด"   ขอบคุณค่ะ

อาจารย์หมอปารมี ครับ

เขียนขึ้นมาตามความเข้าใจ และอยากบอกครับ เพราะพื้นที่งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในประเทศของเราน้อยมากครับ อาจจะเห็นกันว่าไม่ได้สร้างอะไรให้เห็นทางกายภาพมากเท่าไหร่...

แต่ผมคิดต่างครับ ผมคิดว่า "งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น" เป็นพลังของปัจจุบันและอนาคตเลยทีเดียวครับ

ต่างคนต่างวิถี เหตุเพราะข้อจำกัดที่ควบคุมยากครับอาจารย์ บนหอคอย และบนลานดิน ต่างก็ทำหน้าที่กันอย่างดีที่สุด

ขอบคุณอาจารย์หมอครับผม

 

งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น บรรยากาศเหมือนมิตรสหายไปเยี่ยมเยียน ถามไถ่สาระทุกข์สุกดิบ หยิบยื่นและน้อมรับปะปนกันไป ใครได้เข้าใกล้จะได้บุญได้กุศล แต่สิ่งหนึ่งที่ปะปนมาให้เห็นพอเป็นยาคือบรรดาก้อนอิฐ ที่ขว้างมาสะกิดพวกเราว่า ที่ข้าทำนี่สิจึงจะเป็นงานวิจัย พาไทบ้านคิดจะเป็นงานวิจัยได้อย่างไร ข้อควรระวัง...งานวิจัยทั่วไป จะเป็นการขึ้นต้นทางปลาย สุดท้ายคือขึ้นหิ้ง...
  • แวะมาเยี่ยมเยียนครับ
  • ใช่แล้วครับ "ติดอาวุธทางปัญญาให้ชุมชน"
  • ผมก็ใช้แนวทางนี้ครับ แต่ผมมี 2 โจทย์ คือ เจ้าหน้าที่ และ ชุมชน แต่ก็ยังอยู่ที่วงเล็กๆ ครับ
  • ไม่ง่ายเหมือนที่ ดร.แสวงแสดงความคิดเห็นไว้ครับ แต่ก็ขอให้สู้ต่อไปนะครับ
  • ผมเคยเขียนบทความเรื่อง "วิจัยชุมชนทางเลือกใหม่ของการพัฒนา" ซึ่งก็มองเห็นเหมือนกันว่าทางนี้น่าจะแม้นตรงและสร้างความยั่งยืน
  • ขอเอาใจช่วยครับ

อาจารย์ศักดิ์พงษ์

บรรยากาศของการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ และเป็นวิถีเดิมของชุมชน เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ เพียงแต่เพิ่ทเติมการจัดการความรู้เข้าไป นำไปสู่การขับเคลื่อนของชุมชน เป็นกระบวนการวิจัยเพื่อชุมชน อำนาจที่บริสุทธิ์ เป็นอำนาจมาจากความรู้อันเกิดจากการเรียนรูร่วมกันเพื่อผลประโยชน์โดยรวมของสัง "งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น" เป็นทางเลือกนั้น

"ตุ้มโฮม" ของคนอิสาน นั้นน่าสนใจครับ

ขอบคุณและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับสม่ำเสมอนะครับอาจารย์

พี่วีรยุทธ สิงห์ป่าสัก

งานที่พี่วีรยุทธได้ทำอยู่ในส่วนของงานส่งเสริมการเกษตรนั้น เป็นงาน PAR ที่ชัดเจนมากครับ บรรยากาศที่ผมได้เรียนรู้ผ่านบันทึกแฝงจิตวิญญาณของความรักชุมชน และศักยภาพชุมชนอยู่เสมอ

คำว่า "ติดอาวุธทางปัญญา" หลายท่านบอกว่าไม่ใช่ แต่ผมว่าใช่ เรากำลังทำเรื่อง "การจัดการความรู้" ความรู้ดีๆในชุมชนมากมาย ความรู้ที่จะเปลี่ยนไปเป็นปัญญาอันเกิดจากการสังเคราะห์ เพื่อพัฒนาชุมชน เป็นวิถีที่ต้องเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านงานวิจัยแบบไทบ้าน งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่กำลังทำอยู่ในขณะนี้...เป็นทางเลือก

เป็นงานวิจัยทางเลือกครับ

 

คุณจตุพรคะ....

  • ดิฉันไม่เชื่อ...ว่าคุณจตุพรจะไม่แอบมอง...งานวิจัยท้องถิ่น...ให้เป็นเรื่องโรแมนติคได้...
  • "คนโรแมนติค"...อยู่ที่ไหน..ก็ให้โรแมนติคค่ะ..รับรอง...คอยดูก็แล้วกัน...ฉันว่า...เทคนิคการเข้าถึงคนที่ต้องใช้จิตวิทยาของพี่เลี้ยง..ที่ปรึกษาที่คุณจะใช้นั่นแหละ...ฉันว่าแอบโรแมนติคแน่ๆ...แล้วชาวบ้านจะติดใจ...
  • อ้อ..อ.beyondKM...เป็นห่วงคุณและฝากดิฉันบอกคุณด้วยที่..

http://gotoknow.org/blog/nurseanaesthpsych/67587

           ค่ะ..แวะไปอ่านด้วยนะคะ

พี่กฤษณา 

ที่ว่าโรแมนติค คือ มองง่ายๆว่าชุมชนต้องร่วมมือแบบนี้ ผลต้องเป็นแบบนี้ และทุกอย่างเป็นความฝันที่สวยงามไปหมดครับ มันมีเวลาและโอกาสของกระบวนการอยู่

นักพัฒนาต้องอดทนรอผลที่หวานชื่นของการทุ่มเทอย่างเข้าใจ

ส่วนเรื่องโรแมนติคกับชาวบ้านนั้น ผมทำแน่ๆครับ

ผมไปอ่านความห่วงใยจาก อาจารย์ ดร.ประพนธ์ แล้วครับ ต้องขอขอบคุณท่าน ผมเองก็ต้องขอรบกวนปรึกษาท่านอาจารย์ในโอกาสต่อๆไป..

ขอบคุณกำลังใจจากอาจารย์ และความห่วงใยอย่างจริงใจของพี่กฤษณาครับ

อ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่อาจารย์เขียนในบล๊อกนี้ เห็นภาพสิ่งที่อาจารย์คิด และทำให้สิ่งที่คิดปรากฎเป็นรูปธรรมให้เห็นชัดเจน...ชัดมากค่ะนักวิจัยหรือนักพัฒนาเคยมองทุนเดิมของพ่อแม่พี่น้องชาวบ้านที่สะสมมายาวนานบ้างไหม  เขามีทุนดีๆอะไรมาบ้าง เราจะเข้าไปเติมเต็มให้เขา มันต้องเกิดจากความต้องการของเขา และทุกคนมีส่วนร่วมช่วยกัน นักวิจัยเป็นเพียงพี่เลี้ยง หรือที่ปรึกษา ใช่ไหมคะ ถ้าPAR จริงๆบางครั้งใช้เวลานาน ศึกษา เรียนรู้ ปฏิบัติ ลองผิด ลองถูก ไปเรื่อยๆอาจจะได้คำตอบในระดับหนึ่งแต่ก็เป็นฐานความรู้ที่อาจทำต่อในระยะ ที่2 -3ต่อไป นักวิจัย มีความมุ่ง มั่น รักและพร้อมที่จะให้ไหม  ...แต่สำหรับอาจารย์จตุพร หิ่งห้อยมั่นใจเต็ม100% อาจารย์พร้อมให้ พร้อมช่วยเต็มที่ เป็นกำลังใจสานฝันให้เป็นจริงค่ะ

บันทึกนี้โดนใจมากค่ะ

เรียน อาจารย์ ผศ.สุณี

งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ไม่ใช่เรื่อง "โรแมนติค" อย่างที่นักวิชาการหลายๆท่านเข้าใจครับ ดังนั้นแล้ว การทำงานที่ใช้จิตวิทยาชุมชนมากๆ การใช้ความอดทน และเข้าใจตามบริบทของชาวบ้านสำคัญมาก

ระดับการมีส่วนร่วมมีหลายระดับ หลายๆคนเหมาพูดรวมๆว่า "มีส่วนร่วม" และก็สรุปไปเลย แบบนี้อาจไม่ใช่

สิ่งสำคัญคือ ความรัก ความเอื้ออาทร ระหว่างกัน ในการทำงานร่วมกัน ตรงนั้นเป็นสายใย ร้อยรัดคนให้เป็นชุมชนที่มีชีวิต ชีวามากขึ้น

ผมเองก็เรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองไปเรื่อยๆ เขียนบันทึกเพื่อการเตือนใจ และเป็นแนวทางของตนเองที่ผ่านมา

ขอบคุณท่านอาจารย์มากครับ

 

เรียน อาจารย์มัทนา

อาจารย์ได้มีโอกาสดีที่ได้ศึกษา หาประสบการณ์ดีๆที่ต่างแดน ผมติดตามบันทึกอาจารย์เรื่อยๆครับ ได้ความรู้ดีมาก

เป็นโอกาสของผมเช่นกันที่ได้เรียนรู้วิถีชุมชน และก็ต้องเรียนรู้วิถีโลกไปพร้อมๆกัน

ตรงนี้อาจารย์เติมเต็มให้ผมเยอะเลย

ขอบคุณอาจารย์ครับ

มาเยี่ยม...ใกล้ปีใหม่

มาชื่นชมแนวคิดในการพัฒนาท้องถิ่น...ของคุณจตุพร

ขอบคุณครับ

สวัสดีปีใหม่ ท่านอาจารย์ umi

งานพัฒนาท้องถิ่น ทำไปด้วยกันครับ ผมคิด ชาวบ้านคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันแก้ไขปัญหา

อาจจะเดินช้าๆ แต่มั่นคง

ขอบพระคุณอาจารย์ที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจครับ

  •  การวิจัยเพื่อท้องถิ่น แท้จริงคืออะไร คำถามนี้เคยเกิดขึ้นอยู่ในใจ และก็ยังอยู่ในใจค่ะ
  • ท้องถิ่นบ้านเกิดของเราถือกำเนิดจากถิ่นนี้ แต่มีผู้คนอีกมากมายแต่ไม่เคยคิดจะกลับไปพัฒนาท้องถิ่นของตัวเอง
  • การวิจัยท้องถิ่นเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถเข้าถึงชุมชนได้มากที่สุด การนั่งวิจัยท้องถิ่นในห้องทำงานของนักวิชาการหลายคน โดยที่ไม่เคยไปสัมผัสทุกข์สุขของชาวบ้านเลย อย่างนี้ก็เป็นการพัฒนาเหมือนกันค่ะ แต่คงไม่เพื่อท้องถิ่นอย่างแน่นอน แต่อาจจะเป็นเพื่อ(ปาก)ท้องถิ่นของตนเองมากกว่า

ชกหมัดตรงๆ จากน้องสาววลัยพร กนกแก้ว

สวัสดีปีใหม่ครับ

การวิจัยเพื่อท้องถิ่น ผมขอยกเอาคำนิยามจาก สกว.มาเลยนะครับ เพราะเห็นว่าชัดเจนดี และตอบคำถามของน้องวลัยพรได้

เป้าหมายของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น

คือ การสร้างกระบวนการ"เพิ่มพลังทางปัญญา" (Empowerment) โดยการสนับสนุนคนในชุมชนท้องถิ่นให้สรางความรู้ และสร้างกลไกการจัดการปัญหาด้วยตนเอง โดยยึดถือความต้องการของชุมชนเป็นที่ตั้ง โดยให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมทุกขั้นตอน คั้งแต่การกำหนดประเด็นวิจัย จนถึงการวิเคราะห์ สรุปผลและสรางสะพานเชื่อมระหว่างภูมิปัญญาดั้งเดิมกับความรู้สมัยใหม่ด้วยการวิจัย"

ปรากฏการณ์เด็กในท้องถิ่นออกไปทำงานเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งสำหรับการพัฒนาท้องถิ่น เพราะการศึกษาที่มองไม่เห็นความสำคัญของชุมชน เพราะการศึกษาที่สอนให้คนออกไปจากชุมชนมากขึ้น...แก่นของการศึกษาไม่ได้สร้างให้เยาวชนเราได้เรียนรู้ที่แท้จริง คนมีหน้าที่สอนก็สอนๆตามหน้าที่ คนที่เรียนก็เรียนๆเพื่อเป็นเจ้าคนนายคน..มันอ่อนแรงไปหมดทั้งระบบครับ

มีปรากฏการณ์ที่นักวิชาการนั่งวิจัยเพื่อท้องถิ่นในที่ทำงานเหมือนกันครับ อาจเพราะความไม่เข้าใจหรือเรื่องของเวลา แต่นักวิจัยที่อยู่ในสถานะที่ไม่สามารถลงมาปฏิบัติการกับชุมชนได้ ก็อาจอยู่ในฐานะที่ปรึกษา และผู้หนุนเสริมในบางเรื่องได้ครับ  เพราะชุมชนเองก็ต้องการพี่เลี้ยงในบางเรื่อง เช่นกันครับ

ขอบคุณน้องวลัยพร กนกแก้ว

ฝากสวัสดีปีใหม่ครอบครัว "กนกแก้ว" ด้วยครับ

การมีส่วนร่วม การพัฒนาศักยภาพคน การติดอาวุธทางปัญญาให้ชุมชน นำไปสู่การให้ชุมชนมีกระบวนการคิดเชิงระบบได้สิ่งเหล่านี้คือความยิ่งใหญ่ในวิถีชุมชน

                       สิ่งเหล่านี้มีอยู่ดั้งเดิมในวิถีชุมชน แต่อาจสูญหายตกหล่นตามกาลเวลา หรือมีการพัฒนาต่อยอดแต่อาจจะไม่มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดกัน                    

เรามีทัศนะอย่างไรกับคนท้องถิ่น

เรามีทัศนะอย่างไรกับชุมชน?

                   นี่คือจุดเริ่มต้นที่ดีงาม งดงามอย่างมีศิลปะสำหรับชุมชน ขอบคุณมากที่ได้บันทึกสิ่งดีๆและมีคุณค่าสำหรับชุมชน

                    

   

สวัสดีครับ พี่  อนุกูล ทองมี

"การพัฒนาศักยภาพคน" เป็นการเพิ่มพลังให้คนในชุมชน จัดการปัญหาที่ซับซ้อนได้ โดยวิธีคิดเชิงระบบ

กระบวนการ พัฒนาคนทำโดยผ่านกระบวนการศึกษษ วิจัย ที่เรียกว่า "นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น" อาจหลีกเลี่ยงคำนี้ก็ได้ แต่ผมก็ยังมองว่าคำๆนี้ ชาวบ้านคุ้นเคยเสียก็ดี วิจัย วิจัยควรเป็น "วิถี" วิจัยความเป็น เรื่องปกติของชุมชน

พี่อนุกุลเอง ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีได้ทำงานกับชุมชน ทำงานเกี่ยวข้องเรื่อง"สุขภาวะ" สุขภาพเองก็เชื่อมโยงกับทุกสิ่งในชีวิตของคนหนึ่งคน ชุมชน และสังคมโดยรวม

ให้กำลังใจในการทำงานและขอให้พี่อนุกุลมีความสุข สวัสดีในปีใหม่(สากล)ที่จะมาถึงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท