กฎข้อบังคับ FCC ,FDA ,WHO ซึ่งเกี่ยวกับมาตรฐานในการวัดคลื่นวิทยุที่เนื้อเยื่อในร่างกายมนุษย์ซึมซับได้ (Specific Absorption Rate) หรือที่เรารู้จักกันดีกับคำว่าค่าSAR


เรื่องที่น่าสนใจกับหลักเกณฑ์พื้นฐานเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพคนไทย

บทบาทของ FCC , FDA,  WHO กับความปลอดภัยของโทรศัพท์เคลื่อนที่

     จากที่เราจะเห็นได้ว่า FCC (Federation of Communication)  หรือ กทช.ของอเมริกาได้กำหนดมาตรฐานนานาชาติในการวัดคลื่นวิทยุที่เนื้อเยื่อในร่างกายมนุษย์ซึมซับได้ เรียกว่าอัตราการรับคลื่นวิทยุเฉพาะส่วน (Specific Absorption Rate) ซึ่ง Federation of Communication (FCC) ได้กำหนดมาตรฐานการปล่อยคลื่นวิทยุขั้นสูงสุดจากการสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์มือถือ โดยใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน และหลักเกณฑ์พื้นฐานเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป กำหนดมาตรฐานดังกล่าวและบังคับใช้กับโทรศัพท์ มือถือที่จำหน่ายในสหรัฐอเมริกาทั้งหมด ค่า SAR มาตรฐานของ FCC กำหนดไว้ที่ไม่เกิน 1.6 วัตต์ต่อกิโลกรัม หรือต่ำกว่านั้น โดยคลื่นวิทยุที่แผ่ออกจากโทรศัพท์ไร้สาย (Radio Frequency) กับความปลอดภัยต่อสุขภาพ เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง มีการเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพเป็นจำนวนมากและยังมีการค้นคว้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทุกวันนี้ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ระบุการใช้โทรศัพท์ไร้สายไม่สามารถก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ต่อสุขภาพ                                                                                 

     เรายังเห็นได้ว่า FDA (Food and Drug Administration) ที่เป็นองค์กรเหมือน อย. ในบ้านเรานั้นก็ได้ มีมาตรการรองรับด้วยการให้ความร่วมมือในการควบคุมคุณภาพตัวเครื่อง ที่นำเข้ามาจำหน่ายในท้องตลาดร่วมกับ FCC  ด้วย

      ยิ่งไปกว่านั้นองค์กรระดับโลกซึ่งได้แก่ WHO (The World Health Organization) องค์การอนามัยโลกนั้นก็ยังได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพในการใช้ตัวเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่มีมาตรฐานความปลอดภัยจากที่ได้มีการตั้งหน่วยงานในส่วนงานมาทำวิจัยเรื่องสนามแม่เหล็กตกค้าง หลายๆ การวิจัยและทดลองเช่น TEPRSSC(Technical  Electronic  Product  Radiation  Safety  Standards  Committee )   คณะกรรมการมาตรฐานความปลอดภัยการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผลิตภัณฑ์อิเล็กโทรนิคทางเทคนิค

http://search.who.int/search?ie=utf8&site=default_collection&client=WHO&proxystylesheet=WHO&output=xml_no_dtd&oe=utf8&q=sar+cell+phone 

สรุป เราจะเห็นได้ว่าหากมีกฎหมายที่ควบคุมมาตรฐานอุปกรณ์โทรคมนาคมเกี่ยวข้องมายังประเทศเราแล้ว ประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบจากการที่ไม่สามารถควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานนานาชาติได้ ซึ่งในต่างประเทศเขาจะใส่ใจในเรื่องนี้มากและอาจกระทบต่อภาพลักษณ์ในเรื่องของการดูแลพื้นฐานเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนได้ ผมคิดว่าองค์กร กทช. และ อย. น่าจะทำการควบคุมมาตรฐานตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือในไทย จากการสุ่มตรวจคุณภาพให้เข้มงวดกว่านี้ ทั้งจากร้านค้าทั่วไปและกลุ่มที่ขายโทรศัพท์มือสองด้วย เพื่อทำให้เป็นมาตรฐานในสากล มิฉะนั้นเครื่องที่ค่า SAR เกินสเป็คก็อาจจะถูกส่งเข้ามาขายในไทย และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้ ซึ่งภาครัฐก็ยังจะเสียเงินเข้าไปในระบบสาธารณะสุขตามมากับปัญหานี้ด้วย โดยหากออกเป็นกฎหมายและมีบทลงโทษเพื่อเป็นการควบคุมแล้วก็คิดว่าน่าจะดีกับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก

ข้อเสนอแนะ

      ปัจจุบันเราอาจตรวจสอบค่ากำลังส่งได้จากคู่มือแนะนำของโทรศัพท์มือถือยี่ห้อนั้นๆ แต่หากบางยี่ห้อมิได้เปิดเผยเราอาจเข้าเวปของ กทช. ก็ได้เช่นกันครับที่เวปนี้นะครับที่มีการตรวจมาตรฐานของอุปกรณ์สื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

http://www.ntc.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=1833&Itemid=107 

     เราก็จะทราบว่ารุ่นที่ผ่านการทดสอบนั้นมีการรับส่งด้วยกำลังวัตต์เท่าไหร่ แต่ที่แน่ๆใครใช้โทรศัพท์ย่านความถี่รับ/ส่ง ระหว่าง 880-960 MHz (คงไม่ต้องบอกว่าของจ้าวไหนนะครับ ลองหาดูเองนะครับ) เท่าที่ดูผ่านตาของโทรศัพท์หลายๆยี่ห้อทั้งที่ดังๆและไม่ค่อยดัง จะมีกำลังส่งถึง 2 วัตต์เลยทีเดียว และเป็นที่น่าสังเกตุว่าไม่มีการตรวจลงลึกไปถึงขนาด LOT ที่ผลิตรวมถึงแหล่งที่มาด้วยละซิ อันนี้เองผมก็ยังสับสนอยู่เหมือนกัน เพราะนึกถึงเมื่อตอนที่ยังทำงานอยู่ฝ่ายวิเคราะห์ควบคุมคุณภาพในโรงงานแห่งหนึ่ง จะมีการ RUN เลข LOT NUMBER รวมทังแหล่งที่ผลิตไว้ด้วย เมื่อลูกค้าเขาร้องเรียนก็จะทำการแคลมกลับมาทั้ง LOT เลย และหากลูกค้าที่ใช้สินค้า LOT ที่มีปัญหาก็สามารถตรวจสอบและคืนอุปกรณ์นั้นได้โดยตรวจสอบดูได้จาก S/N หรือ LOT NUMBER ที่อุปกรณ์ของตนเองได้ทันที นี่ก็เป็นวิธีหนึ่งที่สากลเขาทำกันเพื่อให้ผู้ประกอบการรับผิดชอบต่อสังคมในระดับหนึ่ง

   ผมคิดว่าอนาคตอาจต้องมีธุรกิจรับตรวจคุณภาพโทรศัพท์มือถือเอกชนมาทำงานคล้ายๆกับ ตรวจรถเอกชน(ตรอ.)ที่กรมการขนส่งทางบกมาไว้คอยบริการประชาชนตามห้างก็น่าจะดีนะครับ หากกรอบการประกาศมาตรฐานยังกว้างๆเหมือนสนามฟุตบอลอยู่อย่างนี้ ประชาชนคงต้องดูแลตัวเองแล้วหละครับ หรือหากใครเห็นว่าเป็นโอกาสน่าจะรีบหาเครื่องมือมาให้บริการประชาชนในการที่ตกอยู่ในภาวะที่ต้องพึ่งพาตนเอง คิดว่าน่าจะมีคนที่เป็นกลุ่มใส่ใจสุขภาพมาเป็นลูกค้าได้นะครับอย่างน้อยผมก็คนหนึ่งหละครับเพราะเมื่อปลายปีผมได้ซื้อมือถือให้คุณแม่เครื่องหนึ่ง โดยในอตีตผมจะโทรหาคุณแม่อาทิตย์ละ 1-2 วัน ครั้งละประมาณ 10 นาที ปัจจุบันตั้งแต่คุณแม่ได้โทรศัพท์เครื่องนั้นมาคุยได้ 2 นาทีคุณแม่ก็บ่นว่าปวดหัว ผมก็ไม่รู้ว่าในปัจจุบันคนในสังคมใส่ใจกับเรื่องนี้แค่ไหนแต่ที่แน่ๆ ผมว่ามาตรการปัจจุบันนี้ยังไม่ดีพอ

หมายเลขบันทึก: 69120เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2006 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท