ไฟไหม้ธุรกิจทำอย่างไร


 

Take Home วิชากฎหมายธุรกิจ

 โจทย์ หากเกิดไฟไหม้ธุรกิจจะทำอย่างไร

กรอบแนวคิด

     อัคคีภัย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม ความเสียหายทางตรงได้แก่ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินต่างๆของธุรกิจ ทางอ้อมคือผลกระทบที่เกิดจากการที่ธุรกิจได้รับความเสียหายดังกล่าว  นอกจากนี้ยังมีผลกระทบด้านความรับผิดตามกฎหมายที่ธุรกิจอาจจะกระทำละเมิดต่อผู้อื่นที่เป็นบุคคลภายนอกเนื่องจากการเกิดอัคคีภัย จนต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น

   เช่นกรณีมีลูกค้าได้รับบาดเจ็บในเหตุการณ์ไฟไหม้ดังกล่าว การจัดการมีวิธีดังนี้

   1. การลดความเสียหาย ด้วยวิธีการป้องกันและควบคุมความเสียหายที่จะเกิดขึ้น และการแยกทรัพย์สิน การป้องกันความเสียหาย คือ การป้องกันที่จะกระทำก่อนที่จะมีความเสียหายเกิดขึ้น วิธีการคือการวิเคราะห์หาสาเหตุที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย เมื่อพบแล้วจึงคิดหาวิธีป้องกัน ซึ่งถือเป็นการลดหรือจำกัดโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย ส่วนการควบคุมความเสียหายที่จะเกิดขึ้น จะกระทำในขณะที่เกิดความเสียหายหรือภายหลังจากที่มีความเสียหายเกิดขึ้น โดยมุ่งหวังที่จะลดความรุนแรงสุดท้ายการแยกทรัพย์สิน คือการแยกทรัพย์สินไว้ไม่ได้เก็บในที่เดียว หรือการทำสำเนาเอกสารไว้ 2 ชดแล้วเก็บคนละที่เป็นต้น

   2. ธุรกิจรับความเสียหายไว้เอง คือธุรกิจยินยอมรับภาระความเสียหายเองเมื่ออัคคีภัยเกิดขึ้น ใช้วิธีการนี้เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นน้อยมาก หรืออยู่ในขนาดที่รับภาระได้ หรือกรณีที่ ความเสียหายนั้นไม่สามารถโอนไปให้บริษัทประกันภัยได้

  3. การโอนความความเสียหายให้แก่ผู้อื่น ทำได้ 2 วิธี คือ 1. การโอนไปให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่การประกันภัย เช่น กรณีที่ธุรกิจทำสัญญาโอนความเสี่ยงภัยไปให้กับบุคคลอื่น   2 การโอนในรูปของการประกันภัย การประกันภัยนี้จะครอบคลุมไปถึงความเสียหายทางด้านการเงินที่จะเกิดกับชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลและธุรกิจ โดยการประกันภัยในที่นี้แบ่งออกได้เป็น การประกันชีวิต และการประกันวินาศภัย

  4. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภัยโดยเพียงแต่บุคคลหรือธุรกิจไม่พยายามเข้าไปยุ่งเกี่ยงกับกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดอัคคีภัย

 เนื้อหา

วิเคราะห์ความเสียหาย และผลกระทบเมื่อเกิดเหตการณ์ไฟไหม้ธุรกิจ และแนวทางป้องกันและมาตรการแก้ไข

1. ด้านทรัพย์สินของธุรกิจ กรณีทรัพย์สินของธุรกิจ มีทั้งที่จับต้องได้ ได้แก่ความเสียหายต่ออาคารสถานที่ เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ และที่จับต้องไม่ได้เช่นการสูญเสียข้อมูล ชื่อเสียงของธุรกิจ

   แนวทางป้องกันและมาตรการแก้ไข

  1.ก่อสร้างให้ปลอดภัย ด้วยการมีประตูหนีไฟ มีอุปกรณ์ดับไฟในอาคาร

  2.ติดตั้งระบบน้ำอัตโนมัติ

  3.มีระบบน้ำที่เพียงพอ เช่นการมีแท็งค์น้ำสำรอง

  4.การทำประกันอัคคีภัย

   5. ด้านข้อมูลฯ มีการจัดให้มีระบบสํารองข้อมูล เพื่อรองรับเหตุฉุกเฉินอันอาจจะเกิดขึ้น

   6. ด้านชื่อเสียง ควรออกมาการดำเนินการรับผิดชอบ แก่ผู้เสียหายอย่างเต็มที่ และการแก้ไขพัฒนาระบบการป้องกันภัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2 ด้านบุคลากรของธุรกิจ  ความเสียหายได้แก่ บุคลากรของธุรกิจ ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต นอกจากนี้ธุรกิจอาจสูญเสียบุคลากรที่มีความสำคัญต่อธุรกิจ

  แนวทางป้องกันและมาตรการแก้ไข

1. การประกันชีวิตให้กับบุคลกรของบริษัท และการทำประกันเงินทดแทนแรงงาน

 2. การดำเนินมาตรการโปรแกรมเตรียมพร้อมรับมือกับไฟไหม้ เช่น การซ้อมไฟไหม้ให้กับบุคลากร

3. การพัฒนาบุคลากรเพื่อมาทดแทนบุคลากรที่สูญเสียไป 

3. ด้านการดำเนินงานของบริษัท   ความเสียหายต่อการดำเนินงานของธุรกิจ ได้แก่ ความเสียหายจากการที่ธุรกิจจะต้องหยุดพักกิจการ ทำให้ส่งผลต่อรายได้ ในขณะที่ธุรกิจยังมีค่าใช้จ่ายคงที่ และอาจมีผลกระทบต่อการชำระหนี้สินของบริษัท

  แนวทางป้องกันและมาตรการแก้ไข

1. บริษัทอาจดำเนินการจัดตั้งกองทุนสำรองค่าเสียหายขึ้น เมื่อมีเหตุการณ์ไฟไหม้ เกิดขึ้นบริษัทก็จะใช้เงินจ่ายกองทุนนี้ จ่ายเป็นค่าเสียหาย ค่าใช้จ่าย ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะทำให้บริษัทประหยัดแล้วบริษัทยังสามารถนำเงินกองทุนนี้ไปหาผลประโยชน์ โดยอาจจะนำไปฝากธนาคารหรือบริษัทเงินทุน

2. การซ่อมแซมสถานที่ประกอบการเป็นเวลานานธุรกิจอาจต้องเช่าสถานที่อื่นเพื่อใช้ เป็นที่ประกอบการชั่วคราว

4. ด้านความรับผิดตามกฎหมาย  ความรับผิดตามกฎหมาย ที่ธุรกิจอาจจะกระทำละเมิดต่อผู้อื่น ในกรณีที่มีผู้ได้รับความเสียหายจากกรณีไฟไหม้ อันเกิดจากธุรกิจ ความเสียหายดังกล่าว ได้แก่ กรณีความเสียหายของสถานที่ใกล้เคียงธุรกิจ ความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของลูกค้า หรือบุคคลอื่น

   แนวทางป้องกันและมาตรการแก้ไข

1. การทำประกันอัคคีภัย

 2. การชดเชยค่าเสียหายหรือซ่อมแซมความเสียหายให้กับผู้เสียหาย

  Model  การจัดการกับปัญหาไฟไหม้ธุรกิจ

 

สรุป

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">การจัดการกับความเสียหายกรณีไฟไหม้ธุรกิจ ไม่ใช่การเพียงการแก้ไขเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น   แต่ควรเริ่มตั้งแต่การป้องกันไว้เสียแต่เนิ่นๆ  โดยป้องกันเหตุปัจจัยที่จะนำไปสู่การเกิดไฟไหม้  และการเตรียมการ เพื่อลดความเสียหายให้น้อยที่สุดเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p align="right">ลินดา วัฒนเกียรติวงศ์</p><p align="right">4818140064  </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 69125เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2006 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท