จุดเริ่มต้นของโจทย์วิจัย


     บันทึกนี้ผมเขียนขึ้นเพื่อตอบคำถามของพี่สาวที่น่ารัก ที่ถามผมเอาไว้ว่าจะเริ่มต้นคิดหัวข้อดุษฎีปริญญานิพนธ์ ได้อย่างไร ซึ่งตามความเข้าใจของผม เจ้าหัวข้อดุษฎีปริญญานิพนธ์ ก็คือโจทย์วิจัยนั่นเอง

     ก่อนอื่นผมคงต้องทำความเข้าใจก่อนว่า งานวิจัยในสายศิลป์ และสายวิทย์มีความแตกต่างกันโดยพื้นฐาน งานวิจัยทางสายวิทย์ที่ผมคุ้นเคย มักเป็นเรื่องของการทดลองในห้องปฏิบัติการ เป็นเรื่องของการควบคุมกลุ่มทดลองเพื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมโดยค่อยๆปรับปัจจัยที่เราสนใจศึกษาที่ละปัจจัยหรือสองปัจจัย  (ไม่นิยมปรับมากกว่า 2 ปัจจัย เพราะจะมีปัญหาเรื่องการคำนวณทางสถิติจะมีความยุ่งยากซับซ้อนขึ้นอีกหลายเท่าตัว  ในขณะที่งานวิจัยทางสายศิลป์ มักจะใช้การสัมภาษณ์ หรือแบบสอบถามเป็นหลัก แล้วนำมาสรุป เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในชีวิตผมเคยทำงานวิจัยแบบที่ใช้แบบสอบถามเพียงครั้งเดียว ต้องที่เรียน Business Research ในระดับปริญญาโท  อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังคิดว่าในหลักการก็คงไม่ได้แตกต่างกันมาก

     ในการเรียนเพื่อให้จบ การได้อาจารย์ที่ปรึกษา เป็นเรื่องสำคัญ เพราะอาจารย์ที่ปรึกษา จะเป็นผู้ที่คอยดูแล แนะนำ ช่วยเหลือ สารพัด เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคหรืออะไรก็แล้วแต่ที่เราพบจากการทำงานวิจัย ดังนั้นการเลือกหัวข้อทำปริญญานิพนธ์ในทุกระดับ หากเราเลือกหัวข้อที่อาจารย์ที่ปรึกษามีความถนัดหรือสนใจอยู่แล้ว ก็จะช่วยให้เราทำงานวิจัยได้ง่ายขึ้น เพราะใช้ประสบการณ์จากอาจารย์ที่ปรึกษาได้อย่างเต็มที่ และอาจครอบคลุมถึงการใช้เงินทุนทำวิจัยจากงานวิจัยของอาจารย์ที่ปรึกษาได้ ในขณะถ้าเรายืนยันที่อยากจะทำเรื่องที่เราสนใจแต่อาจารย์ที่ปรึกษาไม่สนใจ เราอาจต้องขวนขวาย ศึกษาเรื่องต่างๆ มากขึ้น เพราะปัญหาที่เราพบ อาจารย์ที่ปรึกษาอาจไม่ทราบ และอาจไม่สามารถช่วยเหลือทางเทคนิคได้มากนัก 

     การทบทวนวรรณกรรม เป็นอีกเรื่องที่มีความสำคัญ จะมีประโยชน์มาก หากเรามีประเด็นที่สนใจอยู่แล้ว แล้วมาหาดูว่าประเด็นนั้น มีใคร ทำอะไร ไว้ก่อนแล้วบ้าง แต่ถ้าหากไม่มีประเด็นในใจ ก็เป็นเรื่องยาก ในการเหวี่ยงแห งมเข็มในมหาสมุทร เพราะการอ่านไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอเรื่องที่สนใจ คงใช้เวลามากที่เดียว ส่วนใหญ่ก็มักเป็นการยึดเรื่องที่อาจารย์ที่ปรึกษามีความถนัด ดังนั้นการศึกษาแบบต่อยอด หรือการศึกษาแบบเลียนแบบ หรือจะเป็นของใหม่ ก็อยู่ที่ตรงนี้ ในทางสายวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยากที่เราจะบอกว่างานวิจัยที่เราทำอยู่นั้นเป็นเรื่องใหม่หรือไม่  เพราะเอาเข้าจริงๆ เราก็จะพบว่า เทคนิคต่างๆที่นำมาใช้ ก็เป็นเทคนิคเดิม เพียงแต่นำมาปรับใช้ในโีรคที่แตกต่างกัน จะบอกว่าเป็นการก็อปปี้เทคนิคก็ได้ (ไม่ต่างจากการเรียนแบบ) แต่เป็นการศึกษาในโรคใหม่ ที่ยังไม่เคยใครทำ หรือนำมาปรับใช้กับเชื้อตัวอื่นที่ยังไม่เคยมีใครทำ หรือถ้ามีคนทำแล้วก็นำมาเปรียบเทียบกันหลายๆเทคนิคเป็นต้น ผมจึงมองว่า การเรียนแบบเทคนิค การเรียนแบบการออกแบบการทดลอง และการเรียนแบบการเก็บตัวอย่าง น่าจะเป็นเรื่องปกติในการทำงานวิจัย ตราบใดที่เราตอบได้ว่า งานที่เราทำแตกต่างจากงานที่คนอื่นทำไว้แล้วอย่างไร ความแตกต่างนี้ก็คือความใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครทำไว้นั่้นเอง

      สำหรับสายศิลป์ คงมีความแตกต่างออกไปบ้าง อาจไม่ต้องพึ่งพาเทคนิคมากมายเหมือนการทดลองทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และส่วนใหญ่จะเป็นการสัมภาษณ์ หรือใช้แบบสอบถาม ซึ่งอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่านก็จะมีความชำนาญทางเทคนิคเหล่านั้นแล้วพอสมควร ทีนี้ปัญหาใหญ่ก็จะเป็นการเลือกเรื่องที่เราสนใจซะมากกว่า ว่าเราสนใจเรื่องอะไร ประเด็นนั้นใหม่ ใหญ่ และน่าสนใจศึกษาในระดับที่เป็นดุษฎีปริญญานิพนธ์หรือไม่ จุดนี้น่าจะเป็นจุดที่ยากที่สุดจุดหนึ่งของการเรียนปริญญาเอกครับ เพราะการตัดสินใจเลือกที่จุดนี้ มีผลอย่างยิ่งต่อ ระยะเวลาในการศึกษา ทุนที่ใช้ในการศึกษา และอะไรอีกหลายๆอย่าง มันเหมือนกับเป็นการกำหนดทิศทางแล้วว่า ต่อไปนี้ฉันจะเดินไปทางนี้ ถ้าเราเลือกเส้นทางผิด การย้อนกลับมาสู่จุดตั้งต้นใหม่อาจไม่ง่ายเหมือนเดิม

     เมื่อตัดสินใจได้แล้ว ว่าจะเลือกเดินไปทางได นั่นหมายความว่ามีหัวข้ออยู่ในใจ ต่อไปการทบทวนวรรณกรรม ก็จะช่วยให้เรามีความรู้ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ได้รู้่ว่ามีใคร ทำอะไรที่คล้ายๆกันกับที่เราจะทำ ใช้เทคนิคคล้าย ใช้กลุ่มต้วอย่างคล้าย ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติคล้าย และมีประเด็นในการ discussion คล้าย เป็นต้น การทบทวนวรรณกรรม ก็จะช่วยให้เรามองภาพเรื่องที่เราจะทำได้ชัดเจนขึ้น แล้วเริ่มต้นในการออกแบบการทดลอง จากหัวข้อเรื่องที่เราสนใจ

  • ตั้งสมมติฐาน
  • ตั้งวัตถุประสงค์
  • กำหนดกลุ่มตัวอย่าง
  • ออกแบบวิธีการศึกษา จะใช้การสัมภาษณ์ หรือแบบสอบถาม
  • กำหนดวิธีการเก็บข้อมูล จะเก็บอะไรบ้าง อย่างไร
  • วิเคราะห์ข้อมูล
  • สรุปผลการทดลอง

     จะเห็นว่า ถ้าเรามีเรื่องที่จะทำอยู่ในใจ กระบวนการต่อมาก็เป็นเรื่องไม่ยาก เพราะมันมีแนวทางชัดเจน การที่จะบอกว่างานวิจัยของเรามีคุณค่าหรือไม่ สมฐานะของการเป็นดุษฎีปริญญานิพนธ์หรือไม่ก็อยู่ที่การเลือกหัวข้อเรื่องที่เราสนใจนี่แหละครับ

      ไม่ทราบว่าผมตอบคำถามของพี่สาวที่น่ารักได้ครบถ้วนหรือไม่

     และขอเชิญท่านทั้งหลายร่วม ลปรร ด้วยครับ 

หมายเลขบันทึก: 52878เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2006 08:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

คุณไมโตคะ 

  • ครูอ้อยคุมสอบทั้งวันเพิ่งเสร็จค่ะ  เข้ามาเห็นบันทึกของคุณไมโตที่มีหัวข้อเรื่องเกี่ยวกับดุษฎีนิพนธ์แล้ว  เดี๋ยวครูอ้อยต้องใช้เวลาในการอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์ที่บ้าน 
  • ตอนนี้ครูอ้อยต้องตรวจข้อสอบก่อนนะคะ  อย่างไรครูอ้อยต้องขอขอบคุณไว้ก่อนค่ะ
  • อย่าน้อยใจว่าครูอ้อยไม่สนใจนะคะ
  • แวะมาขอบคุณครับ
  • กำลังยุ่งกับงานวิจัยครับ
  • ขอบคุณมากครับผม

เข้ามาขอบคุณด้วยอีกคนคะ ที่แบ่งปันความรู้ และเห็นด้วยทุกประการที่กล่าวมาคะ

  • ตามน้องนิวมาขอบคุณอีกครั้งครับผม
  • สบายดีนะครับ
  • สบายกาย
  • สบายใจ
  • อาจจะเหงาบ้าง
  • แต่เริ่มเจอปัญหาใหม่ คือเริ่มไม่สามารถจะ concentrate กับงานวิจัยของตัวเองได้ เพราะมัวแต่เขียนเล่นบล็อก ก็ห้ามใจไม่ได้น่ะ

คุณไมโต

บล็อกนี้เป็นงาน IS ของครูอ้อยค่ะ  ต้องทำด้วยค่ะ  ขอบคุณ

จะเห็นว่า ถ้าเรามีเรื่องที่จะทำอยู่ในใจ กระบวนการต่อมาก็เป็นเรื่องไม่ยาก เพราะมันมีแนวทางชัดเจน
......จอมยุทธ "กระบี่อยู่ที่ใจ"  เข้ามารอบสองหลังจากเห็นแว๊บๆ เมื่อกลางวัน เขียนได้เห็นกระบวนการ วิธีคิด มุมเชื่อมโยงกับอาจารย์ที่ปรึกษา  อ่านแล้วเข้าใจยิ่งขึ้นสำหรับคนที่ยังค้างสาระนิพนธ์ อย่างดิฉันแบบสุดๆ  แบบว่าเรียนไปเลี้ยงลูกไป เป็นเหตุผลเข้าข้างตัวเองว่าจัดสรรเวลาลำบาก

คุณไมโตค่ะ ทำดุษฎีนิพนธ์สำเร็จแล้วใช่ไหมค่ะ ตกลงว่าได้ทฤษฎีใหม่หรือเปล่า

ดิฉันกำลังเริ่มเสนอหัวข้อค่ะ ไม่ค่อยแน่ใจเรื่องการสร้างทฤษฎีใหม่ หรือการทำเรื่องที่

ยังไม่เคยมีคนทำมาก่อน ช่วยชี้แนะด้วยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท