เขียนอะไรก็ไม่รู้ ใครตอบได้ ช่วยหน่อยครับ !


ไม่เชื่อก็ลองกัดกิน มังคุด ทุเรียน หรือ ขนุน ดูได้ครับ กินทั้งเปลือกนะ.

    เขียนถึงผลไม้ แต่ใจคิดถึงเรื่องอื่น  เรื่องอะไรกันนะ  นึกไม่ออกจริงๆ  ช่วยเดากันหน่อยครับ

  • วิตามิน และสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีอยู่มากมายใน ผลไม้นานาชนิด
     
  • รสชาติต่างกันบ้าง คล้ายกันบ้าง ก็ เลือกกินตามที่ชอบ เถอะครับ

  • ข้อสำคัญ อย่ากินแต่เปลือกก็แล้วกัน  เพราะนอกจากมีคุณค่าน้อยแล้ว  บางทีก็มีพิษด้วย ที่เปลือกนั่นแหละ ครับ

  • ไม่ว่า เปลือกหนา เปลือกบาง ถึงที่สุด เราก็ต้องกินเนื้อของมัน จึงจะได้รับรส และได้ประโยชน์

  • ไม่เชื่อก็ลองกัดกิน มังคุด  ทุเรียน หรือ ขนุน ดูได้ครับ  กินทั้งเปลือกนะ.
คำสำคัญ (Tags): #ความคิด#blog
หมายเลขบันทึก: 80610เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2007 02:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • อาจารย์มีเรื่องให้ขบคิดยามดึกเลยนะคะ 
  • ทำงานแล้วเริ่มง่วง...เล่นตั้งโจทย์ให้คิดแบบนี้  และเป็นคนแรกด้วย    คิดอยู่ในใจหลายเรื่องค่ะ
  • แต่อย่างแรกขอเลือกเรื่องการคบคนค่ะ   
  • คิดว่าคนเราก็มีหลายแบบให้เลือก  บางคนก็นิสัยคล้ายเราบ้าง  บางคนก็แตกต่างกันไปอยู่ที่เราจะเลือกคบ
  • แต่อย่างไรก็ตามเราไม่ควรดูแต่เปลือกนอก ควรดูถึงเนื้อแท้ข้างใน  ถึงจิตใจ...ประมาณนี้หรือเปล่าคะ
  • ต้องขออภัยด้วยค่ะ ถ้าหากว่าตอบไม่ตรงประเด็นเลย     รู้สึกว่าคอมฯไม่ค่อยจะดี  เพราะg2k กำลังปรับปรุงระบบ  เท่านี้ก่อนนะคะ

                     ผมเดาว่าอาจารย์เขียนเรื่องผลไม้ และใจก็อาจารย์ก็คิดถึงมิติต่างๆเกี่ยวกับผลไม้อยู่ครับ ไม่ว่าจะในแง่ของคุณค่าต่อร่างกาย  รสชาติ ความนิยมในการบริโภค ข้อควรระวังในการกิน และที่สำคัญที่สุดคือมิติของการเข้าถึงเนื้อของผลไม้นั้น เปรียบเหมือนเราจะศึกษาเรื่องในเรื่องหนึ่งเราต้องเข้าถึงแก่นสารเรื่องนั้นให้ได้ ด้วยการพิสูจน์ทดลองด้วยตนเองอย่างในมิติสุดท้ายที่ว่าไม่เชื่อก็ลองกัดกิน.....ตื่นขึ้นมาตีสี่เลยมาลับสมองกับบันทึกของอาจารย์ครับ

สวัสดีครับ อาจารย์แฮนดี้

      ขออนุญาตเรียกอาจารย์แล้วกันนะครับ ผมมองว่าอาจารย์จุดประเด็นจากผลไม้ แต่มองโยงจากผลไม้ไปยังอีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งก็มองแล้วก็เอาไปประยุกต์ได้เกือบทุกสิ่งเลยครับ ไม่ว่าการศึกษา การใช้ชีวิต การทำวิจัย เพราะทุกๆสิ่งในโลกหรือในระบบนี้ล้วนสัมพันธ์กันเสมอ

  • วิตามิน และสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีอยู่มากมายใน ผลไม้นานาชนิด
  •      ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การใช้ชีวิต การทำวิจัย ก็จะมีส่วนที่เป็นส่วนย่อยในสิ่งเหล่านั้นเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ได้
     

  • รสชาติต่างกันบ้าง คล้ายกันบ้าง ก็ เลือกกินตามที่ชอบ เถอะครับ
        การศึกษา การใช้ชีวิต การทำวิจัย ก็มีส่วนที่เกี่ยวข้อกันอยู่ แต่ละคนก็ถนัดกันต่างๆ กัน ก็เลือกศึกษาและทำประโยชน์กันในสิ่งที่ตัวเองถนัด อย่าได้ทำในสิ่งที่ไม่ถนัด
  • ข้อสำคัญ อย่ากินแต่เปลือกก็แล้วกัน  เพราะนอกจากมีคุณค่าน้อยแล้ว  บางทีก็มีพิษด้วย ที่เปลือกนั่นแหละ ครับ
       ไม่ว่าการศึกษา การใช้ชีวิต หรือการทำวิจัย ก็อย่าทำแต่ฉาบฉวย หรือทำแค่เปลือกนอกเท่านั้น ไม่งั้นวันหนึ่งมันจะส่งผลทำให้ระบบการศึกษา การใช้ชีวิต หรือผลวิจัยนั้นมีปัญหาได้ หากเรายึดติดและกินที่เปลือกเพียงอย่างเดียว
  • ไม่ว่า เปลือกหนา เปลือกบาง ถึงที่สุด เราก็ต้องกินเนื้อของมัน จึงจะได้รับรส และได้ประโยชน์
        ทั้งการศึกษา การใช้ชีวิต หรือการทำวิจัย แต่ละอย่างนั้นก็มีความลึกตื้นหนาบาง แม้ว่าจะต่างหรือเหมือนกัน แท้จริงแล้วเราต้องเข้าถึงแก่นของมัน ถึงจะได้รับประโยชน์และคุณค่าของสิ่งนั้นอย่างแท้จริง
  • ไม่เชื่อก็ลองกัดกิน มังคุด  ทุเรียน หรือ ขนุน ดูได้ครับ  กินทั้งเปลือกนะ.
  •      หากใครไม่เชื่อก็ลองศึกษา หรือใช้ชีวิต หรือว่าทำวิจัยกันแบบเอาแต่เปลือกดูได้ครับ ว่าจะส่งผลต่อระบบอย่างไร

    นี่ผมมองไปยังสิ่งที่ผมยึดอยู่ตอนนี้คือ การศึกษา การใช้ชีวิตและ การทำวิจัย เพราะคนเราทุกคนล้วนสัมผัสสิ่งเหล่านี้อยู่ทุกวัน และสิ่งอื่นๆ ก็สามารถจะนำมาสู่การเปรียบเทียบกันได้เสมอ เพราะเรามองได้จากมุมต่างๆ กัน แต่เป้าหมายจริงๆ คือแก่นของการมอง

    ดังนั้นหากเราค้นพบแก่น ของมังคุด ทุเรียน หรือขนุน เราจะเจอเป้าหมายหรือแก่นของมัน แต่ทว่าแก่นนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ข้างในเสมอหรือใจกลางผลไม้เสมอ เพราะว่าสิ่งที่เรากิน ไม่ว่ามังคุดหรือ ทุเรียน แก่นกลางของมันไม่ใช่เพียงตัวไส้แกนภายใน นั่นก็แล้วแต่มุมมองที่แต่ละคนมอง ต่างๆ กัน

    สังคมเราจริงๆ แล้วสามารถมองต่างมุมได้ ถกเถียงกันได้ แต่แก่นแท้แล้วคือการเข้าใจธรรมชาติ เข้าใจตัวเองและเข้าใจสิ่งแวดล้อม เพื่อเข้าใจ เข้าถึง และจะพัฒนาได้ ดังที่ในหลวงท่านตรัสไว้ ถึงจะทำให้แก่นของชีวิตเรานิ่งได้

    ผมยังหวังลึกๆ ว่าวันหนึ่งสังคมไทย ยังสามารถกลับไปสู่ยุค การแลกข้าวแลกแกงกันกับเพื่อนบ้านได้ แบบไม่มีรั้วกั้นทางสายใยของจิตใจ

    ชักจะยาวแล้วครับ ผมอาจจะมองผิดไปจากการตั้งประเด็นของอาจารย์ครับ แต่คงไม่ว่ากันนะครับ เป็นการมองต่างแนว ต่างสถานที่และต่างเวลานะครับ

    ขอบพระคุณมากครับ

    สมพร

    คุณ Handy คะ.....
      จริงด้วยค่ะ เขียนอะไรก็ไม่รู้ ทำให้สมองต้องทำงานหนักแต่เช้าเลย  ขอตอบเป็นสามประเด็นใหญ่ๆเลยนะคะ
    1. กินแต่เปลือก...แบบนี้ลำบากค่ะ คือไม่รู้แม้กระทั้งว่า สิ่งที่หอมหวานนั้นอยู่ที่ไหน.....กินแต่เปลือกไปแล้วก็หลงคิดว่า "ใช่"
    2. กินทั้งเปลือกทั้งเนื้อ...ก็ยังพอทำเนากว่าแบบแรกนะคะ อย่างน้อยก็พอจะรู้ว่าข้างในนั้นหอมหวานยิ่งนัก เพียงแต่ยังไม่สามารถ "แยกแยะ" หรือ "สกัด" เอาแต่ส่วนดีออกมาได้  หรือกว่าจะได้ก็ยากเย็นแสนเข็ญเหลือเกิน...
    3. ไม่กินเปลือกเลือกกินแต่เนื้อ...ขอแยกย่อยออกเป็นสองประเด็นย่อยนะคะ....
    • "กินไม่เป็น" ตะกรุมตะกราม กินมากเกินไป กินเลอะเทอะ อาจร้อนใน หรือเมล็ดติดคอได้
    • "กินเป็น" อิ่ม อร่อย หอมหวาน ชื่นใจ ได้วิตามินไงคะ!
    ไหนๆก็คิดยาวมาถึงนี้แล้ว ก็ขอต่อยอดอีกเป็นประเด็นที่ 4 นะคะ....
    • แต่ถ้ายิ่งสามารถนำเมล็ดที่ใครๆก็สลัดทิ้ง นำไปใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย (เช่นเมล็ดขนุนนำไปนึ่งทานอร่อย...หรือนำเมล็ดมะละกอไปเพาะปลูกให้เกิดต้นใหม่ได้...." แบบนี้จึงจัดว่าเป็น "ผู้มีปัญญา" นะคะ
    ขอบคุณมากนะคะ สำหรับบันทึกที่ช่วยกระตุกต่อมคิดให้พี่เม่ยแต่เช้าเลย....
    • สวัสดียามสายครับท่านHandy
    • เขียนถึงผลไม้ แต่ใจอยู่ที่ Gotoknow !!!  ???
    • สวัสดีค่ะ อาจารย์แฮนดี้
    • อาจารย์พูดถึงผลไม้ การกิน วิธีการกิน ชวนให้คิดได้หลายประเด็นนะคะ
    • เปลือกคือรูปพรรณสัณฐานที่เรามองเห็นจากภายนอก ทำหน้าที่ปกปิดเนื้อในและเมล็ดไว้
    • หลายๆ อย่างมองแต่ภายนอก หรือเพียงผิวเผินไม่ได้ ต้องศึกษาให้เห็นแก่นแท้ จึงจะรู้ว่าสิ่งนั้นมีส่วนไหนที่ดีและไม่ดี จะเลือกนำส่วนใดมาใช้ประโยชน์ได้บ้างค่ะ
    • ได้อ่านคอมเมนต์ของหลายๆ ท่าน ได้แง่คิดที่หลากหลายดีค่ะ  ขอบคุณนะคะ

     

    เปรียบเสมือนกับคน  บางทีเราเห็นเค้าแต่เปลือกภายนอก  ก็ว่าสวย  ว่าดี  แต่ข้างใน  อาจไม่หวานอย่างที่คิด   แต่ถ้ามองดูให้ดี  เปลือกเหล่านี้  มิใช่หรือ  ที่ห่อหุ้มทำให้มนุษย์เลือกที่จะหยิบหรือไม่หยิบมาทาน 

    เหมือนทุเรียน  ที่มีหนามแหลมคม  แต่ข้างในหอมหวาน (อันนี้สำหรับบางคน) หรือมะพร้าว  แกะยากมาก ๆ  แต่ถ้าใครได้ลองชิมน้ำมะพร้าว  และเนื้อมะพร้าวจะเห็นว่าอร่อยหวานชื่นใจ ทีเดียวเชียวววว...

    *********************

    เปลือกบางทีก็มีประโยชน์  บางครั้งมนุษย์เราไม่สามารถแสดงความอ่อนแอให้ใครเห็นได้   เราต้องแสดงตนเองว่าไม่แคร์ใคร    และไม่สะทกสะท้านกับคำพูดของใคร  ที่คือเปลือกภายนอก (สำหรับความคิดของนิว)    แต่ใครจะรู้เล๊า...ว่าภายในมันบอบช้ำเหลือเกิน  

    ขอบคุณที่ชวนคิดค่ะ นอกจากบันทึกแล้ว ยังได้ประโยชน์จากความเห็นคมๆหลายๆชิ้นด้วยนะคะนี่

    แต่กำลังคิดว่าผู้ที่ค้นพบว่าผลไม้ที่เปลือกไม่น่าพิสมัยเหล่านี้ กินได้แถมเป็นที่ชื่นชอบของพวกเราหลายๆคนอีกด้วยนั้น น่านับถือมากเลยนะคะ ไม่ทราบว่ามีใครบันทึกไว้หรือเปล่า

    และคิดว่าผลไม้เปลือกเป็นอุปสรรคแบบนี้ เรารู้ว่าเนื้อเขาอร่อย แต่ก็มีหลายๆลูกที่เนื้อข้างในก็เผอิญไม่น่าพิสมัยนะคะ โชคดีที่คนค้นพบ พบเจอลูกดีๆ 

    โอ๊ย....คิดไปคิดมา คิดได้อีกยาวเลยค่ะ....หยุดก่อนดีกว่า 

    • ชวนใหเคิดเหลือเกินพี่บ่าว
    • พอดีคุยกับคุณสมพรที่เยอรมันโดยใช้ skype
    • เสียงชัดมากแถมฟรีด้วยครับ
    • ขอบคุณมากครับ
    • บันทึกนี้น่าจะเป็นทุเรียนครับพี่

     

    เรียนอาจารย์Handy

    • เขียนให้คนอ่านคิด  คมจริงๆ ค่ะ คำว่ากินแต่เปลือก
    • อ่านแล้วรู้สึกว่าอาจารย์นี่ซูเปอร์คนจริงๆค่ะ คิดได้ไงค่ะเนี่ย ทึ่งสุด ๆ
    • อย่าลืมกินมังคุดตามนะค่ะจะได้ไม่ร้อนใน (เมื่อกินทุเรียนไปแล้ว )ฮิ ๆ แซวเพราะใกล้หน้าทุเรียนออกแล้ว

    โอ มายก้อด !
        ผมคิดไว้ดิบดี ว่าจะตอบทุกท่านที่ให้ความเห็นต่อท้ายบันทึกนี้ เข้ามาอ่านไม่รู้กี่รอบ  แล้วก็ลืมจนได้ 
       ชอบคำตอบและความคิดเห็นของทุกท่านเลยครับ ทุกอย่างชัดเจนอยู่ในตัว  ไม่จำเป็นต้องขยายความเพิ่ม
       ขอบคุณทุกท่านมากๆครับ
       มันเเป็นความคิด  ไม่มีถูกผิด คิดแล้วนำไปใช้ประโยชน์ได้ก็เป็นความคิดที่มีค่าเสมอครับ 
       ขอเรียนว่าท่าน Panda  นั้นยอดเยี่ยมครับ ตอบสั้นๆ แต่มันตรงเป๊ะเลยครับ ตอนผมเขียนเรื่องผลไม้  ใจผมคิดถึง GotoKnow ครับท่าน เหมือนการกินผลไม้อย่างไร  ไม่เฉลยนะครับ  เดี๋ยวจะจืดเสียหมด

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท