ตั้งใจไปทำบุญ...แต่ได้บุญระคนหดหู่ใจ...เป็นไปได้อย่างไรกัน


แม้แต่การศึกษา ก็ต้องเป็นการศึกษาที่เน้นคุณธรรม เพราะจริงๆแล้ว คนศึกษาเล่าเรียนมากขึ้น จะรู้ช่องทางมากขึ้น และโดยธรรมชาติ คนเรามีกิเลส ก็จะเอาความรู้นั้นไปเอาเปรียบสังคมยิ่งขึ้น ดังนั้นการที่โรงเรียนส่วนใหญ่ในชนบทจะอยู่คู่กับวัด ก็เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์และดีงามเป็นอย่างยิ่ง

   เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2550 ดิฉันมีนัดกับเพื่อนๆประมาณ 20 กว่าคน  ตั้งใจไปทำบุญกันที่วัดสี่ร้อย ตำบลสี่ร้อย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง   เราออกเดินทางโดยรถบัสแต่เช้า ใช้เวลาไม่นาน ก็ถึงจังหวัดอ่างทองค่ะ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มาก ย้อนไปตั้งแต่ปีพ.ศ. 2302 สมัยพม่าได้ยกทัพมาตีเมืองมะริด ที่อยู่ในความปกครองของกรุงศรีอยุธยา

  ในครั้งกระนั้น ปลัดชู ซึ่งเป็นผู้มีวิชาอาคมแก่กล้า ได้รวบรวมชาววิเศษชัยชาญจำนวน 400 คน เข้าสมทบกับกองทัพหลวง ไปรบกับพม่าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลปรากฏว่าทุกคนตายหมด ชาววิเศษชัยชาญเศร้าโศกกันมาก จึงร่วมกันสร้างวัดนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์ และต่อมาได้สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อใหญ่ โดยจำลองแบบมาจากปางป่าเลไลย์ วัดป่าเลไลย์ จังหวัดสุพรรณบุรี  เพื่อเป็นที่สักการะด้วย

  เมื่อพวกเราได้เข้าไปกราบท่านเจ้าอาวาส   นมัสการท่าน มาให้ศีลแก่เราถวายอาหารพร้อมปัจจัย และทำพิธีบังสุกุลให้แก่เพื่อนบางคนที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว  นั้น ตอนนี้ ทุกคนมีจิตใจอิ่มเอิบ ผ่องใสมากค่ะ จากการทำบุญและการได้คุยกันเซ็งแซ่ชนิดเกือบไม่มีใครฟังใคร เพราะ 2 เดือนแล้ว ที่ไม่ได้พบกันเลย

    รายการต่อไป คือการเข้าไปเยี่ยมเด็กๆที่โรงเรียนวัดสี่ร้อยที่อยู่ในบริเวณวัด มีเด็กทั้งสิ้น 150 คน สอนตั้งแต่อนุบาลถึง ป.6 เด็กๆนั่งคอยกันอยู่แล้วประมาณ 60 คน เมื่อเราไปถึง เด็กทำความเคารพและร้องเพลงประกอบท่าทางให้ดู 3เพลงด้วยกัน โดยมีพวกเราร้องคลอไปด้วย

   พวกเรา ไปมอบเงินทุนการศึกษา อาหาร ของเล่น และอุปกรณ์การศึกษาให้แก่คุณครูใหญ่ เพื่อจัดสรรให้แก่นักเรียนต่อไป

    เสร็จพิธีรับมอบ จึงได้คุยกับคุณครูใหญ่และคุณครูอีก4ท่านถึงสถานภาพของโรงเรียนและนักเรียน ความเป็นจริงที่ทราบ ทำให้พวกเราสงสารเด็กๆและโรงเรียนมากค่ะ

คุณครูเล่าว่า 65-70 % ของ เด็กๆพวกนี้ มีสภาพบ้านแตกหรือครอบครัวมีปัญหามาก

1.   พ่อแม่เลิกกัน เอาหลานมาให้ย่า/ยายเลี้ยง  ฐานะยากจนมาก  เก็บผักขาย หรือไปรับจ้างเล็กๆน้อยๆบ้าง

 2.   บางคนพ่อหรือแม่เป็นเอดส์ หรือติดยาเสพติด ไม่เลี้ยงดูลูก

3.   บางคนกำพร้าหมด ไม่ทราบพ่อแม่ไปไหน

4.   เวลาให้การบ้านไปก็มักไม่ได้ทำ บางทีไม่ได้มาโรงเรียน  ต้องไปตาม

5.   ทางจังหวัดตรวจสอบเห็นผลการเรียนของเด็กจากที่นี่ ตกต่ำมาก มาดูจึงเห็นปัญหา แต่ก็ยังไม่ได้แก้ไขอะไร

    พวกเราฟังแล้ว เห็นใจและหดหู่ใจว่า นี่ขนาดใกล้กรุงเทพแค่นี้ ทำไมเด็กๆจึงได้น่าสงสารอย่างนี้ ส่วนใหญ่พ่อแม่ทิ้งลูกไว้ให้ย่ายาย ตัวเองไปทำงานกรุงเทพหมด ย่ายายก็ไม่มีความรู้ ที่จะสั่งสอนเด็ก คุณครูบอกว่า เด็กพอจบป.6 ก็ไม่ค่อยเรียนต่อ เพราะไม่อยากเรียน และไม่มีเงินเรียน เพราะที่รัฐให้เรียนฟรี ก็ไม่ฟรีจริงทั้งหมด

   เราทุกคนลงความเห็นว่า แม้รัฐจะช่วยในด้านการศึกษา คนยากจนก็ยังไม่มีเงินพอที่จะให้ลูกหลานได้เรียนสูงขึ้นไป เพราะยังต้องมีค่าใช้จ่ายอย่างอื่นๆอีกที่ครอบครัวต้องจ่ายเองด้วย  ที่สำคัญที่สุดคือ เด็กขาดความรักความอบอุ่นมาก เมื่อให้เงินอย่างเดียว ในที่สุดก็จะไปใช้ในทางที่ผิด เช่นเล่นเกมส์  เล่นการพนันอื่นๆ  ดื่มเหล้า ในที่สุดก็ช่วยตัวเองไม่ได้ 

เรื่องนี้ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การศึกษาอย่างเดียว แต่อยู่ที่การดูแลเอาใจใส่ลูกตั้งแต่ยังอยู่ในท้อง อาหารไม่สมบูรณ์พอ ลูกขาดสารอาหาร ทำให้สมองและสุขภาพไม่ดี การดูแลรักษาก็ไม่ดี เป็นการเสียเปรียบที่สะสมกันมาเป็นระยะๆ

ถ้าไปดูที่ต้นเหตุ สาเหตุหนึ่งก็คงเป็นที่ประชาชนบางส่วนฐานะยากจนจึงมีการศึกษาน้อย  เมื่อย่างสู่วัยรุ่น รักชอบกัน มีลูก แต่รับผิดชอบลูกไม่ไหว ทิ้งให้ย่ายายดูแล ตัวเองไปทำงานที่อื่น บางทีก็ไม่ได้ส่งเสียเงินทองมาเลย เด็กๆจึงไม่ได้รับการดูแล ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาสังคมต่อไป

   การแก้ปัญหา เป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากเป็นปัญหาระดับชาติ และทราบว่า ทั้งรัฐบาลและท่านผู้ใหญ่ในบ้านเมืองหลายๆท่านก็ตระหนักถึงปัญหานี้ และพยายามแก้ไขอยู่ 

   อาทิเช่นท่าน ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วสี  ท่านได้ให้แนวทางไว้หลายประการด้วยกัน  ในทิศทางของการสร้างชุมชนเข้มแข็ง เพื่อชุมชนจะได้เปลี่ยนสำนึกใหม่  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตและการบริโภค เพื่อให้มีชีวิตที่ดีขึ้น โดยชุมชนจะต้องเป็นผู้ทำแผนด้วยตนเอง เป็นแผนพัฒนาทั้งเศรษฐกิจ  จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุขและการศึกษา เป็นสิ่งที่ชุมชนร่วมกันคิด ร่วมกันทำ เพื่อพัฒนาชุมชนของตนเองต่อไป  

    และแม้แต่การศึกษา ก็ต้องเป็นการศึกษาที่คู่กับ และเน้นคุณธรรม เพราะจริงๆแล้ว คนศึกษาเล่าเรียนมากขึ้น  จะรู้ช่องทางมากขึ้น และโดยธรรมชาติ คนเรามีกิเลส ก็จะเอาความรู้นั้นไปเอาเปรียบสังคมยิ่งขึ้น ดังนั้นการที่โรงเรียนส่วนใหญ่ในชนบทจะอยู่คู่กับวัด  ก็เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์และดีงามเป็นอย่างยิ่ง



ความเห็น (111)

    สวัสดีคะ คุณ sasinanda

    เด็ก ๆ ในชนบทน่าสงสารคะ ยังขาดโอกาสอีกมากมาย เมื่อเทียบกับเด็ก ๆ ในเมือง 

   สมัยตอนที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย เคยทำกิจกรรมชมรมค่ะ จัดโครงการไปสอนภาษาอังกฤษน้อง ๆ ต้องบอกว่าพื้นฐานทางด้านการเรียนของน้อง ๆ ด้อยกว่าเด็กในเมืองอยู่ค่อนข้างมาก  และเด็ก ๆ ไม่ค่อยจะชอบภาษาอังกฤษกัน ก็เลยจะต้องจัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ รู้สึกว่าเรียนภาษาอังกฤษสนุกคะ  แถมจัดขนมไปเลี้ยงน้อง ๆ เต็มที่ เพราะอยากให้น้อง ๆ กินขนมอร่อย ๆ คะ

   

ที่แถวจังหวัด อ่างทอง ใกล้กับบ้านเพื่อนที่ไปแวะ มีต้นราชพฤกษ์

สวยมากค่ะ ตอนนี้ก็ยังมีดอกอยู่ ปีนี้ดูจะมีดอกล่าสักหน่อยค่ะ

  • สวัสดีครับ
  • เปิดตัวบันทึกได้อย่างน่าสนใจ  โดยเฉพาะการสื่อสารถึงประวัติศาสตร์ความเป็นชาติที่สะท้อนให้เห็นการเสียสละตนเพื่อผืนแผ่นดินอันเป็นที่รัก
  • ...
  • ผมเชื่อเหลือเกินว่าใกล้ หรือไกลเมืองใหญ่ย่อมมีสภาพสังคมอันบอบช้ำและควรค่าต่อการเยียวยาเสมอ
  • ความล่มสลายของครอบครัวที่เกินเยียวยาเป็นปัญหาพื้นฐานของสังคมที่เรื้อรังและลุกลามไปสู่ความเป็นสังคมอย่างน่าเศร้าสลด
  • โดยเฉพาะปัญหาการหย่าร้างตั้งแต่ที่ลูกยังไม่คลอดออกมาลืมตาดูโลกนั้นผมถือว่าค่อนข้างเลวร้ายมาก 
  • ผู้หญิงสักคนต้องอดทนมหาศาลต่อการอุ้มท้องและฝ่าวิกฤตมาอย่างเดียวดาย  และถึงแม้จะกัดฟันหยัดยืนอย่างทระนงมาได้  ท้ายที่สุดคำถามนานาประการก็ถุกผลิตซ้ำกับลูกอยู่วันยังค่ำ
  • เด็กจำนวนไม่น้อยจำต้องอยู่กับตายาย  เพราะผู้ปกครองอพยพแรงงานไปทำมาหากินในเมืองใหญ่  , โดยเฉพาะในกลุ่มชนบทนั้นน่าเห็นใจมาก  เท่าที่ผมสัมผัสเจอ  ในบางหมู่บ้านเด็กอยู่กับตายาย  ค่ำมาไม่มีใครสอนการบ้าน,  การบ้านที่ครูให้ไปก็ต้องเดือดร้อนให้ครูสอนย้ำอีกครั้งในห้องเรียนในรุ่งเช้า
  • บางคนเที่ยวเล่นอย่างเสรี  ไม่ใส่ใจกับการเรียนหนังสือ  ตายายก็ทำเต็มที่ได้แค่บ่นพร่ำไปวัน ๆ  และเมื่อจบการศึกษา (อย่างมากก็มัธยมต้น) ก็จำต้องเร่ร่อนลงไปสู่เมืองใหญ่เข้าไปเป็นแรงงานตามโรงงานต่าง ๆ  หรือแม้แต่ธุรกิจแรงงานอื่น ๆ  อันหลากรูปแบบ  ซ้ำซ้อนและหน่วงหนัก  แทนที่จะได้พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการศึกษา  แต่กลับต้องเผชิญโลกอันหยาบกร้านด้วยชีวิตที่ยังไม่โบยบินไปจากความเยาว์วัย
  • .....
  • เพื่อนผมก็เป็นเช่นนั้น,  ตอนนี้ทำงานที่กรุงเทพฯ มีเงินมีทองในระดับหนึ่ง  แต่ผมเคยถามว่า  จะปักหลักปักฐานที่กรุงเทพฯ เลยเหรอ  ซึ่งเขาก็บอกว่า "ใช่"
  • จากนั้นผมก็ถามติดตลกว่า  เวลาตายไม่กลัวญาติที่บ้านนอกเหนื่อยไปทำบุญที่กรุงเทพฯ บ้างเหรอ ....
  • ประเด็นนี้เขาตอบไม่ได้  ทั้ง ๆ ที่ผมถามเล่น ๆ  เท่านั้น ..
  • ....
  • ขอบคุณบันทึกที่เติมเต็มสังคม
  • และขอบคุณกิจกรรมที่ช่วยเยียวยาครอบครัวที่ยังอยู่ในชะตากรรมที่ต้องเยียวยา...
  • ...
  • ผมชื่นชมและประทับใจมากครับ -

คุณ sasinanda  ค่ะ

ต้นราชพฤกษ์ ดอกสวยจังเลยคะ

ขอบคุณมากคะ ที่นำมาแบ่งปันกันคะ

ขากลับแวะวัดใหญ่ชัยมงคลและวัดหลวงพ่อยิ้ม ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง วัดสวยงามสะอาดมาก มีคนไปนมัสการพระสารีริธาตุมากค่ะ

สองสามปีหลังนี้ ... ประเด็นที่ผมสนใจเป็นพิเศษก็คือ  การจัดค่ายให้เด็กลูกคนงานก่อสร้าง  โดยเฉพาะคนงานก่อสร้างในมหาวิทยาลัย  ซึ่งบางคนผมเห็นตั้งแต่ยังเด็ก  บัดนี้โตแล้ว

หรือแม้แต่บางคนที่ผมสอบถามก็รู้มาว่าย้ายโรงเรียนบ่อยมาก  การเรียนไม่ต่อเนื่อง  ทุกอย่างเดินทางไปพร้อม ๆ กับการงานของผู้ปกครอง -

ผมยังทำอะไรไม่เป็นรูปเป็นร่าง  ทุกคนให้ความสำคัญกับเด็ก ๆ ในหมู่บ้านกันมาก  จึงตระเวนออกค่ายไปในที่กันดารและขาดแคลน   โดยยังมองข้ามแนวคิดและข้อสังเกตของผม ...

ผมยังไม่สิ้นหวัง,  และยังอยากจัดกิจกรรมเช่นนี้อยู่เสมอ

สวัสดีครับ

เปิดเรื่องได้ประทับใจมากครับ

หดหู่จริงๆเมื่อได้อ่านต่อมา

ชีวิตของเด็กๆที่ถูกทอดทิ้งน่าสงสารเสมอครับ

ผมทนเห็นความบอบช้ำในสายตาของพวกเขาไม่ได้สักที

นี่คงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งกระมัง ที่ผมไม่ชอบในสถานเลี้ยงเด็กำพร้าเลย

เคยคิดว่าจะพาลูกสาวทั้ง 2 คนไปเพื่อบริจาคสิ่งของ แต่คิดไปคิดมา คุณพ่อก็ยังไม่กล้าครับ ทั้งๆที่ตอนนี้มีตุ๊กตามากมาย ที่ลูกสาวคนโตเคยคิดว่าจะนำไปให้เด็กๆเหล่านั้น

P

สวัสดีค่ะ

ที่ไปคุยกับอาจารย์และน้องๆ น่าสงสาร

เป็นเด็กมีปัญหาส่วนใหญ่จริงๆ นั่งมองหน้ากันว่า เป็นไปได้อย่างไร อยู่ใกล้กรุงเทพแค่นี้ ทำไมถึงขาดแคลนอย่างนี้

แต่เด็กบางคนมีแววค่ะ โดยเฉพาะคนที่เป็นหัวหน้านักเรียน หน่วยก้านดีทีเดียว ถ้าให้การสนับสนุน น่าจะไปได้ดี

พี่เองเวลาไปแบบนี้ ก้อยากคุยมากๆกับคนที่เราไปเยี่ยม เพื่อที่จะรู้ความเป็นไปของเขาจริงๆค่ะ ไม่ใช่แจกของเสร็จก็กลับเลย

ต่อไป ต้องไปอีกแน่นอนค่ะ สงสารเด็กๆ

น้องคนนี้ หวงตุ๊กตามาก กอดแน่นเลย น่ารักมากค่ะ ยิ้มใสๆ เดียงสา

เห็นแล้ว อยากเอามาอุปการะด้วยซ้ำ เด็กเขาอยู่กับยายค่ะ

 คุณ sasinanda 

  น้องยิ้มน่ารักจังค่ะ ท่าทางจะมีความสุขมากมาย 

  ชื่นใจไปด้วยค่ะ ที่เห็นน้อง ๆ มีความสุข

พี่ศศินันท์

 

ได้ไปเยี่ยมอาจารย์ คุณนายด๊อกเตอร์ มั้ยครับ บ้านท่านอยู๋แถวนั้น และได้ยินมาว่า บ้านของอาจารย์น่าอยู่และสงบครับ

ผมไปพบอาจารย์คราไปที่อ่างทองเสียดายว่าผมไม่มีโอกาสไปเยี่ยมบ้านอาจารย์ต่อ

*** ภาพเด็กๆน่ารักมากครับ แต่ชีวิตเขาน่าสงสารนะครับ

 

P

สวัสดีค่ะ

ที่คุณพนัสพูดมา ตรงทุกอย่าง ยังกะตาเห็นเลย

แสดงว่า ปัญหาแบบนี้มีทั่วประเทศนะคะ

ครูที่นี่ก็มีน้อย แต่ขอชมค่ะ  ครูไปดูถึงบ้านเวลาเด็กขาดเรียน แต่ก็พบว่า ไปเที่ยวเล่น ไม่สนใจเรียน

พ่อแม่ไม่อยู่ ไม่มีคนดูแล มีแต่ย่ายาย

สถาบันครอบครัวค่อนข้างแย่มาก

ที่จังหวัดเขาก็ทราบปัญหา แต่ไม่ทราบจะแก้ไขอย่างไร เขาตรวจผลการเรียนทุกแห่งตลอดเวลา

ที่นี่ผลการเรียนค่อนข้างจะแย่ค่ะ

ขนาดทางจังหวัดต้อง มาตรวจสอบเองเลย

เรานั่งคุยกันมาตลอดทางขากลับค่ะ

เพื่อนบางคน บอกว่า ยิ่งกว่านี่ก็มี

คิดว่า วันหลังจะไป เยี่ยมอีกหลายๆแห่ง อาจพอช่วยอะไรได้บ้างเล็กน้อยก็ยังดีค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่ sasinanda

ชื่นชมสำหรับสิ่งดีๆ ที่พี่และเพื่อนๆ แบ่งปันให้น้องๆเด็กๆ ด้อยโอกาส

 สังคมเรามีช่องว่างมากเหลือเกินค่ะ นับวันจะมากขึ้นเรื่อยๆ คนยากจนมีมากกว่าคนรวยไม่รู้กี่เท่า แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ จึงไม่ยั่งยืน

พี่ถ่ายรูปและทำบันทึกสวยมาก ช่วยแนะนำบ้างสิคะ ขอฝากตัวเป็นศิษย์ด้วยค่ะ

สงสัยว่าทำไมเด็กอ้วนกลมเยอะเหมือนกันค่ะ

P

สวัสดีค่ะ

นึกถึงอาจารย์ คุณนายด๊อกเตอร์อยู่ค่ะ แต่ไปกันหลายคนมาก เลยไม่ค่อยสะดวก ไว้วันหลังจะไปแวะค่ะ อยู่ไม่ไกล

เรื่องการศึกษา ดูๆแล้วเด็กวัยแค่นี้ น่าจะเรียนรู้จากธรรมชาติรอบตัวเขาได้

เรียนรู้จากชุมชนที่เขาอยู่ แต่มองดูครูแล้ว คิดว่าทางจังหวัต้องอบรมครูมากกว่านี้ค่ะ เพราะดูจะหมดแรงตามเด็กๆ และคงยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการสอนเด็กตามแผนการสอนสมัยใหม่ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์ (sasinanda)

ดิฉันว่าคุณพี่กับเพื่อนๆ ได้ทำบุญอย่างมากเลยค่ะ ที่สร้างความอบอุ่นความรักให้กับเด็กๆ ให้เขารู้ว่ามีคนสนใจเขา เป็นกำลังใจอย่างดีค่ะ แม้นว่าโอกาสในการเจริญเติบโตเป็นอย่างเต็มที่ตามศักยภาพของเขาจะมีน้อยมากก็ตาม

ปัญหาพ่อแม่ทิ้งลูกหลานไว้กับตายาย เพราะต้องมาทำงานในเมืองก็คงเป็นปัญหาหนักของประเทศไทยต่อไปค่ะ ตราบใดที่ยังไม่มีอาชีพที่มั่นคงในถิ่นที่อยู่อาศัย เด็กๆ ก็คงยังต้องตกอยู่ในสภาพแบบนี้ต่อไป

ดิฉันว่านอกจากการให้การศึกษา(เกือบฟรี) แก่เด็กแล้ว ต้องมีงานให้พ่อแม่เด็กทำแถวนั้นด้วยค่ะ แต่การเกษตรบ้านเราก็มีปัญหามาก ดิฉันว่าคุณพี่ทราบดีกว่าดิฉันเยอะเพราะเคยลงมือทำธุรกิจเกี่ยวข้องมาก่อนแล้ว..

ก็คงต้องทำเสริมกันไปหลายๆ ทาง ตามกำลังและความสามารถของพวกเราที่มีโอกาสมากกว่าเด็กๆ เหล่านี้ค่ะ

ขอบคุณที่เล่าเรื่องประเด็นดีๆ ให้รู้กันนะคะ

สวัสดีค่ะ

แถวอยุธยา อ่างทองต้นไม้สวย ตามรายทางสองข้าง และตามวัดวาอารามต่างๆค่ะ วัดมีมาก แต่เดี๋ยวนี้ สะอาด และจัดระเบียบดีขึ้นมาก แทบทุกวัดเลยนะคะ ดูน่าไปเที่ยวและทำบุญด้วยค่ะ

ที่เห็นนี้ เป็นวัดการ้อง-- หลวงพ่อยิ้ม---ที่มีชื่อเสียงค่ะ

วัดกว้างขวาง สะอาดและสวยงาม มีดอกไม้สวยๆอยู่แทบทุกมุมค่ะ มีพระบรมสารีริกธาตุด้วย

วัดการ้อง

เอ๊ะ ชื่อนี้คลับคล้ายคลับคลา

ที่นครศรีธรรมราช รอบๆวัดพระมหาธาตุ จะมีวัดตั้งอยู่รายรอบ ทั้งนี้ว่ากันว่าเพื่อเป็นการปกปักรักษาพระเจดีย์ ผมไม่แน่ใจในชื่อนัก เพราะชักเลือนๆ น่าจะเป็น กาขาว กาแวง และอีก ๒ กา จำไม่ได้จริงครับ

ใครทราบบ้างกรุณาช่วยทีครับ คนนครศรีฯน่าจะพอทราบบ้างครับ

โอแม่เจ้า

เจอเลยครับ ที่นี่ ปรากฏว่าไม่มีกาแวง ผมนี่เลือนจริงๆครับ

สวัสดีค่ะ

P

พอดีมีเพื่อนกลับมาจากการไปทำงานที่วิทยุปักกิ่ง ภาคภาษาไทย ก็เลยนัดพบกัน เขาไปทำงาน 2 ปี และไปทำวิจัยด้วย ปกติเป็นอาจารย์ที่จุฬา แต่เขาลาไปค่ะ

เราจะนัดพบกันบ่อย และคราวนี้ เป็นการทำบุญให้เพื่อนสนิทอีกคนหนึ่งที่เสียไปแล้วด้วย

ปกติก็จะไปแถวบ้านปากเกร็ดปีละ2ครั้ง สงสารเด็กด้อยโอกาส อยากจะช่วยบ้างค่ะ

การทำรูปขึ้นบันทึก ทำจากPhoto shopค่ะ พอทำได้ไม่เก่ง เพราะโปรแกรมนี้ ยากหน่อย และใช้เวลา ถ้าจะทำให้ดี  ทำได้แต่ง่ายๆค่ะ ไม่มีเวลา ที่เห็นนี้ เป็นวัดสี่ร้อยค่ะ สวยค่ะ พระท่านดูแลดีมากค่ะ

เด็กด้อยโอกาส ถ้าได้รับการศึกษา เขาจะโดนเอาเปรียบน้อยลง และจะพึ่งตนเองได้ ครูต้องกระตุ้น ตรงจุดนี้ให้มาก และต้องพาเขาไปเรียนรู้กับคนในชุมชนด้วย เพื่อจะรับการสั่งสอนในแง่ดี จากคนในหมู่เดียวกัน ไม่ใช่พึ่งแต่ครูสอนอย่างเดียวค่ะ

  • สวัสดีค่ะ คุณ sasinanda ..

อ่านแล้วก็หดหู่จริง ๆ ด้วยนะคะ  สะท้อนถึงปัญหาหลายอย่าง  และจะส่งผลถึงให้เกิดปัญหาต่อเนื่องและเป็นปัญหาระยะยาวที่ควรต้องมีการเร่งแก้ไข

น้อง ๆ เขาน่าสงสารนะคะ

อ่านแล้วก็หดหู่ครับ แต่ดูท่าทางเด็ก ๆ ที่นั่นน่ารักกันทุกคนนะครับ...

น่าเห็นใจเด็ก ๆ นะครับที่ต่อไปจะต้องเติบโตเป็นอนาคตของชาติครับ...

ขอบคุณมากครับ...

P

สวัสดีค่ะ

พี่เองไม่ใช่ไม่เคยเห็นความลำบากและการขาดโอกาสของคนชนบทนะคะ

สมัยเด็กๆ    มีบ้านพักผ่อนอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง ก็เห็นอยู่   เรายังช่วยพวกเขาอยู่เป็นประจำทั้ง ให้ทุนเด็กๆเรียน และ การจ้างพ่อแม่เด็กทำงาน ขุดลอกคลอง ทำสวนมะพร้าวในเนื้อที่ 20 ไร่เศษของเรา

ตอนที่ทำโรงงานอุตสาหกรรมที่กาญจนบุรี    ส่วนใหญ่ชาวบ้านทำไร่ เขามีงานทำกัน แม้รายได้จะน้อยหน่อย       ถ้าเป็นพวกคนงานย้ายตามงานทั่วๆไป มักเอาครอบครัวไปด้วย ไม่ค่อยมีใครทิ้งลูกไว้กับย่ายาย

แต่นี่ เป็นจังหวัดอ่างทองซึ่งใกล้กรุงเทพมาก ทำไมจึงมีเด็กที่มีปัญหาครอบครัวมากนัก

มีผู้ใหญ่หลายๆท่านบอกว่า ปัญหาหนึ่งเพราะ ผู้ชายไทยขาดความรับผิดชอบ มีลูกแล้ว ไม่ค่อยดุแลเลี้ยงดู ทิ้งไป แม่ของเด็กจึงต้องดิ้นรน หางานทำ มาส่งเสีย ทิ้งลูกไว้กับย่ายายซึ่งก็แทบช่วยตัวเองไม่ค่อยจะได้อยู่แล้ว

เด็กๆ เมื่อมีการศึกษาน้อย โตขึ้น ก็จะลำบาก เพราะ ขาดโอกาสในการทำอะไรอีกหลายๆอย่างในชีวิตนั่นเองค่ะ

อย่างไรก็ตาม  พี่จึงเห็นว่า  เรื่องพรบ.สภาองค์กรชุมชน ซึ่งพยายามค้นหาทางออก ท่ามกลางวิกฤตการณ์ทางการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ โดยอาศัยบทเรียนประสบการณ์ และองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศมาเป็นหลักคิด น่าจะเป็นทางออก และแสงสว่างที่ดีมากค่ะ

  • คุณ sasinanda คะ..

เคยได้ยินมาว่าจะแก้ไขปัญหาอะไรให้ได้ผลดีที่สุดก็ให้เริ่มต้นกันที่ "  สถาบันครอบครัว "

การรวมกลุ่มเพื่อจะช่วยเหลือบุคคลใดในสังคมกลุ่มเล็ก ๆ นั้นเป็นเรื่องดีนะคะ  ช่วยเหลือเกื้อกูลกันไป

อย่างกรณีของพี่ที่ได้รู้จักในโลกไซเบอร์คนหนึ่งที่ได้รู้จัก ..  เธอรวมกลุ่มเพื่อนอีก 2 คนสนับสนุนช่วยเหลือทุนการศึกษาน้องคนหนึ่งที่แม่เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์  พ่อก็หมดอาลัยตายอยาก  ย่าก็สติไม่ดี  พี่คนที่ว่านี้ช่วยเหลือน้องเท่าที่จะทำได้  ส่งเรียนว่ายน้ำ  ส่งเรียนดนตรี  และนี่มีโครงการทำหนังสือทำมือออกประมูลเพื่อหาเงินมาเป็นทุนค่าเทอมให้น้องเขาในภาคเรียนต่อไป  โดยจะจัดทำหนังสือทำมือขึ้นมา 3 เล่ม คนที่ประมูลจะได้ 1 เล่ม  พี่คนที่ว่าที่เป็นนักเขียน 1 เล่ม  คนทำ 1 เล่ม  ต้อมเคยถามว่าตัวเด็กนั้นเป็นคนอย่างไร?  พี่เขาเล่าว่า เป็นเด็กดี  มีความพยายามมาก  ขวนขวายที่จะเรียนรู้

แต่ทำในกลุ่มน้อยล่ะค่ะ  เพราไม่อยากให้น้องเขารู้สึกแย่ที่ต้องเป็นผู้รับความช่วยเหลือจากใคร ๆ   ต้องรักษาความรู้สึกของน้องเขาบ้าง  และต้องมีการจัดการให้เป็นระบบ

ส่วนตัวน้องเขาเองก็มีเงินจากกลุ่มคนในหมู่บ้านช่วยเหลือสำหรับเด็กที่ครอบครัวติดเชื้อ แต่เป็นจำนวนไม่มาก  คงพอแค่ค่าอาหารเล็ก ๆ น้อย ๆ

กรณีที่ว่า ต้อมก็คิดว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่เราซึ่งเป็นคนในสังคมจะได้ช่วยเหลือใครสักคนถ้าเราทำได้  และทำแบบนี้ก็จะต่อเนื่องเป็นระยะยาว  นับเป็นทางออกที่ดีเหมือนกันนะคะ

 

งั้น .. ขอยกมือสนับสนุนด้วยค่ะ

ปัญหาเช่นนี้เกิดมาช้านานแล้วค่ะ ดิฉันเป็นคนต่างจังหวัดซึ่งไม่ห่างไกลจากกรุงเทพมากนักเช่นกันปัญหามันเรื้อรังมานานแล้วนะค่ะ ระบบของการปฏิรูปการศึกษาอาจจะดีจริง แต่ ระบบอาจจะไม่สอดคล้องกับชุมชนนั้นๆ ด้วยผู้นำไม่ได้มาศึกษาด้วยตนเอง นั่งเขียนร่างความคิดที่โต๊ะทำงานที่สวยหรู แล้วจะให้ผู้ปฏิบัตินำไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายบริหารไม่ได้แน่นอน เพราะคนทำไม่ได้คิด คนคิดไม่ได้ทำ

ขอชื่นชมคุณพี่และเพื่อน รวมทั้งทุกคนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น ช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไขปัญหา อะไรคงจะดีขึ้นเรื่อยๆค่ะ

เรื่องนี้ น่าจะเริ่มต้นที่ผู้นำชุมชน นะคะ การหางานในหมู่บ้าน และค่อยๆทำให้คนสนใจที่จะทำงานที่บ้านของตนเองก่อน น่าจะเป็นหนทางที่ดีนะคะ

สวัสดีค่ะ

ขอชื่นชมๆๆ ค่ะ

แบ่งบันน้ำใจ สู่เด็กไทย ก้าวไกลในอนาคต

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ เกี่ยวกับ 

แนวคิดในการจะออกพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน ทางสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

เพราะปัจจุบันแม้ว่าจะมีองค์พัฒนาเอกชนเพื่อเด็กและเยาวชนด้อยโอกาสในหลายพื้นที่ แต่ก็ยังไม่ทั่วถึง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ควรให้ชุมชนได้ร่วมคิด ร่วมทำ พร้อมกับสถานศึกษา และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยค่ะ  

สวัสดีครับ
แวะมาเยี่ยม ให้กำลังใจครับ...  ในเรื่องของ การทำบุญดีนา ครับ.. ยังไงความสุขก็อยู่ที่ใจนะครับ

สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์ (ขออนุญาตเรียกชื่อจริงเพราะรู้สึกใกล้ชิดอบอุ่นขึ้นตามกาลเวลานะคะ คงเป็นรุ่นน้องด้วย หากจะเรียกดิฉันว่า "นุช" จะง่ายกว่าเรียกนามแฝงมั้ยคะ)

กราบขอบคุณสำหรับภาพทุ่งข้าวสีเขียวฉ่ำชื่นตานะคะ

เสียดายจริงที่ไม่ได้พบกันตอนคุณพี่มาแวะอยุธยา มาวันหลังก็ได้ค่ะ คณะเล็กหรือใหญ่หากไม่เกิน ๓๐ คน ที่บ้านรับได้ หากมากกว่านั้นมีสถานที่ของเราไม่ไกลจากวัดหน้าพระเมรุ เป็นทุ่งกว้างมีศาลาใหญ่ บึงน้ำ มีห้องน้ำเรียบร้อย เรามักชวนญาติธรรมไปนั่งสนทนาธรรมกัน และโอกาสสำคัญก็เวียนเทียนที่โบราณสถานทีอยู่ติดที่ สงบมากค่ะ

เมื่อวันอาทิตย์มีเพื่อนพ้องและผู้อาวุโสที่เป็นอาสาสมัครทำงานชมรมเดียวกัน มาทำกิจกรรมกับเยาวชนในเมืองอยุธยา เสร็จแล้วตอนเย็นก็ไปทานข้าวที่บ้านเกือบ ๒๐ คนค่ะ

เวลาได้รับรู้เรื่องราวชีวิตลำเค็ญอย่างที่เล่ามา หรืออย่างรายการวงเวียนชีวิต นอกจากจะเศร้าใจในชีวิตของคนๆนั้นแล้ว ยังเศร้าใจว่าคนในชุมชนด้วยกัน และอบต.ทำไมจึงมองไม่เห็นและเข้ามาดูแลกันเกื้อกูลกันเป็นลำดับแรกๆก่อน ปล่อยให้สิ่งเช่นนี้เกิดขึ้นในเมืองพุทธ มันช่างสะท้อนใจนะคะ และเห็นด้วยค่ะว่ามันเป็นปัญหาสะสมที่มีมาช้านาน

เราคงแก้ปัญหาทั้งหมด ทุกที่ ในเร็ววันไม่ได้ แต่นุชคิดว่าหากเราช่วยกันดูแลจากจุดที่อยู่ใกล้ตัวเรา ใกล้บ้านเรา เริ่มอะไรเล็กๆ จุดเล็กๆทุกที่คงจะมาต่อกันเข้าเป็นภาพใหญ่ในซักวัน

ลืมบอกว่าภาพเด็กๆกับตุ๊กตาในอ้อมกอด อีกทั้งรอยยิ้มและความสุขที่ฉายออกมาจากดวงตาเป็นความบริสุทธิ์ เห็นแล้วชื่นใจไปกับผู้มีจิตเป็นกุศลด้วย และขอร่วมอนุโมทนาค่ะ

  • บันทึกนี้สะท้อนสังคมระดับชาติเลยนะคะ
  • ทางอีสานเป็นแบบนี้เยอะค่ะ ส่วนใหญ่อยู่กับย่ากับยาย พ่อแม่ไปหางานทำ
  • เราคนเดียวช่วยไม่มีวันหมดค่ะ ต้องคนละไม้คนละมือร่วมด้วยช่วยกัน

 

P

 สวัสดีค่ะ

ดีใจที่คุณพนัส พยายามจะจัดโครงการช่วยกลุ่มเด็กๆที่ยังต้องการๆช่วยเหลือแบบนี้ค่ะ

สองสามปีหลังนี้ ... ประเด็นที่ผมสนใจเป็นพิเศษก็คือ  การจัดค่ายให้เด็กลูกคนงานก่อสร้าง  โดยเฉพาะคนงานก่อสร้างในมหาวิทยาลัย  ซึ่งบางคนผมเห็นตั้งแต่ยังเด็ก  บัดนี้โตแล้ว

และการศึกษาไม่ได้มีเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น ต้องมีการเรียนรู้ ในการอยู่ร่วมกับคนอื่นๆด้วย โดยทุกอย่างต้องสอดแทรกคุณธรรมเข้าไปด้วยค่ะ การศึกษาจะมีคุณภาพดีขึ้นถ้าเน้นเรื่องคุณธรรมด้วยค่ะ

ค่ะ  ขอบคุณมากเลยค่ะที่เห็นด้วย

จริงๆแล้ว เด็กๆที่เห็น หน้าตาสดใส แจ่มแจ๋วน่ารักทุกคน มีเด็กอ้วนคนเดียว แต่ดูเขาร่าเริงแจ่มใสค่ะ

เด็กๆมีศักยภาพติดตัวมาตั้งแต่เกิด และสามารถจะพัฒนาให้ดีกว่านี้ได้ค่ะ

น่าเสียดายที่เด็กที่นี่ ไม่น้อยมีปัญหาครอบครัว เพราะพ่อแม่และครอบครัวของเด็กสามารถ 

เน้นการทำให้เด็กเป็นคนดีได้มากกว่าที่โรงเรียนค่ะ

ไม่มีรูป
ไม่แสดงตน

คุณไม่แสดงตน ให้ความเห็นว่า...... ปัญหาเช่นนี้เกิดมาช้านานแล้วค่ะ ดิฉันเป็นคนต่างจังหวัดซึ่งไม่ห่างไกลจากกรุงเทพมากนักเช่นกันปัญหามันเรื้อรังมานานแล้วนะค่ะ ระบบของการปฏิรูปการศึกษาอาจจะดีจริง แต่ ระบบอาจจะไม่สอดคล้องกับชุมชนนั้นๆ ด้วยผู้นำไม่ได้มาศึกษาด้วยตนเอง นั่งเขียนร่างความคิดที่โต๊ะทำงานที่สวยหรู แล้วจะให้ผู้ปฏิบัตินำไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายบริหารไม่ได้แน่นอน เพราะคนทำไม่ได้คิด คนคิดไม่ได้ทำ

ดิฉันเห็นด้วยอย่างมากค่ะ

มีนักวิชาการกล่าวกันมากค่ะ ว่าการสอนในโรงเรียน ไม่ได้เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตในสังคมของตนเองจริงๆ

นักวิชาการบางกลุ่ม ก็พยายามไม่ให้มีการเน้นเรื่องการมุ่งเข้ามหาวิทยาลัยจนเกินไป  เพราะ บางที เด็กบางคน มีศัดยภาพอีกทางหนึ่งที่เขาสามารถมีงานทำและพึ่งพาตัวเองได้เหมือนกัน ไม่ต้องมุ่งเน้นแต่ใบปริญญาจนเกินไป

แต่ในความเห็นส่วนตัว ก็ยังเห็นว่า คนที่จบอุดมศึกษา ขั้นปริญญาตรี หรือสูงกว่า ย่อมมีโอกาสดีกว่าค่ะ

ประเด็นอยู่ที่ว่า จะจัดการศึกษาอย่างไรให้ เป็นการศึกษาที่มีคุณภาพจริงๆค่ะ ไม่ใช่คุณภาพแบบที่เป็นอยู่ปัจจุบัน

  • สวัสดีค่ะคุณ sasinan
  • ได้อ่านบันทึกแล้ว..ก็รู้สึกสงสารเด็กที่มีปัญหาครอบครัวแตกแยกและปัญหาความยากจนค่ะ
  • เด็กในชนบทจะมีการเรียนการสอนไม่อาจเทียบได้กับเด็กในเมือง..เว้นแต่จะมีการพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้เท่าเทียมกันทั้งประเทศค่ะ
  • คุณครูและผู้ที่เกี่ยวข้องอาจต้องช่วยกันสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสเติบโตและได้รับสิ่งดีๆในชีวิตค่ะ
สวัสดีค่ะ
P

ดีใจที่แวะมาอ่านค่ะ

เป็นเรื่องที่หนักไปหน่อยค่ะ แต่ก็เป็นปัญหาที่เราจะพบได้ง่ายๆ ใกล้ๆกรุงเทพก็มี ดังนั้น จังหวัดไกลๆยิ่งต้องมีปัญหานี้ใหญ่ค่ะ

คุณครูใหญ่ บอกว่า เด็กๆ พอจบชั้นม.3 มักไม่มีเงินเรียนต่อแล้ว  ที่ว่า เรียนฟรี ก็อาจไม่ค่อยจริง เพราะงบประมาณไม่พอ พ่อแม่จึงไม่ได้ให้ลูกเรียนต่อค่ะ เพราะไม่มีเงิน

ส่วนคนที่เรียนระดับอุดมศึกษาได้ ก็จะมีปัญหา เรื่องค่าใช้จ่ายส่วนอื่นอีก เช่นค่าหอพัก เขาต้องเอาเงินไปให้ค่าหน่วยกิตก่อน ขณะที่ติดค่าหอพักและโดนค่าปรับไปหลายเงิน

อย่างที่บอกว่าค่ะ  แนวคิดของร่างพ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน

น่าจะช่วยเรื่องปัญหาของชุมชนได้ ไม่มากก็น้อยค่ะ 

P

สวัสดีค่ะ

คุณนุ้ยอยู่ในวงการๆศึกษา จะเห็นได้ว่า การศึกษาทำให้คนมีโอกาส มีงานทำ เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้จริงนะคะ

พ.ร.บ.การศึกษา ได้พูดถึง ว่า การศึกษาของชาติ มุ่งเน้นให้คนเก่ง ดี มีสุข

ซึ่งดิฉันอยากขอเน้น ในเรื่อง ความพอเพียง และความสุขในชีวิตจริงๆค่ะ ไม่ต้องรวยมากก็ได้ค่ะ

P
poo

 

พรบ.สภาองค์กรชุมชน กำลังมีคนกล่าวขวัญถึงมากขึ้นเรื่อยๆค่ะ

เป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ในระดับตำบล ระดับจังหวัด รวมถึงความเข้มแข็งของสังคม มุ่งเน้นการระดมพลังแก้ปัญหา   และสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ดีขึ้น

ปัญหาที่ดิฉัน  ไปพบมาด้วยตนเอง น่าจะพอมีทางแก้ไขได้ดีขึ้นกว่าที่แล้วๆมาค่ะ

ขอมีความหวังค่ะ เพื่อความสบายใจค่ะ

แวะมาทักทายขอบคุณครับ

และขออนุญาตเอาบันทึกนี้เข้าในแพลนเน็ต

ชีวิตคนไทยเดิมฝากเด็กไว้กับวัด

ไม่ใช่ให้เรียนหนังสือเฉยๆ..แต่ให้เรียนรู้ธรรมะ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และมีข้าวกินด้วย

ผมเองตอนไปเรียนกท. ยังไปอาศัยข้าว(เป็นกะละมัง)ไม่ใช่ก้นบาตรกินที่วัดดาวดึงส์ อยู่เป็นปีครับ

ได้ซึมซับทั้งความรู้ทางธรรม งานศิลปะ ชีวิตการเป็นพระและ แฮ่ะๆอิ่มท้องทั้งคาวหวานครับ

เรื่องที่เล่าในบันทึกนี้ ออกจะหนัก แต่เป็นความจริง และเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาอภิปรายแก้ปัญหากันทุกเวทีในประเทศเราค่ะ

เพื่อเป็นการผ่อนคลาย ขอนำเสนอ ภาพดอกไม้สวยๆ ที่บ้านไทย ของเพื่อนที่พวกเราไปรับประทานอาหารกลางวัน และพักผ่อนกันค่ะ ดอกไม้มีหลายพรรณ สวยมากๆค่ะ

    

ขากลับ เราแวะที่วิหาร พระมงคลบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปอิฐบุทองสัมฤทธิ์สีดำตลอดองค์ เพราะเคลือบรักไว้

สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระไชยราชา ราว พ.ศ.2081 สำหรับเป็นพระพุทธรูปประจำวัดซีเซียง ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง

 ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ชลอพระมงคลบพิตรมาไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ และสร้างมณฑปครอบไว้ ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระ เจ้าเสือเกิดฟ้า ผ่าเครื่องมณฑปพังลงมาต้องพระศอหักก็โปรดเกล้าฯ ให้รื้อซากมณฑปสร้างใหม่ และซ่อมพระศอให้เหมือนเดิม

จนเมื่อ พ.ศ.2310 เสียกรุงศรีอยุธยา วิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟไหม้ทรุดโทรม พระเมาฬี และพระกรขวา หัก ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยาโบราณราชธานินทร์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยาได้ซ่อมองค์พระด้วยปูนปั้น

 และในปี พ.ศ.2535 วิหารพระมงคลบพิตรทั้งองค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีขนาดใหญ่มาก ที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย

เรียน ท่านอาจารย์ sasinanda

 มาชื่นชมครับ เลี้ยงเด็กๆ ได้บุญครับ เสริมสร้างสังคมไทย

P

 

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณที่มาเยี่ยม ตอนนี้ยังเดินทางบ่อยหรือเปล่าคะ หน้าฝนต้องระวังนะคะ ถนนลื่น

ถ้าไปต่างจังหวัด เรายังเห็นระบบการศึกษาอยู่ในชุมชนค่ะ  คืออยู่กับวัด ทำให้สังคมมีส่วนร่วมด้วย

แต่ถ้าการศึกษาถูกจับแยกออกมา ให้เป็นหน้าที่ของครูและกระทรวงศึกษา ชาวบ้านจะเข้าถึงยากขึ้น

การที่ชุมชนมีส่วนร่วมน้อยลง ทำให้สังคมอ่อนแอลง

แม้แต่ในเรื่องส่วนตัวของดิฉันๆเอาลูกเข้าวัดตั้งแต่ 8 ขวบ ถือศีล 5 จนบัดนี้ การงานก็เจริญก้าวหน้าดีค่ะ

P

สวัสดีคะ

จริงๆแล้วการศึกษามีค่าใช้จ่ายนะคะ

ทางรัฐบาลถึงพยายามให้มีสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาให้ทั่วทุกภาคและในหลายๆจังหวัดเพิ่มเติม

ซึ่งตอนนี้ มีหลายแห่งมาก เป็นการดีสำหรับเด็กๆและผู้ปกครอง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากนักค่ะ

ถ้ามีมากกว่านี้ก็คงดี แตจะมาติดปัญหาครูไม่พอ และคุณภาพการศึกษาจะด้อยลง

แต่เรายังมีค่านิยม ว่าต้องจบปริญญาถึงจะดี แค่อาชีวะ ไม่พอ

ในความเห็นดิฉัน เราน่าจะให้ความสำคัญของปริญญาให้น้อยลง แต่ไปเน้นที่ความสามรถในการทำงาน ว่าทำอะไรเก่งตรงไหน เหมาะกับงานที่จะรับผิดชอบแค่ไหน ก็อาจจะพอแก้ได้ แต่ตอนนี้ เราก็ยังติดที่ค่านิยม เรื่องปริญญาอยู่ดีค่ะ

สวัสดีค่ะ

ดิฉันเห็นเด็กวัยรุ่น บางส่วนตอนนี้ แล้วไม่สบายใจ ตั้งแต่เรื่องการแต่งตัว การพูดจา การใช้จ่าย การไม่สนใจเรียนเท่าที่ควร

พอดีอ่านมาพบบันทึกของคุณศศินันท์ ดีใจที่เรามีความเห็นตรงกันว่า ต้องเน้นการปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรมที่ครอบครัวก่อน ส่วนเรื่องวิชาการตามมาทีหลังได้

สวัสดีครับ

รู้สึกดีที่คุณศศินันท์และคณะไปเยี่ยมเด็กๆ ผมเป็นชาวอ่างทองเหมือนกันครับ

P

สวัสดีค่ะอาจารย์

ดีใจที่มาเยี่ยมค่ะ

ตอนอยู่ที่อ่างทองและอยุธยาก็ยังคิดถึงและพูดถึงอาจารย์กับเพื่อนๆอยู่ค่ะ วันหลังจะนัดไปก่อนนะคะ

แม่น้ำน้อยนี่ไม่ทราบจะเป็นแม่น้ำน้อยเดียวกับที่เมืองกาจญน์ไหมคะ   ไม่น่าใช่นะคะ แต่ก็ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาค่ะ

ชื่อวัดต่างๆที่ภาคกลาง ก็มีซ้ำกันมากเลย เช่นวัดการ้องก็มีที่สิงห์บุรี หลวงพ่อยิ้มก็เหมือนกัน มีมากกว่าหนึ่งหลวงพ่อยิ้มค่ะ แต่ที่วัดนี้ สะอาด น่าเข้าไปทำบุญค่ะ

สำหรับเรื่องเด็กๆที่วัดสี่ร้อยนี้ ที่แปลกใจเพราะ สัดส่วนของเด็กมีปัญหามีมากไปหน่อยค่ะ

พวกคุณครูงานหนัก ต้องสอนและไปช่วยดูแลถึงบ้านด้วย ไม่งั้นเด็กจะหาย มาโรงเรียน น่าเศร้าจริงๆค่ะ

คนเราถ้าไม่เรียน จะมีรายได้ๆอย่างไร ก็จะเป็นกงกรรมกงเกวียนไม่มีที่สิ้นสุด

อย่างไรก็ต้องมีวิชาให้ช่วยเหลือตัวเองได้ก่อนนะคะ

P

สวัสดีค่ะ

ดีใจที่อาจารย์มาเยี่ยมค่ะ

การศึกษา ถ้าเน้น  ดี มีสุข มาก่อน และเก่งตามหลัง ก็จะเป็นความพอเพียงนะคะ เป็นเรื่องของความสุข

ถ้าเด็กมีการศึกษา มีงานทำ มีรายได้ ก็จะไม่ยากจน บ้านเมืองเราก็จะดีกว่านี้แน่ค่ะ

P

ชีวิตคนไทยเดิมฝากเด็กไว้กับวัด

ไม่ใช่ให้เรียนหนังสือเฉยๆ..แต่ให้เรียนรู้ธรรมะ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และมีข้าวกินด้วย

สวัสดีค่ะอาจารย์

ตอนนี้ดูงานอยู่ที่ญี่ปุน อากาศดี แต่พอกรกฏาก็จะเริ่มร้อน ก็จะกลับพอดีใช่ไหมคะ ที่เขาก็ร้อนเหมือนกันค่ะ หน้าร้อน

ด้วยความยินดีและเต็มใจค่ะ ที่อาจารย์จะกรุณานำบันทึกเข้า แพลนเนท หากเห็นมีประโยชน์

อาจารย์คะ การศึกษาทำให้เด็กเราฉลาดขึ้น แก้ไขความจนได้ และมีความรู้ไปดูแลสุขภาพของตัวเองและครอบครัว ทำให้สังคมโดยรวมมีความสุขขึ้นนะคะ

แต่ปัญหามันอยู่ว่า ทำอย่างไร จะให้เด็กได้มีโอกาสเรียนมากๆหน่อยซีคะ

จะคอยแต่คนไปให้ทุนเล็กๆน้อยๆอย่างนี้ไม่ได้ค่ะ  โยส่วนตัว จึงคิดว่า ร่างพ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน  นี้ น่าจะช่วยได้

P

สวัสดีค่ะ

เห็นด้วยค่ะ ที่ปัญหาของเด็กที่ดิฉันไปพบ เป็นปัญหาที่ทุกรัฐบาลพยายามแก้ไขมาตลอด  และได้มีนักวิชาการและผู้รู้ท่านต่างๆ ช่วยกันหาทางออก กันหลายๆทาง อยู่ตลอดเวลาค่ะ

ได้ทราบจากงานวิจัยเด็กของทุกภาคซึ่งส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเกษตรกรขององค์การAction Aid ประเทศไทยว่า

1.ค่าใช้จ่ายของแต่ละครอบครัวแพงขึ้น

2.ค่าใช้จ่ายมาจากส่วนในรายการที่โรงเรียนเรียกเก็บซึ่งอยู่ในรายการที่รัฐบอกว่าเรียนฟรี12ปี

3.ทำให้คนยากจน ไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้

4.งานวิจัยชิ้นนี้ แสดงว่า ที่ให้เรียนฟรี ไม่ฟรีจริง

สรุปคือ คนจนไม่มีเงินพอจะส่งเสียบุตรหลานด้วย นอกเหนือจากประเด็น ที่ครอบครัวมีปัญหาค่ะ

สวัสดีครับ

คนแก่ๆแต่ก่อนชอบบอกลูกหลานว่า เรียนสูงๆ จะได้เป็นเจ้าคน นายคน

จริงไหมนี่ ยังจะใช้อยู่ไหม

สวัสดีครับ

บันทึกนี้ดีครับ มีสาระดี น่าอ่านครับ

ผมไม่ได้เป็นสมาชิกที่นี่ แต่พอดีอ่านพบ

ขอบคุณ

ไม่มีรูป
จรรยา

คูณจรรยาบอกว่า ดีใจที่เรามีความเห็นตรงกันว่า ต้องเน้นการปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรมที่ครอบครัวก่อน ส่วนเรื่องวิชาการตามมาทีหลังได้

ค่ะ การนำความรู้คู่คุณธรรมมาเป็นหลักในเรื่องการศึกษา จะทำให้ชีวิตและสังคมเข้าสู่ระดับที่สมดุล เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวาง  ทั้งในด้านวัตถุ  สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่ไหลบ่ามาจากโลกภายนอก ได้เป็นอย่างดีค่ะ

P
JJ

มาชื่นชมครับ เลี้ยงเด็กๆ ได้บุญครับ เสริมสร้างสังคมไทย

สวัสดีค่ะและขอบพระคุณมากค่ะที่ให้กำลังใจ

ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ2550-2554 )แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ 2545-2559) ได้เน้นการจัดการด้านการศึกษาให้มีคุณภาพทั่วถึงและเป็นธรรม

แต่ในความเป็นจริง ก็ยังมีอีกหลายส่วนมากที่ยังไม่ได้รับการดูแลให้ทั่วถึงค่ะ อย่างเช่น ที่โรงเรียนสี่ร้อยนี้

แต่ก็เข้าใจค่ะ ว่า ปัญหามาจากหลายส่วน มิใช่ปัญหาด้านการศึกษาอย่างเดียว

ต้นเหตุก็คงมาจาก รายได้น้อย การศึกษาน้อยและครอบครัวขาดความอบอุ่น จนเด็กๆได้รับผลกระทบอย่างแรงนั่นแหละค่ะ

P
ไม่มีรูป
ชัย

สวัสดีค่ะ

คุณชัยบอก    ผมเป็นชาวอ่างทองเหมือนกันครับ

ขอบคุณค่ะ ที่มาเยี่ยม เลยจะขอถือโอกาสมอบรูปต้นไม้เก่าแก่ 200กว่าปีของที่วัดให้พร้อมดอกราชพฤกษ์สวยๆด้วยค่ะ

ไม่มีรูป
นนท์

คนแก่ๆแต่ก่อนชอบบอกลูกหลานว่า เรียนสูงๆ จะได้เป็นเจ้าคน นายคน

จริงไหมนี่ ยังจะใช้อยู่ไหม

สวัสดีค่ะ

สมัยก่อนเราจะได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่พูดกันอย่างนั้น

ตอนนี้ เกือบทุกหมู่บ้านมีปริญญาตรีหมด แม้แต่ปริญญาโท- เอกก็มีค่ะ คนเรียนสูงขึ้น แต่สังคมและชุมชนอ่อนแอลงค่ะ ชุมชนพึ่งตัวเองไม่ค่อยได้   ส่วนใหญ่กลับต้องพึ่งเงินลูกหลานที่ส่งมาจากกรุงเทพ

พอคนเรียนสูงขึ้น ต้องจากบ้านมา เพราะไม่มีแหล่งงานรองรับ

สมัยก่อน วัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษา ทำให้สังคมใกล้ชิดกัน  พอแยกการศึกษาออกมา เป็นเรื่องของครูล้วนๆ ทำให้คนออกจากชุมชน อย่างเรื่องที่ดิฉันนำมาเล่า ค่ะ

ส่วนตัวดิฉันๆ นำลูกไปใกล้ชิดวัดค่ะ ตั้งแต่เด็กๆ

จึงไม่ค่อยมีปัญหาหนักใจอะไรนัก จึงอยากจะเน้นเรื่องความรู้คู่คุณธรรม และให้ดี มาก่อนเก่งค่ะ

ขอนำรูปต้นไม้ป่าชนิดหนึ่ง นำมาปลูกในกระถางออกดอกมา เหมือนพวงเทียนเลยค่ะ เป็นต้นไม้ที่บ้านเพื่อนที่ไปพัก ริมแม่น้ำน้อยค่ะ แก้เครียดค่ะ

ไม่มีรูป
จีระ

บันทึกนี้ดีครับ มีสาระดี น่าอ่านครับ

ผมไม่ได้เป็นสมาชิกที่นี่ แต่พอดีอ่านพบ

ขอบคุณ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณที่มาเยี่ยม แม้ไม่ได้เป็นสมาชิก ก็มาอ่านได้นะคะ แสดงความเห็นด้วยก็ได้ค่ะ

การแก้ไขปัญหาความยากจนและเรื่องการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน คงเป็นเรื่องเร่งด่วนของรัฐบาลค่ะ และคงจะเห็นผลดีขึ้นบ้างในเร็ววันค่ะ

ดีมากครับ ทุกๆ คนที่ออกความเห็นมาล้วนมุ่งพัฒนาให้สังคมเกิดความสุข หากนำไปสู่การปฏิบัติได้ก็ดีมากครับ

  • ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องทั้งหลายตื่นกันหรือยัง
  • ผู้ปฏิบัติการด้านการศึกษาเข้าใจปัญหาเหล่านี้กันดีแล้วหรือ
  • อยากเสนอเรื่องการศึกษาภาคบังคับให้เริ่มจากเด็กอ่อน(ก่อนวัยเรียน)ไปถึงม.ต้น ก็น่าจะเพียงพอแล้ว
  • ม.ปลายให้เป็นความสมัครใจพอใจของผู้เรียน มีกองทุนให้กู้เรียนหรือกองทุนให้เปล่าตามที่พอมีได้
  • อยากให้จัดอบรมความรู้สำหรับการมีบุตร เตรียมคนก่อนเกิดกันเลย เกิดแล้วมันสายเกินการพัฒนา
  • เรื่องครอบครัวเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากครับหากคนมีความเข้าใจเรื่องครอบครัว ก็คงทำให้หลายๆ สิ่งดีตามมาด้วย

สวัสดีค่ะ

       เด็กคืออนาคตของชาติ ถ้าส่งเสริมและสนับสนุนให้ดี นั่นคือกองกำลังความคิด กองกำลังสมองของชาติในอนาคตเลยนะนั่น...แต่จะมีสักกี่คนที่ได้ถูกส่งเสริม  และมีอีกหลายชีวิตที่ถูกทอดทิ้งให้ปล่อยไปตามยถากรรม....มันน่าเศร้าใจนักกับความไม่ยุติธรรมและโอกาสทางสังคมไทย...     

สวัสดีค่ะพี่sasinanda

  • คิดถึงจังเลยค่ะ 
  • รูปสวยทุกรูปเลยค่ะ บล๊อกก็สวยด้วยค่ะ
  • เรื่องจริงที่ไม่เคยหมดจากสังคมไทยค่ะ  เพราะราณีก็เจอค่ะ ขนาดในอำเภอเมือง แถว ๆ บ้านกร่างนะค่ะ  พานักศึกษาไปบำเพ็ญประโยชน์  โรงเรียนกันดารแบบสุด ๆ ทางก็เป็นลูกรังเข้าไป ความเป็นอยู่ต่างกันสิ้นเชิงไม่ว่าเด็กหรือครู เมื่อไรเราจะแก้ปัญหาจุดนี้ได้ก็ไม่รู้ค่ะ  สงสารก็แต่อนาคตของชาติ
  • ขอบคุณนะค่ะ ที่นำสิ่งดี มาเล่าให้ฟังค่ะ
P

สวัสดีค่ะ

ถ้ามีของเล่นหรือตุ๊กตา ก้เอาไปบริจาคใกล้ๆที่บ้านปากเกร็ดหรือ บ้านครูน้อย ก็ได้ค่ะ

เพื่อนบอกมา

รูน้อยเริ่มการช่วยเหลือเด็กๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ในขณะที่ เธอป่วยเป็นอัมพฤกษ์ที่ขา

 ต้องพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน หลังเล็กๆ ในซอยราษฎร์บูรณะ 26 เขตธนบุรี ทำให้ได้เห็นลูกๆ ของกรรมกรที่วิ่งเล่นตามร่องสวน โดยไม่มีโอกาสรับการศึกษาภาคบังคับ เพราะฐานะยากจน และเพราะขาดหลักฐานที่จำเป็น เช่น สูติบัตร และทะเบียนบ้าน

ครูน้อย จึงเปิดบ้านของตนให้เป็นที่พักพิงของเด็กๆ เหล่านี้ แบ่งปันอาหารให้อิ่มท้อง และสอนให้เรียน เขียน อ่าน ขั้นพื้นฐาน ความมีน้ำใจของครูน้อยเป็นสิ่งที่เล่าขานต่อๆ กัน ทำให้มีผู้นำลูกหลานมาฝากให้ "เลี้ยงดู" มากขึ้น เรื่อยๆ

ทั้งที่ครอบครัวของเธอมีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายเป็นหลายร้อยเท่า ทำให้ครูน้อยมีภาระหนี้สิน เพื่อมาจ่าย ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ตามมาเป็นจำนวนมาก

คุณหมอเหมือนดิฉันเลย ไม่ค่อยอยากมองตาพวกเด็กๆที่น่าสงสาร  มองแล้ว ใจไม่ค่อยดีค่ะ แต่ทั้งๆที่ใจแฟบๆ  เราก็มีความสุขที่ได้เห็นรอยยิ้มและแววตาตื่นเต้นเวลาที่ได้ของเล่นของพวกเขาค่ะ

สวัสดีค่ะ

P

คุณเนปาลี บอกว่า เคยได้ยินมาว่าจะแก้ไขปัญหาอะไรให้ได้ผลดีที่สุดก็ให้เริ่มต้นกันที่ "  สถาบันครอบครัว "

 ขอตอบว่า ถูกต้องที่สุดเลยค่ะ

การแก้ไขปัญหาของเด็กๆที่ขาดความอบอุ่น ที่ไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการเรียน ต้องไปตามตัวมาเรียนจากบ้าน   อย่างหนึ่ง  คงต้องแก้ที่ พ่อแม่เด็กไม่ต้องไปทำงานไกลๆ  ชุมชนต้องรวมกลู่มกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

ให้มีการสร้างพลังแบบมีส่วนร่วมจากจุดเล็กๆของคนจน  ที่รวมตัวช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เช่น การ จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อเป็นทุนแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ทั้งเรื่องการสร้างที่อยู่อาศัย สร้างอาชีพ

ที่เห็นตัวอย่าง จากจังหวัดชัยนาทค่ะ    วันนี้การรวมกลุ่มได้ประสบผลสำเร็จ สามารถขยายเป็นเครือข่ายกันได้อย่างกว้างขวาง

ที่ ชัยนาท  ในช่วงแรกๆการรวมกลุ่มกันจะทำแบบค่อยเป็นค่อยไป แนะนำให้พี่น้องช่วยกันลดรายจ่ายลงในส่วนที่ไม่จำเป็น เช่น เลิกเล่นหวย เลิกบุหรี่ ฯลฯ จนชาวบ้านพอมีเงินเพื่อมาออมทรัพย์กันมากขึ้น

ที่ผ่านมาชุมชนกับรัฐสามารถทำงานร่วมกันได้นั้น เป็นเพราะรัฐกับชาวบ้านได้มาพูดคุยกัน ดังนั้น

การมีส่วนร่วมทั้งสองฝ่ายจึงเป็นทางออกที่ดี ทำให้ชาวบ้านได้ใกล้ชิดกับรัฐมากขึ้น จนชาวบ้านรู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของในชุมชน

http://www.codi.or.th/planchoomchon/template.aspx?subdr=activity_e&file=fileAc37.pdf

สวัสดีค่ะ..พี่ sasinanda

  • ดีใจในฐานะคนอยุธยา ที่มีวัดให้คนไทยได้อุ่นใจ และได้มาพักผ่อนด้านจิตใจค่ะ..แหววเคยไปไหว้ แบบ วันละ 9 วัดด้วยค่ะ ทั้งที่อยุธยาและที่ อ่างทอง สิงห์บุรี (แหววมีคุณพ่อเป็นคนอ่างทอง และคุณแม่เป็นคนอยุธยาค่ะ) และก็จะเห็นว่าสภาพชีวิตในชุมชน ที่ชายขอบอ่างทองเป็นอย่างนั้นจริงๆค่ะ..ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มากๆ เราไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยคนกลุ่มๆเดียว..
  • เอ !!  วัด การ้อง นั่น ใช่วัด "ท่าการ้อง" ที่ห้องสุขาฯ ดังระดับประเทศ เนื่องจากสะอาด และอำนวยความสะดวกกับผู้มาเยี่ยมเยือนรึเปล่าค่ะ
  • ร่วมอนุโมทนาบุญ กับแรงใจเพื่อสังคมไทยและชีวิต เล็กๆ หลายๆชีวิตอีกครั้งค่ะ..
P

สวัสดีค่ะ

การช่วยเหลือที่พี่และเพื่อนๆตลอดจนที่น้องเล่า เป็นการช่วยเหลือแบบกลุ่มเล็กๆค่ะ ช่วยเท่าที่ช่วยได้ และยังช่วยอยู่

แต่การจะขจัด วงจรความจน ปัญหาครอบครัว การด้อยการศึกษา การขาดโอกาส คงต้องแก้ทั้งระบบเลย

ต้องเป็นแผนพัฒนาทั้งเศรษฐกิจ  จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุขและการศึกษา  และควรเป็นสิ่งที่ชุมชนร่วมกันคิด ร่วมกันทำ เพื่อพัฒนาชุมชนของตนเองต่อไป  

โดยส่วนตัวถึงได้สนับสนุนแนวคิดในการจะออกพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน

ทางสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

ได้ประกาศยืนยันเจตนารมณ์เดิม ที่จะร่วมกับพันธมิตรนักวิชาการ เอ็นจีโอ ผลักดันให้ร่างพ.ร.บ.นี้มีผลบังคับใช้ต่อไป ร่วมกับสถาบันการศึกษาทุกภูมิภาคจัดเวทีวิชาการต่อประชาชน และนำหลักการตามร่างพ.ร.บ.นี้ลงปฏิบัติจริงในพื้นที่นำร่อง 202 ทั่วประเทศ

P
  • อยากเสนอเรื่องการศึกษาภาคบังคับให้เริ่มจากเด็กอ่อน(ก่อนวัยเรียน)ไปถึงม.ต้น ก็น่าจะเพียงพอแล้ว
  • ม.ปลายให้เป็นความสมัครใจพอใจของผู้เรียน
  • สวัสดีค่ะ

    ขณะนี้ มีข้อเสนอจากนักวิชาการหลายฝ่าย ออกมาเสนอแบบที่คุณประถมให้ความเห็นไว้ค่ะ

    ปัญหาคือ ถึงแม้จะจัดการศึกษาแบบที่คุณประถมอยากได้ แต่คุณภาพก็ไม่เท่ากัน เด็กยากจนจะรียนในโรงเรียนที่คุณภาพต่ำกว่า และยังถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมทำให้ เด็กเรียนได้ไม่จบชั้นมัธยมต้นและปลาย เป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงค่ะ

    ได้คุยกับคุณครูที่ไปพบอยู่นานเหมือนกันสำหรับปัญหานี้ค่ะ

    P

    มีอีกหลายชีวิตที่ถูกทอดทิ้งให้ปล่อยไปตามยถากรรม....มันน่าเศร้าใจนักกับความไม่ยุติธรรมและโอกาสทางสังคมไทย

    สวัสดีค่ะ

    ดีใจที่คุณ- sirintip - -มาเยี่ยมจากแดนไกล ยะลา แล้วมาบ่อยๆนะคะ

    ก็อย่างที่มีหลายท่านได้ ร่วมกันออกความเห็นแล้วค่ะว่า ปัญหาเรื่องการศึกษาของเด็กในชนบท ก็จะเกี่ยวโยงกันกับปัญหาอื่นๆหลายปัญหาค่ะ เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาการทำกิน และปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ

    การมีส่วนร่วมจากองค์กรปกครองท้องถิ่น และองค์กรประชาสังคมต่างๆยังมีน้อยไปค่ะ


     

    P

    สวัสดีค่ะคุณราณี

    คิดถึงมากเลยค่ะ หายไปเลย  หลังจากบันทึก รูปล้นเกล้า ชาวไทย...ของดี หายาก (อยากให้ทุกท่านร่วมชื่นชม) 

    ได้ข่าวว่า ยุ่งมาก ค่อยยังชั่วหรือยังคะ คอยอ่านบันทึกใหม่อยู่นะคะ

    คุณราณีเล่าว่า     เรื่องจริงที่ไม่เคยหมดจากสังคมไทยค่ะ  เพราะราณีก็เจอค่ะ ขนาดในอำเภอเมือง แถว ๆ บ้านกร่างนะค่ะ  พานักศึกษาไปบำเพ็ญประโยชน์  โรงเรียนกันดารแบบสุด ๆ ทางก็เป็นลูกรังเข้าไป ความเป็นอยู่ต่างกันสิ้นเชิงไม่ว่าเด็กหรือครู เมื่อไรเราจะแก้ปัญหาจุดนี้ได้ก็ไม่รู้ค่ะ เข้าใจความรู้สึกของคุณราณีดี   เพราะเจอเข้ากับตัวเองเหมือนกันแต่คิดในแง่ดี มีหลายๆฝ่ายมาก กำลังร่วมือกันแก้ไขอยู่ ทั้งภาครัฐและองค์กรประชาสังคมส่วนต่างๆ น่าจะพอเห็นแสงสว่างขึ้นบ้างแล้วค่ะ แต่จะให้เร็วทันใจ คงไม่ได้ค่ะ

    สวัสดีครับ

     

    ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นตามภูมิปัญญาของตนเท่าที่มีอยู่ครับ

    ก่อนอื่น ต้องขออนุโมทนาบุญนะครับที่ได้ทำบุญ ทุกบุญที่ได้ทำนะครับ สาธุ แม้ว่าจะช้าไปหลายวัน ก็ยังได้บุญนะครับ ผมคนงกบุญครับ

    ทำบุญแล้วขอให้ปลื้มปิติในบุญที่ได้ตั้งใจทำมาดีแล้ว อย่าหาว่า สอนหนังสือสัฆราชนะครับ แต่ผมอยากให้ ได้บุญเต็มนะครับ เพราะ เราจะได้บุญเต็มที่ ต้องทำใจให้ผ่องใสก่อนนะครับ ทำบุญแล้วก็ยังรักษาใจให้ผ่องใสนะครับ บุญจะได้ส่งผลเต็มที่ คือ มีความสุขสุด ๆ นะครับ

     

    อย่างไรก็ตาม เมื่อเจอสภาพ น้อง ๆ ผู้น่าสงสาร ก็ให้เมตตากรุณาพวกเขาด้วยนะครับ  ให้ความรักพวกเขา เรียกว่า ยิ่งให้ยิ่งได้

     

    สรุป ได้ทั้งอิ่มบุญ และ อิ่มใจไงครับ

     

    ขอบคุณครับ

    P

    สวัสดีค่ะ

    ยินดีที่เข้ามาให้ความกระจ่างค่ะ ขอโทษค่ะ ผิดพลาดไป จริงๆแล้ว วัดที่ไปมาชื่อ วัดท่าการ้อง  “นมัสการหลวงพ่อยิ้ม”

     มีการบันทึกถึงวัดท่าการ้องเก่าที่สุด  ฉะนั้นวัดอาจสร้างขึ้นก่อนปี    พ.ศ.  ๒๐๗๖    และเรียกชื่อวัดนี้ว่า  วัดท่าการ้องมาจนถึงปัจจุบันนี้เป็นระยะเวลาประมาณ  ๔๗๒  ปี    ดังนั้นวัดท่าการ้อง  จึงมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยาสมควรที่คนรุ่นหลังจะรักษาเอาไว้ 

    พอดี เพื่อนๆที่ไป ก็ไม่มีใครรู้จริง เห็น คนเขาเรียกวัด การ้อง ก็เรียกตาม เขาอาจเรียกกันแบบย่อๆค่ะ

    ต้องมีชาวอยุธยา ตัวจริง เสียงจริงมา แก้ไขให้ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

      คุณแหววเห็นมาด้วยเหมือนกันว่า

       สภาพชีวิตในชุมชน ที่ชายขอบอ่างทองเป็นอย่างนั้นจริงๆค่ะ..ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มากๆ เราไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยคนกลุ่มๆเดียว..

      เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ การแก้ปัญหาคงต้องร่วมกันทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชน และองค์กรทางศาสนา ทั้งหมดนี้ ก็คงจะร่วมมือกัน นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวคิดในการจัดการการศึกษาต่อไปค่ะ

         บ้านเพื่อนคนหนึ่งที่ริมแม่น้ำน้อย จังหวัดอยุธยา บรรยากาศดีมากค่ะ เป็นบ้านทรงไทย 2 ชั้นแวดล้อมด้วยต้นไม้ ดอกไม้ไทยๆค่ะ  มีดอกไม้หลายชนิดที่หายาก ไม่ค่อยเคยเห็น เช่นดอก ทองสร้อย สีเหลืองเหมือนทอง เป็นสายสร้อยห้อยระย้า อย่างในภาพค่ะ
      

    จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 76 กิโลเมตร มี 16 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอนครหลวง อำเภอภาชี อำเภอบ้านแพรก อำเภอบางซ้าย อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางบาล อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน อำเภอเสนา อำเภออุทัย อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอท่าเรือ และอำเภอวังน้อย

      ที่วัดท่าการ้อง   ภายในอุโบสถมีพระประธานสมัย
      อยุธยาที่เก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์  มีประชาชนที่เคารพนับถือเป็นอย่างมากคือ  "หลวงพ่อรัตนมงคล"หรือหลวงพ่อยิ้ม


    จากการสันนิษฐานตามพุทธลักษณะและซากปรักหักพังของวัดท่าการ้องน่าที่จะสร้างขึ้นในสมัยของรัชกาลที่  ๑๓  (สมเด็จพระชัยราชา)  ประมาณปี  พุทธศักราช  ๒๐๗๖  หรือ  ๔๗๒  ปีเศษมาแล้ว  เพราะมีท่าน้ำกั้นวัด  ช่วงนั้นแผ่นดินค่อนข้างสงบพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองดี   

          

         มีการบันทึกถึงวัดท่าการ้องเก่าที่สุด  ฉะนั้นวัดอาจสร้างขึ้นก่อนปี    พ.ศ.  ๒๐๗๖    และเรียกชื่อวัดนี้ว่า  วัดท่าการ้องมาจนถึงปัจจุบันนี้เป็นระยะเวลาประมาณ  ๔๗๒  ปี    ดังนั้นวัดท่าการ้อง  จึงมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยาสมควรที่คนรุ่นหลังจะรักษาเอาไว้ 

    สวัสดีคะ คุณ sasinanda  เพิ่งเข้ามาอ่านค่ะชอบเรื่องราวที่พี่นำมาแบ่งปันค่ะ แล้วรวมถึงรุปสวยๆด้วยค่ะพี่ถ่ายรูปหลากหลายน่าสนใจค่ะ
    ไม่มีรูป
    สุรัตน์

    สวัสดีค่ะ

    คุณสุรัตน์ให้พรและเตือนไว้ดังนี้ค่ะ

    ทำบุญแล้วขอให้ปลื้มปิติในบุญที่ได้ตั้งใจทำมาดีแล้ว ทำบุญแล้วก็ยังรักษาใจให้ผ่องใสนะครับ บุญจะได้ส่งผลเต็มที่ คือ มีความสุขสุด ๆ นะครับ

    สรุป ได้ทั้งอิ่มบุญ และ อิ่มใจไงครับ

    ขอบคุณมากๆค่ะ

    แต่ได้เขียนไว้ในบันทึกแล้วว่า

     ตั้งใจไปทำบุญกับเพื่อนๆเต็มที่เลย และตั้งใจไปเยี่ยมน้องๆพร้อมกับให้ทุนการศึกษาและแจกของเล่น ขนม ด้วย ทั่วทุกคนเลยค่ะ

    แต่ที่บอกไว้ว่า   จะมีหดหู่ใจอยู่บ้าง   คือ สงสารน้องๆเขา อยากเขาได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพมากขึ้นกว่านี้ รวมทั้งไม่อยากให้มีปัญหาครอบครัวมารบกวนการเรียนและชีวิตที่สดใสของเขานะคะ คือสรุปว่า    เห็นและได้ฟังจากคุณครูแล้ว เสียดายโอกาสของเด็กๆน่ะค่ะ

    พอเราเห็นอย่างนี้ ก็อดคิดเลยไปไม่ได้ว่า อะไรคือต้นตอและวงจรของปัญหาเหล่านี้ และจะช่วยกันคิดหาทางออก ในฐานะเป็นคนไทยด้วยกันได้อย่างไรบ้าง

     ตัวดิฉันและเพื่อนๆ   ก็จะพยายามช่วยเท่าที่จะทำได้     ซึ่งคงทำอะไรได้บ้างเล็กน้อย

    แต่ก็พยายามเป็นเสียงประชาชนเสียงหนึ่ง

    รวมทั้งชักชวนสมัครพรรคพวกมาออกเสียงสนับสนุน  โครงการดีๆ ที่ทางรัฐบาล   และท่านผู้ใหญ่ของบ้านเมือง หรือนักวิชาการ  พยายามจะคิดหาแนวทางแก้ไขปัญหากันออกมาค่ะ

    วงปี (annual ring)
    โดยทั่วไปไม้ที่มีวงปีขนาดกว้างจะมีความแข็งแรงน้อยกว่าไม้ที่มีวงปีขนาดที่แคบกว่า

    ไม้สักมีวงปีกว้าง ไม้สนของสวีเดนมีวงปีแคบมาก ทำให้ไม้มีคุณสมบัติที่แข็งแรงมาก

    ต้นไม้ที่เห็นในภาพมีวงปีกว้างค่ะ

    P
    P

    สวัสดีค่ะ

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมนะคะ วันหล้งเชิญเข้ามาอีกค่ะ

    ปกติการเขียนบันทึก ก็ชอบให้มีรูปด้วย เพราะตัวเองชอบดูรูปภาพประกอบในหนังสือแมกกาซีนค่ะ

    และชอบถ่ายรูปด้วย ถ่ายไม่เก่ง แต่ชอบค่ะ

    ความหวังของพี่ในบันทึกนี้ อยากเห็น การพัฒนาในด้านการศึกษาที่มั่นคงแข็งแรงกว่านี้มากๆ   พร้อมๆกับ การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะทำให้คนไทยมีความสุข  มีความปลอดภัย แต่ก็มีศักยภาพที่จะไปแข่งขันกับประเทศที่อยู่ในระดับเดียวกันได้เช่นกันค่ะ

    ดูรูปเด็กนักเรียนแล้ว น่าตาน่ารัก ไร้เดียงสา แต่ส่วนใหญ่ครอบครัวแตกแยก อย่าน่าเสียดาย  นะครับ

    ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ไปเสียแล้วครับ กับสังคมสมัยนี้   ไม่ใช่เฉพาะสังคมเมือง  แต่ในชนบททุกวันนี้ก็ เริ่มมีมากขึ้น ทุกวัน

    เป็นสิ่งแลกมากับความเจริญ  โลกที่ไร้พรมแดน  

    คงต้องใช้กำลังอีกมาเพื่อจะลดปัญหานี้

    โมทนาสาธุ กับบุญครั้งนี้ของอาจารย์ด้วยนะครับ

     

    P

    คุณหมอคะ สวัสดีค่ะอีกทีค่ะ

    ถ้ามีโอกาสไปอยุธยาและจะไหว้พระ    มีวัดที่ตั้งอยู่ใกล้ๆกันมาก ดังนี้ค่ะ 

            - วัดใหญ่ไชยมงคล

            - วัดหน้าพระเมรุ

            - วัดพนัญเชิง

            - วัดกษัตราธิราชวรวิหาร

            - วัดท่าการ้อง

            - วิหารพระมงคลบพิต

            - วัดพระนอนจักรศรี

      ขอโทษคุณหมอ บอกชื่อวัดผิด จริงๆแล้วคือ วัดท่าการ้อง ที่สิงห์บุรี มีวัดชื่อ ว่า วัดการ้องค่ะ  ไม่ทราบว่า กา นี่มีความเป็นมาอย่างไรกับวัดค่ะ  รู้สึกมีคำนี้บ่อย   อาจจะช่วยดูแลวัดหรือเปล่า ไม่ทราบค่ะ

    ถ้ามีใครทราบช่วยบอกด้วยค่ะ

    หมอจิ้น P


    สวัสดีค่ะ
    คุณหมอบอกว่า เด็กน่ารัก แต่ส่วนใหญ่ครอบครัวแตกแยก น่าเสียดาย  นะครับ ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ไปเสียแล้วครับ กับสังคมสมัยนี้   ไม่ใช่เฉพาะสังคมเมือง  แต่ในชนบททุกวันนี้ก็ เริ่มมีมากขึ้น ทุกวัน
    ใช่ค่ะคุณหมอ เหตูหนึ่งคือ พ่อแม่เด็ก มีลูกแล้ว ไม่รับผิดชอบเท่าที่ควร บางคนก็ไปหาเงินมาส่งให้ลูก ปล่อยเด็กไว้กับย่า ยาย ไม่ได้สั่งสอนอะไรมาก เพราะมัววุ่นหากิน
     เด็กเลยคบเพื่อนๆ พากันเล่นสนุก ไม่ค่อยสนใจเรียนค่ะหลายฝ่ายคงต้องช่วยกันค่ะ
    ตอนนี้เอารูปต้นและดอกสาละ จากที่วัดท่าการ้องมาฝากก่อนค่ะ เป็นต้นไม้ใหญ่มาก ร่มรื่น และดอกสีชมภู เกสรขาวสวยค่ะ มีกลิ่นหอมอ่อนๆด้วยค่ะ

     

    จากการที่ได้ไป ทำบุญและไปเที่ยวที่จังหวัดอ่างทอง  และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

     ก็เห็นว่า ตามแนวแม่น้ำทุกสาย ใหญ่น้อย ยังมีประชากรอาศัยอยู่กันอย่างหนาแน่นเหมือนเช่นในอดีต  ไม่มีเปลี่ยนแปลง  คนไทยมักจะตั้งบ้านเรือนอยู่กระจุกตัวกันมากตามริมแม่น้ำเสมอ

    รวมทั้งประเพณีไทยมากมาย  ก็ได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำ ลำคลอง  เช่น การลอยกระทง  การแข่งเรือ   ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากอิทธิพลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ  คือ"แม่น้ำ"ทั้งสิ้น

     

    สวัสดีค่ะ

    ดิฉันเป็นชาวอ่างทองค่ะ ในเมืองปัญหาน้อยกว่าค่ะ โรงเรียนเอกชนก็อยู่ในขั้นดี พวกข้าราขการเอาลูกมาเรียนที่โรงเรียนเอกชนเป็นแถว มีแต่ตามบางอำเภอที่โรงเรียนอยู่ในสภาพที่ต้องปรับปรุงแบบที่เห็นค่ะ

    สวัสดีค่ะ

    ไม่มีรูป
    สีดา

    เท่าที่คุยกับคุณครูที่โรงเรียนสี่ร้อย

    คนที่พอจะมีฐานะ จะเอาลูกไปเข้าร.ร.เอกชนกันค่ะ แม้แต่ลูกของคุณครูกันเอง

    แสดงว่า ร.ร.นี้ มีแต่เด็กที่ต้องดุแลมากๆทั้งนั้นเลย

    ไม่ทราบทางจังหวัดจะปรับปรุงอย่างไร ไม่ได้ติดตามค่ะ แต่รู้สึกว่า ทางราชการคงกำลังแก้ไขอยู่ค่ะ

    สวัสดีค่ะ พี่ sasinanda

    • วันนี้อากาศดีค่ะ..ไปเดินเล่นในสวนเลยเอาดอกไม้มาฝากค่ะ..ที่อื่นไม่รู้จะเรียกชื่อว่าอะไรแต่ที่บ้านแหวว เรียก "ลีลาวดีหัวลูกศร"ค่ะ (ใบเหมือนหัวลูกศร) สีขาวสะอาดตา ตัดกับสีเขียวสดชื่น...ขอให้คุณพี่มีความสุขมากๆ นะคะ

    img412/1889/julyflower0331mv3.jpg

    สวัสดีค่ะ

    ดอกไม้สวยมากค่ะ สีขาวสะอาดตา เหมาะกับคนอาชีพครูและบุคคลากรด้านสาธารณสุขนะคะ

    การพัฒนาคน เริ่มจากครอบครัวเป็นจุดแรกจริงๆค่ะ อยากให้ลูกเป็นแบบไหน พ่อแม่เป็นผู้สร้างค่ะ

    • ขออนุโมทนา ในส่วนบุญส่วนกุศลที่คณะของคุณศศินันท์ร่วมกัน สั่งสมเพื่อศาสนาและสังคม
    • นักเรียนแถวๆบ้านของผมก็มีสภาพไม่ต่างๆกับที่อ่างทองมากนัก
    • ขนาดโรงเรียนมัธยมยังบ้านแตกสาแหรกขาดหลายครอบครัว บางคนขณะนี้พ่อแม่ไม่เหลือแล้ว
    • เรื่องเรียนฟรี ผมว่าไม่มีจริงหรอกในระดับมัธยม มักจะเลี่ยงเป็นระดมทรัพยากร
    • หนักกว่าเก่า เพราะเดิม ลูกข้าราชการผู้น้อยยังเบิกได้ครบ เดี๋ยวนี้ว่าเรียนฟรี เลยเบิกไม่ได้ครับ
    มาเยี่ยม...คุณ
    P
    มาร่วมชื่มชมการไปทำบุญและได้สัมผัสความเป็นธรรมชาติด้วยครับ...
    P
    พิสูจน์
    สวัสดีค่ะอาจารย์คะ
    แปลกใจเล็กๆ สุพรรณ นับว่า เศรษฐกิจดีนะคะ ทำนาปีละ 2-3หน บ้านเมืองก็ดี สะอาดและเจริญ การคมนาคมสะดวก ยังมีโรงเรียนที่ขาดแคลนมากๆอีก
    ตอนนี้ สังคมเป็นแบบใหม่ค่ะ
     คนมีการย้ายถิ่นกันมากขึ้น  เริ่มเข้ามาเป็นคนเมือง พ่อแม่ ทิ้งลูกไว้กับย่ายาย  แล้วมา ทำงานในเมือง ส่งเงินกลับไปให้ แต่คงไม่ค่อยพอ เลยทำให้ครอบครัวแตกแยก อย่างที่เห็นๆ
      ปัญหาคือ ปัญหาครอบครัว+เศรษฐกิจ รัฐก็มีงบไม่พอจะสนับสนุนค่ะ เลยไปตัดโน่นนี่ แบบที่อาจารย์บอก
     อยากให้อ่านที่

    ได้บันทึกไว้ว่า วิถีชีวิตอุบัติใหม่ : วิถีชีวิตเมือง
    เราควรมองนคราภิวัตน์ (urbanization)  ด้วยสายตาหรือมุมมองใหม่    ที่เป็นมุมมองเชิงบวก    มองว่า urbanization เป็น transition  เป็นสิ่งที่มีคุณประโยชน์     ไม่ใช่ปัญหา 
      
     แต่จะมีคุณประโยชน์ได้ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า   ให้สังคมเมือง กับสังคมชนบทเกื้อกูลส่งเสริมกัน    คนในสังคมเมืองควรได้เรียนรู้จากวิถีชีวิตชนบทด้วย  
    P
    umi
    สวัสดีค่ะ
    การไปทำบุญคราวนี้ ให้อะไรแก่ดิฉันมากเลยค่ะ
    ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะคะ

    ภ่ายใต้สังคมที่มีความต่างกันอย่างสุดขั่ว เด็กในสังคมเมื่องใหญ่ใช้ชีวิตอย่างประมาท  มีโอกาศแต่ไม่ทำให้คุ้มค่ากับสิ่งที่ได้รับ  ผิดกับเด็กที่ด้อยโอกาศถึงแม้นจะไขว่คว้าเท่าไหร่  ก็น้อยเต็มทีที่โอกาศจะมาหา  ผมสลดใจครับกับการกระจายความเจริญไม่ว่าจะการศึกษาหรือโอกาศต่าง ๆ ของรัฐบาลไทย

    โชคดีจังครับที่พี่มีโอกาศได้ไปทำบุณที่นั้น  และยังได้เอาเกร็ดความรู้ที่ไม่ค่อยมีคนรู้มาเพิ่มรอยหยักในสมองให้ผมอีก   อนุโมทนาแก่คณะเดินทางของพี่ด้วยนะครับ

    สวัสดีค่ะ

    อยากทราบว่าที่อ่างทองนี้ เขามีวัฒนธรรมอะไรเป็นวัฒนธรมประจำจังหวัดบ้างคะ

    สวัสดีค่ะ

    ไม่มีรูป
    ดาริน

       อ่างทองเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งของไทยค่ะ

      เคยเป็นแหล่งชุมชนยุคโบราณทางประวัติศาสตร์  ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย  เดิมตั้งเมืองอยู่ที่ วิเศษชัยชาญ ริมแม่น้ำน้อย  ได้ย้ายมาตั้งเมืองใหม่บนฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยาที่บ้านบางแก้ว  ประมาณปลายสมัยกรุงธนบุรี และได้ชื่อว่าเมืองอ่างทอง อาจเป็นเพราะที่ตั้งเมืองอยู่ในพื้นที่ลุ่มคล้ายอ่าง ไม่มีภูเขา ป่าไม้ และแร่ธาตุ  แต่เป็นอู่ข้าว อู่น้ำและอู่ปลา มาแต่สมัยโบราณ  หรืออีกอย่างหนึ่งได้ชื่อนี้ตามชื่อบ้านอ่างทอง เมื่อครั้งย้ายเมืองมาตั้งใหม่ ณ ที่แห่งนี้

    แหล่งโบราณคดี และแหล่งประวัติศาสตร์

    เช่น  ศาลหลักเมืองอยู่ตรงข้ามศาลากลางจังหวัด

      วัดอ่างทองวรวิหาร

    บ้านทรงไทยจำลอง
    ส่วนประกอบบ้านทรงไทย เครื่องเรือนไม้ตาล เป็นฝีมือเชิงช่างที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ นอกจากจะมีการจัดสร้างที่สวยงามแล้ว ก็ยังคงความเป็นไทยไว้อย่างน่าสนใจ ตามเส้นทางสาย อยุธยา-ป่าโมก และตำบลโพสะ เป็นแหล่งทำส่วนประกอบของบ้านทรงไทยทุกชนิด

    วัดสี่ร้อย
    อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลสี่ร้อย บนเส้นทางสายโพธิ์พระยา-ท่าเรือ หรืออ่างทอง-วิเศษชัยชาญ ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12.5 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายมือไปตามถนนคันคลองชลประทานอีก 5 กิโลเมตร วัดแห่งนี้ มีพระพุทธรูปปางป่าเล-ไลยก์ สูง 21 เมตร หน้าตักกว้าง 6 เมตรเศษ เรียกนามว่า หลวงพ่อโต ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างอยุธยาที่มีความงดงามมากอีกแห่งหนึ่ง
    P
    เด็กๆตามชนบท ไม่ว่า จะใกล้หรือไกลกรุงเทพ ยังขาดโอกาศในการศึกษาอยู่มาก ทราบว่าทางรัฐบาลก็กำลังเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วนอยู่ค่ะ คงต้องใช้เวลาพอควรค่ะ 
    อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
    โรงเรียนหลายๆ แห่ง ในหมู่บ้านเล็กๆ ใกล้หรือไกลกรุงเทพฯ หลายๆ แห่งยังขาดแคลนค่ะ เคยไปทำบุญที่โรงเรียนในเขื่อนรัชชประภา  ตชด. ผู้เสียสละ ไปอยู่แพ ในเขื่อนสอนหนังสือให้เด็ก ลูกประมงคนอีสานที่มารับจ้างจับปลาในเขื่อน เด็กเรียนรวมๆ ครูคนเดียว ถึงเวลาครูพามาสอบบนฝั่ง น่าสงสารมากๆ ค่ะ เคยลงเวบบอร์ดไว้ มีหลายท่านโทร.มาถาม แล้วไปทำบุญกันอีก ดีใจที่ได้ช่วยเขา ไม่มากแต่ก็ดีกว่าไม่ได้ช่วยค่ะ
    สวัสดีค่ะTrip Maker เรียก หุย ก็ได้ค่ะ
    P

    เราเป็นเพียงคนกลุ่มเล็กๆ คงช่วยไม่ได้มากนัก อยากให้ ช่วยในระบบใหญ่มากกว่านะคะพบเจออะไรที่น่าจะประกาศว่า
    ใคร ที่ไหน ยังลำบากอยู่ เราก็ช่วยให้โลกรู้ นอกจากเราจะช่วยเองแล้วดีใจที่ คุณหุยเป็นคนใจดี มีเมตตาเสมอมาค่ะ
    นี่คือลักษณะนิสัยของคนไทยค่ะ   
    • สวัสดีค่ะ
    • แวะมาเยี่ยมค่ะ
    • บรรยากาศรอบๆ วัดดูร่มรื่นดีนะค่ะ ดอกไม้ก็สวย
    P
    - sirintip - -

    สวัสดีค่ะ

    P

    ดีใจที่มาเยี่ยมค่ะ

    ไปทำบุญ ได้บุญและนำมาฝากพวกเราทุกคนด้วยค่ะ

    ภายในเดือนกรกฏาคมนี้ก็จะไปอีกที่หนึ่งค่ะ แล้วจะนำมาเล่าค่ะ

    ขอบคุณนะคะ
    P
    เข้ามาเยี่ยม....
    แต่ไม่เห็น จตุคาม ....
    เจริญพร

    สวัสดีครับคุณ sasinanda

    * ผมเพิ่งเป็นสมาชิกใหม่นะครับเลยไม่รู้จะถามอะไร  แต่ก็อยากให้ทราบว่า ในฐานะที่ผมก็อยู่บ้านนอกเหมือนกันแต่มีโอกาสได้เรียน ได้ศึกษา ครอบครัวของผมก็ไม่ได้ร่ำได้รวยอะไร พ่อก็เป็นชาวนา แม่ก็เป็นชาวนา สมัยเด็กๆก็เรียนหนังสือในหมู่บ้านของพวกผมเอง แต่ครูสมัยก่อนนั้นท่านเป็นที่น่ายกย่องครับ ผมยังจำได้ติดตาติดหูเลยว่า เวลาที่มีการประชุมผู้ปกครอง พ่อของผมท่านจะเข้ามาพูดกับครูว่า ลูกชายคนนี้ยกให้ครูจัดการได้เต็มที่ ครูจะตี หรือทำโทษก็สุดแล้วแต่ครูเถอะ ผมบอกได้เลยว่า ผมนั้นอ่านหนังสือได้ก็เพราะไม้เรียว แปงลบกระดาน และมือของครูนั่นเอง และที่น่าชื่นชมอย่างมากก็คือครูสมัยก่อนท่านจะทำตัวน่าเคารพ น่ายกย่อง และไม่ทำให้เด็กหรือลูกศิษย์เห็นพฤติกรรมอันไม่ดีของท่านเลย ท่านจึงเป็นที่เกรงขามและเกรงกลัวทั้งลูกศิษย์และบุคคลทั่วไป แต่เรามามองปัจจุบันนี้นะครับว่ามันต่างกันมาก เดี่ยวนี้เด็กทุกคนตีก็ไม่ได้ พ่อแม่เอาใจมากเหลือเกิน และครูก็ทำตัวไม่น่าเคารพชอบทำอะไรให้เด็กเห็นในสิ่งที่ไม่ดี สังคมไทยก็เลยไม่เจริญ เด็กในสมัยปัจจุบันก็เลยอ่านหนังสือไม่ออก และไม่กล้าที่จะแสดงออก และที่สำคัญมองไม่เห็นหัวครูอยู่ในสายตาเลย เฮ้อ......ขอโทษนะครับที่ใส่อารมณ์ไปหน่อย มันเป็นอย่างนี้จริงๆนะครับ เอ่อลืมไปครับ ผมเป็นคนเชียงใหม่ครับ และเป็นลูกชาวนาคนหนึ่งเหมือนกันครับ

    *ขอบคุณครับ จากเด็กเชียงใหม่ที่อยากให้สังคมกลับมาเหมือนเดิมครับ

    P

    นมัสการหลวงพี่ค่ะขอบพระคุณท่านมากที่ กรุณามาเยี่ยมค่ะดิฉันเป็นชาววัดค่ะ เข้าวัดจริงจัง มา 30 ปี แต่รู้จักกับพระที่เคารพมา 40ปีแล้วค่ะก็เป็นคนใกล้ชิดศาสนาค่ะส่วนวัดท่าการ้อง มีการพูดขยายเสียง ขายเหรียญจตุคามด้วยค่ะ ตอนที่ไป ได้ยินกันทั้งวัด เป็นอะไรที่ฮิตมากค่ะ
    Pเอส สวัสดีค่ะยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ค่ะขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้ข้อคิดเห็นค่ะสังคมตอนนี้เปลี่ยนไปค่ะ ปัญหาการกระจายรายได้เป็นปัญหาหลักอย่างหนึ่งที่ ทำให้พ่อแม่ลูกต้องห่างกัน เพื่อไปทำงานในเมืองใหญ่ เด็กเมื่อไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ก็มักจะมีปัญหา มากน้อย แล้วแต่ครอบครัวค่ะสังคมเดิมคงจะเปลี่ยนไปแล้วค่ะ แต่ถ้า เปลี่ยนไปในทางดีขึ้น  ก็เป็นคุณค่ะ

    สวัสดีครับคุณพี่ sasinanda

             ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ  เมตตาธรรมค้ำจุนโลก ดีใจครับที่มีโปรแกรมจะไปทำบุญกันต่อเนื่อง

    sasinanda
    P


     

     ตามข้อเขียนของคุณสันติ เศวตวิมล ต้นสาละที่พระพุทธเจ้าประสูติใต้ต้นนี้ ไม่ใช่สาละ ดอกสีชมภูแบบที่เราเห็น แต่เป็น ดอกสีเหลืองเหมือนต้นสารภีหรือขี้เหล็กของเรา     ต้นสาละของพระพุทธเจ้าเป็นต้นไม้ชมพูทวีปมีมาตั้งแต่ดั้งเดิม มีชื่อเรียกว่า "สาล" (SAA) เป็นภาษาสันสกฤต เวลาอ่านแล้วก็ออกเสียงสละอะข้างหลังคำ
            วิชาพฤกษาศาสตร์ เรียกไม้นี้ว่า "SHOREA TOBUSTA GAERTH" เป็นสกุล "DIPTEROCRPACEAE"
    ดอกต้นสาละบ้านผมเป็นดอกสีชมพู รูปร่างคล้ายดอกบัวเล็กๆ และออกดอกระหว่างต้น
            ส่วนต้นสาละที่บ้านเมืองนี้ ออกดอกเป็นสีเหลืองอ่อน และดอกก็อยู่ตามกิ่งก้านใบ มองผาดๆ เหมือนต้นสารภี หรือต้นขี้เหล็ก
            ต้นสาละแบบนี้ ผมเคยเห็นในป่าลึกๆ บนดอยอินทนนท์
            ซึ่งไม่น่าจะแปลกอะไร เพราะถ้าวัดตามเส้นรุ้งของเมืองกุสินารา หรือเมืองลุมพินี ถ้าลากตะแคงแล้วก็จะตรงแถบเชียงใหม่ เชียงราย
            เพราะฉะนั้นเวลาไปพุทธคยาทีไร เป็นต้องนึกว่ากำลังอยู่แถวภาคเหนือบ้านเราเสียทุกที
    http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=4624974038004 

     

    สวัสดีครับ บ้านผมมีแต่พันธ์ดอกสีชมภู ไม่ใช่อย่างเดียวกันหรือครับ เอ ไม่ทราบเหมือนกัน

    อยากทราบว่า จริงๆเป็นแบบไหนครับ

    สวัสดีค่ะ

    ดิฉันก็ไม่ทราบแน่นอนค่ะ แต่ถ้าตามที่อ่านจากคุณสันติ เศวตวิมล ก็ไม่ใช่สีชมภูนี้ค่ะ

    ส่วนต้นสาละที่บ้านเมืองนี้ ออกดอกเป็นสีเหลืองอ่อน และดอกก็อยู่ตามกิ่งก้านใบ มองผาดๆ เหมือนต้นสารภี หรือต้นขี้เหล็ก ต้นสาละแบบนี้ ผมเคยเห็นในป่าลึกๆ บนดอยอินทนนท์ ซึ่งไม่น่าจะแปลกอะไร เพราะถ้าวัดตามเส้นรุ้งของเมืองกุสินารา หรือเมืองลุมพินี ถ้าลากตะแคงแล้วก็จะตรงแถบเชียงใหม่ เชียงราย

    http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=4624974038004

    P
     ครูวุฒิ
    เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550
    • สวัสดีครับคุณพี่
    • ผมมาตามลิงค์ครับ
    • โห.... ภาพที่คุณพี่เห็น ตัวอักษรทุกตัวที่คุณพี่บรรจงถ่ายทอด  อธิบายแทนสิ่งที่กระผมในฐานะครูคนหนึ่งของชุมชนวิตกมาตลอด ภาพดังกล่าวมีมากขึ้นๆทุกวัน  นี่แหละครับทำให้ผมต้องพูดและทำเกี่ยวกับเรื่องนี้เรื่อยมา
    • ถ้าไปดูที่ต้นเหตุ สาเหตุหนึ่งก็คงเป็นที่ประชาชนบางส่วนฐานะยากจนจึงมีการศึกษาน้อย  เมื่อย่างสู่วัยรุ่น รักชอบกัน มีลูก แต่รับผิดชอบลูกไม่ไหว ทิ้งให้ย่ายายดูแล  และ เรื่องนี้ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การศึกษาอย่างเดียว แต่อยู่ที่การดูแลเอาใจใส่ลูกตั้งแต่ยังอยู่ในท้อง อาหารไม่สมบูรณ์พอ ลูกขาดสารอาหาร ทำให้สมองและสุขภาพไม่ดี การดูแลรักษาก็ไม่ดี เป็นการเสียเปรียบที่สะสมกันมาเป็นระยะๆ  นี่แหละครับที่กระผมบอกว่าการศึกษาทำให้เขาอ่อนแอ กลายเป็นคนมักง่ายและฉาบฉวยในชีวิตที่เกิดขึ้นกับคนบ้านนอกบ้านนาส่วนใหญ่เลยครับ เกิดจากการขาดสามัญสำนึกหรือขาดความตระหนักฯอย่างที่โคกเพชรเห็นและจำเป็นต้องแก้  แต่โดยลำพังก็อย่างที่กระผมเล่าไว้ว่า "ออกจากโรงเรียนไป 2-3 ปี ก็ถูกสังคมกลืน" นั่นแหละครับ
    • ที่จริงที่บ้านนอก  มีอะไรทำมากมาย ทำกินทำอยู่ทำใช้ ขี้คร้านจะได้อยู่ได้กิน ร่ำรวยก็เยอะแยะ ที่ชัดเจนที่สุดก็คือคนที่ไม่ได้เรียนต่อ(จบ ป.4) มีความเข้มแข็งและเอาตัวรอดได้ดีกว่าคนจบ ป. 6 ม.3 ม.6  เผลอๆปริญญาตรีด้วย (อย่างน้อยๆก็มีหนี้น้อยกว่าแน่นอน)
    • เรื่องชุมชนเข้มแข็งตามแนวทางของ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วสี  เป็นแนวทางที่โคกเพชรนำมาใช้และอ้างอิงมาตลอด (ที่เว็ปของโคกเพชรมีลิงค์ของท่านอยู่ด้วยครับ)  รวมทั้งพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ป.อ. ปะยุตโต พ่อครูบาสุทธินันท์  ฯลฯ เพราะเห็นเป็นประจักษ์ว่าเป็นแนวทางที่เป็นไปได้จริง  หากแต่ท่านผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องกับการศึกษา  ท่านกลับไม่ได้ใส่ใจที่จะลงมือทำโดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนและชุมชนเลย  ส่วนใหญ่ท่านก็คิดของท่านไป  เสร็จแล้วก็สั่งๆๆๆ อย่างเดียว (เสร็จแล้วให้รายงาน)  ซึ่งหลายสิ่งหลายอย่าง และหลายครั้งหลายครา  เป็นภาระของโรงเรียนโดยที่โรงเรียนได้แต่ความสิ้นเปลือง  และเด็กๆเสียโอกาสในการเรียนรู้เสียด้วยซ้ำครับ
    • ดังนั้นการที่โรงเรียนส่วนใหญ่ในชนบทจะอยู่คู่กับวัด  ก็เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์และดีงามเป็นอย่างยิ่ง   ประเด็นนี้ตรงกับแนวความคิดโคกเพชรเหลือเกินครับ ไม่พูดถึงไม่ได้  เพราะผมเฝ้ามองมาตลอดว่า โรงเรียนถูกถอนรากมาจากชุมชนจากวัด  เสร็จแล้วก็เอามาปลูกไว้บนกระถางเพื่อเลี้ยงเป็นบอนไซในแบบของกระทรวงศึกษาธิการ  หลวงพ่อที่วัดส่วนใหญ่ท่านเลยไม่ใคร่มีอะไรทำ  ส่วนใหญ่ท่านหาเงินเก่งแต่ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร  ท่านก็เลยสร้างโน่นสร้างนี่ซะใหญ่โต (ขนาดวัดบ้านนอกอย่างที่โคกเพชรนะครับ  พระอุโบสถยังราคาเป็นล้านๆ อื่นๆอีกเพียบ)  แต่โรงเรียนอย่างที่กระผมบริหารอยู่ มีเงินบริหารเพียงปีละ 6-7 หมื่นบาท  นี่ถ้าโรงเรียนยังอยู่กับวัด  ป่านนี้ชีวิตของเด็กๆและชุมชนคงสวยงามเหมือนวัดวาอารามไปแล้วล่ะครับ  เพราะเด็กๆนอกจากจะได้รับการกล่มเกลาจิตใจจากพระสงฆ์องคเจ้าอีกแรงหนึ่งแล้ว  อานิสงฆ์จากเงินบริจาคทำบุญก็คงจะตกถึงหัวสมองของเด้กบ้าง เพราะเห็นขัดเจนว่าโรงเรียนใดอยู่อุปถัมภ์ของวัด ก็จะเป็นโรงเรียนที่ทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ครับ 
    • ประเด็นการอยู่กับวัดกับชุมชน ที่ผ่านมา  คงมีผมเท่านั้นที่เป็นครูบ้าอยู่ในจำนวนไม่กี่คน  ที่อยากโอนไปอยู่กับชุมชนหรือ อบต.  ซึ่งตอนนี้ทาง อบต.ก็ไม่ค่อยมีอะไรทำ  ท่านก็เลยทำแต่ในสิ่งที่เป็นวัตถุ ๆ ๆ ๆ เท่านั้น  (หรือท่านจะกลัวว่าถ้าคนฉลาดแล้วท่านจะซื้อเสียงไม่ได้ก็ไม่รู้  จึงไม่ยอมอุดหนุนงบประมาณสำหรับการสร้างคนให้กับโรงเรียนบ้าง)
    • ระบายซะยาวเฟื้อยเลย  อย่าเพิ่งเบื่อนะครับ  เห็นเป็นประเด็นที่เป็นปัญหาใหญ่ของชาติ  และสอดคล้องกับแนวคิดของโคกเพชร  เลยอินมากไปหน่อยครับ
    • ขอบพระคุณมากครับที่ให้เกียรติเข้าเยี่ยมชมเว็บโรงเรียนบ้านโคกเพชร  และให้กำลังใจว่าจะเข้าเยี่ยมชมบ่อยๆ  ถ้ามีอะไรที่พอจะเป็นประโยชน์สำหรับสังคมบ้างก็อย่าได้เกรงใจนะครับ
    • คงได้เข้ามาเยี่ยมบ่อยๆเช่นกันครับ เพราะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีที่สุดอีกที่หนึ่งครับ
    • สวัสดีครับ

    สวัสดีค่ะ

    P

    เรื่องการศึกษาระดับต้น ยังไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควรค่ะ

    มีข่าวว่าบางจังหวัด อบต.มีการจัดการศึกษาระดับต้นนี้ โดยร่วมมือกับวัดต่างๆค่ะ

    โดยได้รับความช่วยเหลือในด้านวิชาการจาก ศึกษานิเทศน์ในแต่ละพื้นที่ค่ะ

    ขอให้กำลังใจอย่างมากเลยค่ะ และจะเข้าไปดูที่webบ่อยๆค่ะ

    สวัสดีครับ

    ผมได้มีโอกาสเ้ข้าไปทำบุญที่วัดสี่ร้อย ได้พบผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุหลาย ๆ ท่าน ท่านบอกว่า เรื่องปัญหายาเสพติดก็มีบ้าง เป็นปกติในละแวกนั้น และละแวกใกล้เคียง แต่เด็กที่นั่นอยู่กันอย่างอบอุ่นกับพ่อแม่เป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีเด็กที่มีปัญหา  ผมก็เรียนไปว่า ผมเป็นนักจิตวิทยา ซึ่งผมสามารถให้ความช่วยเหลือตรงนี้ได้ ซึ่งก็ได้รับการยืนยันว่าเด็ก ๆ ที่นี่มีสุขภาพจิตที่ดีกันทั้งนั้น

     ผมก็เรียนถามต่อไปว่า แล้วเรื่องความลำบากยากแค้น เช่น ขาดอุปกรณ์การศึกษา หรือเสื้อผ้ารองเท้าล่ะ  ก็ได้รับคำตอบว่าก็ไม่ค่อยขาดอะไร 

    ผมเลยสงสัยว่า ทำไมข้อมูลถึงไม่ตรงกับที่ในกระทู้นี้เลย 

    นอกจากนี้ หลวงพ่อเจ้าอาวาสท่านก็ดูแลโรงเรียนอยู่อย่างใกล้ชิด ให้ทุกการศึกษาทุกปี อาจมีขาดแคลนเครื่องกีฬาบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็ได้รับการดูแลอย่างดี มีคนที่มาฌาปนกิจที่วัด ญาติ ๆ ก็มักจะทำบุญเลี้ยงอาหารนักเรียนกันเป็นส่วนใหญ่ มีโรงงานบริเวณนั้นมาทำบุญเรื่อย ๆ  พ่อแม่เด็กส่วนใหญ่ก็ออกไปทำงานในโรงงานแถวนั้น แต่ก็ไม่ได้ทิ้งลูกไป ตกเย็นก็กลับบ้าน อยู่กันอย่างอบอุ่นครับ

     ท่านใดสนใจไปทำบุญก็ถือเป็นเรื่องดีครับ แต่เพียงแค่เรียนว่าทางโรงเรียนไม่ได้ขัดสนขนาดนั้นครับ

    ทางวัด ทางชุมชนก็ช่วยกันดูแลอยู่

     

    สวัสดีค่ะคุณดาบอาทมาต

    ขอบคุณค่ะ ที่เข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ และดีใจที่คุณเป็นนักจิตวิทยาที่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่สังคมชุมชนได้มากมาย

    เรื่องที่บันทึกนี้ ดิฉันเขียนจากข้อมูลที่ได้รับจากอาจารย์ใหญ่และอาจารย์อีก2-3 ท่านวันที่ไปทำบุญและแวะเยี่ยมเด็กๆนะคะ ไม่ได้ไปเจาะลึกหาข้อมูลลึกๆเอง ดูในรูป อาจารย์ใหญ่ผู้ชายที่กำลังรับของน่ะค่ะ

    ประเด็นสำคัญที่อาจารย์อยากจะสื่อคือ

    เด็กๆอยู่กับย่ายายส่วนใหญ่ พ่อแม่ไปทำงานไกลบ้าน ไม่ได้ถามว่าไกลแค่ไหน  แต่อาจารย์บอกว่า บางส่วนมาทำงานกรุงเทพฯ แค่บางส่วนไม่ได้ทั้งหมด

    ทำให้ไม่ค่อยมีคนช่วยสอนเด็กๆในเชิงการบ้านที่บ้าน ผลการเรียนเด็กจึงไม่ค่อยดีนัก เด็กๆชอบเล่นกับเพื่อนๆมากกว่า

    ส่วนเรื่องการขาดแคลนสิ่งของต่างๆ เท่าที่ดู ไม่ถึงกับขาดมาก เพราะวัดคงช่วยดูแลอยู่ด้วย แต่น่าจะเป็นการเน้น เรื่องที่อาจารย์อยากจะให้มีการกวดขันในเรื่องความประพฤติให้ขยันรียนมากขึ้น  และอาจารย์อยากให้พ่อแม่ มีเวลาให้ลูกมากขึ้น ให้เด็กอบอุ่นขึ้น ไม่ใช่นำเงินมาให้อย่างเดียว อาจารย์เล่าว่า ต้องไปตามเด็กที่บ้าน เวลา ไม่มาโรงเรียน

    อาจารย์บอกว่า ได้มีศึกษานิเทศน์มาดูแล้ว และดิฉันคิดว่า ทางวัด และทางชุมชนคงได้มีการแก้ไข ในสิ่งที่ควรแก้ไข ไปมากแล้ว ในปัจจุบันนี้ค่ะ

    ดิฉันดีใจค่ะ ที่ได้ทราบจากคุณว่า เด็กๆของเราทุกคนที่นั่น  ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี เพื่อให้พวกเขาเติบโตเป็นพลเมืองดี ของประเทศต่อไป

    ขอบคุณที่มาแจ้งข่าวดีค่ะ

     

     

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท