ผู้ปกครอง


การพัฒนาเด็กพิการแบบเครือข่าย

น้อง Pเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมารับบริการที่ศูนย์ฯ ขณะนี้ได้เข้าเรียนทีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กใกล้บ้านโดยการสนับสนุนจากอบต.แห่งหนึ่งน้อง P มารับบริการที่ศูนย์การศึกษาพิเศษตั้งแต่อายุ ขวบกว่าๆ พี่สาวของน้อง P ก็สูญเสียการได้ยินแต่มารับบริการล่าช้ากว่าประมาณ 3 ขวบ ขณะนี้พี่สาวเรียนอยู่ในโรงเรียนเฉพาะทางระดับประถมแต่การพูดออกเสียงจะมีความสามารถน้อยกว่า น้อง P ซึ่งน้อง Pได้รับการตรวจวัดการได้ยินและทราบว่าสูญเสียการได้ยินในระดับหูตึงตั้งแต่ยังเล็ก คุณแม่และคุณพ่อยอมรับสภาพและทำใจได้ตั้งแต่ลูกคนแรกรวมทั้งมีความรู้ในการเลี้ยงดูลูกที่พิการทางหูมาแล้ว ผู้ปกครองได้จดทะเบียนคนพิการกับพมจ.จังหวัดนนทบุรีให้กับน้อง P และได้รับเครื่องช่วยฟังตามสิทธิเมื่อจดทะเบียนคนพิการแล้ว คุณแม่พาน้อง P มารับบริการเตรียมความพร้อมโดยมีคุณป้ามาดูแลที่ศูนย์การศึกษาพิเศษและได้รับการฝึกพูดที่โรงเรียนโสตศึกษา รวมทั้งการฝึกที่โรงพยาบาล จนทำให้สามารถออกเสียงได้เป็นอย่างดี ทางศูนย์ฯนนฯจึงประสานไปยังอบต.และอบต.ได้ประสานไปยังศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความดูแล เพื่อรับน้อง P เข้าเตรียมความพร้อมร่วมกับเด็กปกติ วันนี้น้อง P มาฝึกพูดกที่โรงเรียนโสตฯช่วงเช้าและเตรียมความพร้อมเพิ่มเติมที่ศูนย์ฯนนฯน้อง P มีพัฒนาการทางภาษาที่ดีขึ้นสามารถตอบคำถามได้ดี พูดบอกส่งที่ต้องการได้ แม้ว่าวันนี้ไม่ได้ใส่เครื่องช่วยฟัง เมื่อคุณแม่มารับกลับบ้าน คุณแม่บอกว่าเครื่องช่วยฟังนำไปซ่อมจึงไม่ได้ใส่มา

คิดว่าน้อง P สามารถพัฒนาตนเองและการพูดออกเสียงได้เป็นอย่างดีเป็นเพราะอะไร และใครที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาความสามารถของ P

หมายเลขบันทึก: 106313เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2007 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท