beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ป้าย (คำหลัก): มหาวิทยาลัยนเรศวร นั้นสำคัญไฉน?


ทำให้สามารถค้นหาและรวบรวม ส่วนสำคัญของ GotoKnow 5 ส่วน ได้อย่างง่ายๆ

   ใน KnowledgeVolution หรือ GotoKnow ภาคสอง เขาออกแบบให้ติดป้าย (Tag) เพื่อให้ง่ายต่อการ (ใช้คำสั่ง) ค้นหา..ในอนาคต (หรือปัจจุบัน) ที่จะย้อนอดีตได้..

    เราลองยกตัวอย่างคำว่า "มหาวิทยาลัยนเรศวร" นะครับ เราจะใส่ป้ายคำหลักไว้ที่ไหนบ้าง

  1. ประวัติ (Profile) - ป้าย (คำหลัก): มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนนี้ถ้าเราเป็นบุคลากรในมหาวิทยาลัยนเรศวร เราควรต้องใส่ไว้ด้วย..เพื่อให้ง่ายแก่การค้นหา และเราจะได้เป็นส่วนหนึ่งของ Tag นี้ (ขณะนี้มีค้นหาประวัติสมาชิก ที่ติดป้ายนี้ได้ประมาณ ๑๐๐ ประวัติ)
  2. บล็อก (blog สมุดบันทึก) - ป้าย (คำหลัก): มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนนี้ถ้าเราต้องการให้บล็อกของเรา..ถูกค้นหาด้วย Tag นี้ เราต้องใส่ไว้ด้านล่างของบล็อกด้วย (ขณะนี้ค้นหาบล็อกที่ติดป้ายนี้ได้ประมาณ ๖๐ บล็อก)
  3. บันทึก (Post) - ป้าย (คำหลัก): มหาวิทยาลัยนเรศวร ถ้าเราต้องการให้บันทึกของเราถูกค้นหาด้วย Keyword นี้ เราต้องใส่ไว้ท้ายบันทึกด้วย (ขณะนี้มีบันทึกที่ติดป้ายนี้แล้วประมาณ ๙๐๐ บันทึก)
  4. ถาม (ask ) - ป้าย (คำหลัก): มหาวิทยาลัยนเรศวร ถ้าเรา (และเขา/เธอ) ต้องการให้ส่วนที่เป็นคำถาม-คำตอบ มี Keyword นี้ด้วย เราก็ต้องติดป้ายด้วยครับ (ขณะนี้มี ask ที่ติดป้ายนี้ประมาณ ๘ คำถาม)
  5. ไฟล์อัลบั้ม (file) -ป้าย (คำหลัก): มหาวิทยาลัยนเรศวร ถ้าต้องการให้ภาพที่เรา Upload เข้าไฟล์ ถูกค้นหาด้วย Tag นี้ เราก็ต้องใส่เข้าไว้ด้วย (ขณะนี้มีภาพที่ติดป้ายนี้ ประมาณ ๔๕๐ file)

   ถ้าสมาชิกมน. ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน เจ้าหน้าที่ อาจารย์ นิสิต ช่วยกันติดป้าย "มหาวิทยาลัยนเรศวร" ใน ๕ ส่วน เราก็จะสามารถค้นหาได้ง่ายครับ..

   แต่ขณะนี้ เรา รณรงค์ให้ใส่ "ป้าย-Tag"ใน ส่วนของบันทึก (ข้อ 3) เป็นส่วนแรกครับ..(ถ้าท่านผู้ใดใส่ครบทั้ง 5 ส่วน ถือว่า สุดยอดครับ)

   ยกตัวอย่าง ถ้าผมจะค้นหาว่าผมเขียนบันทึก (Post) ที่ใช้ Tag ว่า มหาวิทยาลัยนรเศวร ก็จะมีเส้นทางค้นหาดังนี้ครับ (ปรากฏว่าขณะนี้ค้นได้ 63 บันทึก) home / blog / beesman / tag / มหาวิทยาลัยนเรศวร

BeeMan

BeeMan

 

หมายเลขบันทึก: 74299เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2007 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 08:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • เชื่อแล้วว่าสำคัญ
  • ใส่คำหลักไป
  • ค้นพบหมดเลยครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • มาสนับสนุนเต็มตัวครับ
  • ป้าย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ่านที่นี่

ขอขอบคุณ อ. beeman มากๆ เลย ค่ะ ที่รณรงค์ และช่วยอธิบายให้เข้าใจได้อย่างแจ่มชัด ถึงความสำคัญของการติดป้าย

ระบบที่โกลาหล ซึ่งพยายามจัดตัวเองตามธรรมชาติ ด้วยการรวมตัวกันเข้าเป็น Planet ก็จะค่อยๆ มีระเบียบมากขึ้น ด้วยกลไกของ tag หรือการติดป้ายนั่นเอง

แม้แต่ตัวดิฉันเอง ก็ยังจัดระบบของตัวเองไม่ค่อยเป็นระเบียบเลยค่ะ  นี่ขนาดมีบันทึกไม่มากนัก แต่เมื่อจะค้นเรื่องของตัวเอง หลายครั้งก็ยังหาแทบแย่อยู่เลยค่ะ

เห็นทีต้องจัดระบบตัวเองด้วย Tag เสียด้วย......

ขอบคุณ อ.beeman มากค่ะ ที่ทำให้เห็นความสำคัญของการติดป้าย

    ดิฉันขออนุญาต ไปติดป้าย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ก่อนนะคะ  เผื่อว่าคุณเมตตา เธอจะคิดให้มีรางวัลนี้เหมือนกัน อิ อิ

อาจารย์ Beeman ค่ะ

เป็นแนวคิดที่ดีมากค่ะ ส่งเสริมการใช้ป้าย ให้มีประโยชน์ และส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ได้ดียิ่งขึ้นด้วย

ค้นหา ง่าย จัดกลุ่ม ง่าย

ขอบคุณมากค่ะ

ขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมสนับสนุนแนวคิด

  • ความจริงตอนที่เริ่มเขียน...มีความคิดเพียงว่าขอให้สมาชิกมน.ใส่ป้าย "มหาวิทยาลัยนเรศวร" ที่บันทึก..ซึ่งเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย..เพื่อว่าส่วนกลางจะได้ค้นหาได้ง่าย
  • แต่พอเรา "ค้นหา" ด้วย "ป้าย" แล้ว...ระบบให้อะไรมากกว่านั้น..
  • เพิ่งทราบครับว่า..ระบบเขาแยกป้ายเอาไว้เป็นพวกๆ แม้เป็นคำเดียวกันก็ไม่อยู่ด้วยกัน ขึ้นอยู่กับการใส่ของเราในขณะนั้นด้วย..เช่น เราเป็นสมาชิก GotoKnow เราใส่ป้ายนี้ไว้ในประวัติ..แต่เราไม่เคยใส่ไว้ในบันทึกเลย..เวลาเราค้นหา..ก็จะพบคำนี้เฉพาะในประวัติตัวเอง
  • นอกจากจะค้นหาภาพรวมใน GotoKnow แล้ว..ยังพบว่า..เราสามารถค้นเฉพาะบันทึกของเราได้..โดยเพียงเลือกคำหลักของเราที่ท้ายบันทึกใดบันทึกหนึ่ง...เรื่องนั้นๆ ก็จะถูกรวมรวมไว้ครับ
  • ขอบคุณท่านขจิต ที่ลองเข้ามาในบันทึกและตามเข้าไปใน Link นะครับ
  • ได้คุณขจิตเป็นตัวกระตุ้นข้อคิดเห็นแทบทุกครั้งครับ

 

ท่านอาจารย์ Panda ครับ

  • ความจริงเรื่องใส่ Tag นี้ผมก็ใส่สม่ำเสมอครับ..แต่ก่อน มักคิดเรื่องของตัวเองคือ ใส่ป้ายแล้วจะได้ค้นหาบันทึกของเราง่าย
  • แต่พอได้รับมอบหมายให้ดูภาพรวมของบันทึกในมน.เราเลยต้องนำมาประชาสัมพันธ์
  • เข้าใจว่า แต่ก่อนก็มี..การประชาสัมพันธ์โดยท่านอาจารย์จันทวรรณ..โดยท่านอาจารย์ Panda...โดยคุณหมอปารมี และ ฯลฯ
  • แต่ยังไม่ได้ประชาสัมพันธ์การใช้ชื่อมหาวิทยาลัยในคำเต็ม
  • เข้าใจว่าบันทึกนี้ ได้แง่มุมประชาสัมพันธ์ มากกว่าที่คาดคิดไว้แต่ต้น..
  • คือทาง ชุมชน มอ.ตื่นตัวเรื่องการใช้ป้าย "มากกว่า" ชุมชน มน. ครับ
  • ส่วนมมส. คงต้องรอแรงกระตุ้นจากภายในและภายนอกอีกสักระยะหนึ่ง แต่ถ้าเครื่องติดแล้วไปแรงแน่นอนครับ

เรียนท่านอาจารย์มาลินี

  • ปกติท่านอาจารย์มาลินี ก็มีภาระงานมากอยู่แล้ว..จะไม่ค่อยเข้ามาเยี่ยม beeman เท่าไร หรือในทางกลับกัน beeman ก็ไม่ค่อยไปเยี่ยมท่านอาจารย์มาลินีเท่าไร เนื่องจากมีภาระมากขึ้น..และเดี๋ยวนี้ beeman ก็ทำตัวเหมือนเป็นเจ้าของชุมชน NUKM blog ด้วย..
  • บันทึกนี้ จึงโดนใจท่านอาจารย์มาลินี..ซึ่งสามารถอ่านได้ในข้อคิดเห็น..ซึ่งแสดงความสำคัญในการใส่ Tag มากๆ เลย
  • ไม่ทราบว่าบันทึกนี้บันทึกเดียวจะรณรงค์ ได้มากแค่ไหน...
  • คงต้องอาศัยคณะสหเวชฯ...ทำให้ดูเป็นตัวอย่างในมน.แล้วละครับ
  • อย่างน้อยทุกบันทึกที่เกี่ยวกับงาน..ต้องใส่ป้าย มหาวิทยาลัยนเรศวรแล้วละครับ

ช่วงนี้คุณรัตติยา

  • นอกจากจะเขียนบันทึกเก่ง น่าอ่าน และชวนให้ติดตามแล้ว.ยังเป็นบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับ beeman.....
  • อยากให้ คณะวิทย์ฯ มน. มีบุคลากรคุณภาพแบบคุณรัตติยาจังเลย (ไม่ใช่ว่าที่มีอยู่ ไม่มีคุณภาพนะครับ..แต่อยากได้แบบคุณรัตติยา-เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ)
  • ถ้ารักษาระดับการเขียนให้ดี..ผมว่า..อนาคตอันใกล้นี้ ต้องได้รางวัลใดรางวัลหนึ่งจาก สคส.แน่เลย
  • ที่มน. ส่วนมาก beeman ทำงานในระดับของมหาวิทยาลัย ป้าย คำว่า "มหาวิทยาลัย" จะมีมากกว่า "คณะวิทยาศาสตร์" และ "ภาควิชาชีววิทยา"
  • คุณรัตติยา..จะสามารถช่วยส่วนกลาง ในมอ.มากเลยครับ ที่ใส่ป้าย "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์"

คุณมะปรางเปรี้ยว

  • มาเยี่ยม beeman บ่อยๆ แต่ beeman ไม่ค่อยได้ไปเยี่ยม..ลำพังการลงบันทึกและตอบข้อคิดเห็นก็เป็นเรื่องหนักพอสมควรอยู่แล้ว..
  • บางครั้งก็ต้องไปตรวจสอบบันทึกเก่าๆ ว่ามีใครมาให้ข้อคิดเห็นไว้บ้างหรือเปล่า..เนื่องจากระบบปัจจุบัน..จะกระตุ้นให้เราทราบประมาณ ๕ บันทึกล่าสุด
  • แล้วบล็อกของ beeman ก็มีผู้ให้ความสนใจเข้าไปอ่านบันทึกในภาพรวม..ขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่วันละเกิน ๔๐๐ ครั้ง
  • คุณมะปรางเปรี้ยว..สามารถช่วยประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ได้ ทั้งใน..หน่วยงานตัวเอง และหน่วยงานที่มาช่วยอ.จันทวรรณได้นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท