… ความสุขสงบเป็นเรื่องจริง ความโศกเศร้าทุกข์ใจก็เป็นเรื่องจริง มีขึ้นมีลงก็เป็นเรื่องจริง ขอเพียงเป็นชีวิตของตัวเอง ใช้ชีวิตให้ดีไปก็พอแล้ว ชีวิตของคนเราแต่ละคนก็มีปัญหาต่างกันไป…
ไม่มีความเห็น
บทเรียนหลาย ๆ อย่างที่ทำให้ประเทศเล็ก ๆ อย่างไทย ได้เรียนรู้ 1. ความมั่นคงทางด้านอาหาร …เรามีพื้นฐานทางด้านอาหาร การผลิตอาหาร ทำให้มันมั่งคงได้ง่ายที่สุด2. ความมั่นคงทางด้านพลังงาน … พลังงานสะอาด เริ่มทำมาแล้ว แต่ตั้งเร่งต่อยอดและขยายให้ทันใช้3. ความมั่นคงทางการเมืองการปกครอง …no comments.
ไม่มีความเห็น
สาเหตุหนึ่งของความทุกข์ของมนุษย์ ไม่ได้เกิดจากความไม่มี แต่เกิดจากความไม่รู้จักพอ
ไม่มีความเห็น
เมื่อกรรมตามมาทัน ก็ไม่มีอะไรจะยับยั้งได้ นอกจากกรรมด้วยกันคือเมื่ออกุศลกรรมตามทัน ก็ต้องกุศลกรรมที่ยิ่งใหญ่กว่าเท่านั้นที่จะตัดรอนอกุศลกรรมได้ ช่วยให้สวัสดิไปได้ครั้งหนึ่งคราวหนึ่ง
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกวัดบวรนิเวศวิหาร
ไม่มีความเห็น
“รู้ตัวคือรู้อารมณ์”
” .. รู้ตัวนี่หมายความว่า “เรารู้ว่าอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในจิตนี้ ล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยง” เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เราจะไปเอาจริงเอาจังกับความคิดความนึกต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้เลย เพราะมันไม่จีรังยั่งยืน “มีแต่การทำใจสงบลงเป็นหนึ่งให้ได้” อันนี้แหละเป็นสิ่งที่อุ่นใจของเรา
“เมื่อใครทำใจให้สงบลงไปได้แล้ว ผู้นั้นก็ได้รับความอุ่นใจ” ความสงบนี้หมายถึงความอิ่ม ใจมันอิ่มทุกสิ่งทุกอย่าง มันไม่อยากได้อะไรในขณะที่ใจสงบอยู่นั้น.. “
“บุญญาพาชิวิตรอด”หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
ไม่มีความเห็น
“รู้ธรรมเพื่อพ้นทุกข์”
” .. รู้ธรรมะมันต้องรู้อย่างนี้ “คือรู้ในแง่ที่มันพ้นทุกข์” ความรู้นี้เป็นสิ่งสำคัญ รู้เครื่องยนต์กลไก รู้อะไรสารพัดอย่างก็ดีอยู่ แต่ว่ามันไม่เลิศ ธรรมะก็ต้องรู้อย่างนี้เห็นอย่างนี้ ไม่ต้องรู้อะไรมากหรอก ให้รู้เท่านี้ก็พอ
“สำหรับผู้ประพฤติปฏิบัติรู้แล้วก็วาง” ไม่ใช่ว่าตายแล้วจึงจะไม่มีทุกข์นะ “มันไม่มีทุกข์ในเมื่อยังมีชีวิตอยู่ เพราะมันรู้จักแก้ปัญหา” มันรู้จักสมมุติวิมุตตินี้เมื่อเรามีชีวิตอยู่ เมื่อเราประพฤติปฏิบัตินี่เองไม่ใช่เอาที่อื่นหรอก .. “
“ความหลุดพ้น”หลวงปู่ชา สุภัทโท
ไม่มีความเห็น
“ใจมนุษย์ขุดให้ถึง”
” .. “ใจมนุษย์ขุดให้ถึง” ใจคนเราทุกคนเพราะขุดค้นไม่ถึง “เปรียบอุปมาเหมือนน้ำที่มีอยู่ในพื้นแผ่นดินทุกแห่งหน เมื่อคนไม่ขุดค้นลงไปหาน้ำ ก็ไม่ได้รับน้ำฉันนั้น”
ใจมนุษย์ก็เช่นกัน “มันก็มือยู่ในรูปร่างกายนี้ มืผม ขน เล็บ เป็นต้น ตลอดไปทั่วสรรพร่างกาย ให้ดวงจิตดวงนี้กำหนด” ขึ้นมาพิจารณาลงไป ภายนอกมีหนังหุ้มอยู่ทั่วตัว “ภายในหนังหุ้มมีอะไร กำหนดให้ได้ ไม่ให้จิตไปคิดที่อื่น” ให้จิตคิดค้นในตนของตน
“เรื่องของคนอื่นอย่าเอามาคิด” จงเพียรขุดค้นลงไปถึงดวงจิตที่เป็นผู้ค้นอยู่ปัจจุบันนั้น อยู่ที่ไหนก็ให้พินิจคิดค้นอยู่ในดวงจิตนั้น “จนรู้แจ้งเห็นจริงด้วยธรรมจักษุ คือดวงตาญาณแจ่มแจ้งแสงสว่างทางธรรมนี่แหละใจมนุษย์” ขุดให้ได้ทุกคนไป .. “
“ธรรมเมตตา ฉบับที่ ๒๐”(หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
ไม่มีความเห็น
ผลงานจากคน ไม่ว่าเป็นเรื่องกล้วยไม้หรือเรื่องใดต่างก็เปรียบได้ดุจผลไม้แต่ละผล ซึ่งต่างก็มีรูปแบบอยู่บนพื้นฐานตัวเองอย่างอิสระ ซึ่งหากมองที่รูปแบบ บางครั้งเราก็เรียกกันว่า เป็นภาพปลายเหตุ ยิ่งหากภาพที่พบมีโอกาสสะท้อนให้เห็นถึงรากและโคนอย่างชัดเจนด้วย ถ้าตัวเองหลงติดอยู่ ณ ระดับใดก็ตามย่อมส่งผลเสียหายแก่คุณภาพจิตใจ ซึ่งควรมีโอกาสได้รับการพัฒนาไปสู่ความเจริญยิ่งขึ้นในอนาคต จึงใคร่ขอกล่าวย้ำว่า ความเจริญด้วยสติปัญญา ถึงเป็นสิ่งประเสริฐสุดแล้วสำหรับชีวิตเราแต่ละคน (ระพี สาคริก, หอมกลิ่นกล้วยไม้. 2545)
ไม่มีความเห็น
“เราทุกคนพึงหลีกให้พ้นการเป็นมือแห่งกรรมชั่ว ที่จะเหยียบย่ำคนดี และหลีกให้พ้นจากการเป็นมือแห่งกรรมดี ที่จะยกย่องคนชั่ว” เพราะจะเป็นการร่วมสร้างบ้านเมืองของตนให้สิ้นความงดงาม ที่จะเกิดจากกำลังใจของคนดี ที่จะเกิดจากกำลังความสามารถของคนดี
บ้านเมืองจะเต็มไปด้วยความเลวร้าย ที่เกิดจากกำลังใจของคนชั่ว ที่จะเกิดจากกำลังความสามารถของคนชั่ว “พึงรอบคอบในการดูให้รู้จริง ว่าใครดี ใครชั่ว” รอบคอบในการฟังเสียงบอกเล่า จึงจะช่วยประเทศชาติให้สวัสดีได้ และช่วยตนให้พ้นบาปได้ .. “
“แสงส่องใจ วันมหาจักรี”สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวรhttp://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14072
ไม่มีความเห็น
คนที่จิตยังไม่สูงเต็มที่ เมื่อใครเขาด่าว่าอะไรก็มักเก็บไปคิด คนเราโดยมากสำคัญตนว่าเป็นคนฉลาด แต่ชอบกลืนกินอารมณ์ที่ชั่ว อารมณ์ชั่วเปรียบเหมือนกับเศษอาหารที่เขาคายออกแล้ว …การประพฤติปฏิบัติธรรมของนักปราชญ์ ท่านจึงต้องรู้จักเลือกเฟ้นแต่สิ่งที่ดี ท่านไม่ยอมเก็บของเสียมาบริโภคเพราะของเสียนั้นเมื่อบริโภคเข้าไปแล้วก็เกิดพิษเน่าบูดให้โทษแก่ร่างกาย ส่วยของดีเมื่อบริโภคเข้าไปแล้ว ไม่มีโทษมีแต่จะเกิดประโยชน์แก่ร่างกายอย่างเดียว(ธรรมโอวาทของพระอาจารย์ลี ธมมธโร คัดลอดจากหนังสือพระอาจารย์ลี ธมมธโร แนวทางปฏิบัติวิปัสนา-กัมมัฏฐาน 2 พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: ชมรมกัลยาณธรรม, พ.ศ. 2553. หน้า 171-172 (ลานธรรมจักร))http://variety.teenee.com/saladharm/79112.html
การพัฒนาควรเริ่มจากการพัฒนาตัวบุคคลและการพัฒนาตัวบุคคลควรเริ่มจากพัฒนาคุณธรรมเสียก่อน…
ไม่มีความเห็น
ความสงบนั้นมี ๒ อย่าง
“สงบเรื่องสมาธินี่หลง” หลงมาก ๆ เลย สงบเรื่องสมาธินี่คือปราศจากอารมณ์ มันจึงสงบ ไม่มีอารมณ์มันก็สงบ “ก็ติดสุขล่ะทีนี้” แต่เมื่อถูกอารมณ์ก็งอเลย กลัว “กลัวอารมณ์ กลัวสุข กลัวทุกข์ กลัวนินทา กลัวสรรเสริญ กลัวรูป กลัวเสียง กลัวกลิ่น กลัวรส สมาธินี่กลัวหมด”ความสงบของปัญญานั้น” เมื่อจิตสงบแล้ว “ไม่กลัวรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และไม่กลัวธรรมารมณ์” ไม่กลัว “กระทบมันเดี๋ยวนี้ รู้มันเดี๋ยวนี้” กระทบมันเดี๋ยวนี้ ทิ้งมันเดี๋ยวนี้ กระทบมันเดี๋ยวนี้ วางมันเดี๋ยวนี้ “เรื่องสงบของปัญญาเป็นอย่างนี้”
“๘๔ พระธรรมเทศนา”หลวงปู่ชา สุภัทฺโท
อันนี้เป็นแบบเต็มครับ ที่ผมยกมาเป็นอนุทินเพื่อ เตือนตนเองครับ
“ความสงบนั้นมี ๒ อย่าง”
“สงบเรื่องสมาธินี่หลง” หลงมาก ๆ เลย สงบเรื่องสมาธินี่คือปราศจากอารมณ์ มันจึงสงบ ไม่มีอารมณ์มันก็สงบ “ก็ติดสุขล่ะทีนี้” แต่เมื่อถูกอารมณ์ก็งอเลย กลัว “กลัวอารมณ์ กลัวสุข กลัวทุกข์ กลัวนินทา กลัวสรรเสริญ กลัวรูป กลัวเสียง กลัวกลิ่น กลัวรส สมาธินี่กลัวหมด”
ถึงได้ไม่อยากออกมากับเขา “ถ้าคนที่มีสมาธิแบบนี้ อยู่แต่ในถ้ำนั่น” เสวยสุขอยู่ไม่อยากออกมา ที่ไหนมันสงบก็ไปซุกไปซ่อนอยู่อย่างนั้น “ทุกข์มากนะสมาธิแบบนี้” ออกมาอยู่กับผู้อื่นเขาไม่ได้ มาดูรูปไม่ได้ ได้ยินเสียงไม่ได้ มารับอะไรไม่ได้ ต้องไปอยู่เงียบ ๆ อย่างนั้น ไม่ต้องให้ใครเขาไปพูดไปจา สถานที่ต้องสงบ
“สงบอย่างนี้ใช้ไม่ได้” สงบขั้นนั้นแล้วให้เลิก ถอนออกมา พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้บอกให้ทำอย่างนั้น ถ้าทำอย่างนั้นแล้วให้เลิก ถ้ามันสงบแล้ว เอามาพิจารณา เอาตัวสงบมาพิจารณา เอามาต่อกับอารมณ์
“เอามาพิจารณา รูปก็ดี เสียงก็ดี กลิ่นก็ดี รสก็ดี โผฏฐัพพะพวกนี้ ธรรมารมณ์พวกนี้” เอาออกมาเสียก่อน เอาตัวความสงบนั้นมาพิจารณา เป็นต้นว่า “มาพิจารณาเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ” อะไรต่างๆ เหล่านี้ พิจารณา “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”
พิจารณาโลกทั้งสิ้นทั้งปวงนี่เอง เอามาพิจารณาแล้วถึงคราวให้สงบก็นั่งสมาธิให้สงบเข้าไป แล้วก็มาพิจารณา “ให้มาหัดให้มาฟอก เอามาต่อสู้” มีความรู้แล้วเอามาต่อสู้ เอามาฝึกหัด เอามาทำ เพราะไปอยู่ในนั้นไม่รู้จักอะไรหรอก นั่น “มันไปสงบจิตเฉย ๆ เอามาพิจารณา ข้างนอกก็สงบเข้าไปเรื่อย ๆ ถึงข้างใน” จนมันเกิดความสงบอย่างยกใหญ่ของมัน
“ความสงบของปัญญานั้น” เมื่อจิตสงบแล้ว “ไม่กลัวรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และไม่กลัวธรรมารมณ์” ไม่กลัว “กระทบมันเดี๋ยวนี้ รู้มันเดี๋ยวนี้” กระทบมันเดี๋ยวนี้ ทิ้งมันเดี๋ยวนี้ กระทบมันเดี๋ยวนี้ วางมันเดี๋ยวนี้ “เรื่องสงบของปัญญาเป็นอย่างนี้” .. “
โกรธกับความผูกโกรธเราเมื่อสมัยก่อน ความโกรธนี้มันมีอยู่ในใจของเรา “เมื่อเราโกรธให้คนหนึ่ง โกรธแล้วก็ผูกโกรธไว้ พรุ่งนี้ก็ผูก ๆ ไว้ทั้งปีทั้งชาติ” ปกติของคนนั้น “เมื่อโกรธแล้วก็ผูกโกรธไว้” มีอยู่สองอย่างอย่างนี้
ถ้าเรามาเรียนรู้ความโกรธในใจของเราแล้วพยายามให้เห็นเข้า ๆ “เห็นความโกรธและก็เห็นความไม่เที่ยงของมันเกิดขึ้นในใจ” โกรธนั้นมันก็หายไป “เรียกว่าไม่ผูกโกรธไว้” ต่อไปมันก็เหลือแต่โกรธที่จะผูกโกรธไว้ไม่มี โกรธแต่ไม่ผูกโกรธไว้ แล้วหายไปเดี๋ยวนี้ ไม่ได้ผูกไว้
“เมื่อก่อนนี้นอนอยู่ตั้งคืนสองคืนก็ไม่หลับเพราะมันผูกโกรธไว้” นี่กิเลสของเรามันมีปัญหาอย่างนี้ ถ้าเรามีปัญญา “เมื่อมันโกรธขึ้นมาแล้วเราก็รู้ว่า เออ .. อันนี้เป็นภัยไม่ดี” มันก็เบา ผูกโกรธไว้ไม่ได้ “เมื่อไม่ผูกโกรธไว้ถึงโกรธมันก็โกรธไม่นาน” เดี๋ยวก็หายไป
นาน ๆ ไปโกรธแล้วมันก็หาย ๆ เรื่อยไป เพราะมันไม่ผูกโกรธและเมื่อจิตเราสูงแล้ว พอมันโกรธมันก็หายไปเลย นี้คือการรู้เท่า “เมื่อรู้เท่ามันก็หายไปเท่านั้น จิตต้องเห็นอย่างนั้น” .. “
“สุภัททานุสรณ์์”พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท)
ห่างหายไปนาน อยู่ที่พัก เก็บตัวเพื่อชาติ มีเวลามากขึ้น ย้อนดูบันทึกเก่าๆ ตั้งใจจะเริ่มใหม่
ไม่มีความเห็น
ชีวิตที่มีความสงบ ความสุข ไม่ใช่ชีวิตที่ปราศจากทุกข์ แต่เป็นชีวิตที่เราสามารถจัดการกับความทุกข์ที่มากระทบกับจิตใจของเราได้ต่างหาก เพราะถ้าหากปราศจากทุกข์เราก็จะไม่รู้ถึงความสุขได้เช่นกัน
ไม่มีความเห็น
การดำเนินชีวิตไม่ต่างจากการเดินทาง ที่ต้องทนต่อความเหนื่อย ความร้อน เจอแดด ฝนจาการเดินทาง หากไม่มีที่กำบังก็ต้องทำใจให้สงบ ยอมรับมันตามสภาพความเป็นจริง ดีกว่าที่จะเดินไปบ่นไป ซึ่งทำให้จิตใจมีความทุกข์เพิ่มขึ้นไปเพิ่มความทุกข์ของร่างกาย
ไม่มีความเห็น
ครูไทยไม่โกง (กลอนขวัญวันครู)
ครู.......คือราก แก้วหลัก ปักสังคม
ไทย.....นิยม ไหว้เซ่น เป็นส่วนใหญ่
ไม่.......มีอา ชีพใด อื่นเทียมได้
โกง....หรือไม่ วันครู ควรตรองดู
อันว่าโกง มีได้ หลายรูปแบบ
โกงอีแอบ มุมอับ ลับตาหู
โกงซึ่งหน้า ด้านไป ไม่อยากดู
โกงสุดกู่ ครูโกง จิตวิญญาณ
ค่าของครู อยู่ที่ ความมุ่งมั่น
รักการเรียน เพียรหมั่น ให้แตกฉาน
ซึ่งความคิด ความรู้ วิชาการ
ความดีเก่ง เบ่งบาน หมั่นฝึกปรือ
อย่าให้คน เขาว่า ด่ากันลั่น
อะไรกัน ครูเป็น เช่นนี้หรือ
ไม่ค่อยสอน ทำตัว ดังกิ้งกือ
ยักยึกยือ ร้อยขา วิ่งหากิน
ครู.... ถ้าทำหน้าที่ เถรตรง
ไทย..ทั่วทิศเค้าคง ยกย่อง
ไม่...ขายค้าของขง นายหน้า
โกง..เวลาเสพส้อง ต้องเลิก นะครู
...ฟันธง เฟืองไทย (๑๖ มค. ๒๕๕๖)
" กล้วยไม้ .... มีดอกช้า ฉันใด
การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น
แต่ออกดอกคราวใด งานเด่น
งานสั่งสอนปลูกปั่น เสร็จแล้วแสนงาม "