อนุทิน 168177


ภูคา
เขียนเมื่อ

โกรธกับความผูกโกรธเราเมื่อสมัยก่อน ความโกรธนี้มันมีอยู่ในใจของเรา “เมื่อเราโกรธให้คนหนึ่ง โกรธแล้วก็ผูกโกรธไว้ พรุ่งนี้ก็ผูก ๆ ไว้ทั้งปีทั้งชาติ” ปกติของคนนั้น “เมื่อโกรธแล้วก็ผูกโกรธไว้” มีอยู่สองอย่างอย่างนี้

ถ้าเรามาเรียนรู้ความโกรธในใจของเราแล้วพยายามให้เห็นเข้า ๆ “เห็นความโกรธและก็เห็นความไม่เที่ยงของมันเกิดขึ้นในใจ” โกรธนั้นมันก็หายไป “เรียกว่าไม่ผูกโกรธไว้” ต่อไปมันก็เหลือแต่โกรธที่จะผูกโกรธไว้ไม่มี โกรธแต่ไม่ผูกโกรธไว้ แล้วหายไปเดี๋ยวนี้ ไม่ได้ผูกไว้

“เมื่อก่อนนี้นอนอยู่ตั้งคืนสองคืนก็ไม่หลับเพราะมันผูกโกรธไว้” นี่กิเลสของเรามันมีปัญหาอย่างนี้ ถ้าเรามีปัญญา “เมื่อมันโกรธขึ้นมาแล้วเราก็รู้ว่า เออ .. อันนี้เป็นภัยไม่ดี” มันก็เบา ผูกโกรธไว้ไม่ได้ “เมื่อไม่ผูกโกรธไว้ถึงโกรธมันก็โกรธไม่นาน” เดี๋ยวก็หายไป

นาน ๆ ไปโกรธแล้วมันก็หาย ๆ เรื่อยไป เพราะมันไม่ผูกโกรธและเมื่อจิตเราสูงแล้ว พอมันโกรธมันก็หายไปเลย นี้คือการรู้เท่า “เมื่อรู้เท่ามันก็หายไปเท่านั้น จิตต้องเห็นอย่างนั้น” .. “

“สุภัททานุสรณ์์”พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท)



ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท