ดอกไม้


ณัฏฐวุฒิ แป้นปลื้ม
เขียนเมื่อ



วันที่ 3 ก.ย. พ.ศ. 2558 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้จัดเสวนาวิชาการ เวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 20 ในหัวข้อ " อาชีวศึกษา สร้างคน พัฒนาชาติ "

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชกล่าวในการเสวนาว่า

" การจะสร้างค่านิยมให้เด็กหันมาสนใจเรียนอาชีวะมากขึ้นนั้น อาชีวะของไทยต้องการเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงโครงสร้างและเชิงวัฒนธรรม ต้องทำให้ทั้งครูและนักเรียนรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง ซึ่งการที่เด็กอาชีวะยังมีภาพของนักเลงเพราะมีพลังเยอะ เราจึงต้องหาทางให้เด็กอาชีวะได้มีเวทีปล่อยพลังในทางสร้างสรรค์ ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกภาคภูมิใจ และเปลี่ยนจากเกเรมาเป็นการใช้พลังทำประโยชน์ให้แก่สังคม "

อ้างอิง saowalak 01 05/09/2556. แนะหาเวทีให้เด็กอาชีวะปล่อยพลัง (ออนไลน์) แหล่งที่มา : http://www.qlf.or.th/Home/Contents/745

6
2
เบญจวรรณ รวดเร็ว
เขียนเมื่อ

ครูประณีตฯ สะท้อนความ ประณีตครู...

"วิมลศรี ศุษิลวรณ์" หรือ ครูใหม่ ครูสอนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเพลินพัฒนา เป็นผู้หนึ่งที่ได้หยิบยกเนื้อหาจากหนังสือครูประณีตฯ มาใช้กับการเรียนการสอน รวมถึงการทำหน้าที่ครูของตนเอง ถึงแม้เป็นประสบการณ์จากครูฝรั่ง แต่ครูใหม่ก็ปรับให้สอนคล้องกับบริบทของไทยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น ผ่านหนังสือ"คู่คิด ครูเพลิน"

หากเปรียบการทำหน้าที่ครู เหมือนการเย็บผ้า ขณะที่ครูส่วนใหญ่ใช้วิธีการเนาเพื่อทำให้เห็นเค้าโครง แต่ ครูลูแอนน์ เป็นการเย็บด้วยจักรที่มีความละเอียด พร้อมทั้งมีกระดุม ติดตะขอเพื่อเกาะเกี่ยวรูรั่วอย่างมิดชิด ครูประณีตฯ เป็นการทำให้เห็นภาพความเป็นครูได้ชัดเจน จากเดิมที่เห็นแต่ภาพกว้าง มีเพียงจิตใจที่ต้องการเป็นครูที่ดี ซึ่งจริงๆ แล้วยังไม่เพียงพอ สิ่งไหนที่ควรเพิ่มเติม สิ่งไหนที่อาจละเลยหรือไม่ได้คิดถึง ได้ถูกถ่ายทอดเอาไว้ในหนังสือ"

จากเดิมที่มีวิธีการสอนในแบบเพลินพัฒนาอยู่ชุดหนึ่ง แต่พอได้อ่านครูประณีตฯ ก็ได้เห็นรูปแบบการสอนของครูอเมริกาอีกชุดหนึ่ง แต่ทั้งสองชุดต่างก็มีความคล้ายกันที่ มุ่งให้การเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิภาพ และข้อแนะนำหลายอย่างในครูประณีตฯ ก็เป็นสิ่งที่ตนเองและครูในโรงเรียนเพลินพัฒนาปฏิบัติกันอยู่บ้างแล้ว แต่เมื่อได้อ่านจากหนังสือ ก็ยิ่งทำให้มีความประณีตกับสิ่งที่ทำมากขึ้น

ที่มา ผู้ดูแลระบบ สสค. 2558. ครูประณีตฯ สะท้อนความ ประณีตครู...(ออนไลน์) แหล่งที่มา http://www.qlf.or.th/Home/Contents/950

3
0
สุภาวดี พัฒกรด
เขียนเมื่อ

โรงเรียนต้นแบบศูนย์เรียนรู้สิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียรติ

โครงการเด่นด้านส่งเสริมทักษะชีวิต

โรงเรียนต้นแบบศูนย์เรียนรู้สิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียรติ – ด้วยความหวังจะสร้างองค์ความรู้จากการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้สิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียรติ โรงเรียนกุดบากพัฒนาศึกษา จ.สกลนคร จึงจัดทำโครงการนี้ โดยการแปลงองค์ความรู้ที่ได้มาเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนท้องถิ่น ที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติจาก 4 ฐานการเรียนรู้ คือ 1. ฐานเรียนรู้เกษตรผสมผสาน มีทั้งการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ผลิตอาหารสัตว์ และการแปรรูปผลผลิต 2. ฐานเรียนรู้ด้านพลังงาน จัดทำเตาเผาถ่านน้ำส้มควันไม้ แล้วนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ในการเกษตรต่อไป 3. ฐานเรียนรู้ขยะรีไซเคิล ให้เด็กๆช่วยกันเก็บขยะในโรงเรียนที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่อไปขายแล้วนำเงินที่ได้มาหมุนเวียนภายในโครงการ กิจกรรมนี้ทำให้เด็กๆได้เห็นคุณค่าและรู้จักใช้ของอย่างคุ้มค่ามากที่สุด 4. ฐานเรียนรู้น้ำและการส่งเสริมสุขภาพ ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ การจัดระบบน้ำทิ้งในโรงอาหารให้กลับมาใช้รดน้ำต้นไม้ได้ และการรักษาห้องน้ำของโรงเรียนให้สะอาดอยู่เสมอ

ที่มา : ผู้ดูแลระบบ สสค. 2558. โรงเรียนต้นแบบศูนย์เรียนรู้สิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียรติ(ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.qlf.or.th/Home/Contents/661. 12 มิถุนายน 2556.


4
2
อรวี ทองมาก
เขียนเมื่อ

ป๋วยทอล์ค#2

เปิดเวทีแลกเปลี่ยนทัศนะการศึกษา สานอุดมคติ-รำลึก 100 ปีชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

คณะกรรมการโครงการเตรียมงานรำลึก 100 ปีชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ร่วมกับมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) มูลนิธิโกมลคีมทอง Econ Kids, HUBBAThailand, Ma:D ฯลฯ จัดงาน "ป๋วยทอล์ค#2" ภายใต้หัวข้อ "โจทย์ใหม่? : ทัศนะว่าด้วยการศึกษา" เพื่อรำลึก 100 ปีชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในวันที่ 28 มีนาคม 2558 เวลา 13.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ปทุมวัน กทม.

นายประวิทย์ เยี่ยมแสนสุข รองประธานกรรมการบริหารมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป กล่าวว่า จัดงาน "ป๋วยทอล์ค#2" ขึ้นเพื่อสืบสานอุดมคติของ ศ.ดร.ป๋วย ที่มุ่งส่งเสริมความดี ความงาม ความจริง อันเป็นคุณค่าสำคัญต่อการพัฒนาสังคมและพัฒนาประเทศ โดยกำหนดหัวข้อว่า "โจทย์ใหม่? : ทัศนะว่าด้วยการศึกษา" ซึ่งท่านให้ความสำคัญกับการศึกษา เพราะเชื่อว่าเป็นหนทางในการแก้ไขปัญหาสังคม หรือการพัฒนาประเทศให้ลุล่วงจำเป็นต้องลงทุนพัฒนาคน ทุกคนจึงควรได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม การจัดงานครั้งนี้ จึงเป็นการเปิดพื้นที่และเวทีทางความคิดให้คนรุ่นใหม่ และผู้ที่รักและเคารพใน ศ.ดร.ป๋วย มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ตรง เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้เกิดแรงบันดาลใจและร่วมสืบสานอุดมคติของศ.ดร.ป๋วย

ที่มา : ผู้ดูแลลระบบ สสค. 2558 . ป๋วยทอล์ค#2 (ออนไลน์) . แหล่งที่มา: http://www.qlf.or.th/Home/Contents/1007 . 20 มีนาคม 2558.

4
2
ทิพวรรณ จันทร์ศรี
เขียนเมื่อ

ฝึกอบรมการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยการเรียนรู้บูรณาการผ่านพันธุ์พืช

โครงการเด่นด้านพัฒนาทักษะการคิด

8. ฝึกอบรมการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยการเรียนรู้บูรณาการผ่านพันธุ์พืช

โครงการฝึกอบรมการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยการเรียนรู้บูรณาการผ่านพันธุ์พืช เป็นโครงการร่วมระหว่างโรงเรียนปิยชาติพัฒนาในพระราชูปถัมภ์ จ.นครนายก และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 23 จ.พิษณุโลก ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) โดยใช้ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นกรณีศึกษา เพื่อหาทางให้นักเรียนได้ช่วยกันศึกษาและนำมาทดลองเพาะเนื้อเยื่อ ติดตามการเจริญเติบโตของพืชชนิดนี้ และปลูกจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติไปด้วย

โครงการนี้วัดผลจาก 3 ด้าน คือ 1.การเขียนสะท้อนความคิดในเว็บบล็อก 2.ชิ้นงานของนักเรียน และ 3.บันทึกครู โดยในการทำงานครูให้เด็กๆคิดอย่างอิสระ ไม่จำเป็นต้องเป็นการทดลองวิทยาศาสตร์เท่านั้น จะทำแบบ ICT วาดภาพ หรือการจัดการธุรกิจก็ได้ และแนะเด็กให้มองว่าต้องการเรียนรู้อะไรและจะหยิบอะไรจากหม้อข้าวหม้อแกงลิงมาใช้ประโยชน์ได้บ้าง ผลปรากฏว่า เกิดโครงการในการหาวิธีการเพาะเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลากหลาย

ที่มา : ผู้ดูแลระบบ สสค. 2558. ฝึกอบรมการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยการเรียนรู้บูรณาการผ่านพันธุ์พืช(ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.qlf.or.th/Home/Contents/649. 5 มิถุนายน 2556.

3
2
สาธิตา เถาทอง
เขียนเมื่อ

Qwiki สารานุกรมออนไลน์พูดได้สุดอเมซิ่ง

เว็บไซต์นี้การันตีว่าจะทำให้คุณได้รับประสบการณ์ใหม่จากการเสพข้อมูล (information experience) อันซับซ้อนบนสารานุกรมออนไลน์อย่างวิกิพีเดียด้วย ภาพ วิดีโอ และเสียงที่สอดคล้องกับเนื้อหาดูเนื้อหาแบบละเอียดได้นั่นก็เพราะ จุดเด่นของ qwiki คือ การทำให้ข้อมูลทั้งหมดบนหน้าเพจวิกิพีเดียมีชีวิต และจับต้องได้ กล่าวคือ เปลี่ยนตัวอักษรเป็นเสียงอ่านด้วยเทคโนโลยี Text-to-speech เปลี่ยนข้อมูลตัวเลขทางสถิติเป็นกราฟเคลื่อนไหวได้และเปลี่ยนชื่อตำแหน่งสถานที่เป็นแผนที่ออนไลน์

เปรียบเทียบหน้าตาเว็บของวิกิพีเดียและควิกกี้ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจเนื้อหาได้อย่างถึงแก่นมากที่สุดในเวลาอันสั้นที่สุดอันที่จริงข้อมูลใน Qwiki มีการดึงจากเว็บไซต์เก็บข้อมูลที่พร้อมเผยแพร่ต่อสาธารณะชนได้ อาทิ เนื้อหาหลักจากวิกิพีเดียเอง ข้อความจากกูเกิล ภาพสวยๆ จากเว็บฟลิกเกอร์ (Flickr.com) และคลิปวิดีโอจากยูทูบ (Youtube.com) ส่งต่อ/แปะโค้ดเนื้อหาจากควิกกี้ได้ทุกที่ในไซเบอร์สเปซหลังจากดูเนื้อหาจนจบคุณสามารถส่งลิงก์ Qwiki ของคำศัพท์ต่างๆ ให้เพื่อนได้หลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น เฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ อีเมล์ หรือทำการคัดลอกโค้ดเพื่อนำกรอบ Qwiki ไปที่บล็อกได้

ที่มา ผู้ดูแลระบบ สสค. 2558. Qwiki สารานุกรมพูดได้สุดอเมซิ่ง . (ออนไลน์) . แหล่งที่มา

http://www.qlf.or.th/Home/Contents/126 . สืบค้นวันที่ 23 มีนาคม 2558.


5
0
aekkachai saengsuwan
เขียนเมื่อ

เรื่อง นักภาษาไทยชำแหละปัญหาเด็กไทยอ่านไม่ออก ชี้ครูเป็นต้นเหตุสอนผิดวิธี

เนื่องในวันภาษาไทยที่ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี โดย รศ.ปิตินันธ์ สุทธสาร ฝ่ายวิชาการราชบัณฑิตยสถาน และผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นประจำปี 2557 กล่าวว่า ปัญหาเด็กอ่านไม่ออกถ้าวิเคราะห์ดูแล้วคนที่เป็นต้นเหตุของปัญหาคือครู การสอนของครูในปัจจุบันสอนอย่างสะเปะสะปะจนทำให้เด็กอ่านไม่ออกและสับสน

รศ.ปิตินันธ์ กล่าวว่า การอ่านสะกดคำ เป็นการอ่านสะกดโดยการออกเสียงเริ่มจากเสียงพยัญชนะต้น ตามด้วยเสียงสระ ตัวสะกด และวรรณยุกต์ เช่นคำว่า "เรือ" อ่านว่า รอ-เอือ เรือ ส่วนการสอนเขียนสะกดคำ จะเน้นรูปร่างตัวพยัญชนะหรือสระที่ปรากฎ เช่นคำว่า "เรือ" สะกดว่า สระเอ รอ-เรือ สระอือ ออ-อ่าง เป็นต้น แต่ที่เด็กสับสนเพราะครูไปสะกดการเขียนให้เด็กอ่าน เช่นคำว่า "เรียน" หากครูสอนว่า สระเอ-รอ-สระอี-ยอ-นอ เด็กจะอ่านไม่ออกทันที ต้องสอนว่า รอ-เอีย-นอ อ่านว่า เรียน เด็กถึงจะอ่านได้ ครูจึงต้องรู้จักวิธีสอนที่หลากหลายโดยวิธีเอามาผสมผสานกัน ไม่มีวิธีไหนเป็นสูตรสำเร็จตายตัว สิ่งสำคัญคือครูต้องฝึกให้เด็กอ่านเขียนสม่ำเสมอ เพราะวิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่เน้นทักษะ เด็กจะอ่านเขียนออกหรือไม่จึงอยู่ที่ครูในทุกวิชาต้องช่วยกันเพื่อให้ภาษาไทยเข้มแข็งขึ้น และตามด้วยผู้ปกครองในการส่งเสริมเด็กมากน้องเพียงใด

ที่มา : ผู้ดูแลระบบ สสค. 2558. นักภาษาไทยชำแหละปัญหาเด็กไทยอ่านไม่ออก ชี้ครูเป็นต้นเหตุสอนผิดวิธี

(ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.qlf.or.th/Home/Contents/895. 29 กรกฎาคม 2557.

5
0
ปรัชญาณี พัฒนศิลป์
เขียนเมื่อ

รักการอ่านฐานสังคมเรียนรู้
การจะปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผลจำเป็นต้องส่งเสริมให้เด็กไทยมีนิสัยรักการอ่านควบคู่ไปกับการค้นคว้าด้วยตัวเองในการส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ก็ไม่อาจเดินลัดขั้นตอนไปจากการส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการอ่านได้จากความเข้าใจต่อสถานการณ์ที่กำลังเป็นอยู่ และด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่านิสัยรักการอ่านคือรากฐานแห่งสังคมการเรียนรู้
คนไทยอ่านน้อยเพราะอะไรสถิติการอ่านหนังสือล่าสุด พบว่าคนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 2 เล่มในขณะที่คนเวียดนามอ่านปีละ 60 เล่ม และสิงคโปร์อ่าน 45 เล่ม ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับคนไทยคำถามหนึ่งที่ตามมาก็คือทำไมคนไทยจึงอ่านน้อย

ข้อเสนอในการสร้าง "วัฒนธรรมรักการอ่าน"

เพื่อให้การอ่านเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยทุกวัย จึงมีแนวทางดังนี้

1. ขับเคลื่อนให้เกิดระบบสร้างสังคมการอ่าน 4 ระบบย่อยได้แก่

1) ระบบสาธารณสุขใช้ การอ่าน เป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการช่วยส่งเสรมิพัฒนาการลูก

2) ระบบสวัสดิการทางสังคมนำ การอ่านเข้าไปสู่หน่วยบริการทุกจุด เพื่อช่วยในการปรับพฤติกรรมและพัฒนาสมอง

3) ระบบการศึกษา ศูนย์เด็กเล็กและสถานศึกษาทุกระดับส่งเสริมให้การอ่านเป็นกิจกรรมที่เพลิดเพลินมีความสุขและเป็นทักษะพื้นฐานของชีวิตที่จะนำไปสู่การสร้างกระบวนการเรียนรู้

4) ระบบสื่อสร้างสรรค์พัฒนาระบบหนังสือและกระบวนการสื่อสารสังคมให้เกิดวัฒนธรรมการอ่านตลอดชีวิต

2. ขับเคลื่อนให้เกิดวัฒนธรรมรักการอ่านในทุกชุมชนโดยองค์กรส่งเสริมเรื่องการอ่าน นับตั้งแต่ระดับเด็กปฐมวัยไปจนตลอดชีวิต

อ้างอิง:สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณภาพเยาวชน. รักการอ่านฐานสังคมเรียนรู้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.qlf.or.th/Home/Contents/909. (23 มีนาคม 2558), 2558.

4
2
นิลาวัลย์ ทิพย์รวย
เขียนเมื่อ

อันดับด้านการศึกษาไทยในเวทีโลกและอาเซียน ปี 2556

เวิลด์อีโคโนมิคฟอรั่ม ( World Economic Forum : WEF) ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันนานาชาติ (Global Competiveness Index : GCI) ฉบับล่าสุด ปี 2556 การจัดอันดับภาพรวมปี 2556 ของไทยอยู่ในอันดับที่ 37 จาก 148 ประเทศ ซึ่งดีขึ้นจากปี 2555 ที่อยู่อันดับที่ 38 จาก 144 ประเทศ

จากการวิเคราะห์อันดับภาพรวมประเทศในกลุ่มอาเซียน โดย WEF ในระยะ 8 ปีถึงปัจจุบัน พบว่า อันดับรวมของกัมพูชาสูงขึ้นมา 23 อันดับ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์สูงขึ้น 19 อันดับ มาเลเซียและไทยอันดับถดถอย 4 และ 5 อันดับ ตามลำดับ

ในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันนั้น WEF พิจารณาจาก 3 หมวดได้แก่

1. ปัจจัยพื้นฐาน ประกอบด้วย สถาบันด้านเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจมหภาค สุขภาพและการศึกษาขั้นพื้นฐาน เหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ ในหมวดนี้ไทยได้อันดับที่ 49

2. ปัจจัยยกระดับประสิทธิภาพ หมายถึง สิ่งต่างๆที่จะช่วยให้กิจการก้าวหน้า อันรวมถึงการศึกษาขั้นสูงและการฝึกอบรม ขนาดของตลาด ประสิทธิภาพของตลาดสินค้า ตลาดแรงงาน ตลาดการเงิน ความพร้อมด้านเทคโนโลยี ในหมวดนี้ไทยได้อันดับที่ 40

3. ปัจจัยนวัตกรรมและศักยภาพทางธุรกิจ หมายถึง ส่วนที่จะขับส่งให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอีก หมวดนี้ไทยได้อันดับที่ 52

อ้างอิง:

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณภาพเยาวชน. "อันดับด้านการศึกษาไทยในเวทีโลกและอาเซียน ปี 2556." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.qlf.or.th/Home/Contents/749. (23 มีนาคม 2558), 2558.

3
0
ณัฐวรรณ ชัยวิชิต
เขียนเมื่อ

ลูกอยุธยาค้นหา Unseen ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โครงการของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย จากประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์และการถ่ายทำวีดีโอ ของโรงเรียนที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ทำให้ครูและนักเรียนโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยร่วมกันทำโครงการลูกอยุธยาค้นหา Unseen ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้ค้นหา ศึกษา สร้างประสบการณ์ในการทำงาน และเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่ Unseen ของจังหวัด ซึ่งมีทั้งสิ้น 16 อำเภอ ให้เป็นที่รู้จัก เกิดความรัก และความภูมิใจในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เริ่มจากการเปิดค่ายและลงพื้นที่ด้วยการเรียนรู้เรื่องการเขียนบท สตอรี่บอร์ด และการตัดต่อ อีกทั้งให้นักเรียนจับกลุ่มตามอำเภอบ้านเกิดของตนเอง หรือตามความสนใจ กลุ่มละประมาณ 5-6 คน ร่วมกันทำงาน ร่วมกันคิดและลงมือทำผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและลงมติ เพื่อเปิดกระบวนการคิดของเด็กๆ โดยมีครูที่ปรึกษาประจำอำเภอ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักเรียน

เมื่อลงพื้นที่เพื่อสำรวจก่อนที่จะถ่ายจริงแต่ละกลุ่มต้องจับประเด็นในการนำเสนอจนชัด จึงค่อยๆแปลความคิดเหล่านั้นออกมาเป็นภาพ สตอรี่บอร์ดและโครงบทที่มีลำดับการเล่าเรื่องที่ชัดเจน ทั้งหมดนี้ต้องใช้เทคนิคการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์

เมื่อถ่ายทำเสร็จ เด็กๆต้องใช้ทักษะการตัดต่อเพื่อนำเสนอออกมาน่าสนใจเริ่มด้วยบรรยากาศผ่อนคลายด้วยกิจกรรมนันทนาการ สานสัมพันธ์ ก่อนจะเปิดหนังสั้น 16 อำเภอ เมื่อแต่ละคนได้ชมผลงานของเพื่อนต่างกลุ่มก็จะประเมินได้ว่าผลงานของกลุ่มตนเองเป็นอย่างไรเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประเมินผลเชิงบวก

อ้างอิง : ireadyweb ireadyweb. 12/06/2556. ลูกอยุธยาค้นหา Unseen ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.(ออนไลน์) แหล่งที่มา http://www.qlf.or.th/Home/Contents/661 (23/03/2558).

2
0
ภัคจิรา เพชรกรด
เขียนเมื่อ

เปิดคู่แฝดความเหลื่อมล้ำ "คุณภาพการศึกษา-เศรษฐกิจ" พบเด็กไทยเกือบครึ่งประเทศสอบตก วิชาคณิตศาสตร์ เป็นสัดส่วนเดียวกับครัวเรืดอนยากจนครึ่งประเทศ ชี้แก้ปัญหาคุณภาพเด็กไทยต้องแก้ให้ลึกถึงรากของปัญหา การสอนในโรงเรียนต้องเตรียมพร้อมเด็ก 60% ก่อนออกสู่ตลาดแรงงาน

"ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางคุณภาพการศึกษากลายเป็นกลุ่มคนที่เผชิญกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ โดยมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นปัญหาที่ซ้อนทับกันอยู่ หรือเรียกว่าเป็น "คู่แฝดความเหลื่อมล้ำทั้งคุณภาพการศึกษาและเศรษฐกิจดังนั้นการแก้ปัญหาคุณภาพเด็กไทยจึงต้องแก้ให้ลึกถึงรากของปัญหาทั้งความเหลื่อมล้ำของคุณภาพการศึกษาโดยมีมาตรการที่ไม่ให้ความยากจนเป็นอุปสรรคของโอกาสทางการศึกษา"นพ.สุภกร นอกจากนี้พบว่า ในจำนวนเด็กที่เกิดในรุ่นเดียวกันในแต่ละปี มีถึง 60% ที่ยุติการศึกษาในระดับม.6/ปวช.หรือต่ำกว่า มีเพียง 40% เท่านั้นที่ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เมื่อเด็กส่วนใหญ่ไปไม่ถึงอุดมศึกษา ในขณะที่หลักสูตรการจัดการศึกษามุ่งสอนเพื่อเตรียมเด็กเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย คำถามที่ตามมาคือการสอนในรั้วโรงเรียนได้เตรียมความพร้อมแก่เด็กส่วนใหญ่ของประเทศกว่า 60% ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานไว้อย่างไร ในขณะที่การเลือกเรียนสายอาชีวะของประเทศไทยซึ่งเป็นความต้องการของตลาดแรงงานก็ยังไม่เป็นที่นิยม ที่สำคัญเด็กที่เลือกเรียนสายอาชีวศึกษาก็เลือกเรียนสายบัญชี ธุรกิจ ซึ่งไม่ใช่ความต้องการของตลาดแรงงานที่ต้องการสายช่างเทคนิค และโจทย์สำคัญคือ ลักษณะแรงงานไทย 60% เป็นแรงงานนอกระบบที่ไม่มีนายจ้างหรือสวัสดิการใดๆ ซึ่งสสค.กำลังพัฒนาการทำงานร่วมกับจังหวัดเชิงพื้นที่เพื่อให้เกิดระบบข้อมูลความต้องการของตลาดแรงงานร่วมกับภาคธุรกิจ เพื่อนำมาปรับหลักสูตรในโรงเรียนให้ตอบสนองกับตลาดแรงงานในท้องถิ่น รวมถึงการศึกษาในระบบต้องผลิตครูแนะแนวเพื่อดูแลให้คำปรึกษาในเรื่องพฤติกรรมเพื่อป้องกันการหลุดออกจากระบบและการแนะนำอาชีพต่อไป


อ้างอิง : ผู้ดูแลระบบ สสค. 2558. เปิดคู่แฝดความเหลื่อมล้ำ "คุณภาพการศึกษา-เศรษฐกิจ"(ออนไลน์).

แหล่งที่มา : http://www.qlf.or.th/Home/Contents/998.23 มีนาคม 2558.

2
0
ชิดชนก มีแก้ว
เขียนเมื่อ

ครูสอนดี ... รู้เท่าทันเทคโนโลยี

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้ดำเนินโครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง "ครูสอนดี" หรือที่เรียกย่อๆว่า "โครงการครูสอนดี" มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ขั้นตอนแรกแล้วเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2555 และได้ประกาศรายชื่อ "ครูสอนดี" และ "ครูผู้รับทุนครูสอนดี" ขั้นตอนแรกแล้วเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2555 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่ 2 คือ การรับฟังข้อทักท้วง สสค.ต้องปรับกลยุทธ์การทำงานหันมาพัฒนาครูด้าน ICT ด้วยการจัดหลักสูตร 3 หลักสูตร ได้แก่

หลักสูตรที่ 1 คอมพิวเตอร์พื้นฐาน (Introduction to Computer) เน้นการใช้งานคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานในชีวิตจริง เช่น การเปิด – ปิด เครื่องคอมพิวเตอร์ การสร้างแฟ้มข้อมูล การแก้ไขชื่อแฟ้มข้อมูล การย้าย การคัดลอก การวาง การบันทึกข้อมูล ฯลฯ

หลักสูตรที่ 2 การใช้งานคอมพิวเตอร์ในโลกการสื่อสาร (Social Network) เนื้อหาครอบคลุมการใช้งานพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ต การสร้างจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การใช้ Search Engine ค้นหาข้อมูล การใช้งานระบบสังคมออนไลน์ (Facebook , Twitter) ฯลฯ

หลักสูตรที่ 3 ICT กับการสร้างสื่อการเรียนรู้ (Presentation Multimedia) เนื้อหาครอบคลุมหลักการ นำเสนอผลงาน การวางแผนเพื่อนำเสนอ การเขียน story board การถ่ายภาพเบื้องต้น การใช้โปรแกรมสร้างชิ้นงาน

อ้างอิง จิราภรณ์ ศิริทวี. 2555. ครูสอนดี ... รู้เท่าทันเทคโนโลยี (ออนไลน์). แหล่งที่มา :

http:// www.qlf.or.th/Home/Contents/362. 23 มีนาคม 2558.

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/journals
3
0
อ.ชวกิจ ทองนุ้ยพราหมณ์
เขียนเมื่อ

ให้นักศึกษา สมัครสมาชิกเว็บไซต์ สสค. ตามลิงค์ http://www.qlf.or.th/Home/FrontPage และศึกษาข้อมูลหัวข้อ ความรู้ นักศึกษา 1 คน ต่อ 1 หัวข้อการเรียนรู้ (ไม่ซ้ำกัน) สรุปเนื้อหาที่ได้ศึกษา พร้อมทั้งลงรายละเอียดอ้างอิงข้อมูลที่ได้ศึกษามาลงอนุทินในเชิงวิชาการ ลง webblog ของตนเองในเว็บไซต์ www.gotoknow.org

กำหนดส่งภายในวันที่ 23 มีนาคม 2558 ตั้งแต่เวลา 11.21 - 14.40 น.

14
5
อ.ชวกิจ ทองนุ้ยพราหมณ์
เขียนเมื่อ

เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) 

        เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์เอาวิชาการต่างๆ มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งเกิดจากการออกแบบการสอนตามหลักการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผู้เรียน ความเหมาะสมของสื่อที่สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหาและความสนใจของผู้เรียน

         เทคโนโลยีการศึกษา เป็นคำที่มาจากคำสองคำ คือ เทคโนโลยี ที่มีความหมายว่า เป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งมิได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง วัสดุและวิธีการด้วย เมื่อมาเชื่อมกับคำว่า การศึกษา เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้

18
7
อ.ชวกิจ ทองนุ้ยพราหมณ์
เขียนเมื่อ

แสดงความคิดเห็น

1. ท่านมีเทคนิควิธีการ หรือแนวคิด ในการนำเสนอสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อย่างไร???

2. ความสามารถเฉพาะ ด้านใด? ของตัวท่านที่ สามารถชักจูง โน้มน้าวใจบุคคลให้สนใจได้มากที่สุด...

________________________________________________________________________

หมายเหตุ

ตอบคำถามด้วยการ Comment เช่น

ตอบ

1. ..............................

2. ..............................

17
36
wanisa pramuansin
เขียนเมื่อ

คำขวัญประจำจังหวัดตรัง

เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง

หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา

เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล

เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา

The city of Phayarassda;

broad-hearted citizen;

dilicious roast pork;

origin place of para rubber;

lovely sritrang flower;

beautiful coral reef;

charming sandy beach;

and wonderful waterfall.

7
0
ภัคจิรา เพชรกรด
เขียนเมื่อ

ถ้าพูดถึงกีตาร์โปร่งจะขาดแบรนด์ ยามาฮ่า (Yamaha) ไปคงไม่ได้ โดยยามาฮ่าถือเป็นผู้ผลิตเครื่องดนตรีคุณภาพเยี่ยมยอดนิยมในปัจจุบัน ซึ่งคราวนี้เราก็อยากแนะนำรุ่นระดับกลางสักหน่อยกับ ยามาฮ่า เอฟจี700เอส (Yamaha FG700S) กีตาร์โปร่งที่เกิดมาเพื่อขาโฟล์คซองโดยเฉพาะ ให้เสียงใสเป็นเอกลักษณ์ พร้อมงานประกอบระดับเทพและวัสดุที่ยอดเยี่ยม น่าเล่นไม่น้อย ส่วนราคาอยู่ที่ 322 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 10,500 บาท) อาจจะดูสูงไปนิด แต่กับคุณภาพที่ได้ รับรองว่าฟินชัวร์

9
0
Jakkrit Bualoy
เขียนเมื่อ

การอ่านในใจ
การอ่านใจในถือว่าเป็นการอ่านเพื่อพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ อันได้แก่
- พัฒนาด้านความรู้ คือ ได้ทั้งความรู้รอบตัวและความรู้เฉพาะด้าน
- พัฒนาด้านอารมณ์ ช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน บันเทิงใจคลายความขุ่นมัวต่าง ๆ
- พัฒนาคุณธรรม การมีคุณธรรมย่อมเกิดมาจากความจรรโลงใจซึ่งได้จากการอ่าน หนังสือประเภทธรรมะ ชีวประวัติ สารคดี ฯลฯ
การอ่านในใจจึงเป็นวิธีการศึกษาอย่างหนึ่ง เพื่อเรียนรู้และเข้าใจประสบการณ์ใหม่ ๆ ซึ่งช่วยให้มนุษย์เกิดการปรับตัวเพื่อการดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข

4
0
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท