อนุทินล่าสุด


์นุสบา ร่าหมาน
เขียนเมื่อ

"การศึกษาหนึ่งในปัจจัยฉุดรั้งต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย"

ในการบรรยายพิเศษหัวข้อ "การพัฒนาระบบการศึกษาและนัยยะต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ:มุมมองในระดับสากล" พบว่า จากการจัดอันดับความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดย World Economic Forum หรือ WEF ในปี 2557 ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 31 จาก 144 ประเทศ และจากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย IMD เปรียบเทียบใน 60 ประเทศทั่วโลก ซึ่งพิจารณาจาก 4 องค์ประกอบคือ สมรรถนะทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของภาครัฐ ประสิทธิภาพของเอกชน และโครงสร้างพื้นฐานซึ่งรวมถึงการศึกษา ในปี 2557 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 29 ลดลง 2 อันดับ โดยระบบการศึกษาไทยก็เป็นปัจจัยฉุดรั้งขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเช่นกัน ปัญหาที่พบจึงเป็นปรากฏการณ์เด็กจบใหม่หางานทำไม่ได้ ขณะเดียวกันนายจ้างก็ไม่สามารถหาคนงานที่ต้องการเข้ามาทำงานได้ นั่นคือ สถานการณ์การว่างงานชั่วคราว "Frictional Unemployment" จึงได้เกิดผลงานวิชาการของนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ในปี 2553 ซึ่งได้ศึกษาวิจัยปัญหาดังกล่าวในระดับนานาชาติและแนะนำให้มีการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทางนั่นคือ ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องออกแบบร่วมกับความต้องการพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเชื่อมโยงกระบวนการจัดการศึกษาแก่เด็กไทยในปัจจุบันให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานในอนาคต นอกจากนี้ระบบการศึกษาได้เตรียมความพร้อมให้แก่เด็กและเยาวชนอย่างไร เมื่อเด็กและเยาวชนถึง60% ต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานด้วยวุฒิม.6/ปวช. หรือต่ำกว่า

ที่มา : ผู้ดูแลระบบ สสค. 2558. การศึกษาหนึ่งในปัจจัยฉุดรั้งต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย (ออนไลน์). แหล่งทีมา: http://www.qlf.or.th/Home/Contents/1000. 23 มีนาคม 2558



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท