อนุทินล่าสุด


ลิขิต
เขียนเมื่อ

วันนี้ตื่นเช้ามาอรุณสวัสดิ์ เจ้าตั๊กแตนตัวโตมาเยี่ยมเยียนถึงในบ้าน และไม่ได้พบเห็นพันธุ์นี้ได้บ่อยนักในสวน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

สัปดาห์ที่แล้ว การจับจ่ายของผู้คนเป็นไปตามคาด คือ รัดเข็มขัดจนตัวกิ่ว ประหยัดทุกทาง แต่ชีวิตในชนบทเล็กๆนี้ ก็ไม่ได้แตกต่างจากเดิมไปมาก เช่น เมืองท่องเที่ยวใหญ่ ที่ได้เห็นสภาพแล้วหดหู่เต็มที เพราะแตกต่างจากที่เคยเป็นมามากๆนั่นเอง จากนี้ไป อาจใช้เวลาเป็นปี หรือ เท่าไร? เพื่อการปรับตัวในภาวะวิกฤติ แห่งการเปลี่ยนแปลงนี้

ผู้เขียน ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้สูงอายุหญิง วัย 80 ปี ขึ้นไป ตัวอย่าง เช่น

ยายฮั้ว คงจะเลิกขายของสวน ด้วยวัยชรา แต่มาตลาดทุกวัน เพื่อ พบปะผู้คน ดื่มชา กาแฟ ขนม และซื้ออาหาร ท่านมีลูกหลานมาก และคอยดูแลใกล้ชิด ตอนนี้พวกเขาต้องการให้คุณยายหยุดขายของ ไม่ให้เข้าไปเก็บของในสวนเกรงไม่ปลอดภัย จึงไม่มีของขาย ท่านบอกว่า คงจะยกแผงเล็กๆ ให้ หลานที่ตกงานโรงแรมจากภูเก็ตมาขายล็อตเตอรี่แทน นี่เป็นความเปลี่ยนแปลงหนึ่ง

คุณยายเพื่อนแม่ ท่านจะอุดหนุนสินค้าผู้เขียนบ่อยๆ ผู้เขียน จึงลดราคาน้ำมังคุดให้ หลังจากที่เคยให้ท่านไปแล้ว

คุณยายอีกท่าน ทำข้าวหลามอร่อยมาก ท่านเคยเล่าว่า ปีนขึ้นไปตัดไม้ไผ่เองด้วย วันนี้ท่านแต่งตัวแปลกไป ใส่กระโปรงดำ เสื้อแขนกุดสีแดง สวมผ้าปิดจมูก จากที่ เคยใส่ผ้าถุงปาเต๊ะ เสื้อลูกไม้ หรือ ชาวสวน วันนี้ท่านไม่ได้ขายข้าวหลาม เช่นกัน ท่านบอกว่า ต้องหยุดเสียบ้าง เพิ่งปวดข้อจากโรคเก๊าท์ โชคดีอยู่ที่ โรงพยาบาลพอดี ผู้เขียนชมว่า แต่งตัวสวย และช่วยจัดตกแต่งให้ ท่านถามว่า น่าเกลียดหรือไม่ เพื่อเรียกความมั่นใจ ผิวหนังของท่าน เต็มไปด้วยรอยแผล จากการทำสวน บอกผู้เขียนว่า เพิ่งไปถอนหญ้ามา พอดีเพื่อนบ้านตรงข้ามสวนท่านมาซื้อของผู้เขียนพอดี เขาบอกว่า คุณยายขยัน หางานทำไม่เคยหยุด ให้พักเสียบ้าง คุณยายบอกว่า กำลังจะได้รับเงินเยียวยาเกษตรกรงวดสุดท้าย นอกจากนี้มีเบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยอสม. รายได้ต่างๆ แต่ก็ใช้จ่ายหมดไป กับ ค่าประกันชีวิต ภาษีสังคม งานศพ งานแต่ง งานบวช ฯลฯ คุณยายไม่ได้เอ่ยถึงค่ากินเลย

ผู้เขียนสัมผัสอรรถรสบางอย่าง และหลายๆอย่าง บางสิ่งก็ไม่สามารถอธิบายออกมาได้ในเวลานี้ แต่รับรู้ประมาณนั้น จะเรียกว่า ความประทับใจหรือไม่นั้น ไม่แน่… คล้ายๆ สัมผัสวิถีชีวิต คนไทยชนบทเก่าๆที่กำลังจะผลัดใบ นี่เป็นสิ่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนได้รับจากตลาดสด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ขนมหวานสำหรับครอบครัวผู้เขียนในวันนี้ คือ มะพร้าวแก้ว ทำจากมะพร้าวอ่อนเนื้อหนา น้ำมะพร้าว ใบเตย น้ำตาล เนื้อมะพร้าวประมาณ ๑.๒ กก. คงจะกินได้อีกนาน

ผลไม้ คือ เงาะโรงเรียน เพียงพอสำหรับกินในครอบครัว จำปาดะบ้านต้นอร่อย พ่อจะขยันไปเดินเก็บมาเป็นผลไม้หลังมื้ออาหาร ขนุนสุกเหลือกินต้องถนอมอาหารไว้ก่อน มีกล้วยน้ำว้าเหลือกินก็ทำกล้วยบวชชีเก็บไว้ เรามีกะทิคั้นสดของสวนเราเอง กากมะพร้าวเผื่อแผ่ถึงไก่ได้

ในตู้เย็นยังมี น้ำมะพร้าว น้ำมังคุด น้ำตะลิงปลิง

ปัจจุบันผู้เขียน มีรอบปรุงอาหารน้อยลง เช่นวันนี้ ทำข้าวเหนียวผัดกุ้งแห้งหน้าไก่ตั้งแต่เช้า กินได้ทั้งวัน ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงได้ ผู้เขียนเพิ่มเมนูแกงเลียงผักหวานให้พ่อด้วย

วันนี้ ต้องถนอมอาหารไผ่ตง ด้วยการดอง และต้ม เพื่อเก็บความสดไว้ อันนี้เป็นของเหลือกิน สามารถแบ่งขายได้

เราลองคำนวณค่าใช้จ่ายต่อหัวต่อวัน สำหรับวิถีชีวิตทุนนิยม คงไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในเวลานี้ โครงการเยียวยาของรัฐฯ กำลังทยอยปิดตัว ความยากลำบากที่แท้ กำลังมาเยือน ไม่ต้องสงสัยว่า ประชาชนคงรัดเข็มขัดที่สุด และลดการซื้อ แม้จะเป็นอาหารก็ตาม ประชาชนจำนวนหนึ่งต้องการปิดประเทศสักระยะ กลับไปดำรงชีวิตแบบบรรพบุรุษ เมื่อวิกฤตถึงตัว การดิ้นรนเอาตัวรอด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย อย่างรวดเร็ว ในทุกมิติ เรื่องการทำงานของข้าราชการ เดิมประชาชรู้เห็น แต่ปล่อยผ่าน เข้าใจว่า เวลานี้ อาจไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป

จุดเปลี่ยน เรื่องศักดินาอาจใกล้แล้ว น่าแปลกที่ประชาชน สามารถแจกแจง เป้าหมายรายละเอียดงานที่ข้าราชการสมควรทำได้อย่างชัดเจน

ค่านิยม การรักวัฒนธรรม รักมาตุภูมิ รักชาติ ศาสนา ปฏิเสธอธรรม แบบต้องการแสดงออก ทะลุกลางปล้องโควิด-๑๙ คงจะมีเรื่องน่าตื่นเต้นให้ติดตาม ตอนต่อไป…



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

พัฒนาการของตลาด ช่วงนี้น่าสนใจ ผู้เขียน พบแม่ค้า เริ่มใช้ป้ายโฆษณา พวกเขาเริ่มสนใจว่า ผู้เขียน ขายสัปดาห์ละครั้ง เปรียบเทียบกับเขาจะมีรายได้ไม่เพียงพอ ไม่มีใครอยากขายทุกวัน ถ้าทำได้ เพราะไม่ได้ขายดีทุกวัน มีพ่อค้าแม่ขายหน้าใหม่ ที่เปลี่ยนสายอาชีพเพิ่มมากขึ้น แต่ผู้ซื้อมีกำลังซื้อน้อยลง การแก่งแย่งพื้นที่ขาย ถูกควบคุมให้อยู่ในความสงบ โดยกฎสังคมที่ยึดคุณธรรมความถูกต้อง ลดการทะเลาะเบาะแว้ง

ผู้เขียนกำลังสนใจ การเรียกร้องทางสื่อสาธารณะของประชาชนท้องถิ่น ให้เทศบาล หรือเจ้าของตลาด เข้าจัดการ ระบบ ๕ส ตลาด มิใช่ เรียกเก็บเงินค่าแผง เป็นอันหมดหน้าที่ การพัฒนาฯ เริ่มด้วยตนเอง ไม่ต้องรอผู้ใหญ่นายโต เพราะตลาดสมบูรณ์ จะเป็นแหล่งทำมาหากิน ของเราเอง นิทรรศการถัดไปของผู้เขียน ชักน่าสนใจที่จะริเริ่มสร้างสรรค์ขั้นต่อไปให้พวกเขา เลียนแบบ แต่ลอกไม่ได้ …ฮ่า ฮ่า ฮ่า…



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ลูกค้าหลายๆท่าน มักถามผู้เขียนว่า “สวนอยู่ไหน? มีของทุกอย่างเลยหรือ?” ผู้เขียนก็ตอบไปว่า “สวนโบราณอยู่หลังสถานีไฟฟ้าฯ ใกล้ตลาดนี่แหละ ปู่ พ่อ แม่ เขาปลูกไว้กิน และเรามีมากเหลือพอจะขาย เพราะ ต้นไม้ก็เติบโต เพิ่มมากขึ้นตามเวลา…” บางท่านก็บอกว่า “นี่แหละ คือ มรดกล้ำค่า กว่าทรัพย์สินใดๆทั้งสิ้น เมื่อเป็นของเราเอง ก็ขายราคาไม่แพงได้ ช่วงภาวะแบบนี้คนลำบาก ถือว่า ช่วยเหลือกัน” ถ้าเป็นสินค้า ที่ไม่คล้ายกับเพื่อนพ่อค้าอื่น เราไม่ได้ยืนราคา อยู่ที่พอใจขาย และลูกค้าพอใจซื้อ แปลกที่ลูกค้ามองว่า สวนเรามีทุกอย่าง อาจเป็นเพราะ ปัจจุบัน ผู้คนหันไปปลูกพืชเชิงเดี่ยวมากกว่านั่นเอง ผู้เขียน จำได้ว่า สวนเรามีมะพร้าว ใบตอง ฯลฯ เพราะ แม่ชอบทำอาหาร ให้ครอบครัวด้วยตนเอง

แม้ตัวผู้เขียนเอง ยังสัมผัสได้ว่า สวนเป็นคลังอาหารที่มีคุณภาพ จะมี ผัก ผลไม้ ทยอยแข่งกันออกผลผลิตมาให้เราเก็บเป็นอาหาร ไม่หยุดหย่อน ด้วยความใส่ใจดูแลสภาพแวดล้อม ธรรมชาติก็ตอบแทนกลับอย่างมหาศาล มีแต่เหลือ ไม่มีขาด งานแปรรูปจึงมีความจำเป็น ปีนี้ ผู้เขียน ได้ทำน้ำมังคุดสมใจ มังคุดกวน ส้มแขกแช่อิ่ม ระกำแช่อิ่ม หน่อไม้ไผ่ตงดอง วุ้นกะทิมะพร้าวอ่อน ฯลฯ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

จำปาดะบ้านพันธุ์ดี ปีนี้มีไม่มากนัก ทำให้ ผู้รับจ้างปีนเก็บผลผลิตในที่สูงตกงาน และมีขนาดผลเล็กกว่าปีที่แล้ว ในขณะที่บางต้น ก็มีลูกใหญ่ อย่างไรก็ตาม ผลผลิตโบราณแบบนี้ จากสวนผู้เขียน ก็ช่วยสร้างสีสันที่ตลาดสดได้ไม่น้อย จะกินฟรี หรือ ซื้อ แบบลดแจกแถม ก็เป็นความสุขในยุคแบ่งปันรูปแบบหนึ่ง พ่อของผู้เขียนเอง ก็เดิน ช้อปปิ้งใต้ต้น พร้อมมีดเล็กอยู่บ่อย หลังอาหาร หรือ มื้อว่าง ด้วยช่วงหลังนี้ ผู้เขียน ลด และงดขนมแห้ง



ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

เงาะโรงเรียน ปีนี้ไม่ได้สุกพร้อมกัน มีหลายรุ่นในต้น ต้องแยกแยะในการเก็บเกี่ยวผลผลิต และระวังมดแดง เราไม่ได้ฉีดยาฆ่าแมลงก่อนเก็บ เพราะ เรากินเอง และคำนึงถึงผู้ที่ซื้อผลไม้สวนเรากินด้วย ลูกค้าที่ตลาดสด ชอบเงาะสามสี เขียว เหลือง แดง รสชาติหวาน หอม กรอบ อร่อย ปีนี้ ผู้เขียนมีโอกาสได้ขาย เงาะให้ร้านห่อหมก และก๋วยจั๊บญวน ที่ผู้เขียนเป็นลูกค้าประจำด้วย แบบคู่ค้าแลกเปลี่ยน…



ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ผู้เขียนประทับใจ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประยุกต์ดัดแปลง ของสมาชิกทีมงานใกล้ตัวเสมอ เช่น

การตำรากผักชีปริมาณมากในครก เขาจะใช้ถุงหิ้วสวมครกไว้ ทำให้ รากผักชีกระเด็นตกในถุง นำกลับมาใช้งานได้อีก ไม่ต้องทิ้ง

พ่ออายุเกือบ ๙๐ ปีแล้ว แต่ ชอบทำสวน เมื่อเขาพกมีดเล็กๆ ไปด้วย มักหลงลืมบ่อย จึงผูกเชือกสีแดง เป็นจุดเด่นสะดุดตา และชุดทำสวนไม่ต้องใช้เข็มขัด ใช้เชือกร้อยหูกางเกงแทน เขาเลียนแบบลูกเขย แต่เป็นเชือกคนละแบบ วันหนึ่งพ่อปรารภว่า การค้าขายสมัยนี้สะดวก เพราะเขาเห็น ลูกค้ามารับสินค้าที่สวนเอง หรือบรรจุผลไม้เป็นกล่อง มีรถมารับที่สวนไปส่ง หรือนำไปส่งไปรษณีย์ ในอดีต ผลไม้มีจำนวนมากขายยาก แม้จะขายในตลาดท้องถิ่นเอง ขายยี่ปั๊ว ล้วนได้ราคาไม่ดีนัก อาจเป็นไปได้ว่า พ่ออยู่กับธรรมชาติ เขาเรียนจบ ชั้น ป.๔ ผ่านการบวชเรียน เขาต้องสร้างเครื่องมือ เครื่องใช้ บางอย่างจากไม้ไผ่ เพื่อการดำรงชีวิต…



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

หน่อไม้ไผ่ตง ๓ หน่อแรก ในสวนปีนี้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ส้มแขกแช่อิ่ม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ส้มแขก



ความเห็น (2)

ใช้ทำอะไรกินได้บ้างค่ะ หรือกินแบบผลไม้

ใช้แทนส้มควายได้ค่ะ คุณแม่มด มีรสเปรี้ยว ปรุงอาหารได้ทุกชนิดค่ะ ต้มส้ม แกงส้ม ฯลฯ ยอดก็มีรสเปรี้ยว เช่นกันค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ปีนี้ลูกค้า ราชาและราชินีผลไม้ (ทุเรียน+มังคุด) ในสวนเรา เริ่มต้นจาก พ่อ (เจ้าของสวน) พระสงฆ์ และลูกค้าที่สั่งจองผลไม้แพคคู่ เพราะรู้เรื่องคุณภาพผลไม้ในสวนนี้

ผลไม้ทั้ง ๒ ชนิด มีฤทธิ์ร้อน กับเย็น และมีประโยชน์มาก เมื่อรับประทานในจำนวนที่เหมาะสมกับร่างกาย แม้ว่า ทุเรียน จะเริ่มร่วง เพียง ๒ ต้น แต่ก็มีรสชาติดี แบบลืมทุเรียนพันธุ์ ราคาแพงไปได้เลย สำหรับมังคุด นั้นหวานอร่อยมากในปีนี้ และมีแบบแก้วเยอะมาก ผู้เขียนได้ทำน้ำมังคุด และมังคุดกวน ด้วยจังหวะเวลาที่เหมาะเจาะลงตัว นับว่าไม่เลว เพื่อยืดระยะเวลาเก็บรักษาอาหารที่มีคุณประโยชน์

ลูกค้ารายจ่ายเงิน เริ่มจาก ญาติอาวุโสที่ภูเก็ต สั่งจองตั้งแต่ทุเรียนยังไม่ร่วง ตามด้วย เพื่อนพี่ชาย และพี่ลูกค้าที่ตลาด เธอได้ลองกินมังคุดสวนอื่น เปรียบเทียบ และบอกว่า มันแตกต่างกัน จึงสั่งไว้ประจำ ตบท้ายฤดูกาล ด้วยเพื่อนแม่ ภรรยาอดีตหัวหน้าสถานีไฟฟ้าฯ ที่ผู้เขียนชอบจะไปขายผักให้เธอในวัยเด็ก เพราะเธอใจดีมีเมตตากับผู้เขียนตามที่สัมผัสได้

ผลไม้ ๒ รายการนี้ เหลือกิน พอแบ่งขาย ส่งเข้าเมือง ในระยะเวลาหนึ่งก็สิ้นสุดลง รอผลไม้ฤดูกาลรายถัดๆไป แต่ทุเรียน มีอีกหลายต้น ที่ยังไม่ร่วง คาดว่าปีนี้อาจยาวทั้งปี เพราะออกดอกต่างเวลากัน ทำให้ผู้บริโภคทันที่จะลิ้มความแตกต่างของรสชาติแต่ละต้น

ผู้เขียนสำนึกในบุญคุณธรรมชาติ แม้จะเปลี่ยนแปลงไป คล้ายไร้ฤดูกาล แต่ก็มีการให้ต่อมนุษย์เรา อย่างมากมายมหาศาล… เมื่อเราเดินเข้าไปในสวนจะพบอาหารที่มีประโยชน์มากมาย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ย่างเข้าสู่ปีที่ ๒ ผู้เขียนได้มีโอกาส นำสินค้าผลผลิตจากสวนธรรมชาติ จากตนเอง และต่างถิ่น วางขายในตลาดที่แตกต่างกันมากขึ้น ด้วยความเอื้อเฟื้อของเพื่อนพ่อค้าแม่ขาย จึงพอแยกแยะ เอกลักษณ์ของตลาดได้

สำหรับผู้เขียน ตลาดไม่จำเป็นต้องมีคนผ่านไปมาจำนวนมาก ในฐานะผู้ขาย ขายสินค้าได้ยอดที่พึงพอใจเพียงพอแล้ว ผู้เขียนต้องการให้ของสดเปลี่ยนมืออย่างมีคุณค่ามากกว่า ในฐานะผู้ซื้อ ได้ซื้อสินค้าตามต้องการ สดใหม่ มีเอกลักษณ์ ราคายอมรับได้ สิ่งที่เป็นมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้เขียนได้ค้นพบ คือ สัมพันธภาพ ระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย ระหว่างผู้ขายด้วยกันเอง มีคุณค่ายิ่ง ตลาดที่มีเอกลักษณ์แบบนี้ จึงมีความสุข ถ้ามีการแก่งแย่งชิง พื้นที่ขาย ขาดความเอื้ออาทร ย่อมไร้เอกลักษณ์ที่ดี ผู้เขียนสัมผัสได้ ถึงการพัฒนาของตลาดในมิติเนื้อใน เมื่อมีผู้ซื้อผู้ขายที่ผ่านประสบการณ์หลากหลายเข้ามามีส่วนร่วมซื้อขาย แม้ว่าสภาพภายนอกของตลาดยังขาดสุขลักษณะก็ตาม ผู้เขียนและทีม ประทับใจในการพัฒนา แม้เพียงบางสิ่งบางอย่าง…

การตลาดในสังคมออนไลน์ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง ผู้เขียนเคยทดลองมาแล้ว ผู้ขายต้องมีทักษะที่หลากหลาย เนื่องจาก ผู้ซื้อผู้ขายพบกันในโลกเสมือน และต้องนัดรับส่งสินค้ากันในหลากรูปแบบ ต้องยอมรับ การตลาดแบบนี้ กำลังเป็นที่นิยม ของผู้บริโภคมากขึ้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ฤดูกาลผลไม้ ปีนี้ เริ่มต้นด้วย มังคุด ทุเรียน แฝงนัยยะการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติไว้มากมาย คุณภาพผลไม้ ไม่ดีเหมือนปีก่อนๆ เพราะความแห้งแล้งในช่วงที่ผลไม้สร้างเนื้อ และมีฝนในช่วงที่ทำให้ผลไม้งง ผลผลิตที่ออกมา จึงหลากหลายคุณภาพ แล้วแต่ผู้บริโภคจะจับสลากได้ ญาติอาวุโสของผู้เขียน เปรียบเทียบว่า คงจะคล้ายสังขารคนแก่ ที่ปรับตัวไม่ค่อยทัน

จากการที่ผู้บริโภคต้องระมัดระวังเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะไม่สามารถหาได้จ่ายคล่อง เช่นอดีต ทำให้การค้าขาย แสดงเป็นเส้นกราฟขึ้นลง แบบคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้

การกักตัว สำหรับครอบครัวผู้เขียน เป็นเรื่องปกติธรรมดา ที่เตรียมตัวมา เกือบ ๒ ปี ตั้งแต่ย้ายเข้ามาอยู่ในสวนธรรมชาติของบรรพบุรุษ การใช้เทคโนโลยีสื่อสารก็เป็นเรื่องปกติ เช่นกัน หน้ากากอนามัย และแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ ก็เป็นอุปกรณ์ประจำบ้าน เพราะ ต้องใช้ผ้าปิดจมูก สวมแว่นตา หมวก เมื่อต้องใช้บริการรถเมล์ในเมืองหลวง เนิ่นนานมาแล้ว เพื่อป้องกันมลพิษ การถือสันโดษอาจช่วยให้เราไม่ได้รับผลกระทบมากนัก จากการระบาดของโควิด-๑๙ แต่ก็ต้องหมั่นติดตามข่าวสาร

ผู้เขียนได้โอกาสใช้บริการขนส่งหลากประเภท เพื่อส่งอาหารให้ญาติผู้ใหญ่ที่อยู่บ้านคนเดียวที่ภูเก็ต บ้านที่ผู้เขียนเคยอาศัย เพื่อการศึกษาในวัยเด็กนั่นเอง เมื่อมีผลไม้จำนวนมาก ก็เผื่อแผ่ให้กับเจ้าหน้าที่ ที่ออกปฏิบัติงานตรวจคัดกรอง

ปีนี้มีผลไม้ที่ดูไร้ค่าสำหรับคนท้องถิ่น แต่คนใกล้ตัวผู้เขียนเป็นต่างถิ่น มองว่ามีค่า จึงเก็บไปแจกที่ตลาด กลายเป็นขาย ราคาถูก และมีคนที่สนใจซื้อจำนวนไม่น้อย เพราะอยากกิน หากินยาก ฝากผู้เฒ่าแก่ กลายเป็นสีสันไปอีกแบบ

…เราละทิ้งสวนโบราณ พืชผล ฯลฯ แม้แต่ถิ่นที่เกิด ภูมิหลัง โดยลืมไปว่า ตัวตนเรา มีที่มาอย่างไร? แล้วจะมีที่ไปอย่างไร??ต่อไป… เพลิดเพลินกับการหาเงินมากๆ… โควิด-๑๙บอกใบ้คำตอบบางอย่างหรือไม่?



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

เมืองไทยนับถือพุทธศาสนาเป็นหลัก มีความเชื่อว่า พุทธเป็นวิทยาศาสตร์ แต่ประชาชนให้ความสนใจกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ นับจำนวนได้มากโข มีข้อพิสูจน์ได้จากข่าวสังคมเสมอ

ปัจจุบัน เมื่อเกิดคดีความ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการแบบวิทยาศาตร์ แต่การสืบสวนให้พบเหตุ และผู้ต้องหา รวมถึงพยานหลักฐาน หลายคดีที่ผ่านมา สังคมและนักข่าว จะให้ความสนใจแนวไสยศาสตร์มากกว่า

ตามความเข้าใจผู้เขียน พุทธ ก็ต้องเข้าใจเรื่องไสยศาสตร์ ไม่ได้งมงาย แต่สามารถแก้ไขเอาตัวรอดได้ การไม่ติดอยู่ ทำให้เราเข้าใจระดับสูงขึ้น

ในอดีตวัยเด็ก ผู้เขียนได้เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยสวมเครื่องแบบเต็มยศ สวมหมวก ปฏิบัติงานจับผู้ร้าย ทั้งในภาพยนตร์ และของจริง เมื่อโตขึ้น จึงทราบว่า ภายใต้เครื่องแบบเกียรติยศนั้น มีตราแผ่นดินที่มีความสำคัญยิ่ง ดังนั้น ไม่ว่าผู้ร้ายจะใช้ไสยศาตร์ มนต์ดำ ก็ไม่อาจรอดพ้นเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้รับมอบหมายอย่างชอบธรรม ให้ดำรงความยุติธรรมในแผ่นดินไทย

ปัจจุบัน ในภาพข่าว เราจะได้เห็น เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติงาน นอกเครื่องแบบจนชินตา หรือไม่ก็ ครึ่งชุด ต้องเดาว่า ท่าน คือ นายตำรวจ อาจเพื่อความสะดวกแบบสากล การละเลยสิ่งเล็กน้อย บางประการ ก็ไม่อาจปฏิบัติงานสำเร็จบรรลุเป้าหมายได้ทันท่วงที

อีกประการหนึ่ง การเรียนรู้สายพิธีกรรมพื้นฐานทางศาสนา เราจะสามารถแยกแยะ อะไร คือ มนต์ดำ อะไร คือ มนต์ดี อะไร ควรแตะต้อง หรือไม่แตะต้อง เรื่องแบบนี้ บางอย่างสวนทาง กับหลักวิชาการสากลที่กำหนดตำราไว้

เจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยสายงานอาชีพ ก็จำเป็นที่สุด ที่ต้องมีความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวหรือไม่? เพื่อไม่พลาดโอกาสในการปฏิบัติงานจับผู้ร้าย ตามหาหลักฐานได้ มิเช่นนั้น คนรู้วิชา… คงหลอกล่อให้เจ้าหน้าที่หัวหมุนได้อย่างง่ายดาย…



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

การเผชิญปัญหา

         ในที่สุด วิกฤตการณ์ก็เข้าใกล้ตัวเรา แทบตั้งตัวไม่ทัน ผู้คนหลากหลายจึงมีอาการแสดงออกแตกต่างกันไป ไม่ต้องสงสัยว่า ระดับความสามารถ การฝึกฝนทักษะของผู้คน ที่แตกต่างกัน ทำให้ แทบสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง แม้อยู่ในชาติ ประเทศเดียวกัน  กลายเป็นลักษณะเฉพาะของประเทศเรา

เมื่อเวลาแห่งวิกฤติจบลง ก็จะมีผลวิเคราะห์ วิจัย ออกมามากมาย รอบนี้อาจไม่แน่ว่า วิกฤติใหม่ๆจะปะทุเป็นระลอกคลื่น จนผู้คน ต้องพากันปรับเปลี่ยนพฤติกรรรมโดยปริยาย ให้เราได้ย้อนนึกว่า ไม่น่าเชื่อเลย… แน่นอนว่า ที่สุดของมนุษย์ คือ การอยู่รอด ด้วยวิถีใดๆก็ได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ผู้เขียนได้ดูซีรีย์จีน เรื่องหนึ่ง พระเอกมีอาชีพที่ปรึกษาแก้ไขปัญหาแนวประชาสัมพันธ์ สร้างภาพลักษณ์ธุรกิจ หรือบุคคล แต่ป่วยเป็นโรคจิตวิตกกังวล เกิดจากความเครียดปัญหาในงาน ซึ่งปัจจุบันโรคนี้เกิดกับอาชีพ แพทย์ ทนายความ นักการเงิน เป็นต้น

ในละครพระเอกต้องเข้าพบจิตแพทย์ เพื่อระบาย โดยเล่าว่า เขาวิตกกังวลปัญหาของลูกค้า ไม่สามารถปล่อยวางได้ ทำให้เขาเครียด จนหมดสติ ถูกส่งเข้าโรงพยาบาล จิตแพทย์แนะนำให้เขาหยุดงาน เขาบอกว่าทำไม่ได้

ผู้เขียนสอบถามคนข้างตัว ด้วยอาชีพที่ปรึกษาแก้ไขปัญหาของเขา และมีวัยอาวุโสกว่าผู้เขียนกว่า ๒๐ ปี เขาบอกว่า เริ่มต้นชีวิตการทำงาน หลังเรียนจบ อาจารย์ที่สอนเป็น มืออาชีพชาวต่างชาติ บอกว่า “เมื่อหมดวัน ให้ปล่อยวางปัญหาทุกอย่างไม่เก็บมาคิด ด้วยอาชีพเราต้องแก้ไขปัญหาระบบให้ลูกค้า ถ้าเรารับมาทั้งหมด และไม่หยุดคิด จิตเราไม่สามารถรับได้ จะป่วย” ซึ่งเขาก็สามารถจัดการควบคุมจิตของตนเองได้ตามปรารถนา อาจด้วยพื้นฐานครอบครัวที่อบอุ่นด้วย ดังนั้นจึงไม่เคยมีดราม่าสำหรับเขา

ลองทบทวนตนเอง ในงานแก้ไขปัญหา ช่วงที่เครียดมาก เกือบเป็นบ้า เพราะเราไม่ได้ปล่อยวาง ปัญหาต่างๆที่รับมาคิด แต่เมื่อลองใช้วิธีทางศาสนาเยียวยา เราสามารถข้ามพ้นอาการป่วยทางจิต และค้นพบวิธีแก้ไขปัญหาโดยธรรมชาติ “ ผู้เขียนได้ลองก้าวไปในโลกที่คนป่วยทางจิตสัมผัส แล้วถอยออกมายืนอยู่ในอีกรูปแบบหนึ่ง “



ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

ช่วงเวลาในการปล่อยวางความคิดใช้เวลาหลายปี เช่นกันค่ะ หลังจากได้ขจัดปมความรู้สึกในวัยเด็ก โดยการระบาย และการปฎิบัติอื่นๆ การดำเนินชีวิตปล่อยตามธรรมชาติ เมื่อรู้ตนอีกครั้ง รู้สึกโล่ง สบาย พร้อมเผชิญ

ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ประเด็นข่าว “การออกข้อสอบไม่ตรงกับเนื้อหาที่สอน” ทำให้ผู้เขียน ได้ทบทวนประสบการณ์ตน

สมัยที่เรียนมหาวิทยาลัย สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ วิชาโปรแกรมมิ่ง อาจารย์ออกข้อสอบอย่างที่กล่าวมา นักศึกษาสอบตกกันจำนวนมาก และต้องลงทะเบียนซ้ำๆ นั่นเป็นเหตุหนึ่งที่ผู้เขียนเบื่อหน่าย จนย้ายสาขาวิชา เป็น การวิจัยดำเนินงาน เพื่อศึกษาการใช้งาน กลับได้รับความประทับใจ ทุกวิชา เรียกความมั่นใจกลับมาได้ จากผลสอบ ระดับสูงสุดเกือบทุกวิชา อาจารย์ออกข้อสอบตามที่สอน โดยไม่ได้บอกข้อสอบแต่อย่างใด

มีวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี น่าประทับใจมาก อาจารย์กำลังศึกษาในระดับสูง แต่มีผลการเรียนดี จึงรับเป็นอาจารย์พิเศษ ข้อสอบให้เขียนโปรแกรมง่ายๆ และถามเรื่องประเด็นสำคัญ อาจารย์จะเน้นย้ำเป็นพิเศษ จนบัดนี้ ผู้เขียนยังสามารถนำความรู้มาใช้งานได้ เพราะ ข้อสอบวัดผลนั้น ทำให้เราเข้าใจตรรกะ…

แต่ผู้เขียนไม่เคยลืม อาจารย์ผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐานเล่มแรก เช่นเดียวกัน ความรู้นั้น ยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้เขียนมากมายในปัจจุบัน …อาจารย์สอนเรื่อง ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในยุคปัจจุบัน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ก่อนสิ้นปี ผู้เขียนได้เจอชาวกรุงฯ ที่ต้องเดินทางกลับมาตุภูมิ เพื่อดูแลบ้านย่านตลาดเก่า เธอวิจารณ์เรื่อง การจัดตลาดนัดวัฒนธรรมทุกเย็นวันอาทิตย์ เนื่องจากสร้างความเดือดร้อนให้บ้านเธอ เรื่องความสกปรก และเสียงดัง ผู้เขียน ให้ความเห็นว่า ปัจจุบัน คือ ตลาดนัด ตลาดฯสูญเสียเอกลักษณ์ไปนานมากแล้ว พ่อค้าแม่ค้าทุกประเภท ดิ้นรน ขายทุกตลาด ให้มีรายได้ และเป็นเส้นสายกัน ไม่ใช่ร้านทำอาหารอร่อยดั้งเดิมของท้องถิ่น หรือ สินค้าเกี่ยวกับการแต่งกายท้องถิ่นดั้งเดิม ฯลฯ แบบแรกเริ่มเดิมที เธอบอกว่าผู้เขียนเข้าใจประเด็น น่าจะได้มีส่วนร่วมจัดตลาดฯ เธอตั้งใจจะให้ใช้พื้นที่บ้านของเธอเพิ่มด้วย แต่ต้องเป็นตลาดสายวัฒนธรรมที่แท้จริง …ผู้ที่มีความรู้จากเมือง ย่อมมีมุมมอง ที่แตกต่าง และสามารถช่วยพัฒนาชนบทได้

เธอชอบสินค้าแนวธรรมชาติ ที่ตลาดเช้าของผู้เขียน เธอมาตักบาตรที่ตลาดทุกเช้า ถ้าไม่กลับเข้าเมือง และไม่พลาดอุดหนุนสินค้าธรรมชาติของผู้เขียน

แผนการอยู่ ชนบทกับเมืองเดือนเว้นเดือนของเธอ ถูกเปลี่ยนแปลง ด้วยภาวะมลพิษในกรุงฯ ทำให้เธอ ต้องอยู่ชนบทยาวนานขึ้น เพื่อยืดชีวิตตนเอง กลับกรุงเทพฯ เมื่อมีธุระจำเป็นเท่านั้น

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้เสมอในห้วงเวลานี้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ปลายปีที่แล้ว ผู้เขียนได้มีโอกาสสนทนา ลปรร. กับ เจ้าของ ฟาร์มธรรมชาติ เป็ด ไก่ ด้วยการซื้อไข่สดของเขานั่นเอง ประเด็น การถนอมอาหาร ไข่เป็ด แบบต่างๆ ซึ่งผู้เขียนก็เรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี และ การปรุงอาหารที่หลากหลาย เช่น ขนมจีบ ซาลาเปา ขาหมู น้ำเต้าหู้ ฯลฯ ผู้ฟังรู้สึกตื่นเต้น และบอกผู้เขียนว่า รายการอาหารที่ผู้เขียน เล่ามานั้น เปิดร้านอาหารได้แล้ว แม้ผู้เขียนจะตั้งสมมติฐาน ปัจจุบัน ผู้คนซื้ออาหารมากกว่าปรุงเอง ก็จำเป็นต้องพิสูจน์ เพื่อสรุปผล

ประเด็นที่ทำให้ผู้เขียนต้องย้อนคิดทบทวน คือ เมื่อเล่า เรื่องการดำเนินชีวิตในเมืองที่ผ่านมา แล้วต้องกลับมาอยู่ในชนบท เมื่อไม่นานนี้ ดูเขา ประหลาดใจมาก ว่าเป็นไปได้อย่างไร?

ผู้เขียน ตั้งคำถามตนเอง

๑. ผู้คนในชนบท ปรารถนา ชีวิตแบบเมือง งั้นหรือ?
๒. ผู้คนต้องการพัฒนาการด้านจิตใจ เพื่อสามารถปรับตัวอยู่รอด งั้นหรือ?



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ผู้เขียนมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้อาวุโสหญิง วัย ๘๖ ปี ท่านเป็นเจ้าของสวน ถือว่ามีฐานะ เดินเท้าเปล่าเหยียบพื้นหญ้าหน้าบ้าน ดูท่านแข็งแรง ท่านเล่าว่า มีลูก ๘ คน เหลืออยู่กับท่านและสามีคนเดียว เนื่องจากรับราชการ พยาบาล เมื่อส่งลูกเข้าเรียนในเมือง ต่างก็ประกอบอาชีพ มีครอบครัว สร้างหลักปักฐานในเมือง และแยกย้ายกันมีครอบครัว ผู้เขียน บอกว่า หลายๆครอบครัวที่นี่ ก็เป็นเช่นนี้ บ้านผู้เขียน พ่อแม่มีลูก ๓ คน ก็เข้าเมืองทั้งหมด ผู้เขียนเองก็เพิ่งกลับมา เพราะพ่อต้องการกลับบ้านเกิด ส่วนญาติในเมือง ลูกๆอาจจะไปสร้างหลักปักฐานที่ต่างประเทศ ท่านแสดงทัศนะ เรื่องอาหาร ว่าท่านทำกินเอง ตอนนี้ไม่ไปตลาด ด้วยชรา (ท่านเลี้ยงไก่ ปลูกผักสวนครัว ดอกไม้ ไม้ผล ฯลฯ) ซื้อเขาไม่ถูกปาก เราทำเอง ยังมีเหลือ เก็บไว้กินได้ แต่คนสมัยนี้ เขาไม่ทำ ชอบซื้อสะดวกกว่า ผู้เขียนเห็นว่า เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ท่านสุขภาพแข็งแรง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

การขาดความเชื่อมั่นในระบบการศึกษา ทำให้นายทุน พากันก่อตั้งสถาบันปั้นดาวของตนขึ้นมาในรูปแบบต่างๆ เพื่อตอบสนองธุรกิจของเขา ไม่ว่าอนาคต ผลจะออกมาเป็นเช่นไร ตัววัดผลดาวแต่ละดวง ก็ถูกกำหนดขึ้น เพื่อคนทำงานเป็น และทำงานดี เช่น มีทักษะความสามารถ สำเร็จในงาน เป็นหลัก แก้ไขปัญหาได้ มีความสมบูรณ์ทางวุฒิภาวะทางอารมณ์ รวมถึง คุณธรรม ฯลฯ เรื่องความฉลาดทางตรรกะมีความสำคัญน้อยลง นั่นหมายความว่า ผลการสอบในระบบกลางดี ก็ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นอีกต่อไป ในการประกอบอาชีพ และ ความสำเร็จในการปั้นดาว ก็จะกลายเป็นธุรกิจการศึกษา นับว่าไม่เลว…

แต่ละภาคส่วนย่อย กำลังดำเนินการในเรื่องที่ตนสามารถลงมือได้ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ทุกคนตระหนักมานานแสนนาน

ความสนุก คือ หลังก่อตั้งสถาบันการศึกษาแล้ว ถ้ายังไม่สามารถบรรลุผล อาจต้องก่อตั้ง สถาบันครอบครัว กลับสู่ยุคธุรกิจครอบครัว… แต่สถาบันการศึกษาก็อาจหมดกำลังใจไปแล้วเมื่อเราย้อนกลับมามองอีกครั้ง อาจต้องทอดถอนใจ ผู้รู้ พากัน มลายหายไป

ปม เงื่อน พันธนาการ ต่างๆในปัญหา คล้ายน่าสนใจ และ บางมุม คล้ายน่ากังวล

การขาดความเชื่อมั่น ในระบบยุติธรรม ทำให้ เกิดโคนันสายโซเชียล ในทุกคดีน่าสนใจ ที่กลายเป็นข่าวดัง ฯลฯ

วิวัฒนาการ แบบบังคับในที คล้ายกระแสคลื่นถาโถม ทุกๆเรื่อง เข้าสู่ การแก้ไข… ให้กลายเป็นสิ่งที่ควรเป็น… ก็ไม่ใช่ว่าผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามหัวโขน แต่ไม่ได้ทำหน้าที่อันสมควร จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆเลย ยามที่การเปลี่ยนแปลงรุนแรง ก็มิมีคำเอ่ยใดอีก…



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

การดำรงชีวิต เพื่ออยู่รอด ของมนุษย์เรา ย่อมปรับตัวตามธรรมชาติ

ผู้เขียน มีเสื้อผ้า ๓ แบบ ใกล้มือ สำหรับผลัดเปลี่ยนได้ทันที เมื่อ อากาศร้อนจัด อุณหภูมิปกติ และ อากาศหนาว เพื่อรักษาสมดุลในร่างกาย ใน ๑ วัน อาจมีแดดจัด ฝนตกหนัก และหนาวยะเยือก เปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน กลายเป็นเรื่องปกติ ที่เราต้องปรับตัว โดยไม่รีรอประกาศทางการ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ฤดูกาลนี้ ในแต่ละพื้นที่ โลกเดียวกัน ประเทศเดียวกัน จังหวัดเดียวกัน อำเภอเดียวกัน แม้ตำบลเดียวกัน หมู่บ้านเดียวกัน หรือสวนติดกัน ยังมีความแตกต่าง สังเกตได้จากต้นไม้ พากันงงงวย สับสน ปรับตัวตามภูมิอากาศ ใกล้ถึงเทศกาลลอยกระทง ในพื้นที่ยังมีฝน ระดับที่พื้นดินอิ่มน้ำ เนื่องจากยังไม่แล้ง เช่นที่ผ่านมา การผลิดอก ของต้นไม้ จึงยังไม่มีให้เห็น …มองภาพรวมคล้ายคงเดิม แต่เมื่อเจาะรายละเอียด ทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลงแบบสิ้นเชิง…



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ลำเพ็ง หรือ ผักกูดแดง ช่วงนี้แตกยอดอ่อนในทุ่ง มากกว่า ผักกูด สัปดาห์ที่แล้วเก็บไปขาย คามคำแนะนำของ เพื่อนแม่ค้า
วันนี้ นอกจากมีแบ่งขาย ก็ลองผัดกุ้งสด น้ำมันหอย ทานเป็นครั้งแรก อร่อยดี…



ความเห็น (3)

แถวบ้านเรียก ลำเท็ง ค่ะ คุณลิขิต

สวัสดีค่ะ

คุณแม่มด ใช้ปรุงอาหารอะไรบ้างคะ?เขาว่า แกงเลียง หวานอร่อย…

ขอบคุณค่ะ

ที่เคยทานตอนเด็ก ๆ ใช้ทำแกงเลียงใส่กะปิ ใบส้มป่อย ปรุงรสตามที่ชอบ มีรสชาดเปรี้ยว ๆ อร่อยดีค่ะ แต่ตอนนี้หายาก และต้องระวังเรื่องยาฆ่าหญ้าด้วยค่ะคุณลิขิต

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท