อนุทินล่าสุด


ลิขิต
เขียนเมื่อ

เป็นเวลากว่าหนึ่งเดือน ที่ตลาดสด พ่อค้าแม่ขายนัดกันหยุดวันอาทิตย์ มากกว่าครึ่งตลาด ต่างบ่นกันว่า ผู้ซื้อไม่มาตลาด ผู้ค้าปรับตัว ลดขนาดร้านให้เล็กลง เพิ่มรายการสินค้าที่หาง่าย หรือ รายการสินค้าแปลกใหม่ ฯลฯ เป็นเวลากว่าหนึ่งเดือน ที่แผงค้าล็อตเตอรี่ ขายไม่หมดก่อนวันประกาศผลสลากกินแบ่ง และ แม่ค้าหวยใต้ดิน ต้องหาอาชีพเสริม

 เป็นเวลากว่าหนึ่งเดือน  ที่ผู้เขียน ไปขายผักสด ที่ตลาดสด เฉพาะเช้าวันอาทิตย์  ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นที่น่าพอใจ

ผู้เขียน มีโอกาสได้ พูดคุยแลกเปลี่ยน หัวข้อ ภาวะเศรษฐกิจ กับแม่ค้าบางร้าน อย่างน้อย ก็ได้ให้ข้อมูล เพื่อความกระจ่าง ในระดับชาวบ้าน เพื่อการเตรียมตัว ไม่คาดหวังลมๆแล้งๆ ถึงความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ในเร็วๆนี้ ด้วยเธอขายสินค้าจากธรรมชาติกำหนด และมีความหลากหลาย แทบจะไม่ได้รับผลกระทบ

 ในภาวะวิกฤติบางสิ่ง กลับแสวงหาโอกาสบางอย่างได้เสมอ...


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

เห็ดสีสันสวยงามแบบนี้ ปรากฏในสวน เฉกเช่น สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่มีความแปลกแตกต่าง ทยอยปรากฏตัว ในรูปแบบต่างๆ คล้ายกฎธรรมชาติปล่อยฟรี… เพื่อ ทดสอบมุมมอง การเห็น ความจริง ของจริง ของมนุษย์เราๆ ช่างเป็นยุคที่น่าตื่นเต้นไม่น้อย



ความเห็น (1)

ความสวยงามซ่อนความร้ายกาจอยู่ภายใน เช่นเดียวกับเห็ดพิษมักสวยงามอย่างที่เห็นค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ลูกู หรือ ลองกองป่า รสชาติ หวานอมเปรี้ยว ชื่นใจ กำลังให้ผลผลิต เป็นช่วงที่ค้างคาวแม่ไก่ สัตว์อนุรักษ์ จะปรากฏกาย กินผลไม้ของโปรดนี้ ยามหัวรุ่ง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

มะละกะ ผลไม้พิ้นบ้าน ของท้องถิ่น รสชาติหวานเย็น ชื่นใจ คล้าย เยลลี่ บ้างก็ว่า คล้ายลองกองผสมลางสาด กำลังเป็นที่นิยมในท้องถิ่น และพื้นที่ใกล้เคียง



ความเห็น (3)

เพิ่งเคยได้ยิน. น่ากินมากค่ะ

ปีนี้วายแล้วค่ะ บริโภคในท้องถิ่นไม่ค่อยพอ แต่มีส่งเข้าเมืองกันมากด้วยค่ะ

ถ้าปีหน้าเริ่มออก.. คุณหมอ กับ อาจารย์ สนใจ จะส่งให้ค่ะ

ปีก่อน ตัวเองทานแบบ ต้องหยิบลูกต่อๆไปค่ะ ทานใต้ต้นยิ่งอร่อย ปีที่แล้วออกเยอะ ปีนี้น้อย และไม่ค่อยแข็งแรง เพราะก่อนหน้า เจอน้ำท่วม และฝนตกค่ะ

ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

เมื่อ มือถือไอโฟน๕ ของผู้เขียน ได้เวลาพบหมอ เปลี่ยน อะไหล่ จึงเริ่มมองหาร้านค้าผู้ให้บริการ ผู้เขียนบอกพนักงานว่าต้องการสายชาร์จไอโฟน เขาพาไปร้านค้าย่อยตามยี่ห้อที่ผู้เขียนแจ้ง ได้สินค้าเป็นที่พอใจ จึงสอบถาม เรื่องการเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่นี่สามารถทำได้หรือไม่? พนักงาน ตอบว่า “ทำได้” และถามอาการ เวลาการใช้งาน ผู้เขียน แจ้งอาการแบตเตอรรี่ไม่เก็บไฟ ใช้งาน ประมาณ ๕ ปีแล้ว เขาจึงขอนำเครื่องฯ ไปปรึกษาช่างฯอีกห้องหนึ่ง ให้ผู้เขียนชำระเงิน ค่าสายชาร์จ เขากลับมาแจ้ง ราคา และใช้เวลา ๒๐ นาที ผู้เขียนตกลงส่งเครื่องฯเข้าซ่อม เพราะหาข้อมูลมาพอควรแล้ว โดยพนักงานออกใบแจ้งซ่อม ผู้เขียนเห็นช่าง ๒ คน นั่งอยู่ในห้องกระจกเล็กๆ พนักงานเชิญให้ผู้เขียนนั่งรอในห้องแอร์ที่ขายสินค้าไอโฟน เนื่องจาก วันนี้อากาศร้อน เคาเตอร์ยี่ห้ออื่นๆ อยู่ในห้องรวมใหญ่ ไม่ได้แยกออก เช่น ไอโฟน
สักพัก ชายวัยกลางคน เดินมาถามพนักงานด้วยวาจาไพเราะ “ลูก มีใครดูลูกค้าหรือยัง? “ พนักงานตอบว่า “ลูกค้ารอเครื่องฯซ่อม” พนักงานหญิงวัยรุ่น มากกว่า ๕ คน กระจายอยู่หน้าร้านห้องรวมใหญ่ เมื่อทราบความต้องการลูกค้า จะแบ่งหน้าที่รับลูกค้า ตามที่ต้องการ ภาระกิจเสร็จสิ้น ก็กลับมารอที่เดิม ผู้เขียนนั่งรอตามเวลานัด จึงเดินกลับไปที่หน้าห้องช่าง มีพนักงานหญิงออกมาต้อนรับ นำใบแจ้งซ่อม รับเครื่องฯ จากช่างฯ แล้วนำผู้เขียนไปทดสอบงาน และชำระเงิน เป็นอันเสร็จสิ้น

พนักงานจำนวนหนึ่งเป็นชาวพม่า แต่ผู้เขียน ไม่แน่ใจ จำนวนมากน้อย ก่อนมาใช้บริการ ผู้เขียน คิดเอาเองว่า อาจต้องไปเปลี่ยนแบตเตอรรี่ ที่ภูเก็ต หลังรับบริการ ก็รู้สึกประทับใจ เนื่องจาก มีข้อมูลในกรุงเทพฯเปรียบเทียบ มากกว่านั้น คือ การสำรวจ การพัฒนา ของคุณภาพ ธุรกิจเล็กๆของไทย ในชนบท เป็นที่น่าพอใจ การเปลี่ยนแปลงแบบพัฒนา เริ่มสัมผัสได้ถี่บ่อยขึ้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

สัปดาห์นี้ เพื่อนพ่อค้า เก็บถุงรีไซเคิลมาให้ผู้เขียน ใส่ผักขาย ทั้งที่เขาเองก็ใช้ถุงซื้อใหม่… ผู้เขียนรู้สึกยินดี ที่ได้ช่วยลดขยะ เหตุเมื่อสัปดาห์ก่อน ผู้เขียนมีถุงรีไซเคิลน้อย จึงหยิบถุงใหม่ใส่ให้ลูกค้า เธอบอกผู้เขียนว่า “ใช้ถุงใช้แล้วได้นะ” ผู้เขียนบอกเธอว่า “หมดแล้ว” ผู้เขียนไปซื้อของน้อยลง จึงไม่ค่อยมีถุงใช้แล้ว ส่วนที่ญาติๆส่งมาจากในเมืองก็ใช้ไปหมด ที่ตลาดสดแห่งนี้ มีลูกค้าไม่เอาถุงพลาสติกใส่สินค้าจำนวนหนึ่ง โดยหิ้วตะกร้ามาใส่เอง หรือ ถือผักจำนวนพอกินกลับบ้านก็มี แม้แต่ขนมสดก็นิยมซื้อแบบห่อด้วยใบตองไม้กลัดมากกว่าใส่ถุงหรือกล่องพลาสติก เป็นความสมถะ…

ราคาผักผลไม้ ร้านผู้เขียน ปรับตามความเหมาะสม ต่อรองได้ และลูกค้าก็ไม่ให้ความสำคัญกับระบบคิดทุนนิยม “ของน้อยราคาแพง” ถ้าแพงก็ไม่ซื้อ ไว้ซื้อตอนราคายอมรับได้ และบริโภคได้อิ่มหนึ่ง …เหล่านี้ เป็นความเจริญทางจิตใจ โดยแท้…



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ผู้เขียนมีโอกาสได้ ลปรร.กับเจ้าของสวนผลไม้ และเพื่อนพ่อค้า ในตลาดช่วงเช้า ในประเด็น…

“มังคุด ที่ปล่อยทิ้งกว่า ๓ ตัน (สามารถเล่นกายกรรมได้ในสวน) จาก ต้นมังคุดเกิน ๑๐๐” ชายวัยกลางคน เล่าว่า ช่วงฝนตก ชาวสวนส่งขายมังคุดไม่มีคุณภาพ (ร่วงตกใต้ต้น) ทำให้ ราคาในตลาดตกฮวบ ค่าแรงเก็บมังคุดไม่เคยตก จึงขอทิ้งมังคุดดีกว่า ซึ่งทุกสวนก็เป็นเช่นนี้ มากน้อย…ผู้เขียน บอกว่า ในความเป็นจริงคนไทยไม่ได้กินมังคุดทั่วถึงเลย และเราอาจปล่อยตกเอง แล้วเก็บแปรรูปทุกวัน (นั่นหมายถึง เพิ่มขั้นตอนการผลิต ต้องใช้ทุน และแรงงาน ยังต้องการตลาดรองรับด้วย) ทั้งสองท่านเคยผ่านการอบรมดูงาน การจัดการสวนมังคุดให้ได้คุณภาพ เพื่อส่งขายราคาสูงต่างประเทศ พวกเขาให้ข้อมูลว่า ชาวสวนในท้องถิ่นเรา ไม่สามารถทำเช่นนั้น… สำหรับผู้เขียน เวลานี้ ได้ปล่อยวาง เรื่องการอบรมดูงานแล้ว เห็นได้ชัดว่าเรื่องประเภทนี้กระจายถึงฐานรากแล้ว แต่เหตุใด ประสิทธิผลไม่เกิด ข้อมูลที่สัมผัสได้จริงโดยตัวเรา ความกระตือรือร้นของชาวบ้าน ความรู้ ความสัมพันธ์ ในชุมชน น่าจะเป็นปัจจัยบวกในการแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาประเทศด้วยซ้ำไป ต้องถามตนเองว่า ทำอะไรได้บ้าง เวลานี้ ที่ยังประโยชน์ ตามความสามารถของเรา…



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน… ความรู้ไม่ท่วมหัว แต่เอาตัวรอดได้… เมื่อสามารถจัดการ การรับรู้ของตนได้ เราจะได้รับข้อมูลความรู้ เพื่อนำไปปฏิบัติเท่านั้น ไม่มีส่วนเกิน…



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

การออกตลาดครั้งล่าสุด ผู้เขียนได้ข้อมูลจากลูกค้าหญิง วัยกลางคน ในการเลือกซื้อมะขามเปียก เธอจะซื้อจากร้านที่ขายน้อยและทำเอง เนื่องจากสะอาดและปลอดภัย เธอบอกว่า ไม่อยากซื้อตลาดนัด และไม่ต้องพูดถึงห้างฯ เพราะไม่ต้องการบริโภค ของที่ทำ หรือซื้อมาขายแบบจำนวนมาก ซึ่งไม่ปลอดภัย เธอพิจารณาดูรายละเอียดสินค้าพร้อมกันด้วย

เมื่อย้อนดูตัวผู้เขียนเอง ถ้าไม่ทดลองเป็นผู้ขาย ก็ไม่เข้าใจความจริงนี้ ดังนั้น การเลือกซื้ออาหารของผู้บริโภค ก็ต้องใช้ความรู้ เราจะพบว่า ผู้คนในเมืองสมัยนี้ มักสนใจเฉพาะ หีบห่อ ความสวยงามภายนอก ความสะดวกสบายของผู้ซื้อ อาจลืมเรื่องสำคัญ คือ ที่มาที่ไป ของอาหาร และการไม่ได้ฝึกทำอาหารก็อาจขาดประสบการณ์

เราอาจละเลย เรื่องใกล้ตัวในชีวิตไปทั้งหมด ตั้งแต่ เริ่มเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมฯ เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ เกิดโรคภัยไข้เจ็บมากมาย ผู้คน ก็เริ่มหันกลับมาใส่ใจ และให้ความสำคัญกับเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น เป็นธรรมชาติของ การเปลี่ยนแปลง…



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ทุเรียนบ้าน มีหลากหลายสายพันธุ์ สามีผู้เขียนเป็นคนเมืองหลวง ชอบทุเรียนพันธุ์ แต่ตอนนี้ ติดอกติดใจ ความหลากหลายรสชาติของทุเรียนบ้าน ผู้เขียนนึกเปรียบเทียบ ว่ารสชาติไม่น่าเบื่อ และเป็นธรรมชาติ มีความหลากหลายแตกต่างกันไปทุกต้น คล้ายผู้คน มีทั้ง ลูกเล็ก กลาง โต รส จืด หวาน มัน หลอม ขม หอม กลิ่นขลุง เนื้อดี ไม่ดี เม็ดตาย ไม่ตาย สารพัดรูปแบบ ในช่วงเวลานี้ คลินิกเบาหวาน ย่อมรู้เหตุผล ที่ผู้ป่วยน้ำตาลขึ้น ในฤดูกาลผลไม้ไทย



ความเห็น (2)

ปีนี้ยังไม่ได้กินทุเรียนเลยค่ะ แพงมาก

สวัสดีค่ะ ในพื้นที่ล้นตลาดมากเลยค่ะ โดยเฉพาะช่วงฤดูกาล ตอนนี้กำลังจะวายแล้ว อยากส่งให้คุณหมอจังเลยค่ะ นี่ฟรีสไว้ก็จำนวนไม่น้อย ที่สวนเหลือทุเรียนบ้าน แต่ในตลาด ยังมีหมอนทอง กก.ละ 90-100 บาทต้นๆค่ะ

ขอแสดงความนับถือคุณลิขิต

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ทุเรียนบ้านคัดพันธุ์ดี ไม่น้อยหน้า เป็นที่ติดอกติดใจของลูกค้าเมืองใกล้ๆ ในยามที่ผลผลิตในท้องตลาดราคาตกต่ำตามกระแสฯ หนูน้อยชาวใต้ได้ชิมลูกเล็กๆ รีบหยิบกลับไปกินต่ออย่างเอร็ดอร่อย พ่อค้าก็แปลกใจกับวิธีขายของผู้เขียน เลยร่วมสนุกกันไปด้วย กำนี้ไรนี้มีแบ่งปัน บางครั้ง ขายเอง บางครั้งฝากขาย บางครั้งขายญาติ ลด แจก แถม เพื่อ สร้าง คุณค่า การใช้เงิน และฝึกการให้ การรับ ที่พอเหมาะพอควร



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

เนื้อทุเรียนก้านยาวสีทอง รสชาติหวานมัน เหนียวหนึบ กลายเป็นที่ติดอกติดใจ ของชาวท้องถิ่น ที่ย้ายถิ่นไปอยู่เมืองหลวง และได้กลับบ้านเกิด ในฤดูกาลนี้ วันหยุดเข้าพรรษา หรือ มาทำงาน เป็นต้น ต่างก็ มีความเห็น ให้ท้องถิ่นส่งอาหารสด เข้าเมือง และต้องการอุดหนุนเงินให้กับชาวบ้าน คนไทยด้วยกัน โดยมีชมรมฯ เป็นจุดเชื่อมก็ได้ ทำให้ ผู้เขียน คิดตาม …มิต้องเริ่มด้วยกฎ ศีล ๕ หรือนี่… ค้าขายด้วยคุณธรรม จริยธรรม รักชาติแผ่นดินไทย เหล่านี้ พัฒนาความสัมพันธ์ สร้างคุณค่าให้สังคมไทย ความสุขของครอบครัวไทยๆ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ทุเรียนก้านยาว ปีนี้ สั่งตัด ได้ประมาณ ๘๐ กิโลกรัม หลังจากร่วงไปเกิน ๑๐ ลูกแล้ว มีโรคตามธรรมชาติบ้าง ที่น่าแปลกคือ ทุเรียนร่วงธรรมชาติ ลูกแรกๆ เนื้อแข็งต้องรอบ่มคล้ายทุเรียนตัด แต่ หลังจากน้ำท่วม วันที่ ๑๙-๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ผลทุเรียน เงาะ มังคุด ปริบนต้น ทุเรียนไม่ร่วงแม้สุก (ก้านขั้วไม่หลุด) สภาพที่เห็น คือ ทุเรียนสุกงอม เปลือกปริแยกออกเห็น เนื้อเหลือง แต่ก้านขั้วไม่หลุดออกจากทุเรียน …ธรรมชาติแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา



ความเห็น (2)

ชอบทุเรียนก้านยาวมากค่ะ คุณลิขิต แต่ในท้องตลาดบ้านเราต้องระวังเรื่องยาฆ่าแมลงมากเป็นพิเศษ ชาวสวนได้ผลผลิตเยอะ แต่อันตรายต่อคนทานแบบเราๆ จึงต้องเลือกสวนที่ปลอดยา มาทานค่ะ

ใช่คะ ตอนนี้เห็นกับตาตนเองว่า ผลไม้สดจากสวนที่เข้าแผงค้าก่อนกระจายขายในระบบนั้นใช้สารเคมีทุกชนิดค่ะ สำหรับสวนที่ปลูกมากก็ต้องใช้สารเคมี เพราะกลัวสูญเสียการลงทุน คนในท้องถิ่น จึงมองหา สวนธรรมชาติดั้งเดิม เรียกว่า สวนสมพรม ที่ปลูกทุกอย่างที่บริโภคได้ พอมีเหลือ แจกจ่าย และขาย เป็นที่นิยมมากค่ะ แต่คนเมืองอาจไม่รู้ข้อมูลนี้เลย และสวนแบบนี้ก็มีน้อยลงมาก เพราะไร้ผู้สืบทอดค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

เงาะโรงเรียน หวาน ล่อน กรอบ อร่อย ผลไม้ของโปรดของผู้เขียนในวัยเด็ก ปีนี้ สวนกลับคืนสู่สภาพปกติ มีผลผลิตออกมาเกินพอที่ครอบครัวจะบริโภค มีพอ แจกจ่าย ญาติ มิตร คนชรา ตำรวจ ผู้ป่วย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่อนามัย งานพิธีต่างๆ ฯลฯ และ มีพอสำหรับขายเข้าเมือง ขายในตลาดท้องถิ่น เพื่อแลกเปลี่ยนเงินตรา นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง ของการดำรงชีวิต แบบ อยู่-เหลือ



ความเห็น (2)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ฤดูกาลแห่งผลไม้ปีนี้… ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา มีทุเรียน มังคุด เงาะ ราชินีแห่งผลไม้ไทย ออกผลเต็มที่ ยามที่ผลผลิตล้นตลาด ราคาตกต่ำตามปกติ ในพื้นที่นิยมส่งผลผลิตเข้าเมืองจำนวนมาก ผู้คนในพื้นที่บริโภคกันอิ่มหนำสำราญ ผู้เขียนมีโอกาสได้ส่งอาหาร เข้าเมืองเช่นกันถึงญาติมิตรในโอกาสต่างๆ เมื่อต้องรอคิวอันยาวเหยียดเพื่อส่งพัสดุ อดยิ้มกับตนเองในความร่ำรวยทรัพยากรของท้องถิ่นเสียมิได้…



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

“ตลาด…มีแต่น้ำตา” คือ นิยาม ของตลาดสดในห้วงเวลานี้ จากบทเพลงอันทันสมัย ของพ่อค้าคนเก่งในตลาดนั่นเอง โดยปกติ ตลาด มี ผู้ซื้อ ผู้ขาย สินค้า เป็นต้น ปัจจุบัน มีผู้ซื้อน้อยมาก ที่มาตลาด และอาจไม่มีเงินพอซื้อ สินค้าที่อยากซื้อ (มีแต่น้ำตา) ผู้ขาย คล้ายจะมีมากขึ้น แต่เมื่อขายสินค้าไม่ได้ ก็จำเป็นต้องลดปริมาณสินค้า และหยุดขายเป็นบางวัน วันที่ขายสินค้ายากมีมากกว่าวันขายดี และเดาไม่ออก จึงมีแต่น้ำตา เช่นเดียวกัน ถ้าสินค้า มีชีวิต ก็คงมีน้ำตาไหลออกมา เพราะ ขายไม่ออก เหี่ยวเฉา สินค้าถูกปรับราคาสูงขึ้น หรือไม่ก็ลดปริมาณลงในราคาเดิม ดังนั้นความเปลี่ยนแปลงเรื่องหนึ่ง ที่ทุกคนสัมผัสได้ชัดเจน ขณะนี้ คือ “ตลาด…มีแต่น้ำตา”



ความเห็น (1)

น่าเห็นใจเศรษฐกิจช่วงนี้ค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ในช่วงเวลาแบบนี้ ความสุข ของคนไทย คือ อะไร?… ความสุข ของผู้เขียน คือ การที่ได้มีโอกาสร่วมเผชิญ วิกฤติ และความยากลำบากไปพร้อมกับ ชาวบ้านธรรมดาๆ คล้ายค้นพบหนทาง การดำรงชีวิตแบบหนึ่ง…ผู้เขียน มีทรัพยากร พืชผักผลไม้ ในมือ ที่มีต้นทุนจากธรรมชาติ ไว้แลกเปลี่ยนเงินตรา และ เป็นอาหาร ผู้เขียน มีความสามารถ เปลี่ยน แปรรูป ปรุงทรัพยากร เป็นอาหารรสเลิศได้ ซึ่งต้องอาศัยทักษะการฝึกฝน งานเหล่านี้ ไม่ก่อเกิดความเครียด แต่สร้างพลังทางความคิด

ในเวลาประมาณ หนึ่งปี ผู้เขียนได้รับข้อมูล ในชุมชนเมือง ผลไม้ไทย ขึ้นชื่อ ราคาสูงมาก และอาจมีไม่เพียงพอสำหรับคนไทย เมื่อลองคำนวณราคาทุเรียนในตลาด ในภาวะเศรษฐกิจ ที่หาเงินได้ยาก ชาวบ้านธรรมดา จะมีโอกาสซื้อได้หรือไม่?

ราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ปรับราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง แม่ค้าในตลาด บอกว่า คนซื้อ เปลี่ยนมาเป็นคนขายหมด แม่ค้าต้องหยุดขายเป็นบางวัน ทุกชีวิต ดิ้นรนปรับตัวกันไป

ชีวิตจริง เมื่อผู้คนไม่อิ่มท้อง ขาดความเชื่อมั่น จะเกิดเรื่องราวใด ต่อไปอีก…. ผู้คนโดยส่วนรวม มีความสุขกันดีอยู่ เช่นนั้นหรือ?



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

เนื้อในของละมุดสีดา หรือ ม่วงมุด



ความเห็น (2)

อิ อิ… แล้วจะติดใจค่ะ อาจารย์ ตอนแรกคุณสามีบ่นไม่ชอบกลิ่น ตอนนี้เริ่มโปรดปรานแล้วค่ะ ที่ภาคใต้ เป็นที่นิยม…แต่เริ่มหาได้ยากขึ้น เป็นไม้ใหญ่ยืนต้นคล้ายมะม่วงค่ะ ต้นแก่สูงมากๆ มองไม่เห็นลูกเลย ต้องสุกจัด ร่วงจากต้นเท่านั้นค่ะ จะอร่อยสุดๆ

ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ละมุดสีดา หรือ ม่วงมุด หวานหอม ผลไม้พื้นบ้าน



ความเห็น (6)

เป็นตระกูลมะม่วงไหมครับ?

กลิ่นละมุดชนิดนี้ ถ้าใครไม่เคยชิน ถึงกับเป็นลมกันเชียวค่ะ เพราะกลอ่นแรงมาก แต่รสชาดอร่อยค่ะ

เป็นละมุดผสมกับมะม่วงค่ะ คนใต้เรียก ม่วง ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

หาได้หรือยังคะ คุณมะเดื่อ เมล็ดที่ทิ้งไว้ กำลังงอกหลายต้นค่ะถ้าต้องการ แจ้งมานะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

เนื้อทุเรียนบ้าน รสชาติหวานหอม กลมกล่อม



ความเห็น (2)

ลูกแรก หนักประมาณ ๒ กิโลกรัม มี ๑๒ เม็ดลูกที่ ๒ หนัก ๑.๒ กิโลกรัม มี ๖ เม็ด

ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ทุเรียนบ้านลูกแรกในสวนร่วงแล้ว



ความเห็น (1)

เห็นแล้วเสียดายสุดๆ ค่ะ เพราะพึ่งโค่นไปเมื่อต้นปีนี้ สาเหตุจากต้นทุเรียนบ้านนาน ๆ ไป จะสูงมาก อาจล้มลงมาทับบ้านเรือนเสียหายได้ จำใจต้องตัดต้นทุเรียนและ….ตัดใจ…

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ผู้เขียนตั้งสมมติฐาน ว่า ถ้าเรามีทรัพยากรรรมชาติ อาหาร ในมือ และมีฝีมือ ในการปรุงประกอบอาหาร และมีความสามารถในการจัดการ เช่น เก็บผลผลิต ขาย หรือแลกเปลี่ยน หรือแจกจ่าย อันยังประโยชน์ เราจะสามารถดำรงชีวิต เป็นสุข ในสภาวะการเปลี่ยนแปลง ระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๖ เดือน พิสูจน์ได้ว่า เป็นไปได้ตามสมมติฐาน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เปลี่ยนเป็นรายได้ ทำให้ผู้เขียนมีโอกาสได้สัมผัส ตลาดหรือเศรษฐกิจจริงของผู้คนในเวลานี้ เป็นช่วงเศรษฐกิจฝืดเคืองโดยแท้ มีผู้คนต้องการกู้เงินนอกระบบจำนวนมาก ด้วยไม่มีความสามารถผ่อนจ่าย และหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้เดิมก็ต้องถูกนายทุนเงินกู้ยึด การทะเลาะเบาะแว้งระหว่างผู้คนในสังคมด้วยเรื่องกู้หนี้ยืมสินจึงเป็นเรื่องปกติ ดูๆไปแล้ว สังคมไทยเรามีความสุข หรือความเครียดมากเหลือ ตลาดซบเซา การจับจ่ายกำหนดไม่ได้ กลุ่มคนฐานของประเทศเหล่านี้จะทำอย่างไรต่อไป ในแง่เศรษฐกิจ เป็นเรื่องน่าติดตาม เพราะจะส่งผลกระทบ ต่อ ชนชั้นกลางและชั้นสูง อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ในอนาคตอันใกล้ การที่พวกเขาเหล่านั้น จะเปลี่ยนวิถีจากทุนนิยม มาดำรงชีวิตอีกแบบนั้นเป็นไปได้ยาก ถ้าไม่มีคนกลางเข้าช่วยเหลือ เพราะการดำรงชีพต้องมีค่าใช้จ่าย เกิดขึ้นตลอดเวลา (ในที่นี้กลุ่มตัวอย่างมีอาชีพมั่นคง)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

การจัดระบบบริหารจัดการองค์กร เปรียบเปรยกับ การจัดแจกันดอกไม้หลากหลายแบบ เมื่อลองปรับให้ง่ายจากเดิม… ที่เป็นสายการบังคับบัญชารวมศูนย์ จากบนลงล่างนั้น ล้วนเกิดอุปสรรค ในการส่งเสริมทักษะความสามารถพนักงานให้โดดเด่น และเกิดประสิทธิผลต่อองค์กร



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

แจกันดอกดาหลาและ ดอกยี่หุบ ประดับใบโกศล ๓ ชนิด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท