อนุทินล่าสุด


ลิขิต
เขียนเมื่อ

ดอกไม้ตระกูลกระทือเขา ได้ใช้เวียนเทียน ในวันวิสาขบูชาที่ผ่านมาเป็นครั้งแรก ฤดูกาลนี้ได้พบเป็นครั้งที่สองในชีวิต ตั้งแต่รู้จักสวนนี้ เพื่อนบ้านกำลังช่วยสืบค้น และสนใจขยายพันธุ์



ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะ จะระวังนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

เราพบแมงมุมหลายชนิด ทั้งในบ้าน ในสวน(ชักใยตามต้นไม้) มากกว่า ในอดีต(จะพบในบ้านตัวโตสีน้ำตาล)มากโข และชักใยได้เร็วมาก นี่ คืออีกปรากฏการณ์หนึ่ง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ยอดผักหวานผัดไข่ รสชาติกลมกล่อม หวานมัน กรุบกรอบ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ดอกผักหวานป่า



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ดอกอุตพิด สวยงามที่สุดช่วงที่ บานตอนเย็น เพียงวันเดียว จากนั้นสีจะซีดจางและเหี่ยวเฉา



ความเห็น (1)

ดึงให้ปลาในบ่อได้ครับ ไม่เหลือ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ผู้เขียนได้ทบทวนว่า …หลังจากติดตามสังเกต การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ (พืช สัตว์ ภูมิอากาศ ฯลฯ) มาช่วงระยะเวลาหนึ่ง ตั้งแต่ ฤดูกาลยอดผัก วันนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองปรับตามธรรมชาติ คือ ไม่สนใจ สิ่งภายนอกที่เคยตามสังเกต แต่ เกิดกระบวนการปล่อยวาง จิตเป็นสุข ขณะทำงานกับธรรมชาติ และสามารถแตกแขนงความคิดหลากหลายประเด็น ทำให้นึกถึง คำว่า “รากความคิด”

ลูกสาวของเพื่อนบ้าน เรียนจบปริญญาตรีเป็นบัณฑิต โดยสมบูรณ์ ครอบครัวคงจะร่วมกันขบคิดว่า เธอจำเป็นต้องเข้าเมืองหลวงไปทำงาน แบบรุ่นพ่อ หรือ รุ่นผู้เขียน หรือไม่ ? ผู้เขียนได้พบ พ่อ และน้าของเธอที่มาจากเมืองหลวง พวกเขาคงจะสงสัยว่า ผู้เขียนอพยพมาจากเมืองอยู่ได้อย่างไรในชนบท? และเขาก็คิดได้เอง เมื่อมาดู มอง เห็น กับตาตนเอง ผู้เขียนบอกว่า รุ่นนี้ไม่จำเป็นต้องเข้าไปถึงเมืองหลวง โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก ต้องปรับ พ่อเธอเห็นด้วย ต่อมาผู้เขียน มีโอกาสเจอ เจ้าตัว เธอสวัสดีทักทาย ผู้เขียนได้คุยกับเธอสั้นๆ “ทำบ้านพักแบบใหม่ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการแสวงหาความสงบ คนแสวงหาสิ่งเหล่านี้กันมาก” (ผู้เขียนหวังว่า เธอจะได้เป็นกำลังสำคัญให้ครอบครัว ที่มีผู้พิการถึง ๒ คน และพ่อแม่ของเธอ ก็เข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว) วันนี้ ผู้เขียนได้เห็น บ้านเธอปฏิบัติการตัดหญ้าเคลียร์พื้นที่ เตรียมงานแล้ว…



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ระหว่างการช่วยเก็บยอดผักให้เพื่อนบ้าน ผู้เขียนได้ทบทวนความคิด เรื่อง…

๑.ตรรกะการดำเนินชีวิตของผู้คนในยามที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงนี้ ถ้าตรรกกะถูก ก็มีทางไปได้เสมอไม่ตัน และคงสภาพเป็นตัวของตัวเองได้ จากที่ได้ติดตามตัวอย่างจริง๒. ปุถุชนทั่วไป มีผิดถูก มีข้อดีข้อเสีย การให้โอกาสในการแก้ไขปรับปรุง เพื่ออยู่ร่วมกันฉันมิตรในสังคมไทย เป็นเรื่องจำเป็น ชุมชนจึงจะเข้มแข็งโดยแท้จริง๓. ที่บ้านผู้เขียน สมาชิกกล่าววาจาเท่าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน การดำรงชีวิตแบบสันโดษ อาจทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องภาวะอารมณ์ของคนในครอบครัว๔. การเก็บผักได้เร็ว เพราะมีเครื่องมือ มีระบบการทำงาน ซึ่ง มีผู้สนับสนุน เอื้อเฟื้อ…ให้ผู้เขียน ช่วยสวนนี้ได้ มาจาก คนในครอบครัว และเพื่อนบ้านอีกสวนหนึ่ง (เมื่อเราคิดดีๆ จะมีความสุขใจ และทำงานได้รวดเร็ว)

ประมาณ ๒ ชัวโมง ก็ได้ยอดผัก ๒ ชนิด ให้เจ้าของสวนภาคภูมิใจ ผู้เขียนได้เผือกพื้นบ้าน มาทำขนมตะโก้เผือกด้วย ในรอบบ่ายผู้เขียน ได้นำขนมไปฝากเพื่อนบ้านผู้พิการ ที่ชอบขนมหวาน ซึ่งเขาเพิ่งจะให้ไก่บ้านตัวแสบมา โดยการให้จับเองตอนมันมาหากินที่สวนผู้เขียน …ชนบทมีทรัพยากรมากมายอักโข ที่จะแลกเปลี่ยนกันไปมาฉันมิตร…ผู้เขียนยังค้นหา สูตรการดำรงชีพแบบ อยู่-เหลือ ต่อไป



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

เช้าวันนี้ การขายยอดผัก ในตลาดสดเช้า ค่อนข้างอืด อาจเป็น เพราะ มีขายกันหลายร้าน และ เป็นช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากกว่าผู้บริโภค เมื่อฟ้าสว่าง หญิงชาวพม่าคนหนึ่ง ก็มาเหมาซื้อ ยอดผักของผู้เขียน และยอดส้มป่อย ของร้านติดกัน เป็นที่น่าสังเกตว่า ชาวพม่าจะดูของเป็น และตัดสินใจซื้อเร็ว ต่อรองเก่ง เพื่อนำไปขายในกลุ่มเชื้อชาติพวกเขา ผู้เขียนเคยตกเป็นคนกลุ่มเดียวกับชาวพม่า ที่เลือกซื้อปลาธรรมชาติ(อาจมีตัวเล็ก ใหญ่ไม่เท่ากัน จำนวนไม่มาก) และผักบ้าน ที่บ้านโป่ง ในขณะที่คนไทย ในยุค๒-๓ปีที่แล้ว แถบนั้น จะเข้าร้านค้าที่ขายของดูภายนอกสวยงามใหญ่โต เป็นต้น

      ปัจจุบัน  ด้านหน้าตลาดสด มีการปรับตัวเป็นที่วางขาย ของสด ตามธรรมชาติ ทุกรูปแบบ และค่อนข้างคึกคัก  คล้ายกับสมัยเด็กๆ คือ  ธรรมชาติ อำนวยให้เกิดอาหาร  ผู้คนก็มาตลาดเลือกซื้อไปบริโภคตามฤดูกาล  การไปตลาดสด จึงตื่นเต้น เพราะอาจได้เจอ ของแปลกใหม่ ที่ชาวบ้านเอามาวางขาย


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ตั้งแต่จำความได้ ในวัยเด็ก ผู้เขียนเคยวิ่งเล่นในสวน จวบจนโต เมื่อกลับบ้านสวน ในช่วงเก็บเกี่ยวใบตอง ไม่เคยเจอหอยสีสวยแบบนี้ เมื่อ ๒ สัปดาห์ที่ผ่านมา ยังได้เจอ สัตว์ตระกูลหนอนแบบแปลกๆ สีสันโทนเดียวกัน อีก ๒ ชนิด แต่กลับไม่เจอ หนอนตัวอ้วนสีเขียวตองอ่อนที่พบได้บ่อยเสมอมา…



ความเห็น (1)

หอยมรกต พบที่เกาะตาชัย แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

วันนี้ผู้เขียน ได้เจอเพื่อนแม่ที่โรงพยาบาล ทำให้ทราบข่าว สามีของท่านถูกรถสิบล้อชน จากการขี่รถมอเตอร์ไซด์ไปสวนยางตอนเช้า ด้วยวัย 85 ปี แม้อาการไม่หนัก ถึงชีวิต แต่ก็ต้องเสียนิ้วมือนิ้วเท้าบางส่วน กลายเป็นผู้พิการ การดูแลผู้ป่วยก็ต้องจ้างผู้ช่วยพยาบาล ด้วยลูกหลานต้องทำงาน และแยกกันอยู่ในเมือง ซึ่งทุกครอบครัวที่ส่งบุตรหลานไปเรียนและทำงานในเมือง จำต้องยอมรับสภาพ… ไม่ได้แตกต่างจากครอบครัวผู้เขียน นั่นเป็นเหตุผลในการตัดสินใจ กลับบ้านพ่อของผู้เขียน ในบั้นปลายของท่าน…

ในวันนี้ไม่ได้แตกต่างจากวันก่อนๆ ที่จะได้ยิน พยาบาล บ่นโอดว่า ผู้สูงอายุที่ไม่มีญาติมาด้วย จะมีปัญหามาก และพยาบาลก็ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง
ในขณะที่ความเป็นจริง วัยผู้สูงอายุ จะมีโรคภัยไข้เจ็บมาเยือนมากมาย ตามประสาไม้ใกล้ฝั่ง จึงมีโอกาสพบแพทย์ พยาบาลบ่อยๆนั่นเอง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ฤดูกาลแห่งการผลิดอกของผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด ฯลฯ ไม่เป็นฤดูกาลอีกต่อไป ฝนทำให้ต้นไม้ผลิใบอ่อนแทนดอก จึงไม่ต้องกล่าวถึงฤดูกาลออกผลในปีหมู นั่น คือ ไม่มีผลไม้ตามฤดูกาลนั่นเอง ธรรมชาติสร้างความผิดหวัง ให้ชาวสวนธรรมชาติ ที่คาดหวังผลในปีหน้า จากที่ผิดหวังในปีนี้
ผู้บริโภค ที่มิได้อยู่กับธรรมชาติ อาจมีผลไม้ให้บริโภคตลอดปี จากการจับจ่าย… ทำอย่างไร? ในชีวิตหนึ่งจะสามารถมองออก อ่านออก ถึงที่มาของสิ่งที่ที่เราได้อุปโภคบริโภคอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

เช้าวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้นำยอดผักไปขายที่ตลาดสดเช้าในท้องถิ่น พร้อมกับซื้ออาหารที่จำเป็น
ผู้ซื้อนิยมผักพื้นบ้านไร้สาร เช่นเดียวกับอาหารทะเลจากประมงเรือเล็ก เพื่อหลีกเลี่ยงสารเคมี ชาวบ้านท้องถิ่นมักประกอบอาหารเอง และเลือกซื้ออาหารปรุงสำเร็จจากผู้ขายที่ปรุงสะอาด เหล่านี้ ทำให้พวกเขามีสุขภาพแข็งแรง ผู้คนที่นี่นิยมตักบาตรตอนเช้า ด้วยความตั้งใจ แต่ละท่านจะมีตะกร้าเล็กๆ เตรียมอาหารมาจากบ้าน หรือซื้อถุงเล็กๆ ผู้เขียนจำได้ว่า ตั้งแต่เกิดภัยสึนามิ ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ คร่าชีวิตผู้คนไปกว่าครึ่งชุมชน ก่อให้เกิดความสะเทือนใจ และเกิดอาการปลงในชีวิต

      ภาพน่าประทับใจ คือ มีเด็กนักเรียนหิ้วขนมมาเร่ขายพ่อค้าแม่ค้าในตลาด  บางคนหิ้วตะกร้าขายกุ้งเต้น เขามากับผู้ปกครอง พ่อค้าจึงทดสอบการคำนวณราคาขายของหนูน้อย สุดท้ายก็เหมาหมดตะกร้า   ...ครอบครัวไหน ถนัดอะไรก็ทำสิ่งนั้นๆ ฝึกฝนให้บุตรหลานหารายได้ พร้อมกับจ่ายตลาด  ทำให้ผู้เขียนนึกถึงวัยเด็ก ตนเองก็ได้รับการฝึกฝนแบบนี้เช่นเดียวกัน     "สังคมเศรษฐกิจปรับตัวล่วงหน้าไปแล้ว เพื่อความอยู่รอด  การแลกเปลี่ยนกันเองของ เหล่าผู้ซื้อผู้ขายในชุมชนเล็กๆที่สงบ ช่างน่าประทับใจ"


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ดอกมณฑา



ความเห็น (3)

มีกลิ่นหอมอ่อนๆ สมเป็นพันธุ์ไม้ไทยค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ดอกจำปูน



ความเห็น (2)

จะมีกลิ่นหอมแรงหน่อยค่ะ ตระกูล “จำ…” ทั้งหลาย

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ดอกมณฑา ไม้หอมพันธุ์ไทย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

เกิด แก่ เจ็บ ตาย การเกิดใหม่ของสิ่งมีชีวิต เช่น มนุษย์เรา เป็นเรื่องที่น่ายินดีในกระแสสังคมไทย ปัจจุบันบางครอบครัวใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อให้มีลูกแม้จะไม่ใช่วิถีธรรมชาติ แต่ก็มีผู้คนอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นผู้คนที่มีศักยภาพการเลี้ยงดูบุตร กลับไม่แต่งงานมีภาระรับผิดชอบ หรือแม้แต่ไม่อยากมีลูก นี่คือ อนาคตของประเทศเรา เมื่อผ่านพ้นวัยรุ่นหนุ่มสาวไปแล้ว ทุกคนต้องแก่ ร่างกายสังขารเสื่อมโทรม ตามสภาพ ปัจจุบัน มีวิธีชะลอความแก่มากมาย ซึ่งต้องใช้เงิน เช่น การทำศัลยกรรม อาหารเสริม การย้อมสีผม เป็นต้น แต่ที่หลีกเลี่ยงยาก คือ การเจ็บป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บนั่นเอง อาจเป็นด้วยสูงอายุ หูตาฝ้าฟาง หรือ โรคฮิตปัจจุบัน คือ มะเร็ง ไต ความดัน เบาหวาน เหล่านี้ ประเทศเรา มีระบบสาธารณสุขสำหรับดูแลประชาชน ดีกว่าหลายประเทศเพื่อนบ้าน ผู้สูงอายุเราคงจะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ในอดีต มากกว่ารุ่นหลังๆ ซึ่งน่าจะมีภูมิคุ้มกันร่างกายน้อยกว่ามาก สุดท้ายคือความตาย อาจด้วยโรคภัยไข้เจ็บ หรือ อุบัติเหตุ หรือหลับตายไป เช่นนั้น ก่อนตายนั้น บางผู้คนอาจได้รับความทรมานมากน้อยแล้วแต่ ถ้าหากเราสามารถ ย้อนเวลากลับไป ตั้งแต่เกิดมา เราจะทำอะไรได้บ้าง? สังขารไม่เที่ยง และไม่ใช่ของเราด้วยซ้ำ สุดท้ายกลายเป็นธุลีดิน กลับคืนสู่ธรรมชาติ คงเหลือไว้ ซึ่ง ความดี ความชั่ว ที่เราได้กระทำตอนมีชีวิต เป็น สัจธรรม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

สันโดษ ผู้เขียนนึกถึงคำนี้ เมื่อเพื่อนบ้านรอบสวน ต่างพากันตั้งประเด็น ว่า “ครอบครัวผู้เขียนอยู่กันเงียบ” เราเพิ่งกลับมาอยู่บ้านสวนได้ไม่ถึงปี หลังจากทิ้งร้างไปมากกว่า ๓ ปี สมาชิกครอบครัว พ่อ และสามี ล้วนเข้าสู่วัย ผู้สูงอายุ ทุกคนรักสันโดษ ต่างทำกิจวัตรประจำวันตามเวลา และทำงานตามแผนส่วนตัว เมื่อมีแขก ก็ต้อนรับขับสู้ตามสถานการณ์ ผู้เขียนจัดเวลาออกยี่ยมเยียนพบปะเพื่อนบ้านบ้าง เนื่องจาก เป็นผู้พิการ ผู้สูงอายุ ซึ่งอาจมีกิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยน… การให้สิ่งที่มีคุณค่ากับผู้รับ ชีวิตในเมืองสงบ ก็ย่อมหาความสงบได้โดยง่ายดาย…



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

เรียนรู้ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ด้วย “ภาษา” เป็นรากเหง้าของความเจริญทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมายาวนาน การใช้ภาษาสื่อสารกัน จึงมีระดับความหมายลึกซึ้ง ที่แฝงอยู่ ให้ผู้รับได้ตีความทำความเข้าใจ โดยใช้ศิลปะขั้นสูง ภาษาที่เกิดขึ้นใหม่จึงมีความละเอียดอ่อนน้อยกว่ามาก อาจเรียกว่าหยาบกว่าก็ได้ ปัจจุบันเราให้ความสนใจภาษาต่างประเทศ เพื่อเป้าหมายชีวิตในการทำมาหารายได้ เกียรติยศ ฯลฯ โดยอาจลืม หรือละเลยถิ่นที่เราเกิด หรือมาตุภูมิ เมื่อเวลาเดินทางผ่านไปๆ เหมือนสายน้ำไม่ไหลกลับฉันใด เรากลับรู้สึกได้ว่า เราไม่สามารถแม้แต่ใช้ภาษาเราเองที่เป็นสมบัติสืบทอดมาเป็นเครื่องมือป้องกันภัย เราจึงไม่รู้สำนึกพระคุณแผ่นดิน หรือบรรพบุรุษชาติของเรา เพราะความไร้ประโยชน์ที่เรารู้สึกได้การใช้เทคโนโลยี สืบค้นข้อมูล จะทำให้เราพิสูจน์ แยกแยะข้อเท็จข้อจริงจากข้อมูลนั้นได้ หรือ เรากลายเป็นเครื่องมือของเทคโนโลยี เกิดภาพความผันแปรของอารมณ์ตามกระแสที่อาจถูกจัดสร้างขึ้น หรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติปุถุชน ดังนั้น ความหมายของคำว่า เรียนรู้ ก็อาจถูกตีความกันไป ตามแต่ละผู้ละนามอาการวิ่งวนเวียนอยู่ในปัญหาเป็นวัฏจักร เหมือนยิ่งแก้ปมเชือกยิ่งเกิดปมใหม่พัวพันยุ่งเหยิง เมื่อลองหยุด และถอยหลังมองในมุมต่างๆ อาจได้พบ จุดเริ่มต้น ที่ต้องไขก่อนจะแก้ปมปัญหาอื่นๆให้คลี่คลายได้โดยง่ายดาย…



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ในวันนี้ สภาพตลาดในชนบทมีการปรับเปลี่ยนตนเองตลอดเวลา เพื่อความอยู่รอด เช่น ขายบางวัน หยุดบางวัน ลงสินค้าน้อยลง เพราะกำหนดพฤติกรรมผู้บริโภคได้ยาก ปรับราคาให้ถูกลงถ้าเป็นของสวนตนเอง บรรจุให้เล็กลง เป็นต้น
แล้วในตลาดเมืองหลวง เป็นเช่นไร? ได้รับคำตอบว่า “น้ำตาไหล” จากในอดีต “ตลาดเน่า” ย้อนไปอีก คือ “ตลาดตาย” … แล้วจะดำรงชีวิตได้อย่างไร? คำตอบ คือ ฝ่าด่านคุณธรรม ลักขโมย โกง ฯลฯ ผู้คนทำงานมีเงินดือนประจำ รู้สึกกลัวที่จะใช้เงิน ….เมื่อต้นไม้ใบหญ้า เล็กๆ ต่างล้มตาย หรือกลายเป็นพิษ ท่านคิดว่า ไม้ใหญ่จะดำรงอยู่ได้อย่างสมดุลธรรมชาติไหมหนอ???



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

กอด เทคนิคการสัมผัสเพื่อสร้างบรรยากาศ…ศิลปินไทยผู้หนึ่งใช้เทคนิคนี้ได้อย่างสละสลวย กับเพื่อนฝูง แฟนคลับทุกเพศทุกวัยของเขา ตัวตนเขาก็เป็นครอบครัวไทยแท้ แต่ใช้ชีวิตช่วงหนึ่งในต่างประเทศ แม้ในการทำงานเขาก็ยังชอบเดินทางท่องเที่ยวเพื่อโลกทัศน์ที่กว้างไกล ดังนั้นภาวะผู้นำ และวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลย่อมสั่งสมในตัวเขาจากการเรียนรู้แน่นอน ครั้งหนึ่งเขามีโอกาสได้ไปถ่ายทำรายการวาไรตี้บนเกาะชาวประมง เขาซื้อขนมเบเกอรี่จากโรงแรมไปฝากเด็กๆบนเกาะด้วยเงินส่วนตัว เมื่อไปถึงได้เจอกับผู้หญิงชาวประมง จึงเดินเข้าไปทักทายด้วยการกอด ผู้หญิงคนนั้นสื่อสารเป็นภาษาท้องถิ่นจับใจความได้ว่า เดี๋ยวสามีเขาจะเข้าใจผิด ผู้เขียนแน่ใจว่าศิลปินท่านนั้นไม่ได้เข้าใจในทันที แต่อาจทบทวนได้ในภายหลัง ประเทศไทยเราเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังมีคนไทยที่ธำรงวัฒนธรรมไทยไว้จำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะในสังคมชนบท ผู้เขียนเองก็เลือกใช้เทคนิคการกอดนี้ อยู่บ้างนานมาแล้ว แต่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม กับผู้ที่เขายอมรับวัฒนธรรมแบบนี้เป็นการทักทายสร้างบรรยากาศ หรือ เป็นการให้กำลังใจผู้สูงอายุ เป็นต้น แต่สำหรับสังคมไทยก็จำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องเพศที่แตกต่าง ขึ้นกับบริบท ที่ไม่อาจแจกแจงรายละเอียดได้ครบถ้วน ผู้เขียนจึงมองว่าเทคนิคการกอดก็อาจเป็นเทคนิคนิคมีคม ผู้ใช้ต้องพึงระมัดระวัง ไม่อาจกล่าวได้ว่า ต่างโผเข้ากอดกัน โดยไม่คำนึงปัจจัย แล้วต่างเปิดใจ ใจเปิด ความรู้หลั่งไหล เหมือนสายธาร ฉะนั้น…



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ปรัชญาจากการจัดดอกไม้ เมื่อมีโอกาสได้ดูละครจีนเรื่องหนึ่ง ซึ่งนำเสนอเรื่องธุรกิจการจัดดอกไม้ พระเอกเจ้าของธุรกิจจะสร้างจินตนาการความสร้างสรรค์จากการจัดดอกไม้ ช่วยแก้ปัญหาทางธุรกิจการทำงาน และให้ความสำคัญกับผู้ที่ถูกทดสอบจนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดดอกไม้ ซึ่งต้องมีความรู้ในการคัดเลือกสี ความหมายของดอกไม้ เป็นต้น สิ่งสำคัญ คือจินตนาการ ผู้ที่กลายมาเป็นมือรอง คือ นางเอก สามารถคิดวิธีแก้ไขปัญหาได้ดีเช่นกัน มีวิธีคิดที่ฉีกแนวทางการตลาด หรือ คิดนอกกรอบนั่นเอง สำหรับผู้เขียนเองนั้น ได้รู้จักปรัชญาการจัดดอกไม้ เมื่อ ๒๐ปีก่อน จึงพิสูจน์ด้วยการทดลองปฏิบัติ นับว่ามีประโยชน์มากในการเผชิญปัญหาทางการบริหารจัดการทุกๆที่ในภาคสนาม จะพบวิธีการหรือแนวทางที่เหมาะสม และได้ดอกไม้สวยๆ สร้างบรรยากาศเป็นอย่างดี จึงนำเสนอกิจกรรมดอกไม้ของน้ำใจในงานประชุมวิชาการการจัดการความรู้ ประมาณ ๑๐ ปีก่อน มาบัดนี้ เราอาจกล่าวได้ว่า ความรู้ใหม่ๆนั้น เมื่อเวลาผ่านไป ก็กลายเป็นความรู้เก่า มนุษย์บนโลกนี้ ที่แสวงหาความรู้แล้วสามารถเปิดภูมิปัญญา ก็สามารถพบความจริงนั้นๆ เช่นกัน แก่นกลางของความจริง เป็นความว่างเปล่า แต่เปลือกนอก หรือกระพี้นั้น มีสีสันน่าหลงใหล ไม่ว่าการเข้าถึงความรู้ด้วยวิชาตะวันตก ตะวันออก หรือหมอเถื่อน ก็ไม่นับว่าผิดอะไร ถ้าเข้าถึงได้อย่างแท้จริงและนำไปใช้ประโยชน์เกิดประสิทธิผล ว่าที่มหาอำนาจใหม่ ย่อมไม่ละเลย เรื่องดีๆแน่นอน…



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ยงพัล ทุกสาขาอาชีพ น่าจะเหมาะสมในการผ่าตัดแก้ไขปัญหาประเทศชาติ แม้ว่า จะมีโอกาสเกิดขึ้นจริงได้หรือไม่ก็ตาม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

ความมั่นคงทางอาหาร ในมุมมองของผู้เขียน คือ เราปลูก เลี้ยง และ หรือ ปรุง อาหาร ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องใช้เงินแลกซื้อมา แต๋ก็สามารถแลกเปลี่ยน รายการที่แตกต่าง จาก เพื่อนในสังคมได้ สำหรับเงินก็ใช้แลกซื้อ ในบางรายการ แม้ไม่ใช้เงินก็สามารถดำรงชีวิตอยู่รอดได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ลิขิต
เขียนเมื่อ

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทย ให้ย้อนนึกถึงวัยเยาว์ พ่อแม่มีส่วนปลูกฝังจุดมุ่งหมายชีวิตให้มุ่งมั่นทางการศึกษา ตราบจนเข้าสู่วัยทำงาน ย่อมมีความคาดหวังสำเร็จในงานที่สนใจ และการพัฒนาตนเอง อีกยี่สิบปีต่อมา เป็นเรื่องเหนือความคาดหวัง นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทย ส่งผลกระทบให้ ชีวิตต้อง รีเซต ใหม่อีกครั้ง แม้จะรับทราบข้อมูลมาก่อนหลายสิบปี ถึงการเปลี่ยนแปลงทุกมิติที่จะเกิดขึ้น แต่เมื่อต้องเผชิญจริง ก็รู้สึกว่าการเขียนระบายคงบรรเทาความซับซ้อนในความรู้สึกได้บ้าง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท