ผลกระทบเชิงบวก"การท่องเที่ยวโดยชุมชน" แม่ฮ่องสอน


ข้อสรุปสำคัญนำไปสู่การยกระดับของการท่องเที่ยวโดยชุมชน(Community based tourism)

ข้อสรุปสำคัญนำไปสู่การยกระดับของการท่องเที่ยวโดยชุมชน(Community based tourism)

ผลกระทบเชิงบวกจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

  • การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือการนำเสนอตัวคนของชุมชน

การท่องเที่ยวโดยชุมชนถูกใช้เป็นเครื่องมือในการบอกกล่าว วิถีที่แท้จริงของชุมชนให้ภายนอกรับรู้เพื่อสร้างความเข้าใจโดยการชักชวนคนนอกในฐานะนักท่องเที่ยวเข้าไปเรียนรู้ในชุมชน โดยเฉพาะชุมชนบนพื้นที่สูง ที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มักถูกตกเป็นจำเลยในสายตาของคนนอกว่าเป็นผู้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

กรณีบ้านท่าตาฝั่ง อ.แม่สะเรียงชาวบ้านได้ใช้การท่องเที่ยว เป็นเครื่องมือในการนำนักท่องเที่ยวเข้าไปในชุมชนมีวัตถุประสงค์หลักคือ ให้คนภายนอกเข้าใจว่าไม้ที่ถูกตัดตามแม่น้ำสาละวินมาจากฝั่งพม่าไม่ใช่การตัดไม้ทำลายป่าที่เกิดจากฝีมือของชุมชน ส่วนกรณีของชุมชน ปกาเกอญอตำบลห้วยปูลิง อ.เมือง ก็ได้ใช้การท่องเที่ยวนำเสนอวิถีชีวิตปกาเกอญอ วิถีการทำไร่หมุนเวียนซึ่งเป็นวิถีการอนุรักษ์ เป็นการจัดการทรัพยากรโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน

  • การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  ฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี

กระบวนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อก้าวเข้าสู่การจัดการที่พร้อมจะรับท่องเที่ยวได้ ชุมชนจำเป็นต้องเรียนรู้ตัวเอง โดยวิธีการจัดการความรู้ (Knowledge management) ระดับชุมชน และนำความรู้มาสื่อความหมายต่อนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในชุมชน กระบวนการเรียนรู้รากเหง้าตนเองของชุมชนในทุกแง่มุมตามกระบวนการนี้สร้างจิตสำนึกให้ชุมชนหันกลับมาให้ความสำคัญวิถีดั้งเดิมของชุมชน สร้างจิตสำนึกของความเป็นเจ้าของ(Sense of ownership) อีกทั้งรูปแบบการท่องเที่ยวที่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เป็นจุดขาย การได้สัมผัสธรรมชาติแบบใกล้ชิด เพื่อสื่อความหมายให้แก่ผู้มาเที่ยว เป็นโอกาสทำให้ชุมชนได้เรียนรู้ และตระหนักถึงความสำคัญและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นต้นทุนที่ชุมชนมีอยู่รอบตัวมากขึ้น

จุดเด่นประการหนึ่งของการท่องเที่ยวที่ชุมชนนำเสนอ คือการช่วยอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเสริมให้ชุมชนภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเองมากขึ้น ด้วยนักท่องเที่ยวให้ความสนใจ ใคร่รู้ และชุมชนได้นำเสนอผ่านวัฒนธรรมตามวิถีของชุมชน

  • เกิดการรวมกลุ่มเพื่อเสริมความเข้มแข็งในชุมชน

การบริการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทำให้เกิดกลุ่ม แบ่งบทบาทหน้าที่เพื่อรองรับการท่องเที่ยวระดับชุมชน ในการบริหารจัดการกลุ่มเป็นโอกาสให้ชุมชนได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันบ่อยครั้งมากขึ้นทั้งแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเกิดความสัมพันธ์ผ่านการปะทะสังสรรค์ทางสังคม พร้อมเกิดกลุ่มใหม่ๆ(New Group) ขึ้นในชุมชน เช่น กลุ่มของที่ระลึก กลุ่มการแสดง กลุ่มไกด์ชุมชน เป็นต้นเป็นความสัมพันธ์แนวนอน(Horizontal) ที่เกิดขึ้นระหว่างปัจเจคบุคคลกับกลุ่มอื่นๆในระดับชุมชน

นอกจากการรวมกลุ่มระดับชุมชนแล้ว ยังมีการรวมกลุ่มระดับโซน ตัวอย่างเช่น กลุ่มหมู่บ้านปาเกอญอตำบลห้วยปูลิง อ.เมือง กลุ่มชุมชนที่จัดการท่องเที่ยวในเครือข่ายของโครงการฟื้นฟูชีวิตและวัฒนธรรมแม่ฮ่องสอน ที่รวมตัวกันเป็นเครือข่ายเรียนรู้ สนับสนุนด้านองค์ความรู้ การเชื่อมต่อชุมชนเพื่อตลาดท่องเที่ยวและสร้างพื้นที่ทางสังคมร่วมกัน

  • รายได้จากการท่องเที่ยวเป็นรายได้เสริมของชุมชน

นอกจากวิถีชีวิตของชุมชนที่มีรายได้หลักจากอาชีพเกษตรแล้ว กระบวนการท่องเที่ยวโดยชุมชนก็ถือว่าเป็นแหล่งรายได้เชิงเศรษฐกิจอีกแหล่งหนึ่งแม้ว่าไม่มากนักแต่ก็ถือว่าเป็นรายได้เสริม จากการบริการด้านที่พักแบบ Home Stay ที่รวมค่าบริการทั้งค่าที่พักและอาหาร การขายของฝากของที่ระลึกที่เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน และรายได้จากกิจกรรมอื่นๆเช่น การแสดงวัฒนธรรมชุมชน ค่านำเที่ยว เป็นต้น รายได้จากกิจกรรมดังกล่าว บางส่วนถูกนำมารวมเข้าสู่กองทุนระดับชุมชนและมีการจัดสรรเข้ากองทุนท่องเที่ยวของหมู่บ้านต่อไป

  • กระบวนการเรียนรู้ ของคนในชุมชน(Community Learning Process)

 กิจกรรมผ่านกระบวนการจัดการท่องเที่ยว ถือว่าเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในระหว่างคนในชุมชน และระหว่างชุมชนกับนักท่องเที่ยว  เกิดการเรียนรู้ข้ามศาสตร์นอกเหนือจากเรื่องท่องเที่ยวโดยเรียนรู้ในเอกลักษณ์

ในกระบวนการเรียนรู้ระดับคนในชุมชน เกิดจากการที่ชุมชนได้ค้นหาศักยภาพตนเอง รวบรวมองค์ความรู้ เรียนรู้ตนเองโดยผ่านกระบวนการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ และใช้ข้อมูลมาเป็นองค์ความรู้ในการสื่อความหมายให้กับนักท่องเที่ยว การเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติ(Interactive Learning Trough action) มีกระบวนการถอดบทเรียน(AAR: After Action Review)เสมอๆหลังจากรับนักท่องเที่ยวแล้ว และนอกจากจะมีการเรียนรู้โดยอาศัยการเรียนรู้จากองค์ความรู้เดิมแล้ว การรับองค์ความรู้ใหม่ก็สำคัญไม่แพ้กัน องค์ความรู้ในการจัดการท่องเที่ยวในระดับชุมชน เช่น ทักษะการสื่อความหมาย การบริการจัดการ การสื่อสารโดยใช้ภาษาต่างประเทศ เทคนิคการเป็นผู้นำเที่ยว รวมถึงการศึกษาดูงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นเป็นกิจกรรมที่ชุมชนเรียนรู้เสมอโดยส่วนใหญ่จะมีองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการจัดวางรูปแบบการพัฒนาศักยภาพชุมชน สร้างโอกาสและช่องทางเรียนรู้ให้กับชุมชน

 กระบวนการเรียนรู้ระดับเครือข่าย ส่วนใหญ่จะเป็นการพบปะโดยใช้การประชุมเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปบทเรียนร่วมกัน และปรึกษาหารือแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน โดยเฉพาะการเชื่อมโยงตลาด การส่งนักท่องเที่ยวไปในชุมชนข้างเคียง ก่อให้เกิดการถ่ายโอนความรู้ของคนในชุมชนแต่ละหมู่บ้าน ส่วนหนึ่งการจัดเวทีระดับเครือข่ายจะมีพี่เลี้ยงภายนอก 

 รูปธรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้แก่ การจัดทำศูนย์การเรียนรู้ชุมชน อาจอยู่ในรูปแบบของศูนย์ข้อมูลของชุมชน และการนำองค์ความรู้ที่รวบรวมเข้าสู่ หลักสูตรท้องถิ่น นำมาให้เยาวชนได้เรียนรู้ชุมชนตัวเอง

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><hr></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">- - -งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ยังไม่สามารถอ้างอิงได้ - - -</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="right">โครงการวิจัยการสังเคราะห์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน</p><p align="right">จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ๒๑ พ.ค.๕๐ </p><p></p><p></p><p></p><p></p>



ความเห็น (3)

งานวิจัยน่าสนใจครับ  จะติดตาม/เข้ามาดูความคืบหน้าบ่อยๆครับ

 

P

ยินดีครับ อ.ชนันท์

ผมเองต้องมีเวลานั่งสังเคราะห์เรื่อยๆครับ เพราะใช้พลัลในการเขียนมาก ได้เขียนไม่กี่วันก็ต้องไปดูงานที่หลวงพระบาง - ลาว กว่า 10 วัน(งานท่องเที่ยวโดยชุมชน) กลับมาต้องมาตั้งหลักเขียนอีกครั้งหนึ่งครับ

ยินดีครับผม หากมีข้อเสนอแนะประการใด กรุณาเขียนลงในบันทึกเลยนะครับ

งานวิจัยชิ้นนี้จะรวมเล่มเร็วๆนี้

เหลืออย่างเดียวคือ สังเคราะห์ พร้อมเรียบเรียง ครับ

ขอเวลาสักไม่เกิน 10 วันครับ

 

งานวิจัยนี้น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากค่ะให้กำลังใจและจะติดตามต่อไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท