KM Research ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ "ห้องการจัดการความรู้ภาคชุมชน"


วันนี้มีการประชุม KM Research ที่คณะครุศาสตร์จุฬาฯ ช่วงเช้าและบ่า่ยมีการแบ่งกลุ่มเป็น ๓ กลุ่มคือ ห้องการจัดการความรู้ภาคชุมชน ห้องการจัดการความรู้ภาคการศึกษา และห้องจัดการความรู้ภาคธุรกิจและภาคราชการ

น้ำไม่ได้อยู่ห้องชุมชนค่ะ แต่พอมีการนำเสนอ Highlightของแต่ละห้องย่อยก็รู้สึกประทับใจห้องนี้มากที่สุด เลยอยากนำมา่ถ่ายทอดให้รับรู้กันค่ะ ห้องนี้มีวิทยากรที่ประสบความสำเร็จจากการนำการจัดการความรู้ไปใช้ คือ "สถาบันสร้างเสริมการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) คุณทรงพล ไม่ได้ใช้การจัดการความรู้อย่างเดียวนการดำเนินงานค่ะ 

สรุปแล้วห้องนี้นำเสนอตอนท้ายว่าอย่างนี้ค่ะ

วิธีตั้งโจทย์วิจัย 

ต้องเริ่มจากพื้นที่ และความต้องการของชุมชนเป็นตัวตั้งไม่ใช่ตามความต้องการของนักวิจัย อีกทั้งต้องค้นหาศักยภาพของตนเอง หาศักยภาพโดยดูทุนของชุมชน และคำถามวิจัยต้องสอดรับกับชุมชน ในที่สุดก็จะเชื่อมโยงชุมชนกับงานวิจัยได้

กระบวนการวิจัย

หัวใจของการวิจัยชุมชนคือ "การเรียนรู้ในสิ่งที่ชุมชนเป็นอยู่ และสร้างสัมพันธภาพที่ดี"

ค้นหา "แรงบันดาลใจ" ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้เพื่อให้คนในพื้นที่เกิดการมีส่วนร่วมและอยากร่วมวิจัยไปกับนักวิจัย

-วิธีการเข้าถึงชุมชนด้วยวิธีการการจัดการความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งต้องบูรณาการเครืื่องมือหลายๆ อย่างเข้าร่วมกัน

-การจัดการทางสังคมนักวิจัยต้องสร้างคนในกระบวนการให้เกิดคนที่มีทักษะร่วมไปด้วย

ทั้งนี้ื่เพื่อใ่ห้คนในชุมชนไปต่อยอดงานวิจัยและขยายผลต่อไปเองได้

กระบวนการเรียนรู้

-สมาชิกเกิดความเข้าใจ ว่า การจัดการความรู้ในภาคประชาสังคม ทำเพื่ออะไร และไปเชื่อมต่อกับภาคส่วนอื่นๆ ได้อย่างไร เช่นอบต. จังหวัด ส่วนราชการ หรือองค์กรใดบ้าง

-เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิด ความรู้ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ 

 ซึ่งการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนจะต้องผูกติดกับความยั่งยืน และเชื่อมโยงกับสถาบันทางสังคมที่มีอยู่เดิม

 

หมายเลขบันทึก: 97678เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2007 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท