เพลงพื้นบ้าน จากการปฏิบัติจริง 4 (ลำตัด)


ลำตัดร้องสร้อยก่อน ตามด้วยร้องเนื้อเพลง

<h3 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 85%; text-align: right; tab-stops: 63.8pt 205.55pt" class="MsoNormal" align="left"></h3> <pre class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 85%; text-align: center; tab-stops: 63.8pt 205.55pt"> </pre> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 85%; text-align: center; tab-stops: 63.8pt 205.55pt" class="MsoNormal"></p>    <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 85%; tab-stops: 63.8pt 205.55pt"> เพลงพื้นบ้าน </h2>                         <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 85%; tab-stops: 63.8pt 205.55pt"> จากการปฏิบัติจริง </h2>                            <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 85%; tab-stops: 63.8pt 205.55pt"> ตอนที่ 4 (ลำตัด) </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 85%; tab-stops: 63.8pt 205.55pt"></h2>

             

</span></span><p>  ลำตัด เป็นเพลงพื้นบ้าน อีกประเภทหนึ่ง ที่มีผู้คนรู้จักกันมาก เพราะว่า ลำตัด เป็นเพลงพื้นบ้านที่เล่นกันหลายจังหวัดในเขตภาคกลาง โดยเฉพาะที่จังหวัดปทุมธานี มีบรมครู สุดยอดเพลงพื้นบ้าน ประเภทลำตัด คือ ครูหวังเต๊ะ (นายหวังดี นิมา) ผมเคยไปพบท่าน เพื่อเรียนรู้เรื่องราวของการแสดงลำตัด 3 ครั้ง โดยพี่ขวัญจิต ศรีประจันต์ แนะนำให้ นับว่าเป็นโชคดีที่ผมได้สัมผัสกับครูเพลงตัวจริงอีกท่านหนึ่ง เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2540 ได้ฟังท่านร้อง และยืนรำ ทำท่าทางประกอบการแสดง ได้พูดคุย และรับความรู้จากท่าน ในวันนั้นครูหวังเต๊ะยังแข็งแรงมาก แต่ว่าด้วยวัยของท่านล่วงเลยมานานกว่า 80 ปี แถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง อุทัยธานี รวมทั้งจังหวัดสุพรรณบุรีก็มีศิลปิน นักแสดงลำตัดอยู่มาก                  ผมได้ติดตามดูการแสดงของครูหวังเต๊ะมาตั้งแต่เรียนอยู่ชั้น ม.1 ที่ โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพฯ ผมไปดูลำตัดที่วัดอัปสรสวรรค์ (วัดหมู) และวัดขุนจันทร์ ส่วนมากจะเป็นคณะหวังเต๊ะ หรือไม่ก็เป็นคณะแม่ประยูร ยมเยี่ยม  ได้ชมการแสดงบ่อยชื่นชอบ จำสร้อยก่อนที่ออกเนื้อร้องหรือว่ากลอนได้หลายบท ได้แก่</p> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 42.55pt 184.3pt">(สร้อย)    วาววับ  ฉันรักสาลิกา  (ซ้ำ)       ส่งเสียงเจรจา อยู่ในคาคบไพร</h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 42.55pt 184.3pt">           น้องนางแหมช่างโสภี (ชะ ชะ)      น้องนางแหมช่างโสภี  </h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 42.55pt 184.3pt">           ใส่เสื้อแพรสี จั๊กกระจี้หัวใจ</h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 42.55pt 184.3pt">(สร้อย)     นัตตา  มะรมบิดตา             มะรมบิดตา (ชะ) มะรมบิดตอย  (ซ้ำ</h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 42.55pt 184.3pt">            ช่อมะกอก  ดอกลั่นทม  (ซ้ำ)  มาพบคนปากคม   มันช่างสมใจคอย</h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 42.55pt 184.3pt">(สร้อย)     สาลิกา โผมา  ทางไหนแน่   สาลิกา   โผมา    ทางไหนแน่       </h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 42.55pt 184.3pt">            สองตาคอยแล  (ซ้ำ)               แล้แล    ไม่งามงอน</h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 42.55pt 184.3pt">(สร้อย)     คนเรา   เกิดมา   วาสนา      ไม่แน่นอน   (ซ้ำ)</h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 42.55pt 184.3pt">            พลัดพราก  จากถิ่น   เอ๊ย..       พลัดพราก จากถิ่นไปหากินแรมรอน  </h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 42.55pt 184.3pt">(สร้อย)     ฮุยเล   ฮุยเล    ฮุ้ยเล            เล   ฮุ้ยลา   (ซ้ำ)</h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 42.55pt 184.3pt">            ถึงวัน   สัญญา   (ซ้ำ)              รำมะนา  เกรียวกราว </h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 42.55pt 184.3pt">(สร้อย)     เล๊ เล๊ เล เล เหล่                  หาลิเก     มาเฮ่สำเภา  (ซ้ำ)</h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 42.55pt 184.3pt">            น้องเอ๊ย  น้องนาง  (ซ้ำ)           ว่างไหมว่าง  มานั่งจับเงา</h1><p>ที่ยกเอามากล่าวข้างต้น เป็นสร้อย ใช้ร้องเกริ่นกลอน โดยพ่อเพลง หรือฝ่ายชายร้องเนื้อเพลงที่เป็นสร้อย 1 จบโดยไม่มีจังหวะ และไม่ต้องรำ เพียงทำท่าทางเล็กน้อย เมื่อผู้ร้องนำร้องจบลง ลูกคู่ร้องรับสร้อยทั้งหมด 2 รอบ และรำแบบวงกว้างยืดเหยียดแขนสุดแขนร้องด้วยรำไปด้วยจนจบสร้อย ผู้ร้องนำจึงเริ่มเดินกลอน นิยมร้องกัน 2 แบบ คือร้องทำนองช้า ไม่มีจังหวะคลอ กับร้องเร็ว เรียกว่า ทำนองโขยก จนจบบทกลอน ลงเพลงแล้วลูกคู่ร้องรับโดยร้อง 2 เที่ยว ลักษณะ ของการแสดงจะสนุกตอนผู้แสดงร้องสร้อย เพราะว่าจะมีลีลาท่าทาง ร่ายรำอย่างสนุกสนาน ส่วนการแสดงก็จะมีการร้องไหว้ครู ร้องออกตัว ร้องปะทะคารม ร้องลา </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt" class="MsoNormal">         ผมได้รับความรู้ การแสดงลำตัดจากการติดตามดูนักเพลงพื้นบ้านประเภทนี้มาตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาดูอย่างต่อเนื่อง ไดฟังลำตัดจากแผ่นเสียง (LongPlay) ชนิดแผ่นใหญ่ขนาด 12 นิ้ว และเทปคาสเสท เมื่อฟังบ่อย ๆ พอร้องได้ โดยเฉพาะผมจำสร้อยเพลงลำตัดได้หลายตับ เวลาร้องหรือสาธิตการแสดง ผมมีข้อมูลขึ้นสร้อยลำตัดได้ และเนื้อหาอื่น ๆ ด้นกลอนสดเอา ผมมีกาสได้แสดงลำตัดในรูปแบบของมหรสพไม่มาก มีแสดงร่วมกับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่เขานำนักศึกษามาอยู่ในหมู่บ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2542 และผมได้แสดงลำตัดบนเวทีที่อาคารอุตสาหกรรมภาคตะวันตก ปี พ.ศ. 2543 ร้องลำตัดร่วมกับคณะวิทยากร ในการจัดอบรมครูสุพรรณบุรี เมื่อ ปี พ.ศ. 2543 ส่วนการแสดงลำตัดบนเวที ร่วมกับลูกศิษย์มีจำนวนมากเหมือนกัน เพราะว่าบางงานเจ้าภาพหาเราไป เขาคิดว่าเพลงอีแซวร้องเล่นเหมือนกับลำตัด เขาก็ให้เราเล่นให้ดู  ผมและเด็ก ๆ ไม่ขัดข้อง จัดชุดการแสดงลำตัดให้ มีบทร้องที่เขียนเอาไว้สำหรับการแสดงประมาณ 20 หน้ากระดาษ </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt" class="MsoNormal">            ในปี พ.ศ. 2546 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้จัดงานสืบสานวัฒนธรรมขึ้น และผมได้นำคณะเพลงพื้นบ้านของโรงเรียนปร่วมแสดง ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัย ที่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  ดังตัวอย่างต่อไปนี้ครับ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt" class="MsoNormal"></p> <h3 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal"></h3> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal"></h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">(สร้อย) สาลิกา โผมาทางไหนแน่   สาลิกา โผมาทางไหนแน่ </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">            สองตา  คอยแล  (ซ้ำ)      แล้แล  ขอแค่ชายตา </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">          นี่เป็น  วัฒนธรรม         เล่นกันตาม  สำนวน </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">               มีตอนใด ไม่สมควร       อย่าเพิ่งด่วน  หนีหน้า </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">          ในนามของ  นักเพลง     ร้องบรรเลง  ด้วยคารม </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">          ขอให้เกียรติ  ท่านผู้ชม   ที่ยังนิยม   เสน่หา </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">          ให้โอกาส  เพลงพื้นบ้าน  นำผลงาน  ของท้องถิ่น </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">          เหมือนเปิดกรุ  ที่ฝังดิน   นำทรัพย์สิน  ที่มีค่า </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">          ของปู่ย่า ตายาย           ที่เหลือให้  ลูกหลาน </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">          เป็นมรดก  พื้นบ้าน       มายาวนาน  หนักหนา </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">          วันนี้ลูกได้   นำผลงาน    เพลงพื้นบ้าน   ภาคกลาง </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">          แสดงไว้เป็น  ตัวอย่าง       เพื่อเบิกทาง  คราวหน้า </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">          ลำตัด ลิเก เพลงเรือ       กำลังจะ    เหลือน้อย </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">          เพลงอีแซว เพลงฉ่อย     ผู้คนไม่ค่อย  ศรัทธา </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">          เพลงเต้นกำ  รำเคียว      น่าหวาดเสียว  ว่าจะสูญ </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">         เพลงขอทาน  ยังขาดทุน  แทบไม่เหลือ  คุณค่า</h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">          ถ้าหากแบ่ง   ใจได้        ขอปันใจ  ให้มาบ้าง </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">          ถึงแม้จะเป็น  เส้นทาง    ที่รกร้าง   ก็จะฝ่า </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">          จะขอสืบสาน  ตำนานเพลง  ที่เคยบรรเลง  ในท้องถิ่น </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">          เพื่อเอกลักษณ์  ของแผ่นดิน ไปจนสิ้น   ชีวา </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal"> สร้อย) สาลิกา โผมา  ทางไหนแน่   สาลิกา  โผมา   ทางไหนแน่       </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; text-align: justify; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">            สองตา  คอยแล  (ซ้ำ)      แล้แล  ขอแค่ชายตา         </h2> <h3 style="margin: 0cm 0cm 0pt 14.2pt; tab-stops: 63.8pt 184.3pt" class="MsoNormal">      </h3> <h3 align="left"> (ชำเลือง  มณีวงษ์ / ลำตัด 2550)   </h3> <h3 align="left">   </h3></span></span></span></span></span>

หมายเลขบันทึก: 96462เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2007 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท