บายศรีสู่ขวัญ (คุณค่าของวัฒนธรรมประเพณี)


บุคคลที่ดี ต้องมีความกตัญญูต่อผู้บังเกิดเกล้า

บายศรีสู่ขวัญ

 คุณค่าของวัฒนธรรมประเพณี”  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify"></p> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify">                                               </h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify">       การทำขวัญนาคในความนิยมมักจะทำกันในตอนเย็นวันสุกดิบ  เป็นวันที่นาคจะต้องโกนผม โกนคิ้ว โกนหนวดเคราออกให้หมด แต่งตัวให้เรียบร้อยด้วยผ้าสีขาว (ชุดขาว) พร้อมกับมีผ้าสไบ ในพิธีก็จะมีบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย รวมทั้งพี่ ป้า น้า อา และญาติ ๆ มานั่งล้อมรอบหลักบายศรีในบริเวณพิธีทำขวัญนาค โดยมีนาคนั่งอยู่ทางด้ายซ้ายมือของหมอขวัญ พร้อมด้วยเครื่องอัฐถบริขาร เครื่องสักการะที่จำเป็นต้องใช้ในพิธีทำขวัญ จัดตั้งเอาไว้ให้อยู่ในวงพิธี ส่วนหมอทำขวัญจะเป็นบุคคลที่ในละแวกบ้านนั้น ให้การเคารพนับถือ เป็นผู้จัดเตรียมเครื่องพิธี  โดยนำเอาไม้ไผ่ที่ผ่าออกเป็น 3 ซีก มาขนาบหลักบายศรี เป็น 3 เส้า เอาด้ายสายศีลมัด ช่องละเปลาะทุกช่อง หรืออาจจะมัด 3 ช่อง กะดูว่าแน่นหนา หลักบายศรีไม่เซซุน ที่ยอดบายศรีหมอขวัญจะวางบายศรีปากชาม พร้อมด้วยข้าวปากหม้อและไข่เอาไว้ ส่วนในช่องอื่น ๆ จัดวางเครื่องสังเวยวางลงไปทุกชั้น (หรืออาจจะวางเพียง 3 ชั้น)  เอาใบตอง 3 ก้าน มาหุ้มบายศรี แล้วผูกด้วยด้ายสายศีล นำเอาผ้าขาว หรือผ้าสี หรือผ้าแพรสีต่าง ๆ หุ้มบายศรีแบบเวียนซ้ายไปหาขวา โดยการพันรอบหลักบายศรี ห่อหุ้มให้ดูเรียบร้อย และสวยงาม นำเอาเทียนชัยปักไว้ที่ยอดบายศรี เตรียมจัดทำน้ำแป้ง เอาไว้เจิมหน้านาค เพื่อเป็นสิริมงคล เทียน 3 เล่มทำเป็นแพติดแว่นเวียนเทียน 3 แว่น รวม เทียนเวียน ทั้งหมด  9 เล่ม ปักแว่นติดเทียนไว้ที่ขันข้าวสาร แล้วหมอทำขวัญนาคนั่งไปในทิศทางที่ไม่มีผีหลวง (ตามความเชื่อในแต่ละวันจะมีผีหลวงประจำทิศ)</h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify"></h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify">         ประเพณีทำขวัญนาค  ตามแบบครู จะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 ขั้นตอน หรือ 5 บท (อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้) กล่าวโดยสรุป  ได้แก่ </h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify"></h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify">        ตอนที่ 1 บทนมัสการ เคารพคุณของพระศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวถึงกุศลแห่งการบวช</h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify">        ตอนที่ 2 บทกำเนิดคน (ปฏิสนธิ) กล่าวถึงการที่จะได้เกิดมาของคน ความสำคัญของผู้ให้กำเนิด</h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify">        ตอนที่ 3 บทนามนาค ที่มาของคำว่านาค   มาจากไหน แปลงกายมาบวช จนถูกจับได้ไล่ออกจากวัด</h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify">        ตอนที่ 4 บทสอนนาคเป็นการแนะนำให้ได้รับรู้ถึงสิ่งควรละเว้นทั้งหลายเมื่อบวชเป็นพระสงฆ์แล้ว</h1> <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify">        ตอนที่ 5 บทเชิญขวัญนาค เป็นการเรียกมิ่งขวัญที่สูญหายไปจากศีรษะ ให้กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว</h1>   <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 95%; text-align: justify" class="MsoNormal"></h2><h3 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 95%; text-align: justify" class="MsoNormal"></h3><h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 95%; text-align: justify" class="MsoNormal"></h2><h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 95%; text-align: justify" class="MsoNormal"></h2><h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 95%; text-align: justify" class="MsoNormal">       <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify">            คุณค่า เป็นการมองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีค่า มีราคาสูง มีความสุข รู้สึกพอใจ สรรเสริญ ยินดีวัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตของคนกลุ่มหนึ่ง หมู่คณะหนึ่งจนถึงประเทศชาติหนึ่ง ที่แสดงถึงความเจริญงอกงามสืบต่อกันมานาน         ประเพณี เป็นแบบแผน หรือขนบธรรมเนียมของกลุ่มคน  อันเป็นแบบอย่างที่นิยมกันมานาน ในเรื่องของประเพณีทำขวัญนาค  เป็นที่นิยมกันมานานกว่า 150 ปี  หรืออาจจะถึง 200 ปี (ในยุครัตนโกสินทร์)</h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify"></h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify"></h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify">         คุณค่าของการทำขวัญนาค ก่อนที่บุคคลใดจะบวช (เพศชายจะต้องทำจิตใจ และร่างกายให้สะอาด บวชนาค คือ การบวชคนธรรมดาสามัญให้เป็นพระสงฆ์ สาวกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นิยมเรียกกันว่า บวชนาค (ตามตำนานในพุทธกาลว่า มีพญานาคแปลงกายมาบวช ถูกจับสึกขับออกจากวัด) บุคคลที่นับถือพุทธศาสนาโดยทั่วไป นิยมบวชกันแต่ผู้ชาย ส่วนในสมัยพุทธกาล ผู้หญิงก็มีการบวช เรียกว่าภิกษุณี ในปัจจุบันไม่นิยม การที่ได้มีข้อกำหนดให้ผู้ที่จะบวชได้จะต้องมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์นั้นก็เพื่อที่จะให้บุคคลผู้นั้นมีความรู้สึกในด้านต่าง ๆ อย่างเต็มตัวรู้ผิดรู้ชอบและมีสติยับยั้งชั่งใจตนเองได้ดี คุณค่าของการทำขวัญนาคแท้ที่จริง มีจุดประสงค์เพื่อ</h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify">                          </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify"></h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify">         1.ได้กล่อมเกลาจิตใจของนาค (ผู้ที่จะบวช) ให้เป็นคนดีประ พฤติดี มีความรับผิดชอบ</h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify">         2.ได้รับรู้ความสำคัญของหลักธรรม  ในพระพุทธศาสนา และการปฏิบัติกิจชองพระสงฆ์ </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify">        3.ได้เกิดความภาคภูมิใจในการการสร้างกุศล ผลบุญให้แก่บิดามารดา ญาติพี่น้องและตนเอง</h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify">                         </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify"></h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify">        ก่อนที่บิดามารดาจะได้เห็นลูกอยู่ในเพศบรรพชิต (นักบวช) ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ได้ห่มผ้าเหลือง ตามบทบัญญัติทางพุทธศาสนา ศิษย์ของตถาคตอย่างสงบ ความเป็นผู้ที่บริสุทธิผุดผ่อง ย่อมมีความสง่างาม  เป็นที่ภาคภูมิใจ อิ่มบุญที่จะได้สร้างพระสงฆ์ซึ่งเป็นลูกชายของตนจึงต้องจัดหาผู้ที่น่าเชื่อถือและศรัทธามาทำพิธีทำขวัญนาคให้</h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify"></h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify">                         </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify">(ชำเลือง มณีวงษ์ / เล่าเรื่อง 2550)    </h2> </h2>

หมายเลขบันทึก: 95914เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2007 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • สวัสดีครับ
  • ผมชอบศึกษาเรื่องวัฒนธรรมมาก  และดีใจที่มีบันทึกบอกกล่าวถึงเรื่องเหล่านี้
  • สังคมเปลี่ยนแปลงก้าวกระโดดแทบทุกวัน...รากเหง้าทางวัฒนธรรมเคลื่อนคลอนโยกไหวไปเรื่อย ๆ 
  • บางทีเราเองก็เลือน ๆ  ไปกับรากเหง้าของตนเอง
  • ถึงแม้จะไม่สามารถยึดปฏิบัติได้ดังอดีต  แต่ก็อยากให้เราได้มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้บ้าง..ไม่ใช่ไม่รู้เอาซะเลย
  • ...
  • ขอบคุณมากครับ

   คุณ แผ่นดิน ครับ

  • คุณมีทุกอย่างที่สังคมต้องการ ดูจะเต็มเปี่ยมไปด้วยความเป็นไทย
  • ผมมีความตั้งใจและจะพยายามที่สุด สำหรับเรื่องของการใช้ภาษาพูด ให้ถูกต้อง
  • และในเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ผมไปจนถึงต้นตำรับเกือบทุกคน เพื่อที่จะได้นำเอาของจริงหรือของแท้มาเล่าขานเป็นความจริงแท้ ครับ

ขอบคุณที่ให้ความรู้เพื่ม ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ต่อนะคะ

เนื่องหาเรื่องบายศรีดีมากๆเลยค่ะให้ความรู้เราได้เยอะมากเลยค่ะขอบคุณมากเลยค่ะ

เนื่องหาดีๆๆอย่างนี้ทำไมไม่มาดูกันเยอะดีมากเลยรู้ไมชอบมากเลยค่ะ

ตอบความเห็นที่ 3 คุณสุ

  • ขอขอบคุณ คุณสุ เช่นกัน
  • ยินดี ครับ นำเอาไปเผยแพร่ได้ เพราะเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมที่คนรุ่นใหม่ยังไม่ได้เรียนรู้อีกมาก

ตอบความเห็นที่ 4 Pa_Daeng

  • ขอขอบคุณป้าแดง เช่นกันครับ

ตอบความเห็นที่ 5 คุณหมู

  • ขอบคุณ คุณหมูที่เข้ามาเยี่ยมบล็อกทำขวัญนาค ครับ
  • ยังมีเรื่องราวอื่น ๆ ในพิธีทำขวัญนาคให้ได้เรียนรู้อีกหลายตอน

ตอบความเห็นที่ 6 คุณไหม

  • ขอบคุณ คุณไหมที่ให้กำลังใจ
  • ผมได้นำเอาประสบการณ์ตรงมาถ่ายทอดไว้ที่นี่ ยังมีอีกหลายตอน ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท