ร่วมชื่นชม ตัวตน 11 คนรุ่นใหม่ ในวิถีเกษตรยั่งยืน ชุมชนแม่ทา จ.เชียงใหม่ (คุณจตุพร วิศิษฐโชติอังกูร)


ได้ความอนุเคราะห์ให้ยืมหนังสือ ตัวตนคนรุ่นใหม่ : ในวิถีเกษตรยั่งยืน ชุมชนแม่ทา จังหวัดเชียงใหม่ จากท่านอาจารย์อรรณพ ซึ่งได้ขอยืมล่วงหน้าไว้แล้วในบันทึก ได้รับหนังสือ “ตัวตนคนรุ่นใหม่ ในวิถีเกษตรกรรมยั่งยืนและท่านอาจารย์อรรณพ ก็ได้รับมาจากพี่จตุพร (link) อีกทีหนึ่ง พอดีวันนี้ได้ร่วมประชุม MSU-KM ด้วยกัน ท่านไม่ลืมที่จะถือมาฝากผม

บันทึกนี้จึงขอยกย่องหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่สำนึกตอบแทนบุญคุณท้องถิ่นเกิด

จึงขอคัดลอก ที่มาที่ไปของคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้มาฝาก (หน้า 7-8) ยิ่งกว่าหนังไทยเสียอีกครับ รายชื่อของคนรุ่นใหม่เหล่านี้ปรากฏแล้วอยู่หน้าปกนั้นเอง

 

<hr><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">หนุ่มสาวทั้ง 11 คน ที่ตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะเลือกทางเดินของชีวิตในบ้านเกิด ที่มาร่วมในทีมคนรุ่นใหม่นั้น เป็นลูกหลานของชาวแม่ทา 10 คน ในจำนวนนี้เป็นลูกผู้นำด้านเกษตรยั่งยืน 8 คน เป็นลูกเกษตรกรในชุมชนอีก 2 คน ส่วนอีก 1 คน เป็นเขยแม่ทา ที่มีโอกาสได้เข้ามาเรียนรู้กับคนแม่ทา จนตัดสินใจตั้งรกรากที่นี้ กว่าจะมาถึงวันนี้ของพวกเขาแต่ละคนนั้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเรื่องของ การบ่มเพาะและ การให้โอกาสทั้งจากครอบครัว จากกลุ่มจากชุมชน และจากองค์กรสนับสนุน ในจังหวะและเวลาที่เหมาะสม</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">การบ่มเพาะจากครอบครัว เป็นฐานสำคัญยิ่งในการ สร้างภูมิคุ้มกันและระบบการตัดสินใจที่ดีของลูกๆ ดังสะท้อนอย่างชัดเจนในงานเขียนของปุ้ยและแคท สองสาวลูกผู้นำคนสำคัญของแม่ทา ที่ภาคภูมิใจในวิถีของพ่อแม่ เกษตรกรต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืนซึ่งฝึกให้พวกเธอได้เรียนรู้งานไร่ นา สวน ตั้งแต่เด็กๆ เมื่อเรียนจบก็มุ่งสู่บ้านเกิดอย่างไม่ลังเล</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ชายหนุ่ม 7 คน และหญิงสาวอีก 4 คน อายุอยู่ระหว่าง 20-23 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี 1 คน ปวส. 5 คน ปวช. 2 คน และต่ำกว่าปวช. อีก 3 คน นั้น ถือว่าเป็นผู้ได้รับการศึกษาสูง หากเปรียบเทียบกับคนในชุมชนที่ส่วนใหญ่จบเพียงชั้น ป.4 หรือ ป.6 จึงถือว่าพวกเขามีทางเลือกในการประกอบอาชีพระดับหนึ่ง</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">สิ่งที่สำคัญเหนือกว่าการศึกษาในระบบ ที่พวกเขาเขียนถึง คือ ประสบการณ์จริง จากการได้ลงมือทำงาน ทั้งงานวิจัยโดยชุมชน และงานพัฒนาชุมชน ที่ผู้นำเกษตรยั่งยืนได้หยิบยื่นโอกาสให้ แก่คนรุ่นใหม่ เริ่มจาก 5 คนแรก คือ ศักดิ์ ชัย แพร เทิด และปุ้ย ที่มีโอกาสได้เรียนรู้ จากการทำงานจริง ผ่านโครงการต่างๆ ที่เข้ามาในชุมชน สองคนต่อมา คือ โก และเพิก ซึ่งผ่านประสบการณ์จากงานเครือข่ายเด็กเยาวชน และงานวิจัย ก่อนที่จะเข้าร่วมงานกับคนรุ่นใหม่ ส่วนอีก 4 คน เป็นมือใหม่ แต่ก็มีฐานการเรียนรู้จากพ่อแม่ ครอบครัว ที่เป็นผู้นำด้านเกษตรยั่งยืน 3 คน คือ แคท เก๋ และเจ๋ง คนสุดท้าย คือ หนุ่ย ที่ถือว่าใหม่ถอดด้าม และไม่ใช่ลูกผู้นำ ที่ได้เข้ามาเรียนรู้ในทีม          </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">องค์ประกอบในทีม ถือเป็นปัจจัยเอื้อต่อการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง เพราะมีคนหลายสถานะอยู่ร่วมกัน มีประสบการณ์ พื้นฐานครอบครัว การศึกษา การทำงาน รวมถึง เพศ และวัย ที่แตกต่าง จึงเกิดการเรียนรู้แบบ พี่รู้สอง น้องรู้หนึ่ง ดังสะท้อนจากงานเขียนของทุกคนว่า การเรียนรู้ระหว่างทีมคนรุ่นใหม่ ด้วยการเปิดรับกันและกัน เข้าเอาเข้าใจกัน เป็นสิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญยิ่ง </p><hr> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">สุดท้ายผมขอกล่าวคำเยน ให้คนทั้ง 11 คนนี้ครับ</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">KPN </p>

หมายเลขบันทึก: 94118เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2007 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

รอคิวอยู่นะคะ  อิอิ

น่าอ่านจังเลย

ผมเพิ่งอ่านถึงหน้า 7 เองพี่หนิง

คงต้องรออีกครู่ใหญ่ที่เดียวนะครับ เพราะผมเป็นคนที่เข้าใจอะไรยาก และช้า คงต้องทบทวนหลายรอบ

สวัสดีครับ

หนังสือเล่มนี้อัดแน่นด้วยพลังและชีวิตของคนหนุ่มสาวที่มีสำนึกรักที่ดีต่อบ้านเกิดอันน่ายกย่องและเชิดชู  รวมถึงน่าให้กำลังใจต่อวิถีอันดีงามของพวกเขายิ่งนัก

พี่เองก็กำลังอ่านและศึกษาเนื้อหาของเล่มนี้   เพราะบางสิ่งสามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานิสิตและการจัดกิจกรรมของนิสิตได้เหมือนกัน

ขอบคุณครับพี่พนัส

P

ถึงแม้เราอาจไม่สามารถเลือกที่จะดำเนินชีวิตอย่าง 11 คน แต่สิ่งที่พวกเขาเรานั้นได้ทำนั้น หลายสิ่งสามารถปรับมาใช้ในชีวิตการทำงานแบบoffice อย่างเราๆได้ดีครับ

ผมกำลังศึกษาอยู่ครับ มีเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนที่จะส่งต่อให้พี่หนิงต่อไป ตามที่อาจารย์อรรณพได้แจ้งไว้ครับ

ดีใจครับที่หนังสือที่ผมส่งไป เกิดประโยชน์ และสร้างแรงบรรดาลใจให้กับหลายๆท่าน

 

ผมมีหนังสือดีๆมาเรื่อยๆ และแต่ละครั้งผมมักจะได้หลายเล่มครับ ผมจะเก็บไว้ที่ตัวเองหนึ่งเล่ม ส่วนหนึ่งก็จะมอบให้กับผู้ที่คาดว่าจะได้ใช้ประโยชน์

ในโอกาสต่อไป หากน้องแจ๊คสนใจหนังสือแนวเดียวกันนี้ ผมจะส่งให้ครับ

ปลายเดือนนี้ไม่แน่ว่าหนังสือที่ผมเขียนจะคลอดหรือยัง หากคลอดทันผมจะส่งให้แจ๊คครับ

 

ขอบคุณพี่จตุพรล่วงหน้านะครับ

P

สำหรับวิทยาทานที่พร้อมจะมอบให้ผมครับ และแน่นอนว่าถ้าได้มาแล้วคงไม่เก็บไว้คนเดียวแน่ ต้องแนะนำต่อแบบ "ลูกโซ่"

และขอบคุณสำหรับการแนะนำบันทึกดีๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท