เส้นทางชีวิตของอนงค์(ตอน2) เมื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย


แรงจูงใจในการเรียนทางด้านจิตวิทยาและประกอบอาชีพทางจิตวิทยา

เมื่อย่างก้าวเข้ารั้วมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ.2530

    หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (สาขาจิตวิทยา)ในระดับปริญญาตรี

ตราประจำมหาวิทยาลัย คือ  ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย  คือ  สุพรรณิการ์ หรือ ฝ้ายคำ

 สีประจำมหาวิทยาลัย >>

 
 

  ในปีแรกจะไปเรียนวิชาศึกษาทั่วไป ส่วนใหญ่จะเรียนที่ ม.รามคำแหง 2 ถนนบางนา-ตราด และมหาวิทยาลัยเปิดใช้เป็นวิทยาเขต เมื่อปีการศึกษา 2527 เป็นต้นมา  การเรียนในวิชาพื้นฐานจิตวิทยาและวิชาเอกบังคับ ส่วนใหญ่เรียน ที่ ม.รามคำแหง1 แขวงหัวหมาก บางกะปิ

การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย

           มีความมุ่งมั่นของตนเอง ว่าจะต้องลงเรียนให้ครบทุกเทอม เรียนตลอดหลักสูตร 144 หน่วยกิต  ค่าหน่วยกิตละ 18 บาท แบ่งเวลาให้กับการเรียน การทำงานไปด้วย หลังจากกลับจากการเรียนหนังสือจะต้องมาทำงานด้านบัญชีต่อ โชคดีมีนายจ้างที่ให้โอกาสทางการศึกษาของลูกจ้าง ต้องยอมรับเงื่อนไขคือเรียนได้ แต่จะต้องทำงานหนักมากขึ้น  ทำงานตามความรับผิดชอบ ไม่เคยทำให้เสียหาย ที่สำคัญจะต้อง มีวินัย ขยันอดทน  มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น มีเป้าหมายในชีวิตในการทำงานตามที่ตนเองเรียนมาให้ได้

การเรียนในระดับปริญญาตรี 

          จึงต้องใช้เวลาเรียนตามเกณฑ์ ตามที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดได้  เพราะการที่หาเงินส่งตนเองเรียนจะเรียนตามสบายไม่ได้ ต้องรู้จักคุณค่าของเงิน  ตลอดเวลาทางมหาวิทยาลัยให้โอกาสนักศึกษาเรียนได้จนถึง 8 ปี ถ้า 8 ปีไม่จบจะต้องลดหน่วยกิตลงและเริ่มเรียนใหม่ จนจบ ภายใน 12 ปี เพื่อนๆหรือคนภายนอกมักจะตั้งฉายาให้ม.รามคำแหงว่า "เข้าง่าย ออกยาก"

ช่วงที่กำลังศึกษา

            โดยการฟังการบรรยายของอาจารย์ เป็นห้องเรียนรวมตามอาคาร RN(ผ่านโทรทัศน์วงจรปิด) หลังเลิกเรียนจะต้องกลับมาทบทวนวิชาที่เรียนผ่านไป  ไม่เข้าใจจะต้องถามเพื่อนๆ และจะนั่งตามซุ้ม  แลกเปลี่ยนด้านการเรียนซึ่งกันและกัน  ไม่เคยย่อท้อ ได้เข้าร่วมกิจกรรม ของชมรมทางจิตวิทยา การทำกิจกรรมร่วมกับรุ่นพี่ การเข้าค่ายของชมรม การให้ความเคารพรุ่นพี่   ทำให้เกิดการเรียนรู้ การทำงานร่วมกับบุคลอื่น การตรงต่อเวลา ได้เพื่อนที่มีความคุ้นเคย เพื่อนสนิท เพื่อนจะให้ความช่วยเหลือกลุ่มเพื่อนด้วยกัน ไม่ว่าด้านการเรียน การปรับตัว  การบริหารจัดการเรื่องเวลาของตนเอง

จะเห็นได้ว่า การศึกษาในมหาวิทยาลัยเปิดของรัฐ 

            ต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง การมีวินัย ขยันอดทน  ที่สำคัญต้องรู้จักตนเอง ว่ามีความชอบด้านใด  เรียนไปเพื่ออะไร  มีแรงจูงใจไฝ่สัมฤทธิ์ อาจจะหาได้จากพ่อแม่ ครอบครัวและเพื่อนๆ ทำให้ค้นพบตนเองด้านการเรียนมากขึ้นมีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน คือ ผู้ทำหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษา(Counsellor ) ในเส้นทางที่ตนเองได้ศึกษามา

เมื่อปลายปี 2534 ปีสุดท้ายของการศึกษาในม.รามคำแหง

            ได้ไปฝึกประสบการณ์ด้านการสอน ณ ห้องงานแนะแนวฯ  โรงเรียนกรุงเทพฯคริสเตียนเป็นโรงเรียนราษฎร์(เอกชน) ฝึกสอนในระดับมัธยมต้น ชั้น ม.2 (ยังมีต่อ)

หมายเลขบันทึก: 94109เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2007 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
P
แผ่นดิน เมื่อ อ. 03 เม.ย. 2550 @ 01:08 จาก 202.28.35.1 ลบ (212178)

นี่มัน...บันทึกอัตชีวะประวัติเลยนะครับ..

แต่ก็ดีครับ...ได้เกร็ดชีวิตที่มีประโยชน์

เป็นกำลังใจให้คนช่างคิดช่างเขียนเสมอ

..G2K  เข้าง่าย...ออกยาก ด้วยหรือเปล่าครับ

P
MSU-KM :panatung เมื่อ อ. 03 เม.ย. 2550 @ 17:14 จาก 202.28.35.1 ลบ (212857)

ด้วยความขอบคุณ ที่แวะเยี่ยมไม่เคยขาด และอนุโมทนาสาธุด้วย นะ.... คุณพ่อของเณรแผ่นดิน สาธุ.......

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท