veni, vidi, vici


บทความที่แล้วผมใส่ Latin tag ลงไปอันนึงคือ status quo เลยเกิดความคิดว่าที่จริง Latin tag ที่ใช้ๆกัน มีหลายอันมีความหมายที่น่าสนใจ ลองรวบรวมมาดูนะครับ

veni, vidi, vici

I came, I saw, I conquered: The best known Latin sentence of them all. freely rendered as " a piece of cake" and uttered by Julius Caesar after his victory in 47 BC over Phaenaces, King of Pontus เป้นวลีเลื่องลือชื่อเสียงโด่งดัง เอาไว้พูดเวลาทำอะไรเสร็จสิ้นลุล่วง ฟังดูสง่าดี "ข้ามา ข้าเห็น ข้าพิชิต"

qui me amat, amat et canem meam

love me, love my dog: The Latin words for telling the world that it will have to take you as you are. The literal translation is "Who loves me loves my dog as well" ประโยคนี้น่าสนใจ หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องรักๆใคร่ๆ แต่จริงๆเป็นการบอกว่า ตัวตนของเรานั้นเป็นองค์รวม และประกอบด้วยนิสัยใจคออะไรหลายๆอย่าง จะมาเลือกคบเฉพาะเป็นส่วนๆนั้น อาจจะมีปัญหาทีหลัง เพราะของมันมาเป็น package

quid pro quo

something given in return for something: Literally "something for something" เช่นในประโยค "I will not give up that privilege without a quid pro quo ภาไทยอาจจะแปลว่า "ยื่นหมูยื่นแมว" ทำนองนั้น

qui scribit bis legit

he who writes reads twice: This maxim recognized the effectiveness of writing out something one wishes to learn thoroughly อันนี้ผมขอยืมมาใช้บ่อยๆในภาษาไทย เวลาเราเขียนอะไร เราจะได้อ่านซ้ำแล้วซ้ำอีกเสมอ การจะเรียนอะไรให้ได้ลึกซึ้ง ต้องลองเขียนมันออกมาเอง ชาว bloggers ของ gotoknow จะเอาอันนี้เป็น motto ก็ยังได้นะครับ ผมว่าเข้ากับสิ่งที่เรากำลังทำดี

qui docet discit

the best way to learn a subject is to teach it: Literal translation, "He who teaches learns". Every experienced teacher knows the truth of this aphorism อันนี้เป็นอันโปรดของผมเลยครับ จะเรียนเรื่องอะไรแล้ว วิธีที่ดีที่สุดคือสอนเรื่องนั้น ครูจะเป็นคนที่ได้ประยชน์ที่สุดจากการสอนเสมอ ย่งสอนยิ่งพัฒนา การสอนเป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งทีเดียว

เอาหอมปากหอมคอแค่นี้ก่อนจะเป็น ad nauseam (to the point of (causing nausea) นะครับ!!

คำสำคัญ (Tags): #latin#quotation#tags
หมายเลขบันทึก: 89167เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2007 20:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ad hoc

for this (purpose): An ad hoc commitee is a temporary committee established to accomplish a particular task. Once an ad hoc committee has completed the job for which it was established. it is disbanded. แปลว่า ตั้งมา เฉพาะกิจ จะเป็นคณะกรรมการ หรือเชิญใครมา ถ้ามาแบบ ad hoc ก็แสดงว่ามาเฉพาะการนั้นๆ พอเสร็จเป้าหมายก็จะเลิกใช้

ad infinitum

without limit: Abbreviated ad in. and ad infin., this phrase is the Latin equivalent of "forever, to infinity, endlessly". ตลอดกาลนาน

ad nauseam

to the point of (causing) nausea: Anything unpleasurable that appears to go on endlessly may be said to be preceeding ad nauseam, ;literally "to seasickness". The clear meaning of this phrase is that such activity has reached the point at which it is almost more than a body can bear. อันนี้แปลเอาดื้อๆก็คือ เลี่ยนจนจะอาเจียนอยู่แล้ว ใช้กับกิจกรรมที่น่าเบื่อสุดๆหลายอย่าง คนทั่วไปอาจจะเป็นดูกีฬา หรือฟังเพลง นักเรียนก็อาจจะใช้บรรยาย lecture ที่กำลังฟังอยู่ เป็นต้น

vice versa

conversely:  A phrase we all know in English. the Latin words translate literally as "the change being turned". ในทำนองกลับกัน

per se

intrinsically: Literally "by or in itself" โดยตัวมันเอง

ได้คำศัพท์เพิ่มอีกหลายคำเลยค่ะอาจารย์ ปรกติจะใช้ (แบบไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นลาติน) อยู่แค่ status quo, vice versa, per se, quid pro quo แล้วก็ ad hoc

ชอบ qui docet discit ตามความหมายของคำเหมือนกันค่ะ แต่คงไม่กล้าใช้เพราะออกเสียงไม่ถูกค่ะ ; )

รู้สึกในภาษาอังกฤษ นอกจากกลุ่มพระแล้ว ก็อาจจะมีพวกหมอกับนักกฏหมายที่จะใช้กันเยอะพอสมควร แต่ของการแพทย์ก็จะไม่ค่อยทะลักออกมานอกวงการเท่าไรครับ

เช่น

prn = prorenata occassionally if /when necessary for เวลาสั่งยาอะไรที่จะใช้ (ทาน ฉีด หยด) เมื่อจำเป็น หรือเมื่อต้องการ เช่น "paracetamol (500 mg) per oral prn for pain every 4-6 hours"

hs = hora somni hour of sleep ใช้ตอนก่อนนอน เช่น "diazepam (5 mg) per oral hs"

anno Domini

In the year of our Lord: The full version of the abbreviation of AD. Modern Western calendars reckon passage from the Brith of Christ, the commencement of the Christian era. หรืออีกนัยหนึ่ง AD.= ค.ศ. หรือ คริสต์ศักราชนั่นเอง

bona fide

in good faith: This phrase can also be translated as "honestly", "sincerely", or with any other word or expression denoting "without deception" เป็นการแสดงความเห็น ความคิด หรือการแสดงออกของอะไรที่ ของแท้นะจ๊ะ หรือ จริงใจนะ

Circa

about: This scholar's term abbreviated c. or ca. indicates uncertainty about a date. เรามักจะเจอในแผนที่เก่าๆ แผนที่โลกโบราณ แปลว่า "ราวๆ" หรือ "ประมาณๆ"

Cogito ergo sum

I think, therefore I exist หรือ I think, therefore I am: One of the most famous of all philosophic axioms, known- perhaps imperfectly- by every freshman student of philosophy. Descartes นักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ นักคิด ใช้ประโยคนี้เริ่มต้นในระบบปรัชญาของเขา แปลว่า "เพราะฉันคิด ฉันจึงมีอยู่" เป็น concept ทางความคิดที่น่าสนใจและมีอิทธิพลต่อมาสำหรับวิชาปรัชญาอย่างมาก

de novo

anew: de novo  is an expression used in describing a fresh start. "Let's forget the past and begin de novo." ตั้งต้นกันใหม่ เริ่มต้นใหม่"

exempli gratia

e.g. for instance: Literally, "for the sake of example". It is used correctly to introduce an examplem incorrectly to mean "that is". แปลว่า ตัวอย่างเช่น คนมักจะสับสนกับการใช้ i.e.

id est

that is: This scholarly term, abbreviated i.e. is used in identical fashion as its English translation: to clarify the statement just made. "นั่นคือ" หรือ "ประโยคที่กล่าวไปหมายความว่า"

et al.

abbreviation of et alii, et aliae, et alia

This abbreviation is used in writing to avoid lengthy listing. Educated people do not pronouce the abbreviation et al. "And others" is said for et al. ระวังอ่านแบบคนไม่มีการศึกษานะครับ อย่าไปอ่าน เอ๊ด ออล ให้อ่านว่า and others แทน

et cetera

and so on: This familiar phrase, used only when speaking of things, not people, literally means "and the rest". In speech, its abbreviation, etc., is given the pronunciation of the full phrase. แปลว่า และอื่นๆอีก

homo homini lupus

"man's inhumanity to man" ชอบอันนี้ ความหมายเสียดแทงใจดี แปลตรงๆก็คือมีแต่คนเท่านั้นแหละที่ทำร้ายคนด้วยกัน (literally translation is "Man is a wolf to man")

ความรู้ใหม่อีกแล้วค่ะอาจารย์

เพิ่งรู้อีกแล้วว่า bona fide เป็นลาติน แถมใช้ et cetera กับ et al. มาไม่รู้เท่าไหร่ ก็ไม่รู้ว่าเป็นลาติน

ขอบคุณอาจารย์สำหรับเกร็ดความรู้ดีๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท