แบบทดสอบ - คุณใช้ชีวิตคล้าย Einstein แค่ไหน?


ผมมักจะได้รับคำถามซ้ำๆ กันอยู่คำถามหนึ่ง นั่นคือ

ทำไมไอน์สไตน์ถึงได้ฉลาดนัก?


ตอบตรงๆ ก็คือ ไม่รู้ครับ แต่ถ้าให้เดา ก็คงต้องบอกว่า คงเป็นเพราะ...

  • ยีนดี (เพราะเป็นยิว)
  • ได้รับการกระตุ้นเหมาะสม (เคยได้รับเข็มทิศตอน 5 ขวบ และได้หนังสือเรขาคณิตตอน 12 ขวบ)
  • อยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้และค้นหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ (ยุโรปในต้นศตวรรษที่ 20)
  • เหตุปัจจัยอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม หากถามให้ง่ายหน่อยว่า ไอน์สไตน์มีไลฟ์สไตล์เป็นยังไง ก็ง่ายหน่อย เพราะมีหลักฐานข้อมูลเยอะ ในบันทึกนี้จึงอยากเชิญชวนเพื่อนๆ ชาว GotoKnow ที่สนใจ ลองทำแบบทดสอบสนุกๆ 10 ข้อ (ที่ผมโมเมขึ้นมาเอง…อิอิ) เพื่อดูว่าคุณใช้ชีวิตละม้ายคล้ายอัจฉริยะท่านนี้บ้างไหม?

  • เผื่อคุณตอบตรงทั้ง 10 ข้อ ก็อาจจะรู้สึกว่า อ๊ะ! ชีวิตเรานี่ก็คล้ายคนดังไม่เบา
  • แต่หากไม่ตรงทั้ง 10 ข้อ ก็ไม่ได้เสียหายอะไร เพราะคุณอาจจะเป็นอัจฉริยะในแบบของคุณเองก็เป็นได้ (จริงไหม?)

เอ้า! พร้อมหรือยังครับ? เตรียมกระดาษกับปากกาไว้จดคำตอบได้...บัดเดี๋ยวนี้!

 

<hr> <p align="center"> แบบทดสอบ</p><p align="center">คุณใช้ชีวิตคล้าย Einstein แค่ไหน?     </p><hr><p>ข้อ 1 : เมื่อครั้งเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา คุณสนใจเข้าเรียนสม่ำเสมอ ไม่ค่อยโดดเรียน แถมยังอาจเคยได้รับคำชมจากครูผู้สอนว่าเป็นคนขยันอีกด้วย [ใช่/ไม่ใช่]</p><p>ข้อ 2 : คุณเคยเป็นติวเตอร์รับสอนพิเศษ เพื่อแลกกับเงินเล็กๆน้อยๆ เพื่อยังชีพ [ใช่/ไม่ใช่]</p><p>ข้อ 3 : คุณชอบเขียนจดหมายถึงเพื่อนสนิท เพื่อเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตให้เขาได้รับรู้ [ใช่/ไม่ใช่]</p><p>ข้อ 4 : คุณเล่นเครื่องดนตรีอย่างน้อย 1 อย่าง โดยมักเล่นยามว่าง หรือเล่นให้เพื่อนๆ ฟังตอนสังสรรค์กัน (หมายเหตุ : เล่นเทป หรือเล่น CD นี่ไม่นับนะครับ) [ใช่/ไม่ใช่]</p><p>ข้อ 5 : ในการศึกษาเรื่องๆ หนึ่ง คุณจะสืบค้นข้อมูลที่มีอยู่อย่างละเอียดยิบ เช่น มีใครเคยคิดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ยังไงบ้าง และคุณชอบต่อยอดความคิดที่คนอื่นเคยคิดไว้แล้วให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไป [ใช่/ไม่ใช่]</p><p>ข้อ 6 : คุณยินดีรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นๆ (แม้แต่คนแปลกหน้าที่เพิ่งรู้จัก) และวิจารณ์ความคิดดังกล่าวอย่างสร้างสรรค์อยู่เป็นนิจ (ไม่เคยเรียกใครว่า pseudo-intellectual หรือปัญญาชนจอมปลอม นั่นแหละ…ฮิ…ฮิ) [ใช่/ไม่ใช่]</p><p>ข้อ 7 : คุณมีก๊วนเพื่อนซี้ที่มักจะนัดพบกันเป็นประจำเพื่อพูดคุย ถกเถียง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเรื่องที่สนใจร่วมกัน [ใช่/ไม่ใช่]</p><p>ข้อ 8 : ในยามว่าง คุณมักจะทบทวนในเรื่องที่สนใจโดยอยู่เสมอๆ เช่น หากคุณเป็นนักวาดภาพ ก็จะไม่เคยว่างเว้นการขยับปลายพู่กันกันมือแข็ง หรือหากคุณเป็นเซียนพระเครื่อง ก็จะอ่านหนังสือพระเครื่องหรือหยิบพระเครื่องขึ้นมาส่องทั้งวัน [ใช่/ไม่ใช่]</p><p>ข้อ 9 : หากให้เลือกระหว่าง งานที่เกี่ยวข้องกับการค้นคว้าหาความจริงของธรรมชาติ กับตำแหน่งทางการเมือง คุณจะเลือกตำแหน่งทางการเมือง เพราะการเมืองเป็นเรื่องสำคัญกว่ามาก [ใช่/ไม่ใช่]</p><p>ข้อ 10 : ลึกๆ แล้ว คุณคิดว่า วิชาปรัชญานั้นช่างน่าหลงใหล และมีเสน่ห์กว่าบรรดาศาสตร์อื่นๆ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ [ใช่/ไม่ใช่]</p><p align="center"> </p><p align="center">เฮ้อ! เสร็จจนได้....คราวนี้ ลองเลื่อนลงไปดู “เฉลย” กันหน่อย</p><p> </p><hr>  <p> </p><p> </p><p> </p><p> </p><p> </p><p>เฉลย : </p><p>1) ไม่ใช่  2) ใช่  3) ใช่  4) ใช่  5) ไม่ใช่  6) ใช่  7) ใช่  8) ใช่  9) ไม่ใช่ 10) ไม่ใช่</p><hr><p align="center">ทำไมถึงเฉลยอย่างนี้ ดู รายละเอียดได้ที่นี่ ครับ</p><p align="center">ใครตรงกับไอน์สไตน์กี่ข้อกันบ้างเอ่ย? ผมตรงตั้ง 4 แน่ะ (ไม่ถึงครึ่ง)... ;-P </p><p> </p><hr><p>ประวัติของแบบทดสอบ : </p><ul>

  • ตีพิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์ Know How & Know Why นสพ. กรุงเทพธุรกิจ
  • ตีพิมพ์รวมเล่มในหนังสือ ไอน์สไตน์ 1 ศตวรรษแห่งปีมหัศจรรย์, สนพ. สารคดี
  • </ul>

    คำสำคัญ (Tags): #einstein#ไอน์สไตน์
    หมายเลขบันทึก: 87601เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2007 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (25)
    ได้ 7 ถ้านับไม่ผิดนะครับ :-P
    ตกสนิทค่ะอาจารย์ ได้แค่ 3 เอง ; )
    • สวัสดีครับ อ.บัญชา สบายดีนะครับ
    • ผมตรงเพียง 4 ข้อครับ คือ 6,7,8,9
    • จริงๆ ก็มีข้ออื่นเพิ่มด้วย แต่เนื่องจากคิดว่าคนละยุคกัน เช่น ข้อ 2 ก็เคยเป็นแต่ให้ฟรีแทน
    • สำหรับดนตรี เล่นสนุกๆ ไว้มั่วเองยามว่าง ครับ เพราะฝีมือไม่ถึงขั้นครับ
    • ผมชอบแนวคิดของ Einstein หลายอย่าง อย่างหนึ่งที่ชอบสำหรับแนวทางการศึกษาคือ ไม่ได้สอนนักเรียนแต่สร้างแรงจูงใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้
    • ขอบคุณมากนะครับท่าน อาจารย์

    อาจารย์...

    อาตมา ตรง 4 ข้อ.. เท่าอาจารย์เลย...

    ดังนั้น อาตมาน่าจะ ระดับเดียวกับอาจารย์ (.........)

    เจริญพร

    ตรงไม่ตรงไม่รู้ครับพี่ชิว เพราะผมกลัวจะตรง เนื่องจากคิดว่า Einstein เค้าไม่ค่อยปกติครับ เช่น การเจาะรูบ้านให้แมวที่เลี้ยงอยู่ โดยเจาะรูใหญ่ให้แม่ ส่วนรูเล็กให้ลูกลอดออกจากบ้าน น่างงมั้ยครับเนี่ย

      มิน่าเค้าว่าอัฉริยะกับคนเสียสติต่างกันแค่เส้นบางๆกั้นเท่านั้นเอง

    ตรงกัน 6 ข้อครับ แต่ผมรู้ตั้งแต่ยังไม่ได้ตอบแล้วว่าผมไม่ใช่ไอน์สไตน์ แล้วก็ไม่ได้อยากจะใช้ชีวิตเหมือนเขา(หรือใคร)เลยครับ

    เรื่องแบบนี้ สนใจมาก เพราะสมัยเด็กๆ เรียนดี เอาใจใส่เรียนมากๆ ไม่ค่อยมีสังคมนัก เพื่อนสนิทไม่มาก เป็นพวกกลุ่มเดิมๆ ที่รสนิยมเหมือนกัน   แถม ไม่ค่อยชอบเข้าก๊วนใครใหม่ๆ  บางทีเห็นคุยกันเจ๊าะแจ๊ะ เหมือนเสียเวลา   เลยได้คะแนน 4เอง

    Conductor: คนอื่นผมอาจจะอยากเหมือน แต่แบบ Einstein ที่ต้องมารับรู้เรื่องระเบิดที่ตัวเองมีส่วนสร้าง ฆ่าคนไปเยอะ และอีกหลายๆ เรื่องนี่ ผมก็ไม่อยากเหมือน :-P
    ได้ 6 ข้อค่ะ  ใช้ได้นะคะ  แต่ไม่อยากเป็นเหมือนไอน์สไตน์หรอกค่ะ   ภูมิใจในตัวเอง  ไม่เก่งเท่าเค้าหรอกค่ะ (เทียบไม่ได้เลย)  แต่ชีวิตมีความสุขดี "ส้มโอเป็นตัวของตัวเองค่ะ"

    สวัสดีครับ ทุกท่าน

             ใช่แล้วครับ ทุกคนมีชีวิตของตัวเองจริงๆ :-)

     ผมเปิดประเด็นแบบนี้ เพราะเดี๋ยวจะมี "เฉลย" ซึ่งอาจจะทำให้เราได้เรียนรู้อะไรบางอย่างจากคนที่เราได้ยินชื่อกันทั่วไป อย่าง Einstein นี่ การเรียนรู้วิธีคิดของคนอื่นมักมีแง่มุมที่น่าสนใจเสมอครับ ;-)

             โปรดอดใจรอสักครู่...ขอตัวไปล้างดินที่พอกหางหมูตอนนี้ก่อนครับ (หายไปงานสัปดาห์หนังสือเมื่อวันเสาร์) 

             

    ก่อนอื่น...ดิฉันขอยืนยันว่ามีสติสัมปชัญญะครบถ้วนดี  จนกระทั่งทำแบบทดสอบเสร็จ   ปรากฏว่าตอบข้อ 4,5 และ 10 ไม่ตรงกับที่เฉลย....  นอกนั้นตรงกัน..............คือพอทำเสร็จก็ออกแนวๆว่าจะกลุ้มใจเลยอ่ะค่ะ....... 

     

    • เจ็ดเหมือนกันครับ ยังดีตรงไม่หมดไม่งั้นแย่แน่ :>

    สวัสดีครับทุกท่าน

            ขอบันทึกไว้นิดหนึ่งว่า ผมเคยนำแบบทดสอบนี้ไปใช้กับเด็กนักศึกษาราว 500 คน ในการให้สัมมนาที่ ม.ศิลปากร ทับแก้ว ชื่อวิชา มนุษย์กับการสร้างสรรค์ ของภาควิชาอักษรศาสตร์

           ปรากฏว่าส่วนใหญ่ก็อยู่ราวๆ 3-7 ข้อนี่ละครับ เป็นไปตามหลักสถิติเปี๊ยบ แต่มีอยู่ 2 คนครับที่อยู่คนละฝั่งของเส้นโค้งการกระจาย

           คนแรก เป็นสุภาพสตรีครับ เธอตรง 10 ข้อ! แต่ก็เลยโดนแซวไปว่า อ้าว! อย่างนี้ก็แสดงว่าเป็นคนไม่ตั้งใจเรียนในตอนปริญญาตรี (ข้อ 1) เหมือนไอน์สไตน์นะสิ! ;-)

           อีกคน น่าสนใจไม่แพ้กันครับ เพราะไม่ตรงเลยสักข้อ! รายนี้เป็นสุภาพบุรุษ ผมยาว ดูติสต์สุดๆ เพื่อนๆ เฮกันใหญ่ ผมก็เลยบอกไปว่า เห็นไหม นี่คือ anti-Einstein คือ เป็นอัจฉริยะอีกแบบที่ตรงกันข้ามกับไอน์สไตน์อย่างสิ้นเชิง (น่าจะโดดเด่นกว่าอัจฉริยะข้ามคืนด้วยนะเออ)

    อ่านแล้ว แต่ไม่ค่อยอยากตอบ

    บางทีเราไม่อยากรู้หรอกว่ามีใครใช้ชีวิตเหมือนเรา หรือว่าเราใช้ชีวิตเหมือนไคร

    ผมอยากเป็นคนที่มีคนเดียวในโลก ความจริงก็เป็นอย่างนั้นแหละ 

    แต่ .....

    คนเราถนัดที่จะเปรียบเทียบ

    เราก็เลย.....

    เหมือนคนโน้นที เหมือนคนนี้ที

    จนบางครั้งเราก็คล้อยตาม

    เออ...

    เหมือนจริง ๆ  

    Hello โอ-อุทัย

            จริงๆ แล้ว "แบบทดสอบ" นี่เป็นเพียงอุบายเล่าเรื่องชีวิตของไอน์สไตน์นะครับ ไม่ได้อยากจับใครไปเหมือนใคร เพราะต่อให้ใครสักคนได้ 10 เต็ม ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเป็นไอน์สไตน์ใช่ไหมครับ :-)

            แต่อย่างที่ว่าก็คือ คนเรานั้นชอบเปรียบเทียบ และบางทีก็ เออ! เหมือนจริงๆ วุ้ย ;-)

           อย่างพี่นี่บางทีชอบอ่านหนังสือจากบทหลังมาบทหน้า หรืออ่านจากเล่มสุดท้ายย้อนกลับมาเล่มแรก เมื่อก่อนก็คิดว่า สงสัยตูจะต๊องอยู่คนเดียวซะแล้ว แต่ปรากฏว่ามีเพื่อนๆ ที่รู้จักเป็นอย่างนี้ตั้งหลายคน แต่ละคนก็ดูปกติดีนี่ (ฮา)

    อยากให้อาจารย์ทำบล็อก เกี่ยวกับ wormhole อย่างลึกซึ้ง

    สนใจมาก ๆ เลยครับผม

    หรือไม่ก็ หาลิงค์ให้ผมที ครับ

    สวัสดีครับ คุณกิจณพงษ์

           เรื่อง wormhole นี่ผมยังไม่เห็นหนังสือในภาคภาษาไทยนะครับ สงสัยต้องลองหาลิงค์ดูครับ 

    ทินวัฒน์ จาก รร สุรธรรมพิทักษ์

    สวัสดีครับอาจารย์ผมสนใจเรื่องที่อาจารย์พูดมากเลยครับอันที่จริงวันนั้นตอนที่อาจารย์มาอบรมที่โคราชผมว่าจะไปถามแล้วครับแต่พอดีคนแยอะไปหน่อยก็เลยยืนฟังอาจารย์อยู่ห่างๆ เรื่องของผมมันอาจจะไร้สาระนะครับแต่มันเป็นความคิดที่ผมพยายามหาคำมาอธิบายแต่ก็ไม่รู้หนทางซะทีครับตอนเด็กๆนั้นผมชอบเรื่องดาราศาสตร์มากๆผมจึงได้คิดอะไรได้กว้างกว่าเพื่อนรุ่นอายุเดียวกันซึ่งผมเองก็สนใจเรื่องจักวาลมากเพราะมันเป็นอะไรที่ท้าทายความคิดและตอนนั้นผมยังเด็กคิดอะไรได้เกินเด็กไม่มากนักผมส่งสัยเรื่องประตูมิติซึ่งมันจะเป็นไปได้ไหมว่า สมมติว่ามีสนามแม่เหล็กที่เป็นกำแพงแล้วแบ่งออกเป็นสองฝั่งฝั่งหนึ่งเป็นปัจจุบันซึ่งผมให้มีคนยืนอยู่สองคนต่อมาคนคนหนึ่งได้ผ่านเข้าไปในสนามแม่เหล็กนั้นแล้วพอกลับมาก็อาอุมากอาจจะมากกว่าเดิมซักเจ็บสิบปีซึ่งในความคิดของผมก็จะอธิบายว่า ในใจกลางของแผ่นสนามแม่เหล็กนั้นจะเป็นศูนย์กลางของทุกเวลาไม่ว่าจะเป็นในอีกห้านาทีหรือสามวันหรือสิบปีหรือพันปีหรือห้านาทีที่แล้วหรือสิบปีที่แล้วหรือร้อยหรือพันหรือล้านปีที่แล้วจะมารวมกันอยู่ที่จุดศูนย์กลางของเวลาซึ่งก็คือสนามแม่เหล็กโดยสนามแม่เหล็กของโลกจะอยู่ที่สามเหลี่ยมเบอมิวดาร์นั่นก็หมายถึงว่าสามเหลี่ยมเบอมิวดาเป็นศูนย์กลางของเวลาในทุกเวลาไม่ว่าจะเป็นอนาคตหรืออดีตก็ตามเมือมีคนหรือสัพสิ่งทั้งหลายในเวลาที่ปัจจุบันหลุดเข้าไปในสนามแม่นั้นก็จะเป็นไปได้ว่าจะไปโผลในอีกเวเลาหนึ่งๆซึ่งจะเป็นอดีตหรือปัจจุบันหรืออนาคตก็ได้ดังนั้นคนที่ผ่านเข้าไปในสนามแม่เหล็กคนแรกก็อาจจะไปโผลในอีกเวลาหนึ่งแล้วก็กลับมาตรงเวลาปัจจุบันจึงเป็นสาเหตุให้เขาแก่ขึ้น อาจารย์ครับนี่ก็เป็นความคิดหรือทฤษฎีทีผมตั้งสมมติฐานขึ้นมาเองในบางเรื่องก็เป็นไปได้แต่ในบางเรื่องวิทยาศาสตร์ก็หาข้อสรุปไม่ได้แต่ตอนนี้ผมอยูม.5ซึ่งก็ยังไม่มีความรู้พอที่จะสามารถตอบข้อสงสัยนี้ได้อาจารย์ช่วยกรุณาอธิบายด้วยนะครับถ้าจะติดต่อผมให้ผ่านทางกิจณพงษ์ได้นะครับ ด้วยความเคารพ

    สวัสดีครับ น้องทินวัฒน์

          เรื่องใช้สนามแม่เหล็กเป็นประตูเวลานี่น่าสนใจครับ แต่ต้องฝ่าด่านอย่างน้อย 2 ด่านดังนี้

          1. ความรู้ในปัจจุบันระบุว่า กาล-อวกาศ (space-time) เกี่ยวพันกับ ความโน้มถ่วง (gravity) ดังนั้น ถ้า "ประตูกาล-อวกาศ" สามารถสร้างได้จริง มนุษย์ก็ต้องมีความรู้และเทคโนโลยีในการจัดการกับความโน้มถ่วงได้ก่อน

          2. นักฟิสิกส์บอกว่า แรงพื้นฐานของธรรมชาติมี 4 อย่าง ได้แก่

             1) แรงแม่เหล็ก-ไฟฟ้า

             2) แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน

             3) แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม

             4) แรงโน้มถ่วง

             ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2008) นักฟิสิกส์สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างแรงแบบที่ 1, 2 และ 3 ได้แล้ว โดยมีทฤษฎีที่ค่อนข้างซับซ้อน

             แรงแบบที่ 4 คือ แรงโน้มถ่วง นี่ยัง "ดื้อ" อยู่ครับ คือ นักฟิสิกส์ยังไม่พบความสัมพันธ์กับแรงอื่น

             แต่วันใดที่สามารถเชื่อมโยงแรงแม่เหล็ก-ไฟฟ้า กับ แรงโน้มถ่วงได้ และสามารถจัดการกับแรงทั้งสองได้ตามต้องการ เรื่องของ "ประตูกาล-อวกาศ" ถึงจะเป็นไปได้ครับ

             ถ้ามีความก้าวหน้าใดๆ ในเรื่องนี้ จะนำมาเสนอไว้ให้นะครับ

             ระหว่างที่น้องใช้จินตนาการไปอยู่นี้ ก็หาความรู้เพิ่มเติมไปเรื่อยๆ ครับ ยังมีเวลาอีกมาก

             ขอให้โชคดีครับ ^__^

     

    ... สวัสดีครับอาจารย์ตอนนี้ผมรู้สึกว่าจะมีเรื่องราวอีกมากมายที่รอให้ผมคิดต่อไปครับ แต่พอได้บอกเรื่องราวนี้กับอาจารย์ผมก็รู้สึกโล่งมากเลยครับอันที่จริงผมมีเรื่องที่ตั้งสมมติฐานเยอะมากครับแต่ก็ไม่รู้ว่าจะเอามาเรียบเรียงเป็นคำพูดได้อย่างไรส่วนเรื่องสนามแม่เหล็กนี้ก็เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นให้ผมได้คิดอะไรที่ใหม่ๆอีกหลายอย่างซึ่งก็ยังสับสนอยู่

    อาจารย์บอกว่าปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถเชื่อมโยงแรงแม่เหล็ก-ไฟฟ้า กับ แรงโน้มถ่วงได้แล้วมีบุคคลท่านไดที่กำลังค้นคว้าเรื่องนี้อยู่หรือเปล่าครับแล้วถ้ามีอาจารย์คิดว่าความสัมพันดังกล่าวจะมาเชื่อมโยงกับเวลาของนรกสวรรค์ได้หรือเปล่าครับ....

    สวัสดีครับ น้องทินวัฒน์

           เรื่องการเชื่อมโยงแรงต่างๆ เข้าด้วยกันนี่ เป็นโจทย์ท้าทายที่สุดข้อหนึ่งของฟิสิกส์ทฤษฎี (theoretical physics) ครับ ความจริง ตัวไอน์สไตน์เอง ก็ครุ่นคิดเรื่องนี้ในช่วงบั้นปลายของชีวิต คือ พยายามรวมแรงแม่เหล็ก-ไฟฟ้า เข้ากับความโน้มถ่วง แต่ไม่สำเร็จ (ด้วยเหตุปัจจัยหลายอย่าง)

           เรื่องเวลาของนรก-สวรรค์ที่มีการนำเอาวิทยาศาสตร์เข้าไปอธิบายนั้น ขอแสดงความคิดเห็นแบบตรงไปตรงมานะครับ คือ เท่าที่มีคนทำอยู่ในปัจจุบัน เป็นการจับแพะชนแกะ อ้างหลักการ ทฤษฎี และข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง

           แต่ที่ยังไม่มีใครทักท้วงอย่างจริงจังนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอาจจะเห็นว่า ยังไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ และอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนไทยไม่ชอบทำให้ใครเสียหน้าครับ

           ลองอ่านบทสัมภาษณ์ของผมในประเด็นทำนองนี้ได้ ที่นี่

    ขอให้สนุกกับการเรียนรู้ครับ

    ได้8ครับ

    ไม่ตรงเรื่องดนตรี

    กับสอนติวเตอร์

    สอนใครไม่เป็นเลยครับ

    แต่คงจะไม่ใช่เพราะผมชอบหลับตอนเรียนบ่อยๆ

    โอ้! ว้าว! คุณมีความเป็นไอน์สไตน์ 80% ครับ ;-)

     

    ไม่อยากจะเชื่อเลยว่า คนที่นั่งอยู่ด้วยกันตรงนี้ ถูก 10 ข้อ ถึง 2 คน เป็นหญิงทั้งคู่ แถมคุณลักษณะไม่เพี้ยนนะ แค่บางครั้งชอบทำอะไรคล้ายเด็ก อย่าง นั่งมองมดเดิน แล้วนับจำนวนมด

    ส่วนอีกคน อ่านหนังสือเร็วมาก แล้วก็มักคิดอะไรไม่เหมือนคนอื่นบ่อยมากกกกกกกกกกกกก

    อาจารย์จำนายทินวัฒน์ ตอน ม 5 ได้ไหมครับ ปัจจุบันผมกำลังจพจบปริญญาแล้วนะครับ สาขาฟิสิกส์ ที่ มเกษตร บางเขนครับ ถ้าผมไม่ได้รับแรงบัลดาลใจจากอาจารย์ในวันนั้นคนไม่มีทินวัฒน์ในวันนี้ หวังว่าคงได้มีโอกาสพบกันสักวันนะครับ 0804692253

    ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/87601

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท