ค่ายอาสาสู่ชนบทไทย : คำตอบบางอย่างที่ยังล่องไหลอยู่ในสายลม ! (แต่เรายังมีเวลา..)


บางเรื่องอาจต้องชัดเจนตั้งแต่ก่อนการลงพื้นที่ ! บางเรื่องอาจต้องเป็นข้อมูลในการปฐมนิเทศค่าย ! บางเรื่องอาจจะมาเรียนรู้จริงในชุมชน !

ถนนลูกรังแกรน ๆ  ระยะทางร่วม 10  กิโลเมตรตัดผ่านทุ่งนาและป่าโคกที่ปราศจากหมู่บ้านและชุมชน... นั่นคือเส้นทางที่รถตู้คันเก่าโทรมของเราควบตะบึงผ่านเส้นทางอันวิบากเพื่อไปเยือนค่ายอาสาพัฒนาสู่ชนบทไทย  ของ  ชมรมอาสาพัฒนา    โรงเรียนบ้านคำบอน  ตำบลโคกศิลา  อำเภอเจริญศิลป์  จังหวัดสกลนคร

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วันนั้นผมออกเดินทางจากมหาสารคามตั้งแต่เวลา  6  นาฬิกาเศษ  มุ่งสู่ตัวเมืองกาฬสินธุ์และตรงดิ่งขึ้นเทือกเขาภูพาน  ซึ่งกว่าจะไปถึงค่ายเวลาก็ล่วงเข้า 11  นาฬิกาเศษ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เส้นทางอันวิบาก  หมู่บ้านอันไกลโพ้น   โรงเรียนเล็ก ๆ ที่ขาดเขินทางการศึกษา  คือภาพลักษณ์อันเป็นต้นฉบับของชาวชมรมอาสาพัฒนาที่ยึดปฏิบัติสืบมาตั้งแต่เมื่อแรกเริ่มตั้งชมรม  และเมื่อพิจารณาจากแวดล้อมชุมชนในครั้งนี้ก็ยืนยันได้ว่า  ชาวอาสาพัฒนา  ยังคงรักษา จุดยืน  ไว้อย่างเข้มแข็ง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ชมรมอาสาพัฒนาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  แตกหน่อก่อร่างมาจากชมรมบำเพ็ญประโยชน์ในยุคที่ยังเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม  โดยแยกตัวออกมาจัดตั้งเป็นชมรมฯ เมื่อปี 2527  ภายใต้การขับเคลื่อนของ พี่ติ๊ก ภูวดล  จากนั้นก็มีค่ายเกิดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม ณ  บ้านหนองหว้า ต.โหรา  อ.อาจสามารถ  จ.ร้อยเอ็ด  เป็นการสร้างอาคารแฝดสองจั่วขนาด 5 x 10  เมตร  ต่อจากนั้นชมรมอาสาพัฒนาก็ได้เติบโตและหยัดยืนเป็นองค์กรหลักของการออกค่ายอาสาพัฒนาชนบทสืบมาอย่างไม่รู้จบ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ค่ายครั้งนี้,…  ชมรมอาสาพัฒนาได้รับงบประมาณสนับสนุนหลักจาก สสส. และกองทุนโกมลคีมทอง  ขณะที่รูปแบบกิจกรรมได้เปลี่ยนแปลงไปจากปีที่ผ่านมาค่อนข้างมาก  กล่าวคือ  การเปลี่ยนจากการสร้างตัวอาคารอเนกประสงค์มาเป็นสร้างสนามกีฬาอเนกประสงค์ขนาด 12 x 21 เมตร  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นางสาวฝนทิพย์  บุญโท  ประธานชมรมฯ  บอกเล่ากับผมว่า  เหตุที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบอันเป็นวัฒนธรรมค่ายของชาวอาสาจากการสร้างอาคารอเนกประสงค์มาเป็นสนามกีฬาแทนนั้น  สาเหตุหลักมาจากการขาดแคลนงบประมาณ  จึงจำต้องเปลี่ยนแปลงสถานที่จากจังหวัดมุกดาหารที่เดิมจะสร้างอาคารฯ  มาสู่จังหวัดสกลนคร  กอปรกับจังหวะที่โรงเรียนและชุมชน </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ก็กำลังขาดแคลนเรื่องสนามกีฬาอยู่พอดี</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>    </p><p>ค่ายครั้งนี้  มีนิสิตเข้าร่วมประมาณ  75  คน  จากการสังเกตของตัวเองก็รู้สึกว่าเป็นจำนวนคนที่มากมายพอสมควรเมื่อเทียบกับปริมาณ  หรือขนาดของงานภาคสนามที่ดูไม่ใหญ่โตนัก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมให้คำแนะนำคณะกรรมการค่ายว่าควรให้ความสำคัญเรื่องการ เรียนรู้ชุมชน  เพิ่มมากกว่าที่เป็นอยู่  มิใช่จมปลักและจ่อมจมอยู่กับงานปรับพื้นสนามและเทปูนเท่านั้น !  ซึ่งต้องให้ความสำคัญต่อการศึกษามิติชุมชนทางสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยาให้มากขึ้น  โดยให้ใช้เทคนิค การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  เป็นตัวเคลื่อนขับระหว่างนิสิตกับชาวบ้าน  และนำข้อมูลดังกล่าวมาจัดเก็บ รวบรวม สังเคราะห์และร่วมแลกเปลี่ยนกับชาวค่ายกันทุกคน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมถามแม้กระทั่งว่า  ตำนานชื่อบ้านนามเมือง  ของที่นี่เป็นมาอย่างไร  โรงเรียนตั้งขึ้นเมื่อไหร่  ? ใครคือผู้บุกเบิกสร้างหมู่บ้าน  ?  ฮีตคองเป็นอย่างไร ?  ภูมิปัญญาท้องถิ่นและมรกดทางวัฒนธรรมมีบ้างหรือเปล่า ?  วิถีการกินอยู่และการรักษาโรคเป็นเช่นไร ?  แลอื่น ๆ อีกมากมายจิปาถะ  ซึ่งก็ดูเหมือนว่า คำตอบบางอย่างยังคงล่องไหลอยู่ในสายลม !”</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สิ่งเหล่านี้ถือเป็นองค์ประกอบอันสำคัญของการออกค่ายอาสาพัฒนา  บางเรื่องอาจต้องชัดเจนตั้งแต่ก่อนการลงพื้นที่ !  บางเรื่องอาจต้องเป็นข้อมูลในการปฐมนิเทศค่าย !  บางเรื่องอาจจะมาเรียนรู้จริงในชุมชน !  ซึ่งทั้งปวงผมได้ฝากประเด็นตั้งแต่การประชุมเตรียมความพร้อมแก่ทุกองค์กรแล้วเมื่อวันที่  10  มีนาคมที่ผ่านมา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>กระนั้นผมก็ยังไม่ลืมที่จะปลุกปลอบอย่างจริงใจว่า  ไม่เป็นไร….ยังพอมีเวลา </p><p>   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แต่ที่ผมประทับใจเป็นที่สุดในการสังเกตการณ์ห้วงสั้น ๆ  ก็คือกิจกรรม พัฒนาเด็กและเยาวชน  ซึ่งชาวค่ายได้นำ คนแห่งความหวังของชุมชน  มาอยู่รวมกันและร่วมทำกิจกรรมกับชาวค่ายอย่างคึกคัก  ราวกลับว่าโรงเรียนไม่ได้ปิดเทอมเลยทีเดียว</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กิจกรรมหลัก คือ  การสร้างเจตคติที่ดีในการศึกษาและดำเนินชีวิต  การมุ่งรณรงค์เรื่องปัญหายาเสพติด  โดยการให้เด็กและเยาวชนได้ถ่ายทอดจินตนาการเกี่ยวกับ เมืองน่าอยู่  ที่ปราศจากอบายมุขผ่านสื่อต่าง ๆ   ทั้งภาพวาด  ป้ายรณรงค์  ฯลฯ  รวมทั้งการจัดขบวนรณรงค์จากโรงเรียนเข้าสู่ตัวหมู่บ้าน -  จากหมู่บ้านกลับเข้าสู่โรงเรียน  ตลอดจนการกลับไปสู่ครอบครัวของแต่ละบุคคล  ซึ่งมีชาวค่ายติดตามกระบวนการนี้อีกขั้นในฐานะของ ลูกฮัก  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นอกจากนี้กิจกรรมก็ยังเน้นเรื่องนันทนาการต่าง ๆ ทั้งในรูปของการชมวีดีทัศน์  การเล่นเกมส์ละลายพฤติกรรมและส่งเสริมการกล้าแสดงออกทางความคิดของเด็กและเยาวชน   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ประเด็นของเด็กและเยาวชน,  ผมเสนอแนะให้นิสิตได้ลองสร้างกิจกรรมที่ทดสอบความรู้หรือทัศนคติของเด็กที่มีต่อ บ้านเกิด  ของตนเองในแง่มุมต่าง ๆ  เช่น  ให้พวกเขาได้เล่าเรื่องนานาชีวิตที่เกี่ยวข้องกับชุมชนของพวกเขา  หรือไม่งั้นก็ให้พวกเขาพาเที่ยวท่องในชุมชนของพวกเขาเองแล้วประเมินดูว่าเด็กเหล่านี้รู้รากเหง้าบ้านเกิดตนเองสักแค่ไหน?  จากนั้นจึงนำเข้าสู่กระบวนการสร้าง สำนึกรักบ้านเกิด  อีกครั้ง</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมเห็นความพยายามที่ฉายฉานในแววตาของคณะทำงาน  พอ ๆ กับเห็นกระบวนทัศน์ที่ยังไม่แน่นปึ๊กของการจัดการและบริหารค่าย (เบิ่งบ่ซอด)  แต่ก็ยังมีจุดแข็งที่น่ายกย่องก็คือสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของบรรดารุ่นพี่ชาวอาสาทั้งเก่าใหม่ต่างสัญจรจากทั่วสารทิศกลับมาช่วยค่ายครั้งนี้อย่างมากมายไม่ต่ำกว่า 10 คน ซึ่งยังไม่นับงบประมาณอีกจำนวนหนึ่งที่นำมาสมทบจัดกิจกรรมเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมให้กำลังใจคณะกรรมการชมรมฯ ว่าเป็นธรรมดาที่พวกเขาจะประสบปัญหาเรื่องกระบวนทัศน์การบริหารงาน  (เพราะยังอยู่ในชั้นปีที่ 2  กันทั้งนั้น)  แต่เมื่อผ่านพ้นกับปัญหาเหล่านี้ไปได้  ผลึกทางปัญญาก็จะอัดแน่นอยู่ในตัวเรา  รอวันถ่ายโยงไปสู่รุ่นน้อง  เฉกเช่นกับที่รุ่นพี่ของชาวอาสาได้สืบปฏิบัติกันมาในทุกยุคสมัย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อย่างไรก็ดี  ผมไม่ลืมที่จะชื่นชมว่าค่ายในปีนี้มีรูปแบบที่หลากหลายกว่าทุกปีและมีลักษณะของการเป็นค่ายบูรณาการที่ชัดแจ้งขึ้น  รูปแบบเช่นนี้จะกลายเป็นการนำร่องถากถางไปสู่เส้นทางสายใหม่ในเรื่องรูปแบบค่ายของชมรมอาสาในอนาคต   แต่ก็ควรต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานการตกผลึกทางความคิดที่มีต่อกิจกรรมและสังคม  มิใช่เปลี่ยนภาพลักษณ์หน้าตาของกิจกรรมไปตาม สปอนเซอร์  แต่ปราศจากองค์ความรู้ที่ชัดเจนในตัวตนของตนเอง</p><p>    </p><p>ผมจะกลับไปค่ายที่นั่นอีกครั้งเพื่อมอบค่ายในวันที่  21  มีนาคม  2550  และเชื่อว่าจะได้พบเจอกับพัฒนาการที่ดีของพวกเขาอย่างไม่ต้องสงสัย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>  </p><p></p>17 มีนา  2550  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การเดินทางร่วม 500  กม.</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แดดร้อน, ทางไกล  ภูเขาสูง</p>  และชุมชนอันไกลโพ้น <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p>   

หมายเลขบันทึก: 85131เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2007 04:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)
มีความสุขที่อยู่กับเด็กๆและเห็นเด็กๆเติบโต...เป็นเยาวชนที่ดีตามแบบพี่ๆและที่ปรึกษาค่ะ...เข้ามาให้กำลังใจค่ะ
  • เยี่ยมเลยค่ะ
  • เรื่องสำนึกรักบ้านเกิด ...เคยไปดูงานที่หมู่บ้านคำปลาหลาย
  • ชาวบ้านให้เด็กได้เรียนรู้ ศึกษาชุมชน
  • มีความภาคภูมิใจและเป็นเจ้าของค่ะ

                       Clapping Hands

  • เห็นค่ายอาสาแล้วคิดถึงตอนเป็นนิสิตจังเลย
  • ขอบคุณครับผม

ขอบคุณ อ.ติ๋วมากครับ..

P

ช่วงนี้การงานรัดตัวจนแทบหายใจไม่ทัน !  ไม่มีเวลาแม้แต่จะเขียนบันทึกและมีเรื่องอีกหลายเรื่องที่ค้างสต๊อกในหัวสมอง

กรณีชมรมอาสาพัฒนา,  ปีนี้ต้องยอมรับว่ากระบวนการจัดการอ่อนด้อยลงกว่าปีที่แล้ว  แต่ก็เชื่อว่าหลังมีการสรุปบทเรียนแล้ว  น่าจะมีความชัดเจนในการทำงานที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

ขอบคุณอีกครั้ง,  ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ คุณพิชชา

P

ช่วงนี้ยุ่งมากครับ..แทบไม่มีเวลาแวะเวียนไปแลกเปลี่ยนกับกัลยาณมิตร   เหมือน ๆ จะบอกกับตัวเองว่า  เอาบันทึกตังเองให้รอดไว้ก่อน...(ยิ้ม ๆ )

ผมสนใจประเด็น "สำนึกรักบ้านเกิด"  มานานแล้ว...พยายามที่จะค่อยฝากแนวคิดเหล่านี้ลงในนิสิต  ผมไม่อยากสั่งว่า "ต้องทำ"  เรื่องนี้  แต่อยากให้เขารู้สึกรักที่จะทำกิจกรรมในประเด็นนี้...

และวันนี้ก็ยังมีแรงที่จะรอผลึกความคิดของนิสิตอย่างไม่เบื่อหน่าย

ขอบคุณมากครับ

  • กิจกรรมค่ายอาสา  ไม่มีวันล้าสมัย 
  • เพียงแต่อาจแปลงไปเป็นชื่ออื่น  เช่น  ที่ผมทำก็เปลี่ยนเป็นค่ายมิตรภาพเอเชีย  เป็นต้น  
  • การพาผู้คน  มารู้จักกันแล้วทำเพื่อผู้อื่น  ได้ทั้งประสบการณ์  และความสุขใจ 
  • เราอาจไม่รู้มาก่อนว่า  คนกรุงเทพฯ  บางคนไม่เคยเห็นควายเป็นๆ  วิถีชีวิต  ความเป็นอยู่ของพี่น้องในชนบท  มนุษย์เมืองบางคนก็ไม่รู้  แนะนำให้เขาดูแลควายให้ดีๆ  แล้วมันจะออกลูกให้หลายๆตัวในแต่ละปี  เป็นต้น ฯลฯ
  • บางคนข้ามวัฒนธรรมมา  เกิดความเข้าใจใหม่มากมาย
  • การทำค่าย แบบ เปิดกว้าง  ให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า  ก็ท้าทาย  ไปอีกแบบ  มันจะหลากหลายกว่าค่ายนักศึกษา
  • ขอบคุณข่าวสารนี้นะ  ต้องช่วยกันจัดเข้าไป
  • มันเป็นประสบการณ์ตรง  ที่เขาจะเข้าใจและจำได้ไปชั่วชีวิตครับ

 

สวัสดีครับ อ.ขจิต

P

ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมถึงมีทักษะการจัดกิจกรรมชั้นเลิศขนาดนี้  ที่ไหนได้  ฝึกปรือมาจากการเป็น "คนค่าย"  ด้วยนี่เอง...

นั่นแสดงว่า มาเฟียกิจกรรมอย่าง อ.ขจิต  นี้ต้องทำกิจกรรมรอบด้านและจัดจ้านมากสิท่า....

ยอดเยี่ยมครับ...

และขอให้มีความสุขกับการรำลึก "วันชื่นคืนสุข"  ในค่ายนะครับ..

 

สวัสดีค่ะคุณแผ่นดิน

ชอบความคิดที่ให้ถามถึงทัศนคติ ความรู้ที่มีต่อบ้านเกิด ก่อนจะถึงสำนึกรักบ้านเกิด..เยี่ยมจริงๆค่ะ

สวัสดีครับ
P

ขอบคุณมากครับที่แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผมชอบคำที่ว่า "กิจกรรมค่ายอาสา  ไม่มีวันล้าสมัย  เพียงแต่อาจแปลงไปเป็นชื่ออื่น"

เพราะสื่อสะท้อนให้เห็นว่าผู้กล่าวมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในการเคลื่อนตัวของค่ายอาสา

ล่าสุดผมประเมิน พบว่า  นิสิตจำนวนไม่น้อยเข้าใจว่าค่ายอาสา หมายความแต่เฉพาะการไปสร้างวัตถุ  โดยเข้าใจว่าที่เหลือนั้นไม่ใช่ค่ายอาสา

ไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงผันผวนสักแค่ไหน...ผมก็ยังศรัทธาอยู่เสมอว่า  ค่ายอาสาพัฒนาชนบทของนิสิตนักศึกษาจะเป็นกลไกสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้นิสิตนักศึกษาได้เข้าใจความเป็น "สังคม"  มากยิ่งขึ้น เมื่อจบไปแล้วก็จะสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

อีกอย่าง...สำหรับผมแล้ว  "กิจกรรมนิสิต คือรสชาติชีวิตปัญญาชน"  เสมอ ..ครับ !

  • ชวงนี้ชาวอาสาพัฒนาทั่วประเทศกำลังออกข่ายอาสาพัฒนากันอย่างคึกคัก...เช่นเดียวกับ ชมรมอาสาพัฒนา มอ.ปัตานี
  • ตอนนี้กำลังขมักเขม้นอยู่ที่ค่าย อ.จะนะ  จ.สงขลา
  • ส่วนบรรยากาศเป็นอย่างไร  อธิบายไม่ได้ครับ  เพราะไม่ได้ไปเยี่ยมพวกเขาเลย
สวัสดีครับ คุณเบิร์ด
P
เด็ก ๆ  ... เป็นชีวิตและสีสันของค่ายและชุมชนเสมอ 
สวัสดีครับ
P

น่าสนใจมากครับ, สำหรับค่ายที่ อ.จะนะ...

แต่สำหรับ มมส  ปีนี้ถือว่ามีค่ายเยอะจริง ๆ ..และเมื่อลงทุนไปเยี่ยมเกือบทุกค่าย  เราก็เห็นว่า  มีหลายอย่างที่ต้องนำกลับมาถกคิดและสร้างกระบวนการใหม่กันอีกครั้ง

ขอบคุณมากครับ

 

  • หากทุกองค์กรที่ดูแลเด็ก ชาวบ้าน ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมเข้าถึงชุมชน บ้านเมืองน่าจะดีกว่านี้เด้อ! (เฮ้อ.......ถอนหายใจ)
สวัสดีครับพี่อัมพร
P

เช่นกัน คือ ขอบพระคุณข้อสังเกตและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการทำกิจกรรมนะครับ 

ค่ายครั้งต่อไป...ผมกำลังมองไปประเด็นค่ายเยาวชนสำนึกรักบ้านเกิด...กำลังจะเปิดโต๊ะระดมความคิดทำโครงร่างกับนิสิตดูสักยก  เผื่อนิสิตอาจจะสนใจ

ช่วงปิดเทอมฤดูร้อนเป็นช่วงที่เป็นโอกาสที่ดีที่นิสิตนักศึกษาจะได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อท้องถิ่น จากกิจกรรมค่ายนี้ ทำให้คิดถึงเมื่อครั้งเป็นนักศึกษา ซึ่งเคยออกค่ายในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนปี 1 ปี 2 ...เคยไปในหมู่บ้าน เขต จ.ขอนแก่น จ.หนองคาย และ จ.เชียงราย ไปช่วยสร้างสนามบาส และศูนย์เลี้ยงเด็กของหมู่บ้าน...ชอบมากค่ะ สนุก และประทับใจไม่รู้ลืม

อ.แป๋วครับ...

งานค่ายที่ผมอยากทำ และทำไม่ได้  แต่อยากให้นิสิตได้ทำมากในขณะนี้ก็คือ  ..ค่ายสร้างศูนย์เลี้ยงเด็ก  หรือไม่ก็ปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อม - สื่อสำหรับศูนย์เลี้ยงเด็กครับ...

ยังไม่เคยมีโอกาสได้ไปค่ายที่เชียงรายเลย

ภาคเหนือล่าสุดก็แถวอุตรดิตถ์เองครับ....

นิสิตมาขอไปทำค่ายภาคเหนือเหมือนกัน.แต่เห็นว่าไกลเกินไป ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงก็สูง.....อีกทั้งอยากให้เขาดูแลภาคอีสานให้เต็มที่  รวมถึงมหาวิทยาลัยแถบภาคกลางก็ไปค่ายภาคเหนือค่อนข้างเยอะ  จึงอาจจะยังไม่จำเป็น ... เว้นเสียแต่การไปร่วม และไปสมทบนั้นผมเห็นด้วย  ซึ่งล่าสุดกลุ่มชมรมครูอาสา..ก็ไปร่วมกับกลุ่ม NGO ช่วยชาวเขา....เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากครับ

ค่ายนี้ดีนะคะ

จัดมานานยังเอ่ย

อยากเป็นหนึ่งในชาวค่ายนะคะ

วัชระ บัติโยธา ประธานชมรมเยาวชนฅนอาสาพัฒนา ม.ราชภัฏสุราษฏร์ธานี

สวัสดีครับ คนเป็นตาแพง

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะครับ

ค่ายนี้ จัดเมื่อปี 50 ครับ...
ผมไปเยี่ยมและไปมอบค่ายเอง..
โดยปกติ ปิดเทอมเดือนตุลาคมและเดือนมีนาคม-เมษายนของทุกปี
ที่มหาวิทยาลัยจะมีค่ายเยอะมากครับ...
แทบจะเรียกว่าคราวละไม่น้อยกว่า 20 ค่ายเลยทีเดียว..

ค่ายเป็นเรื่องชวนฝันสำหรับคนหนุ่มสาวในมหาวิทยาลัยเสมอ...
ผมเชื่อเช่นนั้น ครับ

สวัสดีครับ คุณวัชระ บัติโยธา

ผมเข้าไปเยี่ยมชมข้อมูลแล้วนะครับ...
และขอเป็นกำลังใจอย่างมากมายในเส้นทางของการสร้างสรรค์สังคม...

อย่าท้อนะครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท