วัฒนธรรมการเรียนรู้ : ความเห็นผิด


ในสังคมคนเรานั้นหลากหลายแนวคิดหลากหลายวัฒนธรรม จึงก่อเกิดการแสดงความคิดเห็นที่มากมาย

ความเห็นผิดหรือความเห็นถูกในมุมคิดของคุณจะว่าอย่างไร...

ในสังคมคนเรานั้นหลากหลายแนวคิดหลากหลายวัฒนธรรม  จึงก่อเกิดการแสดงความคิดเห็นที่มากมาย 

 ตามแต่ลัทธิความเชื่อของแต่ละบุคคลที่ได้รับแนวคิดมาจากลัทธิหรือความเชื่อตามศาสนาใด  เมื่อมองตามหลักพุทธธรรมแล้ว   เห็นมุมคิดของผู้ที่มีความเห็นผิดว่า...เช่น 

 การเห็นสิ่งต่าง ๆว่าเป็นสิ่งเที่ยงแท้  คือ ความเห็นว่าตัวตนนี้เป็นสิ่งเที่ยงแท้  เป็นสิ่งยั่งยืน  ดำรงอยู่ตลอดไป  เมื่อขยายดูความเห็นดังกล่าว  เช่น

  มีผู้เห็นว่า  คนเราและสัตว์เมื่อตายไปแล้ว  ร่างกายเท่านั้นที่เน่าเปื่อยผุพังทรุดโทรมไป 

 แต่ส่วนดวงชีพหรือดวงจิต...มโน...วิญญาณ...นั้น  เป็นธรรมชาติที่เที่ยงแท้  ไม่สูญหายไปไหน 

 และย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่น ๆสืบต่อไป 

 ตามแนวคิดดังกล่าวมา   เมื่อเอาหลักพุทธธรรมเข้ามาจับแล้วยังถือว่าเป็นความเห็นผิดอยู่ดีนั้นเอง
หมายเลขบันทึก: 83411เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2007 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

มองต่างมุม

ประเด็นสรุปของท่านคือตามแนวคิดดังกล่าวมา   เมื่อเอาหลักพุทธธรรมเข้ามาจับแล้วยังถือว่าเป็นความเห็นผิดอยู่ดีนั้นเอง

คือท่านไปตีความว่าจิตที่เที่ยงแท้ ขัดกับหลักอนิจจังการเกิดดับใช่หรือไม่? แปลว่าท่านเข้าใจผิดครับ

เพราะจิต เจตสิก รูปและนิพพาน  เป้นสี่องก์ที่พระพุทธองค์สอนว่าเป็นอสังขตธรรม หรือจริง/เที่ยงแท้ในทุกสภาวะ  ต่างจากองก์อื่นที่เป้นสังขตธรรม อยุ่ในวัฎอนิจจัง คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป

เป็นบทเรียนของเปรียญ ๕ขึ้นน่าจะได้เรียนเรื่องนี้แล้วครับ ถ้ามีคนไปอ่านแล้วมาคุยกันน่าจะสนุกดี(? )

สวัสดีครับ  คุณ

P

ขอชื่นชมผู้รู้ธรรมอย่างคุณด้วยดวงใจคารวะ...

ท่านไปตีความว่าจิตที่เที่ยงแท้ ขัดกับหลักอนิจจังการเกิดดับใช่หรือไม่? แปลว่าท่านเข้าใจผิดครับ

แต่ส่วนดวงชีพหรือดวงจิต...มโน...วิญญาณ...นั้น  เป็นธรรมชาติที่เที่ยงแท้  ไม่สูญหายไปไหน 

 และย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่น ๆสืบต่อไป 

...จิตที่ผมว่า...ยังอยู่ใน

วัฎอนิจจัง คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป

เพราะยังไปเกิดอยู่...แต่คนมองว่าเที่ยงแท้...ผมจึงกล่าวว่า

 เมื่อเอาหลักพุทธธรรมเข้ามาจับแล้วยังถือว่าเป็นความเห็นผิดอยู่ดีนั้นเอง

ขอบคุณครับ

 

ครับอาจารย์มองต่างมุม /กันสนุกดี

นอกรอบ/คืออย่างนี้ครับผมสมัครเรียนป.เอก ภาควิชาการจัดการความรู้ ที่มช.ผลงานการคุยเป็นดัชนีงานที่วัดผลอย่างหนึ่ง ดังนั้นการคุยกันเพียงเพื่อแตกฉานความคิดความเข้าใจ/ใครจะเห็นด้วยเห็นต่างเห็นตรง ไม่สำคัญ(แล้วแต่อัธยาศัยผู้อ่านจะหยิบ/ไม่หยิบฉวยไปเอง ) และเป็นกิจกรรมประกอบการเรียน ไม่ใช่เจตนาอื่นนะครับ

ในรอบ/ คำว่าจิตเที่ยงแท้ไม่ได้แปลว่าไม่สูญหายไปไหน? อย่างมวลสารไม่หายจากโลกนะครับ ท่านไม่ได้หมายความอย่างนั้น(? ) ถ้าความหมายนั้น จะกล่าวถึงรูป,เจตสิกไม่ใช่จิต ไม่ใช่นิพพาน

 

คำว่าจิตเที่ยงแท้ คือมันมีหน้าที่เสพอารมณ์ เสมอ มีหน้าที่เสพนาม  คือเปลี่ยนจากรูปเป็นนามเสมอและนี่คือคำอธิบายว่าทำไมต้นไม้ไม่มีจิต ซากศพไม่มีจิต

 

 และนี่เป็นการบ้านที่พระพุทธเจ้าสอนว่า เวลาจิตเสพรูป เปลี่ยนเป็นเสพนาม จำต้องปล่อยวางด้วยกำลังสติ ไม่ให้มีสังขารจับเวทนาไปเพลิน/เมา/เฉือยชา/ฟุ้งซ่าน/พยาบาทกับการเสพนามนั้นยกตัวอย่าง

 

ทำไมท่านให้พิจารณานิวรณ์ ๕ เพราะเป็นตัวอย่างของการทำงานของจิตที่เสพรูป เปลี่ยนสภาวะเกิดดับกลายเป็นเสพนาม  ขั้นตอนของอัตตาจะแฝงอยู่ตอนนี้ผ่านคุณครูทั้ง๕คือนิวรณ์  ดังนั้นท่านจึงสอนให้ละนิวรณเสียจะได้เห็นการทำงานของจิตและรู้เท่าทันจิตด้วยกำลังสัมมาสติได้ ครับและลดอัตตาลงได้ตามกำลังของสติ+ปัญญา

 

ฮา(เอิก ) ปรัชญาบางครั้งก็สนุก บางครั้งคนจะมองเราบ้านะครับ ถ้าคุยเรื่องแบบนี้

สวัสดีครับ  คุณ

P

สาธุ...อธิบายได้ใจความดีมากครับ...ผมขอชื่นชมในความลุ่มลึกทางภูมิธรรมของคุณ...

เป็นกิจกรรมประกอบการเรียน ไม่ใช่เจตนาอื่นนะครับ

ดีครับอาจารย์คิดคะแนนด้วยมั้ยครับ...

คำว่าจิตเที่ยงแท้ไม่ได้แปลว่าไม่สูญหายไปไหน?

ถ้าความหมายนั้น จะกล่าวถึงรูป,เจตสิกไม่ใช่จิต ไม่ใช่นิพพาน

ผมขอถามเอาความรู้นะครับ...

ถ้าอย่างนั้น...จิต...นิพพาน...เที่ยงแท้...อยู่นอกกฏไตรลักษณ์หรือไม่...? 

 

ทำไมต้นไม้ไม่มีจิต ...แล้วคนเปิดเพลงให้ต้นไม้...ดอกไม้ฟังละ...ทำไมมันรับรู้และสดชื่นเหมือนจะยิ้มให้กัน...?

เวลาจิตเสพรูป เปลี่ยนเป็นเสพนาม จำต้องปล่อยวางด้วยกำลังสติ ไม่ให้มีสังขารจับเวทนาไปเพลิน/เมา/เฉือยชา/ฟุ้งซ่าน/พยาบาทกับการเสพนามนั้นยกตัวอย่าง...

 

เราต้องปฏิบัติถึงขั้นไหนของญาณ 16  จึงจะเข้าใจดังกล่าว  หรือมีแต่ฉพาะพระอรหันต์เท่านั้นที่รู้เรื่องนี้ครับผม...?

ปรัชญาบางครั้งก็สนุก บางครั้งคนจะมองเราบ้านะครับ ถ้าคุยเรื่องแบบนี้ ...

ผมเห็นด้วยครับ...นักปรัชญาเท่านั้นที่รู้...ฮา ๆ เอิก ๆ

ผมนึกถึงคำกล่าวที่ว่า...เราไม่บ้าแม้ใครบ้ามาว่าเรา

มันก็เข้าคนที่ว่า  เป็นบ้าเอย...ฮา ๆ เอิก ๆ

ขอบคุณครับ

 

 

 

 

สวัสดีตอนเที่ยงครับอาจารย์มาช้าดีกว่าไม่มา  ผมเพิ่งออกจากห้องประชุมครับ

เดินโซเซมาเลย  มาคุยกับอาจารย์ต่อนะครับ?

ถาม)) ถ้าอย่างนั้น...จิต...นิพพาน...เที่ยงแท้...อยู่นอกกฏไตรลักษณ์หรือไม่...? 

ตอบ))กฎไตรลักษณ์หรือ กฎว่าด้วยทุกข์ แปลว่าธรรมอันทนอยู่นานไม่ได้ กล่าวคือสภาวะธรรมเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป จะใช้กับสขตธรรมเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับอสังขตธรรม

อสังขตธรรมมี๔ประการ คือจิต เจตสิก รูปและนิพพาน

แต่อาจารย์ห้ามถามต่อนะครับ ว่าทำไมพระพุทธเจ้าจึงแบ่งธรรมออกเป็นสังขตธรรมและอสังขตธรรม

เพราะจนด้วยเกล้าจริงจริง (เกินภูมิปัญญาของสามัญชน )

 

ถาม))ทำไมต้นไม้ไม่มีจิต ...แล้วคนเปิดเพลงให้ต้นไม้...ดอกไม้ฟังละ...ทำไมมันรับรู้และสดชื่นเหมือนจะยิ้มให้กัน...?

ตอบ)) คำถามนี้ดีครับ ยอดนิยม(โดนถามบ่อย ) ยังไม่พบงานวิจัยใดใดสนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้นะครับ มีแต่อุปทานของผู้พูดเท่านั้น

ถาม))เวลาจิตเสพรูป เปลี่ยนเป็นเสพนาม จำต้องปล่อยวางด้วยกำลังสติ ไม่ให้มีสังขารจับเวทนาไปเพลิน/เมา/เฉือยชา/ฟุ้งซ่าน/พยาบาทกับการเสพนามนั้นยกตัวอย่าง...

ตอบ)) สมมติว่ามีดร.ท่านหนึ่ง ไปพุดคุยกล่าวถึง/ว่าดร.อีกท่านหนึ่ง(จะเจตนาว่าหรือไม่เจตนาก็ตาม ) แต่ดร.ผู้ถูกว่า/หรือถูกกล่าวถึง ไม่เข้าใจ/สะเทือนใจ/ไม่ชอบใจ บุคคลที่สามผสมโรงขับไล่อีก

ท่านเห็นการทำงานของจิตเสพรูป-นามไหมครับ? เสพตัวหนังสือที่เป็นรูป เสพนามคือไม่พอใจขับไล่ เสพตัวหนังสือแท้แท้   ตัวหนังสือที่ไม่มีอำนาจใดใด เป็นเพียงอักขระกลับทำให้คนระดับดร.และเป็นเสาหลักของบ้านเมืองเป็นบ่าวของกิเลสคือโกรธ และหลงได้

ไม่เป็นไร?พอเรารู้ตัวได้สติแผ่เมตตาเสียอย่าให้โกรธ+โลภ+หลงมาบงการจิตเราได้ง่ายง่าย เราสู้กิเลสด้วยกำลังทั้ง๕เรียกว่าพละ๕ครับ

ถาม))เราต้องปฏิบัติถึงขั้นไหนของญาณ 16  จึงจะเข้าใจดังกล่าว  หรือมีแต่ฉพาะพระอรหันต์เท่านั้นที่รู้เรื่องนี้ครับผม...?

ตอบ)) เรื่องญานหรือฌาน ให้นึกถึงกีฬา สมมติเป็นฟุตบอล โจทย์ถามว่า เราเห็นกีฬาแพ้แต่คนไม่แพ้ไหมครับ?นั่นแหละพวกเขาไปไม่ถึงญาน/ฌานใดใด  เพราะสภาวะธรรม น้ำใจนักกีฬา เหล่านี้เกินความสามารถของภาษาสมมติ(เครื่องมือในการแสวงหา/จัดการความรู้ )จะบรรยายได้ แต่เชื่อว่าผู้อ่านทุกท่านในที่นี้ )สามารถเข้าถึงสภาวะธรรม"น้ำใจนักกีฬา"ได้ครับ

 

เวลาพระภิกษุท่านสอนผม ท่านจะให้ผมยืนขาเดียวจนเข้าใจคำว่า"ทุกข์ "(ว่าคงทนอยู่นานไมได้ )เป็นอย่างไรครับ แล้วท่านจึงสอนเรื่องอสังขตธรรมต่อไป

ลองหาพระภิกษุ(สุปฎิปันโน )ใกล้บ้านสักรูปสิครับ-หารือกับท่าน-จะดีและแตกฉานกว่าผมเยอะครับ  

สวัสดีครับ...คุณ

P

แต่อาจารย์ห้ามถามต่อนะครับ ว่าทำไมพระพุทธเจ้าจึงแบ่งธรรมออกเป็นสังขตธรรมและอสังขตธรรม

เพราะจนด้วยเกล้าจริงจริง (เกินภูมิปัญญาของสามัญชน )

ฮา ๆ เอิก ๆ...แต่ผมจะถามว่า...ภูมิปัญญาของสามัญชนรู้ได้เฉพาะเรื่องราวของสังขตธรรมเท่านั้นรึ...?ความเป็นปลาอยู่ในน้ำทำไมอยากไปอธิบายมังกรล่องหนอยู่ในฟากฟ้าเล่า...

ยังไม่พบงานวิจัยใดใดสนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้นะครับ มีแต่อุปทานของผู้พูดเท่านั้น ...

การเล่าเรื่องจริงในอดีต...จนกลายมาเป็นนิทานที่บันทึกไว้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นก็มีนะครับ...เช่น เรื่องจำปาสี่ต้น  คณะหมอลำเรื่องทางภาคอิสานนำมาเผย

แพร่...คือเมื่อเด็ดกิ่งจำปา  แก่กลายเป็นหักนิ้วก้อยของเด็กหนึ่งใน 4 คนนั้น...เมื่อฤาษีชุบชีวิตขึ้นมาได้ปรากฏว่า...เด็กน้อยนั้นไม่มีนิ้วก้อย  เมื่อถามเขาก็ระลึกชาติได้ว่าโดนหักไป...นักปรัชญากรีกคนหนึ่งก็ระลึกชาติได้ตามประวัติว่าเขาเคยเกิดเป็นต้นไม้...

ฮา ๆ เอิก ๆ...แสดงว่ามีหลักฐานถ้าเราต้องการค้นหาจริง ๆ

เราสู้กิเลสด้วยกำลังทั้ง๕เรียกว่าพละ๕ครับ ...

เป็นมุมคิดที่น่าสนใจครับ...

เพราะสภาวะธรรม น้ำใจนักกีฬา เหล่านี้เกินความสามารถของภาษาสมมติ(เครื่องมือในการแสวงหา/จัดการความรู้ )จะบรรยายได้...

เมื่อพูดไม่ได้บรรยายไม่ถูกแล้วเราไม่เสียเวลาไปกับสิ่งเหล่านี้หรือ...ฮา ๆ เอิก ๆ

เวลาพระภิกษุท่านสอนผม ท่านจะให้ผมยืนขาเดียวจนเข้าใจคำว่า"ทุกข์ ...

สาธุอย่าให้มีบาป...นี่เข้าข่ายการทรมานตนเป็นอัตตกิลมถานุโยคหรือเปล่าครับ...ฮา ๆ เอิก ๆ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับอาจารย์

ประเด้น*ฮา ๆ เอิก ๆ...แสดงว่ามีหลักฐานถ้าเราต้องการค้นหาจริง ๆ

ต่อประเด็น** หลักคิดนี้ผิดครับ เสมือนสมัยก่อนที่เชื่อกันว่าโลกแบน  ก็มาจากหลักคิดนี่แหละครับ แปลว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น(ไม่จำต้องถูกเสมอไป ) หรือใครใครเขาก็เชื่อกัน ทำให้สังคมจำต้องมีงานวิจัยไงครับ

ประเด็น**เมื่อพูดไม่ได้บรรยายไม่ถูกแล้วเราไม่เสียเวลาไปกับสิ่งเหล่านี้หรือ...ฮา ๆ เอิก ๆ

ต่อประเด้น**ไม่ใช่ครับอาจารย์ เมื่อใช้ภาษาไม่ได้ เราก็ไม่ใช้ภาษาครับ(วิธีการเข้าถึงองค์ความรู้ )  ยกตัวอย่างถ้าเราจะสอนลูกว่าความสุขในการทำความดีเป็นอย่างไร? น้ำใจนักกีฬาเป็นอย่างไร?ความรัก/เมตตาเป็นอย่างไร? ลูกไม่มีทางเข้าใจ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ทำให้ประจักษ์ ให้เข้าถึงโดยการประจักษ์แจ้ง ไม่ไช่ฟัง-อ่าน-คิด-เขียนครับ

 

การประจักษ์ นี่ในบางตำราใช้คำว่าบรรลุ แต่ผมคิดว่าคำว่าประจักษ์ใกล้ความหมายมากกว่า ยกตัวอย่าง ถ้าเด็กไม่เคยได้รับความรักจากพ่อแม่/บุคคลใดใดเลย เด็กคนนั้นจะรักเป็นไหม? เด็กคนนั้นจะเข้าสู่สภาวะธรรม"เมตตา-กรุณา" เป็นหรือ? ตรงกันข้าม ไม่ว่าจะเอาหนังสือเรื่องเมตตาหรือควมรักกี่เล่มให้เด็กอ่านก็ตาม  โอกาสเด็กจะประจักษ์แทบเป็นไปไม่ได้

 

ตรงนี้เขาเรียกว่าการเข้าถึงองค์ความรู้ด้วยการจัดการความรู้ (มรรควิธี ) ที่ไม่ใช่สุตตวิธี ไม่ใช่จินตวิธีแต่เป็นภาวนาวิธี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท