วัฒนธรรมการเรียนรู้ : การให้


การให้ใครคิดว่าไม่สำคัญ เพราะเป็นการเกี่ยวข้องกันหลายฝ่ายมคือมีทั้งผู้ให้และผู้รับ

การให้นับว่าเป็นการปฏิบัติให้เราเห็นอยู่เป็นประจำ...

การให้ใครคิดว่าไม่สำคัญ  เพราะเป็นการเกี่ยวข้องกันหลายฝ่ายมคือมีทั้งผู้ให้และผู้รับ 

ในความหมายของการให้นั้น  คือ  คนเราควรให้สิ่งของที่สมควรจะให้แก่  ผู้ที่สมควรรับเอาสิ่งของนั้นด้วย 

 เพื่อประโยชน์แก่เขา  ซึ่งมีการให้อยู่  2  ประการ  คือ

1 .  การให้ที่จำเพาะเจาะจงบุคคล  โดยมีจุดมุ่งหมายว่า  ในบรรดาบุคคลทั้งหมดนั้น  สิ่งของนี้สมควรแก่เขาเพียงคนเดียว  เมื่อเขารับเอาสิ่งของแล้ว 

 สิ่งของนั้นก็จะเป็นประโยชน์เฉพาะตัวเขาเอง  อย่างนี้เรียกว่าเป็นการให้ทานเฉพาะเจาะจงหรือการให้เฉพาะแก่บุคคลผู้หนึ่งผู้ใด

2 .  การให้แก่หมู่คณะ  โดยมีจุดประสงค์เป็นไปเพื่อส่วนรวมของกลุ่มบุคคลนั้น ๆ  เมื่อใครเดือดร้อนภายในกลุ่มชนนั้น ๆ 

 และมีความประสงค์อยากได้สิ่งของนั้น ๆ เขาก็บอกแจ้งต่อคณะบุคคลเพื่อพิจารณาจัดแบ่งสิ่งของนั้นให้ตามที่ต้องการนั้นเอง 
หมายเลขบันทึก: 83397เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2007 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เรียนท่านอาจารย์ UMI

 การให้เป็นสุขครับ โดยเฉพาะ ให้โอกาส ครับ

  • ผมเวียนมากวนหัวใจอาจารย์ยูมิอีกแล้ว :-)
  • และเห็นด้วยกับท่านอาจารย์ JJ การให้สบายใจกว่าการรับ
  • อยู่เพื่อให้ดีกว่าอยู่เพื่อเอา

สวัสดีครับ  ท่าน

P

 การให้เป็นสุขครับ โดยเฉพาะ ให้โอกาส ครับ

สุดยอดเลยครับท่าน 

 การให้โอกาส...โดยเฉพาะผู้ใหญ่ควรให้โอกาสผู้นอยได้เติบโตในการงาน

เหมือนแสงดวงอาทิตย์สาดส่องมาถึงยอดหน่ออ่อนให้เจริญเติบโตขึ้นไปสวยงามประดับโลก

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ  คุณ

P

ผมหาทางไปเยี่ยมคุณ...วันสองวัน  ประกอบกับ  net หลุด ๆๆ จึงยากจริง...วันนี้ไปได้แล้วเพราะคุณเอาทางมาให้...ฮา ๆ เอิก ๆ

  • อยู่เพื่อให้ดีกว่าอยู่เพื่อเอา
  • เป็นแนวทางของผู้ประเสริฐครับ...

    ผมเห็นด้วยครับ

    ขอบคุณครับ

    อาจารย์คะ

    ตามมาซึมซับการเป็นผู้ให้ด้วยค่ะ

    ให้แล้วใจเป็นสุขจริง ๆ ค่ะ  

    สวัสดีครับ  คุณ

    P

    ให้แล้วใจเป็นสุขจริง ๆ ค่ะ  

    เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ

    ใจที่คิดจะให้ดีกว่าใจที่คิดจะเอา...ฮา ๆ เอิก ๆ

    ขอบคุณครับ

    มามองต่างมุมอีกแล้วครับท่านผู้อ่าน (ฮา/เอิก )

    อันที่จริงผมเขียนเรื่องการให้ไปรอบแล้วในไซต์ของอาจารย์นมินทร์ ขอฉายซ้ำในที่นี้นะครับ

    ถ้าตีความภาษากฎหมาย/อักขระวิธี  เป็นไปแบบที่เขียนข้างบนครับ คือ คนเราควรให้สิ่งของที่สมควรจะให้แก่  ผู้ที่สมควรรับเอาสิ่งของนั้นด้วย 

    อันที่จริงในทางธรรมไม่มีเจตนาสื่อตรงนั้นเลย ท่านสื่อถึงการแบ่งปัน ไม่ใช่ส่งมอบ ไม่ใช่สละการครอบครอง ท่านหมายถึงการแบ่งปันความสุข แบ่งปันความสงบ แบ่งปันความบริสุทธิ์ แบ่งปันภาวนา เป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ๑๐ครับ

     ทั้งผู้ให้และผู้รับ ต่างได้รับการแบ่งปันความสุข(ทุกข์ที่เบาบาง ) แต่คนไปตีความออกนอกภาษาธรรมกันหมด  ดังนั้นจึงไม่แปลกใจอะไรที่จะเจอคนน้อยใจ คนเสียใจ หรืออื่นอื่นอีกมากมาย(หลังจากการให้เพราะเขาให้ไม่เป็นครับ  )

    เพราะพวกเขาไม่เข้าใจภาษาคน ภาษาธรรมครับ เมื่อไรที่เราจะคิดให้ นั่นคือเราต้องเริ่มจากใจเราว่าเราจะแบ่งปันความสุข ความสงบ ความบริสุทธิ์ และความเจริญในชีวิตอย่างไร?

    ไม่ใช่เสียสละ ไม่ใช่ส่งมอบไม่ใช่สละกรรมสิทธิ์/สละการครอบครอง ไม่ใช่บริจาคครับ  นั่นคือภาษาคน ไม่ใช่ภาษาธรรม

    สวัสดีครับ  คุณ

    P

    สาธุ...อธิบายได้ดีทีเดียวครับ...

     เป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ๑๐ครับ ...

    บุญกริยา  แปลว่า ทางทำความดี

    ทานมัย  แปลว่า  การทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ...

    เป็นหนึ่งใน 10 ข้อนั้น...เป็นกลาง ๆ...

    คนเราควรให้สิ่งของที่สมควรจะให้แก่  ผู้ที่สมควรรับเอาสิ่งของนั้นด้วย 

     เพื่อประโยชน์แก่เขา ...

    ประเด็นนี้...หมายถึงสิ่งควรคู่กัน...เหมือนม้าสีเทาของเล่าปี่ไง...

    ใครขี่ก็ไม่ได้...ต้องสมควรแก่เล่าปี่เท่านั้น...ฮา ๆ เอิก ๆ...

    แต่คนไปตีความออกนอกภาษาธรรมกันหมด  ดังนั้นจึงไม่แปลกใจอะไรที่จะเจอคนน้อยใจ คนเสียใจ หรืออื่นอื่นอีกมากมาย(หลังจากการให้เพราะเขาให้ไม่เป็นครับ  )

    แล้วจะมีโลกธรรมแปดไวทำไมครับผม...

    ไม่ใช่เสียสละ ไม่ใช่ส่งมอบไม่ใช่สละกรรมสิทธิ์/สละการครอบครอง ไม่ใช่บริจาคครับ  ...

    เออ...ขอถามผู้รู้ภูมิธรรมอย่างคุณหน่อยนะว่า...โลหิต...เป็นสิ่งบริจาคได้มั้ย...ฮา ๆ เอิก ๆ

    ขอบคุรครับ

    สวัสดีครับ อาจารย์

    อาจารย์จับประเด็นผิดครับ  ประเด็นของผมคือ เวลาเราให้(บริจาค )ก็ตาม เราจะคิดว่าเราทำความดีใช่ไหมครับ  และเป็นบุญกิริยาวัตถุที่คนไทย popularที่สุด(อามิสบูชา )ทำอย่างไรคนไทยไปไกล/ลุ่มลึกกว่านี้?

    เคยพบคนน้อยใจ/เสียใจ/แค้นใจไหมครับหลังจาการให้?จำนวนมากเลยใช่ไหม? ทำไมถึงเป็นอย่างนี้? ก็ไหนว่าการให้เป็นสุขใจไง? ทำไมทุกวันนี้คนส่วนใหญ่จึงชอบรับมากกว่าให้? มีอะไรผิดหรือ?

    เคยเห็นปรากฎการณ์ดังต่อไปนี้ไหมครับอาจารย์ ? 

       การทวงบุญคุณ กำเนิดกฎหมายว่าด้วยคดีอุทลุมเป็นคดีต้องห้าม (ลูกหลานฟ้องบุพการี/บรรพบุรุษ )หรือนิทานพื้นบ้านชาวนากับงูเห่า,ระบบอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึกในสังคมไทย,หนังกำลังภายในที่ว่าด้วยบุญคุณทดแทน ความแค้นต้องชำระ ฯลฯ

     

    ทำหมดมาจากการเข้าถึง"ให้"อย่างหยาบ มาจากbehavior exchange ไม่ได้เริ่มจากความหมายที่แท้จริง และระหว่างบรรทัดของการให้ คือการแบ่งปัน( เริ่มจากใจ ) ไม่ใช่การสละการครอบครอง หรือโอนกรรมสิทธิ์(สมมติบัญญัติ )

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท