ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

ชาวบ้านกำลังเรียนรู้อะไร?


ในการดำเนินชีวิตของคนเรานั้น จะต้องมีการเรียนรู้ตลอดเวลาจึงจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมอย่างเป็นปกติสุข

 ชาวบ้านกำลังเรียนรู้อะไร? เป็นการคิดอย่างดังๆ ของผมครั้นเมื่อเดินทางกลับจากการไปพบท่าน ผศ.ดร.แสวง รวยสูงเนิน อาจารย์ที่ปรึกษา ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้นผมเดินทางมาถึงรอยต่อของอำเภอพยัคภูมิสัย กับอำเภอชุมพลบุรี ซึ่งก็เป็นเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ อันกว้างใหญ่ไพศาล เป็นทุ่งนาที่มีการจัดสรรแปลงนาอย่างเป็นสัดเป็นส่วนเหมือนแปลงนาแถวๆ ภาคกลาง ยังไงยังงั้น (แปลงใหญ่ คันนาตรงและยาว) ดูสภาพโดยทั่วไปเสมือนว่าค่อนข้างอุดมสมบูรณ์

จึงนึกอยู่ในใจว่า เอ...ตอนนี้นางกุลาหยุดร้องไห้หรือยังหนอ ใครตอบได้ช่วยบอกทีครั้นมองจากรถที่อยู่บนถนนลงไปยังแปลงนาทั้งสองข้างถนนก็พบว่า บนคันนาปลูกต้นยูคาลิปตัสเต็มไปหมด บ้างก็ปลูกแถวเดี่ยว บ้างก็ปลูกแถวคู่ และบ้างก็ปลูกแบบสลับฟันปลา ซึ่งแต่ละต้นก็จะปลูกห่างประมาณ 1-2 เมตร ซึ่งผมก็มองว่าทำไมวิธีการปลูกค่อนข้างมีความหลากหลายเหลือเกิน จึงมีคำถามในใจว่าทำเกษตรกรถึงทำแบบนั้น เขาต้องการเรียนรู้อะไร แล้วแบบไหนล่ะดีที่สุด ก็คงยังไม่ด่วนสรุปนะครับเพราะนั่นคือสิ่งที่เราเห็น แต่ที่เห็นแบบไม่ต้องสงสัยก็คือว่าต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกบนคันนาล้วนให้ความสุขทางจิตใจที่ไม่ห่อเหี่ยว

ก่อนที่เราจะไปหาคำตอบกันผมขอย้อนกลับมาตั้งหลักสักนิดนะครับว่าในสิ่งที่เราเห็น ในสิ่งที่เราสงสัยนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไรชาวบ้านคิดอะไร และเรียนรู้อะไรอยู่ และจะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างไร

 

จึงมีคำถามว่า การเรียนรู้คืออะไร ? เรียนรู้แล้วได้อะไร ? ผมจึงต้องขอมองต่อนะครับว่าก่อนที่คนเราจะเรียนรู้นั้นน่าจะมาจากการรู้ หรือการรับรู้ (Perception) ซึ่งเป็นสภาวะของการรับรู้จากการสัมผัส และสัมพันธ์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง นั่นแสดงให้เห็นว่าพี่น้องเกษตรกรที่ปลูกยูคาลิปตัสบนคันนาของตนเองในเขตพื้นที่ทุ่งกุลา ได้เคยไปเห็น ที่อื่นๆ เขาปลูกและประสบผลสำเร็จ จึงได้นำมาปลูกบนคันนาของตนเอง

 

การเรียนรู้ (Learning) หมายถึงอะไร จึงใคร่ขอขยายความดังนี้ครับ การเรียนรู้หมายถึง การปรับเปลี่ยนทัศนคติ แนวคิด และพฤติกรรมอันได้มาจากประสบการณ์ และส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นกรณีเดียวกันเกี่ยวกับการปลูกยูคาลิปตัสซึ่งก็มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย เนื่องจากการเชื่อข่าวลือว่าไม่ดีอย่างนั้น ไม่ดีอย่างนี้แต่ไม่เคยเรียนรู้ และไม่เคยปลูก แต่ก็มีพี่น้องที่ไม่ยอมหยุดยั้งการเรียนรู้จึงได้มีการใช้ข้อมูลจากการรับรู้ แล้วมาผ่านกระบวนการเรียนรู้ และเห็นผลว่าดี เป็นประสบการณ์ ไม่มีผลเสียหรือผลกระทบใดๆ จึงปลูกต่อๆ กันมาดังเช่นทุ่งกุลาแห่งนี้

ดังนั้นจากการรับรู้ ผ่านการเรียนรู้ จึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) ซึ่งหมายถึง การดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน หรือการใช้วิธีการต่างๆ ที่ช่วยให้บุคคลหรือกลุ่มคนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในการที่เราจะทำอะไรนั้นเราต้องมีการเรียนรู้ อันจะส่งถึงผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ

 

ตั้งแต่ที่เรารับรู้ เรียนรู้ และผ่านกระบวนการเรียนรู้ ก็จะเกิดผลลัพธ์ คือ "ผลการเรียนรู้" ((Learning Outcome) เป็นความรู้ความเข้าใจในสาระ วิธีการต่างๆ และสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานของตนเองได้อย่างเหมาะสม ดังเช่นการปลูกยูคาลิปตัสไงครับ

 

จากกระบวนการเรียนรู้การปลูกยูคาลิปตัสบนคันนาดังกล่าวนับเป็นการจัดการความรู้ (KM) แบบธรรมชาติ เพื่อค้นหาคำตอบให้กับการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัว การใช้ประโยชน์จากคันนาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกักเก็บน้ำในนาข้าวอย่างเดียวนั้นยังไม่พอ ณ เวลานี้เราต้องใช้พื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยการปลูกยูคาลิปตัสเพื่อใช้ไม้ อีกทั้งเป็นการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากใบที่ร่วงหล่น ซึ่งจะเป็นการทดแทนการสูญเสียธาตุอาหารที่พืชใช้ไปได้ในระดับหนึ่ง นับเป็นการจัดการความรู้อย่างเก้อกูลเพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสังคมโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง

ขอบคุณครับ

อุทัย อันพิมพ์

11 มีนาคม 2550

หมายเลขบันทึก: 83161เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2007 02:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • น่าสนใจครับ ผมอยากจะทราบผลเหมือนกันครับ เพราะยังเป็นข้อสงสัยอยู่เหมือนกันครับ ว่าข้อขัดแย้งที่ออกมาแย้งกันเป็นอย่างไร
  • จะติดตามการทดลองต่อไปนะครับ อยากได้ภาพด้วยครับ หากเป็นไปได้ครับ โอกาสหน้า ด้วยความสนใจอย่างยิ่งเลยครับ สำหรับการปลูกยูคาในนาข้าวนะครับ
  • อยากจะทราบผลในระยะยาวครับ หากได้ผลดีก็คงจะดีกว่าการปลูกยางในนาข้าวครับ เพราะปลูกยางในนาข้าวน้ำลึก อาจจะได้แค่ไม้ฟืน ทั้งนี้คงขึ้นกับสภาพดินเป็นสำคัญครับ
  • ขอบคุณมากครับผม
  • ฝากศึกษาอีกเรื่องนะครับ หากเป็นไปได้คือ ความเหมาะสมของดินต่อการทำนาข้าว หลังจากการทับถมของใบยูคาในนาข้าวด้วยครับ หากเป็นไปได้ทดสอบดินเทียบกัน ก่อนและหลังปลูกครับ เทียบพื้นที่กันการเปลี่ยนแปลง น่าสนใจมากๆ ครับ ผมไม่มีโอกาสได้ทดลองเพราะอยู่ไกลครับ
  • ที่เคยรณรงค์ให้ปลูกยูคากันเมื่อก่อนเค้ามีผลกระทบหรือไม่กระทบอย่างไรครับ โดยเฉพาะที่ จ.ร้อยเอ็ดครับ อยากรู้ความจริงครับ
  • พื้นที่ปลูกป่ายูคา หากเราขุดดินลงไปที่บริเวณรอบๆ ลำต้น จะเจอพวกสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ไหมครับ เช่นไส้เดือน อะไรทำนองนี้นะครับ ผมเคยปลูกตอนเด็กๆ นะครับ ต้นยูคาในสวนป่า แต่ไม่ได้ทดลองพวกนี้ครับ แต่ตอนนั้นเค้าปลูกผสมผสานครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ
  • ทุ่งกุลาพอถึงหน้านาก็ดีอยู่หรอก เขียวชะอุ่มพุ่มไสว ไปสุดลูกหูลูกตา
  • แต่พอหมดฤดูทำนา ก็แห้งแล้งแห้งเหี่ยวไปสุดลูกหูลูกตาเช่นกัน
  • วันนี้ทุ่งกุลา เปลี่ยนไป ชาวบ้านเอาความเขียวมาคั่นบนคันนา ไม่ได้ปล่อยให้พื้นที่เสียไปฟรี ๆ และก็เพิ่มความเขียวให้ทุกกุลาในหน้าแล้งได้
  • ส่วนผลประโยชน์งอกเงย ในแง่องค์ความรู้ของยูคาบนคันนาจะมีอะไรบ้าง  ต้องเรียนรู้กันต่อไป
  • ขอบคุณ คุณอุทัยครับ

ขออนุญาติตอบท่านที่อยู่ไกลก่อนนะครับ ขอบคุณคอาจารย์เม้งมากครับ ที่กรุณาให้ความสนใจ และแลกเปลี่ยนด้วยดีตลอดมา

การปลูกยูคาลิปตัสบนคันนานั้นมีการปลูกกันมาค่อนข้างยาวนาน และสำหรับท่านที่ปลูก และผมคุ้นเคยนั้นมีการปลูกมาแล้วประมาณ 10 ปีลงมา และทุกคนที่ปลูกนั้นก็พูดเป็นเสียงเดียวกันครับว่า ผลผลิตข้าวไม่ได้ลดลงเลย หากแต่ว่าเรามีการจัดการที่ถูกต้อง

ในป่ายูคาฯ นั้นมีสิ่งที่มีชีวิตต่างๆ เช่นเดียวกับในป่าทั่วๆ ไป โดยเฉพาะไส้เดือนมีแต่ตัวเบ้อเร่อเลยครับ และนอกจากนั้นพวกแมลง และอินทรีย์วัตถุก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน แม้กระทั่งที่มีความเชื่อกันว่าในสวนป่ายูคาจะไม่มีผึ้งมาอาศัยนั้น "ไม่จริงครับ"

สำหรับในประเด็นอื่นๆ รับทราบครับ แต่ขอนำไปแลกเปลี่ยนในคราวหน้าครับ

ขอบคุณมากครับ

"ผลประโยชน์งอกเงย ในแง่องค์ความรู้ของยูคาบนคันนาจะมีอะไรบ้าง"

เป็นคำถามที่ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไปครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์ย่ามแดง

  • ขอบคุณคุณ
    P
    มากครับผม หากเป็นเช่นนั้นก็แสดงว่าชาวบ้านพบทางออกทีดีในชีวิตแล้วครับ ก็ไม่น่าจะเป็นห่วงอะไรหากมีคนช่วยจัดการความรู้ให้ที่ถูกต้องนะครับ
  • ขอเป็นกำลังใจในการจัดการความรู้ให้ชาวบ้านอยู่แบบยั่งยืนนะครับ และขอชื่นชมในการทำงาน ผมเองก็ไม่เคยไปอีสานครับ ไม่รู้ว่าเป็นอย่าง เพียงแค่ทำทางด้านพวกพายุอยู่บ้างแล้วอดเป็นห่วงเวลามีข่าวน้ำท่วมมาแต่ละครั้งตามที่เป็นข่าวนะครับ
  • เลยเพียงแค่อยากร่วมรณรงค์เพราะหากมีป่าไม้เกิดขึ้นในอีสาน ไม่แห้งแล้งในหน้าร้อน มีสิ่งมีชีวิต เลี้ยงสัตว์ได้ก็ไม่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใดครับ
  • แล้วชาวบ้านเค้ามีอะไรที่ยังขาดอยู่แล้วกระทบปัญหาอยู่บ้างไหมครับ แล้วเรื่องที่ประท้วงค้านเรื่องยูคากันนั้นเป็นอย่างไรครับ หรือว่าแค่กลุ่มจัดตั้งครับ รบกวนทำให้แจ้งด้วยครับผม
  • ขอแสดงความนับถือ หากไม่มีปัญหาอื่นผมจะได้หันไปวิจัยด้านที่มีความจำเป็นที่ผมจะช่วยได้ในด้านอื่นแทนครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

อาจารย์อุทัยค่ะ

  • ยูคาไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้ดินเสียค่ะ  แต่คนที่ทำให้ดินเสียนั้นคือคนปลูกยูคา
  • เพราะถ้าปลูกเพื่อเร่งขายภายในสามปี สี่ปี  รับรองดินเสียแน่นอน
  • แต่ถ้าใช้เวลาปลูกนานพอสมควรอย่างน้อยสิบปีอย่างที่อาจารย์ว่า  รับรองยูคาคืนทุนแก่คนปลูกและธรรมชาติเกินจะบรรยาย
  • ที่พูดได้เพราะเคยเห็นเจ้าหน้าป่าไม้ไปเรียกคืนป่าสงวนจากชาวบ้านที่เขาวงและดงหลวงแล้วปลูกยูคา  แล้วทำให้น้ำเหือดหายไปจากน้ำตกตาดทองที่เลื่องชื่อ  ชาวบ้านเชื่อเป็นตุเป็นตะค่ะว่าสาเหตุมาจากยูคา
  • ก็ยอมรับในส่วนหนึ่งเท่านั้นค่ะว่าใช่ 
  • แต่สาเหตุหลักของน้ำหายไปนั้นมาจากชาวบ้านหักร้างถางพงซะเลี่ยนเตียนเพื่อปลูกมันสำปะหลังเต็มเทือกเขาภูพาน ทุกอย่างจึงหายไปหมดทั้งดิน น้ำ และป่าไม้
  • ทุกวันนี้ยูคาต้นใหญ่ ไม่แพ้ที่สวนป่ามีใบปกคลุมเต็มพื้นดิน  ไม้น้อยใหญ่หลากหลายพันธุ์แซกวอนขึ้นมาได้ ความเขียวขจีและร่มรนเริ่มกำลังจะกลับมาสู่ผืนป่าอีกครั้ง
  • ดังนั้นอย่าโทษยูคาเลย  โทษคนปลูกและคนเอาประโยชน์จากยูคาจะดีกว่า

          ขอบคุณค่ะ

  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท