การสร้างตัวชี้วัดและการประเมิน KM ในหน่วยราชการ


ผมทำงาน QA มาตั้งแต่ปี 2544 แต่พอเจอหัวข้อนี้เข้า ก็ต้องยอมรับว่า รู้สึกว่าตัวเองยังไม่รู้อะไรอีกเยอะเลย นึกอะไรไม่ค่อยออก ท่านใดมีแนวความคิดดี ๆ เกี่ยวกับหัวข้อนี้ กรุณาแบ่งปันความรู้กันด้วยครับ ขอบคุณครับ

        วันอาทิตย์ที่ 27 พ.ย.48 เดิมผมมีกำหนดการที่จะต้องออกเยี่ยมและพบกับนิสิตบัณฑิตศึกษาที่ศูนย์วิทยบริการจังหวัดแพร่และอุตรดิตถ์กับท่านอธิการและผู้บริหารท่านอื่น ๆ

        แต่ครั้งนี้คงต้องขออนุญาตไม่ไปกับเขาด้วยแบบค่อนข้างกะทันหัน เนื่องจากอยากจะมีเวลาศึกษาและทบทวนเรื่องเกี่ยวกับ การสร้างตัวชี้วัดและการประเมิน KM ในหน่วยราชการ เพื่อเอาไป ลปรร.กันในงานมหกรรม KM แห่งชาติครั้งที่ 2 (1 – 2 ธ.ค.48)

        ผมทำงาน QA มาตั้งแต่ปี 2544 แต่พอเจอหัวข้อนี้เข้า ก็ต้องยอมรับว่า รู้สึกว่าตัวเองยังไม่รู้อะไรอีกเยอะเลย นึกอะไรไม่ค่อยออก ท่านใดมีแนวความคิดดี ๆ เกี่ยวกับหัวข้อนี้ กรุณาแบ่งปันความรู้กันด้วยครับ ขอบคุณครับ

         วิบูลย์ วัฒนาธร

         26 พ.ย.48

คำสำคัญ (Tags): #km#kpis#หน่วยราชการ
หมายเลขบันทึก: 8138เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2005 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ดิฉันก็เช่นกัน  มีความรู้เรื่องนี้น้อยมาก ข้อมูลต่อไปนี้เป็นสิ่งที่เคยสะสมไว้จากแหล่งต่างๆหลายแหล่งจำไม่ได้ว่ามาจากที่ใดบ้าง  แต่ที่แน่ๆ ท้ายสุดมีที่บันทึกมาจากข้อเสนอแนะของท่านอาจารย์วิจารณ์ด้วย หวังว่าจะพอมีประโยชน์แก่อาจารย์บ้างไม่มากก็น้อย

วิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กรเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมการจัดการความรู้
1. ผลการดำเนินงานตามดัชนีชี้วัดคุณภาพที่เหลื่อมล้ำได้รับการนำไปวางแผนการดำเนินการ
2. มีการระบุปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ครอบคลุม
3. มีการนำปัจจัยแห่งความสำเร็จมาวางแผนดำเนินการ
ผู้บริหารระดับสูงให้การสนับสนุน มีส่วนร่วมในโครงการฯ และเป็นแบบอย่างที่ดี
1. ความเพียงพอของทรัพยากรที่ได้รับการสนับสนุน
2. มีมติของคณะกรรมการบริหารคณะฯ เห็นชอบและให้การสนับสนุน
3. มีสารจากผู้บริหารระดับสูงถึงผู้ปฏิบัติที่มีเนื้อหาแสดงความสนับสนุนและเห็นถึงประโยชน์ของโครงการฯทุก 6 เดือน
มีแนวทางดำเนินการและประเมินผล
1. มีแผนดำเนินการและกำหนดระยะเวลา
2. ผลการดำเนินการของผู้รับผิดชอบแต่ละคณะเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
3. มีการประเมินผลและปรับแผนดำเนินการทุก 6 เดือน
มีการสื่อสารเรื่องการจัดการองค์ความรู้ในองค์กรทั่วทั้งองค์กรอย่างต่อเนื่อง
1. กำหนดคำจำกัดความ ”การจัดการองค์ความรู้ในองค์กร” รูปแบบและกระบวนการที่นำมาใช้
2. กำหนดคำจำกัดความที่ใช้ในโครงการฯ ได้แก่ KM, CoP, CQI, Best Practice
3. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่
a. กลุ่มทั่วไป   หมายถึง  บุคลากรทุกระดับในหน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
b. กลุ่มเฉพาะ  หมายถึง  ทีม KM  ทีมผู้บริหารและคณะทำงาน(Experts, CLT, QI Team, Care team)
4. ให้ความรู้เรื่อง ”การจัดการองค์ความรู้ในองค์กร” วิธีการจัดการองค์ความรู้ในองค์กรแก่บุคลลากรของ สป.อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
a. ประสานกับคณะทำงานประชาสัมพันธ์ / ด้านระบบสารสนเทศ
b. กำหนดสื่อที่จะประชาสัมพันธ์ให้ครอบคลุมกลุ่มบุคลากร
c. กำหนดเนื้อหาที่จะระบุในสื่อ
d. กำหนดให้ประชาสัมพันธ์ทุก 1 เดือน
e. ประสานงานกับคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้
5. สร้างกระแสของการแลกเปลี่ยนความรู้ว่าสามารถทำได้ทุกที่ มีประโยชน์ต่อตนเอง หน่วยงานและต่อองค์กร โดยยกตัวอย่างผู้บริหารและหน่วยงานที่ทำแล้วเกิดผลดี
6. จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อสรรหาหน่วยงานที่นำการแลกเปลี่ยนความรู้ไปใชัแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น (เลือกหน่วยงานที่หลากหลาย)
7. จัดเวลาที่จะนำเสนอผลงานที่ได้คัดเลือก  โดยให้สอดคล้องกับการประชุมที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
8. ประเมินผลความรู้ความเข้าใจของบุคลากร

 

การสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนรู้
     1. จำนวนบุคลากรที่สมัครเป็นสมาชิก CoP
     2. อัตราการลาออกจากสมาชิก CoP
     3. อัตราความพึงพอใจของ CoP
ระบบสารสนเทศที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ในองค์กร
     1. ความพึงพอใจของบุคลากรต่อระบบสารสนเทศในการแลกเปลี่ยนความรู้
     2. จำนวนผู้ใช้บริการทางระบบสารสนเทศในการแลกเปลี่ยนความรู้
     3. ระยะเวลาในการค้นหาข้อมูลทางระบบสารสนเทศในการแลกเปลี่ยนความรู้
     4. จำนวนครั้งที่มีการ Download องค์ความรู้ หรือ Best practice
มีระบบการให้รางวัลแก่บุคลากรและทีมงานที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้
     1. อัตราความพึงพอใจของบุคลากรทางคลินิกที่เข้าร่วมโครงการฯ
     2. จำนวนชุมชนแห่งการเรียนรู้ ( CoP)
     3. จำนวนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพที่ใช้  CQI เพิ่มขึ้น
     4. จำนวนการใช้ / ขยายผลความรู้ที่เกิดจากการทำ CQI

 

ด้านกิจกรรมการจัดการความรู้
     1.   จำนวนสมาชิก
     2.   จำนวนครั้งของการ update ข้อมูลใน Blog

ด้านผลลัพธ์ (output)
     จำนวนปัญหาที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ด้านผลสัมฤทธิ์  (outcome)
     ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลที่เกิดในองค์กร (Quality)
ด้านผลกระทบ (Impact)
     คุณภาพของบัณฑิต

แบบของอาจารย์วิจารณ์
1.   มีการนำผลสำเร็จมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2.   มีการบันทึกวิธีทำงานที่ดี
3.   มีการนำบันทึกที่ดีไปปรับใช้
4.   มีการนำผลสำเร็จของการทำงาน ไปจัดให้มีการทำงานแบบทีมข้ามสายงาน
5.   มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรต่างระดับ

ขอบคุณครับอาจารย์มาลินี มีประโยชน์กับผมมากเลย วันสองวันที่แล้วผมลองปรึกษาอาจารย์เสมอก็ได้อีกแนวคิดหนึ่ง เมื่อเอามาประกอบกัน น่าจะพอใช้เป็นความรู้เบื้องต้นในการ ลปรร. ต่อไปได้

ยังอยากได้อีกหลาย ๆ ความคิดเห็นนะครับ ยังไม่จบ

อาจารย์ลองค้นใน Google แล้วใช้คำว่า knowledge management metric ลองดูนะคะ

นอกจากนี้ดิฉันเคยอ่าน paper ของ Dr. Jay Liebowitz ซึ่งเคยเป็นอาจารย์สอนที่ UMBC คณะที่ดิฉันจบมา ท่านพูดเกี่ยวกับการ Develope KM Metric คะ Paper นี้ชื่อว่า Liebowitz, J. & Suen, C. Y. (2000), Developing knowledge management metris for measuring intellectual capital, Journal of Intellectual Capital, Vol.1, No.1, 2000 pp.54-67.

Full text link สำหรับ paper ของ Dr. Liebowitz คะ

Quote มาบางตอนที่น่าสนใจคะ

"The following is a listing of possible new metrics to be part of the pot-pourri for measuring intellectual capital:

  • The number of new colleague to colleague relationships spawned – this will hopefully encourage the exchange of tacit knowledge between knowledgeable individuals. The World Bank’s and Johnson & Johnson’s knowledge fairs/exchanges are geared to promoting an increase in these types of relationships and transfer of tacit knowledge.
  • The reuse rate of “frequently accessed/reused” knowledge.
  • The capture of key expertise in an online way (i.e. the number of key concepts that are converted from tacit to explicit knowledge in the knowledge repositories and used by members of the organization).
  • The dissemination of knowledge sharing (i.e. distribution of knowledge) to appropriate individuals.
  • The number of knowledge sharing proficiencies gained – at Andersen Consulting, they have developed six levels of knowledge sharing proficiencies whereby one cannot be promoted unless one reaches at least level 5.
  • The number of new ideas generating innovative products or services.
  • The number of lessons learned and best practices applied to create value-added (i.e. decreased proposal writing/development time, increased customer loyalty and satisfaction, etc.).
  • (The number of patents/trademarks produced + number of articles or books written + number of talks given at conferences or workshops or trade shows)/number of employees – the higher the number, the better.
  • (Professional development/training dollars + R&D Budget dollars + Independent R&D dollars)/number of employees – the greater the number, the better.
  • The number of “serious” anecdotes presented about the value of the organization’s knowledge management systems.
  • The number of “apprentices” that one mentors, and the success of these apprentices as they mature in the organization.
  • Interactions with academicians, consultants, and advisors. "

“KMPI: Measuring knowledge management performance” [Information & Management 42 (2005) 469–482]
Information & Management, In Press, Corrected Proof, Available online 18 November 2005,
Kun Chang Lee, Sangjae Lee and Inwon Kang

Paper อันนี้ก็ดูน่าสนใจคะ เพิ่งจะ available online ก็เมื่อวันที่ 18 Nov 05 นี้เองคะ

ปล. ดิฉันก็สนใจเรื่องงานวิจัยด้านการสร้าง KM metric คะ อีกไม่นานก็คงจะเริ่มสร้าง Conceptual framework แล้วคะ

ขอบคุณท่านอาจารย์จันทวรรณมากครับ

     ผมยังไม่ชัดเจนอะไรเลยสำหรับเรื่อง KM แต่อยากจะได้ร่วม ลปรร.ด้วย ในประเด็นนี้

โดยสรุป คือ...
         การสร้างตัวชี้วัดและการประเมิน KM ในหน่วยราชการ เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง แต่การพัฒนาตัวชี้วัดนี้ต้องเน้นไปที่ “แล้วประชาชนได้อะไร” เป็นหลัก เพราะภารกิจของเราที่เป็นหน่วยงานราชการ คือ ทำการเพื่อประชาชนในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และตัวชี้วัดของ KM ก็ควรจะเป็นตัวชี้วัดที่เปิดโอกาสให้คิดนอกกรอบ เพื่อมุ่งสู่ “ทำการเพื่อประชาชน” ได้ อันนี้ควรจะได้ระดมสมองกันจากหลาย ๆ ภาคส่วน ส่วนการนำการประเมิน KM ในหน่วยราชการมาใช้ในระบบราชการ ก็จะต้องมุ่งสร้างให้เกิดฐานคิดที่ว่า “การพัฒนาการจัดการความรู้อย่างไรดีให้ผ่านการประเมิน” แทนคำว่า “การทำอย่างไรดีให้ประเมินผ่าน” เลยเลือกใช้คือการสร้างแรงกระเพื่อม (Ripple) เพื่อการจัดการความรู้ในองค์กร โดย มีเครื่องมือ คือ “โครงการไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน" ครับ รายละเอียดก่อนเป็นประเด็นสรุป อ่านต่อได้ที่ สืบเนื่องจาก... การสร้างตัวชี้วัดและการประเมิน KM ในหน่วยราชการ

- We will  measure do you want/do or what the population needs/expectations.

- We will evaluate the KM or the Results of KM.

I try to discuss but it very difficult for me to use English.

ขอบคุณมากเลยครับทั้งท่านอาจารย์ Phichet และคุณชายขอบ  ยังอยากได้ความคิดเห็นอื่นๆ ต่อไปอีกนะครับ

ผม อยากได้(ร่าง)กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 สำหรับส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า เป็นไฟล์ word  พอมีบ้างไหมครับ ถ้ามีกรุณาส่งให้ผมด้วยครับ ขอบพระคุณมากครับ

สุวิชชา

ผม อยากได้(ร่าง)กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 สำหรับส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า เป็นไฟล์ word  พอมีบ้างไหมครับ ถ้ามีกรุณาส่งให้ผมด้วยครับ ขอบพระคุณมากครับ

สุวิชชา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท