ต้นแบบระบบเศรษฐกิจพอเพียง ๓ ประเภท มีแล้วในเมืองไทย


อย่างน้อยๆ “Seeing is believing” แต่จะให้ดีกว่านี้ต้อง Doing in one’s real life ครับ
 

สิ่งหนึ่งที่ผมค่อนข้างจะภูมิใจในประเทศไทยของเราก็คือ ระบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นวาระแห่งชาติ และก่อกำเนิดมาจากพระปรีชาญาณ ขององค์ในหลวงของเราที่ผมยังไม่เคยได้ยินว่าประเทศใดจะกล้ามาเทียบเคียง

   วันนี้ (๒๗ กพ ๕๐) ผมได้คุยกับเพื่อนต่างชาติชาวอังกฤษที่มาติดตามดูงานที่ผมทำร่วมกับชุมชนในอีสาน ได้ข้อสรุปว่า   

ณ วันนี้เรามีตัวอย่างต้นแบบ (Model) เบื้องต้น อยู่อย่างน้อย ๓ ประเภทใหญ่ๆ คือ

 

1.    ระดับแปลงและครัวเรือน

  

ที่เน้นการปรับความคิดและจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นระดับครัวเรือนในทุกๆด้าน Model ที่มีอยู่ส่วนใหญ่จะแยกต่างหากไม่แข่งขันกับใคร ทั้งระบบทรัพยากร และการตลาด

  2.    ระดับกลุ่ม และเครือข่าย  

ที่นอกจากจะเน้นการปรับความคิดและการจัดกิจกรรมในระดับครัวเรือน และยังทำกิจกรรมให้สอดคล้องกันกับครัวเรือนอื่นๆที่อยู่ในกลุ่มที่มารวมกันจากชุมชนต่างๆ ตามความสมัครใจ และระดับเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยน พึ่งพากันได้ให้ครอบคลุมความจำเป็นระดับครัวเรือนในทุกๆด้านได้ดียิ่งขึ้น ลักษณะ Model ที่มีอยู่ส่วนใหญ่ก็ยังอยู่โดดๆ ไม่ค่อยแข่งขันกับใครมากนัก ทั้งระบบทรัพยากรที่ต้องการใช้ และการตลาดผลผลิตที่เกินความจำเป็น

  3.    ระดับชุมชนและระดับหมู่บ้าน  

ที่มีเงื่อนไขเพิ่มเติมมาเป็นความสามัคคีในระดับชุมชน ที่นอกจากจะเน้นการปรับความคิดและการจัดกิจกรรมในระดับครัวเรือน แล้วยังทำกิจกรรมให้สอดคล้องกันกับครัวเรือนอื่นๆที่อยู่ในชุมชน หรือหมู่บ้านเดียวกันตามความสมัครใจ ที่สามารถพึ่งพากันได้ โดยเน้นการลดการแข่งขัน แต่เป็นการแบ่งปันกันในระดับชุมชน ที่ต้องมีกฎ กติกา มารยาทมากพอสมควร จนสามารถตอบสนองระบบและความจำเป็นระดับครัวเรือนในทุกๆด้านได้ดียิ่งขึ้น

  

ต้นแบบเชิงระดับของระบบการจัดการเศรษฐกิจพอเพียงนี้ มีการพัฒนาทุนทางสังคม (Social capital) เพื่อการพัฒนา เศรษฐกิจพอเพียง ที่แตกต่างกันพอสมควร

  

แต่ที่จำเป็นต้องมีก็คือ

 

1.    ความเข้าใจตนเอง แบบของพ่อผาย สร้อยสระกลาง ที่ว่า ดูตัวเองให้ออก บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น

 

2.    ความเข้าใจทรัพยากร สังคม และสิ่งแวดล้อม

 

3.    ความเป็นผู้นำ กล้าคิด กล้านำ กล้าทำ กล้ารับผิดชอบ จิตสาธารณะ

 

4.    ความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้

 

5.    ความสามัคคี มีน้ำใจ พึ่งพา แลกเปลี่ยน ทั้งในระดับครัวเรือน กลุ่ม ชุมชน และเครือข่าย

 

6.    มีทุนความรู้ ภูมิปัญญา พร้อมเรียนรู้

   

สิ่งเหล่านี้ต้องมีอย่างครบเครื่องครับ

  แต่ ฟังดูแล้วก็เป็นนามธรรมพอสมควร และไม่น่าตื่นเต้นอะไร   

สำหรับท่านที่อยากเรียนรู้ อยากเห็นของจริง แบบ สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น ต้องไปดูเอง

  

และที่บางท่านบอกว่า สิบตาเห็น ไม่เท่ามือคลำ ก็ต้องไปนอนคุยกับชาวบ้าน สักสองสามวันครับ

  

และสำหรับท่านที่บอกว่า สิบมือคลำ ไม่เท่าทำเอง ก็ทำด้วยตนเองเลยครับ

  

แล้วเราจะได้ไม่ต้องมานั่งเถียงกันให้เสียเวลาที่มีค่าของชีวิตของเราทุกคน

  

ตอนนี้ผมเสียเวลาและ เหนื่อย อธิบายกับ กลุ่มที่ไม่เคยเห็น ไม่เคยทำ ก็เลยไม่เชื่อ ทั้งในและต่างประเทศครับ จึงต้องให้ไปดู เห็นเอง เข้าใจเอง ซึ้งเองนี่แหละครับ

  

พอดูแล้วก็ ช็อคซีนีมา แบบไม่มีคำถามต่อสักคนครับ

  อย่างน้อยๆ “Seeing is believing” แต่จะให้ดีกว่านี้ต้อง Doing in one’s real life ครับ  เป็นวิธีที่ได้ผลจริงๆครับ ไม่เชื่อลองดูนะครับ 
หมายเลขบันทึก: 80887เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เรียนอ.แสวงค่ะ

       เห็นด้วยค่ะ เพราะเป็นความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติจริง ๆ   แหมอาจารย์เขียนจนเห็นภาพเลยค่ะ  อาจารย์เขียนเข้าใจได้ชัดเจนจริงๆ ค่ะ  ยกมือเชียร์เลยค่ะ

เห็นด้วยครับอาจารย์.....สุดท้ายต้องทำเองครับ ถึงจะรู้ซึ้ง รู้จริง
  • ประเทศไทยเราโชคดีที่มีในหลวงค่ะ
  • ชื่นชมในการทำงานของอาจารย์เสมอมา
  • เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง...ไม่ใช่แค่พูดกันเท่านั้น  ต้องให้พวกเขามาสัมผัสจริงๆ  เขาถึงจะรับรู้ได้ค่ะ
เรียน อ.แสวง ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณอาจารย์อย่างสูงที่กรุณาเข้าไป ลปรร.ในบล๊อก และเมื่อได้ติดตามอ่านบล๊อกของอาจารย์ก็ทำให้เกิดความสนใจที่อาจารย์ได้ทำเรื่องของการพัฒนาชุดความรู้ เพราะกำลังคิดที่จะทำเรื่องเช่นนี้อยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องเกษตรอินทรีย์ และการลดการใช้สารพิษ ถ้าอาจารย์จะกรุณา แนะนำ หรือ............ก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงเลยค่ะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ
ขอบคุณพันธมิตร ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนครับ ผมถือว่าอย่างไรเราต้องสามัคคีกัน ในสิ่งที่ถูกต้องนะครับ ไม่ใช่สามัคคีในทางที่เห็นแล้วไม่เป็นประโยชน์กับใคร ก็ไม่รู้จะสามัคคีไปให้ได้อะไร สามัคคี คือ พลังสร้างชาติครับ

ดีมีสาระดี งับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท