เรื่องเล่าจากดงหลวง 32 ขอทานคนนั้น


ทำไมต้องยักยอก อยากได้อะไรก็ขอพ่อก็ได้ คิดไปว่า อาศัยความได้เปรียบที่ตัวเองตาดีดี พ่อตาบอด เลยเอาความได้เปรียบนี้เอาเปรียบพ่อของตัวเองหรือเปล่า หากวันนี้เขายังมีนิสัยเช่นนี้ เมื่อโตขึ้นเขาจะเป็นคนแบบไหนกัน.. แล้วทำไมเราไม่ลงรถไปเตือนเด็ก หรือแก้ปัญหานี้ต่อหน้าพ่อเขา หรือว่าเราคิดมากเกินไป...

บริจาคเงินให้ขอทาน:  วันหนึ่งผู้เขียนส่งลูกสาวไปเรียนดนตรีในเมืองขอนแก่น ขณะส่งนั้นรถจอดสนิทเราทำหน้าที่พ่อแล้วก็จะกลับบ้านก่อน ขณะนั้นเห็นขอทานสองพ่อลูกกำลังจะเดินผ่านหน้ารถไป ผู้พ่อตาบอด มือถือแคน ปากก็พึมพำอะไรไม่ทราบ ลูกเดินหน้าถือไม้เท้าจูงผู้พ่อ  เด็กน่าจะอายุประมาณ ป 3 หรือ ป4 นี่แหละ ส่วนพ่อน่าจะเกิน 60 ไปแล้ว ลูกเดินไปปากก็กัดอะไรเล่นก็ไม่ทราบ ก็เหมือนเด็กๆทั่วไปที่จิตใจอยู่ที่การสนุก เล่นอะไรต่อมิอะไรไป อีกมือหนึ่งของเด็กถือขันน้ำเก่าๆเล็กๆใบหนึ่ง คงเอาไว้รับการบริจาค  

ผู้เขียนสังเกตเห็นผู้พ่อพยายามถามว่าจะปีนขึ้นฟุตปาทหรือยัง จะได้ก้าวสูงๆหน่อยจะได้ไม่สดุดล้มลง  ผู้เขียนคิดได้ว่าน่าที่จะบริจาคเงินเล็กน้อยให้สองพ่อลูกนี้หน่อย จึงเรียกเด็กมาหา.. ไอ้หนู..มาหาอาหน่อย อาจะให้เงิน เด็กก็จูงผู้พ่อเข้ามาใกล้ๆ ผู้เขียนควักแบงก์ 20 มา พอดีมันมีใบย่อยที่สุดเท่านั้นจึงเอาใส่ขันให้เด็กไป  ผู้พ่อก็ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ พลางก็อนุโมทนาอำนวยอวยพรให้ผู้เขียนเสียมากมาย  เด็กจูงพ่อห่างออกไป ผู้เขียนก็ดูเขาเดินทางต่อไป 

 การยักยอกเงิน: ทันใดนั้นมีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นต่อหน้าสายตาผู้เขียนจนงงไปหมดเลย คือ เจ้าเด็กผู้ลูกหยิบแบงก์ยี่สิบใส่กระเป๋ากางเกงเขา แล้วก็ล้วงเอาเหรียญออกมาใส่ในขันนั้นแทน และใส่ให้มีเสียงดังด้วย  ผู้พ่อยิ้มอย่างดีใจ ปากก็พึมพำแล้วก็ค่อยๆคลำตามไม้เท้าไปถึงขันใบนั้นหยิบเอาเหรียญนั้นใส่กระเป๋ากางเกงของตัวเองไป  ผู้เขียนไม่ทันสังเกตว่าเป็นเหรียญอะไร 5 หรือ 10 ก็ไม่ทราบ และงง งง ตรงนั้นสักพักหนึ่งก็ขับรถกลับบ้าน 

 ระหว่างทางก็คิดแต่ขอทานสองพ่อลูกนั้น มันเกิดอะไรขึ้นกับเด็กขอทานผู้ลูก ทำอะไรกับเงินนั่น  กับพ่อและจะเอาเงินนั้นไปทำอะไร ทำแบบนี้มานานเท่าใดแล้ว  พ่อเขารู้เรื่องไหม  เด็กคนนั้นเป็นลูกจริงๆหรือเปล่า  ทำไมต้องยักยอกเงินบริจาค คิดไปเองว่า เด็กคงจะหมายตาของเล่นอะไรไว้ เงินส่วนนี้คงสะสมเพื่อเอาไปซื้อของเล่น  ทำไมต้องยักยอก อยากได้อะไรก็ขอพ่อก็ได้  คิดไปว่า อาศัยความได้เปรียบที่ตัวเองตาดีดี พ่อตาบอด เลยเอาความได้เปียบนี้เอาเปรียบพ่อของตัวเองหรือเปล่า  หากวันนี้เขายังมีนิสัยเช่นนี้ เมื่อโตขึ้นเขาจะเป็นคนแบบไหนกัน.. แล้วทำไมเราไม่ลงรถไปเตือนเด็ก หรือแก้ปัญหานี้ต่อหน้าพ่อเขา  หรือว่าเราคิดมากเกินไป... เออ เมื่อเด็กๆ เราก็เคยขโมยตังค์แม่ไปซื้อลูกโป่งมาเล่นนี่นา....

คำสำคัญ (Tags): #ขอทาน
หมายเลขบันทึก: 80773เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2007 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • อึ้งกับลูกเขาครับ
  • ไม่เคยขโมยเงินแม่ ถูกสอนมาว่าเป็นบาป
  • ถ้าเด็กคนนี้โตขึ้นไปเขาจะเป็นอย่างไรนะ
  • พี่สังเกตุเก่งจริงๆน้องขอชมด้วยใจจริงครับ
  • สันนิษฐานว่า  ไม่ใช่ลูกหรอกค่ะ  คงเป็นหลาน  หรือญาติ   หรือจ้างมา  เพราะเท่าที่หนิงเคยรู้จักคนตาบอดมา  ส่วนมากจะส่งเสริมให้ลูกๆเรียนหนังสืออ่ะค่ะ   แล้วจะจ้างคนอื่นมาช่วยนำทางในการประกอบอาชีพ(ขอทาน)
  • คนตาบอดให้ความสำคัญกับการศึกษามากค่ะพี่
  • แต่ก็เสียใจนะคะ  ที่เขาโดนเอาเปรียบแบบนี้  ต่อไปหนิงจะพยายามหาเหรียญให้เขาค่ะ  เขาจะได้ได้ยินเสียง  หรือไม่เราก็บอก เอ่ยปาก  บอกให้เขาได้ทราบว่า  เราให้กับเขากี่บาท หรือ แบงค์อะไร  เขาจะได้เก็บ  คนตาบอดจะนับแบงค์แม่นนะคะ
  • เป็นงานที่หยิบเรื่องจริงเล็กๆในสังคมมาสะท้อนสู่สังคมกว้างน่ะครับ
  • ขอบคุณครับ อ.ขจิต
  • รู้สึกเศร้าใจจังค่ะ  แค่ตอนเป็นเด็กยังมีนิสัยขนาดนี้
  • ถ้าโตขึ้นไปเขาจะเป็นอย่างไรกันนะ  เห็นด้วยกับพี่หนิงค่ะ
  • ปัจจุบันมีข่าวบ่อยๆถึงแก็งค์ขอทาน ความรู้สึกที่คิดบริจาคเพราะเห็นอกเห็นใจนั้นก็ชักไม่แจ่ใจเสียแล้วว่าเขาคือผู้ควรจะเห็นอกเห็นใจหรือพวกอาศับช่องว่างทางวัฒนธรรมของเรามาหากิน
  • ขอบคุณครับน้องลูกหว้า
  • มันสะท้อนสภาพสังคมในหลายมิติ
  • หากเป็นขอทานจริงๆ นี่น่าเป็นผลของการพัฒนาประเทศก้าวไปสู่ทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย ที่เปิดโอกาสสำหรับผู้ได้เปรียบในสังคมเท่านั้น
  • หากเป็นพวกหากิน ในคราบขอทาน ก็เห็นว่าคนกลุ่มหนึ่งในสังคมไม่มีทางออก ไม่มีทางไป ไม่มีประตูเปิดสำหรับผู้ด้อยโอกาส  หรือกระแสสังคมหลักสร้างให้คนทำมาหากินอย่างไรก้ได้โดยไม่สนใจคุณธรรม บาป การเอาเปรียบสังคมแบบหนึ่ง ซึ่งช่องว่างนี้คือปัญหาที่คนในกระแสทุนนิยมมองเห็นและใช้ทำมาหากินโดยไม่ละอายแก่ใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท