จิตตปัญญาเวชศึกษา 2: และการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน


เราก็จะมีหลักสูตรแพทยศาสตร์ ทีเรียนเพราะเรามีชีวิต เรียนเพราะเราอยู่ในสังคม เรียนเพราะเราให้คุณค่าชีวิตแบบองค์รวม สำนึกในความยิ่งใหญ่ของความเชื่อมโยง ของสิ่งแวดล้อม

จิตตปัญญาเวชศึกษา และการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

ต่อจากภาค 1 จิตตปัญญาเวชศึกษา

Contemplative medical education และ Problem-based learning เกี่ยวพันกันอย่างไร?

ถ้าจิตตปัญญาศึกษา มีไตรสดมภ์คือ self searching / experiencing / interconnectedness การนำมาใช้ในการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem-based learning, PBL) ก็จะมีความเกี่ยวข้องกันได้อย่างแนบเนียน ไร้ตะเข็บ

การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็น "วิธีหนึ่ง" ของ Andragogy หรือ Adult learning เป็นการเรียนที่มี assumption ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งว่าผู้เรียนนั้นเป็น mature person (mature ไม่จำเป็นต้องหมายถึง "อายุ" เสมอไป น่าจะเป็น "สถานะของจิต" มากกว่าอายุ ใบสูติบัตร ฐานะ หรืออะไรทางกายภาพ) คุณสมบัติพื้นฐานของ mature ก็คือ 1. ความรับผิดชอบ (ต่อตนเอง ต่อครอบครัว และต่อสังคม) และ 2. ความสามารถในการคิดไตร่ตรองด้วยเหตุและผล ถ้ากลุ่มนักเรียนที่เรานำเอา concept นี้มาใช้ ขาดคุณสมบัติสองประการนี้แม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งไป จะส่งผลถึงสัมฤทธิ์ผลของการนำเอามาใช้อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น ถ้าหากเรามีความสงสัยใน assumption of maturity แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักศึกษาแพทย์ สามารถหามาตรการต่างๆมาช่วย reinforce หรือ พัฒนา คุณสมบัติทั้งสองประการให้สำเร็จระหว่างการเรียนไปด้วย

 บทความนี้ ขอครอบคลุมสองเรื่องคือ

 Development of maturity of students
 PBL and Contemplative Education

 

 

 

Development of Maturity

  1. ขั้นแรกสุด เห็นจะเป็นอยู่ที่ตอน การคัดเลือก นักศึกษา เช่น จากการเขียน essay การสัมภาษณ์ ตอบคำถาม หรือแม้กระทั่ง assignment
  2. การทำความมีความรับผิดชอบให้เป็นรูปธรรม ได้แก่ ทุกการกระทำมี consequence ที่ชัดเจน มีการฝึกสะท้อนประสบการณ์ ฝึกเรียบเรียงและเล่าประสบการณ์ และการแสดงความรับผิดชอบ วิเคราะห์บทบาทความรับผิดชอบ
  3. ความรับผิดชอบแบบองค์รวม นอกเหนือจากความรับผิดชอบตนเองแล้ว นักศึกษาต้องฝึกการมีความรับผืดชอบต่อครอบครัว ต่อสังคม การเล่าเรื่อง การวิเคราะห์สถานการณ์ การสังเคราะห์ความเชื่อมโยงของเรื่องราวต่างๆ มิติต่างๆของสุขภาพ
  4. ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และเชื่อมโยง เป็นรากฐานที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเรียนแบบ PBL นั้น เรื่องนี้เป็นทั้ง requirement และเป็นทั้ง target ที่จะพัฒนาขึ้นให้เต็มศักยภาพตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในหลักสูตร
  5. การเชื่อมโยงความรับผิดชอบแบบองค์รวม เข้ากับวิธีกรคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์โจทย์ปัญหา

สิ่งเหล่านี้จะต้องแทรกเป็นวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และเป็นในลักษณะ บริบทจริง ของปัญหาที่ใช้เป็นฐาน

PBL and Contemplative Education

จิตตปัญญาศึกษานั้น ไม่ใช่ "วิชาใหม่" ที่จะเรียนเพิ่มเติม แต่เป็น วิธีเรียน หรือ เครื่องมือเรียน มากกว่า เราไม่จำเป็นต้องเรียน "วิชา" จิตตปัญญาศึกษาจึงจะสามารถได้ประโยชน์ แต่จะได้ประโยชน์มากกว่าในการนำ จิตตปัญญา มาใช้ในทุกๆกิจกรรม ทุกๆประสบการณ์การเรียนการสอนที่เรามีอยู่

ในลักษณะของ PBL ที่คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. ใช้อยู่นั้น ประกอบด้วย

  • ใช้ปัญหาทางคลินิกเป็นฐาน เป็นโจทย์นำเข้าสู่บทเรียน
  • ใช้กระบวนการ PBL เป็นเครื่องมือ
    • defining terms
    • facts finding
    • questioning
    • hypothesis forming
    • learning objectives clarification
    • searching and understanding
    • elaborating
    • discuss
    • summary
    • appraise
  • พัฒนา group process
    • team working
    • communication skills
    • collective mutual benefit, shared direction
    • systematic thinking

โดยที่เน้นที่ กระบวนการ ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง learning objectives ของ PBL ที่สำคัญอย่างยิ่วยวดอยู่ที่ psychomotor and process ที่จะสร้างคุณสมบัติแพทย์ที่พึงประสงค์ หรือ 5-star doctor ตามที่ WHO ตั้งความหวังเอาไว้ วัตถุประสงค์ด้าน process นี้สำคัญมากๆ และถ้าล้มเหลว จะเป็นการสูญเสีย effectivenessของการเรียนแบบนี้ไปอย่างสิ้นเชิง เรียกว่าถ้า นศพ. ทำ PBL แล้ว ไม่ได้พัฒนา process objectives เท่าที่คาดหวังไว้ จะเป็นการขาดทุนในการทำงานอย่างยิ่ง ขั้นตอนที่มาของ learning obejcitives ในการทำ PBL ทั้ง Act I และ Act II จะต้องมีการประเมินซ้ำแล้วซ้ำอีกว่ายังอยู่ใน track record of outcomes ในการทำ PBL

สมาชิกของกลุ่ม PBL ถ้าหากสามารถคงไว้ซึ่งวัตถุประสงค์ตามจิตตปัญญาศึกษา จะเป็นการ boost การเล่าเรียนแบบนี้โดยตรง ประการแรก นักศึกษาควรมี self assessment ว่าตนเอง น่าจะมีบทบาทและหน้าที่อย่างไรในกลุ่ม สมาชิก PBL แต่ละคนนั้น มี uniqueness ของแต่ละมิติ ทีจะช่วยให้งานท่ได้รับมอบหมาย บรรลุความสำเร็จในที่สุด ดังนั้น self assessment, self searching skill แทบจะอยู่ใน survival kit ที่นักศึกษาควรจะเร่งรีบพัฒนาระหว่างการเรียนรู้ให้เร็วที่สุด

หลังจากนั้น จะพบว่า การให้คุณค่าของประสบการณ์ขณะทำงานนั้น (experiencing value) เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก หากนักศึกษาจะได้ skill ในตอนนำกิจกรรม ตั้งแต่อยู่ในห้องเรียนกลุ่มย่อย Act I หรือออกมา search หลังสิ้นสุด Act I และการ elaboration & discussion ใน AcT II  ตอนทำ PBL นั้น Facilitator ต้องเข้าใจ concept ของ optimizing learning environment ที่ชัดเจน อย่างมี resourceful เพียงพอที่จะดัดแปลงเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่ learning style อาจจะกลายเป็น major obstacle ของ group process ได้

Optimized environment ได้แก่

  • การเรียนรู้ที่ปราศจากความกลัว
  • การเรียนรู้ที่ผ่อนคลาย อ่อนโยน เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่สมองเปิด หรือสร้างสรรค์
  • การเรียนรู้ที่ใช้ communication skill และมีโอกาสพัฒนา communication skill
  • การเรียนรู้ที่ตื่นเต้น สนุกสนาน ใช้จินตนาการ เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถสัมผัสถึงขุมความรู้ของกลุ่ม ขุมความรู้แห่งสังคม สิ่งแวดล้อม และขุมความรู้แห่งจักรวาล ในระดับ theta และ delta wave
  • การเรียนรู้ตามบริบท เพื่อบริบท และใช้บริบทจริงเป็นฐาน (context-based learning)

บทบาทของ Facilitator มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด และการเป็นกระบวนกร หรือ facilitator นั้น ก็เป็นทั้ง attitude, cognitive และใช้ psychomotor อย่างมาก ดังนั้น การเป็น facilitator นั้น ไม่ใช่อาศัยเฉพาะการอบรมเพียงครั้งเดียวก็เพียงพอ แต่ควร (หรือต้อง) มีการพัฒนาความเชี่ยวชาญชำนาญอย่าวต่อเนื่องสม่ำเสมอ Facilitator ที่เก่ง เข้าใจในบทบาทหน้าที่ และข้อสำคัญที่สุด เข้าใจในปรัชญาการเรียนแบบ PBL นั้น จึงจะช่วยกลุ่มนักศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ของปรัชญาการเรียนได้สูงสุด และ vice versa คือ facilitator ที่ขาดความเข้าใจในปรัชญาการเรียน วิธีการเรียน และขาด skill ในการเป็นกระบวนกร สามารถทำลายวัตถุประสงค์การเรียนแบบ PBLได้อย่างสิ้นเชิง อาจจะสร้างบรรยากาศที่ไม่เอื่อต่อจินตนาการ บรรยากาศที่เป็น hostile ต่อการเรียนรู้ หรือ บรรยากาศที่กดขี่ความเป็นอิสระและกดศักยภาพของนักศึกษาได้เกือบถาวรถ้าไม่ระวัง

การจัด Act I และ Act II ให้ได้บรรยากาศแบบ optimal ตามหลักจิตตปัญญาศึกษานั้นทำได้ไม่ยาก แต่ก็ต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดี ตั้งแต่การจัด learning objectives ไม่มากเกินไปต่อน้ำหนักของกลุ่ม การจัด basic skill ในการแลกเปลี่ยนสนทนาแบบสุนทรียสนทนา (Dialogue) และการเตรียม facilitator

อีกปัจจัยที่มีความสำคัญต่อระบบ คือการจัดการประเมินให้เหมาะสม และการทำให้ปรัชญาการประเมิน clear ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้ง facilitators, students, course manager and cource director ทุกคนเข้าใจในเรื่องเดียวกัน และพร้อมจะร่วมหัวจมท้ายในกระบวนการนี้ด้วยกัน session ประเภท Introduction, Orientation, Workshop for Dialogue และ Workshop for development of advanced facilitator มีความจำเป้น และมีความสำคัญอย่างมากในความสำเร็จ

ถ้าหากหลักสูตร สามารถบูรณาการ contemplative education (self studying /  experiencing /  interconnectedness) เข้าหากันได้ เราก็จะมีหลักสูตรแพทยศาสตร์ ทีเรียนเพราะเรามีชีวิต เรียนเพราะเราอยู่ในสังคม เรียนเพราะเราให้คุณค่าชีวิตแบบองค์รวม สำนึกในความยิ่งใหญ่ของความเชื่อมโยง ของสิ่งแวดล้อม ผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มีความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เคารพในปัจเจกบุคคล สามรถทำงานเป็นทีม และมี cultural competency พร้อมจะทำงานในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ และอย่างมีความสุข

 

 

หมายเลขบันทึก: 80107เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2007 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

คงต้องขอเอาไปใช้และอ้างอิงด้วยครับ

สวัสดีครับ อ.ศักราช

ยินดีและเต็มใจอย่างยิ่งครับ ถ้าอาจารย์นำไปใช้แล้วได้ผลอย่างไร อยากจะรับฟังเหมือนกันนะครับ

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท