อุทยานแห่งชาติอันดับที่ 53 ของไทย


ภูจองนายอย น้ำตกบักเตว แก่งกะเลา ชมป่า
 

อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย

ที่ตั้ง

ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐ          ประชาธิปไตยกัมพูชา พื้นที่ป่าอยู่ในส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก ประกอบด้วยภูเขาเล็กภูเขาน้อยมากมาย เช่น ภูจองนายอย ภูจองน้ำซับ ภูจอง ภูจันทร์แดง ภูพลานสูง ภูพลานยาว เป็นต้น มีสภาพป่าสมบูรณ์ สภาพธรรมชาติที่สวยงามและมีสัตว์ป่าชุกชุม   มีเนื้อที่ประมาณ  686  ตร.กม. หรือ 428,750 ไร่          สืบเนื่องจาก ร.ต.ท.ณรงค์ เทวคุปต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ได้มีหนังสือ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2525 ถึงกรมป่าไม้ เสนอโครงการพัฒนาป่าภูจอง-นายอย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามความต้องการของราษฎรอำเภอนาจะหลวย และอำเภอใกล้เคียงในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อป้องกันรักษาป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงาม ไว้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ทำการสำรวจ และเห็นชอบให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฏีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูจองนายอย ในท้องที่ตำบลข่า อำภอบุณฑริก ตำบลนาจะหลวย อำเภอนาจะหลวย และตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2530 ประกาศไว้ใน พระราชกิจจานุ-เบกษา เล่ม 104 ตอนที่ 103 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2530 **เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 53 ของประเทศ **  <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ลักษณะภูมิประเทศ
  ส่วนใหญ่บริเวณป่าภูจอง-นายอยจะเป็นเทือกเขาแหล่งต้นน้ำของลำน้ำลำห้วยที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นและอุดมสมบูรณ์ ส่วนมากดินจะเป็นดินลูกรังปะปนหินปูนตามบริเวณที่ราบบนเนินเขา และประกอบด้วยลานหินลักษณะต่าง ๆ ตลอดจนหน้าผา เช่น ผาผึ้ง
ลักษณะภูมิอากาศ
   สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย จัดเป็น 3 ฤดู
   - ฤดูฝน เริ่มราวเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน
   - ฤดูหนาว เริ่มราวเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์
   - ฤดูร้อน เริ่มราวเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
   ประกอบด้วยพรรณไม้ชนิดป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งขึ้นอยู่เป็นส่วน ๆ มีพรรณไม้ขึ้นหนาแน่นประมาณ 75% โดยเฉลี่ยประกอบด้วยไม้พื้นล่างขึ้นหนาแน่น ได้แก่ จำปาป่า และพรรณไม้ดอกต่าง ๆ แซมเป็นไม้พื้นล่างให้กับไม้ยืนต้นจำพวกตะเคียนทอง ประดู่ ยาง กระบาก ปู่จ้าว พยุง มะค่าแกแล เป็นต้น ขึ้นแยกอยู่ตามสภาพป่า
</p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ภาพที่ 1  ดอกไม้ป่าที่ภูจอง</p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p>

ภาพที่ 2  ดอกหญ้าที่ภูจอง

แหล่งท่องเที่ยว น้ำตกบักเตว รือ น้ำตกห้วยหลวงมีขนาดใหญ่พอสมควร มีผาน้ำกระโจนตกจากแอ่งสู่เวิ้งเบื้องล่างสูงราว 40 เมตร แบ่งเป็น 3 ชั้น มีทางขึ้นลงธรรมชาติ เพื่อชมและเล่นบริเวณอ่างน้ำด้านล่างได้สะดวก       

ภาพที่ 3-4  น้ำตกบักเตว

</span>การเดินทาง
   รถยนต์ เมื่อถึงจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว เดินทางโดยรถยนต์ประจำทาง จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอนาจะหลวย ระยะทางประมาณ  10   กิโลเมตร ค่าโดยสารประมาณ
25  บาท  ถ้านักท่องเที่ยวจะเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว   แนะนำให้ใช้เส้นทาง อุบลราชธานี - อำเภอวารินชำราบ - อำเภอเดชอุดม - อำเภอน้ำยืน - อำเภอนาจะหลวย ระยะทางรวม 140  กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางตลอดสาย
สิ่งอำนวยความสะดวก
   อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว มีทั้งแบบบ้านเป็นหลัง ค่าบริการ 6,000 บาท ห้องพัก 600 บาท เต็นท์หลังละ 400 500 บาท
สถานที่ติดต่อ
   อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย อ. นาจะหลวย จ. อุบลราชธานี 34280 โทรศัพท์ :
ลักษณะภูมิประเทศ
          ส่วนใหญ่บริเวณป่าภูจอง-นายอย จะเป็นเทือกเขาแหล่งต้นน้ำของลำน้ำลำห้วยที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบเขา   ป่าดิบแล้ง ป่าเบญพรรณ  ป่าเต็งรัง  มีพันธ์ไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นและอุดมสมบูรณ์ ส่วนมากดินจะเป็นดินลูกรังปะปนหินปูน ตามบริเวณที่ราบบนเนินเขา และประกอบด้วยลานหินลักษณะต่างๆ ตลอดจนหน้าผา  เช่น  ผาผึ้ง <h2 style="margin: 0in 0in 0pt">ลักษณะภูมิอากาศ</h2>           อากาศโดยทั่วไป ไม่ร้อนจัด เย็นสบายตลอดทั้งปี โดยในช่วง ฤดูหนาวมีอากาศที่เย็นมากอีกครั้งหนึ่ง <h3 style="margin: 0in 0in 0pt">พรรณไม้และสัตว์ป่า</h3> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">          ประกอบด้วยพรรณไม้ชนิดป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งขึ้นอยู่เป็นส่วนๆ มีพรรณไม้ขึ้นหนาแน่นประมาณ 75% โดยเฉลี่ยประกอบด้วยไม้พื้นล่างขึ้นหนาแน่น ได้แก่ จำปาป่า และพรรณไม้ดอกต่างๆ แซมเป็นไม้พื้นล่างให้กับไม้ยืนต้นจำพวกตะเคียนทอง ประดู่ ยาง กระบาก ปู่จ้าว พยุง มะค่า แกแล เป็นต้น ขึ้นแยกอยู่ตามสภาพป่า</p> <h4 style="margin: 0in 0in 0pt">พลาญกงเกวียน</h4> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">   ลานหินกว้างที่ด้านหน้ามีกลุ่มหินลักษณะเป็นเพิงธรรมชาติ  มีดอกได้ป่าและพันธุ์ไม้ขึ้นสลับกันเป็นหย่อมๆ  และนักเดินทางในอดีตได้ใช้ประโยชน์ จากเพิงธรรมชาติเหล่านี้ในการกำบังแดดและฝนในระหว่างการเดินทางจึงเป็นที่มาของชื่อ  พลาญกงเกวียนพลาญ  หมายถึง  บริเวณที่เป็นลานกว้าง  กงเกียน  เพี้ยนมาจาก  พวงเกวียนที่หมายถึง  ประทุนเกวียนหรือกระทุนเวียนที่เป็นสิ่งกำบังแดดบนเล่มเกวียนหรือกระทุนเกวียนที่เป็นสิ่งกำบังแดดบนเล่มเกวียนททที่ใช้ในการเดินทางในสมัยโบราณ</p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ภาพที่ 5 คณะนักศึกษาธรรมชาติที่พลาญกงเกวียน</p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p> <h4 style="margin: 0in 0in 0pt">แก่งสามพันปีและแก่งกะเลา</h4>

   อยู่เลยที่ทำการอุทยานฯไปทางทิศใต้  4  กิโลเมตร  รถยนต์เข้าถึง  เป็นจุดชมพืชพันธุ์  ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีลักษณะเป็นแก่งเหมาะสำหรับนั่งพักดูนกชมไม้ หรืออยากจะเล่นน้ำก็ได้

ภาพที่ 5  ล่องแพที่ลำห้วยบริเวณแก่งกะเลา

ภาพที่ 7  ทีมงานนักฝึกหัดเขียนสารคดีมือใหม่

</span></span></span></font></span></span>

หมายเลขบันทึก: 79783เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2007 05:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท