ผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะสำหรับครูและศึกษานิเทศก์ นั้นไม่ยาก


ผลงานทางวิชาการทำไม่ยาก
เมื่อพูดถึงการทำผลงานทางวิชาการเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยาฐานะนั้นทุกคนโดยเฉพาะครู ศึกษานิเทศก์รวมทั้งผู้บริหารโรงเรียนค่อนข้างจะมีความกังวล จะทำอย่างไร ทำแล้วจะได้หรือเปล่า กลัวไม่ผ่าน เป็นต้น หลักในการทำผลงาน ต้องมีเป้าหมายหลักที่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นครู ศึกษานิเทศก์หรือผู้บริหารโรงเรียน ถ้าเป็นครูก็ตรงไปที่ผู้เรียน ถ้าเป็นศึกษานิเทศก์ก็ต้องส่งผ่านไปยังครูหรือผู้บริหารโรงเรียนแล้วจึงไปถึงผู้เรียน ในการทำผลงานอย่าไปคิดว่าเป็นผลงาน แต่คิดว่าจะแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนอย่างไร โดยต้องออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมพร้อมกับมีสื่อ/นวัตกรรมประกอบ คำว่า "สื่อ/นวัตกรรม" นั้นอาจเป็นเทคนิคหรือวิธีการก็ได้ หรืออาจเป็นสื่อ เทคโนโลยีก้ได้ แล้วแต่ศักยภาพของครูหรือศึกษานิเทศก์ที่จะออกแบบ สิ่งสำคัญสื่อ/นวัตกรรมนั้นต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Content validity ก่อนเป็นอันดับแรก ปัญหาขณะนี้ครูไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่อง Content validity เมื่อผลิตหรือสร้างสื่อ/นวัตกรรมเสร็จก็จะนำไปใช้เลยซึ่งถือว่าผิดขั้นตอน ดังนั้นสื่อ/นวัตกรรมทุกประเภทหรือทุกชนิดต้องหา Content validity ต่อจากนั้นขอให้มีเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีคุณภาพ คำว่า "เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีคุณภาพ" หมายถึง เครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้าน Content validity เช่นเดียวกับสื่อ/นวัตกรรม แต่เพิ่มการทดลองใช้ ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า try-out เพื่อหาคุณภาพเป็นรายข้อและทั้งฉบับของเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ถ้าครู ศึกษานเทศก์หรือผู้บริหารโรงเรียนที่จะทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะได้ดำเนินการใน 2 เรื่อง ดังกล่าวข้างต้น คือ สื่อ/นวัตกรรม และเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ผลงานทางวิชาการ ก็จะมีคุณภาพตามไปด้วย สำหรับการนำสื่อ/นวัตกรรมไปใช้ อย่างลืมมีการบันทึกผลตามแบบหรือเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ก็จะป้องกันความคลาดเคลื่อนที่จะเกิดขึ้นได้ สำหรับการวิเคราะห์และเขียนรายงานคงต้องศึกษาต่อไป
หมายเลขบันทึก: 79611เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2007 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีค่ะท่าน นาย ยืนยง ราชวงษ์

  • ครูอ้อยขอสมัครเป็นลูกศิษย์ด้วยนะคะ
  • กำลังศึกษาข้อมูลที่จะทำผลงานวิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญ อยู่ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ข้อคำถาม

1.ครูตอบไม่ได้ว่าสื่อนวตกรรมแตกต่างจากเครื่องมืออื่น ๆ อย่างไร จึงมองมว่าสิ่งที่สร้างขึ้นคิดว่าดีแล้วจึงไม่ต้องทดสอบ ครูขาดการให้ความสำคัญของการทดสอบ

2.ครูไม่เข้าใจกระบวนการทดสอบประสิทธิภาพของสื่อและนวตกรรม จะมีแนวทางอย่างไร

3.กลุ่มครูใจร้อน  ทดสอบทำไม  เปลืองเวลาและงบประมาณเปล่า ๆ

4.การ Try Out โดยผู้ทรง หรือกระบวนการ น่าเชื่อถือได้มากแค่ไหน

5.ในกระบวนการวิจัยก็มีรูปแบบเชิงบังคับการทดสอบประสิทธิภาพอยู่แล้ว  แต่ในความเป็นจริง ทำหลอก ๆ ก็ได้ 

1.สื่อ/นวัตกรรมนั้น เป็นเครื่องมือหรือภาษาทางการแพทย์เรียกว่า "ยา" ที่ถูกกับอาการของโรค แต่ของครูอาจจะเรียกว่า อุปกรณ์ แต่บางอย่างไม่ใช่อุปกรณ์ เป็นเทคนิควิธีการ ครูจะใช้ความรู้สึกหรือความคิดไม่ได้ ต้องใช้ความจริง(fact) ที่สามารถทดลองหรือตรวจสอบได้ ไม่จำเป็นต้องทดสอบแต่อาจใช้วิธีการพูดคุย ซักถาม สังเกต ก็ได้

2.การหาประสิทธิภาพมีหลายวิธี วิธีที่นิยม เขามักจะใช้ E1 และ E2 

E1 หมายถึง ประสิทธิภาพของกระบวนการ(กิจกรรมต่อเนื่อง)การจดบันทึกผลขณะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องจนสิ้นสุดการใช้สื่อ/นวัตกรรมนั้น ๆ แล้วนำผลที่ได้จาการจดบันทึกของผู้ใช้สื่อ/นวัตกรรมทุกคน มาหาค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ

สำหรับ E2 หมายถึง ประสิทธิภาพของผลสำเร็จ(การทดสอบรวบยอด) เป็นการหาค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละของผู้ใช้สื่อ/นวัตกรรมทุกคนเป็นการทดสอบรวบยอด เมื่อสิ้นสุดการใช้สื่อ/นวัตกรรม

แล้วนำผลที่ได้ไปเทียบกับเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนด เช่น เกณฑ์ที่กำหนด 75/75 80/80 90/90 เป็นต้น ถ้าสื่อ/นวัตกรรมเน้น ความรู้ความจำก็จะกำหนดไว้ 90/90 ถ้าสื่อ/นวัตกรรมที่เน้นทักษะ กระบวนการ การคิด ก็จะกำหนด 75/75 เป็นต้น

3.การสอนต้องใจเย็น ๆ อย่าใจร้อน การตรวจสอบ อาจจะไม่ใช่การทดสอบนะ เปลืองเวลาและงบประมาณ คงไม่ใช่ เพราะบูรณาการกับการสอนตามปกติจะต้องไม่แยกสื่อ/นวัตกรรมออกจากการสอนเด็ดขาด ถ้าแยกเมื่อไร จะเป็นการทำงานเพื่อตัวเอง ไม่ใช่ทำงานเพื่อเด็ก

4.การตรวจสอบคุณภาพจากผู้รู้(จริง) ไม่ใช่พวกกัน จะทำให้สื่อ/นวัตกรรมเชื่อถือเพราะจะได้คำแนะนำเป็นอย่างดี

5.การหลอกถือว่าไม่มีจรรยาบรณ ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู ถ้าใครทำหลอกมักจะได้รับกรรมตามสนองหลายรายแล้วได้ถูกลงโทษทางวินัย ของให้การทำงานอยู่บนพื้นฐานความจริง ถ้าใครหลอกช่วยแจ้งให้ทราบด้วย ขอขอบคุณครับ

เข้าใจเลยค่ะ...เพราะตอนทำผลงานอาจารย์ 3ประจักษ์ ส่วนที่เป็นผลงานทางวิชาการ  ต้องมี..แบบที่อาจารย์แนะนำค่ะ......สนับสนุนอาจารย์ค่ะ

ผลงานวิชาการทำไม่ยาก  แต่ก็ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ทุกวันนี้ครูมีผลงานวิชาการ  แต่ไม่รู้จะนำมาทำอย่างไร  ท่านน่าจะให้ความรู้เรื่องผลงานวิชาการนะครับ  เพราะครูจะได้ใช้ในการสอนเด็กและนำไปพัฒนาตัวเองด้วย

 

เรียน ท่านสายันต์ ที่เคารพ ขอขอขอบคุณในข้อคิด

๑.การเริ่มต้นการทำผลงานทางวิชาการนั้น คงต้องเริ่มที่สิ่งที่เป็นปัญหาหรือสิ่งที่จะพัฒนาคุณภาพนักเรียนคืออะไร เช่น คุณธรรมจริยธรรม ผลสัมฤทธ์ด้านต่าง ๆ ในแต่ละกลุ่มสาระ หรือทักษะกระบวนการที่ต้องการฝึกนักเรียน เป็นต้น

๒. ต่อจากนั้นขอให้คุณครูได้ศึกษา/ค้นคว้าหรือปรึกษาผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องสื่อ/นวัตกรรมที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพนักเรียนที่เลือกไว้ในข้อ ๑

๓.สร้างเครื่องมือวัดผล(เก็บรวบรวมข้อมูล)คุณภาพนักเรียน

โดยที่ข้อ ๑ และ ๒ พยายามปรึกษผู้รู้ให้มากที่สุดเพื่อให้มีคุณภาพน่าเชื่อถือได้

๔.นำสิ่งที่ได้จากข้อ ๒ และ ๓ ไปใช้กับนักเรียนโดยต้องมีการวางแผนจะใช้กับนักเรียนกลุ่มไหน ใช้เมื่อไร ใช้กี่ครั้ง จะได้บันทึกผลได้ถูกต้อง

๕.นำบันทึกผลที่ได้จากการใช้ มาวิเคราะห์หาข้อสรุป

๖.เขียนรายงานและเผยแพร่ต่อไป

ถ้าท่านทำตามข้อ ๑ ถึง ข้อ ๖ ท่านจะปบผลสำเร็จแน่นอนนะครับ

ขอขอบพระคุณ ท่านยืนยง ครับ

             ข้อแนะนำ ข้อ ๑ - ๖ นั้น ก็เข้าใจครับ  แต่ข้อ ๒ นั้นหายากจริง ๆ สิ่งที่ได้รับบางครั้งไม่ใช่  จึงหายาก  จะปรึกษาท่าน ๆ ก็ มีภาระงานมากจริง ๆ ครับ อยู่ไม่ไกลกัน  ก็ต้องใช้ปรึกษาโดยวินี้แหละครับ

            เวลานี้ผมก็เข้ารับฟังการทำผลงานเลื่อนวิทยฐานะ ตามที่เขาจัดกัน  แตเขาจะไม่พูดเรื่องผลงานวิชาการที่ชัดเจน ว่าทำอย่างไร  โดยมาจะพูดด้าน คุณธรรม จริยธรรม  สมรรถนะ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ครูพอที่จะเตรียมได้  แต่เมื่อฟังแล้วก็ได้รับความรู้ว่าจะต้องทำงานอะไร ทำอย่างไร ถึงจะมีงานให้ตรวจ  แต่พอถึงผลงานวิชาการ ก็จะบอกหลักการทั่ว ๆ ไปว่ามีอะไรบ้าง  ไม่ได้ลงลึก เพราะหมดเวลาครับ

          เวลานี้ ครูขาดที่ปรึกษา ที่รู้จริงครับ  ทำให้ครูมองว่าการทำผลงานวิชาการนั้นยาก เป็นสิ่งที่แปลกแยกจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และอีกประการหนึ่ง ครูคิดว่า "เดี๋ยวก็ได้"  เพราะจากเหตุการณ์การที่ผ่านมา ตั้งแต่ทำ ซึ ๗ บางคนทำด้วยความยากลำบาก จึงได้ ซี ๗  พอระยะหนึ่ง ก็ประกาศให้  การทำครูแกนนำ ครูต้นแบบ ประเมินวิทยฐานะชำนาญการ ก็ประเมินกันแบบ... ไม่รู้จะพูดว่าอย่างไร เพราะไม่สามารถจำแนก ครูดี ครูเก่งได้เลย  แต่สุดท้ายก็มาได้  ก็ทำให้ครูรอคอยวันเวลาที่จะมีอะไรดี ๆ มาถึง  โดยไม่ต้องเหนื่อย

 

 

 

เรียนท่าน สายันต์ที่เคารพ

   ขอเป็นกำลังใจในให้กับท่านและเพื่อนครูที่ทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพที่ตัวเด็ก ต่อไปคงไม่มีการให้อะไรกับใครง่าย ๆ อีกแล้ว 

  วิธีการทำผลงานทางวิชาการอย่างง่าย ๆ ก็คือการสร้างหรือผลิตสื่อการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้(สิ่งที่ต้องพัฒนา) แล้วรายงานผลด้วยรูปแบบที่เหมาะสม

  และยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือหรือเป็นกัลยาณมิตรตลอดไป

นายสรายุทธ์ หอมชู

    ผมได้เข้ามาอ่าน web blog ของท่าน ศน.ยืนยง แล้วให้ความรู้และมีประโยชน์มากครับ ตอนนี้เงินผมอยู่ในระดับ คศ.2 อยู่ครับ เงินเดือนยังไม่ถึง คาดว่าจะส่งช่วงเดือนตุลาคมนี้ครับ หากผมมีข้อสงสัยคงต้องขอรบกวนท่านล่วงหน้าครับ

ในกลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพ (สาระงานเกษตร) นั้น อยากทราบว่าเราควรจะใช้นวัตกรรมอะไรจึงจะเหมาะสม  จะใช้โครงการได้หรือไม่  ไปเข้ารับการอบรมการเลื่อนวิทยฐานะมาก็ยังไม่ชัดเจน คือตอนนี้เงินเดือนยังไม่ถึงแต่สนใจอยากทราบ เพื่อการเตรียมตัว อยากขอคำแนะนำจากอาจารย์บ้างค่ะ

ไม่ทราบว่าจะตอบครูเหนือช้าไปหรือเปล่านะครับ การเลือกใช้นวัตกรรมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความพร้อมของครู ธรรมชาติของวิชา วัยของเด็ก บริบทของสถานศึกษา แต่ถ้าเป็นสาระเกษตร จุดเน้นของการพัฒนาผู้เรียน คือ ทักษะ กระบวนการ รวมทั้งคุณลักษณะ ดังนั้นนวัตกรรมจะต้องเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ เช่น อาจใช้ภูมิปัญญา แหล่งการเรียนรู้ ชุดกิจกรรม การสอนแบบโครงการก็ได้ครับ ถ้าเน้นด้านความรู้ความเข้าใจ นวัตกรรมก็จะเน้นไปในเรื่อง เอกสารประกอบการเรียน หนังสือส่งเสริมการอ่าน เป็นต้น ขอขอบคุณที่ต่อยอดการเรียนรู้

ขอบพระคุณมากค่ะที่ตอบข้อสงสัยให้ได้แนวคิด ไม่ช้าไปเพราะยังไม่ได้ยื่น กำลังศึกษาแนวทางการทำเกณฑ์ใหม่อยู่ อยากเรียนถามว่าการประเมินด้านที่ 2 ต้องเตรียม ปึกพยานการสอนนั้นต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้างค่ะ นอกจากแผนการสอน อยากให้ท่าน ศน. ให้ความกระจ่างในการทำด้วยค่ะ อยากทราบจริง ๆ  เพราะสอนอยู่ในโรงเรียนที่ติดชายแดนทำให้ข้อมูลข่าวสารล่าช้า ขอความกรุณาด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ครูเหนือ

เรียน ครูเหนือ

การประเมินด้านที่ 2 ต้องเตรียมประจักษ์พยานการสอนที่สำคัญ ๆ นั้น ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม ที่ใช้ประกอบการสอน เครื่องมือวัดและประเมินผล การเรียนการสอน รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนย้อนหลัง 2 ปีการศึกษา รายงานการประเมินตนเอง รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา รายงานการประเมินภายนอกจาก สมศ.และหลักฐานอื่น ๆ ที่จะแสดงถึงสมรรถนะประจำสายงาน ตามที่ตนเองเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อแสดงให้กรรมการเชื่อว่าว่า ผู้ถูกประเมินมีสมรรถนะประจำสายงานที่ดีสมกับวิทยฐานะ

รายละเอียดสามารถดูได้ที่คู่มือ ซึ่ง ก.ค.ศ.น่าจะทำแจกให้กับทุกโรงเรียนนะ

ยืนยง ราชวงษ์

รับปรึกษาการทำผลงานวิทยฐานะครู งานวิทยานิพนธ์ งานสารนิพนธ์ งานค้นคว้าอิสระ ในสาขานิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ บริหารการศึกษา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และอื่น ๆ รับวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS รับทำงานด่วน งานเร่ง (ราคาพิเศษ) รับปรึกษางานทุกขั้นตอนตั้งแต่การเขียนโครงร่าง การทำบทที่ 1,2,3,4,5 หรือ ปรึกษาทุกขั้นตอน

หมายเหตุ บริการทั้งหมดสามารถให้บริการนักศึกษาทุกสถาบัน

ค่าใช้จ่ายแล้วแต่ลักษณะงาน

สนใจติดต่อ คุณกุ้ง โทร 083-8414675, 084-3837664

e-mail : [email protected], [email protected]

อยากทราบว่าชุดการสอน กับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไรค่ะ ช่วยอธิบายให้เข้าใจด้วยค่ะ ขอบพระคุณมาก ๆ ค่ะ

เรียน ครูเหนือ

ตามปกติจะเหมือนกัน สมัยก่อนจะเน้นครูจึงเรียกว่า ชุดการสอน แต่ปัจจุบันเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงใช้คำว่า ชุดการเรียน ชุดกิจกรรมดารเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียน เป็นผู้แสดงบทบาทให้มากกว่าครู เน้นผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมให้มากขิ้น

ยืนยง ราชวงษ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท