ชื่นชมและเรียนรู้จาก ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน จากการฟัง lunch talk ของสภามหาวิทยาลัยมหิดล


           วันที่ ๑๒ ก.พ. ๕๐ ผมฟัง ศ. นพ. รัชตะ รัชตนาวิน บรรยายหลังอาหารเที่ยงเรื่อง โรคกระดูกพรุน (osteoporosis)     ทำให้ผมคิดออกว่า ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกิจกรรมนี้ ก็เพื่อให้กรรมการสภาฯ เห็น "ทุนวิชาการ" ของมหาวิทยาลัยมหิดล     และได้เห็นในลักษณะของภาพใหญ่ๆ ด้านวิชาการ      รวมทั้งได้เห็นว่าผลงานวิจัยที่มีน้ำหนัก มีผลกระทบสูง มักมีที่มาที่ไปอันยาวนานและซับซ้อน มีผู้เกี่ยวข้องหลายคน  มี "จุดบังเอิญ" อยู่ด้วยเสมอ      งานวิจัยโรคกระดูกพรุนที่รามาฯ เริ่มปี ๒๕๓๔      โดยที่ นพ. รัชตะที่เป็นอาจารย์หนุ่มในสมัยนั้น     ไปเสนอต่อคณบดี ศ. นพ. อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ     และมีการตั้งคณะกรรมการโครงการวิจัยโรคกระดูกพรุน     เป็นงานวิจัยข้ามสาขาวิชา  ข้ามสถาบัน  ข้ามชาติ     มีทั้งงานวิจัยคลินิก พื้นฐาน  ระบาดวิทยา  และระบบ     เน้นการวิจัยต่อเนื่องยาวนาน    และเน้นจุดได้เปรียบ (niche) ของสังคมไทย-นักวิจัยไทย

            เป้าหมายหลัก คือ พัฒนา : เครื่องมือวิจัย,  คน (นักวิจัย),  การจัดการข้อมูล (data management),  และพื้นที่วิจัย

            ศ. นพ. รัชตะ ฉายภาพกราฟแสดง ระบาดวิทยาของกระดูกสะโพกหักใน จ. เชียงใหม่ ในระดับชุมชน     ในเวลา ๑ ปี เทียบตามอายุ     เป็นผลงานคลาสสิค แม่นยำ ดำเนินการอย่างละเอียดประณีต     ยิ่งอายุมาก
อุบัติการก็ยิ่งสูงขึ้น เป็น exponential curve

           ผลการวิจัยพบว่า การกินแคลเซี่ยมในคนไทย   แค่ ๓๐๐ มก. / วัน     ฝรั่งแนะนำให้กิน ๑,๐๐๐ มก./วัน    แหล่งแคลเซียมหลักจากอาหารในฝรั่งคือนม  แต่ของคนไทยไม่ใช่นม
           แหล่งแคลเซี่ยมอีกแหล่งหนึ่งคือไวตามิน ดี  จากการที่ร่างกายถูกแสงแดด    วัด solar intensity  ที่สงขลา เทียบกับที่กรุงเทพ     บอกได้ชัดเจนว่าคนชนบทได้รับวิตามินดีจากแสงแดดมากกว่า    คนที่ขาดวิตามินดี พบร้อยละ ๒๒.๔  ของคนเมือง    พบเพียงร้อยละ ๐.๘ ของคนชนบท      ในหญิงพบร้อยละ  ๒๑   ชายร้อยละ ๒  
           ศึกษากระดูกใน ธาลัสซีเมีย ทำให้เข้าใจ เมตะบอลิสม ของ กระดูก     เป็นการนำการวิจัยคลินิก สู่การวิจัยพื้นฐาน  
           
           คำแนะนำกินต่อวัน    พบว่าคนไทยกินแคลเซี่ยมไม่พอ    ถ้าเติมแคลเซี่ยม bone mass เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน    แนะนำให้กินแคลเซี่ยม ในผู้ใหญ่ ๘๐๐ - ๑๐๐๐ มก./วัน     แนะนำให้กินเป็นอาหาร  ไม่เน้นกินเป็นเม็ดยา  
           การดูดซึม  แคลเซี่ยมในอาหารต่างชนิด มีอัตราการดูดซึมต่างกัน

           ผลลัพธ์ทางวิชาการ ๕๗ international paper,   paper ใน จพสท. 17,   ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศ 7,  book & proceedings 9,   มีการสร้าง first author       ครึ่งหนึ่งของ papers IF > 3  

            สุดยอดของการนำเสนอคือ  การวิเคราะห์ critical success factors ของการวิจัยแบบทีมใหญ่ ทีมข้ามสาขาวิชา ข้ามสถาบัน และวิจัยระยะยาวแบบนี้   นอกเหนือจาก อิทธิบาท ๔   และขันติ    ปัจจัยสำคัญคือ
              - leadership ทางวิชาการ
              - management
              - niche   หาจุดแตกต่างในความเหมือน
              - mentoring  อย่างต่อเนื่อง
              - fairness   เพื่อให้ทำงานเป็นทีม  ข้ามสาขา  ข้ามสถาบันได้
              - openness  เปิดกว้าง  ไม่ปิดกั้น    

          ฟังแล้วอิ่มเอม     ผมได้เรียนรู้ตอกย้ำความเข้าใจเดิม     และต่อเติมความเข้าใจในรายละเอียดด้านการจัดการงานวิจัยที่ผมสนใจ     เห็นว่างานวิจัยแบบเครือข่าย  สหสาขาวิชา  หลายหน่วยงาน อย่างนี้ ต้องการคนที่ "มือถึง" และ "ความคิดถึง" อย่างนี้ จึงจะทำได้สำเร็จ

          การวิจัยโรคกระดูกพรุน ทำให้คนไทยได้รับประโยชน์ นำเอาความรู้ไปใช้ประยุกต์ในการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวัน     และความรู้ที่ได้ ช่วยลดความสิ้นเปลืองจากการเชื่อคำโฆษณา ให้กินยาราคาแพงเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน     เป็นการสร้างความรู้เพื่อปกป้องคนไทยจากการถูกมอมเมาด้วยความรู้แบบโฆษณาชวนเชื่อของบริษัทยา

          ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน เป็นเมธีวิจัยอาวุโส สกว.   เป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี ๒๕๔๘    และขณะนี้เป็นคณบดี คณะแพทยศาสตร์ รพ. รามาธิบดี

วิจารณ์ พานิช
๑๓ ก.พ. ๕๐

ศ. นพ. รัชตะ รัชตนาวิน  (คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รพ. รามาธิบดี)

หมายเลขบันทึก: 78657เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2007 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท