ทำไม - อยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ ?


เพลงเก่าเพลงหนึ่งมีเนื้อหาบางส่วนว่า

 

          "...ยามอ่านท่องหนังสือ เรากลับลืม

                 เรื่องโศกเรื่องเศร้าซึม เรากลับจำ

                    คนเรานี้คิดให้ดีก็น่าขำ

                            อยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ...."

 

ข้อมูลเบื้องต้น

             ผมเคยอ่านเจอว่า สมองส่วนลิมบิก (limbic) ซึ่งเกี่ยวข้องกับอารมณ์พื้นฐานของคนเรา (โกรธ เศร้า ฯลฯ) น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้

             ใคมีความรู้ หรือข้อคิดเห็นอย่างไร ช่วยขยายความหน่อยครับ :-)

คำสำคัญ (Tags): #ปริศนาคาใจ
หมายเลขบันทึก: 78396เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
เท่าที่ทราบนะค่ะ ความสามารถในการจำข้อมูลได้ขึ้นกับอารมณ์ของผู้จำเป็นสำคัญค่ะ สมองจะไม่พยายามจำข้อมูลที่ "ไม่สำคัญ" ดังนั้น ถ้าจะให้สามารถจำข้อมูลที่ต้องการจำได้จะต้องนำไปเกี่ยวข้องกับ "อารมณ์" ค่ะ ข้อมูลนั้นก็จะกลายเป็นข้อมูลที่ "สำคัญ" ขึ้นมาได้ค่ะ และสมองก็จะจดจำได้ดีค่ะ
สำหรับเรื่องสมองส่วนลิมบิกนั้น ดิฉันไม่มีความรู้เลยค่ะ  :(  

ปล. หลักการเรื่อง retention นี้ ทางการพัฒนาระบบนำมาเป็นหลักในการออกแบบ interface ให้เกี่ยวข้องกับอารมณ์ค่ะ ทำให้เกิดหลักการใหม่ๆ เช่น Design for User Experiences และ Design for Emotion ค่ะ 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลเบื้องต้นครับ ดร. จันทวรรณ เดี๋ยวผมคงจะไปหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง retention ต่อ

 อีกอย่างคือ เรื่องอารมณ์นี่มักจะผูกกับเหตุการณ์ (event) ที่เกี่ยวข้องด้วย คือ ดูเหมือนคนเราจะจดจำอารมณ์และเหตุการณ์ในขณะนั้นควบคู่กันไป

 สวนเรื่องเกี่ยวกับ Brain Science/Neuroscience นี่ อาจจะต้องถามอาจารย์หมอมาโนชซะแล้วครับ :-)

ทั้งความจำและการลืมต่างก็มีประโยชน์มหาศาลกับคนเราครับหากมันอยู่ถูกที่ถูกทางของมัน แต่หากมันไม่เป็นไปตามที่ต้องการก็จะเกิดผลอย่างหัวข้อกระทู้นี้นะครับ

แต่หากคนเราจำอะไรไปได้เสียหมดที่พบเห็น รับรู้ทั้งวันหรือจำอะไรไม่ได้เลย(ลืมหมด)ทั้งวันก็ยุ่งเหมือนกันนะครับ

 

เห็นด้วยกับอาจารย์อัสสะกอมีว่า บางอย่างถ้าเราลืมไปได้ก็ดีเหมือนกัน เช่น ความขุ่นข้องหมองใจ หรือความคิดแง่ลบ

        คุณแม่ผมเคยบอกว่า ญาติผู้ใหญ่บางคนมีข้อดีมากอยู่อย่างหนึ่งคือ ไม่เจ้าคิดเจ้าแค้น เรื่องที่เคยทำให้ท่านเดือดร้อน เจ็บช้ำน้ำใจ ฯลฯ นี่ ผู้ใหญ่ท่านนี้ลืมหมด

        ผมมีหัวหน้าเก่าอยู่คนหนึ่ง คือ อาจารย์ ดร. หริส สูตะบุตร โดยตำแหน่งผู้บริหาร ก็ต้องมีการปะทะความคิดและคารมกับคนอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่บ้าง (ตลอดเวลาการบริหารกว่า 30 ปีที่ผ่านมา)

         ผมเองก็เคยต่อว่าท่านแรงๆ แต่ท่านก็ไม่ถือโกรธเลย - ผมสงสัยมาก & ถามท่านว่าทำไม?

         ท่านตอบในทำนองว่า จะมัวถือความโกรธเป็นอารมณ์ไปทำไม เอาเวลาไปคิดไปทำเรื่องดีๆ มีประโยชน์ดีกว่า....

บางคนก็มีความสามารถ หรือ "จริต" อย่างนั้นจริงๆ ครับ :-)

  • อารมณ์มีผลมากต่อการจำ การเป็นคนเจ้าอารมณ์ จะทำให้มีแต่ขยะในสมอง
  • จำฝังใจ
  • การไม่เจ้าคิดเจ้าแค้น น่าจะมีผลต่อลักษณะนิสัยต่อไปในอนาคต  

ขอบคุณสำหรับเงื่อนไข ที่ทำให้เกิดการคิดครับ

  • สวัสดีอีกครั้งค่ะ
  • เรื่องนี้พูดกับนักศึกษาบ่อย ๆ ค่ะ  เพราะเรื่องเรียนจำไม่ได้
  • สมองคนเราสั่งการให้เราต้องลืม และย้ำบ่อย ๆ ว่าต้องลืม ต้องลืม และก็คิดเรื่องที่ต้องลืม ย้ำไปย้ำมาว่าต้องลืม ก็เล่น save as สิ่งที่ต้องลืมตั้งหลายครั้ง แล้วจะลืมได้อย่างไร
  • เรื่องที่อยากจำแต่กลับจำไม่ได้ อิ อิ ก็เราดันบอกตัวเองว่าจำนะ แล้วก็ปล่อยเลยไป ลืมsave ไม่ได้กลับมาทวนย้ำ จะจำได้อย่างไรค่ะฮ่าๆๆๆ

สวัสดีครับ น้อง Man In Flame & คุณ Ranee

       ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมพร้อมฝากข้อคิดเห็นครับ ดูเหมือนเรื่องนี้จะเป็นกันแทบทุกคน โดยเฉพาะเด็กๆ นักศึกษานี่ อาจจะจำได้เฉพาะตอนสอบ สอบเสร็จก็ลืมหมดอีก ;-)

หากเป็นคนคิดมากกับคำพูดของคนอื่นๆ จนต้องทุกข์ใจเศร้าใจ  อาจเป็นเพราะกรรมข้อวาจา ที่ชอบไปพูดให้คนอื่นรู้สึกผิดมากๆ กระแนะกระแหนทิ่มแทงใจ  

การลดละคำพูดและวาจาพวกนี้ลง จะเป็นการลดขยะในใจในสมองเราด้วยครับ จิตที่ทำหน้าที่ในการสั่งสม ก็จะมีขยะให้สั่งสมน้อยลงด้วยครับ

โอ้...เรื่องจิต เรื่องกรรม เป็นผลของการกระทำแบบวิทยาศาสตร์แท้ๆเลยครับ

  • จิตไม่เหมือนข้อสอบ สอบแล้วไม่ลืม :)
  • สอบผ่านหรือสอบตก ต้องซ้ำชั้น.?

ขอบคุณสำหรับเงื่อนไข ที่ทำให้ได้ออกกำลังสมองครับ

ธรรมชาติของจิตนั้นไซร้ เสมือนน้ำที่ชอบไหลลงที่ต่ำหากผู้ใดไม่ประคับประคองให้ดี จิตก็อาจจะตกลงสู่ที่ต่ำ

แม้ยามเราหลับจิตก็รับรู้เรื่องเศร้าเป็นอาจิน เราไม่ได้จำเพราะว่าเพิ่งจำ เราจำเพราะจิตได้จำเป็นอาจิน แค่ได้ยินเป็นการกระตุ้นเท่านั้นเอง

ดั้งนั้นจึงต้องหมั่นฝึกจิต ออกกำลังจิต ตั้ง"สติ"อยู่ร่ำไป -_-"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท