ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

เกษตรประณีต....สู่ความพอเพียง


เส้นทางการทำเกษตรกรรมแบบประณีตสู่ความพอเพียง

ครั้นมาถึงวันนี้  หากถามว่ามองเกษตรกรรมแบบประณีตอย่างไร ผมเองก็ชักจะร้อนๆ หนาวเช่นกันครับว่าหลังจากลงพื้นที่ และเห็นร่องรอยการทำเกษตรกรรมแบบประณีตตามแนวทางของปราชญ์ชาวบ้านแล้ว ชักจะเกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของกิจกรรมที่ทำ ความมีชีวิตชีวาของกิจกรรม รายได้ รายจ่าย ตลอดทั้งที่บอกว่าทำแล้วมีความสุขนั้น ผมเองชักจะไม่แน่ใจว่าประสบผลสำเร็จจริงหรือเปล่า ท้าทายมากเลยครับ

แปลงเกษตรแบบประณีต

 นี่คือบทพิสูจน์ที่จะต้องหาคำตอบให้จงได้ ถึงแม้ว่าตอนนี้อาจจะมองว่าตำแหน่งการยืนค่นข้างอยู่ห่างเกินไป จึงเห็นภาพที่ค่อนข้างเลือนลาง แต่ก็คงไม่ไกลเกินเอื้อมที่จะมองเห็นภาพได้ชัดเจน แน่นอนครับเมื่อคนเรามีความตั้งใจเต็มร้อย พร้อมกับการ Speed อย่างรอบครอบ ผมเชื่อว่าคงได้คำตอบที่ชัดเจนอย่างไม่มีข้อสงสัย และเป็นคำตอบที่เป็นจริงสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปรับใช้ กับบริบทของแต่ละพื้นที่ได้ พร้อมกับคำอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผล 

จะพิสูจน์อย่างไร การที่จะไปพูดไปคุยกับคนทำเกษตรกรรมแบบประณีตเพียงอย่างเดียวแล้วนำมาสรุปเป็นเรื่องเป็นราว อาจจะไม่เหมาะสมกับบริบทของเกษตรกรรมแบบประณีต ดังนั้นคนที่จะศึกษาในเรื่องนี้นั้นจะต้องลงมือปฏิบัติควบคู่ไปด้วย จึงจะเป็นการศึกษาวิจัยที่มีชีวิตชีวา และสามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำ และเป็นการวิจัย และจัดการความรู้อย่างเป็นธรรมชาติ  เมื่อนำข้อมูลที่ได้สังเคราะห์จะเห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น อีกทั้งมีความน่าเชื่อถือ   

ปลูกกิน แบ่งปัน และขาย

จะพิสูจน์อย่างไร จึงจะเห็นผลของความพอเพียง  แน่นอนครับในกระบวนการการผลิตแบบประณีตนี้จะต้องมีการศึกษาอย่างรอบด้านครอบคลุมทุกประเด็น และประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งคือในเรื่องของความรู้ ซึ่งหากพี่น้องเกษตรกรมีความรู้  มีการใช้ชุดความรู้ในการผลิตของตนเองอย่างถูกต้อง ผมเชื่อว่าการทำเกษตรกรรมแบบประณีตนั้นจะสามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีความยั่งยืน แล้วชุดความรู้ที่ผมเห็นว่ามีความสำคัญได้แก่ ชุดความรู้เรื่องการจัดการดิน  การจัดการน้ำ  การจัดการแสง   การจัดการพืช   การจัดการสัตว์ และการจัดการระบบฟาร์ม  ที่มีความพอเพียงและเหมาะสมใน 4 ระดับ อันประกอบด้วยความพอเพียงในระดับแปลง ครัวเรือน ชุมชน และระบบนิเวศ

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ระยะทางเป็นเครื่องพิสูจน์ม้า กาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์คน  นี่คือประเด็นที่ท้าทายอย่างยิ่งในการทำวิจัยเกษตรกรรมแบบประณีต ที่จะต้องค้นหาคำตอบให้ได้ ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ยาก แต่ก็เป็นเรื่องที่ท้าทาย  และเมื่อเราใช้หลักของ อิทธิบาท 4  มาใช้ในกระบวนหาคำตอบ ผมเชื่อเหลือเกินว่าจะไปถึงเส้นชัยของความพอเพียงอย่างแน่นอนครับ</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ขอบคุณครับ</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อุทัย   อันพิมพ์</p> 12 กุมภาพันธ์ 2550

หมายเลขบันทึก: 78051เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ อาจารย์อุทัย 
  • และขอเก็บเกี่ยวเลยนะคะ  ^__* แหะๆ เรื่องนี้ยังไม่มีอะไรมาลปรร กับอาจารย์อ่ะค่ะ
  • เชื่อในเรื่องเกษตรปราณีตและอิทธิบาล 4 ครับ
  • มาให้กำลังใจครับผม
  • สู้ต่อไปครับอาจารย์
  • ขอบคุณมากครับอาจารย์ หนิง และอาจารย์ขจิต ที่มาให้กำลังใจ
  • ขอสู้จนกว่าจะหมดลมหายใจเลยทีเดียวครับ

ด้วยความจริงใจ

 

อย่าลืมต้องมองอย่างเป็นระบบ และมองอย่างใช้ KM เข้าไปจับ เรื่องที่ศึกษา

ขอบคุณมากครับอาจารย์

จะพยายามทำให้ดีที่สุดครับ

ด้วยความเคารพ

อุทัย   อันพิมพ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท